ผู้เขียน หัวข้อ: การกินเจ  (อ่าน 2108 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
การกินเจ
« เมื่อ: ตุลาคม 02, 2023, 09:36:45 pm »
.
.
.
การ #กินเจ หรือ #กินมังสวิรัต ไม่ได้บุญในเรื่อง #ละเว้นจากการฆ่าสัตว์
ตามหลักของศาสนาพุทธ
.
เรื่องการ #ฆ่าสัตว์ อยู่ในศีลข้อที่ 1 คือ ...
ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากการปลงชีวิต, เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน)
มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ
.
1. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
2. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
3. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
4. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
5. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.
.
หากการกระทำใดๆที่กระทำครบองค์ประกอบข้างต้น
นั่นก็คือ #การฆ่าสัตว์
การที่เราไม่กินเนื้อสัตว์ และตัวเราไม่เคยคิดที่กระทำตามองค์ประกอบ
เราก็ไม่ได้บุญจากการละเว้นการฆ่าสัตว์
เพราะ การฆ่าสัตว์ต้องครบองค์ประกอบ
.
.
มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล นั้นก็คือ
พระเทวทัต เคยทูลขอพระพุทธองค์ว่า ห้ามพระสงฆ์ฉันเนื้อสัตว์ทุกประเภท 
แต่พระพุทธองค์ทรงปฎิเสธในเรื่องนั้นไป
.
.
แต่พระพุทธองค์ มีการห้ามไม่ให้พระสงฆ์ฉันเนื้อ 10 ประเภท
หากพระสงฆ์ฉันเนื้อทั้ง 10 ประเภทแล้ว #ต้องอาบัติทุกกฏ
.
เนื้อทั้ง 10 ประเภท คือ
1.เนื้อมนุษย์
2.เนื้อช้าง
3.เนื้อม้า
4.เนื้อสุนัข
5.เนื้องู
6.เนื้อราชสีห์
7.เนื้อเสือโคร่ง
8.เนื้อเสือเหลือง
9.เนื้อหมี
10.เนื้อเสือดาว
.
แต่สำหรับ ฆราวาส ไม่มีข้อห้ามใดๆ สำหรับการห้ามกินเนื้อ
.
สรุป ... การกินของฆราวาส ควรเดินอยู่บนทางสายกลาง ดีที่สุด
โดย ต้องศึกษาและเรียนรู้ในเรื่องที่ถูกต้อง ไม่ว่าเป็นเรื่องทางโลก และ ทางธรรม
แล้วนำมาปฏิบัติ เพื่อตนเอง
.
เพิ่มเติม ลองไปศึกษาดูในพระสูตรฯต่างๆ จะได้ตาสว่างกัน
.
.
#อย่าตกเป็นเหยื่อ
#อย่าตกเป็นเหยื่อทางการตลาด
.
.****************************************************.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
เรื่องวัตถุ ๕ ประการ
.
             [๓๘๓] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรกติส*สกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุททัตตะแล้วได้กล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลายพวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว
.
            พระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากพวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมอย่างไรได้
.
            พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณ*โคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
.
ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้อง*โทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ พระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แต่พวกเรานั้นจักให้ประชาชนเชื่อถือวัตถุ ๕ ประการนี้
.
            พระโกกาลิกะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราสามารถเพื่อทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมด้วยวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสในความปฏิบัติเศร้าหมอง ฯ
.
ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
.
             [๓๘๔] ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ
.
            พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจงอยู่ในบ้าน รูปใดปรารถนา จงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาตโคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็นไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ
.
            ครั้งนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการนี้ จึงร่าเริงดีใจพร้อมกับบริษัทลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป ฯ
.
โฆษณาวัตถุ ๕ ประการ
.
             [๓๘๕] ต่อมา พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้วประกาศให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้าวัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาสภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ๕ ประการนี้ พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาต แต่พวกอาตมาสมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้ ฯ
.
            [๓๘๖] บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญากล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมประพฤติมักมาก ย่อมคิดเพื่อความมักมาก
.
            ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่าภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
.
            พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรเทวทัต ข่าวว่า เธอพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร จริงหรือ
.
            พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
.
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก ผู้ใดทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันย่อมประสพ*โทษตั้งกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ส่วนผู้ใดสมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสพบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก ฯ
.
