อ่านหนังสือเล่มนึง ชื่อ "บวชแล้ว...ไม่ได้อะไร!"
ธรรมะเบาๆ ขณะจำพรรษา ณ วัดไกลกังวล
โดย วิชชา ตุลยาทร
ตั้งชื่อหนังสือ มีเหตุผล 2 ประการคือ
1. ในเชิงรูปธรรม พอเราบวชและสุดท้ายลาสิกขาออกไป
จะต้องคืนสิ่งของคืนให้กับทางวัดหรือถวายพระรูปอื่นไปทั้งสิ้น
เพราะถือว่าของเหล่านั้นเป็นของสงฆ์ เราเป็นฆราวาส
ไม่ควรนำติดตัวไป ดังนั้นเราย่อมไม่มีสิ่งใดๆที่จะติดตัว
ออกไปเลย ดังนั้น บวชแล้ว...ไม่ได้อะไร
2. ในเชิงนามธรรม แนวคำสอนพระพุทธเจ้า ทรงสอนให้เรา
ละกิเลส ตัณหาให้ออกจากใจ ให้เรารู้เท่าทันความไม่เที่ยง
ของสังขาร ดังนั้น การมาบวช จึงถือเป็นการที่เรามาละ
เอาสิ่งเหล่านี้ออกไป เมื่อเราสึกออกแล้ว เราก็ไม่ควร
จะนำสิ่งที่เราละแล้วเหล่านี้ติดกลับออกไป
ธรรมะที่ประเสริฐที่สุด คือ ธรรมะอันเกิดจากการปฏิบัติ
และรู้ได้ด้วยตนเอง ธรรมะนั้นจะวิเศษเหนือสิ่งอื่นใด
แก่นพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนหนทางแห่งการดับทุกข์
นั่นคือ อริยสัจ 4
1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพบีบคั้น
2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
4. มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์
ความเป็นธรรมดาของชีวิต 5 ประการ
1. เกิดมาแล้วจะต้องแก่เป็นธรรมดา
2. เกิดมาแล้วจะต้องเจ็บเป็นธรรมดา
3. เกิดมาแล้วจะต้องตายเป็นธรรมดา
4. เกิดมาแล้วจะต้องพลัดพรากจากของรักเป็นธรรมดา
5. เกิดมาแล้วจะต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรมเป็นธรรมดา
ปกด้านหลังมีข้อความทิ้งท้ายไว้ดังนี้
"อย่าบอกให้คนอื่นทำ ในสิ่งที่เราก็ยังทำไม่ได้"
"อย่าตำหนิสิ่งที่ผู้อื่นทำ ในสิ่งที่ตัวเราก็ยังทำ"
ขอบพระคุณคุณวิชชา ตุลยาทร