ผู้เขียน หัวข้อ: อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่ ...  (อ่าน 1779 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


                 

         อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่ ....   
  ผู้เขียน: คนใกล้วัด   
อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่    4 คำเรื่องกรรมที่ควรทราบคือ

1. กรรมเก่า (ปุราณกัมม)
 2. กรรมใหม่ (นวกัมม)
 3. กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)
 4. กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม)


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้ง
ใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธ-
คามินีปฏิปทา. .....
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! จักษุ (ตา) .... โสตะ (หู) .... ฆานะ
(จมูก) .... ชิวหา (ลิ้น) .... กายะ (กาย) ..... มนะ (ใจ) อันเธอ
ทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ
(อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัยทำให้เกิด
ความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด, อันนี้เรียกว่า
กรรมใหม่

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็น
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะ
ความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด, อันนี้
เรียกว่า กัมมนิโรธ.


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความ
เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา
(การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความ
พากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ
(ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า
เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
เราก็ได้แสดงแล้ว.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย, กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง. พวกเธอ
จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ
ในภายหลังเลย.
นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.




   ได้ทราบความหมายของ 4 คำที่ควรทราบเรื่องกรรมไปแล้ว คงทำให้ชาวพุทธ
รู้เรื่องๆ กรรมได้มากขึ้น และรู้ต่อไปว่าจะต้องจัดการกับกรรมอย่างไร
วันที่ :  28 กันยายน 55 9:40
-http://www2.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?Mbrowse=8&QNumber=340253


             

สาธุ...ขอบคุณที่ยกมาครับผม...
1. กรรมเก่า (ปุราณกัมม)
พ้นโดยกำหนดสัจจะกริยาว่า"บัดนี้รู้แล้ว จักไม่ทำต่อไป"
2. กรรมใหม่ (นวกัมม)
พ้นโดย ละอกุศล เจริญกุศลให้ยิ่ง ชำระใจให้แจ่มใจ ทุกลมหายใจเข้าออก
 3. กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)
ตั้งเป้าหมายชีวิต
-ไม่แบกอารมณ์ทุกข์
-ไม่เป็นทาสกุญแจไขความสุข
- แต่เย็น

4. กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม)

ฝึกฝนตนตาม นิปปปัญจธรรม หรือโพธิปักขิยธรรม ธรรมภาคปฏิบัติ 37 ประการ อย่างจริงจัง...สาธุ
.......................................
โพสต์เมื่อ 14th December 2012 โดย puling222
ป้ายกำกับ: ศาสนา ปรัชญา ปู่ลิง


- http://puling-222.blogspot.com/