Oppenheimer : ระเบิดปรมาณูที่ทำลายล้างตัวตน ในโลกที่เราทุกคนต่างเห็นแก่ตัวSummary
• หลังจากที่ คริสโตเฟอร์ โนแลน ทำหนังฟอร์มยักษ์อย่างไตรภาค The Dark Knight (2005-2012) ไปจนถึงขบวนหนังที่สร้างความท้าทายทางการรับรู้อย่าง Inception (2010), Interstellar (2014), Dunkirk (2017) และ Tenet (2020) สิ่งที่เราควรคาดหวังจาก Oppenheimer ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขา อาจไม่ใช่แค่งานเทคนิคทางภาพยนตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการเล่าเรื่องได้อย่างทรงพลัง แต่ยังรวมถึงความโดดเด่นในแง่ของการตีแผ่ ‘ความสัมพันธ์’ และ ‘สภาวะภายในจิตใจ’ ของตัวละคร โดยใช้เทคนิคสุดอลังการเหล่านี้เข้ามาเป็นตัวขับเน้นอีกด้วย
• หนังเล่าถึงชีวิตของ เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (รับบทโดย คิลเลียน เมอร์ฟี) นักฟิสิกส์สายทฤษฎีชาวอเมริกันที่ถูกเรียกขานว่าเป็น ‘บิดาแห่งระเบิดปรมาณู’ หลังจากที่เขาได้คิดค้นมันขึ้นมาได้สำเร็จ ผ่านการเป็นผู้นำทีมในโปรเจกต์แมนฮัตตันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และการรับมือกับสิ่งต่างๆ หลังพบว่าสิ่งที่เขา ‘สร้างสรรค์’ ขึ้นนั้นได้มีส่วน ‘ทำลาย’ อะไรอีกหลายอย่างในเวลาต่อมา โดยเฉพาะชีวิตของผู้คนจำนวนหลักแสนในฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น ที่ต้องตกเป็นเหยื่อสังเวยนวัตกรรมชิ้นนี้ของเขาเมื่อปี 1945
• Oppenheimer สะท้อนให้เห็นว่า แม้ลึกๆ แล้ว ออปเพนไฮเมอร์จะภูมิใจกับผลงานวิทยาศาสตร์ชิ้นประวัติศาสตร์ของเขา ในฐานะ ‘นักวิทยาศาตร์ผู้ประสบความสำเร็จ’ แต่มันก็ต้องแลกมาด้วยความเสียใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่สร้าง ‘หายนะครั้งใหญ่’ ขึ้นมาให้แก่โลก โดยมีเพียงความหลงใหลในฟิสิกส์ของตนเท่านั้นที่ได้รับการตอบสนองจนอิ่มหนำสำราญ
• สุดท้ายแล้ว ออปเพนไฮเมอร์จึงไม่ต่างอะไรกับผู้มีอำนาจคนอื่นๆ ในเรื่อง ที่ ‘เห็นแก่ตัว’ ด้วยการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อหล่อเลี้ยง ‘อีโก้’ ของตนให้เติบโต โดยไม่สนใจว่าความดื้อด้านและเอาแต่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้น อาจส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงกับโลกทั้งใบ สังคม คนรอบข้างที่พวกเขารัก หรือแม้แต่ตัวของพวกเขาเองได้อย่างไรบ้าง
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญบางส่วนของหนัง
เราควรคาดหวังสิ่งใดจาก Oppenheimer ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ คริสโตเฟอร์ โนแลน หนึ่งในคนทำหนังที่ว่ากันว่า ‘ฝีมือดีที่สุด’ ในยุคสมัยนี้
