ผู้เขียน หัวข้อ: สนทนาธรรมตามกาล  (อ่าน 5705 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วัฏฏะวน เวียนว่าย ตายเกิดมี
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 06:54:07 pm »





















jiann tracheewa G+

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล วิสาขบูชา
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2014, 05:45:07 pm »

                 



วิสาขบูชา ยิ่งใหญ่กว่าที่เราคิด ขอเพียงมีจิตที่ศรัทธา
พุทธศรัทธา
คุณสมบัติของพระบรมศาสดาที่ทำให้เกิดศรัทธา
๑. ทรงมีพระชาติเป็นกษัตริย์
๒. ทรงพร้อมด้วยรูปสมบัติ  โภคสมบัติ  และกามสุขสมบัติ
๓. ทรงศึกษาจบศิลปวิทยาทางโลกและมีความสามารถเป็นเยี่ยม
๔. ทรงเห็นโทษในการครองเรือนแล้วเกิดเบื่อหน่าย
๕. เมื่อเสด็จออกบรรพชา   ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า  และทรงประกาศศาสนา

พระมหาประสูติกาล
ทรงจุติจาก สันติสุขเทพบุตรในชั้นดุสิต อุบัติขึ้นในครรภ์พระนางสิริมหามายา (พระพุทธมารดา) พระชายาในพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงมีพระประสูติ ณ ลุมพินีวัน ใต้ต้นสาละ

เทวฑูต ๔
จากที่พระองค์ทรงพบเห็นเทวฑูต ๔   พระองค์ทรงเห็นว่า  ความแก่   ความเจ็บป่วย   และความตาย  ได้ครอบงำมหาชนทุกคน   ย่อมจะเป็นที่เบื่อหน่ายเกลียดชั่ง   แต่จะหาใครคิดค้นอุบายเครื่องพ้นบ้างไม่มี  มัวแต่ขวนขวายหาของอันมีสภาวะเช่นนั้น
เมื่อทรงดำริอย่างนี้   พระองค์ทรงบรรเทาความมัวเมาและความเพลิดเพลินในกามสมบัติ    ทรงเห็นว่าธรรมดาสภาพทั้งปวง   ย่อมมีของที่เป็นข้าศึกแก่กันเป็นเครื่องแก้   แต่ถ้าเป็นฆราวาสจะแสวงหาไม่ได้  เพราะมีเครื่องข้องอยู่มาก   การบรรพชาเว้นออกจากคนมีเหย้าเรือนพอจะแสวงหาอุบายนั้นได้

ทรงผนวช
แต่นั้นมา   พระองค์ทรงหาช่องทางเพื่อบรรพชา   และเมื่อสบโอกาส   พระองค์ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ   ทรงผ้ากาสาวพัสตร์อธิษฐานเพศบรรพชิต

การเสด็จออกผนวชของพระองค์มี ๒ นัย
๑. ในพระบาลีแสดงว่า   เสด็จออกบรรพชาโดยซึ่งหน้าตามพระบาลีแสดงว่า   เรากำลังเป็นหนุ่ม   มีผมอันดำสนิท   เมื่อบิดามารดาไม่ไคร่ยอม      มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา   เราปลงผมและหนวดแล้ว  นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์  ถึงความปฏิบัติของคนไม่มีเรือน   จากเรือนดังนี้
๒.ในอรรถกถาแสดงว่า   เสด็จหนีออกบรรพชาในเวลากลางคืน               ทรงม้าชื่อกัณฐกะ   มีนายฉันนะตามเสด็จ  ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา  ตรัสสั่งนายฉันนะนำม้าพระที่นั่งคืนสู่นคร
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อหวังหมู่สัตว์โลกพ้นทุกข์

ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
ในสมัยนั้น  การทรมานกายให้ลำบากถือเป็นกุศลวัตร  และเชื่อว่าสิ่งที่ปรารถนาจะสำเร็จ  พระองค์ทรงปฏิบัติใน ๓ วาระ
๑. ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์  กดพระตาลุด้วยชิวหา  จนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ  ทรงได้รับทุกขเวทนามาก  เสมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยบีบที่ศีรษะหรือคอให้แน่นฉะนั้น  แม้พระวรกายจะกระวนกระวายไม่สงบระงับถึงเพียงนี้  ทุกขเวทนามิอาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย  พระองค์ทรงมีสติไม่ท้อถอย  ทรงพิจารณาเห็นว่าไม่ไช่ทางตรัสรู้  จึงทรงเปลี่ยนแนวทางใหม่
๒. ทรงกลั้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะไม่ให้เดินสะดวกในช่องนาสิกและพระโอษฐ์  จนมีเสียงอู้ทางช่องพระกรรณทั้ง ๒ ปวดพระเศียรและเสียดพระอุระร้อนในพระวรกาย  แม้เสวยทุกขเวทนาถึงเพียงนี้  ทรงมีสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือนอย่างมิท้อถอย  ครั้นทรงเห็นว่าไม่ไช่ทางตรัสรู้จึงทรงเปลี่ยน

๓. ทรงอดพระกระยาหารผ่อนเสวยแต่วันละน้อย  จนพระวรกายซูบผอม  พระฉวีเศร้าหมอง  พระอัฐิปรากฏทั่วพระวรกาย เมื่อทรงลูบพระวรกาย  เส้นพระโลมามีรากเน่าหลุดล่วง  เสด็จไปทางไหนก็ซวนล้ม  พระองค์ทรงปฏิบัติความเพียรตั้งแต่ทรงผนวชเป็นเวลา ๖ ปีแต่มิทรงตรัสรู้
ต่อมา  พระองค์ทรงดำริว่า   สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด  ได้เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าซึ่งไม่เผ็ดร้อนเกินไปกว่านี้  ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบันย่อมไม่สามารถตรัสรู้ได้เลย  ชะรอยหนทางตรัสรู้ทางอื่นจะพึงมีอยู่กระมัง
ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว  ทรงคิดจะละความเพียรทรมานทางพระวรกายเป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิต  คนผอมซูบเช่นนี้ไม่สามารถทำให้เป็นไปได้  จำเราต้องกินอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาสให้มีพละกำลัง  แต่นั้นทรงเสวยพระกระยาหารหยาบ  ไม่ทรงอดอีกต่อไป

ฝ่ายฤาษีปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ซึ่งติดตามพระองค์แต่ครั้งทรงออกผนวช  ด้วยต้องตามมหาบุรุษลักษณะ  ด้วยเชื่อว่าการบรรพชาของพระองค์จักไม่เสื่อมเสียประโยชน์  และจักเป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น  แต่ครั้นเห็นพระองค์ทรงละทุกกรกิริยาที่ทรงประพฤติมา   จึงมีความเห็นตรงกันว่า  พระสมณะโคดมเป็นผู้มักมากเสียแล้ว   คลายความเพียรและไม่สามารถบรรลุธรรมอันวิเศษได้  จึงพากันหลีกเสีย  ไปอาศัยอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณสี
ฤาษีปัญจวัคคีย์ที่คอยปฏิบัติดูแลขณะบำเพ็ญทุกกรกิริยา  น่าจะเป็นเหตุแห่งพยานรู้เห็นในธรรมที่ทรงแสดงถึง “อัตตกิลมถานุโยค”  ว่าเป็นการประกอบตนให้เหนื่อยเปล่า   และการบำเพ็ญเพียรทางจิตต้องอาศัยความสงัด  จึงเป็นเหตุให้ฤาษีปัญจวัคคีย์พากันหลีกไปเสีย

ตรัสรู้ ใต้ร่มอัสสัตถพฤกษ์มหาโพธิ์
ฝ่ายพระมหาบุรุษ   ครั้นเริ่มเสวยพระกระยาหารจนพระวรกายกลับคืนสู่ปกติแล้ว  ทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต  โดยทรงบำเพ็ญเพียรสมาธิภาวนาทำจิตแน่วแน่   ปราศจากอุปกิเลสจนจิตสุขุมตามลำดับ   ไม่ช้าก็บรรลุปฐมญาน  ฑุตยญาน   ตติยญาน  จตุตถญาน  ตามลำดับ  ซึ่งเป็นส่วนรูปญานสมาบัติจนถึงอรูปญานสมาบัติ   จากนั้นทรงเจริญญานอันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูง ๓ ประการ   ยังองค์พระโพธิญานให้เกิดขึ้นตามลำดับระยะกาลแห่งยาม ๓ ในราตรีนั้น

