ผู้เขียน หัวข้อ: การกินเนื้อสัตว์...ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาหรือไม่ ?  (อ่าน 3849 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ terryh

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 21
  • พลังกัลยาณมิตร 15
    • ดูรายละเอียด
การกินเนื้อสัตว์...ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาหรือไม่ ?
การกินเนื้อสัตว์...ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาหรือไม่ ?

อาจารย์สมภาร พรมทา

บทสรุป

ท้ายที่สุดแล้วพุทธทุกฝ่ายก็เห็นร่วมกันว่า

การถือมังสวิรัติเป็นดี การที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้สาวกกินเนื้อสัตว์ได้

ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาทนั้น

ควรเข้าใจว่าเป็นคนละเรื่องกับการสนับสนุนให้กินเนื้อสัตว์

เป็นระบบที่คิดเผื่อให้มีทางออก

สำหรับสถานการณ์ที่เราไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้

เมื่อเราเข้าไปดูหนังในโรงหนัง



โรงหนังนั้นต้องมีทางออกปิดเอาไว้


สำหรับคนที่มีภาระต้องออกไป ก่อนคนอื่น

หรือไม่ยินดีที่จะดูหนังต่อเพราะหมดสนุก

พระพุทธองค์ทรงคิดเช่นนี้

จึงทรงอนุญาตให้ชาวพุทธบริโภคเนื้อสัตว์ได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าในอนาคตหลังจากที่ทรงปรินิพพานแล้ว

พุทธศาสนาอาจแพร่เข้าไปในดินแดนที่อาหารหลักของผู้คนคือเนื้อสัตว์

(เช่นบริเวณขั้วโลกเหนือที่ปลูกพืชแทบจะไม่ได้เลย

มีแต่ปลาและเนื้อเท่านั้นที่ผู้คนจะกินเป็นอาหารได้)

การปิดประตูสนิทสำหรับการกินเนื้อสัตว์

จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

แต่การมีประตูออกที่โรงหนัง

ไม่ได้แปลว่าเป็นการเชิญชวนให้ทุกคนออกมาจากโรงหนัง

การมีอยู่ของประตูนั้น

ควรเข้าใจว่ามีอยู่ในฐานะช่องทางสำหรับการเลือก

จริยธรรมแบบที่ไม่มีช่องทางสำหรับการเลือกเลยนั้น

พุทธศาสนาเถรวาทถือว่าเป็นจริยธรรมที่สุดโต่ง

การที่ฝ่ายมหายานมีความปรารถนา

ที่จะให้โลกนี้ลดการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารมนุษย์นั้น

ต้องถือว่าเป็นเจตนาดีอย่างไม่มีข้อสงสัย

ยิ่งในโลกปัจจุบันที่อุตสาหกรรมอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์

กระทำในรูปธุรกิจที่มีการเลี้ยงสัตว์คราวละมากๆ
และฆ่าสัตว์เพื่อส่งตลาดคราวละมากๆ

ข้อเสนอของฝ่ายมหายานยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
สิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ

การที่เรายังกินเนื้อสัตว์อยู่
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความชั่วร้าย
ที่กลายเป็นระบบไปแล้วนี้ยังดำรงอยู่ต่อไป
________________________________________


ถูกปฏิบัติอย่างไม่มีคุณค่าโดยเจ้าของธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้อง

รอวันหนึ่งเมื่อเนื้อของมันจะให้ค่าตอบแทนสูงสุดแก่ผู้ลงทุน


พวกมันก็จะถูกกวาดต้อนไปเชือด





นี่คือปาณาติบาตที่ทำอย่างเป็นระบบ เป็นวงจร

และอย่างปราศจากความสำนึกทางศีลธรรมใดใด

การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารบ้างในสังคมเกษตรกรรมนั้น

