ผู้เขียน หัวข้อ: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง  (อ่าน 18108 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วันภาษาไทยแห่งชาติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ที่มาและความสำคัญ

๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง[1] [2]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า

    เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก


รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒
วัตถุประสงค์

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ [3]

๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ
อ้างอิง

    ^ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ ภาษาไทย สมบัติของคนไทย
    ^ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม , ๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ
    ^ วันภาษาไทยแห่งชาติ

แหล่งข้อมูลอื่น

    วันภาษาไทยแห่งชาติ จาก เว็บไซต์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-

.

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2012, 08:03:11 pm »
วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปราย เรื่อง ปัญหาการใช้ภาษาไทย ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถ และนับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทยที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ นอกจากนี้ อีกวัตถุประสงค์หนึ่งของการจัดตั้งวันภาษาไทย ก็เพื่อต้องการกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้ยั่งยืนคู่ชาติไทยตลอดไป พร้อมทั้งเผยแพร่ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆไปสู่สาธารณชน ทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติและในฐานะภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

เห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย พระองค์ทรงรอบรู้ถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระวิริยะอุตสาหะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ ทำให้วรรณกรรมเรื่องนั้นๆ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น

แต่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่มักใช้ภาษาไทยกันอย่างผิดเพี้ยน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยของคนไทยมาก โดยเฉพาะคนไทยที่ไปศึกษาในต่างประเทศชอบใช้ภาษาฝรั่งคำไทยคำ ทำให้เมื่อสื่อสารออกไปแล้วคนไม่เข้าใจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องในสังคมอินเตอร์เน็ตที่มักจะใช้คำง่ายๆ และสั้นๆ รวมถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารด้วยจนกลายเป็นค่านิยมไปแล้ว ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปเด็กไทยก็จะไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของภาษาและอาจทำให้ภาษาไทยวิบัติได้ในอนาคต

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและภาษาไทยถิ่นดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนความร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้งดงามยั่งยืนคู่ชาติไทยตลอดไป ซึ่งได้มีการประกาศผลการคัดเลือกปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและภาษาไทยถิ่นดีเด่นไปแล้วเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ดังนี้

ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จำนวน ๑๓ คน ได้แก่ พระธรรมโกศาจารย์ (ศาสตราจารย์ ดร.ประยูร ธมฺมจิตโต), ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร, คุณหญิงคณิตา เลขะกุล, นางชอุ่ม ปัญจพรรค์, นายช่วย พูลเพิ่ม, ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์มะเนาะ ยูเด็น, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิพุธ โสภวงศ์, พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอก เสนีย์ วิลาวรรณ, นายอาจิณ จันทรัมพร

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จำนวน ๑๗ คน ได้แก่ นายกันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร, นายธีรภาพ โลหิตกุล, นางสาวนภา หวังในธรรม, นายนิติพงษ์ ห่อนาค, พลตรีประพาศ ศกุนตนาค, นายประภัสสร เสวิกุล, นายปราโมทย์ สัชฌุกร, นายศักดิ์สิริ  มีสมสืบ, นายศุ บุญเลี้ยง, นางสินจัย เปล่งพานิช, นาวาอากาศโทสุมาลี วีระวงศ์, นายสัญญา คุณากร, นางอารีย์ นักดนตรีม, นายเอนก นาวิกมูล ชาวต่างประเทศ จำนวน ๒ คน ได้แก่ ศาสนาจารย์ ดร.เอสเธอร์  เวคแมน, นางคริสตี แอนน์ เคนนีย์ บราวน์ฟิลด์

ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น จำนวน ๙ คน ได้แก่ พระราชประสิทธิคุณ (สุนันท์ สุภาจาโร), ดร.ฉันทัส  ทองช่วย, นางสาวนฤมล มั่นวงค์วิโรจน์, นายบุญธรรม เทิดเกียรติชาติ, นายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, นายมนัส สุขสาย, นายเมืองดี นนทะธรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สนิท บุญฤทธิ์, นายอินตา เลาคำ

รวมจำนวนทั้งสิ้น ๓๙ คน และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะจัดงานมอบเข็มเชิดชูเกียรติให้แก่ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและภาษาไทยถิ่นดีเด่น ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการแสดงนิทรรศการและการแสดงของผู้ที่ได้รับเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ การแสดงของศิลปินที่ได้รับรางวัลการประพันธ์คำร้องและการขับร้องเพลงดีเด่น (เพชรในเพลง) และการออกร้านคลินิกหมอภาษา

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักให้คนไทยได้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทยและสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรม โทร.๐๒๒๔๗๐๐๒๘ ต่อ ๑๔๑๙

 

สำนักประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

-http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=2992-

.

http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=2992

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2012, 08:06:17 pm »
วันภาษาไทยแห่งชาติ



    วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันภาษาไทยแห่งชาติ

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

        "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก ...”


กำเนิดภาษาไทย



        ... " พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบาลเมือง กูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็กเมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชน หัวซ้ายขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเคลื่อนเข้าไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อตั้งด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู พระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน "...

        ข้อความข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่ปรากฏบนศิลาจารึก หลักที่ ๑ ด้านที่ ๑ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สลักบนแท่งหินชนวน ศิลาจารึกนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของภาษาไทย ดังความตอนหนึ่งที่ปรากฏบนศิลาจารึกด้านที่ ๔ ของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ว่า " ... เมื่อก่อนลายสือไทนี้บ่มี ๑๒๐๕ สกปีมแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสือไทนี้ลายสือไทนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใศ่ไว้ "... นับได้ว่าเป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทย และภาษาไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการทางภาษาเรื่อยมาจนเป็นภาษาไทยในยุคปัจจุบัน

        หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีลักษณะเป็นแท่งหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร กว้าง ๓๕ เซนติเมตร หนา ๓๕ เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียว มีจารึกทั้งสี่ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ มี ๒๗ บรรทัด และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด ปัจจุบันแท่งศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงดังกล่าว เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

 การค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง)

        ศิลาจารึกนี้มีประวัติแห่งการค้นพบ คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงเห็นราษฎรเซ่นสรวงบูชาหลักศิลาจารึก ๒ หลัก กับแท่นหินอีก ๑ แท่น โดยที่เขาเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงทรงตรวจดูด้วยวิจารณญาณของนักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ ก็ทรงทราบว่า ของเหล่านั้นมีความสำคัญเกี่ยวกับชาติไทยในอดีต มิควรจะปล่อยไว้ให้สูญเสีย จึงทรงนำเข้ามาในพระนคร ในที่สุดหลังจากทรงวิจัยอย่างรอบคอบแล้วก็ได้ความจริงว่า ศิลาจารึกหลักหนึ่งเป็นของพ่อขุนรามคำแหง อีกหลักหนึ่งเป็นของพระมหาธรรมราชาลิไท และแท่นหินนั้นก็ คือ พระแท่นมนังคศิลา ของพ่อขุนรามคำแหง

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

    คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และ “วันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

 เหตุผล

        ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ สมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป ทั้งนี้ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกิดเทคนิคใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสาร มี่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อและผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง สภาพการณ์เช่นนี้หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ การใช้ภาษาไทยของเราก็จะยิ่งเสื่อมลง จะส่งผลเสียหายต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยเป็นทวีคูณ

 ทำไมต้องกำหนดวันที่ ๒๙ กรฎาคม เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"

        เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อๆ มาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ

 วัตถุประสงค์

    เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
    เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
    เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
    เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
    เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ

คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ

    การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ

    บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

    ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

กิจกรรม

        เชิญชวนให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัดกิจกรรมเนื่องใน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ในวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยจัด ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการจัดนิทรรศการ, การอภิปรายทางวิชาการ, การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน ฯลฯ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- วิกิพีเดีย

- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ครูจรินทร์ เงินจันทร์

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

-http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2012, 08:50:32 am »
ดารา-นักร้อง ตบเท้ารับรางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2555

-http://hilight.kapook.com/view/74296-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก warnermusic.co.th, gmmgrammy.com
 
        วธ.ประกาศยกย่องผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ปี 55 นักร้อง-นักแสดงตบเท้ารับรางวัล เช่น เบิร์ด ธงไชย, แอ๊ด คาราบาว, กัน เดอะสตาร์, ปาน ธนพร, เปาวลี
 
        เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาของชาติ จึงกำหนดจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2555 ขึ้น ในวันที่ 29 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อสนองพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในโอกาสต่าง ๆ ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และการอนุรักษ์ภาษาไทยและภาษาท้องถิ่นอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นมาและวัฒนธรรมอันยาวนาน ตลอดจนการสืบสานภาษาไทยให้คงอยู่สู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
 
        นางสุกุมล กล่าวอีกว่า สำหรับผลการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและมอบรางวัลให้แก่ปูชนียบุคคลหรือบุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านการใช้ภาษาไทย ประจำปี 2555 ได้แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
 
        1. ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการด้านภาษาไทย จำนวน 5 ราย ได้แก่
 
        - ผศ.ดร. คมคาย นิลประภัสสร
        - นายจุลทรรศน์ พยาฆรานนท์
        - รศ.ยุพร แสงทักษิณ
        - ผศ.วินัย ภู่ระหงษ์
        - นายอำพล สุวรรณธาดา
 
        2. ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เป็นชาวไทยที่มีผลงานการสร้างสรรค์ภาษาไทย และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และชาวต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้มีความชำนาญในการใช้ภาษาไทยและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป จำนวน 18 ราย เช่น
 
        - ผศ.กิติยวดี บุญซื่อ
        - น.ส.ณัฏฐา โกมลวาทิน
        - น.ส.นิตยา อรุณวงศ์
        - นายพิณโญ รุ่งสมัย
        - ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
        - ผศ.พิศศรี กมลเวชช
        - นายปีเตอร์ จอห์น แวนฮาเร็น
 
         3. ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น เป็นผู้ที่มีผลงานการสร้างสรรค์ภาษาไทยถิ่น และสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสม จำนวน 4 ราย เช่น
 
         - น.ส.พรพิมล เฟื่องฟุ้ง (เปาวลี)
         - กลิ่น คงเหมือนเพชร
 
        4. ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นบุคคลหรือองค์กรที่มีคุณูปการต่อวงการภาษาไทยหรือภาษาไทยถิ่น จำนวน 13 ราย เป็นบุคคล 11 ราย และองค์กร 2 แห่ง เช่น
 
        - ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
        - ศ.ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล
        - ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร
        - รศ.ดร. อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์
        - ศ.ดร. ฮานู ลี
        ส่วนองค์กร ได้แก่ มูลนิธิซิเมนต์ไทย และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด เป็นต้น
 
        นอกจากนี้ กรมศิลปากร ยังได้ดำเนินโครงการประกวดเพลง "เพชรในเพลง" เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้ประพันธ์ นักร้อง เพลงไทยสากลและลูกทุ่งที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ทั้งนักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม และนักร้องที่ร้องเพลงออกเสียงชัดเจน และถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย
 
        โดยมีผู้ได้รับการประกาศยกย่องทั้งประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง และเพลงไทยสากล ได้แก่
 
        1. รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต จำนวน 2 รางวัล เข่น เพลงน้ำตาแสงไต้ โดยนายอำนวย กสัสนิมิ (ครูเนรมิต) และผู้ประพันธ์ร่วม และเพลงชมทุ่ง โดยนายสมส่วน พรหมสว่าง (เพลิน พรหมแดน) เป็นต้น
 
        2. รางวัลประเภทการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 6 รางวัล เช่น เพลงวันเพ็ญ โดยนายวิเชียร ตันติพิมลพันธ์ และเพลงขอเช็ดน้ำตาบนหน้าแม่ โดย นายศิวพล เพชรทอง เป็นต้น
 
        3. รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 12 รางวัล เช่น
 
        - เพลงผู้ปิดทองหลังพระ โดยนายยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว
        - เพลงตามรอยพระราชา โดยนายธงไชย แมคอินไตย์
        - เพลงวันเพ็ญ โดย นายนภัทร อินทร์ใจเอื้อ (กัน เดอะสตาร์)
        - เพลงชีวิตคู่ โดยน.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร)
        - เพลงคนไม่น่าสงสาร โดย น.ส.ธิติมา ประทุมทิพย์ (แอน ธิติมา)
        - เพลงเข็ดรักจากเจ้าพระยา โดยนายสร่างศัลย์ เรืองศรี (หนู มิเตอร์)
        - เพลงสัญญาบ้านทุ่ง โดย น.ส.วริดา อุสุภะ เป็นต้น
 
        ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ทั้งปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย รวมถึงรางวัลโครงการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) จะเข้ารับโล่รางวัลจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-http://www.komchadluek.net/detail/20120726/136164/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B9%8A%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99.html#.UBSYAKPiHx--


http://hilight.kapook.com/view/74296

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2012, 03:51:46 pm »
วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 ก.ค. 2555


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          รู้กันหรือไม่ว่าภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีวันที่ระลึกถึงภาษาไทยของเราด้วยเหมือนกัน โดยในวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี ประเทศไทยได้กำหนดให้เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"


ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ


          สืบเนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์,วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ


เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ


          สำหรับเหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง


          สำหรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."


          นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"


          นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น


วัตถุประสงค์ในการจัดวันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังต่อไปนี้


           1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย


           2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542


           3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


           4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ ให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น


           5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชนทั่วประเทศ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชน ทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ


ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ


           1. วันภาษาไทยแห่งชาติ จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ "ภาษาประจำชาติ" ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ


           2. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ


           3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


กิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ

          กิจกรรมในวันนี้ ก็จะมีทั้งของสถาบันการศึกษา,หน่วยงานภาครัฐฯ และเอกชน ที่จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ,การอภิปรายทางวิชาการ,การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน เป็นต้น

          ภาษาไทยถือเป็นภาษาแห่งชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราคนไทยควรภาคภูมิใจ เพราะบางประเทศไม่มีแม้กระทั่งภาษาที่เป็นของตัวเอง ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่ และสืบทอดต่อไปให้ลูกหลานได้ศึกษา หากเราคนไทยไม่ช่วยกันรักษาไว้ สักวันหนึ่งอาจจะไม่มีภาษาไทยให้ลูกหลานใช้ก็เป็นได้

กิจกรรม วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2554

          นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  แถลงข่าว วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2554 โดยระบุว่า กระทรวงวัฒนธรรม จะจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติในวันที่ 29  กรกฎาคมนี้ มีกิจกรรม เช่น นิทรรศการและกิจกรรมหมอภาษา การแสดงทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาถิ่น รวมทั้งได้ร่วมกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำดวงตราไปรษณีย์ที่ระลึกเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติเป็นครั้งแรกด้วย พร้อมกันนี้ได้สรรหาและคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นเพื่อเป็นแบบอย่างแก่เยาวชน และสังคม ประจำปี 2554


สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล วันภาษาไทยแห่งชาติ 2554 มีดังนี้

ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่

            พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตโต)

            ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร

            คุณหญิงคณิตา เลขะกุล

            นางชอุ่ม ปัญจพรรค์

            นายช่วย พูลเพิ่ม

            ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก

            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล

            ศาสนาจารย์ ดร.มะเนาะ ยูเด็น

            ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์

            ผศ.วิพุธ โสภวงศ์

            พล.ต.ม.ร.ว.ศุภวัฒย์ เกษมศรี

            นายอาจิณ จันทรัมพร

            ผศ.รอ.เสนีย์ วิลาวรรณ


ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (ชาวไทย) ได้แก่

            นายกันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา

            ผศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร

            นายธีรภาพ โลหิตกุล

            น.ส.นภา หวังในธรรม

            นายนิติพงษ์ ห่อนาค

            พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค

            นายประภัสสร เสวิกุล

            นายปราโมทย์ สัชฌุกร
         
            นายศุ บุญเลี้ยง

            นางสินจัย เปล่งพานิช

            น.ท.สุมาลี วีระวงศ์

            นายสัญญา คุณากร

            นางอารีย์ นักดนตรี

            นายเอนก นาวิกมูล

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (ชาวต่างประเทศ) ได้แก่

            ศ.ดร.เอสเธอร์ เวคแมน

            นางศริสตี แอนน์ เคนนีย์ บราวน์ฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย

ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ได้แก่

            พระราชประสิทธิคุณ (สุนันท์ สุภาจาโร)

