ผู้เขียน หัวข้อ: วันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา  (อ่าน 4868 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
วันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2010, 02:41:47 pm »





วันเข้าพรรษาตรงกับวันอังคารที่ 27 กรกฎาคม 2553


        วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆိုး) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวัน หนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม  การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

         วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 )ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณี ปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

         สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลง แปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายใน อาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย





        ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาล ทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"

        นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษา และในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย





สำหรับในปี พ.ศ. 2553 นี้ วันเข้าพรรษาจะตรงกับ วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ


http://love2share.net/viewthread.php?tid=661

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2013, 02:05:00 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...

          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง





นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า – เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป - เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

          ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา

          ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร

          ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล

          อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่างๆ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 21, 2013, 12:53:33 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2012, 07:47:34 am »


วันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา

เมื่อ ๒,๖๐๐ ปีก่อน ในวันเพ็ญ เดือน ๘ ณ ธัมเมกสถูป สารนาถ เมืองพาราณสี
ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา{ธัมมจักกัปวตนสูตร} มีพระอริยสงฆ์เป็น
ครั้งแรก และในวันนั้นมีพระรัตนตรัย คือ
พระพุทธรัตนะ พระธัมมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
และสืบต่อยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่ทรงตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ในบริเวณพระมหาเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหารแล้ว ทรงเสวยวิมุติสุข ๗ สัปดาห์



สัปดาห์ที่ 1 คงประทับอยู่ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ ทรงใช้เวลาพิจารณา
ปฏิจจสมุปปาทธรรม ทบทวนอยู่ตลอด 7 วัน พร้อมกับทรงเปล่งอุทาน
ยามละครั้ง ทรงอุทานในยามต้นว่า
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมว่าเกิดแต่เหตุ

ทรงอุทานในยามกลางว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร
เพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย (ว่าเป็นเหตุสิ้นแก่ผลทั้งหลายด้วย)

ทรงอุทานในยามสุดท้ายว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้
มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้
ดุจพระอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น

สัปดาห์ที่ 2 เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นโพธิ์ ห่างไป ๖๙ เมตร ประทับ
ยืนกลางแจ้ง เพ่งดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตร อยู่ในที่แห่งเดียว
จนตลอด 7 วัน ที่ที่ประทับยืนนั้น ปรากฏเรียกในภายหลังว่า "อนิมิสสเจดีย์"

สัปดาห์ที่ 3 เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์ แล้ว
ทรงจงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด 7 วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ตรงนั้นว่า จงกรมเจดีย์

สัปดาห์ที่ 4 เสด็จไปทางทิศเหนือของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๕๐ เมตร ประทับนั่ง
ขัดบัลลังก์ พิจารณาพระอภิธรรม อยู่ตลอด 7 วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่ารัตนฆรเจดีย์

สัปดาห์ที่ 5
เสด็จไปทางทิศตะวันออกของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๑.๖ กิโลเมตร ประทับที่
ควงไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ อยู่ตลอด 7 วัน
ในระหว่างนั้น ทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์

สัปดาห์ที่ 6 เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๑.๗ กิโลเมตร
ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุข อยู่ตลอด 7 วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา
พญานาคมาวงขดล้อมพระองค์ และแผ่พังพานบังฝนให้ พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า
ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมได้สดับแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็น
ตามความเป็นจริงอย่างไร ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
และความปราศจากกำหนัด คือ ความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก
การนำอัสมิมานะ คือ ถือว่าตัวตนให้หมดได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

สัปดาห์ที่ 7 เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๒.๕ กิโลเมตร
ประทับที่ควงไม้เกด ซึ่งได้นามว่า ราชายตนะ เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน มีพ่อค้า 2
คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์
ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวาย

พระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว พ่อค้าทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรก
ในพระพุทธศาสนาที่ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง เพราะในเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์
ต่อมาตปุสสะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วได้เป็นอุบาสกอย่างเดียว
ส่วนภัลลิกะบวชแล้วได้เป็นพระอรหันต์ผู้มีอภิญญา ๖




ข้อความจากพุทธประวัติ เล่ม ๑ 
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่า....

ต่อมาเสด็จออกจากร่มไม้ราชายตนะกลับไปประทับ ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธอีก
ทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่า เป็นคุณอันลึก ยากที่บุคคลผู้ยินดีในกามคุณ
จะตรัสรู้ตามได้ ท้อพระหฤทัยเพื่อจะตรัสสั่งสอน แต่อาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรง
พิจารณาอีกว่า จะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ? ก็ทรงทราบด้วยพระปัญญาว่า บุคคลผู้มี
กิเลสน้อยเบาบางก็มี ผู้มีกิเลสหนาก็มี

ผู้มีอินทรีย์ คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญากล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี
ผู้มีอาการอันดีก็มี ผู้มีอาการอันชั่วก็มี
เป็นผู้จะพึงสอนได้โดยง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี
เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี
ครั้นทรงพิจารณาด้วยพระญาณหยั่งทราบเวไนยสัตว์ ผู้จะได้รับประโยชน์จาก