            [๓๘๗] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตได้พบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยว*บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ ครั้นท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์แล้ว เวลาปัจฉาภัตร กลับจากบิณฑบาตเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วจึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเช้านี้ข้าพระพุทธเจ้านุ่งอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์พระเทวทัตพบข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้วเข้ามาหาข้าพระพุทธเจ้า ครั้นแล้วกล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ วันนี้พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า
.
            ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้น ว่าดังนี้:-
.
            [๓๘๘]     ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก
                           ความชั่ว คนชั่วทำง่าย แต่อารยชน ทำความชั่วได้ยาก ฯ
.
ทุติยภาณวาร จบ
.
.***********************************************.
.
๒๒. พระพุทธเจ้าห้ามสาวกกินเนื้อสัตว์หรือไม่
.
นานาปัญหา
โพสโดย โดย คณะสหายธรรม
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
ถาม  พระพุทธเจ้าของเราห้ามภิกษุ พุทธสาวก พุทธบริษัท ฉันหรือกินเนื้อสัตว์หรือไม่ หรือว่าห้ามกินเนื้อบางชนิดเท่านั้น
ตอบ  พระพุทธเจ้ามิได้ทรงห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์เลย แม้พระองค์เองก็เสวยเนื้อสัตว์ที่มีผู้ปรุงถวาย แต่จะไม่เสวยและฉันเนื้อที่ไม่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือที่ได้เห็น ได้ยิน และที่รังเกียจกับเนื้อต้องห้าม ๑๐ อย่าง มีเนื้อมนุษย์เป็นต้น ตามที่ได้กล่าวแล้วในปัญหาข้อต้นๆ เพราะถ้าทรงห้ามแล้ว พระองค์ก็คงจะไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันปลาและเนื้อตามที่พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการแล้ว
.
นั่นคือ พระเทวทัตขอมิให้ภิกษุฉันปลาและเนื้อจนตลอดชีวิต แต่พระพุทธองค์มิได้ทรงอนุญาตตามที่ท่านพระเทวทัตขอ เพราะฉะนั้นจึงเป็นอันว่าภิกษุฉันปลาและเนื้อได้ หรือท่านใดไม่ฉันก็ได้ ใครพอใจอย่างใดก็ทำอย่างนั้น แม้พุทธบริษัท หรือใครก็ตาม พระองค์ก็มิได้ทรงห้ามการกินปลากินเนื้อ ทรงสอนแต่มิให้ฆ่าสัตว์เองหรือสั่งให้ผู้อื่นฆ่าเท่านั้น แต่มิได้ทรงห้ามไปถึงการกินปลากินเนื้อที่มิได้ฆ่าเอง หรือสั่งเขาฆ่าเพื่อตน เพราะการฆ่าหรือการสั่งให้เขาฆ่า ไม่ว่าจะเพื่อกินเองหรือเพื่อเอาไปทำบุญถวายพระ ก็เป็นบาปกรรมล่วงศีลข้อปาณาติบาตทั้งสิ้น
.
ในอามคันธสูตร อรรถกถาก็ได้เล่าถึงดาบสพวกหนึ่งที่ถือว่า ปลาและเนื้อเป็นกลิ่นดิบ ไม่ควรบริโภค แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปลาและเนื้อไม่ใช่กลิ่นดิบ แต่กิเลสทั้งปวงที่เป็นบาปเป็นอกุศลต่างหาก ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ
.
สรุปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามการฉันปลาและเนื้อ ทั้งพระองค์และภิกษุก็ฉันปลาและเนื้อที่เป็นกัปปิยะ คือไม่ผิดวินัยบัญญัติ เป็นของสมควรบริโภค อันได้แก่ปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม อันได้กล่าวมาแล้ว กับไม่ฉันเนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ ชนิด เว้นจากนี้แล้วก็ฉันได้ ไม่มีข้อขัดข้องประการใด
.
.
ที่มา อ้างอิงและแนะนำ :-
.
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
          ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
          อามคันธสูตร
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=25&A=7747&Z=7809
.
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗
          จุลวรรค ภาค ๒
          เรื่องวัตถุ ๕ ประการ
                    พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
                    พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=7&A=3770&Z=3863
.
          พระไตรปิฏกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕
          มหาวรรค ภาค ๒
          พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์ เป็นต้น
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=5&A=1372&Z=1508
.
