ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

ข้อคิดดีๆ จากจีน

<< < (2/9) > >>

sithiphong:
ไม่เจี้ยนใหม่หนิว : ขายกระบี่ซื้อโค
China - Manager Online
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 กรกฎาคม 2553 08:39 น.

《卖剑买牛》


卖(mài) อ่านว่า ไม่ แปลว่า ขาย
剑(jiàn) อ่านว่า เจี้ยน แปลว่า กระบี่
买(mǎi) อ่านว่า ใหม่ แปลว่า ซื้อ
牛(niú) อ่านว่า หนิว แปลว่า โค


 

ภาพจาก ��ͼ��_��������ͼ��__ʸ��,psd,ͼƬ,ԭ���ز�__���ưټ� ��ͼ����_http://pic.5tu.cn

ย้อนกลับไปในยุคสมัยของฮั่นเซวียนตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น พื้นที่บริเวณเขตทะเลสาบป๋อไห่เกิดวิกฤตการณ์ภัยธรรมชาติอย่างรุนแรงไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ชาวบ้านอดอยากยากแค้นเนื่องจากขาดแคลนอาหารประทังชีวิต ที่ล้มตายไปก็มีไม่น้อย ราษฎรทุกข์ยาก จนพากันจับอาวุธขึ้นมาแข็งข้อต่อทางการ ดังนั้นเพื่อปราบจลาจลเหล่านี้ วังหลวงจึงได้ส่งขุนนางนามว่า กงสุ้ย เดินทางไปรับตำแหน่งพ่อเมืองในพื้นที่ทะเลสาบป๋อไห่ดังกล่าว

เมื่อกงสุ้ยเดินทางไปรับตำแหน่งเรียบร้อย ก็เริ่มดำเนินการแก้ปัญหาทันที โดยทางหนึ่งเขาได้ ออกคำสั่งให้ทุกๆ อำเภอภายใต้เขตปกครองของตน หยุดการเข่นฆ่าประชาชนที่เป็นปรปักษ์ หากประชาชนคนใดยอมจำนนต่อทางการ ก็ห้ามมิให้ลงโทษหรือเอาผิดต่อไป แต่หากเป็นผู้ที่ไม่ยอมจำนนก็ต้องมีบทลงโทษที่เฉียบขาด ส่วนวิธีแก้ปัญหาในอีกทางหนึ่ง คือออกคำสั่งให้ทุกอำเภอให้ความรู้กับชาวบ้านเพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้าน "ขายกระบี่ซื้อเครื่องมือการเกษตร ขายมีดซื้อโค" ลงมือทำเกษตรกรรมสร้างผลผลิตเพื่อช่วยเหลือตัวเอง

ภายใต้การสนับสนุนของทางการ ชาวบ้านส่วนใหญ่พากันขายดาบวางกระบี่ ซื้อโค และเครื่องไม้เครื่องมือทำไร่ไถนา และลงมือทำงาน จากนั้นเมื่อมีผลผลิตมาเลี้ยงปากท้อง สถานการณ์ค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาการจลาจลก็หมดลง

สำนวน "ไม่เจี้ยนใหม่หนิว" หรือ "ขายกระบี่ซื้อโค" ใช้ในความหมายตรงตัวว่าเปลี่ยนอาชีพมาทำการเกษตร นอกจากนั้นยังใช้เปรียบเปรยกับคนชั่วที่กลับตัวกลับใจมาทำความดี

ที่มา �ٶȰٿơ���ȫ���������İٿ�ȫ��

sithiphong:
จี้ชางเสียว์เซ่อ : จี้ชางเรียนยิงธนู
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
14 กรกฎาคม 2553 07:09 น.


《纪昌学射》



纪昌(jìchāng) อ่านว่า จี้ชาง ในที่นี้เป็นชื่อคน
学(xué) อ่านว่า เสียว์ แปลว่า เรียน
射(shè) อ่านว่า เซ่อ แปลว่า ยิงธนู





www.zxxjs.net

ในสมัยโบราณ "กานอิ๋ง" เป็นบุคคลผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความสามารถในการยิงธนูเป็นอย่างยิ่ง ธนูของเขาเพียงดอกเดียว สามารถทำให้สัตว์ป่าล้มลงดิน ปักษาร่วงหล่นจากฟ้า เขามีศิษย์ผู้หนึ่ง นามว่า "เฟยเว่ย" ซึ่งต่อมาทักษะการยิงธนูของเฟยเว่ยนั้นยังเด่นล้ำกว่าผู้เป็นอาจารย์คือกานอิ๋งไปอีกขั้นหนึ่ง