อาจถูกตั้งคำถามไม่มากนักในเชิงจริยธรรม

ชาวนาที่เลี้ยงไก้ไว้ในบ้านปฏิบัติต่อไก่นั้น

อย่างมนุษย์ปฏิบัติต่อเพื่อสรรพสัตว์

ให้อาหารมัน มีที่มีทางให้มันได้เดิน ได้วิ่ง

ได้เลี้ยงลูก ตามประสาของมัน


ถึงเวลาที่จำเป็นเขาอาจขอชีวิตพวกมันบางตัวเพื่อเป็นอาหาร

ปาณาติบาตในสภาพการณ็เช่นนี้ยังพอเป็นที่เข้าใจได้

แต่ไก่หรือหมูที่อยู่ในโรงเลี้ยงสัตว์จำนวนเป็นพันเป็นหมื่นตัวนั้น
ไม่มีคุณค่าหรือศักดิ์ใดใดหลงเหลืออยู่


ระบบที่ปฏิบัติต่อพวกมันก็ไม่ใช่ระบบของมนุษย์
(เมื่อเทียบกับที่ชาวนาเลี้ยงไก่)

สิ่งที่พุทธศาสนามหายานเรียกร้องชาวพุทธก็คือ

ทำไมเมตตาธรรมของเราจงไม่ควรที่จะเอื้อมาถึงสัตว์เหล่านี้

พวกมันไม่มีอำนาจต่อรองใดใด
ที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากนรกบนดินนี้
นอกจากจะมีมนุษย์ผู้มีจิตใจประเสริฐมาช่วยเหลือ

เมตตาธรรมสำหรับฝ่ายมหายาน
นอกจากจะคือความรักและหวังดีต่อเพื่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก
ยังหมายถึงการจะไม่ยอมให้มีการกดขี่เบียดเบียนกัน

โดยที่เราไม่ยอมยื่นมือไปช่วยด้วย
เมตตาธรรมในความหมายหลังนี้
คือความมีน้ำใจ การคิดถึงผู้อื่น

และรู้สึกว่าตราบใดที่โลกนี้ยังมีการกดขี่เบียดเบียนกัน
เราจะนิ่งดูดายคิดถึงแต่ความบริสุทธิ์ส่วนตัวไม่ได้

ชาวพุทธที่ปิดบ้านนั่งภาวนาเพื่อไปพระนิพพาน
โดยไม่มองออกไปข้างนอกบ้านว่าที่โน่นเขาทำอะไรกันบ้าง
จะถือว่ามีเมตตาได้หรือ

นี่คือคำถามที่ผู้วิจัยคิดว่าฝ่ายมหายานได้ตอบเอาไว้ชัด

ฝ่ายเถรวาทจะตอบคำถามนี้อย่างไร
นี่คือสิ่งที่เราชาวเถรวาทจะต้องช่วยกันตอบ

การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นหลักการแก้ความชั่วร้ายโดยวิธีอหิงสาโดยแท้

เราไม่จำเป็นต้องเรียกร้องระบบการคุ้มครองสิทธิสัตว์

(คือเสนอให้มีกฏหมายยกเลิกการค้าขายเนื้อสัตว์)
อย่างที่ชาวตะวันตกบางพวกกำลังรณรงค์

เพราะการเสนอเช่นนั้นเป็นการสร้างการเผชิญหน้ากัน
สิ่งทื่เราสามารถทำได้ง่ายๆ ตรงไปตรงมาทันทีทันใด



คือ พยายามไม่กินเนื้อสัตว์
สำหรับชาวพุทธเถรวาท

คฤหัสถ์อาจถือมังสวิรัติได้ง่ายกว่าพระสงฆ์
เพราะเป็นผู้ที่สามารถเลือกได้

และคฤหัสถ์ที่ถือมังสวิรัตินั่นแหละ

ที่จะช่วยให้พระสงฆ์ถือมังสวิรัติได้อย่างง่ายดาย
ด้วยการถวายอาหารมังสวิรัติแก่ท่าน

พระสงฆ์ท่านไม่มีทางปฏิเสธการอุปถัมภ์ของชาวบ้านอยู่แล้ว
เราถวายสิ่งใดท่านก็ฉันสิ่งนั้น

แต่การเลิกกินเนื้อสัตว์ไม่ใช่ของที่จะเลิกกระทำได้ง่ายๆ
เพราะระบบวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ที่เราถือกันเป็นหลักใหญ่ในโลกขณะนี้

