ผู้เขียน หัวข้อ: ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต โศลกสิบเจ็ดบทของปันเชนลามะ  (อ่าน 8640 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



บทที่ ๑

ข้าและสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วทั้งจักรวาล ไม่มีเว้น
ขอยึดถือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
รวมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ตราบกระทั่งบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
ขอให้พวกเราจงหลุดพ้นจากความกลัวในชีวิตนี้
ในสภาวะรอยต่อแห่งชีวิต
และ ในชาติหน้าด้วย เทอญ


หนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต
เขียนโดย ทะไลลามะ
บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์
แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์
บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
หนังสือเล่มนี้ เป็นอรรถาธิบายโศลกสิบเจ็ดบทที่มีชื่อว่า "คำอธิษฐานเพื่อแคล้วคลาดจากอุปสรรคภยันตรายในสภาวะรอยต่อแห่งชีวิต ผู้กล้าที่หลุดพ้นจากความกลัว" ซึ่งปันเชนลามะองค์แรกชื่อโลชัง โชคยี เกียลเซนประพันธ์ไว้ ท่านผู้นี้เป็นพระอาจารย์ของทะไลลามะองค์ที่ ๕ ในช่วงศตวรรษที่ ๑๗

ท่านทะไลลามะองค์ปัจจุบันผู้เป็นองค์อรรถาธิบาย กล่าวนำไว้ว่า
"การจะหลุดพ้นจากภาพหลอนอันน่ากลัวขณะที่กำลังจะตาย และในระหว่างช่วงรอยต่อแห่งชีวิตนั้น เราต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในบทโศลก ซึ่งได้บอกวิธีการที่จะขจัดความกลัวเหล่านั้นเอาไว้อย่างลึกซึ้ง การพิจารณาดังกล่าวช่วยให้เราเรียนรู้ว่า ความตายเกิดขึ้นอย่างไร เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ในระหว่างที่เกิดกระบวนการนั้นจริง ๆ ความตายคือช่วงเวลาที่จิตเบื้องลึกเผยตัวออกมา การเจริญมรณานุสติในชีวิตประวันยังช่วยเปิดประตูไปสู่สภาวะดังกล่าวด้วย"

โศลกเจ็ดบทแรก อธิบายถึงวิธีการรับมือกับความตาย

สามบทที่สอง อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการตายสี่ขั้นแรก

บทที่สิบเอ็ด พูดถึงโครงสร้างของกายและจิตตามหลักอนุตตรโยคตันตระ

บทที่สิบสองและสิบสาม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเข้าถึงประสบการณ์แสงกระจ่างของจิตเดิมแท้

สี่บทสุดท้าย พูดถึงสภาวะในช่วงรอยต่อแห่งชีวิต (ภายหลังจากสิ้นใจและก่อนที่จะไปสู่ชีวิตใหม่)

โศลกทั้ง ๑๗ บท นำเสนอวิธีการเตรียมตัวตายอย่างสมบูรณ์ โดยขจัดเหตุปัจจัยอันไม่พึงประสงค์ เอื้ออำนวยให้เกิดเหตุปัจจัยที่ดี รวมถึงการเรียนรู้วิธีที่จะปฏิบัติธรรมในขณะตาย การรับมือกับสภาวะในช่วงรอยต่อแห่งชีวิต ตลอดจนการกำหนดภพภูมิที่จะไปเกิดใหม่
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
คำอธิษฐานบทแรก ยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง มุ่งมั่นปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้เป็นคุรุ โดยมีหมู่สงฆ์ที่เข้าถึงการรู้แจ้งขั้นสูงเป็นแบบอย่าง ค่อย ๆ ก้าวเดินไปบนมรรคาธรรมและการขจัดทุกข์นานา ค่อย ๆ ขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่ขัดขวางการหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร และที่ขวางกั้นญาณหยั่งรู้ กระทั่งได้บรรลุถึงพุทธภาวะ หลุดพ้นจากความกลัวทั้งหลาย เพื่อการช่วยเหลือผู้อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ได้เข้าถึงสภาวะสูงสุด

ยึดถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งในการตรัสรู้ เพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย

เป็นคำอธิษฐานเพื่อปัดเป่าความกลัวในชีวิตนี้ (กลัว)สภาวะรอยต่อแห่งชีวิต (กลัว)ชาติหน้า โดยยึดถือและคำนึงถึงผู้อื่นเป็นที่ตั้ง


บทที่ ๒

ขอให้เราได้เห็นคุณค่าความหมายของการเกิดมาในชีวิตนี้
ไม่หลงใหลเพลิดเพลินไปกับเรื่องที่ไร้แก่นสาร
เนื่องจากฐานที่ดี อันยากที่จะได้มา
ทว่าง่ายที่จะเสื่อมสลายไปนี้
ได้ให้โอกาสในการเลือกระหว่างคุณกับโทษ
ความสุขกับความทุกข์



คำอธิษฐานให้ตระหนักถึงความสำคัญของชีวิต โดยการเพ่งพิจารณาถึงคุณค่าและโอกาสอันยากลำบากกว่าที่จะได้เกิดมาในร่างมนุษย์นี้

จงตระหนักถึงคุณค่าที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรรมดีมากมายในอดีตชาติ รวมทั้งซาบซึ้งในความจริงที่ว่า เรามีโอกาสที่จะเรียนรู้หลักธรรมคำสอน และพร้อมนำไปปฏิบัติ

เนื่องจากเราสามารถใช้ชีวิตอันมีค่านี้ไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาล หรืออาจสร้างหายนะใหญ่หลวง และชีวิตนี้ก็เปราะบางอย่างที่สุด ฉะนั้น จงใช้มันอย่างมีค่าเสียตั้งแต่ตอนนี้

ความสุขทางกายเป็นเพียงความสมดุลชั่วคราวของธาตุในร่างกาย มิใช่ความสอดคล้องกลมกลืนในระดับลึก จงทำความเข้าใจถึงความไม่เที่ยงของมัน

จิตที่ได้รับการอบรมขัดเกลาจะทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และมีสุข ขณะที่จิตอันว้าวุ่นจนไม่อาจควบคุม ทำให้เราจมจ่อมอยู่กับความกลัวและความวิตกกังวล แม้ว่าสภาพแวดล้อมภายนอกจะดีเลิศเพียงใดก็ตาม จงตระหนักว่าบ่อเกิดของความสุขและสวัสดิภาพของเราขึ้นอยู่กับจิตที่ได้รับการฝึกจนสงบ ซึ่งจะยังอานิสงส์มหาศาลแก่คนรอบข้าง

(จากหนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต เขียนโดย ทะไลลามะ บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์ บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
บทที่ ๓

ขอให้เราสำนึกว่าไม่มีเวลาที่จะสูญเปล่าอีกแล้ว
ความตายเป็นสิ่งแน่นอน เพียงแต่เวลาของมันนั้นไม่อาจรู้แน่
ที่พบพานย่อมพลัดพราก ที่สร้างสมไว้ย่อมหมดไป ไม่มีเหลือ
ที่สุดของการขึ้นย่อมตกต่ำลง ที่สุดของการเกิดคือความตาย


เป็นคำอธิษฐานเพื่อละวางความยึดมั่นในสังสารวัฏฏ์ ด้วยการมีสติระลึกรู้ในอนิจจังและความตาย

การเจริญมรณานุสติ จะช่วยให้เราใช้เวลาอย่างมีคุณค่ายิ่งขึ้น

จงระมัดระวังตัวไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมายาคติเรื่องความเที่ยง เราจะได้ไม่ผัดผ่อนการปฏิบัติธรรมออกไป

จงตระหนักว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะวิเศษล้ำเลิศสักเพียงใด ย่อมต้องมีจุดสิ้นสุดเป็นธรรมดา

อย่าคิดว่ายังมีเวลาเหลืออีก

จงเผชิญกับวาระสุดท้ายของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา หาหนทางอันแยบยลที่จะให้ผู้อื่นรับมือกับความตายของพวกเขาอย่างตรงไปตรงมา อย่าหลอกลวงซึ่งกันและกันด้วยคำหวานในเวลาที่ความตายย่างกรายเข้ามา ความจริงใจจะช่วยสร้างขวัญกำลังใจและความเบิกบาน

(จากหนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต เขียนโดย ทะไลลามะ บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์ บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
บทที่ ๔

