http://www.redcross.or.th/donation/moneydonate.php4บริจาคเงินให้สภากาชาดไทยสิทธิประโยชน์พิเศษจากการบริจาค นอกจากเป็นกุศลบุญของผู้บริจาคแล้ว สภากาชาดไทยยังมอบสิทธิประโยชน์พิเศษแก่ท่าน ดังนี้
บริจาคเงินหรือสิ่งของ สิทธิที่จะได้รับ 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) ได้รับสิทธิสมาชิกกิตติมศักดิ์ 1 ท่าน200,000 บาท (สองแสนบาท) ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 จำนวน 1 ท่าน หรือได้รับสิทธิสมาชิก กิตติมศักดิ์ 400,000 บาท (สี่แสนบาท) ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1 จำนวน 1 ท่าน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี หรือได้รับสิทธิสมาชิกกิตติมศักดิ์ ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสภากาชาดไทย
1. ได้รับลดหย่อน ค่าห้องพิเศษ ค่าผ่าตัด และค่าผ่าตัดคลอดบุตรกึ่งหนึ่ง ของอัตราที่กำหนด เมื่อเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จตพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาของสภากาชาดไทย และได้รับลดหย่อน ค่ารักษาพยาบาล ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข2. ประดับเข็มได้ทั่วไป และประดับเข็มเข้าชมงานกาชาดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบัตรผ่านประตู3. กรณีที่ท่านเป็นสมาชิกสภากาชาดไทย ไม่ว่าประเภทใด ทั้งสามีและภรรยา บุตรธิดาของท่าน ที่มีอายุที่ต่ำกว่า 12 ปี จะได้รับสิทธิตามข้อ 1 ด้วยเช่นกันกรุณาเลือกรูปแบบการบริจาคเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พิมพ์แบบฟอร์มการบริจาคเงิน(เพื่อนำไปชำระเงินทางธนาคาร)
บริจาคโลหิต
เนื่องจากโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่น ๆ ที่มาทดแทนโลหิตได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้โลหิตจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งด้วยการบริจาคนั่นเอง
การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเลย เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้
ผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่ออยู่แล้ว การบริจาคโลหิตใช้เวลาประมาณ 15 นาที ท่านจะได้รับการเจาะเก็บโลหิตและบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค
โลหิตคืออะไร
โลหิตมีส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่า น้ำเหลือง มีสีเหลืองอ่อนใสมีโปรตีนและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดและส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตซึ่งมีเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และเกล็ดโลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก ซึ่งได้แก่ กระดูกแขน กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง กระโหลกศีรษะ กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายของมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีโลหิตประมาณ 4,000-5,000 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) หรือสามารถคำนวณง่ายๆ คือ
น้ำหนักตัวสุทธิ x 80 = ปริมาณโลหิตที่มีในร่างกายโดยประมาณ (หน่วยเป็น ซี.ซี.)
โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ
1. เม็ดโลหิต จะมีอยู่ประมาณ 45 % ของโลหิตทั้งหมด ซึ่งมี 3 ชนิด คือ
- เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ใช้สันดาปอาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 120 วัน
- เม็ดโลหิตขาว ทำหน้าที่ปกป้องและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารที่เป็นอันตรายอื่นๆ ซึ่งเปรียบเหมือนทหารป้องกันประเทศ เม็ดโลหิตขาวมีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 10 ชั่วโมง
-เกล็ดโลหิต ทำหน้าที่ช่วยให้โลหิตแข็งตัวตรงจุดที่มีการฉีกขาดของเส้นโลหิต มีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 5-10 วัน
2. พลาสมา (Plasma ) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง จะมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 55 ของโลหิตทั้งหมด มีหน้าที่ควบคุมระดับความดันและปริมาตรของโลหิตป้องกันเลือดออก และเป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย พลาสมานี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำประมาณ 92 % และส่วนที่เป็นโปรตีนประมาณ 8 % ซึ่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่
- แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ
- อิมมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่างๆ ที่จะเข้าสูร่างกาย เกร็ดความรู้
ถ้านำเส้นโลหิตทั่วร่างกายมาต่อกัน จะมีความยาวถึง 96,000 กิโลเมตร หรือความยาวเท่ากับ 2 เท่าครึ่งของระยะทางรอบโลก โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณโลหิตในร่างกายจะมี 5-6 ลิตรในผู้ชาย และ 4-5 ลิตรในผู้หญิง และโลหิตจะมีการไหลเวียน โดยผ่านมาที่หัวใจถึง 1,000 เที่ยวต่อวัน คนหนุ่มสาวจะมีเซลล์เม็ดโลหิตแดงเท่ากับ 35,000,000,000,000 เซลล์ (สามสิบห้าล้านเซลล์) อยู่ภายในร่างกายในเวลา 120 วัน เซลล์เม็ดโลหิตแดง จำนวน 1.2 ล้านเซลล์ จะถึงกำหนดหมดอายุขัย ถูกขับถ่ายออกมาขณะเดียวกันไขกระดูกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกระดูกซี่โครง กะโหลกศรีษะ และกระดูกสันหลัง จะช่วยกันผลิตเซลล์ใหม่เท่ากับจำนวนที่ตายไปขึ้นมาแทนที่
จากชีวิตสู่ชีวิต มอบโลหิตช่วยผู้ป่วย
บริจาค
1. บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
2. บริจาคพลาสมา (Plasma)
3. บริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