            ดร.ฉันทัส ทองช่วย

            น.ส.นฤมล มั่นวงศ์วิโรจน์

            นายบุญธรรม เทิดเกียรติชาติ

            นายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ

            นายมนัส สุขสาย

            นายเมืองดี นนทะธรรม

            ผศ.สนิท บุญฤทธิ์

            นายอินตา เลาคำ
               
          ส่วน โครงการรางวัล เพชรในเพลง ครั้งที่ 8 ซึ่งจะมอบให้กับนักร้อง เพลงไทยสากล-ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย มีผู้ได้รับการประกาศยกย่อง ดังนี้

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ได้แก่

            เพลงบ้านเรา ประพันธ์โดย นายชาลี อินทรวิจิตร

            เพลงกลิ่นโคลนสาบควาย ประพันธ์โดย คือ นายไพบูลย์ บุตรขัน

รางวัลประเภทการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่

            เพลงบ้านเราจะเหมือนเดิม ประพันธ์โดย นายประภาส ชลศรานนท์

            เพลงกราบดิน ประพันธ์โดย นายปฏิเวธ อุทัยเฉลิม (ฟองเบียร์)

            เพลงเพลงของเธอ ประพันธ์โดย นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา

            เพลงเทียนไขไฟฟ้า ประพันธ์โดย นายสิปปภาส รักวงค์ (ปาน ประกาศิต)
       
รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่

          เพลงลิขิตรักจากเบื้องบน ขับร้องโดย นายอุเทน พรหมมินทร์

          เพลงขอไปให้ถึงดาว ขับร้องโดย น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร)

          เพลงสัญญาก่อนนอน ขับร้องโดย นายสร่างศัลย์ เรืองศรี (หนูมิเตอร์ อาร์สยาม)

          เพลงกลัว ขับร้องโดย น.ส.เตือนใจ ศรีสุนทร (ฝน ธนสุนทร)


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-http://www.dailynews.co.th/-
,  culture.go.th, tungsong.com


-http://hilight.kapook.com/view/26275-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2012, 07:55:03 am »

สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล : อรรถาธิบายภายใต้ความเป็นผู้ดี
-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=13742-

 “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” คือ หนึ่งในสำนวนไทยที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อเปรียบเปรยกระทบกระเทียบอยู่เป็นประจำ เพราะความหมายของสำนวนนี้จะเชื่อมโยงไปถึงการอบรมสั่งสอนของครอบครัวของคนผู้นั้นไปด้วย ความหมายของสำนวนนี้จะถูกสื่อได้เด่นชัดยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ด้วยเหตุที่การอบรมสั่งสอนภายในครอบครัวของคนสมัยนี้ช่างห่างไกลกับแบบแผน “ผู้ดี” เสียเหลือเกิน           

“ผู้ดี” หมายถึง บุคคลผู้มีความประพฤติเรียบร้อยทั้งทางกาย ทางวาจา และทางความคิด ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของคนส่วนใหญ่ที่เข้าใจว่า “ผู้ดี” คือ ผู้ที่มีฐานะร่ำรวย และมียศถาบรรดาศักดิ์ แต่แท้จริงแล้ว “ผู้ดี” ก็เป็นเพียงปุถุชน แต่เป็นมนุษย์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยกิริยามารยาทในการแสดงออกทั้งทางกาย วาจาและใจเท่านั้นเอง ดังนั้นการเป็น “ผู้ดี” จึงมิใช่เรื่องที่ต้องลำบากยากเย็นแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเท่านั้น สำหรับผู้ที่ชอบประชดประชันถึงความเป็น “ผู้ดี” สันนิษฐานได้ว่าผู้นั้นก็คงไม่แน่ใจนักว่าตนเองนั้นเป็น “ผู้ดี” หรือไม่...             

“ไม่มีใครที่จะเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดชาติกำเนิดของตนเองได้” ข้อความนี้เป็นสัจธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยเรื่องหลักการกำเนิดของมนุษย์ ดังนั้นชาติกำเนิดจึงเป็นเพียงองค์ประกอบที่ส่งเสริมสถานภาพของบุคคลในสังคมเท่านั้น มิใช่ตัวชี้วัดความเป็นผู้ดี อย่างไรก็ตามหากผู้นั้นเป็นผู้ดีทั้งโดยการกระทำและชาติกำเนิดก็ย่อมมีภาษีสังคมเหนือผู้อื่น แต่ในทางกลับกันหากผู้นั้นเป็นผู้ดีแค่โดยชาติตระกูล กล่าวคือ มีชาติตระกูลดีแต่กิริยามารยาทเข้าขั้น “สถุล” คนผู้นั้นย่อมได้รับคำครหาว่าเป็น “ผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน” จึงเห็นได้ชัดว่าชาติตระกูลไม่ใช่บรรทัดฐานของความเป็น “ผู้ดี” หากแต่เป็นกิริยามารยาทเท่านั้นที่จะสื่อไปถึงการอบรมสั่งสอนของ “ชาติตระกูล”           

หากจะวิเคราะห์ความหมายของ “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ในการอรรถาธิบาย จำเป็นจะต้องแปลความหมายของแต่ละ “อรรถ” เสียก่อน

             สำเนียง น. เสียง, น้ำเสียง, หางเสียง, วิธีออกเสียง

             ส่อ ก. แสดงออกมาให้เห็นเค้า           

             ภาษา น. เสียงสัญลักษณ์หรือกิริยาอาการที่ใช้สื่อความต่อกัน, คำพูด, ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน

             กิริยา น. การกระทำ; อาการที่แสดงออกทางกายตามความหมายเรื่องมารยาท

             สกุล น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์

เมื่อพิจารณาความหมายของ “อรรถ” และรวมความเป็นสำนวนแล้ว ก็น่าที่จะตีความได้ว่าหมายถึง “บุคลิก การกระทำและมารยาทจะแสดงออกมาให้ทราบว่ามาจากชาติตระกูลเช่นไร” สำนวนนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีมารยาท (กิริยาวาจาที่เรียบร้อย) เพราะสิ่งนี้จะสะท้อนไปถึง กำพืดของผู้นั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพูด ซึ่งสามารถบ่งบอกระดับปัญญาของผู้นั้นได้ ดังที่มีคำกล่าวไว้ว่า “เมื่อไม่พูดก็ไม่รู้ว่าโง่หรือฉลาด จนกว่าจะพูดออกมานั่นแหละ เขาจะหายสงสัย”           

นอกจากการขยายความในเชิงอรรถสัมพันธ์แล้ว การวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของความหมายก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้เข้าใจกุศโลบายของผู้ริเริ่มใช้สำนวนนี้ได้ดียิ่งขึ้น ในประโยคแรกที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา” หากพิจารณาในหมู่คนส่วนใหญ่ ประโยคนี้จะเป็นข้อสรุปที่สมเหตุสมผลในตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใด เพราะคนทั่วไปจะมีสำเนียงพูดที่ต่างกัน ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าผู้ใดใช้ภาษาใด ถึงแม้จะใช้ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาประจำของตน สำเนียงที่ออกมาก็จะแปร่งหูในสำเนียงที่แตกต่างออกไป เช่น คนจีนที่ตั้งรกรากในไทยซึ่งพูดภาษาไทย เป็นต้น ทั้งนี้ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีค่านิยมการใช้ภาษาในอีกลักษณะหนึ่ง ก็จะพบว่าสำเนียงจะมิได้ส่อภาษาเสียแล้ว เพราะคนพวกนี้จะเป็น “ดัดจริตชน” ที่พยายามเปลี่ยนแปลงสำเนียงของตนให้กลายเป็นภาษาอื่นที่มิใช่ “ภาษาพ่อภาษาแม่” เพื่อตอบสนองค่านิยมของตนที่ว่าการใช้ภาษาอื่นๆ จะทำให้ให้ดู “โก้” กว่าการใช้ภาษาของตน ซึ่งจะเห็นได้ชัดในคนไทยยุค “ไอที”           

ส่วนในประโยคหลังที่ว่า “กิริยาส่อสกุล” ประโยคนี้ก็สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ในเรื่อง “การขัดเกลาทางสังคม (Socialization)” ที่หมายถึง กระบวนการทางสังคมและจิตวิทยาซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ เป็นที่ยอมรับกันว่ากระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่บุคคลถือกำเนิดมาในโลก ซึ่งตัวขับเคลื่อนกลไกการขัดเกลาทางสังคมเป็นกลุ่มแรกและสำคัญที่สุดก็คือ “สถาบันครอบครัว” ซึ่งมีหน้าที่ปลูกฝังแนวทางการดำเนินชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ การที่พ่อแม่ผู้ปกครองสั่งสอนบุตรจัดเป็นการขัดเกลาทางสังคมทางตรง และการกระทำตนเป็นแบบอย่างให้กับลูกก็เป็นการขัดเกลาทางอ้อม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าครอบครัวจึงมีอิทธิพลในการหล่อหลอมกิริยามารยาทของบุคคลแต่ละคน ด้วยเหตุนี้ประโยคที่ว่า “กิริยาส่อสกุล” จึงสมเหตุสมผลไปโดยนิปริยาย           