เชื่อว่ามนษย์ถูกสร้างมาให้กินเนื้อสัตว์

เพื่อสร้างสมองของเด็กให้เจริญเติบโต

ถ้ามนุษย์ยังมีความจำเป็นบางประการ
ที่จะต้องกินเนื้อสัตว์อยู่

จริยธรรมแบบทางเลือกที่พุทธศาสนาเถรวาทเสนอนั้น
ก็น่าที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

การกินเนื้อสัตว์บนพื้นฐานของความสำนึกว่า

ตนเองกำลังเอาเปรียบผู้อื่นจะเป็นแรงหน่วงดึงที่สำคัญ

ที่ไม่ได้ทำให้เด็กกินเพื่อความอร่อย
แต่เพราะความจำเป็น

ยิ่งพุทธศาสนาเถรวาทมีคำสอน
ที่บรรยายโทษของการประกอบอาชีพปาณาติบาต

(เช่นเรื่องนายโคฆาตก์และนายจุนทสูกริกใน “อรรถกถาธรรมบท”)
ว่าจะทำให้มีชีวิตที่เศร้าหมองอย่างไร

คำสอนนี้จะยิ่งมีส่วนช่วยให้ผู้ที่ประกอบอาชีพปาณาติบาต
โดยเฉพาะในเชิงอุตสาหกรรมมีความตระหนักคิดมากขึ้น

ฝ่ายมหายานนั้นรณรงค์ที่ผู้บริโภค
ส่วนฝ่ายเถรวาทก็รณรงค์ที่ผู้ผลิต

เมื่อผนวกจริยธรรมจากสองฝ่ายเข้าด้วยกัน
การฆ่าสัตว์และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร


ก็คงจะลดลงจากโลกนี้เรื่อยๆ อย่างแน่นอน



ระบบจริยธรรมของพุทธศาสนาเถรวาทนั้น สัตว์จำนวนมหาศาลต้องถูกเลี้ยงในสถานที่ที่แออัด 
(คัดลอกบางตอนมาจาก :

 งานวิจัยเรื่อง “กิน : มุมมองของพุทธศาสนา”
โดยอาจารย์สมภาร พรมทา ภาควิชาปรัชญา
 โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
พิมพ์ครั้งที่ ๒, พ.ศ ๒๕๔๗, หน้า ๗๕-๗๘)

 

ออฟไลน์ Mckaforce

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 93
  • พลังกัลยาณมิตร 38
  • สุขใจ ดอท คอม
    • ดูรายละเอียด
    • สุขใจ ดอท คอม
พระพุทธองค์ไม่ได้ห้ามเรื่องการฉันเนื้อ

และไม่เคยมีบอกว่าพระพุทธองค์ทรงฉันเจ

หากพิจารณาโดยถ้วนแล้ว ยกตัวอย่างดังบท

ธาตุปัจจเวกขณ์  (ยะถาปัจจะยัง)

ยะถาปัจจะยัง  ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะ เมเวตัง,                   

สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น  กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,

ยะทิทังปิณฑะปาโต ตะทุปะภุญชะโก จะปุคคะโล,               

สิ่งเหล่านี้ คือบิณฑบาต และคนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น,

ธาตุมัตตะโก,             

เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,

นิสสัตโต,                       

มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน, 

นิชชีโว,                       

มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,

สุญโญ,                             

ว่างเปล่าจากความหมาย แห่งความเป็นตัวตน,

สัพโพ ปะนะยัง ปิณฑะปาโต  อะชิคุจ ฉะนิโย,                   

ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,

อิมัง ปูติกายัง ปัตวา, 

ครั้งมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,

อะติวิยะ  ชิคุจฉะนีโย  ชายะติ, 

ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน



อ้างถึง

จะเห็นว่าท่อน


ยะถาปัจจะยัง  ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะ เมเวตัง,                   

สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น  กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,




สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น หมายความว่า เมื่อพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นพืช เป็นเนื้อสัตว์

ก็ประกอบขึ้นจากธาตุ ดังนั้นจึงมิให้กล่าวชื่อหรือชนิดของอาหาร แต่ให้มองว่าล้วนเป็นธาตุ


เจริญพร

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ชีวกสูตร

เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์
เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง

[๕๗] พ. ดูกรชีวก ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้
ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง ดูกรชีวก
เรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน
เนื้อที่ตนรังเกียจ
ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล
ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น
เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ
ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค
ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.

