ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ เพราะมีโลกมีจักรวาลเป็นสสารวัตถุ จึงมีมนุษย์ที่มีจิตข้างใน (II)  (อ่าน 1727 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


บทความนี้เป็นภาค 2 ของบทความคราวที่แล้ว และคงจะไม่จบแค่นี้ เป้าหมายของบทความชุดนี้ก็เพื่อบอกชาวโลก ซึ่งมีนักศาสนศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะนักฟิสิกส์และนักจิตวิทยาใหม่ได้เขียนมากมาย แต่คนไทยมีคนเขียนน้อย คือนอกจากผู้เขียนก็มีคนเขียนตามไม่กี่คน ซึ่งนั่นเป็นเป้าหมายที่สำคัญ “ที่สุด” ซึ่งชาวโลกและชาวไทยจะ “ต้องเรียนรู้และรับรู้กันก่อนที่จะสายเกินไป เพราะอย่างดีที่สุดที่รูปแบบต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจที่มนุษย์เราบ้าคลั่งกันอยู่ในปัจจุบันวันนี้ หากอยู่รอดจากปลายสุดปี 2012 ตามที่วัฒนธรรมพระเวทและปฏิทินของชาวมายาและอินเดียนแดงบอก หรือรอคอยปี 2020 ตามที่นักวิทยาศาสตร์บางคนบอก นั่นคือพร้อมๆ กับอารยธรรม “สมัยใหม่” ที่จะดับสูญสิ้นไปพร้อมกัน อารยธรรมที่เรียกว่าอารยธรรมหลังสมัยใหม่เต็มรูปแบบจึงจะได้เริ่มต้นเต็มพิกัดเมื่อประชาโลกเหลือไม่ถึง 20% พระเถระอาวุโสในพุทธศาสนาทำนายว่า “ให้ระวังปีมะโรง (2012) จนถึงปีกุนที่ภัยธรรมชาติสุดร้ายแรงมาเยือนโลกอย่างกะทันหัน”

“เราคือใคร?” เป็นคำถามที่มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์พร้อมกับคำถามอื่นๆ  ที่ใกล้เคียงกันที่ตามมา และจนบัดนี้คำถามเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ตอบไม่ได้ หรือตอบให้ทุกคนพอใจไม่ถามต่อไปไม่ได้ และผู้เขียนก็ตอบไม่ได้ แต่ที่ถามนั้น เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกันกับควอนตัมฟิสิกส์แสะทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ และความเสริมเติมซึ่งกันและกัน (complimentary principle) ของสรรพสิ่งกับสรรพปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวงในจักรวาลนี้ของนีลส์ บอห์ร ที่ทางวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่หรือควอนตัมเม็คคานิกส์ พูดง่ายๆ ของรูปกับนามหรือกายกับจิต หลักการของกฎนี้มีอยู่ว่า ในทางควอนตัมเราสามารถจะชี้วัดได้ว่า คลื่นอนุภาคเป็นได้ทั้งเป็น “คลื่น” หรือเป็น “อนุภาค” (สสารวัตถุหรือ  matter) แต่ทั้ง 2 เสริมเติมซึ่งกันและกันทำให้เราเข้าใจสภาพควอนตัมของสรรพสิ่งทั้งหมดเลย ดังนั้นจิตจึงเข้ามาอยู่ในฟิสิกส์ใหม่ น่าแปลกใจที่จินตนาการผ่านอวัยวะประสาทสัมผัสภายนอกของคนเราสามารถแปรเปลี่ยนความรู้สึกของคนเราให้รู้สึกแข็งกระด้างเป็นกายภาพ (physical ดุจ matter) ทั้งๆ ที่เรารู้ว่าทางวิทยาศาสตร์นั้น ร่างกายเราประกอบด้วยน้ำถึง 70% และในทางควอนตัม ฟิสิกส์ เรา “เชื่อว่า” โดยธรรมชาติคลื่นอนุภาคจะอยู่ในสภาพเป็น “คลื่น” ตลอดเวลา (ไฮเซนเบิร์ก) จนกว่าสภาพคลื่นนั้นจะถูกพังพาบ (wave-function  collapse) ด้วยจิตและการสังเกต ไม่เห็นมีตรงไหนที่เป็นของแข็งที่แข็งกระด้างประดุจสสารวัตถุหรือโลหะ (matter) ที่รู้สึกดั่งว่าอย่างใดเลย จึงเป็นไปได้ที่มนุษย์เราคิดว่าเป็นความจริงทางโลกที่ทำให้อะไรๆ ที่แข็งกระด้าง หรือโลกและจักรวาลมีรูปและเป็นสสารวัตถุนั้นน่าจะเป็นที่การรับรู้ (perception) ของมนุษย์เราเอง พูดอีกอย่างคือ การรับรู้ของเราเองที่ทำให้เราคิดว่าความจริงทางโลกมีรูปร่างและแข็งกระด้าง บทความของวันนี้จึงเป็นความลึกลับที่อยู่เบื้องหลังการรับรู้ (perception) ของมนุษย์เราก็ได้ หรือมุมมองของเราก็ได้

