คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา
เล่าให้ฟัง :PULING的主頁 [2]
ฐิตา:
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
7.มองโลกด้วยความว่าง และถอน ตัวตูของตู เป็นสุขในโลก
"ดูกร โมฆราช เธอจงมองดูโลก อันงามประหนึ่งราชรถ
คนโง่หลงอยู่ ผู้รู้หาข้องไม่
และเป็นที่มัจจุราชหา เธอไม่พบ"
......................................
พระโมฆราช ป่วยเป็นโรคผิวหนังพุพอง
ทรมานทางกาย แต่ จิตวิญญาณเบิกบาน
เพราะ ฝึก มองโลกด้วยความว่าง
ว่างจาก การปรุงแต่งของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน
ว่างจาก การยึดมั่นถือมั่นว่า ชีวิตนี้ เป็นของตน เที่ยงแท้ถาวร
ว่างจาก อาสวะ สาสวะ..พบอนาสวะ ด้วยตนเอง
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ชีวิตสองแบบ...
1.อยู่อย่างยักษ์แบกโลก (ตูรู้ ตูมี ตูแน่) กับ>>>>
2.อยู่อย่างนกฮูก
...สองตามองโลก สองหูฟังเสียงหายใจตน เม้มปากสนิท...
เห็นโลก เข้าใจธรรมชาติอันดินรนของจิตตน..แล้ววาง อิๆ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
//-ธรรมะ คือธรรมชาติ
-ฝ่ายอกุศล
-ฝ่ายกุศล
-ความเป็นธรรมชาติ ธรรมดา ของสิ่งนั้น
-สติปัญญาปรีชาญาณตื่น ฉลาดเลือก ที่จะ"เก็บ"มาปรุงชีวิต อิๆ
//-เพราะ ผล ย่อมเป็นไปตามเหตุ
ใครทำอย่างไรได้อย่างนั้น
เวลา กรรม มัจจุราช ตัดสินเอง
...........................
//-สำคัญเรา กำหนดบทบาทตนเองบนโลกอย่างไร?
-เป็นผู้แสดง
-เป็นผู้กำกับ
-เป็นผู้ตัดสิน
-เป็นผู้ดู
-เป็นผู้พัฒนาตน และดูแล สังคม สิ่งแวดล้อม ให้ ดีด้วยกัน
ไม่ควรเสียเวลา กับบัวเต่าถุย อิๆ
//-หมัดแม้นจะกัดเจ็บ กินเลือด กระโดดได้สุง
ก็เท่าที่สติปัญญา น้อยกว่าหัวเข็มหมุด ที่ตัวมันเองจะทำได้
ขืนมันทำเกินตัว เดี๋ยวร่างกายก็จะระเบิดตัวเอง อิๆ
................................
คนพาลมีปัญญาทราม มีตนเหมือนข้าศึก
เที่ยวทำบาปกรรมอันมีผลเผ็ดร้อน
บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อมเดือดร้อน
ในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี
บุคคลมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่
ย่อมเสพผลของกรรมใดกรรมนั้นทำแล้วไม่ดี
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นแลทำแล้วเป็นดี บุคคลอัน
ปีติโสมนัสเข้าถึงแล้ว [ด้วยกำลังแห่งปีติ]
[ด้วยกำลังแห่งโสมนัส]
ย่อมเสพผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วเป็นดี
คนพาลย่อมสำคัญบาป ประดุจน้ำหวาน
ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่บาปให้ผลเมื่อใด
คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น
ธรรมบท
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
/-เทวดา มาจากคำว่า....ผู้เปล่งแสง.....ผู้แล่นตามแสง
ในความหมายของฮินดู
อ้าวงั้นหิ่งห้อย ก็เป็นเทวดาซิ อิๆ
-เทวดา หมายถึง ผู้เทพเป็นอมตะ ในความหมายของกรีกโรมัน
-เทวดา คือผู้สำเร็จวิชาเซียน ของเต๋า และเป็นธรรมบาล
-เทวดาใน ความหมายของพุทธ มีสามประเภค ตามสมมุติกำเนิด
1.ภูมิเทวดา
คือคุณค่า ในธรรมชาติ ที่ทำหน้าที่ ต่างๆกัน
ตั้งแต่รักษากฎ เป็นธรรมบาล อภิบาล สมดุลย์โลก
2.สมมุติเทวดา
เช่น ราชา สงฆ์ผู้อยู่ในศีลในธรรมอันน่านับถือ
บุพการี ครูบาอาจารย์ มิตรอุปการะ
3.อุบัติเทวดา
เมื่อจิต เสวย กุญแจความสุข
จิตก็จะปรุงกรัชกาย ผุดขึ้นครองกายหยาบทันที(โอปปาติกะ) เช่น
-หรรษา
......จากงานอดิเรก ธรรมชาติ กสิกรรม(นาค)
...... ศิลป์ดนตรีนาฏะ (คนธรรพ)
......ได้ท่องเที่ยวมีประสบการณ์ใหม่ๆ(ครฑ)
.......เป็นผู้นำธรรมชาติในชุมชน (ยักษ์)
-ภาคภูมิใจ
.....ในทรัพย์ ที่ตนเองหามาได้(เทวดาชั้นยามะ)
.....ในอำนาจบริวาร ปกครองคน(เทวดาชั้นดาวดึงส์)
.....ในความดีและพัฒนา ภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญา จิตอาสา(เทวดาชั้นดุสิต)
-สมใจ
......ได้ทำดั่งใจปรารถนา(เทวดาชั้นมาร)
.......ได้สะใจ เมื่อมีผู้อื่นทำให้ตนสมปรารถนา(เทวดาชั้น หัวหน้ามาร)
ดังนั้น สูสุดของความสุขแบบเทวดา คือ"มาร"
ปรารถนา สิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ อิๆ
มารก็จับจิตทุ่มลงสู่อบายภูมิ อิๆ
...........................................