ต่อมามีคนผู้หนึ่ง นามว่า "จี้ชาง" เดินทางมาคารวะเฟยเว่ยเพื่อขอศึกษาทักษะการยิงธนู ซึ่งเฟยเว่ยกล่าวกับเขาว่า "เริ่มแรกเจ้าต้องเรียนรู้ที่จะมองดูสิ่งต่างๆ โดยไม่กระพริบตาก่อน จากนั้นค่อยมาคุยเรื่องยิงธนูทีหลัง"

จี้ชางเดินทางกลับถึงบ้าน ล้มตัวลงไปนอนอยู่ใต้กี่ทอผ้าของภรรยา ทั้งยังแหงนหน้ามองกระสวยทอผ้าวิ่งกลับไปกลับมา ทำเช่นนั้นอยู่ 2 ปีเต็ม ขนาดที่ว่าหากมีของมีคมทิ่มมาถึงเปลือกตาของเขา เขายังไม่กระพริบตา จี้ชางจึงเดินทางไปพบเฟยเว่ยอีกครั้ง

ครั้นได้พบหน้า เฟยเว่ยกลับกล่าวกับจี้ชางว่า "นี่ยังไม่เพียงพอ เจ้าต้องเรียนรู้ที่จะมองวัตถุที่เล็กมากๆ ให้เห็นอย่างแจ่มชัดคล้ายดั่งกำลังมองวัตถุมหึมา มองวัตถุเล็กละเอียดให้ง่ายดายเหมือนมองวัตถุกว้างหนา เช่นนั้นแล้วค่อยกลับมาหาข้าใหม่"

เมื่อกลับถึงบ้าน จี้ชางนำเห็บเหาที่เกาะอยู่บนขนโคกระบือ มาแขวนไว้บริเวณบานหน้าต่าง แล้วเพ่งมอง สิบวันผ่านไป เห็บเหามองเห็นได้ชัดเจนประดุจตัวโตใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สามปีถัดจากนั้น เห็บเหาในสายตาจี้ชางกลับใหญ่โตราวกับล้อเกวียน เมื่อหันมองไปยังวัตถุอื่นล้วนใหญ่โตราวกับขุนเขามิปาน เมื่อถึงตอนนั้นจี้ชางจึงนำกระบอกที่ทำจากเขาโค บรรจุลูกธนู ทั้งยังประดิษฐ์คันธนูจากไม้ไผ่ขึ้นชื่อทางภาคเหนือ ลองเล็งยิงไปที่เห็บโคตัวหนึ่งซึ่งเกาะอยู่บนขนโคที่เขาแขวนไว้บนหน้าต่าง มิคาดความแม่นยำถึงกับแทงทะลุหัวใจเห็บตัวนั้น แต่ไม่ทำให้ขนโคขาดร่วง จี้ชางจึงเดินทางไปพบเฟยเว่ย ทั้งยังเล่าเรื่องที่ตนศึกษาการยิงธนูให้เฟยเว่ยทราบ

เฟยเว่ยได้ฟัง ก็ยินดียิ่งนัก เพียงกล่าวกับจี้ชางสั้นๆ ว่า "นับว่าเจ้าได้เรียนรู้เคล็ดลับการยิงธนูอย่างทะลุปรุโปร่งแล้ว"

สำนวน "จี้ชางเรียนยิงธนู" มีความหมายว่า คนเราต้องมีความเพียรพยายาม อดทนต่อความยากลำบาก จึงจะประสบความสำเร็จ หรือมีความหมายอีกอย่างว่า ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ มักจะเริ่มจากการฝึกฝนในสิ่งเล็กๆ

ที่มา

sithiphong:
ซู่เต่าหูซุนซ่าน : "ไม้ล้มลิงกังกระเจิง"
China - Manager Online
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 กรกฎาคม 2553 08:15 น.