ขอให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์อันหนักหน่วงเนื่องจากสาเหตุการตายต่าง ๆ
เมื่อต้องอยู่ในโลกแห่งมิจฉาทิฏฐิว่ามีผู้รับรู้และสิ่งที่ถูกรับรู้
ร่างกายอันเป็นมายาซึ่งประกอบไปด้วยธาตุอันเป็นมลทินทั้งสี่
และวิญญาณ จะแยกสลายจากกัน


เป็นคำอธิษฐานขอไม่ให้ความทุกข์เข้าครอบงำในระหว่างที่สิ้นใจ

จงลงมือปฏิบัติเสียแต่บัดนี้ เพื่อว่าเมื่อวันสุดท้ายมาถึง เราจะได้คุ้นเคยกับการคิดถึงแต่เรื่องที่เป็นบุญกุศล

จงมองเห็นร่างกายเป็นโลกแห่งมิจฉาทิฏฐิจริง ๆ เพราะถึงมันจะดูสะอาดเมื่อเราชำระล้าง เป็นบ่อเกิดของความสุข ดูเที่ยงแท้ถาวร และอยู่ภายใต้ความควบคุมของเรา แต่ก็หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ มันเกิดจากธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) มีความรู้สึกเจ็บปวด และเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะโดยตัวของมันเอง

ผู้คนและสรรพสิ่งดูเหมือนจะดำรงอยู่จริงด้วยตัวมันเอง และอวิชชาก็ทำให้เรายอมรับในปรากฏการณ์อันบิดเบือนนี้ จนเพิ่มพูนอารมณ์ฝ่ายต่ำของความโลภ โกรธ และหลง ยิ่งขึ้น อารมณ์เหล่านี้จะนำไปสู่กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่เป็นอกุศล อันจะทำให้กระบวนการเวียนว่ายดำเนินต่อไปไม่สิ้นสุด พึงเข้าใจว่าเราอยู่ในโลกแห่งมิจฉาทิฏฐิ

(จากหนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต เขียนโดย ทะไลลามะ บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์ บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
บทที่ ๖

ขอให้เราสามารถจดจำคำสอนในการปฏิบัติ
ยามที่หมอละทิ้งเรา พิธีกรรมก็ไร้ประโยชน์
เพื่อนพ้องหมดหวังกับชีวิตของเรา
และเราถูกทอดทิ้งโดยไม่อาจช่วยอะไร


เป็นคำอธิษฐานให้มีสติระลึกถึงคำสอนในยามที่ล่วงลับ

เป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่ง ความหวังที่จะมีชีวิตอยู่ได้จบสิ้นลงแล้ว ถึงตอนนั้น หมอ พระ เพื่อน และญาติต่าง ๆ ก็ไม่อาจยื้อยุดเราไว้ได้ เราต้องช่วยตัวเองเท่านั้น

ชั่วขณะสุดท้ายเราต้องรำลึกถึงพระธรรมคำสอนที่เหมาะกับระดับการปฏิบัติของเรา และปฏิบัติตามนั้น

หมั่นฝึกฝนให้คุ้นเคย และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยไป ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์เช่นไร หรือประสบกับความยุ่งยากเพียงใด  จงบำเพ็ญกุศลให้มาก เพื่อสร้างสมพลังที่เกื้อหนุนทุก ๆ ด้านของชีวิตและความตาย พร้อมกับตระหนักว่าความทุกข์เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง  จงรู้จักที่จะรักผู้อื่น และตั้งจิตอธิษฐานอยู่เสมอว่าขอให้ได้ปฏิบัติธรรมในชาติต่อ ๆ ไป

เวลาที่มีคนตาย อย่าทำให้เขาว้าวุ่น ด้วยการไปกระพือความยึดมั่นถือมั่น หรือปลุกเร้าโทสะและความเกลียดชัง อย่าคร่ำครวญต่อการจากไป อย่ายื้อยุด หรือร้องไห้ต่อหน้า ทว่าจงช่วยให้เขาจากไปอย่างมีความหมาย โดยเตือนให้นึกถึงการปฏิบัติที่ลึกซึ้งขึ้น