เป็นพระพุทธดำรัสตรัสตอบปัญหาของหมอชีวกโกมารภัจจ์
คัดลอกจาก
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=13&A=950
อ่านอรรถกถาขยายความได้ที่
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56



34777.ทำไมไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเป็นการสร้างกุศลครับ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=34777

อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ตติยวรรค ปุตตสูตร
อรรถกถาปุตตสูตร

ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม ความพยายามที่จะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.

ปาณาติบาตที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ ไม่พ้นไปจากองค์ ๕ พึงทราบว่าเป็นปาณาติบาต. ในองค์ประกอบ ๕ อย่างนั้น การรู้ว่าสัตว์มีชีวิต และจิตคิดจะฆ่า จัดเป็นบุพภาค (ของปาณาติบาต) ส่วนความพยายามที่จะฆ่า เป็นองค์ประกอบให้วธกเจตนาปรากฏชัด.

ปาณาติบาตนั้นมี ๖ ประโยค คือ
๑. สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือตนเอง)
๒. อาณัตติกประโยค (ใช้ผู้อื่นฆ่า)
๓. นิสสัคคิยประโยค (การขว้างอาวุธไป ปล่อยอาวุธไป)
๔. ถาวรประโยค (เครื่องมือฆ่าสัตว์ที่ทำไว้ประจำ)
๕. วิชชามยประโยค (อำนาจคุณแลไสยศาสตร์)
๖. อิทธิมยประโยค (การบันดาลด้วยฤทธิ์)

พิจารณาจากอรรถกถาข้างต้น การกินเนื้อสัตว์อาจไม่ครบองค์ประกอบของปาณาติบาต

แต่ถ้าได้เห็น ได้ยิน แล้วเกิดความสงสัยหรือคิดสงสัยรังเกียจขึ้นเองว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นตาย เหตุเพราะเจาะจงเพื่อให้ตนกิน ก็ทำให้จิตเศร้าหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังพระพุทธวจนะ ว่า “จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา

หรือเมื่อกินเนื้อสัตว์ แล้วชอบใจติดใจในรส พลอยยินดีกับการฆ่า ข้อนี้แม้ศีลยังไม่ขาด แต่ด่างพร้อย ไม่บริสุทธ์

อรรถกถาขยายความชีวกสูตร ท่านวินิจฉัยไว้น่าฟัง ความว่า

“ในส่วนที่สงสัยทั้ง ๓ นั้น มีวินิจฉัยรวบรัด ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้เห็นคนทั้งหลายถือตาข่ายและแหเป็นต้น กำลังออกไปจากบ้านหรือกำลังเที่ยวอยู่ในป่า. แต่วันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาต (อาหาร) ที่มีเนื้อปลาถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยโดยการเห็นนั้นว่า เนื้อปลาเขาทำมาเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ.
นี้ชื่อว่าสงสัยโดยเห็น. รับอาหารที่สงสัยโดยการเห็นนั้น ไม่ควร. อาหารใด ภิกษุไม่ได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. ก็ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.
 
ภิกษุทั้งหลายไม่เห็นอย่างนั้นเลย แต่ได้ยินมาว่า เขาว่าคนทั้งหลายถือตาข่ายและแหเป็นต้นออกจากบ้านไป หรือเที่ยวไปในป่า. รุ่งขึ้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาตที่มีเนื้อปลามาถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยโดยการได้ยินนั้นว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ.
นี้ชื่อว่าสงสัยโดยได้ยินมา. รับอาหารนั้น ไม่ควร. อาหารใดมิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. แต่ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าขา อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่พวกข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.