ทั้งนี้การขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัวเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่สร้างพฤติกรรมของคนเพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่สร้างบุคลิกภาพของบุคคลได้เช่นเดียวกัน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ทว่าปัจจัยอื่นนั้นจะลึกซึ้งกว่าปัจจัยด้านครอบครัว ด้วยเหตุนี้คนทั่วไปจึงมองว่ากิริยามารยาทของแต่ละคนจะมาจากครอบครัว เช่น มีเด็กชอบฉกชิงวิ่งราวทรัพย์สินผู้คนตามท้องถนน คนอื่นที่พบก็จะสรุปในทันทีเลยว่าครอบครัวนี้คงยากจน ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก หรือถึงขั้นกล่าวว่าคงเป็นโจรทั้งครอบครัว ซึ่งในความจริงอาจจะเป็นลูกของครอบครัวฐานะดีที่มีความอบอุ่นสมบูรณ์พร้อมก็ได้ แต่สาเหตุมาจากการได้รับอิทธิพลทางความคิดที่ผิดมาจากที่อื่น เป็นต้น ในบางครั้งสำนวนนี้จึงอาจไม่ยุติธรรมสำหรับวงศ์ตระกูลสักเท่าไร จากการวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของความหมายจึงสรุปได้ว่า สำนวนนี้มุ่งที่จะใช้กับผู้ที่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสมให้รู้จักปรับปรุงตนเพื่อมิให้เสื่อมเสียต่อวงศ์ตระกูลและครอบครัว คล้ายๆ กับการกล่าวว่า “พ่อแม่ไม่สั่งไม่สอน” นั่นเอง           

เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสำนวนนี้กับเรื่องของ “ผู้ดี” ก็จะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะผู้ดีคือผู้ที่ระมัดระวังกิริยามารยาทของตนเอง ดังนั้นผู้ดีก็จะแสดงออกให้เห็นถึงลักษณะการอบรมสั่งสอนที่ดีของครอบครัว ซึ่งก็สามารถอธิบายได้ด้วยความหมายสำนวนได้ว่า การเป็นผู้ดีเป็นผลลัพธ์จากการขัดเกลาทางสังคมในวิถีที่ถูกต้องของครอบครัว และความเป็นผู้ดีก็จะส่อให้เห็นถึงความมี “สกุลสูง” ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นความสูงส่งทางจริยธรรมมิใช่ทางด้านฐานะ จึงอาจกล่าวได้ว่าลักษณะความเป็น “ผู้ดี” สอดคล้องและสนับสนุนความหมายของสำนวน “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อใดที่ใช้สำนวนนี้กับผู้ดี นัยของความหมายจึงมิใช่การเสียดสีประชดประชันแต่อย่างใด หากแต่เป็นการชื่นชมถึงครอบครัวนั้นอย่างจริงใจ ดังนั้นหากต้องการจะเป็น “ผู้ดี” ก็ต้องเข้าใจความหมายสำนวนนี้ที่อธิบายด้วยความเป็นผู้ดี เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในขณะที่จะทำพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมด้วย           

ในอดีตสำนวนนี้คงจะก่อสำนึกให้กับผู้ฟังได้มาก แต่ปัจจุบันไม่ว่าใครจะด่าว่าถึงวงศ์ตระกูลอย่างไร จะกล่าวถึงสำนวนนี้เป็นร้อยครั้งพันครั้ง ก็คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้ เพราะ “อัตตา” ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้ปิดกั้นไว้ กอปรกับการที่ครอบครัวในปัจจุบันก็ไม่ได้ทำหน้าที่ที่สถาบันครอบครัวพึงกระทำ คือ สั่งสอนให้คนในครอบครัวเป็นคนดี แต่กลับให้ความสำคัญกับเงินตรามากกว่า เหล่านี้คือผลของการพัฒนาในระบอบทุนนิยมโดยไม่ทำไปควบคู่กับจริยธรรมนั่นเอง เราจึงควรให้ความสำคัญกับความหมายของสำนวนนี้ในเชิง “ผู้ดี” บ้าง มิฉะนั้นในอนาคตสำนวนนี้อาจจะเปลี่ยนไปเป็น “สำเนียงส่อภาษา เงินตราส่อสกุล” ก็ได้ 

หมายเหตุ เรียงความนี้เขียนขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ เพื่อส่งงานในรายวิชา “ภาษาไทยพื้นฐาน (ท ๔๑๑๐๒)” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยกำหนดให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพย

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=13742
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2012, 07:59:13 am »
สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล
-http://www.oknation.net/blog/ThaiTeacher/2011/07/06/entry-1-

          คำว่า สำเนียง หมายถึง เสียง, น้ำเสียง, หางเสียง หรือวิธีออกเสียง.  สำเนียงส่อภาษา จึงหมายถึง  การออกเสียงที่ทำให้รู้ว่าเป็นคนถิ่นใดหรือมาจากถิ่นใด  เช่นพูดภาษาไทยแต่ออกเสียงเป็นจีน เป็นแขก เป็นฝรั่ง หรือออกเสียงเป็นคนสุพรรณ คนเมืองเพชร คนเมืองจันท์ เป็นต้น.  ส่วนคำว่า กิริยา หมายถึง  มารยาท,  อาการที่แสดงออกมาด้วยกายหรือการกระทำ.  กิริยาส่อสกุล จึงหมายถึง  มารยาทหรือการกระทำของบุคคลที่แสดงถึงระดับการศึกษาอบรมที่ได้รับมาจากครอบครัว

          สำเนียงส่อภาษา  กิริยาส่อสกุล หรือ สำเนียงส่อภาษา  กิริยาส่อตระกูล เป็นคำพังเพยที่กล่าวเตือนให้บุคคลตระหนักถึงการใช้คำพูดและการกระทำว่าสำเนียงภาษาที่พูดและมารยาทที่แสดงออกมาสู่สาธารณชนนั้นจะทำให้ผู้อื่นวิเคราะห์ได้ถึงเชื้อชาติ  สัญชาติ  รวมทั้งประเมินได้ถึงการศึกษาอบรมของผู้แสดงกิริยาวาจานั้น ๆ ว่าเป็นผู้ได้รับการอบรมเลี้ยงดูหรือได้รับการศึกษามาในระดับใด  มักใช้ในทางตำหนิ เมื่อผู้นั้นพูดหรือแสดงกิริยาไม่สมควร เช่น  เขาพูดหยาบคายในที่สาธารณะได้อย่างไร สงสัยไม่ได้รับการอบรม  สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุลแท้ ๆ เชียว

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 06, 2013, 11:57:46 am »
ลักษณนาม คำภาษาไทยที่หลายคนใช้ผิด
-http://education.kapook.com/view53402.html-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            เราเรียนภาษาไทยกันมาตั้งแต่จำความได้ แต่จนบัดนี้ก็ยังมีอยู่หลายจุดที่เรายังคงใช้ผิดกันอยู่เสมอ อย่างในเรื่องของ “ลักษณนาม” ที่ผิดกันตั้งแต่การเขียนเลย เพราะหลายคนมักจะเขียนเป็น “ลักษณะนาม” นอกจากนี้ การใช้ลักษณนามในโอกาสต่าง ๆ ก็ใช้ผิดกันอยู่บ่อยครั้งจนเกิดความสับสน อย่างนั้นลองมาดูหลักการใช้ที่ถูกกันดีกว่า

            ลักษณนาม คืออะไร

            ลักษณนาม คือ คำนามบอกลักษณะของคำนามข้างหน้า หรือใช้เพื่อแสดงรูปลักษณะและชนิดของสิ่งต่าง ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มักเขียนอยู่หลังจำนวนนับ อย่างเช่น จดหมาย 1 ฉบับ, แจกัน 1 ใบ, ช้อน 1 คัน หรือนำไปใช้อีกรูปแบบดังนี้ “จดหมายฉบับนี้เป็นของใคร”, “แจกันใบนี้สีสวยมาก” โดยเราสามารถจำแนกตามหมวดการใช้ได้ตามนี้