นอกจากนี้แล้ว บทความวันนี้ยังเป็นเรื่องอีกเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่สำคัญมากที่เราต้องเข้าใจ เพราะว่าทุกๆ คนใช้มันเป็นประจำในทุกๆ ขณะ แต่เพราะว่าใช้ประจำทุกๆ ขณะนั่นเองที่ทำให้เราลืมเลือนที่จะทำความเข้าใจกับมัน   เราทำเช่นนี้เสมอจนเป็นนิสัย และบทความวันนี้เป็นเรื่องหนึ่งในนั้น นั่นคือเรื่องของการสังเกต เรามักจะลืมไปว่าการสังเกตมันจะต้องมี 2 อย่างเสมอ คือ มีผู้สังเกต (observer) กับสิ่งที่ถูกสังเกต (observed) ที่จะต้องทำให้ครบเพื่อทำให้เราเห็น ได้ยิน ฯลฯ คงเป็นเพราะเราคุ้นกับมันตั้งแต่ยังแบเบาะ และคงจะเป็นเพราะเราเชื่อตา เชื่อหู เชื่ออวัยวะประสาทสัมผัสที่ล้วนตั้งหรือติดต่อกับภายนอกว่า “มัน (สิ่งที่ถูกสังเกตโดยเรา) ตั้งหรือวางอยู่ข้างนอก (ตัวเรา) นั่นไง” เราคุ้นกับมันเสียจนเราคิดว่าเป็นธรรมชาติของเรา “ที่ต้องรู้” เมื่อตาเราเห็น หูเราได้ยิน ฯลฯ เป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้จิต ใช้วิญญาณขันธ์ ใช้ตัวรู้อะไรทั้งสิ้น การสังเกตจึง “ต้อง” ใช้ทั้งผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกตเสมอ

นิวโตเนียนฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป ใช้แต่เฉพาะสิ่งที่ถูกสังเกต  “ที่ตั้งอยู่ข้างนอกนั่นไง” เหมือนเราที่เป็นคนธรรมดาๆ ทั่วๆ ไปที่ใช้อวัยวะประสาทสัมผัสของเรา (ดูไทยโพสต์ฉบับวันอาทิตย์ที่แล้วด้วย) มีเฉพาะแต่ควอนตัมฟิสิกส์เท่านั้นที่ใช้ทั้ง 2 อย่างในการสังเกต ในขณะที่จิตวิทยาใช้ผู้สังเกต  (observer) เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตตาวสัย (subjective fact) แต่จิตวิทยาที่เกิดขึ้นมาใหม่เมื่อเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะวิชาจิตวิทยา จิตวิญญาณ หรือจิตวิทยาผ่านพ้น  (ก้าวล่วง) ตัวตน (spiritual or transcendent psychology) ใช้ทั้ง 2 ในการสังเกต  คือทั้งผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกต

วูล์ฟกัง พอลี่ นักควอนตัมฟิสิกส์รางวัลโนเบล ซึ่งเป็นคนที่เขียนหนังสือร่วมกันกับคาร์ล ซี. จุง ซึ่งไม่ค่อยเขียนหนังสือร่วมกับใคร ดังที่ผู้เขียนได้อ้างอิงไว้ในบทความเมื่อวันอาทิตยที่แล้ว วูล์ฟกัง พอลี่ เป็นผู้สนใจในเรื่องของจิตไร้สำนึกเป็นพิเศษ เขาพูดว่าเรา (นักฟิสิกส์) กับเรื่องของความจริงที่จะต้องมี 2  อย่างเสมอ คือ ความจริงทางด้านของปริมาณ (กาย) กับความจริงทางด้านคุณภาพ (จิต) หรือที่ในพุทธศาสนาเรียกว่ารูปกับนาม

น่าแปลกไหม? ว่าทำไมเราต้องเข้านอนยาวๆ ตอนกลางคืนด้วย? ที่ก่อนเราจะเข้านอน เราจะรู้สึกตัวดี แต่หลังจากเราหลับ เราจะไม่รู้สึกตัว และมารู้สึกตัวปกติในตอนเช้า แต่ตอนที่เรานอนหลับ เราจะไม่รู้สึกตัวเลยตามปกติเหมือนกัน หลังจากตื่นนอนเช้าแล้ว เราไปไหน? นอกจากฝัน เราทุกคนเลยโดยไม่มีการยกเว้น - ฝัน แต่เราส่วนมากจะจำไม่ได้ และอย่างน้อยเราจำความฝันของตัวเองส่วนใหญ่เหมือนกันไม่ได้ และคนพวกนี้จะคิดว่าตัวเองไม่ได้ฝัน  และจะเถียงจนคอเป็นเอ็น แต่ผู้เขียนขอบอกอีกที เขาฝันไปจริงๆ และความฝันนั้น  มีบางส่วนเป็นจิตไร้สำนึกร่วมโดยรวม (universal mind) บอกเรา

ขอโทษจริงๆ ที่ผู้เขียนจำไม่ได้ในขณะที่เขียนตอนนี้ว่าใครที่เป็นคนที่แต่งเพลง “โลกนี้คือละคร......” มันเป็นเช่นนั้นจริงในสายตานักจิตวิทยาบางคน  ผู้เขียนเองยังเคยคิดว่า โลกนี้เหมือนเป็นเวทีของลิเกหรือละครที่เราเองเป็นคนเล่น เป็นคนที่ใส่ชฎาสวมบทบาท ซึ่งเราเป็นทั้งคนแต่งและเป็นผู้กำกับ ทั้งยังฉีกตัวเองไปเป็นคนดูด้วย นั่นเป็นเรื่องที่เคยคิดที่นานมาแล้ว แต่ตอนนี้ไม่ได้คิดอย่างนี้แล้ว คือตอนนี้กลับไปคิดว่าชีวิตตัวเองเป็นความฝันในเรื่องที่ตนเป็นคนแต่งเนื้อเรื่อง แต่ชีวิตคนเรานั้น - ผู้เขียนคิดและเชื่อมั่นว่าคิดไม่ผิด - เพียงแต่ความฝันของชีวิตตัวเองนั้นคือ เป็นความจริงทางโลกทางสังคม นั่นเป็นความรู้สึก และชีวิตทั้งคน สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ ล้วนอยู่ในโลกในจักรวาลอันแข็งกระด้างประดุจสสารวัตถุหรือโลหะ (matter) และกลายเป็นแมตทีเรียลลิสต์ ซึ่งก็คือนักวิทยาศาสตร์แห่งยุคเก่าส่วนใหญ่อันมีนิวโตเนียนฟิสิกส์เป็นศูนย์กลาง และความจริงทางโลกที่ว่านั่นแหละ นั่นคือ ความเป็นสอง (Dualism) หรือทวิตาในพุทธศาสนา หรือระหว่างสองความจริง นั่นคือ ความจริงทางโลกที่ปรากฏในฝันนั่น กับความจริงทางธรรม “ไม่ใช่” ความจริงทางธรรมที่เป็นความฝันตามปกติที่เล่ามาก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นจิตไร้สำนึกร่วมโดยรวม หรือจิตจักรวาล (universal  unconscious continuum - Jung หรือ universal mind - Arnold Mindel) ซึ่งติดต่อกันได้เองเมื่อเซลล์สมอง (neuron) ว่าง เช่น ว่างจากบริบททางกายและทางจิต คือว่าง - ความเป็นอนุภาคสสารวัตถุ กับความเป็นคลื่น (physicho -  psychical condition) เป็นต้นว่าระหว่างกำลังฝัน หรือในระหว่างสมาธิ (Robert  G. John and Brenda Dunne : Margin of Reality, 1987) นั่นในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คือ ควอนตัมเม็คคานิกส์ เพราะว่าทุกๆ ข้อของความจริงทางควอนตัมทั้ง 8 ข้อ ล้วนเป็นความจริงทางธรรมทั้งนั้นเลย (Nick Robert :  Quantum Re4ality, 1985)