อนึ่ง ภิกษุไม่เห็น ไม่ได้ยินมา เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้นคนทั้งหลายรับบาตรเอาไปตกแต่ง บิณฑบาตที่มีเนื้อปลานำไปถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือ.
นี้ชื่อว่าสงสัยนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. รับอาหารแม้นั้นก็ไม่ควร อาหารใดมิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. แล้วถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก เราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก หรือว่าพวกเราได้ปวัตตมังสะ (เนื้อที่เขามีอยู่แล้ว) เป็นของกัปปิยะ (ควร) ทั้งนั้น จึงตกแต่งเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย รับอาหารนั้นก็ควร. ในอาหารที่เขาทำเพื่อประโยชน์เป็นเปตกิจ (อุทิศ) สำหรับคนที่ตายไปแล้ว หรือเพื่อประโยชน์แก่การมงคลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

แท้จริง อาหารใดๆ เขามิได้กระทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายก็มิได้เคลือบแคลง สงสัยในอาหารอันใด รับอาหารนั้นทุกอย่างก็ควร.”
------------------------------------


พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ชาวพุทธ รู้จักศีล สมาธิ ภาวนา
สอนเพิ่อให้เราหมั่นปฏิบัติ เมื่อทำบ่อยเข้าก็จะเกิดความเข้าใจ
ผลสุดท้ายก็จะมีปัญญาเกิดขึ้น เพื่อพิจารณาการกระทำของเรา
ในแต่ละอย่างว่า สิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล


คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่นำมาแห่งปัญญา
เพื่อการเป็นอยู่และความเข้าใจในธรรมชาติ
อยู่อย่างกลมกลืนไปกับธรรมชาติ
ไม่เอาชนะธรรมชาติ ด้วยการเบี่ยงเบนธรรมชาติ

พยายามเปลี่ยนแปลงเหตุและผลของธรรมชาติ ตามความต้องการของใจตนเอง

พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นถึงอริยสัจจ์สี่และเรื่องเหตุปัจจัย
ถ้าเราเอาหลักการเรื่องเหตุปัจจัยมาพิจารณาในเรื่องนี้
เราก็จะรู้ว่า....ความอยากกินเนื้อของเรา เป็นเหตุปัจจัยของการฆ่า

สิ่งที่ทำให้พวกเราเข้าใจผิดอยู่ ก็เพราะขาดความเข้าใจเรื่องเหตุปัจจัย
มองเหตุเป็นผล และมองผลมาเป็นเหตุ
ที่สำคัญที่ว่าด้วยเหตุปัจจัย ไม่ใช่การกระทำแค่สองวาระ
อาจเป็นสามหรือสี่ก็ได้มันวนกันเป็นวง

ที่แน่ๆผมมองเห็น อวิชชาในกระทู้นี้แล้วครับ


**********
ผมจะยกตัวอย่างนะครับ ถ้าเราดูกรรมของคนเป็นวงจรดังนี้
ตัวเรา>คนขาย>สัตว์
ถ้าเราดูตามคำสอนของพุทธองค์เรื่องเหตุปัจจัยแล้ว ตัวเราเป็นเหตุ ทำให้มีผลตามมาคือ
คนขายหรือคนฆ่า และผลสุดท้ายคือสัตว์ตาย

พิจารณาแล้ว ทุกตัวเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน พระพุทธเจ้าสอนว่า ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ
ถ้าจะดับทุกข์ ต้องดับที่เหตุ หรือถ้าเราไปเปรียบกับเรื่องปฏิจจสมุบาท
ตัวเราเปรียบเหมือนตัวอวิชชา เป็นต้นตอแห่งทุกข์ ถ้าจะดับทุกข์ต้องดับ
อวิชชา ความหมายก็คือ หยุดความอยากกินเนื้อสัตว์ครับ
ถ้าเราดับอวิชชาที่ตัวเราวงจรแห่งทุกข์ก็ไม่เกิด

ที่นี้เรามาดูเรื่องซากกับอีแร้ง ถ้าเราดูตามเหตุปัจจัยแล้ว การตายของซากสัตว์
ไม่ได้เกิดหรือเกี่ยวข้องกับอีแร้งเลย มันเป็นกรรมคนละส่วนคนละวงจร
สมมุติการล่าเหยื่อของสิงห์โต มันก็เกิดจากความหิวความต้องการของสิงห์โตเอง
มันล่าหรือฆ่าเหยื่อก็เพื่อตัวมัน สันชาติญาณสัตว์ล่าเพราะหิว กินอิ่มแล้วก็หยุด
ไม่รู้จักใช้ประโยชน์ในส่วนที่เหลือ ดังนั้นของที่กินไม่หมดก็กลายเป็น
สิ่งที่เปล่าประโยชน์มันต้องทิ้งเปล่า ดังนั้นวงจรแห่งกรรมของสิงห์โตมันสุดแค่ตรงนี้