//-อยู่คนเดียว อยู่กับพระเจ้า...อย่าซ่าส์ละเมิดกฎธรรมชาติ(ธรรมฐิติ)
อยู่สองคน อยู่กับเทวดา.........คิด พูด ทำ ให้สิ่งดีๆ ต่อกัน
อยู่สามคน อยู่กับพระราชา......(แม้นแต่ขอทาน)สามคนเดินมา หนึ่งในสาม สอนเราได้ หนึ่งวิชา
........................................
//-มาสร้างเทวดาในใจตนเองง่ายกว่า
"เมื่อใดผัสสะโลกธรรม ด้วยความสุข สวรรค์ ก็เกิดในอายตนะนั้น"
.......................................
//-แต่เชื่อมาตลอดว่า เมื่อเรา คิดให้สิ่งดีๆ "คลื่นความดี"
ก็จะนำสิ่งดีๆ ในชีวิต มาให้เสมอ(แต่ต้องไม่ประมาทในอุบายคนชั่วด้วย)
เหมือนคนที่พยายามผลักน้ำในถาด น้ำก็จะไหลกลับ
หากโกยเข้าหาตัว น้ำก็จะลอดออกไป อิๆ
............................
//-เล่าสู่กันฟัง นะ ใช้สติปัญญาฉลาดเลือก เลือกเอาเอง
สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan - 1 comment
แค่ถอนหายใจทิ้ง ทุกข์ความคิด อารมณ์ที่ไม่เข้าท่า ก็ชนะแล้ว
1.อารมณ์ เหลือแต่
ปิติ...ู...........อิ่มในกุศล
สุข..............ทำกุศลให้ ชีวิตอื่นเป็นสุข เราก็รับอนิสงค์สุขนั้นด้วย
อุเบกขา.......อุปะ แปลว่าเข้าไป....เบกขา แปลว่า ด้วยปัญญา
เข้าไป ดูกระแสโลก ธรรม ที่ผัสสะ ด้วยปัญญา..อย่าเอาอารมณ์มนุษย์นำหน้า
เอกจิต........สติ ปรีชาญาณ ตื่น เป็นหนึ่งเดียวกับ
กระแส โลก กรรม ธรรม นิพพาน
2.อารมณ์มนุษย์
อบาย.....รัก โกธร โลภ หลง กลัว อิจฉา บ้าอำนาจ ฉลาดโกง
-มนุษย์....สุขจาก เคารพ กฎกติกา มรยาท สังคม วัฒนธรรม ศีล
-เทวดา....หรรษา ภาคภูมิใจ สม ใจ สะใจ
-พรหม....สงบ สันโดษ สมถะ พรหมวิหารสี่
-อริยะ.....เบา จาก พ้นความพัวพัน สังโยชน์
กำหนดรู้ รู้วาง รู้ว่าง..ก็จะเบา
"มหัศจรรย์ของลมหายใจ ที่มีสติ
แยกความคิด ออกจากอารมณ์ได้"
.....................................................
กายที่พอดี จิตที่ฝึกดีแล้ว จึงพบ
เจโตวิมุติ กำลังจิตที่เข็มแข็ง สงบ สงัด ชนะราคะโทสะ
- ปัญญาวิมุติ ที่ว่องไว เฉียบคม ชนะโมหะ หลงในมายาปรุงแต่งชีวิต
- รู้วิธีล้างขยะปรุงแต่งจิต(ทำอาสวะให้สิ้น)
ด้วยการกำหนรู้ ดูความรู้สึกทุกข์นั้น เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ก็กัดกิน ความรู้สึกทุกข์ด้วยเช่นกัน
แม้นแต่อารมณ์ทุกข์ ก็มีสภาวะทุกข์(ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้)ทำลายอยู่
"ใช้สติปัญญารักษาใจ ไม่ให้ทุกข์เกิด
ทุกข์เกิดก็กำหนดรู้แล้วละเสีย(วรธัมโม สวนโมกข์) สาธุ
ไม่ใช่ทางแห่งกาย หรือจิต แต่เป็นสติปัญญาฉลาดเลือกตื่น มากุมสภาพจิต
-รู้ว่าเป็นอกุศลก็ละ
-รู้ว่าเป็นกุศล ก็เจริญ
-รู้วิธีล้างความรู้ที่ผูกเงื่อนไข ด้วยการล้างเงื่อนไขนั้น
และปลุกจิตเอื้อเฟื้อ ดูแลตน สังคม และกตัญญูต่อ"โอกาสโลก"
โลกคือระบบชีวาลัย ที่ให้เรากำเนิดมา สาธุ
ทุกข์ คือนรก
สุข คือสวรรค์
เย็นคือ นิพพาน
ฝึก เย็นกาย เย็นวาจา เย็นใจ และจึงจะรู้จักนิพพานที่แท้จริง
สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan - 3 comments
สาธุ เลิกเป็นโจร เลิกป่วย เลิกพิการ เลิกตาบอดเด้อ สาธุ
มนต์ศักดิ์สิทธิ์
...............................