เพราะหลังจากที่เขาทำหนังฟอร์มยักษ์อย่างไตรภาค The Dark Knight (2005-2012) ที่ดัดแปลงมาจากแฟรนไชส์ซุปเปอร์ฮีโร่เรื่องดังอย่าง Batman ไปจนถึงขบวนหนังที่สร้างความท้าทายทางการรับรู้ -ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมการเมือง- อย่าง Inception (2010), Interstellar (2014), Dunkirk (2017) และ Tenet (2020) ชื่อของโนแลนก็กลายมาเป็นหนึ่งใน ‘นักเล่าเรื่อง’ เบอร์ต้นๆ ของโลกแบบที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ โดยเฉพาะงานเทคนิคทางภาพยนตร์ที่ถูกนำมาใช้ได้อย่างทรงพลัง ทั้งการออกแบบภาพ แสง เสียง และเทคนิคพิเศษต่างๆ
แต่ถึงอย่างนั้น หนังของโนแลนก็ยังมีความโดดเด่นในแง่ของการตีแผ่ ‘ความสัมพันธ์’ และ ‘สภาวะภายในจิตใจ’ ของตัวละคร โดยใช้เทคนิคสุดอลังการเหล่านี้เข้ามาเป็นตัวขับเน้นอีกด้วยเขาเล่าถึงสภาวะจิตใจที่ทั้งสับสนและแสนเศร้าของตัวละครซุปเปอร์ฮีโร่คลาสสิกอย่าง แบตแมน ในไตรภาค The Dark Knight, ถ่ายทอดภาพความสัมพันธ์อันเปราะบางระหว่างสมาชิกครอบครัวผ่านการท่องไปในอวกาศอันไกลโพ้นใน Interstellar, สะท้อนความทุกข์ทนของคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกใน Dunkirk หรือแม้แต่พูดถึงมิตรภาพที่ซุกซ่อนอยู่และเราอาจมองข้ามมันไประหว่างภารกิจข้ามเส้นเวลาใน Tenet
และหนังความยาวสามชั่วโมงว่าด้วยการคิดค้นระเบิดปรมาณูอย่าง Oppenheimer ก็เช่นเดียวกัน
https://www.youtube.com/v//dRTD5UKcQgQ https://youtu.be/dRTD5UKcQgQ?si=m0K7SdalgeRScr1rหนังเล่าถึงชีวิตของ เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (รับบทโดย คิลเลียน เมอร์ฟี) นักฟิสิกส์สายทฤษฎีชาวอเมริกันที่ถูกเรียกขานว่าเป็น ‘บิดาแห่งระเบิดปรมาณู’ หลังจากที่เขาได้คิดค้นมันขึ้นมาได้สำเร็จ ผ่านการเป็นผู้นำทีมในโปรเจกต์แมนฮัตตันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และการรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นของเขา ทั้งการต้องถูกสอบสวนอันแสนวุ่นวายบีบคั้น เพื่อรับรองสถานะพลเมืองในฐานะ ‘ผู้ภักดีต่ออเมริกา’ แม้จะทำงานรับใช้ประเทศชาติมาแล้วเป็นอย่างดี ไปจนถึงความสับสนว้าวุ่นภายในจิตใจ หลังพบว่าสิ่งที่เขา ‘สร้างสรรค์’ ขึ้นนั้นได้มีส่วน ‘ทำลาย’ อะไรอีกหลายอย่างในเวลาต่อมา
โดยเฉพาะชีวิตของผู้คนจำนวนหลักแสนในฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น ที่ต้องตกเป็นเหยื่อสังเวยนวัตกรรมชิ้นนี้ของเขาเมื่อปี 1945ยังไม่รวมถึงความเป็นคนตรงไปตรงมา และไม่อ้อมค้อมที่จะแสดงให้เพื่อนร่วมวงการได้เห็นถึง ‘ความคลั่งไคล้ใหลหลง’ และ ‘ความเป็นอัจฉริยะ’ ในแนวคิดด้านฟิสิกส์ของตัวออปเพนไฮเมอร์เอง ที่ส่งผลให้เขาต้องกลายเป็นศัตรูของใครหลายคน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
หนึ่งในนั้น คือ ลูอิส สตรอส์ (โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์) อดีตผู้อำนวยการสถาบันพลังงานปรมาณู ที่ต้องการกำจัดออปเพนไฮเมอร์ออกไปจากแวดวงวิทยาศาสตร์ของอเมริกา ด้วยการทำให้เขาสูญเสียความน่าเชื่อถือจากผู้คน และแปะป้ายให้เขากลายเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ ที่ต่อต้านแนวคิดทางการเมืองของรัฐบาล