ถ้าเป็นไปได้ ขอให้ผู้อื่นทำเช่นนี้กับเราด้วย เตรียมหาคนที่จะมาอยู่ใกล้ชิด คอยพูดกระซิบข้างหู เตือนให้เรารำลึกถึงบุญกุศลบางอย่างที่ต้องการอยู่บ่อย ๆ

(จากหนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต เขียนโดย ทะไลลามะ บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์ บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
บทที่ ๗

ขอให้เรามีศรัทธาในปิติสุข
เมื่อต้องละทิ้งอาหารและความมั่งคั่งที่สั่งสมมาด้วยความตระหนี่
และเราต้องพรากจากเพื่อนรักที่ห่วงหาอาทรตลอดชั่วนิจนิรันดร์
ไปเสี่ยงภัยเพียงลำพัง


เป็นคำอธิษฐานเพื่อการตายอย่างเบิกบานเชื่อมั่น

ถ้าไม่อยากสลดหดหู่ไปกับความตาย จงยึดถือศาสนาที่เราศรัทธาเป็นที่พึ่ง ด้วยความกรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพ่งพิจารณาถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตในชาตินี้อย่างมีค่า ซึ่งมีทั้งช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย และที่จำเป็นต้องปฏิบัติธรรม ตลอดจนใคร่ครวญถึงเรื่องความไม่เที่ยงอยู่เสมอ ๆ

แม้ในขณะที่ตายจะมีภาพและเหตุการณ์น่ากลัวเกิดขึ้น แต่พื้นฐานจากการรำลึกถึงการปฏิบัติที่ดีดังกล่าว จะช่วยให้เราสงบลงและเพ่งพิจารณามันด้วยความเบิกบานและเชื่อมั่น

(จากหนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต เขียนโดย ทะไลลามะ บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์ บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
บทที่ ๘

ขอให้เราพัฒนากุศลจิตอันทรงพลัง
ในยามที่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ค่อย ๆ แตกดับ
กำลังวังชาถดถอย จมูกและปากแห้งเหี่ยวลง
ไออุ่นหมดไป ลมหายใจระรวย ตามมาด้วยเสียงในลำคอก่อนสิ้นใจ


เป็นคำอธิษฐานให้บังเกิดกุศลจิตอันทรงพลัง ในขณะที่สัญญาณภายนอกแห่งการดับสลายของธาตุต่าง ๆ อุบัติขึ้น

จงเรียนรู้ถึงกระบวนการแตกสลายของธาตุทั้งสี่ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับสัญญาณภายนอกดังที่ได้กล่าวไปเมื่อข้างต้น รวมถึงสัญญาณภายในดังที่จะอธิบายในโศลกบทต่อไป เพื่อว่าที่เราจะได้ไม่ตื่นตกใจเมื่อกระบวนการตายเริ่มต้นขึ้น

จงเอาใจใส่ชั่วขณะที่ใกล้ตาย เพื่อให้ความคิดที่เป็นกุศลหนุนเนื่องอนุสัยที่ดี

เค้าลางแห่งความตายจะปรากฏภายใน ๑-๒ ปีก่อนถึงเวลาจริง นั่นจะช่วยให้เราเห็นความจำเป็นของการเตรียมพร้อม ทว่าเป็นการดีกว่าที่จะเตรียมพร้อมเสียแต่เนิ่น ๆ

(จากหนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต เขียนโดย ทะไลลามะ บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์ บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ในโศลกจากบทที่ ๑ ถึงบทที่ ๗ เป็นเรื่องของการตระเตรียมทางด้านความคิดที่จะเผชิญกับความตายอย่างตรงไปตรงมา ตั้งแต่บทที่ ๘ นี้ไปจะเป็นขั้นตอนการตาย ซึ่งท่านทะไลลามะอธิบายไว้อย่างละเอียดหมดจดถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการตาย

กระบวนการเหล่านี้อาจจะเป็นประสบการณ์โดยตรงของท่านทะไลลามะเอง รวมทั้งของลามะท่านอื่น ๆ เพราะท่านเหล่านี้ล้วนกลับมาเกิดใหม่ทั้งสิ้น ดังนั้น ท่านจึงสามารถจดจำรายละเอียดของกระบวนการที่เกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้และทั้งนั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นจากความคิดของเราเองก่อนว่า เราเชื่อเรื่องตายแล้วกลับมาเกิดใหม่หรือไม่ ถ้าเชื่อ จิตใจก็อาจน้อมนำเอาโศลกทั้ง ๑๗ บทเข้ามาได้ง่าย และอาจถึงขั้นนำไปปฏิบัติกับชีวิตตนเองและคนรอบข้างได้ แต่ถ้าไม่เชื่อ ก็คงเป็นเพียงการเพิ่มพูนความรู้อีกแขนงหนึ่งเท่านั้น

ในเวลาที่กระบวนการตายเกิดขึ้นจริง เราจะต้องผ่านขั้นตอนแปดอย่าง สี่ขั้นแรกเป็นการดับสลายของธาตุทั้งสี่ ส่วนอีกสี่ขั้นหลังเป็นการดับสลายของจิต เข้าสู่จิตส่วนลึกที่สุด ที่เรียกว่าจิตแห่งแสงกระจ่าง

ขั้นตอนทั้งแปดสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะมโนภาพ ซึ่งแม้จะไม่ได้เห็นด้วยตาก็ตาม เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเรื่อยไปตามลำดับ และอาจย้อนกลับได้ด้วย

ขั้นตอนทั้งแปดมี ๑.ภาพลวงตา  ๒.หมอกควัน ๓.หิ่งห้อย ๔.เปลวไฟจากตะเกียง ๕.เวิ้งจิตที่มีสีขาวกระจ่าง ๖.เวิ้งจิตที่มีสีส้มแดงเจิดจ้า ๗.เวิ้งจิตที่มีสีดำทะมึน ๘.แสงกระจ่าง และอาจย้อนกลับขั้นตอนที่แปดไปสู่หนึ่งได้อีก

กระบวนการสี่ขั้นแรก เป็นขั้นตอนการแตกสลายของธาตุสี่

ขั้นที่ ๑ ธาตุดินเสื่อมสลายกลายเป็นธาตุน้ำ ร่างกายจะผ่ายผอม แขนขาอ่อนเปลี้ย สูญเสียพลังและสง่าราศี สายตาพร่ามัว ไม่อาจหลับตาหรือลืมตาได้อีก อาจรู้สึกเหมือนจมลงไปในดินหรือใต้โคลน ในสภาวะนี้เราต้องไม่ทุรนทุราย ให้รักษาความสงบไว้ คิดถึงแต่สิ่งดีงาม สิ่งที่เห็นในจิตนั้นดุจภาพลวงตา

ขั้นที่ ๒ ธาตุน้ำเสื่อมสลายกลายเป็นธาตุไฟ เราจะไม่รับรู้อะไรที่เกี่ยวพันกับประสาทสัมผัสและจิตสำนึกอีกต่อไป ปาก ลิ้น คอ แห้งผาก ของเหลวอื่น ๆ อาทิ ปัสสาวะ เลือด น้ำเชื้อ และเหงื่อ จะเหือดหายไป ไม่ได้ยินเสียงอีกต่อไป สิ่งที่เห็นในจิตนั้นดูคล้ายกับกลุ่มควันหรือหมอกบาง ๆ

ขั้นที่ ๓ ธาตุไฟเสื่อมสลายกลายเป็นธาตุลม ร่างกายไม่อาจเคลื่อนไหวได้อีกต่อไป ไออุ่นของร่างกายจะหมดไป คนที่ทำกรรมไม่ดีไว้มาก ไออุ่นจะเคลื่อนจากกระหม่อมลงสู่หัวใจ ร่างกายท่อนบนจะเย็นก่อน ส่วนผู้ที่ทำกรรมดีมากกว่า ไออุ่นจะเลื่อนจากส้นเท้าสู่หัวใจ ร่างก่ายท่อนล่างจะเย็นก่อน ลมหายใจออกจะยาวขึ้น ลมหายใจเข้าจะสั้นลง ลำคอมีเสียง สิ่งที่เห็นในจิตประหนึ่งหิ่งห้อย ซึ่งบางครั้งก็อาจอยู่ในหมอกควัน หรือคล้าย ๆ กับประกายไฟในเขม่าก้นกระทะเหล็ก