//-มองในแง่ ภาษาธรรม
การน้อมจิตให้ พระคุณของพุทธเจ้า ที่ทำให้ พุทธปัญญาบังเกิด ในตน
ย่อมทำลาย อุปทวะ ที่ไม่ให้มนุษย์ พบ
ภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญา อันยิ่ง
-โจรภัยในตัวเราคือ การที่ เซนเซ่อร์ หรืออายตนะ เราไปปล้น
รูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะกาย ใจคิดถึง มาเก็บไว้ เป็น"ตัวตู" "ของตู"
ดังนั้นตอนหงอคง ปราบโจรทั้งหก จึงตวาดว่า
"เจ้าสมุนชั่ว เจ้าปล้นสิ่งใดมา ก็ต้องเป็นของข้าอิๆ"
คือวันๆ หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ ทำงานตามคำสั่ง ปัญญา
-พิการ
ชีวิตหากไม่เต็มเพราะ..... ความพอใจ ไม่พอใจ...ไม่สิ้นสุด
เราก็พิการทางจิต เสมอ
-ขี้เรื้อน
หากยัง หด หู่ ลังเล ยำคิด ย้ำทำ ย้ำแค้น ระแวงว่าผลอกุศลจะมาทำลายตน
ก็เหมือนคน เป็นขี้เรื้อน กายในกาย ย่อมหาสันติธรรม ให้สงบรำงับไม่ได้
-ตาบอด
เห็นโลก แต่ไม่เห็นธรรม ไม่เห็นกรรม ไม่เห็นนิพพาน ที่ซ่อนในทุกสรรพสิ่ง
คือเห็นแต่สมมุติสัจจะ ไม่เห็น ธรรมสัจจะ โพธิสัจจะ โลกุตระสัจจะ อริยสัจจะ ที่ซ่อนอยู่
-ตาย
ตายจากความมีมนุษย์ธรรมอริยะธรรม
จิต จึงเป็นทาส อบาย จมใน
โลภ อิจฉา บ้าอำนาจ ฉลาดโกง โทสะ กลัว หดหู่ ฟุ้งซ่าน ลังเล โศก เศร้า ย้ำแค้น
..............
//-เอาพระคาถา"แรงอธิฐานจิต ปลุกพุทธเจ้าในตนให้เกิด"
และชนะ โจรภัย ความพิการ ขั้เรื้อน ตาบอด และ ฟื้นจากความตาย
ด้วย
"ผัสสะโลกธรรมแล้ว.....สติกุมสภาพจิตได้
จิตจึง...............เบิกบาน หรรษาในสัจจะธรรม
จิตจึงมี..............อารมณ์ ปิติ สุข อเบกขา เป็นหนึ่งเดียวกับ ธรรมชาติที่เป็นกุศล
จิตจึงมีปัญญา ที่ตื่น.....เห็นสมุติ เห็นธรรม เห็นปรมัตถะ เห็นอริยะสัจจะ
และชำระขยะปรุงแต่งจิต(อาสวะ)ให้สิ้น ชั่วสายฟ่าแลบ(วัชระจิต) จิตแบบสายฟ้า เทอญฯ สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
กตัญญูคือยอดมนุษย์ธรรม
มงคลสูตร ธรรมะ ทำหน้าที่ เพื่อความโชคดี ปู่ลิง
ธรรมะ เพื่อชีวิตที่โชคดี
หลักการชีวิตที่ดี?
//-ไม่คบหา เอาคนชั่ว.............. เป็นแบบอย่างทางชีวิต
คบ เคารพ คนดี .......................มีมโนธรรมแท้ เป็นแบบอย่างชีวิตนั่น
เคารพ บุคคล หลักการ ..............สถาบัน ที่เป็นประโยชน์ต่อโลกกัน
ทั้งหมดนั้น คือหลักการ ชีวิต........โชคดี เมื่อได้กระทำฯ
//-การเรี่มต้นชีวิตที่ดี?
อยู่ใน ถิ่นที่อุดม .......................พัฒนาไปในทางดี
สร้างความดี บารมี..................... สะสมมานานนั่น
วางตน ให้เหมาะสม.................... กับสถานที่ ชุมชน บุคคลเวลากัน
ทั้งหมดนั้น คือ...........................การเรี่มต้นชีวิต ที่ให้โชคดีฯ
//-ชีวิต เบิกบาน เยาว์วัยตลอดกาล ได้อย่างไร?
พึงเรียนรู้ กว้างขวาง ....................ทุกสรรพศาสตร์ เพื่อโลกทัศน์กว้างไกล
ฝึกฝน การใช้มือทำงาน ...............จนเชี่ยวชาญ เป็นศิลป์ อาชีพได้นั่น
รู้จักจัดระเบียบวินัย..................... เคารพกฎอันดีงามประจำสังคมตนกัน
รู้จักคิด ใช้ว่าจาจริง ดีงาม ............เมตตาเหมาะสมกาลนั้น คือโชคดีฯ
//-พึงปฏิบัติต่อครอบครัวอย่างไร จึงโชคดี?
อุปถัมภ์ บุพการี .........................บิดามารดา ครูบาอาจารย์
สงเคราะห์บุตร ภริยา ...................คนใต้ปกครอง ด้วยความยุติธรรมนั่น
จัดระเบียบการทำงาน..................ให้พอเหมาะ ไม่ปล่อยคั่งค้างกันฯ
ครอบครัว จึงโชคดี .....................เมื่อทำหน้าที่นี้ อย่างสมบูรณ์
//-พึงปฏิบัติต่อชุมชนอย่างไรจึงโชคดี
มีความสุขจากเสียสละ ................ให้ธรรมะ อภัยทาน
มีความประพฤติดี ........................กริยามารยาท สง่างาม น่านับถือนั่น
ให้โอกาสคน ชุมชน ....................ญาติ ทำความดีต่อกัน
ประกอบอาชีพ ...........................ไม่เป็นภัยสังคม คือ บรมโชคดีฯ
//-วางตัวอย่างไร เมื่อเข้าสมาคม ....แล้วโชคดี?
ไม่ควรเคียดขึง พึงใจกระแสโลก .....ที่ไม่ดีแม้นนิด
เสพวัฒนธรรม เพื่อกระชับมิตร .......ไม่ถึงประมาทขาดสตินั่น
ไม่พึงสบประมาท ปรามาส .............วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
ใครทำได้อย่างนี้นั้น ทุกศาสนา.........วัฒนธรรมที่ดี ยินดีต้อนรับเอยฯ
//-เป็นผู้น้อย ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ควรวางตนอย่างไร?
