ผู้เขียน หัวข้อ: เราอยู่ในโลกของ "ความคิด" ๒ อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์  (อ่าน 7228 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

               

07993 เราอยู่ในโลกของ "ความคิด"

             ถ้าฟังสิ่งที่ถูกต้อง  ปัญญารู้ถูกต้อง นั่นคือปัญญา  ความรู้ถูกต้องเกิดขึ้นเมื่อไร
เมื่อนั้นคือปัญญา  และต้องเจริญขึ้นมากกว่านี้มากมาย  ถึงจะรู้ความจริงของสภาพธรรม
ซึ่งเราไม่เคยรู้มาก่อน  และทั้งหมดนี้มีในพระไตรปิฎก     เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่
ตรัสรู้ความจริง  และทุกคนพิสูจน์ได้ทุกกาลสมัย  มีตา  ไม่ใช่เห็นชาตินี้ชาติเดียว  ชาติ
ก่อนเป็นใครก็ไม่ทราบ ก็เห็นอย่างนี้แหละ และก็สุขทุกข์ไปตามเรื่องของชาติก่อน  และ
อีกไม่นานเราก็จะจากโลกนี้ แต่เราก็จะเห็นอีก แล้วเราก็เปลี่ยนสุขเปลี่ยนทุกข์ใหม่ ตาม
เรื่องใหม่ที่เราเห็น

เพราะฉะนั้นเราก็อยู่ใน โลกของความคิด ถึงสิ่งที่กระทบตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง
นี่เป็นปัญญาหรือยังคะ ที่เข้าใจ ไม่ใช่เราเลย เป็นปัญญา ขณะที่เข้าใจก็เป็นปัญญา
พอหลงลืมสติ ไม่ระลึกให้ถูกต้อง ไม่เข้าใจอย่างนี้ ก็หายไปอีกแล้ว ปัญญาก็หมดไป

            นี่คือ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

            เข้าใจเรื่องที่ต้องเจริญขึ้นแล้วใช่ไหมคะว่า นิดเดียวแค่นี้ไม่พอ ถ้าเข้าใจแล้ว
เอาอะไรมาแลกกับปัญญาก็ไม่เอา จะให้กลับเป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย ก็คงไม่เอา ใช่ไหม
คะ

           ที่จริงก็คงไม่ยากเกินไปนะคะ เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่มีปรากฏ เพียงแต่ว่าเราไม่
เคยฟัง เราก็เลยไม่เคยคิดในแนวของธรรม  เราก็ไปคิดเอาเอง เป็นตัวตน เป็นเรื่องราว
ตลอดไปตั้งแต่เกิดจนตาย   ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ ทั้งๆที่เรื่องราวต่างๆ ไม่มีเลย ก็
คิดเอา พอถึงชาติหน้าก็ลืมหมด เสียเวลา  จริงๆแล้วก็ไม่ต้องคอยจนถึงชาติหน้า เพียง
แค่คืนนี้
เดี๋ยวเราก็ลืมหมด  วันนี้เรามานั่งที่นี่  ฟังอะไร  ตอนที่เราหลับสนิท เราเป็นใคร
ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ก็หมดเลย พอตื่นมาก็ต่อเรื่องเก่า คือจำไว้ ตราบใดที่ยังเป็นคนนี้ก็จำ
เรื่องของโลกนี้ พอเป็นคนใหม่ ชาติหน้าเราก็ลืมเรื่องนี้สนิท ใครจะมาบอกอะไร เราก็ไม่
มีทางที่จะจำได้


            คนที่เราจากเขามาจากโลกก่อน ป่านนี้เขาก็อาจจะยังคิดถึงเรา ร้องไห้ เป็นลูก
เป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย แต่เราก็ไม่รู้  ไปเห็นเขากำลังนั่งร้องไห้คิดถึงใคร  เราก็ไม่รู้อีกว่า
อาจจะเป็นเราก็ได้ จำไม่ได้เลย หมด
แล้วคืนนี้ก็คืออย่างนี้ ทุกคืนๆ


            เพราะฉะนั้นก่อนที่จะต้องทุกข์ไป  สุขไปในวันหนึ่งๆ  ชั่วระหว่างที่ยังไม่หลับ ก็
ให้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้ว เดี๋ยวก็ลืมหมด

            เพราะฉะนั้นก็ไม่มีอะไรสำคัญมากมายที่เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน       สิ่งที่
สำคัญ   คือ   การอบรมเจริญปัญญาให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง   ไม่ถูกใครหลอก
เอาสิ่งที่ไม่จริงมาบอกว่าจริง ซึ่งในพระธรรมได้อุปมาไว้ไพเราะมากว่า


            คนตาบอดแสวงหาผ้าขาว ก็มีคนหนึ่งที่เอาผ้าดำไปให้เขา แล้วบอกว่า ผ้าขาว
คนตาบอดนั้นก็แสนจะดีใจ คิดว่าตัวได้ผ้าขาว ความจริงก็เป็นผ้าดำ

            เพราะฉะนั้นคำสอนที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง  แล้วเราหลงเชื่อ เราก็คิดว่า สิ่ง
ที่เราเชื่อเป็นความถูกต้อง หรือว่าเป็นพระธรรมที่ทรงแสดง แต่ต่อเมื่อใดที่เราตาดี เราก็
รู้ว่า นี่ผ้าดำ ไม่ใช่ผ้าขาว ใช่ไหมคะ   เราก็รู้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นไม่ถูก แต่
ต้องอาศัยการฟัง เพราะว่าคำว่า “สาวก” คือ  ผู้ฟัง สาวโก คือ ผู้ฟัง ถ้าไม่ฟัง ไม่มีทางที่
เราจะคิดเองได้


คลิ๊กเพื่อฟัง..
เสียงบรรยายธรรมะตอนนี้โดย ท่านอ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ...

: http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7993

suggestions อ่าน-ฟัง หัวข้อธรรมอื่นๆ
    ขันธ์ ๕ ได้แก่ปรมัตถธรรม ๓
    ต้องค่อยๆรู้ขึ้น
    ไม่มีเจตนาฆ่า ไม่ล่วงกรรมบท
    กรรมเหมือนต้นไม้
    คิด ไม่่ใช่วิบาก
    เราอยู่ในโลกของความคิด ๑
    เห็นจริงๆ เห็นอะไร
    ส่งเสริมศาสนาคือเข้าใจศาสนา
    ปัญญาต้องรู้สิ่งที่มีจริงๆ
    ชื่อเปลี่ยนได้แต่ลักษณะไม่เปลี่ยน


กราบอนุโมทนาสาธุ.. ธรรมบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์..
ขอบพระคุณลิ้งค์ที่มา.. จากที่น้อง 時々Sometime เคยให้ไว้ค่ะ
และกราบอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2011, 01:20:58 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

07992 เราอยู่ในโลกของความคิด ๑

สุ.        เวลาฝัน เห็นอะไรคะ
ผู้ฟัง     เห็นเป็นรูปร่าง สมมติว่าฝันว่าลอยน้ำ ก็เห็นน้ำ

สุ.        จริงๆแล้ว  ไม่เห็นเลย ถูกไหมคะ ในฝันไม่เห็น  จำเรื่อง คิดเรื่อง คิดถึงเรื่อง คิด
ถึงสิ่งที่เคยเห็นเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่เห็นอย่างนี้ ใช่ไหมคะ   นี่เป็นสิ่งที่เราแยกได้ว่า ฝัน
คือ ไม่ใช่เห็นเดี๋ยวนี้ เราฝันหรือเปล่าคะ เวลานี้
ผู้ฟัง     เวลานี้เป็นความจริง