ขั้นที่ ๔ ธาตุลมเสื่อมสลายกลายเป็นวิญญาณธาตุ ลิ้นเริ่มแข็งและหดสั้น โคนลิ้นเริ่มคล้ำ ไม่รับรู้สัมผัสทางกาย ไม่มีลมหายใจผ่านทางช่องจมูก ทว่ายังมีลมในระดับละเอียดอยู่ กระบวนการตายยังไม่สิ้นสุด สิ่งที่เห็นในจิตดูคล้ายกับเปลวไฟของตะเกียงเนยหรือเทียนไข หรือคล้ายแสงวูบไหวเหนือตะเกียง ตอนแรกแสงจะวูบไหวราวกับว่าเนยหรือขี้ผึ้งใกล้หมด จากนั้นลมซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนมโนสังขารหรือสภาพการปรุงแต่งในใจก็เริ่มดับ ทำให้เปลวไฟฉายแสงอย่างสม่ำเสมอ

ระหว่างขั้นตอนเหล่านี้ เราต้องขจัดอุปสรรคที่ปิดกั้นความคิดอันเป็นกุศล ขณะใกล้ตาย อนุสัยที่เป็นกุศลหรืออกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งจะผุดโผล่ขึ้น และเป็นบาทฐานของชีวิตชาติหน้าทั้งหมด กรรมอื่น ๆ จะเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของชีวิต เช่น สุขภาพ ฐานะ และสติปัญญา ฉะนั้น ความคิดและสภาวะจิตใจในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่ง

ถึงแม้ว่าชีวิตส่วนใหญ่ของเราจะคิดถึงเรื่องที่ดี เป็นกุศล ทว่าอกุศลจิตอันแรงกล้าในขณะใกล้ตาย ก็อาจกระพืออนุสัยฝ่ายต่ำขึ้นมาได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ไม่ค่อยสร้างบุญกุศลเท่าใดนัก อาจบ่มเพาะกุศลจิตอันแรงกล้าในชั่วขณะสุดท้ายของชีวิต ไปหนุนเนื่องอนุสัยที่เป็นกุศล ทำให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีก็ได้เหมือนกัน

เราต้องเอาใจใส่ช่วงเวลานี้ให้มากที่สุด พยายามบ่มเพาะความคิดที่เป็นกุศลเท่าที่จะนึกได้ ผู้ดูแลใกล้ชิดจะต้องรู้ว่าสภาพจิตของคนใกล้ตายนั้นอ่อนไหว จึงควรเสริมสร้างบรรยากาศที่สงบ ไม่ทำอะไรรบกวน

(จากหนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต เขียนโดย ทะไลลามะ บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์ บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
บทที่ ๙

ขอให้เราตระหนักถึงวิถีแห่งความเป็นไปที่ไม่อาจหลีกพ้น
เมื่อเกิดปรากฏการณ์มายาอันน่าสะพรึงกลัวนานา
โดยเฉพาะภาพลวงตา หมอกควัน และหิ่งห้อย
รวมทั้งสภาพความนึกคิดทั้ง ๘๐ อย่างดับไป


เป็นคำอธิษฐานให้สามารถประคองความรู้แจ้งในสัจธรรมอันลึกซึ้ง ขณะที่นิมิตภายในเริ่มอุบัติขึ้น

จงเข้าใจว่าปรากฏการณ์ทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นในขณะล่วงลับ ซึ่งบางครั้งก็ดูน่าสะพรึงกลัวนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากกรรม อย่าไปให้ความสนใจกับมัน

ทำความรู้จักกับนิมิตสามอย่างแรกในแปดอย่าง คือ ภาพลวงตาคล้ายกับที่อยู่ในทะเลทราย กลุ่มควันจากปล่องไฟหรือหมอกควันบาง ๆ ที่ปกคลุมไปทั่วห้อง หิ่งห้อยหรือประกายไฟในเขม่าบนก้นกระทะ

เมื่อธาตุทั้งสี่ดับสลาย จะมีปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น บางครั้งอาจมีภาพและเสียงประหลาดปรากฏขึ้นก่อนที่ตาและหูจะหยุดทำงาน นิมิตเหล่านี้มักปรากฏในจิตสำนึก เช่น คนที่มีอาการอ่อนเปลี้ยอาจเห็นภาพไฟคุโชน จนรู้สึกกลัวอย่างมาก บางคนก็เห็นภาพดี ๆ หรือภาพที่น่าพิศวง ทำให้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ

ความแตกต่างเหล่านี้เป็นผลมาจากพลังของกุศลกรรมและอกุศลกรรมในชาตินี้ และในอดีตชาติ เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงสภาพและลักษณะของการไปเกิดใหม่ เช่นเดียวกับที่ลักษณะของแสงบนท้องฟ้าก่อนตะวันขึ้น สามารถทำนายสภาพอากาศในวันนั้น ๆ ได้

คุณaddถามถึงเค้าลางบอกเหตุการหมดอายุขัยไว้ที่ท้ายครัว จะยกมาตอบไว้ที่นี่นะคะ

เรื่องนี้ท่านไม่ได้อธิบายไว้มากนัก คงกล่าวแต่เพียงสั้น ๆ ว่า

ภายหลังจากการปฏิสนธิ จะมีกระบวนการก่อรูปจากในระดับละเอียดไปสู่หยาบ ขณะที่ตอนตายเป็นการดับสลายจากในระดับหยาบไปสู่ละเอียด เป็นปรากฏการณ์แตกดับของธาตุทั้งสี่ที่มาประกอบกัน

สำหรับผู้ที่ค่อย ๆ ตายตามอายุขัย จะสามารถรับรู้เค้าลางบอกเหตุการตายได้ เช่น ความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทิศทางของลมหายใจที่เข้าช่องจมูก ความฝัน ลัญญาณทางร่างกายอาจเกิดขึ้นล่วงหน้าเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะถึงวาระสุดท้ายจริง ๆ แต่สำหรับบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นภายใน ๑-๒ ปี

มรณสัญญาณยังรวมถึงความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ที่อยู่อาศัย เพื่อน ฯลฯ จนอยากไปอยู่ที่อื่น หรืออาจเกิดความหวงแหนในสิ่งที่เคยมีอย่างยิ่ง เราอาจเปลี่ยนจากท่าทีที่แข็งกร้าวมาเป็นถ้อยทีถ้อยอาศัย หรือกลับตรงกันข้าม อาจมีความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างเห็นได้ชัด สง่าราศีหรือรูปแบบพฤติกรรมเปลี่ยนไป ลักษณะการพูดจาหยาบคายอย่างมาก ชอบก่นด่า ฯลฯ หรืออาจพูดถึงเรื่องความตายเป็นเนืองนิจ

ท่านทะไลลามะได้เล่าถึงการละสังขารของอาจารย์อาวุโสของท่าน ชื่อลิง รินโปเชไว้ตอนหนึ่งว่า

ตอนที่ท่านอาจารย์ยังมีสุขภาพแข็งแรงอยู่นั้น ข้าพเจ้า(หมายถึงท่านทะไลลามะ)ไม่กล้าคิดถึงเรื่องที่ท่านจะมรณภาพเลย เพราะสำหรับข้าพเจ้าแล้ว ท่านเปรียบเสมือนศิลาอันแข็งแกร่งที่สามารถพึ่งพิงได้ ข้าพเจ้าไม่มั่นใจว่าจะอยู่ได้โดยปราศจากท่าน แต่เมื่อท่านมีปัญหาเรื่องเส้นโลหิตในสมอง ภายหลังจากมีอาการครั้งที่สองซึ่งรุนแรงมาก ในที่สุดข้าพเจ้าก็คิดว่า ตอนนี้คงถึงเวลาที่ท่านจะจากไปแล้ว บางครั้งถึงกับกับคิดว่าท่านจงใจป่วย เพื่อว่าเมื่อถึงเวลาที่ท่านต้องละสังขารไปจริง ๆ ข้าพเจ้าจะได้พร้อมรับภาระหน้าที่ต่อไป นั่นคือการค้นหาร่างที่ท่านจะกลับมาเกิดใหม่

(จากหนังสือเรื่อง ชั่วขณะสุดท้ายแห่งชีวิต เขียนโดย ทะไลลามะ บรรณาธิการและถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจฟฟรี ฮ้อปกินส์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธารา รินศานต์ บรรณาธิการภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...