รู้จัก เคารพ นอบน้อม ...................ไม่อวดเบ่งพองลม
ชื่นชม ความสันโดษ .....................อิ่มใจทุกสถานการณ์นั่น
ยึดหลัก กตัญญูกตเวที ..................เป็นยอดธรรมกัน
ฟัง ศึกษา ปรัชญาชีวิต ศาสนา.........ตามกาล คือโชคดีเอยฯ
//-เป็นผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา ควรปฏิบัติ อย่างไร?
มีความขยัน อดทน พากเพียร ..............นำคนสู่ทางดี
รู้จักรับฟังความคิดเห็น ทุกผู้คน............. ด้วยใจสงบนั่น
เห็นคุณค่า คบหาผู้สงบ........................ไม่เบียดเบียนตน และโลกกัน
สนทนา แลกเปลี่ยน ปรัชญาชีวิต ..........กับผู้รู้ตามกาล คือโชคดีฯ
//-อุดมการณ์เป้าหมายชีวิต สุงสุดที่ดีคืออะไร?
ชำระจิต ให้ สงบ................................สะอาดสว่าง
มีเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา .............เป็นร่มเงาให้ชีวิตนั้น
เห็นแจ้ง ทางเจริญเสื่อม ......................ในใจทุกขณะจิตกัน
พบผล หลุดพ้นอุปทานตัณหา................ ด้วยทำอาสวะสิ้น ด้วยตนเองเอยฯ
//-เครื่องวัดผลสำเร็จ แห่งความโชคดี?
ผัสสะโลกธรรม.........................ด้วยสติกุมสภาพจิต แล้วไม่หวั่นไหว
จิตเบิกบานไร้กิเลส ...................แผ้วพานนั่น
จิตมั่นคง โปร่งใส มีคุณภาพ.........ทุกผัสสะกัน
ใครทำได้อย่างนี้แล้วนั้น .............คือบรมโชคดีเอยฯ
//-ผลแห่งการทำหน้าที่ และได้สิทธิ์ในการรับโชคดี?
เมื่อเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ......กระทำหน้าที่เพื่อโชคดีนี้แล้ว
ย่อมไม่พ่ายแพ้ ต่อ กระแสโลก...... กระแสสันดานของตนนั่น
เป็นผู้ให้โชคดี ต่อ ตน สังคม ..........ระบบชีวาลัย กัน
เป็นผู้ไม่มีภัย ต่อตน ท่านนั้น ..........คือบรมโชคดีเอยฯ
สันโดษ(ความอิ่มใจ ทุกขณะจิต ตามสถานการณ์)
คุณธรรมที่เป็นยอดทรัพย์
1. เมื่อ มีผู้เมตตาให้ ไม่เรียกร้องเกินเหตุ ............ยถาลาภะสันโดษ
2. เมื่อทำงาน พึงทำเต็มกำลัง ความสามารถนั่น ....พละสันโดษ
3. มีกำลังไม่จำกัด ต้องรู้จัก พอแล้วดีกัน .............สารุปสันโดษ
4. มีคนรักคู่ครอง ไม่ล่วงเกินของรัก ...................ชอบของผู้อื่นนั้น ยอด .....สาธารสันโดษเอยฯ
5.สาธรณะสันโดษ ..........................................ไม่ฉ้อฉลเอาสมบัติสาธรณะเป็นของตน
//-ชีวิต นี้ช่างสั้น......................สหายเอ๋ย
อย่าละเลย ทำสิ่ง.....................ที่ตนหวัง
เพียงแต่ ไม่ทำร้ายตน ท่าน....เพราะการกระทำ
ชีวิต ลิขิตเรานั้น อยู่ใต้..............ฝ่าเท้า..ของเราเองฯ
(โอมาคัยยัม)
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ชีวิตดุจผี้เสื้อ
1.เป็นไข่หนอน...เป็นทาสอวิชชา
2.เป็นหนอน.......เป็นทาสกระแสวัฒนธรรมโลก
3.เป็นดักแด้.......หยุด สงบ สงัด ตกผลึกความคิด เปลี่ยนแปลงภายใน
4.เป็นผี้เสื้อโบยบินสู่เสรี...เสพแต่น้ำหวาน
อยู่ที่เราเอง อิๆ
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
ฐิตา:
Originally shared by Hug birds save earth - 3 comments
ชีวิตในเวียงหนองหล่ม เชียงราย
(ภาพหาชมยาก)
ชีวิตในโลก
1.อยู่อย่างยถากรรม
แล้วแต่ ดินฟ้าอากาศ สิ่งแวดล้อม พาไป
2.อยู่ ตามกรรม
เจตนา คิด พูด ทำอย่างไร ก็สร้างทางชีวิต เช่นนั้น
3.อยู่ แบบข้ามกระแสกรรม
ไม่ไหลตามกระแสโลก ไม่ทวนกระแสโลก แต่เพียรข้ามกระแสนั้น
4.อยู่เหนือกระแสโลก
มีสัมมาสติโพธิปัญญาตื่น
"ดูโลกที่งามดั่งราชรถ ชนหลงอยู่ ผู้รู้หาข้องไม่"
................................
เลือกนะครับ เพราะเรายังหายใจอยู่
ฝันดีนะ บาย
..
..