          เรื่องสีหะเสนาบดี
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=5&A=1924&Z=2100
.
.
.
.
.
ในเรื่องการ #กินเจ
มีท่านหนึ่งที่นำมาโพส ผมนำมาตอบเป็นข้อ ครับ
.
.
.****************************.
.
.
เคยถกเถียงเรื่องกินเจแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร มาแล้ว  อย่าไปมองแค่เรื่องกิน
มันมีความหมายมากกว่าการกินไม่กินเนื้อผลิตภัณฑ์จากสัตว์
แต่ไม่มีประโยชน์ที่จะต้องมาทะเลาะกัน  หรือดูหมิ่นดูแคลนว่าคนกินเจ เป็นพวกเชื่อแบบไม่มีเหตุผล
.
ตอบ  ในข้อนี้ ไม่ได้มาทะเลาะ หรือ ดูหมิ่นดูแคลนกัน แต่ต้องชี้ให้เห็นในข้อเท็จจริงตามหลักพระธรรมวินัย และ พระสูตร ตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และเป็นเรื่องที่หลายที่  ใช้เรื่องนี้เป็นเรื่องการตลาด เพื่อส่งเสริมกลุ่มของตนเองให้มีชื่อเสียงมากขึ้น และ มีการกระทำพิธีกรรมต่างๆด้วย  เรื่องต่อมาที่จะได้เพิ่มอีกก็คือ ได้เงินเพิ่ม รวยกันทั่วหน้า
ส่วนคนที่ขายผัก(ที่เกี่ยวข้องกับการกินเจ) ก็รวยกันไป ส่วนรวยมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานลูกค้า แต่คนปลูกก็ยังลำบากเหมือนเดิม หรือ คนขายอาหารเจ ก็รวยกันไปเช่นกัน ส่วนรวยมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ การทำอาหารอร่อยแค่ไหน กับ ฐานลูกค้า
และในประเทศจีน  หากลองไปค้นหาดูเรื่องการกินเจ  แทบไม่พบเรื่องการกินเจ (พบได้น้อยมาก)
.
.
.****************************.
.
.
ประการแรก
กินเจเป็นการไม่ส่งเสริมการฆ่าชีวิตสัตว์ คงไม่ต้องพูดถึงว่าสัตว์ก็รักชีวิตตัว
รวมถึงสัตว์ที่อนุรักษ์เช่น เราไม่กินหูฉลามเท่ากับไม่ส่งเสริมคนจับเอาฉลามมาตัดครีบทิ้งตัวลงทะเลไป
.
ตอบ หากเป็นเรื่องที่กินเจเป็นการไม่ส่งเสริมในการฆ่าสัตว์(ที่เป็นความเชื่อ) เวลาที่คนกินเจต้องไม่บอกว่า เป็นการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่เป็นศีลข้อที่ 1 คือ ปาณาติปาตา (ที่มีองค์ประกอบ 5 ประการ) เพราะ หากกินเจเมื่อบอกว่า การกินเจ เป็นการละเว้นจากการฆ่าสัตว์  แทนที่จะได้บุญ(ตามความเชื่อ) กลับเป็นการสร้างกรรมชั่วขึ้นมา นั้นก็คือ การบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า (ในเรื่อง มุสาวาท)
เรื่องมุสาวาท มีพระภิกษุหลายรูปท่านสอนมาว่า เป็นการสร้างกรรมที่ร้ายแรงมาก เช่น หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก เป็นต้น
แล้วเวลาที่พูดเรื่องของการไม่ส่งเสริมการฆ่าสัตว์ ไม่ใช่ว่า ยุงกัดปุ๊บ ก็ตบยุงปั๊บ หรือ ใช้ยากันยุง เพราะ ยุงก็เป็นสัตว์ที่รักชีวิตเช่นกัน เป็นต้น
อีกเรื่องก็คือ การเลี้ยงสัตว์เป็นการเลี้ยงที่มีการวางแผนในการเลี้ยง  หากในช่วงการกินเจ  ทางผู้เลี้ยง ก็จะวางแผนไม่ให้ผลผลิตออกมาตามปกติ เพราะ จะขายได้น้อยลง
.
.
.****************************.
.
.