ขอย้ำว่า ความฝันที่มีควาามจริงทางโลกที่คล้ายๆ กับเพลงที่ผู้เขียนจำชื่อคนแต่งไม่ได้ และผู้เขียนบอกว่าโลกเหมือนเป็นเวทีลิเกหรือละครที่โลกกลายเป็นของแข็งกระด้างอันค้านกับความจริงทางวิทยาศาสตร์ กับความฝันที่มีจิตไร้สำนึกร่วม หรือจิตจักรวาลที่มีความฝันของคนปกติธรรมดาที่ฝันอันเป็นความจริงทางธรรมที่เล่ามาตอนต้นของบทความนี้ข้างต้น

อยากบอกกับผู้อ่านที่อ่านบทความนี้ว่า เราต้องคิด ไม่ใช่คอยวันเกิดหรือวันตายอยู่เฉยๆ แล้วเป็นความทุกข์ที่ตัวเองเกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีแต่ความทุกข์ทั้งหมดทั้งสิ้นเลย นอกจากความสุขทางกายและจิตรู้หรือจิตสำนึกชั่วคราว  อันเป็นความจริงทางโลก เพียงชั่วครั้งชั่วคราว (pleasure) ส่วนมากเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สิน ไม่เคยเลยที่จะรู้สึกมีความสุขที่อิ่มเอิบ (bliss) ทั่วทั้งตัวตลอดกาลที่คนส่วนใหญ่ 99.9% บอกว่าไม่มีจริง ฉะนั้น จึงไม่รู้หรือไม่มีวันจะรู้ ยกเว้นน้อยคนที่ “อาจ” จะรู้ตอนใกล้ตายจริงๆ 

บทความบทนี้จึงเป็นบทความของชีวิตที่ “เป็นไปได้” ซึ่งในที่นี้เป็นชีวิตของมนุษย์ที่เกิดมาในโลกในจักรวาลที่มีมิติ 3 มิติ (บวกเวลาอีก 1 มิติ) พูดง่ายๆ  เราอยู่ในโลกในจักรวาลที่มีตำแหน่งและมีเวลา (space-time) ซึ่งรวมเข้าหากันที่แยกกันไม่ได้ และเราคิดเอาเองและรับรู้ - ผ่านอายันตนะประสาทสัมผัสของเรา  - ว่ามันเป็นสสารวัตถุที่แข็งกระด้างและมีรูปร่างทางกายภาพที่หลากหลาย ทั้งหมดนั้นเราคิดเองแล้วเออเอง เพราะคิดว่ามันเป็นความจริง ทั้งๆ ที่มันเป็นแค่ความฝัน “ที่ต่อเนื่องยาวนานตราบที่โลกและจักรวาลนี้มีอยู่” นั่นคือความจริงทางโลกที่เป็นไปได้ที่จะเป็นแค่ความฝัน ส่วนตอนที่ยังไม่ตายจากโลกและนอนหลับแล้วฝันไปนั้น เป็นเรื่องของความเป็นสอง (dualism) ระหว่างความจริงทางโลกที่ต่อเนื่องกับความจริงทางธรรมที่เป็นความจริงที่แท้จริงของจิตหรือจิตไร้สำนึกร่วมโดยรวม.

http://www.thaipost.net/sunday/070811/42950
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...