พระธรรมเทศนาดั่งนั้นแล้ว ได้ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในการแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน
และตั้งพุทธปณิธานใคร่จะดำรงพระชนม์อยู่ จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาแพร่หลาย
ประดิษฐานให้ถาวร สำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกเหล่า

ครั้นพระองค์ทรงอธิษฐานพระหฤทัย เพื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว
ทรงพระดำริหาคนผู้สมควรรับเทศนา ครั้งแรกทรงปรารภถึง

อาฬารดาบสและอุททกดาบส ที่พระองค์ได้เคยอยู่อาศัยศึกษาลัทธิของเธอในกาลก่อนว่า
เธอทั้งสองเป็นผู้ฉลาด ทั้งมีกิเลสเบาบาง สามารถจะรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน
แต่เธอทั้งสองสิ้นชีพเสียแล้ว
มีความพินาศเสียจากคุณอันใหญ่ ถ้าได้ฟังธรรมนี้แล้วคงรู้ได้โดยพลันทีเดียว
ภายหลังทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ว่า มีอุปการะแก่พระองค์มาก ได้เป็นผู้อุปัฏฐาก
พระองค์เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงกำหนดลงว่า จะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์
ก่อน เบื้องหน้าแต่นี้ เสด็จออกจากอชปาลนิโครธ ตามอรรถกถากล่าวว่า

ในเช้าวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ทรงพระดำเนินไปเมืองพาราณสี อันเป็นนครหลวงแห่งกาสีชนบท
ครั้นถึงตำบลเป็นระหว่างแห่งแม่น้ำคยากับแดนพระมหาโพธิต่อกัน พบอาชีวกผู้หนึ่งชื่อ
“อุปกะ” เดินสวนทางมา อุปกะเห็นพระฉวีของพระองค์ผ่องใส นึกประหลาดใจ อยากจะใคร่
ทราบว่า ใครเป็นศาสดาผู้สอนของพระองค์ จึงทูลถาม พระองค์ตรัสตอบแสดงความว่า
เป็นผู้ตรัสรู้เอง ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอน อุปกะไม่เชื่อ สั่นศีรษะแล้วหลีกไป (ต่อมาอุปกาชีวก
ได้ฟังธรรมบรรลุเป็นพระอนาคามี) พระองค์เสด็จไปโดยลำดับ


ถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์นั้น ในเย็นวันนั้น
(ปัจจุบันคือ เจาคันธีสถูป)
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงนัดหมายกันว่า
พระสมณโคดมนี้มีความมักมาก คลายเพียร เวียนมาเพื่อความมักมากเสียแล้ว มาอยู่ ณ บัดนี้
ในพวกเราผู้ใดผู้หนึ่งไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับเธอ ไม่พึงรับบาตรจีวรของเธอเลย
ก็แต่ว่าพึงตั้งอาสนะที่นั่งไว้เถิด ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว
เธอพูดกับพระองค์ด้วยโวหารอันไม่เคารพ คือ พูดออกพระนาม และใช้คำว่า{อาวุโส}



พระองค์ทรงห้ามเสียแล้ว ตรัสบอกว่า เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว
ท่านทั้งหลายคอยฟังเถิด เราจักสั่งสอน
ปัญจวัคคีย์กล่าวค้านลำเลิกเหตุในปางหลังว่า อาวุโส โคดม แม้แต่ด้วยความประพฤติอย่างนั้น
ท่านยังไม่บรรลุธรรมวิเศษได้ บัดนี้ ท่านมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมากแล้ว
เหตุไฉนท่านจะบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า ?

พระองค์ทรงตรัสเตือนเธอให้ตามระลึกถึงความหลังว่า “ท่านทั้งหลายจำได้อยู่หรือ
วาจาเช่นนี้ เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้?” ปัญจวัคคีย์นึกขึ้นได้ว่า
พระวาจาเช่นนี้ ไม่เคยมีเลย จึงมีความสำคัญในอันจะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม
ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังได้แล้ว ตามอรรถกถาว่า
รุ่งขึ้นวันอาสาฬหบุรณมี พระองค์ตรัสปฐมเทศนา ประกาศความตรัสรู้ของพระองค์
มีข้อความโดยย่อดังนี้




๑. พระผู้มีพระภาคทรงชี้ทางที่ผิด อันได้แก่ กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบตนให้
ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่
บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แล้วทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติสายกลาง) ได้แก่
มรรคมีองค์ ๘ ว่าพระองค์ตรัสรู้แล้ว เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

๒. ทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ โดยละเอียด
๓. ทรงแสดงว่า ทรงรู้ตัวอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ทรงรู้หน้าที่อันควรทำในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ และ
ทรงรู้ว่าได้ทรงทำหน้าที่เสร็จแล้ว จึงทรงแน่พระหฤทัยว่า
ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว (อันแสดงว่า ทรงปฏิบัติจนได้ผลด้วยพระองค์เองแล้ว)

เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ขอบวชก่อน
ต่อมาท่านวัปปะกับท่านภัททิยะสดับพระธรรมเทศนา ได้ดวงตาเห็นธรรมและได้ขอบวช
ต่อมาท่านมหานามะกับท่านอัสสชิสดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ขอบวช

(จากพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน โดย สุชีพ ปุญญานุภาพ หน้า ๒๑๓ –๒๑๔)




ธัมเมกสถูปที่สารนาถ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพาน
แล้ว 200 กว่าปี จึงเป็นสักขีพยานถึงพระมหากรุณาคุณ พระปัญญาคุณ และพระบริสุทธิคุณ
ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมียาวนานถึง ๔ อสงไขยแสนกัป เพื่อเกื้อกูล
แก่สัตว์โลกให้ได้เห็นแสงสว่างของพระธรรมในความมืดของอวิชชาโดยแท้จริง
เป็นพยานความเป็นรัตนะของพระธรรมคำสอน ที่เปลี่ยนปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลสให้เป็นพระอริยบุคคล
พระสัทธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น
แม้จะลึกซึ้ง ลุ่มลึกและรู้ตามได้ยาก เพราะทวนกระแสชีวิตประจำวันของปุถุชน อย่างไรก็ตาม



ก็ยังมีผู้ที่สะสมปัญญามาในอดีต สามารถฟังเข้าใจจนประจักษ์แจ้งลักษณะของ
สภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อได้ฟังพระสัทธรรมที่พระองค์ทรงแสดงดีแล้ว
บรรลุเป็นพระอริยบุคคล
เป็นครั้งแรก พระสังฆรัตนะจึงเกิดอุบัติขึ้นในโลก และเพราะพระสังฆรัตนะเหล่านั้น
ทรงจำพระธรรมต่อเนื่องจากลำดับการเกิดขึ้นของพระธรรมรัตนะ  แสดงธรรมที่ได้เข้าใจและทรงจำไว้
สืบต่อมาไม่ขาดสาย เพราะความเป็นรัตนะของพระอริยสงฆ์ซึ่งได้ศึกษา
สาธยายคำสอนนั้นอย่างต่อเนื่อง พระรัตนตรัยจึงคงปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้



นอกจากนั้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ยังมีความสำคัญที่ประจวบกันอีกหลายอย่าง
ตามลำดับกาลเวลาดังนี้ คือ

๑. เป็นวันที่พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตมาปฏิสนธิในครรภ์
พระนางมหามายาเทวี พระพุทธมารดา
๒. เป็นวันทรงออกมหาภิเนษกรมณ์
๓. เป็นวันทรงแสดงปฐมเทศนา เพื่อประกาศความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ดีแล้ว มีผลทำให้มี
พระอริยสงฆ์เป็นครั้งแรก และทำให้พระรัตนตรัย คือ
พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ครบทั้ง ๓ เป็นครั้งแรกในโลก
๔. เป็นวันทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปราบผู้มีความเห็นผิดอื่นๆ (อัญญเดียรถีย์)
ก่อนเสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์



บัดนี้ก็ผ่านมาถึง ๒,๖๐๐ ปีแล้ว แม้{ธัมเมกสถูป}ที่ทรงแสดงปฐมเทศนาจะเหลือเพียง
ซากปรักหักพัง แต่พระธรรมวินัยที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางและงามในที่สุด
ก็ยังอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ รอให้ผู้มีศรัทธาศึกษาจนเข้าใจ ทรงจำไว้ และแสดงให้ผู้สนใจได้เข้าใจ
เพื่อสืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
ตราบจนความเข้าใจพระธรรมหมดไปจากใจของทุกคน
เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาก็จะอันตรธานไปจากโลกนี้




時々Sometime -http://www.sookjai.com/index.php?topic=37652.msg63765;boardseen#new

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 31, 2015, 04:32:51 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



G+ Manoonthum Thachai


G+ Supalak khruakaew originally shared to บ้านสวนเราพอเพียง (การสนทนา):

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2013, 01:50:39 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน


F/B/pages/พระพุทธเจ้า/
*****************************

สัตตาหะแปลว่า สัปดาห์, เจ็ดวัน;
มักใช้เป็นคำเรียกย่อ หมายถึง สัตตาหกรณียะ
#สัตตาหกรณียะคือ ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษา
ได้ ๗ วัน ได้แก่

๑. ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้
๒. ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก
๓. ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระ
มาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น

๔. ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์
เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็น
กิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
ธมฺมตา ธรรมดา
สนทนาธรรมตามกาล  -  Jul 31, 2015



http://youtu.be/JIOR8elA6ZE (แปลไทย) ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร - เสียงอ่าน
KlomKlomFB Published on Oct 8, 2012
เสียงอ่านประกอบดนตรีเบาๆ เสียงอ่านโดย อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
อ่านคำแปลบทสวด ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร น่าฟังมากๆคะ
เป็นพระธรรมเทศนาแรกของพระพุทธเจ้าหลังจาก­ท่านตรัสรู้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2015, 12:12:58 pm โดย ฐิตา »