การไถ่ชีวิตสัตว์แล้วปล่อยธรรมชาติ น่าจะดูในรายละเอียด ที่ๆปล่อยเหมาะสมหรือไม่หรือ วัวควายให้คนอื่นไปเลี้ยงใช้แรงงานต่อได้บุญและได้บาป  บางทีเอาไปปล่อยวัด  บางวัดก็ไม่มีศักยภาพที่จะดูแล  ทำพิธีรับหรือเป็นกองทุนรับแต่เงินก็มี
บางวัดมีสัตว์มาปล่อยพระที่วัดก็พาลเดือดร้อนไปด้วย จะขังคอกก็ต้องหาคนเลี้ยง  จะปล่อยบางช่วงก็ไปทำลายแปลงนาข้าวชาวบ้าน กลายเป็นศัตรูของชาวบ้านไป
บางที่เป็นธนาคารโคกระบือปล่อยให้ชาวบ้านรับไป ให้คนเข้าคิวเลี้ยงเพื่อเอาลูก เป็นตัวผู้ชาวบ้านเขามักไม่รับ
บางตัวก็ตายไปเพราะคนเลี้ยงใช้แรงงาน
เวลาเปลี่ยนเจ้าของโครงการเปลี่ยนแปลงไม่ส่งเสริมต่อ  ไม่ใช่หน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ไม่มีคนมาติดตามฯ,ลฯ
.
ตอบ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  สำหรับคนที่ชอบไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น วัด หรือ ควาย แล้วนำไปถวายให้วัด  คนเหล่านี้ ทำบุญแล้วได้บาปเพิ่มขึ้น เพราะ เป็นการนำภาระที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่นำ วัว หรือ ควาย ไปถวายวัด ภาระตกอยู่กับวัด ไหนจะเรื่องหญ้า  ไหนจะเรื่องยารักษาโรค เวลาที่วัวหรือควายป่วย หรือ วัคซีนที่ป้องกันโรค ไหนจะเป็นพระเณรที่ต้องมาดูแล  แทนที่พระเณร จะได้มีเวลาในการปฎิบัติธรรม ไหนจะเป็นเรื่องของกลิ่นที่อาจรบกวนบุคคลอื่น ไหนจะเป็นอีกหลายเรื่อง

เพิ่มเติมก็คือ เช่น เรื่องการปล่อยปลาบางชนิด หรือ สัตว์บางชนิด แต่ไปปล่อยสัตว์พวกที่เป็น เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) (คือสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดในพื้นที่นั้นๆสิ่งแวดล้อมนั้นๆ แต่มาจากการนำเข้ามา หรือแพร่กระจายพันธุ์เข้ามา สร้างผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เสียหายของระบบนิเวศดั้งเดิมซึ่งเป็นปัญหาอันดับ1ที่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศ) ที่ส่งผลไปทำลายสัตว์พื้นเมือง อาจจะถึงขั้นสูญพันธ์ได้  อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ลองไปค้นหาดูตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประมง หรือ กรมปศุสัตว์  เป็นต้น และเป็นการทำบุญแถมบาป

.
.
.****************************.
.
.
การตั้งจิตรักษาศีลและกินเจ
คนกินเจ เขาจะตั้งจิต 9-12วัน  แล้วแต่บางคนจะไปอยู่ที่วัดจีนหรือไปจิตอาสาทำอาหารแจกทานด้วยหรือไม่
ระหว่างนี้เขาไม่พูดปด พูดจาไม่ดีทั้งหลาย เท่ากับสงบจิตใจ  ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่นการพนัน  ไม่ประพฤติผิดในกามไม่ดื่มสุรา  ไม่ร่วมงานรื่นเริงเฮฮา เท่ากับรักษาศีล5  อย่างดีแล้ว
.
ตอบ เรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  ที่ไม่สามารถการันตีได้ว่า คนกินเจ 100% แล้วไม่พูดปด หรือ พูดจาไม่ดี เพราะ เพียงแต่พูดว่า การกินเจ
และการพูดว่า การกินเจเป็นการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั่นเป็นการบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นกรรมที่หนักกว่า การไม่พูดปด หรือ พูดไม่ดี
กรรมของการบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า อาจจะถึงเรื่อง ปรามาสผู้มีธรรมได้
ส่วนการไม่พูดปด หรือ พูดจาไม่ดี เท่ากับ การสงบจิตใจ  ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่นการพนัน ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มสุรา ไม่ร่วมงานรื่นเริง  ยืนยันว่า ไม่เท่ากับการรักษาศีล 5 เพราะ การรักษาศีล 5 ต้องปฎิบัติตามศีลทั้ง 5 ข้อ และ การไม่พูดปด หรือ พูดจาไม่ดี อยู่ในศีลของที่ 4 คือ มุสาวาท
.
