ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : คนรุ่นใหม่กับคนหลังสมัยใหม่มองจิตวิญญาณต่างกัน  (อ่าน 1728 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7164
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
 

มีที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมจากหัวข้อของบทความดังนี้ คือมีเรื่องที่ต้องขยายเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากเนื้อที่ที่วางหัวข้อไม่อำนวย นั่นคือคำว่าคนรุ่นใหม่ ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนตามความหมายในที่นี้จะหมายความคร่าวๆ คล้ายๆ กับที่คนทั่วไปเข้าใจกัน คือเด็กที่มีอายุ 15-20 กว่าๆ ที่เป็นวัยรุ่นสมัยใหม่จ๋าจริงๆ ที่คลั่งอยู่กับวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีที่มีรูปแบบที่พัฒนามาจากวิทยาศาสตร์เก่าๆ และเป็นเทคโนโลยีเก๋ากึ๊ก หรือโคเปอร์นิกัน-นิวโตเบียนฟิสิกส์ที่มีเมื่อกว่า 500 ปีมาแล้ว ส่วนคำว่าคนหลังสมัยใหม่  (postmodernism) นั้น ไม่ได้จำกัดด้วยวัยหรืออายุ จะมีความหมายอยู่ตรงคำว่า “หลังสมัยใหม่” หรือสังคมอารยธรรมสมัยใหม่ และความคิดของนักจิตวิทยา (David Hess : Science of the Newage,1993) ซึ่งมองว่ากลุ่มนิวเอจ (New age) ที่ประกอบด้วยประชากรอเมริกันจำนวนไม่น้อย (ประมาณว่าถึง 1 ใน 3 ของคนอเมริกัน) ก็ถูกจัดให้เป็นกลุ่มคนยุคหลังสมัยใหม่กลุ่มหนึ่งด้วย (postmodernist) จึงโปรดเข้าใจตามนั้น ข้อเสียคือคนรุนใหม่มักจะเข้าใจว่าตนเองเป็นคนหลังสมัยใหม่ไปกับเขาด้วย มีคนรุ่นใหมที่เข้าใจแบบนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะผู้มีวัยดังกล่าว ส่วนคำสุดท้ายคือคำว่าจิตวิญญาณที่ตกคำว่า “ภาวะ” เพราะเนื้อที่ไม่อำนวยนั้น แต่ก่อนนี้ผู้เขียนเคยเข้าใจว่าภาวะจิตวิญญาณน่าจะเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา หรือศาสนาจูโด-คริสเตียน-อิสลาม แต่เดี๋ยวนี้จะอธิบายมศาสนาฮินดูด้วยที่มีคนนับถือร่วมร้อยล้านคนทั่วทั้งโลก  นั่นคือสปิริต (spirit) หรือพระเจ้าที่พุทธศาสนาไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าในรูปที่เชื่อๆ กัน (หรือ personal God หรือ Creator) แต่เชื่อในความจริงที่แท้จริงนั้น ซึ่งธรรมะคือเส้นทางที่ผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะเป็นผู้พบเอง แต่ผู้เขียนคิดว่าพระพุทธเจ้าไม่ปฏิเสธพระเจ้าที่เป็นความจริงที่แท้จริงหรือความจริงทางธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระองค์ไม่ปฏิเสธคำว่าบราหมัณหรือพรหมมัณ  (Brahman) ซึ่งหมายถึงความจริงแท้อันเป็นสิ่งที่อาจเรียกว่าเป็นสิ่งสุดลึกล้ำที่สุดและเป็นกลางในทางเพศ

(K.N.Upadhyaya : Early Buddhism and  Bhakavat Gita, 1984) พระองค์ไม่รับพระเจ้าที่ให้รางวัล และลงโทษคนที่พระเจ้าสร้างมาเอง และเป็นผู้สร้างชีวิตกับสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งเป็นผู้สร้างโลกสร้างจักรวาลแห่งนี้แห่งเดียว (personal God and the  Creator)         
                                           
สภาวะจิตวิญญาณมาจากสิ่งสูงสุดนั้น และเพราะลี้ลับและมองไม่เห็นจึงเรียกเป็นต่างๆ นานามาตั้งแต่โบราณดึกดำบรรพ์ เป็นต้นว่า พระแม่ เจ้าพ่อ พระเจ้า พระจิต เป็นต้น แต่ต้องรวมศาสนาฮินดูอันมีวัฒนธรรมพระเวท ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นที่มาของพุทธศาสนาด้วย ซึ่งไม่ใช่มีแต่เฉพาะคริสต์ศาสนาที่มีจิตวิญญาณ (Spirituality) เท่านั้น อันมีศาสนาคริสต์เป็นโต้โผใหญ่แต่เพียงอันเดียว