4. บริจาคเม็ดโลหิตแดง (Single Donor Red Cell)
5. ตารางเวลาหน่วยรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่
6. LOGO โครงการ BRAND'S YOUNG BLOOD
http://www.redcross.or.th/donation/b...holeblood.php4บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
คุณประโยชน์
1. ได้รับความภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะทำให้ท่านมีความสุขใจ
2. ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุก 3 เดือน
3. ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเองทั้งระบบ เอ บี โอ และ ระบบ อาร์เอช
4. โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ เหมือนกับการที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี, เอดส์ และอื่นๆ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดทำเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตขึ้น เพื่อมอบให้ผู้บริจาคโลหิต โดยจัดทำเป็นเข็มที่ระลึกครั้งที่ 1,7,16,24,36,48,60,72,84,96 และ 108 ตามลำดับ
คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
ผู้มีความประสงค์จะบริจาคโลหิตควรตรวจสอบคุณสมบัติตนเองก่อนบริจาค ดังนี้
1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
4. ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น
6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
8. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์
ดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต
*ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
*ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใดๆ
*ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
*งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
*งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
*สุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์
*การบริจาคโลหิตครั้งต่อไปเว้นระยะ 3 เดือน ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกล็ดโลหิต
ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต
*นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
*ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
*ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
*หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียงหรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้ม
*หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบแพทย์พยาบาล
*งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
*รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
*หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
ผู้บริจาคโลหิตโปรดทราบ ท่านที่มีประวัติดังต่อไปนี้ ควรงดการบริจาคโลหิตคือ
*ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
*เคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
*รู้ตัวว่าติดเชื้อเอดส์
ทุกท่านมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในการรับบริจาคโลหิต ใช้ครั้งเดียวสำหรับคนเดียวแล้วทิ้ง
สถานที่ติดต่อ
ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
วันจันทร์ - วันพุธ, วันศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน)08.00-16.30 น.วันพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน)07.30-19.30 น.วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์08.00-12.00 น.วันอาทิตย์12.00-16.00 น.
หน่วยเคลื่อนที่ประจำ
สวนจตุจักร ทุกวันเสาร์
(รถจอดริมถนนพหลโยธิน)
10.00-15.00 น.สนามหลวง วันอาทิตย์
(รถจอดบริเวณด้านหน้ากรมศิลปากร)
09.00-14.00 น.ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รถจอดหน้าสำนักงาน)
10.00-15.00 น.มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
ทุกวันจันทร์และวันอังคาร
(รถจอดบริเวณข้างหอสมุดด้านคณะนิติศาสตร์)
10.00-15.00 น.สถานีกาชาด 11"วิเศษนิยม" บางแค
ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคาร ข้างฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค)
09.00-15.00 น.ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคารหน้าร้าน S.B. เฟอร์นิเจอร์ ชั้น 2)
13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ทุกวันศุกร์และวันเสาร์สัปดาห์ที่สามของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณลานโยโย่ ชั้น 3)
13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาบางพลี
ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณด้านหน้าห้าง)
13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
โทร.0-2468-1116-20สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สถาบันพยาธิกรมแพทย์ทหารบก รพ.พระมงกุฎเกล้าโทร.0-2245-8154สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ตำรวจ โทร. 0-2252-8111 ต่อ 4146สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.รามาธิบดี โทร. 0-2246-1057-87สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช โทร.0-2531-1970-99 ต่อ 27109-10สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
โทร. 0-2243-0151-64และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ (ในวันและเวลาราชการ)
ท่านสามารถสอบถามหน่วยเคลื่อนที่อื่น ๆ ได้ที่
โทรศัพท์ 0-2252-6116,0-2252-1637 ,0-2252-4106-9 ต่อ 113, 157
E-mail : blood@redcross.or.th
"3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง รวมพลังบริจาคโลหิต"