๑. ในปฐมยาม   ทรงบรรลุปุพเพนุสสติญาน  สามารถระลึกชาติที่ทรงบังเกิดแก่พระองค์ได้ทั้งสิ้น
๒. ในมัชฌิมยาม   ทรงบรรลุจุตูปปาตญาน   สามารถหยั่งรู้การเกิด  การตาย  ตลอดจนการเวียนว่ายของสรรพสัตว์
๓. ในปัจฉิมญาน   ทรงบรรลุอาสวักขยญาน  สามารถทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นด้วยพระปัญญา   พิจารณาในปัจจยาการ  ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม   ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาน   เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุโณทัย   แห่งวิสาขปุรณมี   ใต้ร่มอัสสัตถพฤกษ์มหาโพธิ์

พระนามคุณนิมิต  อรหํ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  ผู้ไกล  ผู้ควร  ผู้ตรัสรู้ชอบเอง  คือผู้ละได้ขาดแล้ว  ไม่สามารถเกิดครอบงำได้อีก   ตรัสรู้วิชชา ๓ โดยลำพัง   และความตรัสรู้นั้นไม่วิปริต   สำเร็จประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นได้
ครั้นพระองค์ทรงทราบด้วยปัญญาแห่งการตรัสรู้   จึงทรงตั้งพระหฤทัยทำอายุสังขาราธิษฐานจะสั่งสอนมหาชน  ทรงดำริที่จะหาคนที่จะรับเทศนาครั้งแรก   ได้ระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบส   ซึ่งพระองค์เคยสึกษากับท่านในกาลก่อน   ว่าเป็นผู้ฉลาดมีกิเลสเบาบาง  แต่ท่านทั้ง ๒ สิ้นชีพไปแล้ว   ต่อมาทรงนึกถึงฤาษีปัญจวัคคีย์   ซึ่งเคยอุปการะอุปฐากพระองค์เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญเพียร   ทรงดำริอย่างนี้แล้ว   ได้เสด็จดำเนินไปทางเมืองพาราณสี

พระมหาปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ
พระพุทธองค์ทรงพุทธกิจเพื่อปัญญาแห่งสัตว์โลกได้หลุดพ้นจากกองทุกข์ตลอด ๔๕ พรรษา  จึงดำริปลงอายุสังขาร เพราะเห็นว่า พุทธสาวกแห่งพระองค์มีความเป็นอริยปัญญาที่จะดำรงค์พระธรรมสืบต่อไปในกาลไกลข้างหน้าได้แล้ว
วันนี้ วันวิสาขบูชา
ทั้งสามเหตุการณ์ทรงอุบัติเฉพาะใต้ต้นไม้ทั้งสิ้น (ปริศนาธรรม)
เราระลึกถึงพระพุทธองค์กันอย่างไร? และดำเนินตามรอยพระราชดำริแห่งพระองค์กันแบบไหน?
jiann tracheewa
Shared publicly - 9:55 AM



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2015, 04:49:57 pm »