ดังนั้น ถ้าหากด้วยบทความที่ผู้เขียนตั้งใจจะพูดว่า คนรุ่นใหม่หรือคนยุคใหม่มองสภาวะจิตวิญญาณแตกต่างไปจากคนยุคหลังสมัยใหม่  นั่นหมายถึงคนรุ่นใหม่หรือคนยุคใหม่ไม่สนใจเรื่องสภาวะจิตวิญญาณ และให้ความสำคัญกับวัตถุเป็นหลัก ในขณะที่คนยุคหลังสมัยใหม่มองสภาวะจิตวิญญาณในแง่ของจิตนิยม ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าคนยุคใหม่หรือคนรุ่นใหม่ไม่ได้มองเห็นสภาวะจิตวิญญาณเช่นเดียวกับคนยุคหลังสมัยใหม่ เนื่องจากความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนที่มองสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) แตกต่างไป
ความเข้าใจของผู้เขียนที่บอกว่าคนที่บอกว่า คนรุ่นใหม่มองสภาวะจิตวิญญาณแตกต่างไปจากคนยุคหลังสมัยใหม่เป็นเพราะ หนึ่ง คนรุ่นใหม่หรือคนยุคใหม่ไม่ใช่คนยุคหลังสมัยใหม่ สอง คนยุคหลังสมัยใหม่เองในความเข้าใจของผู้เขียนก็แตกต่างกันไปตามคำนิยามโดยทั่วๆ ไป สาม คนรุ่นใหม่หรือคนยุคใหม่จะไม่เชื่อเรื่องจิตวิญญาณ เนื่องจากมองเห็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในขณะเดียวกันคนยุคหลังสมัยใหม่ที่แตกต่างกันไปโดยคำนิยามทั่วๆ ไปนั้นจะมองจิตวิญญาณในฐานะเป็นจิตนิยมหรือพุทธศาสนานิยม ซึ่งต่างไปจากมุมมองของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนคิดว่าวิทยาศาสตร์กายภาพนั้นจะต้องรวมฟิสิกส์ใหม่หรือควอนตัมเมคานิกส์ที่เป็นพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเวดิกที่แท้จริงไว้ด้วย

ด้วยเหตุนี้เองคำว่า สภาวะจิตวิญญาณ (Spirituality) นั้นแตกต่างกันไปตามคำนิยามนั้นๆ คือ ทั้งไม่ใช่จิตนิยม ศาสนานิยมสุดๆ แต่ว่าเป็นควอนตัมเมคคานิกส์ที่แท้จริงด้วย คนรุ่นใหม่ที่บอกว่าสภาวะจิตวิญญาณเป็นเรื่องเหลวไหลจึงไม่จริง เพราะเหตุว่าติดอยู่กับวิทยาศาสตร์และเทคโยโลยีสมัยใหม่มากเกินไป ส่วนคนยุคหลังสมัยใหม่เองก็มักจะมองเห็นสภาวะจิตวิญญาณที่เป็นจิตนิยมสุดๆ ตามคำอธิบายของพระอาจารย์ทั้งหลายที่มองธรรมะแตกต่างกัน

ผู้เขียนนั้นห่างไกลจากธรรมะอย่างที่สุด แม้ว่าจะเคยเข้าไปใกล้ๆ กับพุทธศาสนาอยู่บ้าง ในขณะที่เข้าใกล้พุทธศาสนาสายเถรวาทมาบ้างในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเข้าไปใกล้ๆ กับวิทยาาศาสตร์กายภาพโดยเฉพาะ เบสิกไบโอเม็ดดิคอลเดต้า (basic biomedical data) ซึ่งนำโดยชีววิทยาที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นวิทยาศาสตร์มีส่วนที่ผิดไปจากธรรมชาติอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง (random or abnormal mutation) ซึ่งขึ้นกับความบังเอิญ และผิดไปจากธรรมะ หรือเส้นทางสู่ความจริง (มรรคปติปทา) วิทยาศาสตร์เองเพิ่งรู้ว่าผิดไปจากธรรมชาติเมื่อมีควอนตัมเม็คคานิกส์ ซึ่งสำหรับผู้เขียนแล้วจะมีความสอดคล้องต้องกันกับเส้นทางสู่ธรรมะอย่างมาก (Fritjof Copra)