ส่วนเรื่องอีแร้ง วงจรกรรมมันแยกไปต่างหาก มันกินซากที่เหลือทื้งจากสัตว์อื่น
มันไม่มีส่วนในการฆ่า เพราะนักล่าฆ่าเพื่อตัวเอง ไม่ได้คิดว่าต้องเผื่อแผ่แก่
อีแร้ง วงจรกรรมมันจึงแค่หิวก็หาซากหาขยะกินครับ


ฉะนั้นคำจำกัดความคำว่า ซากในที่นี้ มันต้องหมายถึง
สิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์แก่เจ้าของ ไม่สามารถซื้อขายกันได้
ความหมายคือ เจ้าของทิ้งแล้ว


***********

ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนครับว่า ความอยากมันเป็นกิเลส แต่มันเป็นได้ทั้งกุศล
และอกุศล การที่จะรู้ได้ว่า ผลของความอยากที่ตามมาจะบาปหรือไม่
ก็ต้องดูที่ผลสุดท้ายและเหตุปัจจัยที่สืบต่อกันมา ดังตัวอย่าง

1.ถ้าคุณอยากกินผัก เพราะในใจคิดว่า ไม่อยากไปเบียดเบียนสัตว์
อันนี้เป็นกิเลสที่เป็นกุศล เป็นบุญ
2.แต่ถ้าคุณอยากกินเนื้อสัตว์ ทั้งๆที่รู้ว่าเป็นการเบียดเบียนสัตว์
อันนี้เป็นกิเลสที่เป็นอกุศล เป็นบาป

ส่วนการกินอย่างไรที่ไม่เป็นกิเลส ก็ต้องเป็นการกินที่ปราศจากความอยาก
ฟังดูเข้าใจยากหน่อย แต่พอจะอธิบายได้ดังนี้
คนเราประกอบด้วยรูปและนาม สิ่งที่เป็นรูปก็คือกาย นามก็คือใจ
ถ้าดูให้ดีกายกับใจ มันแยกกันต่างหาก กิเลสความดีชั่วต่างๆล้วนเกิดที่ใจ
ใจเป็นผู้สั่ง

กายเป็นเพียงที่อาศัยของใจ เป็นเครื่องมือในการทำความดีความชั่ว
กายเป็นธรรมชาติ ประกอบด้วยธาตุสี่ เมื่อกายถูกใช้งานไป ธาตุบางส่วนย่อมพร่องไป
เหตุนี้จึงต้องเติมธาตุที่ขาดหายไปให้สมดุลย์ ที่กล่าวมาเราเรียกว่า ความหิว
ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับว่าจะเกิดกิเลสความอยากหรือไม่
ถ้าเราหิว เรากินอะไรก็ได้ที่ไม่มีพิษมีภัยต่อร่างกาย ไม่ต้องสรรหา
หรือปรุงรสต่าง กินเพื่อให้ความหิวหายไปหรือให้เกิดความสมดุลย์ของกาย
กินได้แม้กระทั่งข้าวเปล่า นี้ครับกุศลที่ไม่มีกิเลส

การกินที่เป็นกิเลสก็ตรงข้ามกันครับ คือต้องเลือกต้องสรรหา
ปรุงรสชาติ กินอย่างโน้นเบื่ออย่างนี้ ส่วนที่ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล
ก็ต้องดูเหตุปัจจัยที่ตามมา
ครับ

ส่วนคำถามของคุณ ที่ว่าเราจะบาปเพราะความอยากของคนอื่นไหม?
ผมว่า มันไม่น่าจะเกี่ยวกันครับ คุณต้องรู้นะครับว่า กรรมหรือการกระทำ
มันย่อมเป็นของใครของมัน สรุปก็คือไม่ว่าใครย่อมต้องมีความรู้กาย รู้ใจ
ของตนเอง ต้องรักษากายใจด้วยตัวของตัวเอง