แม้ว่าสิ่งที่สตรอส์ทำจะหมายถึงการวางแผนใส่ความออปเพนไฮเมอร์ ด้วยวิธีการที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมอันแสนสกปรกโสมมสักแค่ไหนก็ตาม
โดยจุดเริ่มต้นของความโกรธแค้นที่ทำให้สตรอส์ต้องเล่นใหญ่ถึงเพียงนี้ มาจาก ‘ความรู้สึกอับอายขายหน้า’ ในเหตุการณ์เล็กๆ เมื่อเขา ‘คิด’ ว่าตนถูกนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำหน้า ‘มึนตึง’ และมีท่าที ‘เมิน’ ใส่ขณะเดินผ่านเขาไป หลังจากไอน์สไตน์ได้พูดคุยกับออปเพนไฮเมอร์ที่ริมบึงของสถาบันฯ
จึงทำให้สตรอส์คิดเหมาเอาเองว่า ออปเพนไฮเมอร์ต้องพูดอะไรที่ ‘ไม่ดี’ เกี่ยวกับตัวเขาให้ไอน์สไตน์ฟังอย่างแน่นอน และมันก็ทำให้เขา ‘ผูกใจเจ็บ’ กับนักฟิสิกส์แสนจองหองผู้นี้เรื่อยมา
อคติที่สตรอส์มีต่อออปเพนไฮเมอร์ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของการยึดเอาตัวเองเป็น ‘ศูนย์กลาง’ ในทุกสิ่งของผู้มีอำนาจอย่างสตรอส์ ซึ่งตัวหนังก็ดูจะ ‘ขยี้’ จุดนี้อย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลัง โดยไม่เพียงสะท้อนผ่านการพยายามวางแผนเพื่อเอาชนะคะคานคนที่ตนเกลียดชังของสตรอส์เท่านั้น แต่เรายังเห็นแนวคิดนี้ได้จากตัวละครผู้มีอำนาจน้อยใหญ่อีกหลายคนในเรื่อง
ตัวอย่างชัดๆ ก็เช่น ตัวละคร แฮร์รี เอส ทรูแมน ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของอเมริกา ที่ในเวลานั้นเป็นผู้สั่งการให้นำเอาระเบิดปรมาณู -ที่ออปเพนไฮเมอร์และชาวคณะเพิ่งสร้างขึ้นสำเร็จ- ไปปล่อยที่ญี่ปุ่น โดยไม่สนใจฟังเสียงทัดทานจากใคร แถมยังใช้มันด้วยความภาคภูมิใจในแสนยานุภาพของประเทศตนเสียด้วย พร้อมกับมองว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ระเบิดอันทรงพลังนี้ เป็นเพียงพวก ‘เด็กขี้แง’ ไปเสียอีก (อนึ่ง ทรูแมนเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวที่ใช้ระเบิดปรมาณูในสงคราม)
แม้ใจหนึ่งจะ ‘เสียใจ’ ที่ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเขาได้คร่าชีวิตของผู้คนจำนวนหลายแสนไป แต่อีกใจหนึ่ง ในฐานะของนักฟิสิกส์ เขาก็ยัง ‘ภูมิใจ’ ในศักยภาพของนวัตกรรมชิ้นนี้ ที่สามารถสั่นสะเทือนแวดวงวิทยาศาสตร์ในระดับโลกได้หรือแม้แต่ตัวของออปเพนไฮเมอร์เองก็ตาม ที่แม้ใจหนึ่งจะ ‘เสียใจ’ ที่ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเขาได้คร่าชีวิตของผู้คนจำนวนหลายแสนไป แต่อีกใจหนึ่ง ในฐานะของนักฟิสิกส์ เขาก็ยัง ‘ภูมิใจ’ ในศักยภาพของนวัตกรรมชิ้นนี้ ที่สามารถสั่นสะเทือนแวดวงวิทยาศาสตร์ในระดับโลกได้ และมันยังทำให้เขากลายเป็นบุคคลสำคัญของประเทศชาติในช่วงเวลาหนึ่ง – ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ในแง่หนึ่ง มันได้ช่วยประกอบสร้างความฮึกเหิมใน ‘การมีตัวตน’ ของเขาขึ้นมาเสียด้วยซ้ำไป