Originally shared by Hug birds save earth
Naiyanan Petchsri
ปรัชญาชวนคิด - 20 Aug 2015 22:03
"เรามีสองหู แต่มีลิ้นเพียงลิ้นเดียว
เพื่อว่าเราจะได้ฟังมากหน่อย
และพูดให้น้อยหน่อย" _ดิโอจิเนส นักปรัชญากรีกโบราณ
มนุษย์ต้องเรียนรู้ฝึกฝน5.ข้อนี้ ตลอดชีวิต
1.รู้ที่จะอ่าน....................อ่านหนังสือ เหตุการณ์ อ่านใจตน และผู้อื่น
2.รู้ที่เขียน......................เขียนบันทึก เขียนบทชีวิตที่พอดีให้ตนเล่น
3.รู้ที่จะคาดการณ์...........ใครเห็นกระแส ขี่กระแสได้ ย่อมเบาแรง
4.รู้ที่จะสื่อสารทางบวก....วาสนาอยู่ที่ปาก
5.รู้วิธีที่จะล้างขยะปรุงแต่งชีวิต..จนโพธิจิตตื่น มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง เย็นๆ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan 15 กค 2558
Consumerism
รู้เท่ารู้ทัน บริโภคนิยม และ พวก
รู้จักธรรมชาติ วันละนิด ชีวิตมีชีวา
ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นกระแสธรรมดาเช่นนั้นเอง
เป็นเด็ก มักได้ยินผู้ใหญ่พูด
"จะไปกิ๋นเสี่ยง กินซ้ำ ยะหยังหือ กินยืน กิ๋นยาว กิ๋นบ่เสี่ยง"
แปลว่า
"ทำอะไร อย่าไปเอาแต่ล้างผลาญให้หมดสิ้น
ให้ทำในสิ่งที่เจริญ ยั่งยืนยาว ไม่มีหมด"
...........................................
"วัตถุนิยมสี่ สมัยใหม่
สอนให้เราคิดเอาแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้า ไม่ยั่งยืน
ทำลาย ความหลากหลายพันธุกรรม และยั่งยืน ต่อลูกหลานอนาคต"
...........................................
"อาหารเป็นใหญ่ในโลก" พุทธพจน์
อาหาร ในความหมายพุทธธรรมคือ"เครื่องค้ำจุนชีวิต"
1.เครื่องค้ำจุน ที่เป็นวัตถุธาตุ
ได้แก่ ปัจจัยสี่(อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยาป้องกันรักษาโรค)
เครื่องมือ ต่อความสามารถ และเครื่องอำนวยความสะดวก
เป็นเครื่องค้ำจุนระดับชีวะ ที่ขาดไม่ได้
น่าจะรวมทั้ง อากาศ น้ำ แสงแดด ด้วยนะ
2.เครื่องค้ำจุน ที่ เป็นกุญแจไขความสุข ผัสสะ
แล้ว ชอบ อบอุ่น เป็นสุข
2.1-กามสุข
- มี ศุภะ(เห็นว่าสวยงาม)
อระดี(พึงใจ)
-ตัณหา(อยาก)
-ราคะ(คลุกเคล้า เกลือก กลั้ว ดุจภมร ชอบเกสรดอกไม้)
2.2 ฌานสุข
เกิดจากจิต ผูกกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จน จิตแน่วแน่ หลั่งสารความสุขได้
มี ตั้งแต่ วิตก(คิดกว้างๆ) วิจารณ์(คิดลึกลงในรายละเอียด)
ปีติ สุข อุบกขา(สงบ ดูด้วยปัญญา)
เอกจิต จิตเป็นหนึ่งเดียว กับธรรมชาติที่จดจ่ออยู่ และกฎธรรมดาของธรรมชาติ
2.3วิมุติสุข
สุขจาก พ้นอำนาจเพลิงอารมณ์ทุกข์
เพลิงความอยาก ความติด ความพยาบาท ความอยากเบียดเบียน
จึงไม่ทุกข์ ไม่สุข แต่เย็น กาย วาจา ใจ เช่นนั้นเอง
3.อาหาร คืออุดมคติ
เป้าหมายความหวัง อุดมการณ์แห่งชีวิต
เช่นเป้าหมาย ทางสังคม อยากมี
-จุดยืน มีตัวตน อัตตาลักษณ์ของตนเอง
-พื้นที่ ที่เป็นอาณาเขต อาณาจักร ที่ตนเคลื่อนไหวอย่างเสรี
-ความสำเร็จ
...ได้เป็นเจ้าของ...มีความอุดมสมบูรณ์...มีความมั่นคง ในชีวิต
-ได้รับการชื่นชม ยอมรับหน้าถือตา จากสังคม
ความต้องการนี้ บางที ยอมสูญเสีย ตัวตน ผัสสะที่ชอบ
เพื่อ สมใจ สะใจ ในสิ่งที่ตนต้องการ
4.สิ่งค้ำจุน คือ"ความรู้"
มนุษย์ต้องปรับตัว เพื่อ
อยู่รอด อยู่ร่วม
แข่งขัน-แบ่งปัน
ความโชคดี-และคลสภาพจิต เป็นมนุษย์ที่ดี
ดังนั้นมนุษย์ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
-เรียนรู้จาก การอบรมสั่งสอน ตาม บุพการี วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
-เรียนรู้จากการตกผลึกความคิด จากประสบการณ์ตนเอง
-เรียนรู้จาก การ ล้างเงื่อนไขชีวิต
ที่จำมาผิด ตั้งทฤษฎีไม่ไม่เหมาะสม ตั้งจิต ตั้งเจตนาเป้าหมายชีวิตผิด
เป็นการเรียนรู้สูงสุด เพราเป็นการปลดปล่อย ชีวาในชีวิต
พ้นจาก เพลิงอารมณ์ทุกข์ ความอยาก
ที่หลอกเราว่าเป็นความจำเป็น
จนเราต้องใช้ตนเอง เป็นวัวควาย
แสวงหา เป้าหมายเทียม(กุญแจความสุข)
แทนที่จะ จัดชีวิต แยกความต้องการ ออกจากความจะเป็น
และใช้ชีวิต แบบ พอเหมาะ พอดี พอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน
ดังแนว พระราชดำหริ เศรษฐกิจพอเพียง
แทนการ เป็นทาส บริโภคนิยม อำนาจนิยม ทุนนิยม ผลประโยชน์นิยม
ชีวิตจึงต้อง โลภ อิจฉา บ้าอำนาจ ฉลาดทางเสื่อม
เป็นทาสอารมณ์ร้าย อารมณ์ทุกข์ โดยสุขล่อให้หลง ในตนไม่สิ้นสุด
Small is beauty ......พอเพียงคืองดงาม
.........................
ดังนั้น การปฏิวัติอาหาร จึงไม่หมายถึง"ของกิน"
แต่หมายถึง เครื่องค้ำจุนชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ ดีกว่า มั่นคง มีประโยชน์ประหยัด ปลอดภัย ยั่งยืน
-อาหารที่เป็นวัตถุธาตุ
-อาหารที่เป็นผัสสะ
-อาหารที่เป็นอุดมการณ์ชีวิต
-อาหารทีเป็นความรู้
รู้วิธีล้างเงื่อนไขความรู้ผิด
รู้ยิ่งจนพ้น เพลิงอารมณ์ทุกข์ เพลิงกิเลสในตน
.........................
//-เรารู้ว่า เราไม่เคยรู้มาก่อนว่า
อารมณ์ทุกข์.................ต้องกำหนดรู้
เหตุปรุงแต่อารมณ์ทุกข์ ....ต้อง ละทิ้งให้สิ้น
ผลความเย็นของชีวาในชีวิต....เพราะพ้นเพลิงอารมณ์ทุกข์และกิเลส
ต้องประสบด้วยตนเอง
ทางฝึกฝน เพื่อพบความเย็นนั้น(มรรคแปด)...ต้องเจริญให้ยิ่ง
//-เรารู้ว่า เรารู้ อริยะสัจจะ(ความจริงของผู้ชนะอุปสรรค พัฒนาชีวิตในตน
คือเพลิงอารมณ์ทุกข์ เพลิงจากกิเลส)ที่เกิดขึ้นในตน
//-เรารู้ว่าเรารู้แจ้ง
มีเจโตวิมุติ( มีกำลังจิต เพราะจิตที่สงบ มั่นคงเบิกบาน ชนะอารมณ์ร้าย)
มีปัญญาวิมุติ(มีกำลังปัญญา มีสติปัญญา เข้าใจแจ้งในธรรมชาติตามจริง จนกุมความคิด สภาพจิต)
..........................
การเข้าใจ จัดการ แบบ พอเหมาะ พอดี พอเพียง พอใจ กับเรื่อง
สิ่งค้ำจุนชีวิต ที่เป็น
-วัตถุธาตุ
-ผัสสะ
-อุดมคติ
-ความรู้จนหลุดพ้น
เพลิงอารมณ์ทุกข์ความเศร้าหมองอยากเกินเหตุ
คือการปฏิวัติ อาหารของโลก อย่างแท้จริง
.........................
-ตนเอง....
-รู้จักพอดีพอเพียงพอควร
-เลิกสร้างอารมณ์ทุกข์
-ไม่เป็นทาสความอยาก
-ดูแลสังคม มีสันติสุข สันติธรรม
-บริหารจัดการ ธรรมชาติแบบ พัฒนาเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน
ทำให้สิ่งแวดล้อม มีสมดุลที่ดี
.........................................................
ฝึกสร้างนิสัย"กิ๋นบ่เสี่ยง"
เลิกใช้ชีวิตแบบ"กิ๋นเสี่ยง กินซ้ำ"
ทำในสิ่งที่ ดี งาม ยั่งยืนไว้ให้ลูกหลานไทย กันนะครับ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
https://www.youtube.com/watch?v=U4glcVsRpbw
พระมหาโมคคัลลานะ
พระอัครสาวกผู้เป็นเลิศในทางฤทธิ์
ในหลักสูตร นักธรรม จะเรียนเรื่อง พระพุูทธ พระธรรม พระสงฆ์
ครบ ก็จะจบ"นักธรรมเอก"
เวลา เข้าไปในวิหารวัดไทย จะมี พระปฏิมาของพระอัครสาวก สององค์
มี พระสารีบุตร ผู้เลิศทางปัญญา และ พระโมคคัลลานะผู้เลิศฤทธิ์
-ของฝ่ายมหายาน จะมีพระปฏิมาพระหนุ่ม(พระอานนท์)
และพระแก่(พระมหากัสสปะ)
.....................................
พระมหาโมคคัลลานะ มีส่วนร่วม ในพุทธประวัติหลายตอน
แม้นแค่พระคาถา"ชัยชนะ ของพระพุทธเจ้า ชัยมงคลคาถา
หรือพาหุงมหากาฯ ก็มีตอนหนึ่ง ที่นาคดุร้ายมาก
พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลานะ ปราบ ท่านใช้วิธี
แปลงกายเป็นนาคที่ใหญ่กว่า ครับผม
แต่ต้องแปล ภาษาอภิจินตนาการ จากวรรณกรรมพุทธศาสนา
หรือ ภาษาบุคลาธิษฐาน..เป็นภาษาธรรม
คือ จะบอกว่า "กูเก่งกว่ามึง แต่กูยังไม่เบ่ง" อิๆ
"ใหญ่..........................ไม่ข่ม
เล็ก.............................ไม่กร่าง
เป็นคนจริง....................ต้องไม่ห่าม ไม่เหิมฯ"(สุภาษิตจีน)
ดีแน่ๆ
......................................
พระโมคคัลลาน มีประวัติที่น่าสนใจอีกหลายตอน
ท่านเป็นสหายพระสารีบุตร
ช่วงแสวงหาโมกข์ธรรม พระสารีบุตร พบพระอัสสชิ
ได้พระคาถา"เย ธัมมา" คือ
"ทุกสรรพสิ่งที่ปรุงแต่ง
(วจีหรือความคิด จิตหรือเจตนา กายหรือบุคลิกภาพ)
มีเหตุเป็นแดนเกิด เช่นอารมณ์ทุกข์
พุทธเจ้า บอกเหตุ และวิธีดับนั้นให้"
...................................