《树倒猢狲散》

  
树(shù) อ่านว่า ซู่ แปลว่า ต้นไม้
倒(dǎo) อ่านว่า เต่า แปลว่า ล้ม
猢狲(hú sūn) อ่านว่า หูซุน แปลว่า ลิงกัง
散(sàn) อ่านว่า ซ่าน แปลว่า กระจัดกระจาย


 
ภาพจาก ����Ԫ������

ในรัชสมัยของพระเจ้าซ่ง เกาจง ยังมีรองเสนาบดีผู้หนึ่ง นามว่า "เฉาหย่ง" ซึ่งเป็นผู้ถนัดจัดเจนในการประจบเอาใจนายเหนือหัวยิ่งนัก ทั้งยังเป็นคนโปรดของอัครมหาเสนาบดีโฉดที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก อย่าง ฉินฮุ่ย(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “จากกวนอู ถึงงักฮุย และคนขายชาติ (1)”) จนกระทั่งได้เลื่อนตำแหน่งคราวเดียว 3 ขั้น ขึ้นไปรับยศขุนนางชั้นสูง

เมื่อเฉาหย่งมียศตำแหน่งใหญ่โต ก็มีผู้คนมากมายเข้ามาห้อมล้อม สอพลอ ทำให้เขาได้ใจยิ่งนัก เห็นจะมีเพียงเรื่องเดียวที่ทำให้เฉาหย่งขุ้นข้องหมองใจ นั่นคือ "ลี่เต๋อซิน" ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่เมียของเขากลับไม่ยอมอ่อนข้อให้เขา เนื่องจาก ลี่เต๋อซิน ทราบว่าตำแหน่งใหญ่โตของเเฉาหย่งได้มาเพราะบารมีของอัครเสนาบดีฉินฮุ่ย มีใช่ความสามารถของเฉาหย่งเอง นอกจากนั้นยังทำนายได้ว่า เฉาหย่งเองก็คงมิใช่ตัวดีอันใด จึงได้ไปคลุกคลีกับขุนนางอย่างฉินฮุ่ยได้

เมื่อพี่เมียแข็งข้อ เฉาหย่งจึงคับแค้นยิ่งนัก พยายามหาหนทางที่จะจัดการกับลี่เต๋อซินให้จงได้ แต่ทว่าลี่เต๋อซินก็ดำรงตนไม่ด่างพร้อย จึงยากที่จะมีช่องโหว่ให้เฉาหย่งโจมตี

ภายหลัง เมื่อฉินฮุ่ย สิ้นชีพ บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ที่อาศัยอำนาจบารมีฉินฮุ่ยขึ้นมาเป็นใหญ่ก็ต่างระส่ำระสาย ยศฐาบรรดาศักดิ์ถูกวังหลวงริบกลับคืน เฉาหย่งก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ถูกลดชั้นไปประจำยังเมืองซินโจว เมื่อลี่เต๋อซิน ทราบข่าว ก็ได้เขียนบทร้อยแก้วชึ้นหนึ่งส่งไปให้เฉาหย่ง เนื้อหาเปรียบเทียบว่า ฉินฮุ่ย เสมือนไม้ใหญ่ ส่วนเฉาหย่ง และบริวารอื่นๆ ของฉินฮุ่ยดั่งลิงกังใต้ต้นที่เป็นอันธพาลคอยข่มเหงผู้คน แต่เมื่อใดไม้ล้ม ฝูงลิงย่อมแตกระสานซ่านเซ็น ไร้ที่พึ่งพิง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีของประเทศชาติ...ส่วน เฉาหยง เมื่อได้อ่านข้อความที่ลี่ เต๋อซิน ส่งมาให้ย่อมโกรธแค้นจนแทบกระอัก

ภายหลัง สำนวน "ซู่เต่าหูซุนซ่าน" หรือ "ไม้ล้มลิงกังกระเจิง" มักใช้เพื่อเปรียบเทียบกับการกำจัดผู้ชั่วช้าที่มีอำนาจบารมี เมื่อกำจัดตัวหัวหน้าใหญ่ได้เมื่อใด บรรดาลูกสมุนที่เคยรวมหัวกันทำชั่วก็ย่อมแตกระสานซ่านเซ็นกันไปเองในที่สุด

ที่มา �ٶȰٿơ���ȫ���������İٿ�ȫ��

sithiphong:
ซาจื้อเจี้ยวจื่อ : ฆ่าสุกรสอนบุตร
China - Manager Online -

ซาจื้อเจี้ยวจื่อ : ฆ่าสุกรสอนบุตร
http://www.manager.co.th/China/ViewN...=9530000103399
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
28 กรกฎาคม 2553 09:30 น.