สุ.        เวลานี้เป็นความจริง เพราะว่ามีสีสันวรรณะกระทบตา  เราก็เลยบอกว่า เวลานี้ 
จริง ไม่ใช่ฝัน แต่เวลาที่เราฝัน สีสันวัณณะไม่ได้กระทบตา   เรานอนหลับตาเลย แต่ใจ
เรานึก เหมือนเห็น แต่เป็นเพียงนึก
            เพราะฉะนั้นขณะนี้ก็เหมือนกัน ต่างกันกับฝัน  คือ  มีสิ่งที่ปรากฏจริงๆให้เรารู้ว่า
เราไม่ได้ฝัน   เพราะว่ามีจริงๆปรากฏ   เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องจริงที่ปัญญาจะค่อยๆรู้
ความจริงว่า เราอยู่ในโลกของความคิดนึกตลอด สิ่งที่มากระทบตา เราจะคิดก็ได้ ไม่คิด
ก็ได้ เราคิดถึงเรื่องอื่นก็ได้

            นี่แสดงให้เห็นว่าเราอยู่ในโลกของความคิด  และสิ่งที่ปรากฏ   เราจะคิดว่าเป็น
คนนั้นคนนี้  แล้วเกิดโกรธในกิริยาอาการนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เหมือนเราดูรูปภาพใน
โทรทัศน์

            นี่แสดงให้เห็นว่า   สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นของจริงอย่างหนึ่ง  ส่วนความคิดนั้น
เป็นอีกอย่างหนึ่ง
  อีกขณะหนึ่ง  เราอยู่ในโลกของความคิด โดยอาศัยสิ่งกระทบตา แล้ว
เราก็คิดแต่เรื่องนั้น  จำแต่เรื่องนั้น  หมกมุ่นอยู่ในเรื่องนั้น  พอเสียงมากระทบหู เราก็คิด
แต่เรื่องของเสียงที่กระทบหู  เป็นเสียงสูงๆต่ำๆ แต่สร้างเรื่องมหาศาล สุขทุกข์ก็มาจาก
การที่เรา
ไปปรุงแต่งจากสิ่งที่กระทบหูแล้วก็หมดไป


            เพราะฉะนั้นปัญญาของเราจะเริ่มรู้ปรมัตถธรรม  คือสิ่งที่มีจริง  ไม่ต้องเรียกชื่อก็
ได้ เรียกก็ได้ แต่สิ่งนั้นมีจริง  และก็รู้ด้วยว่า เราอยู่ในโลกของความคิด และสภาพที่เป็น
ปรมัตถธรรมนั้นเราไม่ต้องคิด  อย่างสิ่งที่ปรากฏทางตา  เราคิดไม่ได้  ใช่ไหมคะ มีจริงๆ
กระทบตา เราไม่ต้องคิดเลย  อย่างเสียง  เราก็คิดไม่ได้ ใครจะไปคิดเสียงขึ้นมาได้  แต่
เสียงมีจริงๆ ปรากฏจริงๆ   แต่เราคิดเรื่องเสียงหลังจากที่เสียงปรากฏ  เราก็คิดถึงความ
หมาย
ของเสียง

           เพราะฉะนั้นเราอยู่ในโลกของความคิดของเราเอง เป็นโลกใบหนึ่ง  คนหนึ่งๆ ก็
อยู่ในโลกของตัวเอง
แล้วแต่ว่าอะไรจะมากระทบตาก็คิดเรื่องตาเห็น อะไรมากระทบหู ก็
คิดถึงเรื่องหู เวลาที่สิ่งเหล่านี้ไม่มี เราก็จำเอาไว้ วันนั้น คนนั้นทำอย่างนี้ ๒๐ ปีก่อน คน
นั้นทำอย่างนั้น ก็เป็นแต่เพียงความคิดของเราเอง  ถ้าทราบว่า  เราเหมือนเล่นกับความ
คิดของเรา ปรุงแต่งคิดไปต่างๆนานาให้สุข ให้ทุกข์จะเห็นว่าไม่มีใครทำอะไรเราได้เลย
นอกจากความคิดของเราอย่างเดียว จะคิดสุขก็ได้   จะคิดทุกข์ก็ได้ จะคิดให้คนนี้รักเรา
คนนี้เกลียดชังเรา ก็แล้วแต่เราจะคิดไป ทั้งๆที่
คนนั้นอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นเลยก็ได้

คลิ๊กเพื่อฟัง.. http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7992
เสียงบรรยายธรรมะตอนนี้โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ...
กราบอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




กรรมที่ได้กระทำเป็นปัจจัยให้วิบากเกิดขึ้น รู้สภาพธรรม
ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ทุกขณะ

จิตที่รักษาดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่
จิตฺตํ รกฺขิตํ มหโต อตฺถาย สํวตฺตติ{เอกนิบาต ๒๐/๗}

เมนูวีดิโอคลิป หน้า ๑   รายการที่ 1 - 20 จาก 492 รายการ

คลิ๊กเพื่อเลือกฟัง... - http://www.dhammahome.com/front/videoclip/list.php?gid=9

เสียงบรรยายธรรมะ โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่อภิธรรมค่ะ...
กราบ.. อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...




๐ สรุปประเด็นธรรม ช่วงหลัง ประจำวันที่ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๕๒
๐ เยื่อใยของความยึดถือผิด ๒ อย่าง
๐ กำลังของจิตโดยนัยต่างๆ
๐ เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสอยู่เสมอว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
๐ จิตที่เกิดแล้วดับไปดับ มีกำลังหรือไม่
๐ สรุปประเด็นธรรม ช่วงแรก ประจำวันที่ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๕๒
๐ จิตฝ่ายอกุศลธรรมมีกำลังอ่อนแอกว่าฝ่ายกุศลธรรม

หัวข้อธรรมตอนนี้ค่ะ 
01025  จิตที่เกิดแล้วดับไป มีกำลังหรือไม่
คลิ๊ก... - http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?id=1025


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสงัด ปวิเวกกถา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2012, 04:46:23 pm »




ความสงัด ปวิเวกกถา

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บทว่า ปวิเวกกถํ ได้แก่ กถาเกี่ยวกับความสงัด. จริงอยู่ ความ
สงัดมี ๓ อย่าง คือ สงัดกาย ๑ สงัดจิต ๑ สงัดจากอุปธิ (กิเลส) ๑.
ในความสงัด ๓ อย่างนั้น รูปหนึ่งเดิน รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน
รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาต รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งเดินจงกรม รูปหนึ่ง
เที่ยวไป รูปหนึ่งอยู่ นี้ชื่อว่า กายปวิเวก (สงัดกาย). สมาบัติ ๘ ชื่อว่า
จิตตปวิเวก (สงัดจิต). นิพพานชื่อว่า อุปธิปวิเวก (สงัดจากกิเลส). สมดัง
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า กายปวิเวกของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด จิตตปวิเวกของ
ผู้ยินดีในเนกขัมมะแล้ว อุปธิปวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ผู้มีจิตบริสุทธิ์
ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ถึงนิพพานแล้วดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
-----------------------

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ปวิเวกกถา คือคำพูด ถ้อยคำที่เป็นไปเพื่อความสงัด
วิเวก คือ ความสงัด
ความสงัดที่เป็นวิเวก มี 3 อย่างคือ