          ลักษณนามบอกชนิด

                        พระพุทธเจ้า พระราชา เทวดาที่เป็นใหญ่ เจ้านายชั้นสูง ผู้ที่นับถืออย่างสูง  ใช้ลักษณนามว่า  พระองค์

                       ภิกษุ สามเณร นักพรต ชีปะขาว ชี   ใช้ลักษณนามว่า   รูป

                      พระพุทธรูป   ใช้ลักษณนามว่า   องค์

                      ยักษ์ ภูต ผี ปีศาจ ฤาษี   ใช้ลักษณนามว่า   ตน

                      คนหรือมนุษย์ทั่วไป   ใช้ลักษณนามว่า   คน

                      สัตว์เดียรัจฉาน หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตะปู ว่าว ตุ๊กตา   ใช้ลักษณนามว่า   ตัว

                      ภาชนะส่วนมาก ผลไม้บางชนิด ใบไม้   ใช้ลักษณนามว่า   ใบ

                      ปี่ ขลุ่ย   ใช้ลักษณนามว่า   เลา

          ลักษณนามบอกหมวดหมู่

                       ทัพ ทหาร คนทำงานรวมกัน ของที่รวมกันไว้ อิฐ ทราย   ใช้ลักษนามว่า   กอง


                       คน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รวมกันและมีลักษณะเดียวกัน   ใช้ลักษณนามว่า   พวก, เหล่า


                       สัตว์ชนิดเดียวกันที่อยู่ด้วยกันจำนวนมาก   ใช้ลักษณนามว่า   ฝูง


                       นักบวชศาสนาเดียวกันที่แยกออกเป็นพวก ๆ    ใช้ลักษณนามว่า   นิกาย


                       คนกลุ่มหนึ่งที่ล้อมกัน เช่น เตะตะกร้อ เล่นดนตรี เล่นเพลง   ใช้ลักษณนามว่า   วง

          ลักษณะนามที่บอกสัณฐาน

                      สิ่งของที่มีทรงกลม เช่น แหวน กำไล  ใช้ลักษณนามว่า  วง


                     สิ่งของลักษณะแบน ๆ  เช่น  กระดาษ กระดาน กระเบื้อง อิฐ  ใช้ลักษณนามว่า  แผ่น


                     สิ่งของที่มีรูปแบนกว้างใหญ่  เช่น  ผ้า เสื่อ พรม  ใช้ลักษณนามว่า ผืน


                     สิ่งของทึบหนามีรูปร่างยาว  เช่น  เหล็ก ตะกั่ว ดินสอ  ใช้ลักษณนามว่า  แท่ง


                     สิ่งของลักษณะกลมยาวมีปล้องคั่น  เช่น  ไม้ไผ่ อ้อย และเรือ  ใช้ลักษณนามว่า  ลำ


                     สิ่งของลักษณะเป็นเส้นเล็กยาว  เช่น  เชือก ด้าย ลวด  ใช้ลักษณนามว่า เส้น

          ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา

                  สิ่งของที่มีชุดละ 2 สิ่ง  เช่น  รองเท้า ถุงเท้า ช้อนกับส้อม เชิงเทียน   ใช้ลักษณนามว่า  คู่

                  จำนวนนับสิ่งของที่เท่ากับ  12  ใช้ลักษณนามว่า  โหล

                  ผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน 20 ผืน ใช้ลักษณนามว่า กุลี

                  ชื่อมาตราต่าง ๆ  เช่น  กิโลเมตร, กิโลกรัม, สกุลเงินต่าง ๆ เป็นต้น

          ลักษณนามบอกอาการ

                     ลักษณะการกรีดมาประกบซ้อนกัน เช่น การจีบพลู ใช้ลักษณนามว่า จีบ


                      สิ่งที่ม้วนมีและมีขนาดยาว เช่น บุหรี่ ใช้ลักษณนามว่า มวน


                      สิ่งที่ถูกรัดรวมเป็นกลุ่ม เช่น ฟืน ใช้ลักษณนามว่า มัด

   

        ตัวอย่างคำลักษณนามที่มักใช้ผิด

         ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างลักษณนามที่ควรทราบ หรือลักษณนามที่มีการใช้ไม่ถูกต้องเป็นประจำ มีคำไหนที่เราเคยใช้ผิดกันบ้างหรือเปล่า ลองมาดูกัน

   