.
.****************************.
.
.
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายแม้ช่วงสั้นๆ 9-12วัน การขับถ่าย การย่อยการดูดซึมสารอาหารวิตะมิน แร่ธาตุจะดีกว่าคนที่เน้นกินแต่เนื้อสัตว์สเต๊ก   ปิ้งย่างต่างๆ
.
ตอบ  เรื่องนี้ ต้องนำผลการวิจัยที่เชื่อถือได้ มาเป็นข้อมูล
หากมีการพูดไป โดยไม่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาประกอบ และ เกิดเรื่องที่พูดไปไม่ถูกต้อง จะกลายเป็นเรื่อง มุสาวาท เพิ่มเติมอีก
อีกเรื่องก็คือ อาหารเจ เท่าที่พบมา อุดมไปด้วยน้ำมัน และแป้ง เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้กับสุขภาพอย่างแน่นอน  ว่าแต่ว่า อาหารทุกอย่าง หากกินไม่บันยะบันยัง ก็ส่งผลต่อสุขภาพเช่นกัน
.
.
.****************************.
.
.
การทำอาหารเจตามภัตราคารโรงแรมใหญ่ ประดิษฐ์ประดอยรูปร่างอาหารเหมือนเนื้อสัตว์ต่างๆ  นั่นเป็นการตลาด  ไม่ใช่วิถีของของคนกินเจสร้างความเข้าใจผิดมานานให้คนที่พบเห็น
.
ตอบ เรื่องของการประดิดประดอยรูปร่างอาหารให้เหมือนเนื้อสัตว์ต่างๆ  ไม่ใช่มีแต่ตามภัตตาคารหรือโรงแรมใหญ่ๆ  แต่หาได้ทั่วไปตามตลาดสดต่างๆ หรือ ตามร้านอาหารทั่วๆไป
.
.
.****************************.
.
.
มีพระอาจารย์หลายๆท่าน ก็ยังนิยม กินเจหรือประมาณมังสาวิรัติ หรือเจเขี่ยเอาเนื้อสัตว์ออก(เพราะรับบิณฑบาตรเป็นผู้กินง่ายอยู่ง่ายรับทุกอย่างที่โยมถวาย)
 เน้นพืชผักเมล็ดธัญพืชหลากหลายที่ย่อยง่ายและไม่สะสมของเสียในร่างกายจากการกินเนื้อสัตว์ซึ่งมีโปรตีน ย่อยยากกว่า สิ่งตกค้างจะมีไนเตรตไนไตรต เกิดแก๊สสารพิษ ค้างในลำไส้ ถูกดูดซึมกลับไปที่ตับ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งต่างๆได้ทั่วร่างกาย
.
ตอบ เรื่องของสารตกค้าง  มีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น พืชผักต่างๆ หรือ เนื้อสัตว์  ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการอย่างถูกต้อง  ที่จะทำให้ลดในเรื่องของสารตกค้าง  (เรื่องนี้เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์)
เรื่อง สารก่อมะเร็ง  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พบมาโดยตรง มีเพื่อนเป็นมะเร็ง(ระยะแรก)ที่หน้าอก เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลดังแห่งหนึ่ง (เป็นโรงพยาบาลเอกชน) ที่เข้ารับการรักษาแบบ ชีวจิต  เพื่อนคนนี้ เข้ารับการรักษาได้ไม่นาน ก็เสียชีวิต จากมะเร็ง
.
.
.****************************.
.
.
พระอาจารย์หลายท่าน ฉันอาหารน้อยมาก บางท่านเข้าฌานสมาธิ หลายๆวันจะฉัน1มื้อก็มี

 ท่านที่ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อบรรลูธรรมเหล่านี้ล้วนไม่ได้มามุ่งพิจารณาเรื่องอาหารนั้นฉันแล้วได้บุญหรือไม่ได้บุญ
.