《杀彘教子》

杀(shā) อ่านว่า ซา แปลว่า ฆ่า
彘(zhì) อ่านว่า จื้อ แปลว่า สุกร
教(jiào) อ่านว่า เจี้ยว แปลว่า สั่งสอน
子(zǐ) อ่านว่า จื่อ แปลว่า บุตร


 
ภาพจาก http://ulsgjgvah.blog.hexun.com 

เจิงจื๊อเป็นนามของปรัชญาเมธีลัทธิขงจื้อผู้หนึ่ง ซึ่งมีชีวิตอยู่ช่วงปลายยุคชุนชิว เขาถูกจัดเป็น 1 ใน 5 มหาปราชญ์ของลัทธิขงจื๊อ ร่วมกับ ขงจื๊อ เมิ่งจื๊อ เอี๋ยนจื๊อ (เอี๋ยนหุย) และ จื่อซือจื่อ

เช้าวันหนึ่ง ภรรยาของเจิงจื๊อผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อเตรียมตัวออกไปซื้อของในตลาด ทว่าบุตรชายร้องไห้ขอตามไปด้วย ทำอย่างไรก็ไม่ยอมฟัง เด็กน้อยยังเล็กนัก อีกทั้งตลาดก็อยู่ห่างไกลจากบ้านพอสมควร ดังนั้นการพาบุตรชายไปด้วยเป็นเรื่องที่ยุ่งยากลำบากเกินไป ภรรยาของเจิงจื๊อจึงได้กล่าวกับบุตรชายว่า "เจ้าจงกลับเข้าไปรอในบ้าน หากแม่ไปตลาดซื้อของกลับมาถึงบ้านแล้ว แม่จะฆ่าหมูสักตัวทำขาหมูตุ๋นที่เจ้าชอบให้กิน" คำกล่าวนี้กลับได้ผลชะงัด เมื่อบุตรชายได้ยินว่ามารดาจะทำอาหารโปรดให้กินก็เชื่อฟัง และกลับเข้าไปรอในบ้านอย่างใจจดใจจ่อ

เมื่อภรรยาของเจิงจื๊อเสร็จธุระเดินทางกลับมาถึงบ้าน ยังไม่ทันเข้าบ้านก็ได้ยินเสียงสุกรที่เลี้ยงไว้ร้องเสียงดัง เมื่อเดินเข้าไปดูจึงพบว่าเป็นเจิงจื๊อที่กำลังเตรียมเชือดสุกรเพื่อทำอาหารให้กับบุตรชาย นางจึงรีบขัดขวางผู้เป็นสามีพลางกล่าวว่า "บ้านเราเลี้ยงสุกรไม่มาก ล้วนเอาไว้เชือดเป็นอาหารในเทศกาลสำคัญต่างๆ ใยท่านต้องเอาคำกล่าวที่ข้าเพียงล่อหลอกบุตรชายให้เชื่อฟัง มาเป็นจริงจังด้วย"

เจิงจื๊อกล่าวว่า "ต่อหน้าเด็กนั้น เจ้าไม่อาจกล่าวคำเท็จ เพราะเด็กยังไร้เดียงสาและมักจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากบิดา-มารดา หากตอนนี้เรากล่าวสิ่งใดหลอกลวงเขา ก็ไม่ต่างจากการสอนเขาว่าต่อไปให้ไปหลอกลวงผู้อื่น แม้ว่าการที่เจ้าหลอกเขานั้นจะได้ผลในตอนนี้ แต่ต่อไปเมื่อเขาทราบว่าถูกหลอก ก็จะไม่ยอมเชื่อฟังคำพูดของมารดาอีก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นต่อไป เจ้าก็จะไม่สามารถอบรมบุตรชายของตนได้อีกแล้ว"

เมื่อภรรยาของเจิงจื๊อได้ฟังก็เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ จึงช่วยสามีเชือดสุกรมาทำเป็นอาหารดังที่ได้สัญญากับบุตรชายไว้

สำนวน "ซาจื้อเจี้ยวจื่อ" หรือ "ฆ่าสุกรสอนบุตร" ใช้เพื่อเปรียบเปรยสอนคนเป็นพ่อ-แม่ว่าการเลี้ยงดูบุตรนั้นต้องพูดจริงทำจริง สัญญาต้องเป็นสัญญา อย่าคิดว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นเพียงเด็กเล็กแล้วจะพูดอะไรก็ได้ เพราะจะส่งผลถึงอุปนิสัยของเด็กต่อไป



ที่มา [url=http://baike.baidu.com]

(〃ˆ ∇ ˆ〃):
ขอบคุณค่ะพี่หนุ่ม เรื่องสั้นจีน ชอบอ่านเหมือนกัน แฝงธรรมะ ให้ข้อคิดมากมาย

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version