              กลอง  -  ใบ, ลูก

              กีตาร์  -  ตัว

              กรีซ  -  เล่ม

              กระถาง  -  ใบ, ลูก

              กระบอกน้ำ  -  ใบ



              กระดิ่ง  -  ใบ, ลูก

              กันชน  -  อัน

              ขวาน  -  เล่ม

              เข็ม  -  เล่ม

              เข็มขัด   -  เส้น สาย



              เขื่อน  -  เขื่อน

              ค้อน     -  เต้า, อัน

              เคียว     -  เล่ม

              คลินิก     -  แห่ง

              คอมพิวเตอร์ – เครื่อง


 
              แคน   -  เต้า

              คลอง  -  คลอง, สาย

              คราด      -  อัน

              ครอบครัว   -   ครอบครัว
 
              ฆ้อง   -  ใบ,  ลูก



              เจดีย์  -  องค์

              จักรเย็บผ้า – คัน, หลัง

              ใจ   -   ดวง

              แจกับ    -  ใบ

              จดหมาย  -  ฉบับ



              จอบ      -  เล่ม

              ฉัตร      -  คัน

              ฉิ่ง    -    คู่

              โฉนด    -  ฉบับ

              เช็ค      -  ใบ, ฉบับ



              ชฎา   -  ศีรษะ, หัว

              ช้อน     -  คัน

              ช้อนส้อม  -  คู่

              ชิงช้า   -  อัน

              ซอ      -  คัน



              ซึง     -  คัน

              ไซ    -  ลูก

              โซ่      -  เส้น, สาย

              ซิป    -  อัน, เส้น, สาย

              ดาบ   -   เล่ม



              ดาว   -   ดวง

              ดาบส   -   องค์

              ดอกไม้จันทน์  - ช่อ

              ตรายาง   -  อัน

              ตำหนัก   -  หลัง



              ตะเกียง   -  ดวง

              เต็นท์   -  หลัง

              ตาลปัตร   -  เล่ม

              ตะกร้า   -  ใบ, ลูก

              ถนน   -  เส้น, สาย



             โถส้วม   -   โถ

             เทียน    -   เล่ม

             ทะเลทราย   -   แห่ง

             เทียนพรรษา   -  ต้น

             ทางม้าลาย   -   แห่ง



             ทางด่วน  -   สาย

             ทะเลสาบ   -   แห่ง

             ทองหยิบ   -   ดอก, หยิบ

             ธง   -   ผืน

             ธง(กระดาษ)    -   ธง


             ธรรมจักร   -   วง

             ธนาคาร   -   ธนาคาร

             นรก     -    ขุม

             นกหวีด   -   ตัว

             นามบัตร    -    แผ่น



             เนกไท     -   เส้น

             บัตรประจำตัว     -    ฉบับ

             บังกะโล    -    หลัง

             ปฏิทิน    -    แผ่น, ฉบับ

             เปลญวน    -   ปาก



             ปริญญาบัตร    -    ฉบับ
   
             ปั๊มน้ำมัน    -    ปั๊ม

             ปั๊มน้ำ     -    ตัว

             ปรอท   -   อัน

             ผ้าป่า   -    ต้น


 
             แผ่นภาพ    -    แผ่น

             ผ้าไตร     -    ไตร
 
             ไพ่    -   ใบ

             พิณ     -    ต้น

             พู่กัน    -   ด้าม, เล่ม



             พัด    -    เล่ม

             ฟัน     -    ซี่

             ฟาร์ม    -    ฟาร์ม

             ฟองอากาศ     -    ฟอง

             ฟาง     -     เส้น, กอง



             ไฟฉาย    -  กระบอก

             ไฟแช็ก   -    อัน

             ภิกษุ  -  รูป, องค์

             ภูเขา  -  ลูก

             ภัตตาคาร  -  แห่ง



             ภาพ  -  ภาพ

             ไม้เท้า   -   อัน

             มรสุม    -   ลูก

             แม่แรง    -   ตัว

             มุ้ง    -    หลัง



            ไม้พาย   -    เล่ม

            แม่น้ำ    -    สาย

            มณฑป     -   หลัง

            เมรุ     -    เมรุ

            ไม้ยมก   -    ตัว



            ยมบาล   -    ตน

            ยุ้ง   -   หลัง

            ยางลบ   -    ก้อน

            ย่าม    -   ใบ, ลูก

            ยางรถ  -   เส้น



            ยอ   -   คัน, ปาก
 
            รถ    -    คัน

            รถไฟ   -   ตู้, ขบวน

            ร่ม   -   คัน

            เรือ   -   ลำ



            ระฆัง     -     ใบ, ลูก
 
            เรือน     -   หลัง

            รายงาน    -   เรื่อง, ฉบับ
 
            ลำโพง   -   ตัว

            เลื่อย – ปื้น



            เลื่อยฉลุ    -    คัน

            โลง(มีศพ)   -   โลง

            โลง(ไม่มีศพ)  -  ใบ ลูก
 
            เลื่อยไฟฟ้า   -    ตัว, เครื่อง

            วิหาร    -   หลัง



            วุฒิบัตร    -    ฉบับ

            วัด    -    วัด

            วิทยุ     -   เครื่อง

            วรรณยุกต์     -    ตัว

            วิมาน    -    องค์



            ว่าว    -    ตัว

            วงดนตรี    -    วง

            ศาลา     -      หลัง

            ศาสดา    -    ท่าน, องค์

            ศิลาฤกษ์     -    แผ่น



           ศาลพระภูมิ    -     ศาล, หลัง

           สมอเรือ     -    ตัว

           เสาอากาศ    -    ต้น

           เสียม    -     เล่ม

           สมอเรือ   -    ตัว



           สูตรคุณ    -    แม่

           สัปทน    -    คัน

           สวนสัตว์    -   แห่ง

           สวิง     -     ปาก

           ไห    -    ใบ, ลูก



           โหล  -   ใบ

           หมอน   -   ใบ, ลูก

           หวี    -   เล่ม

           หอก   -   เล่ม

           หอสมุด   -    แห่ง



           เหยือก   -    ใบ

           หอประชุม    -   หลัง

           หางเสือเรือ   -    อัน

           ห้อง     -   ห้อง

           อาคารชุด   -  หน่วย



           อนุสาวรีย์   -    แห่ง

           โอ่ง   -   ใบ, ลูก

           อ่าง   -    อ่าง

           อุโมงค์    -    อุโมงค์

            เป็นเอกลักษณ์และความยากด้านภาษาของไทยอีกแล้ว ดังนั้นในฐานะเจ้าของภาษา เราต้องระวังเรื่องวิธีการใช้และความแตกต่างของ ลักษณนาม กันให้ดี ๆ นะ  อย่าตกหลุมพรางภาษาไทยที่ใช้อยู่ทุกวันเชียวล่ะ

   

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
sahavicha.com , learners.in.th

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 08:33:29 am »
::....สำนวนกับการใช้ภาษาไทย.....::
-http://www.thaigoodview.com/node/76797-

 โดยเหตุที่ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร จึงได้ทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆและถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ทั้งด้วยการบอกเล่า และจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรภาษาจึงมีบทบาทในการอนุรักษ์วัฒนธรรมมิให้สูญหายไปตามกาลเวลา


ภาพสะท้อนของสังคมในแต่ละยุคสมัย มโนทัศน์ของคนกลุ่มต่าง ๆ ได้บันทึกไว้ด้วยภาษาดังนั้นการศึกษาภาษาและเรื่องราวจากวรรณกรรมต่าง ๆ จึงช่วยให้เข้าใจวิถีชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม


นอกจากคำศัพท์ที่มีความแตกต่างจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของวัฒนธรรมทางภาษาแล้วสำนวนภาษิตก็นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการสะท้อนความคิด และแบบแผนทางวัฒนธรรมของคนในชาติ สำนวนบางสำนวน ชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอย่างชัดเจน เช่น


สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล
ความหมายของสำนวนนี้ หมายถึง การแสดงออกทั้งการพูดและกิริยามารยาทย่อมชี้ให้เห็นที่มา หรือพื้นฐานการอบรมของคน คนที่เกิดในตระกูลดี ได้รับการอบรมมาดี ย่อมมีกิริยาวาจาดี ส่วนคนชั้นต่ำ ไม่ได้รับการอบรม มักพูดจาหยาบคาย ไม่มีกิริยามารยาท


พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย
สำนวนนี้ แสดงให้เห็นความสำคัญของการพูด ถ้าพูดดีก็นำสิ่งดีมาให้ ถ้าพูดไม่ดีก็จะได้สิ่งที่ไม่ดีตอบแทน ซึ่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมทางภาษา ซึ่งเน้นให้รู้จักพูดจาให้เหมาะกับกาลเทศะ


ถึงแม้ว่าภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของวัฒนธรรม แต่ก็ควรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นความเจริญงอกงาม ไม่ใช่เปลี่ยนไปทางเสื่อม หรือวิบัติเนื่องจากไม่เข้าใจและไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของภาษา เจตนาใช้ภาษาให้ผิดเพี้ยนไปเพราะนึกว่าเป็นของโก้เก๋ หรือไม่ใส่ใจจะศึกษาว่าที่ถูกนั้นควรเป็นอย่างไร

แหล่งอ้างอิง:
เอกสารประกอบการเรียนรู้วิชา ท๔๓๑๐๒ ภาษากับวัฒนธรรม


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 09:47:33 am »
สำนวนไทย...รู้ไว้ ไม่ล้าสมัย
-http://hilight.kapook.com/view/68531-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยเป็นพวกเจ้าบทเจ้ากลอน จะพูดจาหรือสั่งสอนใคร ก็มักจะอ้างเอาสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่พูดต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณมาเปรียบเทียบเปรียบเปรยเสมอ ซึ่งคำเหล่านี้มักจะเป็นคำที่คล้องจองกัน ทำให้จดจำได้ง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

            ที่สำคัญ สำนวนไทยยังมีเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยการดึงเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวมาเปรียบเทียบ ดังนั้น เราอาจพูดได้ว่า สำนวนไทยมีความผูกพันกับชีวิตของเราอย่างใกล้ชิด และยังให้ข้อคิดสอนใจ ซึ่งสำนวนไทยนั้นมีอยู่มากมาย แต่เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายของ สำนวนไทย บางคำ หรือบางประโยค แม้จะได้ยินอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม วันนี้ กระปุกดอทคอม มีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

            สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงได้ตายตัว สลับที่หรือตัดตอนไม่ได้ มีความหมายเชิงเปรียบเทียบลึกซึ้งโดยครอบคลุมไปถึง ภาษิต สุภาษิต และคำพังเพย โดยสามารถแยกได้เป็น...

สำนวนที่มีเสียงสัมผัส

- เรียง 4 คำ ต้นร้ายปลายดี น้ำใสใจจริง
- เรียง 6 คำ ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน
- เรียง 8 คำ รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
- เรียง 10 คำ คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ
- เรียง 12 คำ ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่

สำนวนที่ไม่มีเสียงสัมผัส

- เรียง 2 คำ ชิมลาง ขบเผาะ
- เรียง 3 คำ ถ่านไฟเก่า คมในฝัก
- เรียง 5 คำ น้ำขึ้นให้รีบตัก ขนหน้าแข้งไม่ร่วง
- เรียง 6 คำ ถ่มน้ำลายแล้วกลืนกิน ยกภูเขาออกจากอก

ที่มาของสำนวน

1 สำนวนที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่
ข้าวเหลือเกลืออิ่ม ทรัพย์ในดินสินในน้ำ บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน

2 สำนวนเกี่ยวกับพืช
ขิงก็ราข่าก็แรง มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ใบไม้ร่วงจะออกช่อ

3 สำนวนเกี่ยวกับสัตว์
โง่เง่าเต่าตุ่น ตีปลาหน้าไซ นกมีหูหนูมีปีก

4 สำนวนเกี่ยวกับนิทาน
กิ้งก่าได้ทอง กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชาวนากับงูเห่า