และก็ไม่แน่ว่า สิ่งที่สตรอส์พูดถึงออปเพนไฮเมอร์ ประมาณว่า “เขาแค่ทำเป็นรู้สึกผิดกับการคิดค้นระเบิดปรมาณูเท่านั้น เขาแค่ทำให้ตัวเองและคนอื่นเชื่อว่าตัวเขายังเป็นมนุษย์ที่มีศีลธรรม มีหัวจิตหัวใจอยู่ แต่ที่จริงแล้วเขาก็ภูมิใจกับผลงานของตัวเองจะตายไป” นั้น
– ไม่มากก็น้อย อาจเป็น ‘ความจริง’ อยู่เหมือนกัน
อย่างไรก็ดี มีหลายฉากที่โนแลนพาเราเข้าไปดู ‘ความรู้สึกผิดบาป’ ในกระแสสำนึกของออปเพนไฮเมอร์ หลังจากที่ระเบิดปรมาณูถูกใช้ในสงครามโลกไปแล้ว ด้วยการให้ออปเพนไฮเมอร์ ‘มองเห็น’ แสงสว่างจ้าราวกับแสงจากการระเบิด และ ‘ได้ยิน’ คลื่นเสียงอันบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนไม่ต่างจากตอนที่ปรมาณูถูกจุดให้ปะทุขึ้น รวมถึงภาพหลอนที่เขาเห็นผู้คนในโปรเจกต์แมนฮัตตัน -ที่กำลังดีใจกับความสำเร็จของพวกเขา- กลายสภาพเป็นซากศพสีดำสนิทที่โดนไฟคลอกทั้งตัว หรือมีสภาพผิวหนังที่ลอกร่อนคล้ายกับคนที่ได้รับผลกระทบจากรังสีที่แผ่ออกมาจากระเบิดปรมาณู
ภาพเหล่านั้นสะท้อนให้เห็นว่า แม้ลึกๆ แล้ว ออปเพนไฮเมอร์จะภูมิใจกับผลงานวิทยาศาสตร์ชิ้นประวัติศาสตร์ของเขา ในฐานะ ‘นักวิทยาศาตร์ผู้ประสบความสำเร็จ’ แต่มันก็ต้องแลกมาด้วยความเสียใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่สร้าง ‘หายนะครั้งใหญ่’ ขึ้นมาให้แก่โลก โดยมีเพียงความหลงใหลในฟิสิกส์ของตนเท่านั้นที่ได้รับการตอบสนองจนอิ่มหนำสำราญ
สุดท้ายแล้ว ออปเพนไฮเมอร์จึงไม่ต่างอะไรกับผู้มีอำนาจคนอื่นๆ อย่างสตรอส์หรือทรูแมน ที่ ‘เห็นแก่ตัว’ ด้วยการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อหล่อเลี้ยง ‘อีโก้’ ของตนให้เติบโต โดยไม่สนใจว่ามันอาจส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงกับโลกทั้งใบ สังคม คนรอบข้างที่พวกเขารัก หรือแม้แต่ตัวของพวกเขาเองได้อย่างไรบ้างสุดท้ายแล้ว ออปเพนไฮเมอร์จึงไม่ต่างอะไรกับผู้มีอำนาจคนอื่นๆ อย่างสตรอส์หรือทรูแมน ที่ ‘เห็นแก่ตัว’ ด้วยการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อหล่อเลี้ยง ‘อีโก้’ ของตนให้เติบโต โดยไม่สนใจว่าความดื้อด้านและเอาแต่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้น อาจส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงกับโลกทั้งใบ สังคม คนรอบข้างที่พวกเขารัก หรือแม้แต่ตัวของพวกเขาเองได้อย่างไรบ้าง
และมันก็เป็นการพยายามทำให้ตัวเองรู้สึก ‘มีตัวตน’ ที่กลายเป็น ‘ระเบิดปรมาณู’ ที่ย้อนกลับมาทำลายล้างตัวตนของเราเองอีกทีหนึ่ง ในฐานะของคนเห็นแก่ตัวที่มองเห็นแต่ตัวเอง จนลืมมองให้เห็นคนอื่น
และกว่าที่เราจะเห็นว่า เราได้ทำร้าย ทำลายทั้งคนอื่นและตัวเองไปมากแค่ไหน
– ถึงตอนนั้น มันก็อาจ ‘สายไป’ เสียแล้ว
จาก
https://plus.thairath.co.th/topic/subculture/103497