 
ธรรมะคือยารักษาจิต ถ้ารู้จักคิดจิตก็หายป่วย คนเรามีจิตป่วยอยู่เสมอเพราะธรรมชาติของจิตชอบนึกคิดเองได้เสมอ และชอบเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้วในอดีตที่มีเรื่องทำให้เกิดทุกข์ เอามาคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดทุกข์เป็นทุกข์ซ้ำซาก หรือชอบนึกคิดไปในกิเลสกามตัณหา คืออยากทำโน่นอยากทำนี่ อยากเอาโน่นอยากเอานี่ อยากไปโน่นอยากไปนี่ อยากเป็นโน่นอยากเป็นนี่อยู่เสมอ หรือมีความพยาบาทเห็นคนที่ตัวเองไม่ชอบไม่พอใจ ก็เกิดความนึกคิดติเตียนว่าร้ายเขาให้ใจเป็นทุกข์ หรือมีความคิดเบียดเบียนคือวิหิงสาวิตกคิดอยากทำร้ายคนที่เราไม่ชอบใจไม่พอใจก็เป็นทุกข์ หรือมีความอิจฉาริษยาเห็นใครได้ดีไม่ได้จะเป็นทุกข์ จึงทำให้จิตป่วยฟุ้งซ่านหงุดหงิดเครียดเป็นทุกข์ เพราะความอยากคือกิเลสกาม หรืออกุศลธรรมอันเป็นบาปคือสาเหตุให้คนเรามีทุกข์ เพราะเราต้องอยู่กับการรับรู้ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย อยู่เสมอตลอดเวลา จึงทำให้เราเกิดความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง เกิดความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง เกิดความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจบ้าง ตลอดเวลา จึงทำให้จิตของเราเกิดกิเลสกาม เกิดอกุศลธรรมอันเป็นบาป เป็นสาเหตุให้เราหลงไปในการนึกคิดปรุงแต่งให้จิตเป็นทุกข์อยู่เสมอ

ธรรมะจึงเป็นยารักษาจิตไม่ให้ป่วยเกิดเป็นทุกข์ ด้วยการน้อมนำเอาธรรมะมาคิดมาภาวนาเป็นความดำริชอบ เป็นกุศลวิตก หรือเป็นการคิดพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เป็นประจำ (เป็นการคิดแก้คิด) ในจิตของตนว่า “ไม่ยินดียินร้าย...ไม่ว่าร้ายใคร...ไม่คิดร้ายใคร...” การมีธรรมะภาวนาไว้เสมอเพื่อสร้างความรู้ตัวให้กับจิต จะทำให้เกิดสติ ยับยั้งไม่ให้จิตเกิดกิเลสกาม ไม่ให้จิตเกิดอกุศลธรรมอันเป็นบาป การมีสติอยู่เสมอ จะทำให้จิตของเราอยู่ในความสงบนิ่งและเย็น เพราะการมีสติ จะทำให้จิตเป็นกุศลธรรมอันเป็นบุญ จึงทำให้เรามีความระวังในการกระทำทางกายทางวาจาเป็นศีล มีความระวังจิตไม่ให้ส่งออกไปยินดียินร้ายในผัสสะ ทำให้จิตสงบนิ่งเป็นสมาธิ จึงทำให้จิตเกิดปัญญารู้เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงในไตรลักษณ์ เราจึงอยู่เย็นเป็นสุขในชาตินี้ สุขในชาติหน้าด้วย ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง
*************************************************

บูชา ธรรมาภิบาล
Shared publicly  -  7:40 AM  #วาง

... พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็เพื่อทำหน้าที่ชี้บอก
ให้คนทั้งหลายรู้จักการปล่อยวาง
หลักพระพุทธรรมทั้งหมดหากจะสรุปโดยย่อ
ก็เหลือเพียงคำว่า " วาง " คำเดียวเท่านั้น. . .

ศีล คือ ให้วางบาป ทางกาย วาจา
สมาธิ คือ ให้วางนิวรณ์ สิ่งกวนใจทั้งห้า
ปัญญา คือ ให้วางมิจฉาทิฐิ หรืออุปทานทั้งปวง

มีข้อสรุปโดยสังเขปเพียงให้เห็นชัดเจน
จากคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ของขวัญวันนี้ซึ่งเป็นวันพระ คือ
#วาง หรือ #ปล่อยวาง ให้ได้ครับ

+บูชา ธรรมาภิบาล​
๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
..
..
ศาสตร์แห่ง " ความสมดุลย์  "
ความสมดุลย์ นำมาซึ่งความสำเร็จ
เปรียบได้กับหลักธรรมทางพุทธศาสนา
" มัชฌิมาปฏิปทา " คือการปฏิบัติทางสายกลาง...
ด้วยความพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป....