1.กายวิเวก
2. จิตวิเวก
3.อุปธิวิเวก

กายวิเวก คือ   ความสงัดทางกาย ในที่นี้คือเป็นผู้หลีกออกจากหมู่
เป็นผู้ ผู้เดียวเที่ยวไปแต่ข้อที่สำคัญที่สุดคือ กายวิเวกเป็นเรื่องของการเห็นโทษ
ด้วยปัญญา ในการที่จะต้องอยู่กับผู้คนมากมาย เห็นคุณในการอยู่ผู้เดียว
จึงเป็นผู้ปัญญา   มีความเข้าใจพระธรรมและเห็นโทษของการคลุกคลีด้วยหมู่
จึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ผู้เดียว ด้วยปัญญา ด้วยความเข้าใจครับ

ดังนั้นไมได้หมายความว่าผู้ที่จะอบรมปัญญา ต้องเป็นผู้หลีกออกจากหมู่
แต่ผู้เดียว เที่ยวไปผู้เดียว แต่เป็นเรื่องของอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ครับ
ว่าเป็นผู้มีอัธยาศัยหลีกผู้เดียวหรือไม่มีอัธยาศัยหรือกำลังที่จะเป็นผู้มีกายวิเวก
แต่สำคัญที่สุดคือการมีปัญญาเข้าใจหนทางในการดับกิเลสนั่นเอง
ย่อมเป็นทาง ที่จะทำให้เข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้
ซึ่งสภาพธรรมไม่ได้เลือกเลยว่าจะเกิดตอนอยู่ผู้เดียวหรืออยู่กับผู้คนมากมาย     
ดังนั้นหากเข้าใจหนทางในการอบรมปัญญาแล้ว ย่อมทำให้ไม่ว่าอยู่ที่ใด
อยู่ผู้เดียว ด้วยกายวิเวกหรืออยู่กับสิ่งต่างๆมากมาย
ปัญญาก็สามารถเกิดรู้ความจริงได้ เพราะได้สะสมปัญญามานั่นเองครับ

พระพุทธเจ้าจึงไมได้บังคับให้ภิกษุทั้งหลาย หรือ  อุบาสก อุบาสิกา
เป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นกายวิเวก แต่พระองค์ทรงแสดงหนทาง
ในการอบรมปัญญา เพื่อว่าไม่ว่าอยู่ที่ไหน มีสภาพธรรม
ก็สามารถแทงตลอด ปัญญาเกิดละกิเลสได้ในขณะนั้น
ซึ่งก็มีตัวอย่างในพระไตรปิฎกมากมายที่มีผู้ที่บรรลุธรรม ท่ามกลางบริษัท
ผู้คนมากมาย ขณะที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมครับ

   จิตวิเวก คือขณะที่จิตสงบจากกิเลส สูงสุดคือขณะที่ได้ฌาน เป็นสมบัติ 8
   อุปธิวิเวก คือสภาพธรรมที่สงัดจากสิ่งที่เป็นไปในทุกข์ เป็นไปในกิเลส
นั่นก็คือพระนิพพานครับ อุปธิวิเวก จึงเป็นความสงัดจากสังขารธรรม
สงัดจากกิเลสธรรมและสภาพธรรมที่ทุกอย่างคือพระนิพพานนั่นเองครับ

----------------------------

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิเวก หมายถึง ความสงัด ความสงัดที่ว่านี้ไม่ไ้ด้หมายถึงสถานที่ แต่เป็น
สภาพจิตที่สงัดจากอกุศล สงัดจากกิเลส ซึ่งก็มีหลายระดับขั้นด้วยกัน
เพราะว่าในบางแห่ง จะแสดงวิเวก(ความสงัด) ไว้ ๕ ประการ คือ

    ๑.  ตทังควิเวก  ความสงัดจากอกุศล ชั่วขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น
    ๒.  วิกขัมภนวิเวก  ความสงัดจากอกุศล ด้วยการข่มไว้ด้วยกำลังของฌานขั้นต่าง ๆ
    ๓.  สมุจเฉทวิเวก  ความสงัดจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่มัคคจิตเกิดขึ้น
ทำกิจประหารกิจ ดับกิเลสตามลำดับมรรค 

    ๔.  ปฏิปัสสัทธิวิเวก  ความสงัดจากกิเลส ซึ่งเป็นความสงบระงับจากกิเลส
เป็นผลของการดับกิเลส นั่นก็คือ ขณะที่ผลจิตเกิดขึ้น

    ๕.   นิสสรณวิเวก  ความสงัดอย่างแท้จริง คือ พระนิพพาน เป็นสภาพธรรม
ที่สงัดจากกิเลส สงัดจากสังขารธรรมทั้งปวง
(สังขารธรรม เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ พระนิพพานเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ)

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ต้องอาศัยการฟังการศึกษา
จึงจะเข้าใจ  แม้แต่ในเรื่องของวิเวกก็เช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะโดยนัย  ๓  หรือ โดยนัย ๕  ก็ตรงกัน 
เพราะเป็นเรื่องความสงัดจากกิเลส  สงัดจากอกุศล ไม่ใช่สถานที่
สำคัญอยู่ที่ปัญญาเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ความสงัด มีเป็นลำดับขั้นตั้งแต่ขั้นต้น ที่เป็นกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน
จนกระทั่งถึงความสงัดขั้นที่สามารถ ดับกิเลสทั้งปวง ได้อย่างเด็ดขาดครับ


-http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=18403


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม 1 ภาค 6 - หน้าที่ 285
อุฏฐานสูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยตื่นจากความหลับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๒๗] เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด
เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไร ด้วยความหลับ
เพราะความหลับจะเป็น ประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อน
เพราะโรค คือ กิเลสมีประการต่าง ๆ ถูก ลูกศร คือ ราคะเป็นต้นแทงแล้ว
ย่อยยับอยู่ เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จง หมั่นศึกษาเพื่อสันติเถิด.
มัจจุราชอย่ารู้ว่าเธอทั้งหลายประมาท แล้ว อย่ายังเธอทั้งหลาย
ผู้ตกอยู่ในอำนาจ ให้ลุ่มหลงเลย เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหา

อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดาและมนุษย์
ผู้มีความต้องการอาศัยรูป เป็นต้น ดำรงอยู่. ขณะอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย
เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียด กันในนรก เศร้าโศกอยู่.
ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้อง แล้วเพราะความมัวเมาในปฐมวัย
นอกนี้ ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้องแล้วเพราะ ความมัวเมาในวัย
เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้ เป็นบัณฑิต พึงถอนลูกศร คือ กิเลสมีราคะ เป็นต้น
ของตนเสีย ด้วยความไม่ประมาท และด้วยวิชชา.