ธรรมะของศาสนาพุทธเป็นภาวะทางจิตวิญาณ (spirituality) ไม่ต่างไปจากศาสนาทั้งหลาย เพียงแต่ว่ามีแต่วัฒนธรรมพระเวท ฤคเวท และอุปานิษัทเท่านั้นที่พูดถึงโลกนี้จักรวาลแห่งนี้ - นอกจากพุทธศาสนา - ที่กล่าวว่ามีแค่จักรวาลแห่งนี้เท่านั้นที่มีจำนวนที่ไม่มีวันจบสิ้น (infinity) และศาสนาพุทธกับศาสนาเต๋าที่ไม่พูดถึงผู้สร้าง (the Creator) เลย และมีแต่ศาสนาพุทธศาสนาเดียวเท่านั้นที่ไปไกลถึงกับปฏิเสธผู้สร้างและอะไรๆ ที่เกี่ยวกับ  “personal God” โดยจะพูดถึงแต่ความจริงแท้หรือธรรมะอันเป็นเส้นทางเดียวกับของศาสนาเต๋า (Teching) ซึ่งหมายถึงมรรคหรือเส้นทางของเต๋า  ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาเดียวที่ปฏิเสธผู้สร้างอย่างแท้จริง ผู้สร้างหมายถึง  “personal God” ในความเห็นของผู้เขียนมีแต่ธรรมะของศาสนาพุทธที่พูดถึงสภาวะจิตวิญญาณเกี่ยวข้องกับธรรมะของศาสนา และ “ความเป็นจริงเช่นนั้นเอง” ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไม่เร็วไม่ช้าของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง

ในความเห็นของผู้เขียนเช่นกันมีความเห็นว่าคนรุ่นใหม่กับคนยุคหลังสมัยใหม่จะมองสภาวะจิตวิญญาณแตกต่างกันไปตามที่ผู้เขียนกล่าวมาข้างต้นนั้น ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่างเช่น คนรุ่นใหม่หรือคนยุคใหม่จะมองสภาวะจิตวิญญาณอย่างไม่มีประโยชน์ใดๆ โดยสิ้นเชิงสำหรับเขา ซึ่งเป็นความคิดทางสังคมที่บ่งบอกเช่นนั้น ส่วนคนยุคหลังสมัยใหม่ในรายละเอียดจะมองสภาวะจิตวิญญาณอย่างเช่นกลุ่มคนหลังสมัยใหม่ชนิดหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า (new ager) ซึ่งมองสภาวะจิตวิญญาณในรูปแบบแตกต่างกันในกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือคนยุคใหม่ดังเช่น กลุ่ม (new ager) จะมองการอยู่รอดในสังคมเป็นเรื่องของภาวะจิตวิญญาณ คือ การอยู่รอดของสังคมในอนาคต 

ฉะนั้นสภาวะจิตวิญญาณจึงแตกต่างกันไปเช่นว่านั้น คือคนรุ่นใหม่หรือคนยุคใหม่จะมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณหรือสภาวะของจิตวิญญาณ เพราะเหตุว่าคนรุ่นใหม่จะคิดอยู่เฉพาะในแง่ของผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากสังคม ในขณะที่คนยุคหลังสมัยใหม่ (new  ager) เช่นว่านั้นจะมองภาวะจิตวิญญาณนั้นๆ มีความหมายเท่าการการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์

ความสัมพันธ์ระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนยุคหลังสมัยใหม่จึงเป็นเรื่องของยุคสมัยมากกว่าเรื่องของสังคม มากกว่าจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ และเรื่องของภาวะจิตวิญญาณที่มองจึงน่าจะเป็นเรื่องของมุมมองจากสังคมมากกว่าจะเป็นเรื่องของธรรมชาติและศาสนา

ดังนั้นผู้เขียนเชื่อว่ามนุษย์เราจะต้องคิดถึงโลกส่วนตัวและธรรมชาติกับสังคมไปพร้อมๆ กัน สังคมจึงจะอยู่ได้รอดปลอดภัย ไม่ว่าโลกจะมีจำนวนประชากรเหลืออยู่เท่าไรก็ตาม จึงขอสรุปว่าสภาวะจิตวิญญาณมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ ซึ่งคนรุ่นใหม่หรือคนยุคใหม่จะต้องคิดในเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยไม่มองตัวเองเป็นหลัก อีกทั้งคนยุคใหม่จะต้องพยายามมองหาจุดเด่น และจุดร่วมของมนุษยชาติโดยรวม ขณะเดียวกันคนยุคหลังสมัยใหม่ก็ต้องมองเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการตามธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นความจริงทางโลก ทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเช่นกัน.

http://www.thaipost.net/sunday/250911/45546
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ magicmo

  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • ***
  • กระทู้: 127
  • พลังกัลยาณมิตร 30
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากนะครับ