ภาพที่ 3 ชวนพระสวามีรักษาอุโบสถศีล เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์แล้ว ก็รู้ตัวว่าจะต้องทำความดีเพื่อลูกในท้อง จึงได้ชักชวนพระเจ้าสุทโธทนะว่า เสด็จพี่ ตอนนี้น้องมีท้องแล้ว อยากจะให้ลูกในท้องนี่มีศีลธรรมโดยสายเลือด ฉะนั้น เราควรจะต้องแวดล้อมด้วยการมีคุณธรรมกัน ช่วยกันถือศีล งดเว้นประเวณี ถืออุโบสถศีล
เพื่อจะได้ลูกในท้องที่มีคุณธรรมมาเกิด ว่านอนสอนง่าย พระนางได้ชวนพระสวามี พระเจ้าสุทโธทนะก็ยินดีปรีดาจะร่วมรักษาศีลอุโบสถเพื่อแวดล้อมพระราชโอรสให้ มีคุณงามความดีมาเกิด ผู้หญิงสมัยก่อนนี้ส่วนใหญ่เมื่อตั้งครรภ์ มักจะชวนสามีทำความดี อาตมาจึงขอเตือนว่า พ่อแม่นี่ควรจะทำแต่สิ่งที่ดีงาม ให้ซึมซาบเข้าไปในสายเลือด จะได้ลูกดี ๆ มาเกิด
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อุโปสถสูตร ทรง
แสดงธรรมแก่นางวิสาขา เรื่อง
อุโบสถ ๓ อย่าง คือ
๑.
โคปาลอุโปสถ (อุปโบสถ หรือการรักษาศีล หรือจำศีลแบบคนเลี้ยงโค) ได้แก่การรักษาอุโบสถด้วยความโลภ คิดแต่จะกินสิ่งนั้นสิ่งนี้ เหมือนคนเลี้ยงโค คิดแต่เรื่องการหากินของโค
๒.
นิคคัณฐอุโบสถ (อุโบสถของนักบวชพวกนิครนถ์ ) ได้แก่อุโบสถแบบนิครนถ์ คือ เว้นชักชวนให้จากการฆ่าสัตว์เจาะจงอุทิศ เจาะจงบางประเภท ไม่นุ่งผ้าด้วยคิดว่าหมดกิเลส ชักชวนให้พูดปดในสมัยที่ควรชักจูงให้พูดจริง บริโภคของที่ไม่มีผู้อื่นให้ ( ไม่ได้ประเคน ) ในเวลารุ่งเช้า
อุโบสถทั้งสองแบบนี้ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก. ๓.
อริยอุโบสถ (อุโบสถแบบพระอริยเจ้า) ได้แก่ เพียรชำระจิตที่เศร้าหมองด้วยความพยายาม
และระลึกถึง(คุณของ)พระพุทธเจ้า ,ระลึกถึง(คุณของ)พระธรรม ,ระลึกถึง(คุณของ)พระสงฆ์ ,ระลึกถึงศีลของตน ,
ระลึกคุณที่ทำให้เป็นเทวดา และ
พิจารณาองค์อุโบสถทีละข้อ
ซึ่งตนตั้งใจรักษาคืนหนึ่งกับวันหนึ่งเทียบกับพระอรหันต์. แล้วตรัส
แสดงอานิสงส์ของอริยอุโบสถว่า มากยิ่งกว่าการครองราชย์ในชนบททั้งสิบหก.
ที่มา
-http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.htmlอ่านข้อธรรมเต็มๆได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๔๒๑ - ๕๖๖๖. หน้าที่ ๒๓๒ - ๒๔๒.
2. การอยู่จำรักษาองค์ ๘ ที่โดยทั่วไปเรียกกันว่า ศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกานั้น จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑.
ปกติอุโบสถ อุโบสถที่รักษาตามปกติชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมรักษากันเฉพาะในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันจันทร์ดับ คือ แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ (ปกติอุโบสถอย่างเต็ม มี ๘ วัน คือ วัน ๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำของทุกปักษ์ ถ้าเดือนขาดรักษาในวันแรม ๑๓ ค่ำเพิ่มด้วย)
๒.
ปฏิชาครอุโบสถ อุโบสถของผู้ตื่นอยู่ (คือผู้กระตือรือร้นขวนขวายในกุศล ไม่หลับใหลด้วยความประมาท) ได้แก่ อุโบสถที่รักษาครั้งหนึ่งๆ ถึง ๓ วัน คือ รักษาในวันอุโบสถตามปกติ พร้อมทั้งวันหน้าและวันหลังของวันนั้น ซึ่งเรียกว่า วันรับและวันส่งด้วย เช่น อุโบสถที่รักษาในวัน ๘ ค่ำ มีวัน ๗ ค่ำเป็นวันรับ วัน ๙ ค่ำเป็นวันส่ง (เดือนหนึ่งๆ จะมีวันรับและวันส่งรวม ๑๑ วัน, วันที่มิใช่วันอุโบสถ ในเดือนขาดมี ๑๐ วัน เดือนเต็ม ๑๑ วัน)
๓.
ปาฏิหาริยอุโบสถ อุโบสถที่พึงนำไปคือให้เป็นไปตรงตามกำหนดเป็นประจำในแต่ละปี หมายความว่าในแต่ละปีมีช่วงเวลาที่กำหนดไว้เฉพาะที่จะรักษาอุโบสถประเภทนี้ อย่างสามัญ ได้แก่ อุโบสถที่รักษาเป็นประจำตลอด ๓ เดือน ในพรรษา (อย่างเต็มได้แก่ รักษาตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, ถ้าไม่สามารถรักษาตลอด ๔ เดือน หรือ ๓ เดือน จะรักษาเพียง ๑ เดือน ระหว่างวันปวารณาทั้ง ๒ คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๒ ก็ได้, อย่างต่ำสุดพึงรักษากึ่งเดือนต่อจากวันปวารณาแรกไป คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑);
อย่างไรก็ตาม มติในส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับอุโบสถ ๒ ประเภทหลังนี้ คัมภีร์ต่างๆ ยังแสดงไว้แตกต่างไม่ลงกันบ้าง ท่านว่าพอใจอย่างใด ก็พึงถือเอาอย่างนั้น เพราะแท้จริงแล้ว จะรักษาอุโบสถในวันใดๆ ก็ใช้ได้ เป็นประโยชน์ทั้งนั้น แต่ถ้ารักษาได้ในวันตามนิยมก็ย่อมควร
อุโบสถศีล ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ
ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
๕. เรื่องอุโบสถกรรม [๑๑๑] ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภอุโบสถกรรมของอุบาสิกาทั้งหลาย มีนางวิสาขาเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "
ยถา ทณฺเฑน โคปาโล" เป็นต้น.
หญิงรักษาอุโบสถ
มุ่งผลต่างๆ กัน
ดังได้สดับมา ในวันอุโบสถวันหนึ่ง หญิงประมาณ ๕๐๐ คน ในนครสาวัตถี เป็นผู้รักษาอุโบสถ ได้ไปสู่วิหาร.
นางวิสาขาเข้าไปหาหญิงแก่ๆ ในจำนวนหญิง ๕๐๐ นั้นแล้ว
ถามว่า "
แน่ะแม่ทั้งหลาย พวกท่านเป็นผู้รักษาอุโบสถ เพื่ออะไร?"
เมื่อ
หญิงแก่เหล่านั้นบอกว่า "พวกฉัน
ปรารถนาทิพยสมบัติ จึงรักษาอุโบสถ"
ถามพวก
หญิงกลางคน, เมื่อพวกหญิงเหล่านั้นบอกว่า
"พวกฉันรักษาอุโบสถ ก็เพื่อต้องการ
พ้นจากการอยู่กับหญิงร่วมสามี"
ถามพวก
หญิงสาวๆ, เมื่อพวกเขาบอกว่า
"พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อ
ต้องการได้บุตรชายในการมีครรภ์คราวแรก."
ถามพวก
หญิงสาวน้อย, เมื่อพวกเขาบอกว่า
"พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อ
ต้องการไปสู่สกุลผัวแต่ในวัยสาวๆ"
(นาง) ได้ฟังถ้อยคำแม้ทั้งหมดของหญิงเหล่านั้นแล้ว ก็พาพวกเขาไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล (ความประสงค์ของหญิงเหล่านั้น) ตามลำดับ.
สรรพสัตว์ถูกส่งไปเป็นทอดๆ พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า "วิสาขา
ธรรมดาสภาวธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้นของสัตว์เหล่านี้ เป็นเช่นกับนายโคบาลที่มีท่อนไม้ในมือ, ชาติส่งสรรพสัตว์ไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ มรณะย่อมตัดชีวิต
ดุจบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวาน
แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ปวงสัตว์ชื่อว่าปรารถนาวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) ย่อมไม่มี มัวแต่ปรารถนาวัฏฏะเท่านั้น" ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรง
สืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
๕.
ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อายุ ํ ปาเชนฺติ ปาณินํ. นายโคบาล ย่อมต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ ฉันใด,
ชราและมัจจุ ย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น. แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปาเชติ ความว่า นายโคบาลผู้ฉลาดกันโคทั้งหลาย ตัวเข้าไปสู่ระหว่างคันนาด้วยท่อนไม้ ตีด้วยท่อนไม้นั้นนั่นแหละ นำไปอยู่ ชื่อว่า ย่อมต้อน (โคทั้งหลาย) ไปสู่ที่หากิน ซึ่งมีหญ้าและน้ำหาได้ง่าย.
สองบทว่า
อายุ ํ ปาเชนฺติ ความว่า
ย่อมตัดอินทรีย์คือชีวิต คือย่อมยังชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป.
ในพระคาถานี้ มีคำ
อุปมาอุปไมย ฉะนี้ว่า
ก็ชราและมัจจุ เปรียบเหมือนนายโคบาล, อินทรีย์คือชีวิต เปรียบเหมือนฝูงโค, มรณะ เปรียบเหมือนสถานที่หากิน.
บรรดา
สภาวธรรมเหล่านั้น ชาติส่งอินทรีย์คือชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ, มรณะนั้นแลตัด (ชีวิตินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย) ไป เหมือนบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวานฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผล เป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่อง
อุโบสถกรรม จบ.
ที่มา
-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=5อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
-http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=618&Z=661ขอบคุณภาพจาก
-http://4.bp.blogspot.com/,http://3.bp.blogspot.com/[อ้างจาก: sunee ที่ กันยายน 06, 2012, 08:24:38 AM
------------------------------------------------------------
อยู่อุโบสถ ที่วัด จำเป็นต้อง รักษาศีล 8 ด้วยหรือไม่คะ บางครั้งชวนญาติ ๆ ไป แต่ก็จะได้รับการปฏิเสธว่า ไม่อยากถือศีล 8 ไม่อยากอดมื้อเย็น ไม่อยากแต่งชุดขาว ก็เลยคิดว่าถ้าเป็นการชักชวน เด็ก ๆ เหล่านี้ไปวัดบ้างน่าจะดี แต่ไม่ต้องให้ถือศีล 8 ถือศีล 5 ก็น่าจะได้ใช่หรือไม่คะ ส่วนการแต่งกายถ้าเราให้แต่งชุดสุภาพ แต่อาจจะไม่ใช่ชุดขาวแบบเรา เพราะเขายังอายอยู่
ที่ถามคือว่า ถ้าเราทำอย่างนี้ เราเป็นบาปหรือไม่คะ ที่ละเมิดกติกาของวัด อย่างนี้ เพื่อส่งเสริมเด็กๆ ญาติ ๆ ให้ไปเอาดีที่วัดบ้าง คะ
----------------------------
การถือศีลเป็นเรื่องความสมัครใจ การละเมิดศีลเป็นบาปอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับกติกาของวัด
แต่บาปที่ได้ จะมีผลต่างกัน เช่น การดูหนังดูละคร (เป็นการละเมิดศีล ๘)
จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน นั่งสมาธิไม่ค่อยได้ เป็นต้น
คนทั่วไปคิดว่า การทำบาปจะต้องได้รับกรรมหนักๆ อุปสรรคเล็กๆน้อยๆไม่ใช่บาป
ผมเคยไปอยู่วัดอินทร์ บางขุนพรหม ประมาณ ๘ วัน เค้าให้เลือกถือตามอัธยาศัย ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ได้
ผมคิดว่า วัดเค้าไม่มีกติกาหรอกครับ แต่อาจเป็นเงื่อนไขของการปฏิบัติธรรมในแต่ละวาระ(คอร์ส)
การเข้าปฏิบัติธรรมที่ไหนก็ตาม ควรยอมรับเงื่อนไขของที่นั้นๆ ควรถือเป็นมารยาทและให้เกียรติสถานที่
nathaponson-http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8678.0]