ฤกษ์ดีเวลาดี อย่างไรจึงเป็นเวลาดี สภาพธรรมอะไรคือเวลา ถ้าไม่มี สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเลย (จิต เจตสิก รูป) จะมีเวลาไหม มีเพราะคิดเท่านั้น ถ้าไม่ มีจิต เจตสิก รูป ก็ไม่มีอะไรที่จะคิดสมมติขึ้นว่าเป็นเวลา เป็นดวงดาว เป็นภูเขา ถ้า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น โลกก็ไม่มี เวลาไม่มี คน สัตว์ไม่มี ความเห็นของชาวโลก ขณะที่เห็น ได้ยินเหมือนได้อะไรดี ๆ ทั้งวัน

แต่ความจริงแล้วได้ขยะสะสมไว้ทุกวัน ๆ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม แค่เห็นแต่ละครั้ง ได้ยินแต่ละครั้งอกุศลก็เกิดแล้วมากมาย ไม่ เคยรู้เลย มีเพียงพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นให้เข้าใจ ว่าแต่ละขณะในชีวิตนั้นเต็มไปด้วยอกุศล เห็นโทษของอกุศลที่พอกพูนมากขึ้นอยู่ เกือบทุกขณะ
ทุกวัน ทุกเดือน ทุกชาติ แท้จริงแล้วขณะที่ทำความดีเป็นฤกษ์ดี ขณะใดกาย วาจา ใจดี ขณะนั้นเป็นเวลาดี ไม่ใช่เวลาเป็นเครื่องกำหนด แต่ขณะที่ กุศลจิตเกิด ขณะนั้นเป็นเวลาดี ฤกษ์ดี ทุกอย่างสำคัญที่จิต ถ้าไม่มีจิต

อะไร ๆ ก็ไม่ เกิด ขณะที่จิตเกิดขึ้นดีขณะนั้นตื่นจากความหลับ เป็นเวลาที่ดี
จะเห็นได้ว่าใน แต่ละวันที่ผ่านพ้นไป จิตที่เกิดขึ้นเป็นอกุศลนั้นมีมากกว่าจิตที่เป็นกุศลตามการสะสม แต่เมื่อได้ทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดให้เห็นว่า ขณะที่ดีก็คือขณะของความดี ซึ่ง แต่ละขณะของความดี จะเกิดขึ้นได้ก็จากความเข้าใจพระธรรม สะสมความดีเพิ่มขึ้น หากไม่ได้ฟังพระธรรมก็จะไม่มีทางรู้เลยว่า แต่ละขณะเป็นธรรม แต่ละอย่างที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ไม่มีเราที่จะไปทำความดี แต่ความดีนั้นเกิดจากการอบรมให้มีขึ้น อบรมให้กุศลต่างๆ เจริญขึ้นตามลำดับขั้นได้ด้วยความเข้าใจธรรม จนกว่ากุศลขั้นสูง สุดคือ อรหัตตมรรค เกิดขึ้นดับกิเลสหมดสิ้น เมื่อนั้นแต่ละขณะที่เกิดขึ้นไม่ว่า เช้า กลางวัน กลางคืน ก็เป็นวันดี คืนดี แต่กว่าจะถึงขณะนั้นได้ก็ต้องมีขณะนี้ที่ค่อย ๆ สะสมความดีเพิ่มขึ้น ขณะที่ดีก็เป็นเวลาดี เป็นฤกษ์ที่ดี

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่อภิธรรม


-http://powerlife.fix.gs/index.php?topic=1834.msg4173#new


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

เหตุให้โลภะเกิดขึ้น เป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคล เป็นธรรมดา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้ัมีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
     แต่ละคนมีความประพฤติเป็นไปตามการสะสม  แต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง ไม่เหมือนกัน
เลย   ตราบใดที่ยังมีโลภะอยู่  ก็ย่อมมีเหตุให้โลภะเกิดขึ้นเป็นไปตามการสะสมของแต่ละ
บุคคล  เป็นธรรมดาจริง ๆ     ถ้าได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมแล้วจะเห็นได้ว่า การเจริญ
กุศล  ก็เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง   เพราะเหตุว่ามากไปด้วยกิเลส ถ้าไม่ได้รับการขัด
เกลาทีละเล็กทีละน้อยในชีวิตประจำวัน จะถึงการหมดสิ้นกิเลสได้อย่างไร  เพราะฉะนั้น
ผู้ที่เห็นคุณของกุศล และ เห็นโทษของอกุศล  จึงไม่ละเลยโอกาสสำคัญในการเจริญกุศล 
ไม่ว่าจะเป็นไปในเรื่องใด ๆ  ก็ตาม  เพราะถ้ากุศลไม่เกิด ก็ย่อมเป็นโอกาสของการเกิดขึ้น
แห่งอกุศล


    และประการที่สำคัญ  ที่กล่าวถึงการทำบุญ หรือการเจริญกุศลนั้น   ไม่ได้หมายถึงเฉพาะ
การให้ทาน เพียงอย่างเดียว  เพราะบุญ(ความดีที่ชำระจิตให้สะอาด) นั้น  มีถึง ๑๐  ประการ
ได้แก่


๑.  ทาน   การให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
๒.  ศีล ได้แก่ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่เป็นกุศล คือ ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น
ให้เดือดร้อน
๓.  ภาวนา การอบรมจิตให้สงบ คือ สมถภาวนา ๑ และการอบรมให้เกิดปัญญา วิปัสสนา
ภาวนา ๑
๔. อปจายนะ การอ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม  ก็เป็นบุญ เพราะว่าจิตใจในขณะนั้นไม่
หยาบกระด้างด้วยความถือตัว

๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ควรสงเคราะห์  ไม่เลือกสัตว์ บุคคล ผู้ใดที่อยู่ใน
สภาพที่ควรสงเคราะห์ช่วยเหลือให้ความสะดวก ให้ความสบาย ก็ควรจะสงเคราะห์แก่ผู้นั้น
แม้เพียงเล็กน้อยในขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต     เป็นบุญ

๖. ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนา ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลจิตของ
บุคคลอื่นเกิดได้

๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาแก่ผู้อื่นที่ได้กระทำกุศล เพราะเหตุว่าถ้าเป็นคนพาล
ไม่สามารถจะอนุโมทนาได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ได้ทราบการกระทำบุญกุศลของ
บุคคลอื่น    ก็ควรเป็นผู้ที่มีจิตยินดี ชื่นชม อนุโมทนาในกุศลกรรมของบุคคลอื่นที่ตนได้
ทราบนั้น ไม่ใช่เป็นผู้ที่ตระหนี่แม้แต่จะชื่นชมยินดีในบุญกุศลของบุคคลอื่น

๘.  ธัมมเทศนา   การแสดงธรรมแก่ผู้ต้องการฟัง ไม่ว่าเป็นญาติมิตรสหาย หรือบุคคลใด
ก็ตามซึ่งสามารถจะอนุเคราะห์ให้เขาได้เข้าใจเหตุผลในพระธรรมวินัย     ก็ควรที่จะได้
แสดงธรรมแก่บุคคลนั้น

๙.  ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง
ก็เป็นบุญ

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์    การกระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมและเหตุผลของสภาพ ธรรม
นั้นๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่า เป็นกุศลจริงๆ ธรรมใดที่
เป็นอกุศล ก็ให้พิจารณากระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมจริงๆว่า สภาพธรรมนั้น
เป็นอกุศล ไม่ปะปนกุศลธรรมกับอกุศลธรรม

    เพราะฉะนั้น   เรื่องของการเจริญกุศล  จึงเป็นสิ่งที่ควรจะสะสมเท่าที่สามารถจะกระทำได้
ไม่ควรเป็นผู้ประมาท   
    เรื่องของคนอื่น ก็เป็นเรื่องของคนอื่น แต่เรา ควรที่จะได้กระทำกิจที่ควรทำสำหรับตนเอง
คือ  ทำดี และ ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ต่อไป
ครับผม

   หากเข้าใจความเป็นไปของชีวิต คือ จิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ ก็คือ การเกิดขึ้นของ
จิต    เจตสิก
   ที่เป็นไปในกุศลบ้าง อกุศลบ้างเป็นธรรมดา และ ไม่มีใคร ไม่มีสัตว์
บุคคลที่เกิด กุศลจิต เกิด อกุศลจิต เพราะเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา และ ในความ
เป็นจริง สัตว์โลกสะสมกิเลสมามาก ทั้ง โลภะ โทสะ โมหะ และ กิเลสอื่นๆ