" ความภูมิใจ " ในตัวเองเป็นสิ่งที่ดี
แต่ถ้าภูมิใจมากเกินไป
จนกลายเป็น " พูดข่ม " คนอื่นไปทั่ว
คุณจะกลายเป็นคน "คุยโว โอ้อวด"

" ความมั่นใจ " ในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ
แต่ถ้ามั่นใจมากเกินไป
จนกลายเป็นคน " ไม่ฟัง " ใคร
คุณจะกลายเป็นคน " หยิ่งยะโส "

" ความรู้ " เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จ
แต่ถ้ามีความรู้มาก
จนคิดว่าตัวเอง " ถูกเสมอ "
คุณจะกลายเป็นคนมี " *อัตตา * " คือถือตัวเองเป็นสำคัญ

" ความอ่อนน้อม " จะทำให้คุณเป็นคนน่ารัก
แต่ถ้ามีมากเกินไป
จนกลายเป็น " ยอม " ทุกคน
คุณจะกลายเป็นคน " อ่อนแอ "

" ความจริงจัง " จะทำให้คุณดูมุ่งมั่น
แต่ถ้ามีมากเกินไป
จนกลายเป็น " หวังผลลัพธ์สูง "
คุณจะกลายเป็นคน " เครียด " ตลอดเวลา

" ความนิ่ง " จะทำให้คุณดูสุขุม
แต่ถ้ามีมากเกินไป
จนกลายเป็นความ " เฉื่อยแฉะ "
คุณจะกลายเป็นคน " ไร้น้ำยา "

" #บริหารตัวเองให้สมดุล "
" #ภูมิใจ #แต่ #เคารพผู้อื่น "
" #มั่นใจ #แต่ #พร้อมรับฟัง "
" #อ่อนน้อม #แต่ #แข็งแกร่ง "
" #จริงจัง #แต่ #มีความสุข "
" #นิ่ง #แต่ #มีพลัง "

ขอบพระคุณ  อาจารย์สถาพร เพ่งพิศ

เพจ +บูชา ธรรมาภิบาล
 ๑  กรกฎาคม ๒๕๕๘
..
..
อย่าหวั่นไหวกับโลกธรรม
" โลกธรรม " แปลว่า " ธรรมดาของชาวโลก"
ยามได้ลาภ มียศ ร่ำรวย มีคนชม มีความสุข ไม่ควร
ดีใจจนเกินไป อาจทำให้ลืมตัว คนอื่นอาจหมั่นไส้
ได้ ควรมีสติให้คิดว่า มันไม่แน่นอน วันหนึ่งอาจจะ
หมดไปก็ได้ และเมื่อยามเสียลาภ เสียยศ มีคน.....
นินทา มีความทุกข์ ก็ไม่ควรเสียใจ เพราะความ
เศร้าใจ จะบั่นทอนจิตใจให้ย่ำแย่ ควรมีสติยอมรับ
ความจริงว่า ทุกสิ่งก็เป็นอย่างนี้

...ดังพุทธภาษิตที่ว่า "ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จะ
นินทา ปะสังสา จะ สุขัง จะ ทุกขัง เอเต อนิจจา .....
มนุเชสุ ธัมมา มา โสจิ กึ โสจะสิ โปฏฐปาทะ แปลว่า
ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ
สุข และทุกข์ สิ่งเหล่านี้ เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์....
อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม"

ดังนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิด ก็ต้องปล่อยให้มันเกิด อย่า
มัวแต่เศร้าโศกเสียใจ ควรรับรู้ ทำใจ ยอมรับความ....
เสียใจ แล้วปล่อยวาง ก็จะสบายใจ

เพจ +บูชา ธรรมาภิบาล
  ๑ กรกฎคม ๒๕๕๘
***********************************


Manoonthum Thachai
สนทนาธรรมตามกาล  -  9:40 AM #ตักบาตร

คำถาม - สวัสดีคะ ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์คะ พอดีไปอ่านเจอว่า “พระบิณฑบาตยืนให้พร...ต้องอาบัติทุกกฏ” จริงหรือเปล่าคะ? เพราะใส่บาตรตั้งแต่เล็กจนโต พระส่วนใหญ่ก็ให้พร เป็นการอาบัติจริงหรือเปล่าคะ?