ตอบ ในเรื่องที่พระสงฆ์ฉันอาหาร ท่านต้องพิจารณาในอาหารที่ฉัน ตามพระวินัยอยู่แล้ว ไม่ได้พิจารณาในเรื่องของการฉันแล้วได้บุญ หรือ ไม่ได้บุญ
และ เรื่องการปฎิบัติในการบรรลุธรรม  ไม่เกี่ยวกับเรื่องอาหาร แล้วนำมาพูดกัน เป็นการบิดเบือนพระธรรมวินัย
แต่เป็นการปฎิบัติทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ตามพระธรรมวินัย และ ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
.
.
.****************************.
.
.
บทสรุป

เรื่องของการกินเจ หรือ การกินมังสวิรัต มีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล  โดยพระเทวทัตเป็นผู้ที่ทูลขออนุญาต แต่ พระพุทธเจ้าทรงไม่ยินยอม และ พระเทวทัตได้ใช้เรื่องนี้ (มีอยู่ใน วัตถุ 5 ประการ) ไปสร้างกรรมเรื่องสังฆเภท

อีกประการก็คือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น เรื่องการทำบุญ หรือ เรื่องอื่นๆ ต้องดูตามพระธรรมวินัยและพระสูตรต่างๆเป็นหลัก

ใครที่จะกินเจตามความเชื่อ สามารถกินเจได้เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล
เพียงแต่ต้องไม่ไปสร้างกรรมในเรื่อง มุสาวาท และ ร่วมกันสร้างกรรม มุสาวาท บนโลกออนไลน์
เพราะ การสร้างกรรมในเรื่อง มุสาวาท เป็นเรื่องที่ไม่มีทางที่จะแก้ไขได้เลย
.
.
.
สุดท้าย  ผมนำตำนานในการกินเจ ลงให้อ่านกัน ครับ
.
ตำนานที่ 1
กล่าวกันว่า การกินเจเริ่มขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักรบ "หงี่หั่วท้วง" ซึ่งเป็นทหารชาวบ้านของจีนที่ต่อสู้ต้านทานกองทัพแมนจูที่มีปืนไฟของชาวตะวันตก แต่ฝ่ายจีนไม่มี นักรบหงี่หั่วท้วงจึงประกอบพิธีกรรมนุ่งขาวห่มขาว ไม่กินเนื้อสัตว์และผักที่มีกลิ่นฉุน และท่องบริกรรมคาถาตามความเชื่อของจีน เชื่อกันว่าจะสามารถป้องกันปืนไฟได้ แต่ก็ไม่ประสบผลและพ่ายแพ้ต่อแมนจู ทำให้ชายชาวจีนถูกบังคับให้ไว้ผมอย่างชาวแมนจู สร้างความคับแค้นให้แก่ชาวจีนอย่างมาก ชาวจีนจึงรำลึกถึงนักรบหงี่หั่วท้วงด้วยการกินเจ
.
ตำนานที่ 2
เพื่อเป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า “ดาวนพเคราะห์” ทั้ง 9 ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ ในพิธีกรรมบูชานี้สาธุชนในพระพุทธศาสนาสละเวลาทางโลกมาบำเพ็ญศีลงดเว้นเนื้อสัตว์และแต่งกายด้วยชุดขาว
.
ตำนานที่ 3
ผู้ถือศีลกินเจในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์
.
ตำนานที่ 4
กินเจเพื่อเป็นการบูชา “กษัตริย์เป๊ง” ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ้อง ซึ่งได้ฆ่าตัวตายขณะที่เสด็จไต้หวัน โดยทางเรือ เมื่อมีพระชนนมายุได้ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่เฉพาะในมณฑลฮกเกี้ยนซึ่งเป็นดินแดนผืนสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องเท่านั้น โดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยการอาศัยศาสนาบังหน้าการเมือง การที่เผยแผ่มาสู่เมืองไทยได้นั้นเพราะชาวจีนจากฮกเกี้ยนนำมาเผยแผ่
.
ตำนานที่ 5
เกิดจากมณฑลกังไสเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองมาก ได้พ่ายแพ้ให้กับแคว้นก่งเลี้ยด ทำให้ในเวลาต่อมาชาวบ้านในมณฑลกังไสเกิดแตกความสามัคคีกัน เทพยดาเห็นว่าอีกไม่นานกังไสจะเกิดภัยพิบัติแต่จะพ้นภัยได้หากชาวบ้านสร้างผลบุญให้ตัวเอง และในคืนหนึ่งได้มีขอทานโรคเรื้อนมาขอพบเศรษฐีลีฮั้วก่ายจึงได้ให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเดินทาง แต่ขอทานไม่ไปและได้ประกาศให้ชาวบ้านกินเจเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ผู้ใดทำตายภัยพิบัติจะหายไป เศรษฐีจึงนำมาปฏิบัติและจัดมหรสพในช่วงกินเจ และต่อมาได้มีคนศรัทธาจึงนำมาดัดแปลงให้รัดกุมและได้ทำพิธีเชิญเง็กเซียนฮ่องเต้มาเป็นประธานในพิธี
.