จึงเป็นธรรมดาที่จะเกิดกิเลสประการต่างๆ เป็นธรรมดา แม้แต่การทำกุศล การทำบุญ ก็
เป็นธรรมดาอีกเช่นกัน
  ที่จะทำบุญแล้ว เกิดโลภะ เกิดกิเลส ที่อยากได้บุญ อยาก
ได้ผลของบุญ เป็นต้น เพราะ ไม่มีอะไรที่โลภะ ความต้องการ ความติดข้อง ที่ไม่
สามารถจะไม่ติดข้องได้เลย
เว้นเสียแต่ สภาพธรรมที่เป็น พระนิพพาน เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อทำกุศล ทำบุญก็เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศล ได้ เป็นธรรมดา ซึ่ง ไม่ใช่
เฉพาะในสมัยปัจจุบันเท่านั้น ที่ จะทำบุญและเกิดอกุศลต่อ ที่อยากได้ผลของบุญ
ติดข้องผลของบุญ เกิดอกุศลประการต่างๆ หลังจากทำบุญแล้ว
แม้ในอดีตกาล
สมัยพุทธกาล และ ในอนาตกาล   สัตว์โลกก็เป็นดังเช่นนี้ สมดังที่พระพุทธเจ้า

ตรัสไว้ใน ปฐมทานสูตร ที่ว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกายอัฏฐกกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 472

                               ทานวรรคที่  ๔
                             ๑.  ปฐมทานสูตร
      [๑๒๑]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย      ทาน  ๘  ประการนี้       ๘  ประการ
เป็นไฉน คือ บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑      บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑
บางคนให้ทานเพราะนึกว่า    เขาให้แก่เราแล้ว   ๑          บางคนให้ทาน
เพราะนึกว่า      เขาจักให้ตอบแทน   ๑         บางคนให้ทานเพราะนึกว่า
ทานเป็นการดี    ๑         บางคนให้ทานเพราะนึกว่า   เราหุงหากิน   ชน
เหล่านี้หุงหากินไม่ได้     เราหุงหากินได้        จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้
ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร ๑      บางคนให้ทานเพราะนึกว่า  เมื่อเราให้ทาน
กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป   ๑         บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่ง
จิต  ๑    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ทาน ๘ ประการนี้แล.


  จะเห็นนะครับว่า บางคนให้ทาน เพราะ หวังอยากได้ จึงให้ก็มี  และ บางคนให้
เพราะ กลัว จึงให้ก็มี  บางคน ให้เพราะ หวังว่าเขาจะให้คืนกลับมาก็มี  บางคน
ให้ทาน แล้วคิดว่า ให้แล้ว จะมีชื่อเสียงก็มี  นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่สมัยปัจจุบัน
สภาพธรรมที่เป็นอกุศลก็เกิดขึ้นได้ ทุกยุค ทุกสมัย ตราบใดที่ยังมีกิเลส
  และ อีกพระสูตรหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นธรรมดาของสภาพธรรม ที่ให้ทาน ก็
ยังเกิดกิเลส เกิดความหวังในการได้รับผลของทานได้เป็นธรรม ดังข้อความที่
พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า

 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 140
-------------------......................
-------------------......................
ฯลฯ

      พ.  ดูก่อนสารีบุตร    ในการให้ทานนั้น  บุคคลมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน      มุ่งการสั่งสมให้ทาน     ให้ทานด้วยคิดว่า
ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว   เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช        สิ้นกรรม
สิ้นฤทธิ์  สิ้นยศ   หมดความเป็นใหญ่แล้ว   ยังมีผู้กลับมา   คือ   มาสู่
ความเป็นอย่างนี้  ฯลฯ

  - ข้อความที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง แสดงถึงความจริง ของจิตใจของสัตว์โลกที่
ยังมีกิเลส ย่อมเกิดความหวัง เกิดโลภะ แม้ทำบุญแล้วก็หวังผลบุญได้เป็นธรรมดา
นี่คือ ความละเอียดของจิตใจของสัตว์โลกที่มากไปด้วยกิเลส และ ที่สำคัญที่สุด

แม้แต่จะไม่ทำบุญ เราๆ ท่านๆทั้งหลาย ก็เกิดกิเลสเป็นปกติธรรมดาอยู่แล้ว ยังหวัง
ที่จะได้ทรัพย์ เกิด อิจฉา ริษยา เกิดกิเลสประการต่างๆ
นับไม่ถ้วน
แม้จะไม่ได้ทำบุญ
ให้ทานเลย กิเลสก็เกิดเป็นปกติ เป็นธรรมดาของปุถุชน เพราะฉะนั้น ควรอยู่กับกิเลส
คนอื่น ด้วยความเข้าใจ เข้าใจว่า ทุกคนก็ยังมี และ เราก็มีเช่นกัน และ เป็นอย่างนั้น
ได้เช่นกัน เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเกิด กุศลจิต ที่เข้าใจความจริงของ
ชีวิตแต่ละหนึ่ง
ที่เป็นไปด้วยกิเลส
และ เข้าใจละเอียดลงไปอีกว่า ไม่มีใคร ไม่มีสัตว์
บุคคล
ที่มีกิเลส เพราะเป็นแต่เพียง สภาพธรรมที่เป็นอกุศลจิตเป็นไปเท่านั้น ไม่มีใคร
มีแต่ธรรม
การเข้าใจเช่นนี้ ประโยชน์ คือ สะสมปัญญา สะสมความเห็นถูกของตนเอง
และ ละคลายกิเลสตนเองเป็นสำคัญ นี่คือ ประโยชน์สูงสุด คือ ประโยชน์ตน ที่จะ
เข้าใจความจริง มีหน้าที่ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ปัญญาที่เจริญขึ้น
ย่อมเข้าใจเหตุการณ์ทีเกิดขึ้นในชีวิต ประจำวัน ด้วยกุศลจิต แม้แต่ เรื่องการให้ทาน
ของบุคคลต่างๆ ในลักษณะต่างๆ



G+ ชาวพุทธ - สนทนาธรรมตามกาล

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
   ธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง แม้แต่คำว่า ศีล และ วินัย ก็มีความละเอียดลึกซึ้ง
เพราะ ล้วนแล้วแต่เป็นสภาพธรรมที่มีความลึกซึ้งในตัวของมันเอง
 คำว่า วินัย  โดยความหมายทางโลก หมายถึง ระเบียบข้อประพฤติปฏิบัติ เป็นวินัย
แต่ในความเป็นจริงในพระพุทธศาสนา วินัย หมายถึง เครื่องกำจัด กำจัดอย่างวิเศษ
ขัดเกลาอย่างวิเศษ กำจัด ขัดเกลาอะไร ก็ต้องเป็นการกำจัด สภาพธรรมที่ไม่ดี ที่
เป็นอกุศลธรรมและกิเลส
สภาพธรรมอะไรก็ตามที่กำจัดเสียซึ่งความไม่ดี ชื่อว่า วินัย

   วินัย มี 2 อย่าง คือ สังวรวินัย และ ปหานวินัย

สังวรวินัย คือ เครื่องกำจัดกิเลส ด้วยการสังวร หรือ สำรวม ซึ่งแบ่งเป็นสังวร 5 อย่าง
คือ  สีลสังวร   สติสังวร ขันติสังวร ญาณสังวร  วิริยะสังวร