และได้ รับวิธีแก้ง่วง จากพุทธเจ้ามา
.................................
พระมหาโมคัลลานะ ยังเป็นสถาปนิค วิศวะกร
ที่ควบคุมดูแลงานก่อสร้าง วัดสำคัญ ในยุคพุทธกาล
...............................
คำสอนหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลานะ
ที่ ลิงชอบย่อไว้คือ
"ไม่สุมหัว ไม่ชูงวง ไม่สร้างวะทะที่นำไปสู่ความขัดแย้ง"
-ไม่สุมหัว คือ ไม่ไปมั่วสุม สนทนาแต่เรือง มงคลตื่นข่าว
อย่างตอนนี้ กระแส ดารา และข่าวปด (เพราะมีคนจ้าง)เยอะมาก
-ไม่ชูงวง คือ เป็นผู้ นอบน้อมถ่อมตน รู้จักรับฟังอย่างสงบ
-ไม่สร้างวาทะ ที่นำไปสู่ความขัดแย้ง
กำลังฝึกอย่างหนัก เพราะอายุยิ่งแก่ ยิ่งปากจัด55555+
....................................
ในฐานะ ที่ท่านเป็นผู้กว้างขวางมาก่อนบวช
และเห็นเปรต ...คือสภาพจิตคน(Being) ที่ก่อนจะมาเป็นมนุษย์(Homo sapiens)
สัตว์ อาจ กิน ถ่าย สืบพันธุ์ นอน กลัวภัย
แต่มนุษย์มีสมองใหญ่ จึง มี อะไรมากกว่าสัตว์
ความโลภ(ยถาเปรต)
-ความอิจฉาบ้าอำนาจ(ฤทธิ์เปรต)
-ความฉลาดโกง ไม่รู้จักพอเพียง(เปรตอยู่ในวิมาน)
ท่านจะยิ้ม เมื่อเห็นว่า เปรต ก็คือพวกผู้มีอำนาจวาสนา
ในกรุงราชคฤห์ นี่แหละ
ท่านก็เลย ถูก ทุบ สิ้นชีพ ด้วยฝีมือโจยท์เก่า และเปรต
ที่ท่านไปรู้เท่ารู้ทันนี้แหละ
งานนี้ ท่านอาจ บรรลุธรรม คือ รู้วิธี ชนะ
อารมณ์ทุกข์ ทนต่อเวทนาทุกข์ ปรับตัว อยู่กับสภาวะทุกข์แบบเคารพยอมรับ แต่
"เวลา กรรม มัจจุราช ไม่เคยคอยใคร"
และ อย่าลืมฝึก ยกระดับ ภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญา
พบ โพธิจิต ที่กุมสภาพ อธิจิต ในตนให้ได้
จะได้ เป็น พุทธะ(ผู้ใช้สติปัญญาปกครองชีวิต)
เป็น ผู้ฉลาดเลือก ใช้วิธีเรียนรู้ปรับตัว(Homo wise-man) ในชาตินี้แหละ
..........................................................
เอาแค่นี้ก่อนนะ อิ่มอร่อยมื้อเช้า
ใครเดินทาง ให้สะดวก รับโชค มีชัยนะ สาธุ
.........................................................
http://www.dharma-gateway.com/…/great_monk/pra-mokkalana.htm
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan - 2 comments
ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติ
1.พิจารณาเห็นโลกโดยความ เป็นของว่างเปล่า (ว่างจากการปรุงแต่ง)
2.ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว (ถอนความยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวกูของกูจริงๆ)
3.พึงข้ามพ้นมัจจุราช ได้ด้วยอุบายอย่างนี้(ชนะความตายของชีวาในชีวิต)
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
1.ทาน
เพื่อสอนใช้ชนะ จิตเปรตในตน
คือชนะ ความโลภ อิจฉา บ้าอำนาจ ฉลาดโกง
2.ศีล
เพื่อ มีจิตเป็นมนุษย์มากขึ้น
3.สัคคะ
เพื่อช่วยสร้างสันติสุข สันติธรรม แก่ ตน สังคม ระบบชีวาลัย
4.กามฑีนพ
เพื่อให้เห็น โทษ ความติด ยึด หลงไหลนำมาซึ่งเหตุ ทุกข์
5.เนกขัมมะ
การฝึกฝนจิต ให้ สงบ สมถะ สันโดษ ออกจาก ความติด
6.ปัญญา
ปัญญามองเห็นโลก เป็นปราชญ์ ฉลาด มีสติปัญญา
มองเห็นจิตปรุงแต่ง(อธิจิต) และปลุกจิตแท้จิตเดิมให้ตื่น(โพธิจิต)
มาล้างขยะปรุงแต่งจิต กุมสภาพจิต
จนเมื่อกระทบ กระแสโลก กระแสกรรม กระแสธรรม
จิตยังมั่นคง เบิกบาน วิสุทธิ์ เช่นนั้น
จึงเป็นโลกุตระปัญญา...ที่ตื่นแล้ว
เป็นสอนให้การพัฒนาจิตตามลำดับ ของพุทธเจ้า สาธุ
ทั้งหมดนี้ เป็น คำสอนที่พระพุทธเจ้า สอนมากที่สุด ตลอด45พรรษา หลังตรัสรู้ สาธุ
..
..
Originally shared by Hug birds save earth
ความตายที่น่ากลัว
ปอดแหกคือปลอดภัย
พอเพียงคืองดงาม
............................