ตำนานที่ 6
มาจากแม่ของชายขี้เมาได้มาเข้าฝันบอกว่า ตายไปแล้วมีความสุขมากเพราะผลบุญจากการกินเจ ลูกชายฟังแล้วจึงอยากพบแม่จึงเดินทางไปที่เขาโพถ้อซัว เมื่อถึงเทศกาลไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมที่เขาโพถ้อซัว ชายขี้เมาจึงขอตามเพื่อนบ้านไปด้วย และได้ให้สัญญาว่าจะไม่ดื่มเหล้าและกินเนื้อสัตว์ แต่ระหว่างเดินทางชายขี้เมาได้ทำผิดสัญญา เพื่อนบ้านจึงหนีไป แต่โชคดีที่ชายขี้เมาเจอหญิงสาวคนหนึ่งที่ต้องการไปไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงขอตามไป จนกระทั่งถึงที่หมายชายขี้เมาได้เห็นแม่ลอยอยู่บนกระถางธูปทั้งที่คนอื่นมองไม่เห็น และระหว่างขากลับชายขี้เมาได้เจอกับลูกชายที่เกิดกับภรรยาที่เลิกกันไปแล้วยืนร้องไห้ เขาจึงรับลูกไปอยู่ด้วย ต่อมาวันหญิงสาวที่ได้เดินทางไปไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมด้วยกันได้มาขออาศัยด้วย ทั้งสามจึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
โดยหญิงสาวได้ประพฤติตนเป็นดีอยู่ในศีลธรรมและถือศีลกินเจ อยู่มาวันหนึ่งนางรู้ว่าตัวเองจะตายจึงอาบน้ำแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวสะอาดก่อนสิ้นลม ชายขี้เมาเห็นหญิงสาวจากไปด้วยดีจึงเกิดความศรัทธาจึงยกสมบัติให้ลูกชายและประพฤติตัวใหม่ เมื่อตายไปจึงเกิดผลบุญเดียวกับแม่และหญิงสาว จากนั้นประเพณีกินเจจึงเริ่มขึ้น
.
.
.
.
ส่วนตัว ผมเองเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ท่านมีพระเมตตานำพระธรรมที่พระองค์ท่านได้ค้นพบ นำมาเผยแพร่ให้กับคนที่มีวาสนากับพระองค์ท่าน
และ ผมเคารพในคณะพระธรรมทูต คณะโสณะอุตระ ที่ท่านได้นำพระธรรม มาเผยแพร่ในสุวรรณภูมิ
.
ผมจึงต้องยึดถือตามพระธรรม และ พระธรรมวินัย เป็นหลัก ครับ
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: การกินเจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2023, 09:14:00 pm »
ผมไม่ได้มาถกเถียงกันในเรื่องของความเห็นไม่ตรงกัน
แต่มา ปุจฉา วิสัชนา ในความรู้ที่ถูกต้อง
รวมทั้งไม่พูดถึงเรื่อง จารีตและประเพณี ไม่ว่าจะเป็นจารีตและประเพณีของคนชาติไหน

การพูดของผมคือ การกินเจ เป็นการละเว้นจากการฆ่าสัตว์
การพูด ต้องไม่เอาดีใส่ตัวแต่เพียงอย่างเดียว เหมือนกับว่า คนที่ไม่กินเจ เป็นคนที่สนับสนุนในการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร

เรื่องคนกินเจ หรือ กินมังสวิรัติ หรือกินเนื้อสัตว์
หากไม่ใช่คนที่ฆ่าสัตว์(ที่ครบองค์ประกอบทั้ง 5 ข้อ) รวมทั้งคนที่ยินดีและเห็นด้วยในการฆ่าสัตว์
เป็นคนที่ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ทั้งหมด

ผมยึดถือตามพระธรรมวินัยและพระสูตรเป็นหลัก ครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)