สังวรทั้ง 5 อย่างนี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของ วินัย ที่เป็น สังวรวินัย ซึ่ง สีลสังวร ก็คือ การ
สำรวมด้วยศีล
ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็ศีล 5 ถ้าเป็นบรรพชิต ก็สิกขาบท เพราะ สีลสังวร
เป็นวินัย เพราะ กำจัดกิเลสที่หยาบทางกาย วาจา สติสังวร คือ  การสำรวมด้วยสติ
คือ ขณะที่สติปัฏฐานเกิด รู้ลักษณะสภาพธรรมทางตา หู..ใจ ญาณสังวร การสำรวม
ด้วยปัญญา ขันติสังวร การสำรวมด้วยขันติ และ วิริยสังวร การสำรวมไม่ให้กิเลสเกิด
ด้วย วิริยะ

จะเห็นนะครับว่า ที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่เป็นสภาพธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดกิเลส ที่
เป็นอรรถ ความหมายของวินัย



ศีล
    ส่วน ศีลนั้นก็มีหลากหลายนัย ศีล หมายถึง ความประพฤติที่งดเว้นทางกาย วาจา
ก็ได้(วารีตศีล) ศีล ยังหมายถึง การประพฤติสิ่งที่สมควรทางกาย วาจา (จารีตศีล) มี
การเลี้ยงดู มารดา บิดา เป็นต้น และศีล ยังหมายถึง ความเป็นปกติ ที่เป็นทั้งกุศลศีล
อกุศลศีล
  แต่เมื่อกล่าวโดย ศีลที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อละกิเลส ย่อมมุ่งหมายถึง
กุศลศีล    ดังนั้น ศีลที่งดเว้นทางกาย วาจา ก็เช่น   ศีล 5  ศีลของพระภิกษุ จึงชื่อว่า
สีลสังวร

ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในพระไตรปิฎก ทรงแสดง ว่า ศีล มี 4 อย่าง คือ
1.เจตนา เป็น ศีล
2.เจตสิก เป็น ศีล
3.ความสำรวม สังวร  เป็นศีล
4.การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล


เจตนา เป็น ศีล หมายถึง เจตนาที่งดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดใน
กาม เป็นต้น เช่น ยุงกัด ก็ไม่ตบ     ขณะที่งดเว้น ไม่ตบในขณะนั้น ก็เป็น ศีล ที่เป็น
เจตนาศีล เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เจตสิก เป็น ศีล คือ การงดเว้นจากความโลภ (อนภิชฌา) งดเว้นจากการพยาบาท
(อพยาบาท)   และ มีความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ )   ชื่อว่า เจตสิกศีล

การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล คือ เจตนาสมาทานศีล หรือที่ถือเอาด้วยดี ด้วยตั้งใจที่จะ
ขอรักษาศีล เช่น      ไปต่อหน้าพระ และขอสมาทานจะรักษาศีล  ขณะนั้นมีเจตนา
ที่จะประพฤติ รักษากาย วาจาที่เป็นไปด้วยดี ชื่อว่า เป็นศีล เพราะ มีความไม่ก้าวล่วง
ด้วยการสมาทานศีล ครับ จึงเป็นศีล

ความสำรวม หรือ สังวร เป็น ศีล   ความสำรวม สังวรในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการสำรวม
ภายนอกที่ทำสำรวม   กิริยาสำรวม แต่ สำรวม สังวร หมายถึง  การสำรวมด้วยจิตที่เป็น
กุศล มุ่งที่ จิต เป็นสำคัญ
ซึ่งการสำรวม หรือ สังวรนั้นมี 5 ประการ คือ

ปาฏิโมกขสังวร  คือ การประพฤติงดเว้นและปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติของพระภิกษุ
ชื่อว่าเป็น ศีล
สติสังวร  คือ การมีสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชื่อว่า
สติสังวร เป็นศีล
ญาณสังวร  ปัญญาเกิด ละกิเลส ชื่อว่า สังวรด้วยปัญญาและการพิจารณาสิ่งที่ได้มาที่
เป็นปัจจัย มี อาหาร เป็นต้นของพระภิกษุ พิจารณาด้วยปัญญาแล้วจึงบริโภค ก็ชื่อว่า
ญาณสังวร เป็นศีลในขณะนั้นด้วยครับ คือ ปัจจยสันนิสิตตศีล
ขันติสังวร   ความเป็นผู้อดทนต่อหนาวและร้อน เป็นต้น ชื่อว่า สำรวมด้วยขันติ
วิริยสังวร คือ ปรารภความเพียรไม่ให้อกุศลทีเกิดขึ้นแล้ว เจริญขึ้น เป็นต้น ชื่อว่าสำรวม
ด้วยวิริยะ

   จากที่กล่าวมา จะเห็นนะครับว่า ศีล นั้น เป็นส่วนหนึ่งของวินัย คือ สังวร 5 ที่เป็น
ศีลก็เป็น วินัย และ สีลสังวร ก็เป็นส่วนหนึ่งของวินัย ด้วยเหตุผลที่ว่า วินัย หมายถึง
เครื่องกำจัดกิเลส เพราะฉะนั้น ศีล ก็เป็นธรรมส่วนหนึ่ง ที่กำจัดกิเลส วินัย จึงกว้าง
กว่า ศีล โดยนัยนี้
ครับ

วินัย ยังแบ่งเป็น สังวรวินัย ได้กล่าวไปแล้ว และยังแบ่งเป็น ปหานวินัย
 ซึ่ง มี 5 อย่างดังนี้
ตทังคปหาน   วิกขัมภนปหาน   สมุจเฉทปหาน  ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน
ปหาน หมายถึง การสละ การละ ซึ่งก็มีหลากหลายนัยดังนี้ ครับ
ตทังคปหาน คือ การละองค์นั้นๆด้วยวิปัสสนาญาณ เช่น ขณะที่เกิดวิปัสสนาญาณ
ขั้นที่ 1 ก็ละ ความยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ชั่วขณะนั้น ละ ความไม่รู้ กิเลสในชั่วขณะ
นั้น ครับ เป็นวินัยเพราะ กำจัดกิเลสในขณะนั้นชั่วขณะ
วิกขัมภนปหาน   หมายถึง ฌานขั้นต่างๆขณะนั้น ละ กำจัด นิวรณ์ มีความติดข้องใน
ขณะนั้น เป็นต้น ครับ
สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้เด็ดขาด ด้วย มรรคทั้ง 4 ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน
ปฏิปัสสัทธิปหาน คือ ขณะที่เป็นผลจิต เป็นการระงับกิเลสที่ละได้แล้ว
นิสสรณปหาน คือ พระนิพพาน เพราะ ละ สภาพธรรมที่เป็นเครื่องปรุงแต่ง คือ จิต
เจตสิก รูปไม่มีอีกเลยในพระนิพพาน ครับ

สรุปได้ว่า การละทั้งหมด การกำจัดทั้งหมด เป็นวินัย วินัยจึงกว้างขวาง ครอบคลุม
ทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา มรรค ผล นิพพาน ส่วนศีล แคบกว่า เป็นเพียงศีล และ
เป็นส่วนหนึ่งของวินัย
เพราะ ศีล ก็เป็นเครื่องกำจัด ละกิเลสได้เช่นกัน  แต่ก็ตาม
ระดับของศีล
ครับ ผม


G+ ชาวพุทธ - สนทนาธรรมตามกาล

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บูชาคนที่ควรบูชา
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2013, 03:29:54 pm »