คำตอบ - ในเสขิยวัตร มีอยู่ข้อหนึ่ง ที่ห้ามพระภิกษุยืนแสดงธรรมแก่ฆราวาสที่นั่งอยู่หรือนอนอยู่ แต่ในกรณีที่พระสงฆ์ให้พร ตอนใส่บาตร ไม่ได้เป็นการแสดงธรรมโดยตรงเป็นเรื่องเป็นราว แต่เป็นการให้พรมากกว่า น่าจะไม่ผิดเสขิยวัตรอยู่แล้ว แต่ถ้าญาติโยมไม่สบายใจเกรงจะเกิดอาบัติแก่พระได้ คุณก็ควรยืนรับพร หลังใส่บาตรก็ได้ จะได้สบายใจ

#ตักบาตร #อาจารย์วศิน
------------------------------------
เมตตามโนกรรมครับ...
ช่วงนี้เป็นช่วงวิกฤตศรัทธา ของผู้ที่ชื่อว่าชาวพุทธมีต่อพระสงฆ์
พระสงฆ์เหมือนดอกบัวที่อยู่ท่ามกลางพุ่มหนามครับ.....
(ความเห็นของท่านที่ใช้นามว่า "บ้านนอกคอกนา")
****************************************

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2015, 03:11:43 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2015, 05:27:43 pm »









 
"ชรากถา" ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
        ---------------
กฎของการใช้ชีวิตในวัยทองอย่างมีความสุข
1.  อาศัยอยู่ในบ้านของตัวเองอย่างเป็นส่วนตัวและเป็นอิสระ
2.  ถือครองเงินฝากธนาคารและทรัพย์ไว้กับตัวเอง
3.  อย่าไปคาดหวังว่าลูกเต้าจะดูแลตอนแก่
4.  หาเพื่อนเพิ่มคบทุกวัย
5.  อย่าเปรียบตัวเองกับคนอื่น

6.  อย่าไปยุ่งวุ่นวายกับชีวิตลูก
7.  อย่าเอาความชรามาเป็นข้ออ้าง เพื่อเรียกร้องความเคารพนับถือและความสนใจ
8.  ให้ฟังเสียงผู้อื่นแต่ให้วิเคราะห์และปฏิบัติตามที่คิดอย่างอิสระ
9.  ให้สวดมนต์แต่อย่าร้องขอจากพระ
10.ข้อสุดท้าย "อย่าเพิ่งตาย" 


Manoonthum Thachai originally shared to ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล):
..
..



        ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ

โชติ ศ. originally shared to พุทธาคม
..
..


 
"....ส่วนผู้ที่มีปัญญามีความสามารถ ย่อมแสวงหาทรัพย์สมบัติของโลก
ไว้ได้อย่างมากมาย อำนวยความสะดวกสบายแก่ตนได้ทุกกรณี
ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านพยายามดำเนินตนเพื่อออกจาก
สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ไปสู่ภาวะแห่งความไม่มีอะไรเลย เพราะว่า...."

“ในทางโลก มี สิ่งที่ มี ส่วนในทางธรรม มี สิ่งที่ ไม่มี”

...โอวาทธรรมคำสอน หลวงปู่ดูลย์ อตุโล...
พรหมวิหาร สี่ originally shared to ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล):



กราบพระพุทธองค์ กราบพระธรรมคำสอน กราบพระสงฆ์สาวก
อรุณสวัสดิ์ครับ เจริญธรรมตามรอยพระอริยเจ้า จิตแจ่มใสใจเบิกบาน
ธรรมรักษาครับ ขออนุโมทนาสาธุ สาธุ -ทวาย โหมดชัง
Shared publicly  -  19/6/2558 6:18 AM
..
..




ฟัง ในสิ่งที่ควรฟัง (ธรรมะ)
ดู ในสิ่งที่ควรดู (ใจตน)
พูด ในสิ่งที่ควรพูด (ความจริง)
มี ในสิ่งที่ควรมี (ศีลธรรม)
ทำ ในสิ่งที่ควรทำ (ความดี)
             ข้อคิดดีดี เพื่อชีวิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2015, 07:13:46 pm โดย ฐิตา »