สำหรับ สำนวน สุภาษิตไทย ที่เรามักจะได้ยินและเห็นกันอยู่บ่อย ๆ มีดังนี้

หมวด ก.
กงเกวียนกำเกวียน  - เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม
กบในกะลาครอบ - ผู้มีประสบการณ์และความรู้น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก
กรวดน้ำคว่ำกะลา, กรวดน้ำคว่ำขัน – ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
กระเชอก้นรั่ว – สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ, ไม่ประหยัด
กระดังงาลนไฟ – ผู้หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติ และเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าผู้หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงาน
กระดี่ได้น้ำ – อาการแสดงความดีอกดีใจ ตื่นเต้นจนตัวสั่น
กระต่ายขาเดียว – ยืนกรานไม่ยอมรับ
กระต่ายตื่นตูม –  คนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน
กระต่ายหมายจันทร์ – ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
กระโถนท้องพระโรง – ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้ หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็พากันรุมใช้อยู่คนเดียว
กวนน้ำให้ขุ่น – ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา
กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ – ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเล ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป
กาคาบพริก – ลักษณะที่คนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง
กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา – การที่จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไร ก็อาจมีคนล่วงรู้ได้
กินที่ลับไขที่แจ้ง – เปิดเผยเรื่องที่ทำกันในที่ลับ
กินน้ำใต้ศอก – จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง)
กินบนเรือนขี้บนหลังคา – เนรคุณ
กินปูนร้อนท้อง – ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง
เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง – เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา
เกลือจิ้มเกลือ – ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน
เกลือเป็นหนอน – ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้านที่คิดทรยศ,หนอนบ่อนไส้
เกี่ยวแฝกมุงป่า – ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว
แกว่งเท้าหาเสี้ยน – รนหาเรื่องเดือดร้อน
ใกล้เกลือกินด่าง – มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน กลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า
ไก่แก่แม่ปลาช่อน – หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน
ไกลปืนเที่ยง – ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ – ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน

หมวด ข.
ขนทรายเข้าวัด – หาประโยชน์ให้ส่วนรวม
ขนมผสมน้ำยา – พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันไม่ได้
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง – ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า – บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ
ขว้างงูไม่พ้นคอ – ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัวเอง
ขวานผ่าซาก – โผงผางไม่เกรงใจใคร
ขายผ้าเอาหน้ารอด – ยอมสละสิ่งสำคัญเพื่อรักษาชื่อเสียงไว้
ขิงก็รา ข่าก็แรง – ต่างไม่ยอมลดละกัน
ขี่ช้างจับตั๊กแตน – ลงทุนมากแต่ได้ผลน้อย
เข็นครกขึ้นภูเขา – ทำงานที่ยากลำบากอย่างยิ่ง โดยต้องใช้ความพยายามและอดทนอย่างมาก
เข้าตามตรอกออกตามประตู – ทำตามธรรมเนียมประเพณี
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม – ประพฤติตนให้เหมาะสมกับกาละเทศะ
เขียนด้วยมือลบด้วยตีน – ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง
เขียนเสือให้วัวกลัว – ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม
ไข่ในหิน – ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง

หมวด ค. , ฆ.
คดในข้อ งอในกระดูก – มีสันดานคดโกง
คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ – คนรักมีน้อย คนชังมีมาก
คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ – คนรักมีน้อย คนชังมีมาก
คมในฝัก – มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้เห็น
คว้าน้ำเหลว – ไม่ได้ผลตามต้องการ
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด – มีความรู้มาก แต่ไม่รู้จักเอาความรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์
คางคกขึ้นวอ – คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดี ลืมตัว
โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน – ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว
ฆ่าความอย่าเสียดายพริก – ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่

หมวด ง. , จ.
งมเข็มในมหาสมุทร – ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
งอมืองอตีน – เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายการทำงาน
เงยหน้าอ้าปาก – มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน
จับแพะชนแกะ – ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทน เพื่อให้ลุล่วงไป
จับเสือมือเปล่า – แสวงหาประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน
จุดไต้ตำตอ – พูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเจ้าตัวเข้า โดยที่ผู้พูดไม่รู้ตัว

หมวด ช. , ซ.
ชนักติดหลัง – ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน – ชักนำศัตรูเข้าบ้าน
ชักใบให้เรือเสีย – พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป
ชักแม่น้ำทั้งห้า – พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
ชักหน้าไม่ถึงหลัง – มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม, ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม – ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล
ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิดไม่มิด – ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด
ชิงสุกก่อนห่าม – ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัน หรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน)
ชุบมือเปิบ – ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง
ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว – ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลาย่อมได้ของแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลาย่อมได้รับความเดือดร้อน

หมวด ฒ. , ด.
เฒ่าหัวงู – คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบาย หลอกเด็กผู้หญิงในทางกามารมณ์
ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่, ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ – ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง
เด็ดดอกไม้ร่วมต้น – เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้
เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด – ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย
ได้ทีขี่แพะไล่ – ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำ

หมวด ต.
ตกกระไดพลอยโจน – จำเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ – ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย
ตบมือข้างเดียวไม่ดัง – ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล
ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา – ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว
ตัดช่องน้อยแต่พอตัว – เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว
ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟหัวลม – ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป
ตัดหางปล่อยวัด – ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ – ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน
ตีตนก่อนไข้, ตีตนตายก่อนไข้ – กังวลทุกข์ร้อนหรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น
ตีนถีบปากกัด – มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้องโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
ตีวัวกระทบคราด – โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคนหนึ่ง
เตี้ยอุ้มค่อม – คนที่มีฐานะต่ำต้อยหรือยากจน แต่รับภาระเลี้ยงดูคนที่มีฐานะเช่นตนอีก
แตงร่มใบ – มีผิวเป็นนวลใยในวัยสาว

หมวด ถ. , ท.
ถ่มน้ำลายรดฟ้า – ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย
ถอนรากถอนโคน – ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม
ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น – ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง
เถรส่องบาตร – คนที่ทำอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องราว
ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ – สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติ อันอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
ทองไม่รู้ร้อน – เฉยเมย,ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน
ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป – ทำคุณแต่กลับเป็นโทษ ทำดีแต่กลับเป็นร้าย
ทำนาบนหลังคน – หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น
ทำบุญเอาหน้า – ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์
เทือกเถาเหล่ากอ  - เชื้อสายวงศ์ตระกูลที่สืบเนื่องต่อกันมา

หมวด น.
นกสองหัว – คนที่ทำตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัยโดยหวังประโยชน์เพื่อตน
นายว่าขี้ข้าพลอย – พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย
น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง – พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย
น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา – ทีใครทีมัน
น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย – คำพูดที่ตรงไปตรงมา อาจไม่ถูกใจผู้ฟัง แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน ซึ่งถูกใจผู้ฟัง แต่อาจเป็นโทษเป็นภัยได้
 
หมวด บ.
บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น – รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน
บ่างช่างยุ – คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน
บ้าหอบฟาง – บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง
บุญทำกรรมแต่ง – บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อน เป็นเหตุทำให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้ สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น
เบี้ยน้อยหอยน้อย – มีเงินน้อย, มีไม่มาก
เบี้ยบ้ายรายทาง – เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ในขณะทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ

หมวด ป.
ปล่อยลูกนกลูกกา – ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด
ปล่อยเสือเข้าป่า – ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก
ปลาหมอตายเพราะปาก – คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก – คนที่มีอำนาจหรือผู้ใหญ่ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย
ปลูกเรือนคร่อมตอ – กระทำสิ่งซึ่งล่วงล้ำ ก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน – ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง
ปอกกล้วยเข้าปาก – ง่าย
ปากปราศรัยใจเชือดคอ – พูดดีแต่ใจคิดร้าย
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม – ยังเป็นเด็ก
ปากว่าตาขยิบ – พูดอย่างหนึ่ง แต่ทำอีกอย่างหนึ่ง
ปากหวานก้นเปรี้ยว – พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ
ปิดทองหลังพระ – ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
ปิดประตูตีแมว – รังแกคนไม่มีทางสู้ และไม่มีทางหนีรอดไปได้
ปีกกล้าขาแข็ง – พึ่งตัวเองได้ (เป็นคำที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตำหนิติเตียนผู้น้อย)
เป็ดขันประชันไก่ – ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อย แต่อวดแสดงแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง
ไปไหนมาสามวาสองศอก – ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง

หมวด ผ. ฝ.
ผักชีโรยหน้า – การทำความดีเพียงผิวเผิน
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง – คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
ผีซ้ำด้ำพลอย – ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลง หรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย
ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน – พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม – เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล
ฝากปลาไว้กับแมว – ไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ
ฝากผีฝากไข้ – ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย
ฝ่าคมหอกคมดาบ – เสี่ยงภัยในสงคราม, เสี่ยงอันตรายจากอาวุธนานาชนิด

หมวด พ. ฟ.
พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น – พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่
พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก – ความทุกข์ยากเกิดซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน
พระอิฐพระปูน – นิ่งเฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย
พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ – เปลี่ยนแปงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม
พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ – รู้ทันกัน
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง – พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
เพชรตัดเพชร – คนเก่งต่อคนเก่งมาต่อสู้กัน
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร – การยอมแพ้ทำให้เรื่องสงบ
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด – ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อ
ไฟสุมขอน – อารมณ์ร้อนรุ่มที่คุกรุ่นอยู่ในใจ

หมวด ม.
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก – พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน
มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี – เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี
มัดมือชก – บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในอำนาจและจัดการเอาตามใจชอบ
มากหมอมากความ – มากคนก็มากเรื่อง
ม้าดีดกะโหลก – มีกิริยากระโดกกระเดกลุกลนหรือไม่เรียบร้อย
มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว – มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ
มือถือสาก ปากถือศีล – มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลธรรม แต่กลับประพฤติชั่ว
มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ – ไม่ช่วยแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
ไม่ดูตาม้าตาเรือ – ไม่พิจารณาให้รอบคอบ
ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้ – ไม่มีเหตุย่อมไม่มีผล
ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกโก่งหน้าไม้ – ด่วนทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร
ไม้ใกล้ฝั่ง – แก่ใกล้ตาย
ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน – โลเล, ไม่แน่นอน
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก – อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่

หมวด ย.
ยกตนข่มท่าน – พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า
ยกภูเขาออกจากอก – โล่งใจ, หมดวิตกกังวล
ยกเมฆ – เดาเอา, นึกคาดเอาเอง; กุเรื่องขึ้น
ยกหางตัวเอง – ยกยอตนเอง
ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว – ทำอย่างเดียวได้ผล 2 อย่าง
ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา – เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง
ยืนกระต่ายขาเดียว – พูดยืนยันอยู่คำเดียว ไม่เปลี่ยนความคิดเดิม
ยุให้รำตำให้รั่ว – ยุให้ผิดใจกัน, ยุให้แตกกัน

หมวด ร.
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา – ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก
รักพี่เสียดายน้อง - ลังเลใจ, ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี
รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ – รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้
ราชรถมาเกย – โชค ลาภ หรือยศตำแหน่งมาถึงโดยไม่รู้ตัว
ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ – คนที่มีอำนาจหรืออิทธิพลพอ ๆ กันอยู่รวมกันไม่ได้
รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง – ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น
รีดเลือดกับปู – เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้
รู้งู ๆ ปลา ๆ – รู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, รู้ไม่จริง
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม – เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร
รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง – รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์
เรียนผูกต้องเรียนแก้ – รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข
เรือร่มในหนอง ทองจะไปไหน – คนในเครือญาติแต่งงานกันทำให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น
เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ – มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสำเร็จ

หมวด ล.
ล้มหมอนนอนเสื่อ – ป่วยจนต้องนอนพักรักษาตัว
ลางเนื้อชอบลางยา – ของสิ่งเดียวกัน คนหนึ่งชอบแต่อีกคนหนึ่งกลับไม่ชอบ
ลิ้นกับฟัน – การระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่รุนแรงของคนที่ใกล้ชิดกัน
ลิ้นตวัดถึงใบหู – พูดจาตลบตะแลงเชื่อไม่ได้
ลูกไก่อยู่ในกำมือ – ผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ไม่มีทางหนีหรือทางต่อสู้
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น – ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก
เล่นกับหมา หมาเลียปาก – ลดตัวลงไปหรือวางตัวไม่เหมาะสมจึงถูกลามปาม
เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ – เลี้ยงลูกศัตรูหรือลูกคนพาลจะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง
เลือกที่รักมักที่ชัง – ลำเอียง
เลือกนักมักได้แร่ – เลือกนักมักจะได้ที่ไม่ดี (มักใช้พูดตำหนิผู้เลือกคู่ครอง)
เลือดข้นกว่าน้ำ – ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น

หมวด ว. ศ.
วัดรอยเท้า – คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น
วันพระไม่มีหนเดียว – วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต)
วัวลืมตีน – คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน
วัวสันหลังหวะ – คนที่มีความผิดติดตัวทำให้มีความหวาดระแวง
วัวหายล้อมคอก – เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง – ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง
ศิษย์คิดล้างครู – ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้างครูบาอาจารย์
ศิษย์นอกครู – ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์

หมวด ส.
สร้างวิมานในอากาศ – ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมี หรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย
สวยแต่รูป จูบไม่หอม – มีคูปร่างหน้าตาสวย แต่มีความประพฤติและกิริยามารยาทไม่ดี
สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ – ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่วย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ – สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว
สันหลังยาว – คำเรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอน
สาวไส้ให้กากิน – เอาความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้เป็นการประจานตนหรือพรรคพวกของตน
สิ้นไร้ไม้ตอก – ยากไร้, ขัดสนถึงที่สุด, ไม่มีทรัพย์สมบัติติดตัว
สิบเบี้ยใกล้มือ – ของหรือประโยชน์ที่ควรได้ก็เอาไว้ก่อน
สีซอให้ควายฟัง – แนะนำคนโง่ไม่มีประโยชน์
สุกเอาเผากิน – ทำลวก ๆ, ทำพอเสร็จไปคราวหนึ่ง ๆ
สุนัขจนตรอก – คนที่ฮึดสู้อย่างไม่คิดชีวิต
เส้นผมบังภูเขา – เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก
เสือซ่อนเล็บ – ผู่ที่มีความเก่งกล้าสามารถแต่ไม่ยอมแสดงออกมาให้ปรากฏ
เสือนอนกิน –คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไร โดยไม่ต้องลงทุนลงแรง
ใส่ตะกร้าล้างน้ำ – ทำให้หมดราคี, ทำให้หมดมลทิน

หมวด ห.
หนักไม่เอา เบาไม่สู้ – ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน
หนามยอกเอาหนามบ่ง – ตอบโต้ด้วยวิธีการทำนองเดียวกัน
หน้าไหว้หลังหลอก – ต่อหน้าทำเป็นดี แต่ลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย
หนีเสือปจระเข้ – หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง
หมาหวงราง – คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่น
หมาสองราง – คนที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่ายที่มักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน
หมาหวงห้าง – คนที่หวงชองที่ตนไม่มีสิทธิ์
หมาเห่าใบตองแห้ง – คนที่เก่งแต่พูด
หมายน้ำบ่อหน้า – มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง
หอกข้างแคร่ – คนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้
หัวมังกุท้ายมังกร – ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน
หัวล้านได้หวี – ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว – ทำประชด ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว – เห็นผิดเป็นชอบ, เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
เห็นขี้ดีกว่าไส้ – เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้อง
เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง – ทำเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์หรือความสามารถพอ
เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ – หยิบหย่ง, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน
เหยียบเรือสองแคม – ทำทีเข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่าย

หมวด อ.
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน – อดใจไว้ก่อน เพราะหวังสิ่งที่ดีกว่าข้างหน้า
อ้อยเข้าปากช้าง – สิ่งหรือประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือแล้วไม่ยอมคืน
อาบน้ำร้อนมาก่อน – เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มากกว่า
เอาทองไปรู่กระเบื้อง, เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ – โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่าเป็นการไม่สมควร
เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน – แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า
เอามือซุกหีบ – หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลำบากใส่ตัวโดยใช่ที่
เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง – คัดค้านผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอำนาจมากกว่า หรือผู้ที่มีฐานะสูงกว่า ย่อมไม่สำเร็จ และอาจได้รับผลร้ายแก่ตัวเองอีกด้วย
เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ –  แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น

            และนี่ก็คือ สำนวน สุภาษิตไทย ที่บ่งบอกได้ถึงวัฒนธรรมทางความคิดของคนไทยได้เป็นอย่างดี หวังว่าเด็กรุ่นใหม่ ๆ จะมีความรู้ความเข้าใจในสำนวน สุภาษิตไทย มากยิ่งขึ้นนะคะ^^


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-
  ipesp.ac.th, kkw.ac.th, หนังสือสุดยอดความรู้รอบตัว โดยฝ่ายวิชาการภาษาไทย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)



http://hilight.kapook.com/view/68531
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)