ขอยกตัวอย่างว่าด้วยเหตุปัจจัยสืบเนื่อง
ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาก่อนว่า อันไหนเป็นเหตุ อันไหนเป็นผล
สมมุติว่าเราอยากกินเนื้อ อันนี้เป็นเหตุ ผลที่ตามมาคือพ่อค้า พ่อค้าก็เป็นเหตุ
ให้เกิดคนรับจ้างฆ่าสัตว์ คนฆ่าสัตว์เป็นเหตุให้สัตว์ตาย
คุณดูครับว่า แค่ความอยากของตัวเรา มันทำให้เกิดวงจรอกุศลขึ้นมากมาย
การดับก็ต้องดับที่เหตุ แต่เหตุในที่นี้มีหลายเหตุที่เป็นเหตุปัจจัยกัน
การดับวงจรที่ได้ผลและมากที่สุดคือดับที่ต้นตอ ก็คือความอยากของตัวเรา
มันก็เหมือนกับวงปฏิจสมุบาท การจะดับวิบากให้มากที่สุด ก็ต้องดับที่อวิชชา

สุดท้ายการรู้กายใจของตนเอง ย่อมทำให้ไม่เกิดเหตุปัจจัยหรือวิบากร่วมกับคนอื่น
วงแห่งวิบากหรือกรรมมันคนละวงกัน ฉะนั้นความอยากของคนอื่น
ย่อมไม่ส่งผลต่อเรา
ครับ

........................
.........

ถ้าจะไม่ให้เกิดปัญหา มันต้องกินแบบไม่มีกิเลส
กินต้องกินแบบพระ มีอะไรก็กินแบบนั้นไม่เลือกและปฏิเสธ


-------------------...............
------------------

การเห็นธรรมจะต้องเห็นด้วยความเป็นกลาง
ต้องเปิดใจยอมรับทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ
แล้วเราก็จะเห็นธรรมแท้ครับ

                     ................

การปฏิบัติมันมีระดับของมันเองครับ เรื่องทาน เรื่องศีลและภาวณา
มันเป็นการปฏิบัติของปุถุชน
เรื่องทานเรื่องศีล มันยังไม่เข้าข่ายของอริยบุคคล ทำไปก็ได้แค่กุศล
ผลบุญ ยังต้องตายต้องเกิด หรือไปเกิดในนรก สวรรค์ตามความเชื่อของแต่ละคน

ถ้าเราต้องการหลุดพ้นหรือนิพพาน เราก็ต้องปฏิบัติ
ซึ่งการปฏิบัตินี้ ไม่ใช่ว่าเราจะไม่เอาทานศีล
แต่เราเอาหรือทำจนเกินขั้นนั้นมาแล้ว ตอนนี้มันเป็นขั้นของการปล่อยวางทุกสิ่งแม้กระทั้งความดี

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=34777&start=30


ออฟไลน์ terryh

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 21
  • พลังกัลยาณมิตร 15
    • ดูรายละเอียด
สะท้อนด้วยภาพ อันน่าสลด เศร้าใจ ด้วยแววตา ขอความเมตตา สงสาร ขณะรอคิว พรากชีวิต น้อยคนอาจไม่เข้า ถึงความรุ้สึก หมู และ สรรพสัตว์ ต่างหวงแหน รักชีวิต ต้องการความรัก เมตตา เอื้ออาทร ไม่ต้องการถูกรังแก ทรมาร มีความรุ้สึก เจ็บปวด

ลด ละ บริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อสุขภาพ และ เมตตา ธรรม


สรรพสัตว์ใหญ่ น้อย เขาก็มี จิตใจ เช่นกับท่าน
มีครอบครัว มีบ้าน ให้ห่วงหา
จับเขามา เข่นฆ่า แร่เกลือทา
เห็นน้ำตา เขาไหม ก่อนลงมือ

เขาวอนขอ ชีวิต ด้วยสายตา
ส่งภาษา ให้ท่าน ทำหูอื้อ
ไม่สนใจ ทำเมิน พลันลงมือ
มือขวาถือ มีดแหลม เฉือนปาดคอ

****************************************

Once you look into the eyes of another being, how could you eat them? Please for their sakes, Go Vegan!