                     

บูชาคนที่ควรบูชา
บุคคลใดกระทำสักการะบูชาแก่สิ่งที่ควรบูชา
มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา
ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณที่ให้การอุปการแก่ตน
จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ เป็นบ่อเกิดแห่งบุญ การบูชามี ๒ อย่างคือ

อามิสบูชา ได้แก่การให้วัตถุต่างๆ มีดอกไม้ธูปเทียนของหอม
และข้าวน้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ปัจจัยลาภทั้งหลาย
พร้อมเครื่องใช้ไม่สอย ที่จำเป็น เป็นต้น
ขุดสระบ่อ และทำถนน สร้างพุทธรูปสถูปเจดีย์เหล่านี้ เรียกว่า อามิสบูชา

ปฏิบัติบูชา ได้แก่
การปฏิบัติตามคำสั่งสอน
เชื่อถ้อยฟังคำ
ทำตามจนเห็นผลประจักษ์แจ้งแก่ตน
จนเชื่อใจ วางใจ
เบาใจแก่ผู้รับการบูชา พร้อมผู้บูชาเอง เหล่านี้เรียกว่า ปฏิบัติบูชา

บุคคลที่ควรบูชา
มีดังนี้คือ
๑.พระพุทธเจ้า
๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า และหมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
๔.บิดามารดา
๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม


http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=6614
G+ ชาตรี กองนอก


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรมัตถธรรมอยู่เหนือไตรลักษณ์ ?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มีนาคม 04, 2014, 05:01:48 pm »



        มีผู้กล่าวว่า "ปรมัตถธรรมย่อมอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์" (ผู้กล่าวเป็นพระภิกษุในพระ
พุทธศาสนาเถรวาท)
        ขอความกรุณาอธิบายว่า
        1 ปรมัตถธรรม คืออะไร (เป็นไปได้ไหมว่า ท่านผู้กล่าวนั้นใช้คำว่า ปรมัตถธรรม ไป
ตามความเข้าใจของท่านเอง ?)
        2 ปรมัตถธรรม (ไม่ว่าใครจะเข้าใจว่าคืออะไรก็ตาม) อยู่เหนือไตรลักษณ์ ได้หรือไม่
ด้วยเหตุผลอย่างไร
        ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
                   ****************************
..
 ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
 1 ปรมัตถธรรม คืออะไร (เป็นไปได้ไหมว่า ท่านผู้กล่าวนั้นใช้คำว่า ปรมัตถธรรม ไปตาม
ความเข้าใจของท่านเอง ?)

    ปรมัตถธรรม   ปรม ( อย่างยิ่ง , ประเสริฐ ) + อตฺถ ( เนื้อความ ) + ธมฺม ( สภาพที่
ทรงไว้ )  ปรมัตถธรรม จึงหมายถึง ธรรมที่มีเนื้อความที่ประเสริฐอย่างยิ่ง  หมายถึง  สิ่งที่
มีอยู่จริง ได้แก่ จิต เจตสิก  รูปและนิพพาน      ปรมัตถธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีจริง   ไม่
เปลี่ยนแปลงลักษณะ เป็นธรรมที่ไม่ใช่บัญญัติ เรื่องราว แต่เป็นสิ่งที่อยู่จริง โดยไม่จำเป็น
ต้องเรียกชื่อว่าอะไรเลยก็ตาม     ก็มีอยู่จริง ทุกยุค ทุกสมัย นั่นก็คือ จิต เจตสิก รูป พระ
นิพพาน พระพุทธเจ้าทรงตรสัรู้    ความจริงที่ประเสริฐยิ่งด้วยปัญญาของพระองค์เองตาม
ความเป็นจริงครับ
..
..
 2 ปรมัตถธรรม (ไม่ว่าใครจะเข้าใจว่าคืออะไรก็ตาม) อยู่เหนือไตรลักษณ์ ได้หรือไม่ด้วย
เหตุผลอย่างไร
    ปรมัตถธรรม มี 4 อย่าง ไม่ใช่อย่างเดียว คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน เพราะฉะนั้น
เราก็จะต้องแยกสภาพธรรมแต่ละอย่างว่าขึ้นอยู่กับกฎไตรลักษณ์หรือไม่

       ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฎทั่วไปในสภาพธรรม ซึ่ง มีลักษณะ
3 อย่าง คือ อนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง(เป็นทุกข์) อนัตตา(ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน บังคับ
บัญชาไม่ได้)

   ปรมัตถธรรมมี จิต เจตสิก รูป พระนิพพาน จิต เจตสิกและรูป 3 อย่างนี้ เป็นสภาพธรรม
ที่มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น      เพราะฉะนั้น จิต เจตสกิและรูป    จึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่
เที่ยง(อนิจจัง) เป้นทุกข์ ทนไม่ได้ และที่สำคัญที่สุด คือ เป็นอนัตตาด้วย คือ ไม่ใช่สัตว์
บุคคล เป็นแต่เพียงสภาพธรรม จิต ไม่ใชเรา    เป็นแต่เพียงธรรม เจตสิกและรูปก็เช่นกัน
เป็นแต่เพียงสภาพธรรม จึงเป็นอนัตตา ดังนั้น จิต เจตสิกและรูปก็ไม่พ้นจากกฎไตรลักษณ์
คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

    ส่วนพระนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรมเช่นกัน   นิพพาน เป็นสภาพ
ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงไม่เกิดขึ้นและดับไปเลย เพราะฉะนั้น พระนิพพาน จึงเที่ยง
เป็นสุข แต่ที่สำคัญที่สุด แม้เที่ยง เป็นสุข ก็เป็นอนัตตา คือ เป็นแต่เพียงธรรม สูญ จาก
ความเป็นสัตว์ บุคคล เพราะพระนิพพานเป็นแต่เพียงสภาพธรรมเท่านั้น จึงเป็นอนัตตา

   ดังนั้น ปรมัตถธรรมทั้ง 4 ประการ ไม่พ้นจากกฎไตรลักษณ์ คือ เป็นอนัตตา แต่ พระ
นิพพาน เป็นสภาพธรรม    ที่พ้นจากความไม่เที่ยง และความเป็นทุกข์ แต่ก็ยังอยู่ในกฎ
ไตรลักษณ์ประการหนึ่ง   คือ เป็นอนัตตาครับ    ปรมัตถธรรมทั้ง 4    จึงไม่พ้นจากกฎ
ไตรลักษณ์เลย โดยเฉพาะความเป็นอนัตตาครับ ขออนุโมทนา
.....................................................................................



        ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
   จริงที่สุด คือ ปรมัตถธรรม  มี ๔ ประการ  คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธาน
ในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก  (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต)  รูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร
เลย  ไม่ใช่สภาพรู้)   และ พระนิพพาน  ทั้งหมดนั้น   เป็นสภาพธรรมทีี่่มีจริง ไม่เปลี่ยน
แปลงลักษณะเป็นอย่างอื่น  เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น 

    ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง     สามารถพิสูจน์ได้ทุกขณะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง    ไม่ว่าจะได้เห็น
ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส     รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส  คิดนึก  ดีใจ  เสียใจ    ติดข้องยินดีพอใจ 
หงุดหงิดโกรธขุ่นเคือง ไม่พอใจ เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมทั้งหมด,    ธรรม ไม่ได้หมายถึง
เพียงสภาพธรรมฝ่ายดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น       แต่หมายรวมถึงสิ่งที่มีจริงทั้งหมด     
ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปนั้นไม่พ้นไปจากธรรมเลย   เมื่อไม่ได้ศึกษา  ย่อมไม่สามารถ

จะรู้ได้ว่าเป็นธรรม  เพราะแท้ที่จริงแล้ว ทุกขณะเป็นธรรม
  มีจิต(สภาพธรรมที่เป็นใหญ่
เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก(สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และ รูป เกิดขึ้น
เป็นไปอยู่ตลอดเวลา      จิต   เจตสิก   รูปนั้น      เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน  ที่ไม่เที่ยงนั้นเพราะเกิดแล้วดับไป    สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไปนั้น
เป็นทุกข์   เป็นทุกข์เพราะเหตุว่าตั้งอยู่ไม่ได้    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา    เมื่อ
ไม่เที่ยง   เป็นทุกข์  จึงเป็นอนัตตา  คือ ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน   ไม่อยู่ใน
อำนาจบังคับบัญชาของใคร      ลักษณะทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นลักษณะที่ทั่วไปแก่สภาพ
ธรรมที่เป็นสังขารธรรมทั้งหมด       แต่เมื่อกล่าวถึงอนัตตาแล้ว ไม่มีเว้นธรรมอะไรเลย

หมายรวมถึงพระนิพพานด้วย เพราะพระนิพพาน ก็เป็นอนัตตา    ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง  เป็นอนัตตา  คือ ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ไม่ใช่ตัวตน   เป็นแต่
เพียงธรรมแต่ละอย่าง ๆ  เท่านั้นจริง ๆ   

     ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด  ยากที่จะเข้าใจ   แต่ก็สามารถที่จะเข้าใจได้     การศึกษา
ธรรม  เป็นการศึกษาถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล  ไม่ใช่ตัวตน     เพื่อเข้าใจ
สภาพธรรมตามความเป็นจริง    เนื่องจากคุ้นเคยกับความเป็นตัวตน   คุ้นเคยกับความ
เป็นเรา พร้อมทั้งได้สะสมความไม่รู้มาอย่างเนิ่นนาน   จึงหลงยึดถือสภาพธรรมที่กำลัง
ปรากฏว่าเป็นต้วตน  เป็นสัตว์ เป็นบุคคล  เป็นเรา  ดังนั้น  ธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น
จึงควรที่จะศึกษา เพื่อความเข้าใจถูก  เห็นถูกตามความเป็นจริง     ซึ่งจะเป็นไปเพื่อละ
คลายความไม่รู้    ละความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์  เป็นบุคคลได้
ในที่สุด ครับ.
                               ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่านครับ...


-http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=20135

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ประโยชน์ของการเข้าใจ...เรื่องปัจจัยต่างๆ
ข้อความบางตอนจากการถอดเทป การบรรยายธรรมโดย อาจารย์สุจินต์  บริหารวนเขตต์ ณ ตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัยพ.ศ. ๒๕๒๕ โดย คุณสงวน  สุจริตกุล

สำหรับประโยชน์ของการเข้าใจเรื่อง อนันตรูปนิสสยปัจจัย และ ปัจจัยอื่นๆทั้งหมด
ก็เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในสภาพธรรมและการปฏิบัติ  คือ การอบรมเจริญปัญญา....

     ถ้ามีการเข้าใจผิดในเรื่องการปฏิบัติ ก็ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้.เช่น ถ้าคิดว่า ปัญญา ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในขณะนี้ก็ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้....แล้วจะไม่เข้าใจด้วยว่าปัจจัยทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงแสดงไว้แล้วนั้น เพื่อที่จะให้รู้ลักษณะที่เป็น อนัตตา จริงๆ...

     แม้แต่  อนันตรูปนิสสยปัจจัย......ถ้าสติไม่เกิด ระลึกรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏขณะนี้จะไม่ทราบเลยว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย..........คืออะไร?
     แต่ถ้าเป็นผู้มีปกติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจในขณะนี้จริงๆ

     จะเห็นได้ว่า ทั้งๆที่เห็น..........ไม่นานเลยเพราะว่า  อนันตรูปนิสสยปัจจัย  ทำให้เกิดการได้ยินขึ้นและ ทั้งๆที่กำลังได้ยินนี้เอง.........ก็ไม่นานเลยเพระว่า  อนันตรูปนิสสยปัจจัย...............................ทำให้เกิดการคิดนึก เรื่องต่างขึ้น.......
     เพราะฉะนั้น ชีวิตตามปกติตามความเป็นจริง ของแต่ละคนสติสามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารต่างๆ..........ซึ่งปกติ..............มักจะหลงลืม.
     แม้ว่าสภาพธรรมจะปรากฏทางตา....ชั่วขณะเล็กน้อยปรากฏทางหู..........ชั่วขณะเล็กน้อย .......ปรากฏทางใจ..........คิดนึกแต่ละคำ เพียงชั่วขณะเล็กน้อยก็ไม่เห็น ความเป็นอนัตตา ของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยต่างๆ............ถ้าปราศจากปัจจัยต่างๆแล้ว  สภาพธรรมแต่ละอย่าง จะปรากฏไม่ได้เลย.........
     แต่เมื่อเป็น ผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน เมื่อไหร่จะเริ่มรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมที่เกิดปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ทีละเล็ก ทีละน้อย จนสามารถจะเข้าถึง สภาพที่เป็นอนัตตา.........
     แม้เรื่องของ อนันตรูปนิสยปัจจัย และปัจจัยทั้งหลายที่ได้ฟัง และได้ศึกษามาแล้ว.........ก็จะเห็นได้ว่าสภาพธรรมแต่ละอย่างนั้น เป็นอนัตตาจริงๆ.

    ถ้าปราศจากปัจจัย แม้เพียงปัจจัยหนึ่ง ปัจจัยใดซึ่งเป็นเหตุให้สภาพธรรมนั้น เกิดขึ้น..........สภาพธรรมนั้น ก็เกิดขึ้นไม่ได้.  เช่น อนันตรูปนิสสยปัจจัยถ้าขาดปัจจัยนี้การได้ยิน  ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้การคิดนึก  ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้การเห็น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสต่างๆซึ่งเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็ย่อมจะเกิดไม่ได้.........
     เพราะฉะนั้น การศึกษาทั้งหมด เพื่อที่จะเกื้อกูลให้สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามปกติ ตามความเป็นจริง
     ท่านผู้ฟัง เคยนอนไม่หลับไหมคะ? บางท่านรู้สึกเป็นห่วงมาก กับการนอนไม่หลับแต่เพราะเหตุใด จึงนอนไม่หลับ? ถ้าไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

     การนอนไม่หลับ  จะเกิดขึ้นไม่ได้ไม่ว่าอยากจะหลับ แล้วก็ไม่หลับก็เป็นเพราะเหตุปัจจัย
หรือว่า  ไม่อยากจะหลับ  แต่ก็หลับ เช่นขณะที่ฟังพระธรรม บางท่านอาจจะเผลอไปหลับไป ทั้งๆที่ไม่อยากจะหลับเลยแต่ถ้าปราศจากเหตุปัจจัย

     การหลับในขณะนั้น  ก็เกิดขึ้นไม่ได้แต่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าสภาพธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา.

>>การศึกษาเรื่องปัจจัยมีประโยชน์อย่างไร  โดย เมตตา
ประโยชน์ของการเข้าใจ...เรื่องปัจจัยต่างๆ  โดย พุทธรักษา...
วันที่  26 ก.ย. 2551 หัวข้อหมายเลข  9991 dhammahome.com