1.ความตายทางร่างกาย
โรคหัวใจ มะเร็ง อุบัติเหตุ เป็นสาเหตุการตาย ของคนรุ่นใหม่ของโลก
สำหรับผู้สูงอายุ อุบัติเหตุในบ้าน โดยเฉพาะห้องน้ำ มาเป็นที่หนึ่ง
-"ระวังห้องน้ำก็ฆ่าเราได้"
ห้องน้ำของ ผู้สูงอายุ ต้องมีระบบกันลื่น มีราวให้จับ
และเวลาเข้าห้องน้ำ อย่าล๊อคประตู และสอนคนในบ้าน
ให้ฝึกรับมือกรณีฉุกเฉิน เพราะมันตกใจ เลยปล่อยให้ สว.ตายจริงๆ
-โรคหัวใจ
สาเหตุใหญ่ เกิดจาก
"กินอาหารขยะมาก ออกกำลังน้อย
พักผ่อนน้อย เครียดสะสม อารมณ์บูดเน่า"
-มะเร็ง
เป็นเซลล์กลายพันธุ์เรามีทุกคน
แต่ถ้าเรากิน ใช้ชีวิตแบบมะเร็งชอบ มันก็เติบโต
-อุบัติเหตุ
ต้องไม่ประมาท และคิดเผื่อคนที่ประมาทกว่าเรา เสมอ
2.ตายทางสังคม
ต้องระวัง บางทีสิ่งดีๆ ที่เราทำมาชั่วชีวิต
แค่พูดผิดหู ผิดกาละเทศะ
เลย กลายเป็นคนชั่ว ในสายตาสังคมไปเลย
3.ตายทางจิตวิญญาณ
มนุษย์มีสองจิต(เซ็น)
-จิตปรุงแต่ง ดูแล สั่งสอนเรามาตลอดชีวิต(อธิจิต)
-จิตแท้จิตเดิม คือ"ชีวาในชีวิต สติปัญญาปรีชาญาณ"(โพธิจิต)
ต้อง ถูกปลุกให้ตื่น ล้างขยะปรุงแต่ง กุมสภาพจิตปรุงแต่ง
และมาดูแล ชีวิตเราต่อ ให้สิ้นอายุขัย ตามยีนส์ให้มานะ
..........................................
ความตายที่น่ากลัวคือ
"ความตายของชีวาในชีวิต" ครับผม
วันนี้คุณหัวเราะแล้วยัง?
..
..
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
ฐิตา:
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
อย่ากตัญญู แบบ "ปิดทองใส่หน้าผากตนเอง"
วันนี้ ถ้าพ่อแม่ ยังมีชีวิต รีบโทร ไปถามสาระ สุข กับท่านนะครับ
มนุษย์แท้ จากสรุปคำสอนสามปราชณ์(ซำก่า)
พุทธเจ้า เหลาจื้อ ขงจือ
1.อยู่อย่างสมถะ
2.สันโดษ อิ่มใจในสิ่งดีๆที่ทำ
3.ทำงานด้วยความขยัน อดทน พากเพียร อดออม
4.เคารพวัฒนธรรมตน และผู้อื่น
5.ซื่อสัตย์
6.เที่ยงธรรม
7.เป็นธรรมบาล คุ้มครองครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม
8.กตัญญ เป็นยอดมนุษย์ธรรม
จำทุกข้อไม่ได้ จำข้อ8และรีบลงมือทำนะ สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
1.คิดแบบฝรั่ง ...................ใหญ่กินเล็ก(กำปั้นใหญ่ได้เปรียบ)
2.คิดแบบ จุลินทรีย์ ...........เล็กก็กินใหญ่ได้
3.คิดแบบเต๋า ...................ใช้กำลังศัตรู จัดการกับศัตรู
4.คิดแบบพุทธะ.................ทั้งหมดคือ มายา ลีลา อนัตตา
"แบกไว้............................ก็หนัก
วางไว้(อัตตา)....................ก็เบา
ไม่เอา(สิ่งไร้สาระ).............ก็หลุดโลกฯ"
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
/-การเทศน์ที่สั้นที่สุด ของอาจารย์พุทธทาส
ให้นักเรียน ที่มาแวะ และรีบเดินทางต่อ
เรื่องศีล ธรรม วิมุติ เป็นหลักของหัวใจปฏิบัติ ของพุทธศาสนา
"ศีลมีข้อเดียว..............รู้ว่าชั่วก็ละโดยเด็ดขาด
ธรรมมีข้อเดียว............รู้ว่าเป็นกุศลก็เจริญให้ยิ่ง
วิมุติมีข้อเดียว..............ไม่ทุกข์ ไม่สุข แต่เย็น"
สาธุ
..
..
Originally shared by Hug birds save earth
เดินทางหมื่นลี้ มีก้าวแรกเสมอ(เหมาเจต๋ง)
การเดินทางที่ยิ่งใหญ่คือ"ความกล้าหาญที่จะเปลี่ยนนิสัยตนเอง"
"จักขุมา.......................มีวิสัยทัศน์ ที่เที่ยงตรง ชัดเจนไม่ลำเอียง
วิธุโร............................บริหารจัดการชีวิตและงาน อย่างโปร่งใส
นิสสยสัมปันโน.............มีนิสัยดี จนไม่ขาดผู้อุปถัมภ์"
รีบทำนะสหาย ถ้ายังหายใจอยู่
เวลา กรรม มัจจุราช ไม่เคยคอยใคร
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
"ตนแล..................เป็นที่พึ่งแห่งตน
ใครไหน................จักเป็นที่พึ่ง(ทุกเรื่องได้นั่น)
ตนอันฝึกดีแล้ว.......จึงเป็นที่พึ่งแท้ ที่สำคัญ
ผู้รู้นั้น.....................จึงเร่ง ฝนฝึกตนฯ"(พุทธพจน์)
ธรรมอันเป็นที่พึ่ง ทั้ง10
ที่เราต้องฝึก จึงจะพึ่งตนเองได้ คือ
1.-ฝึกเป็นคนมีศีล
2.-ฝึกเป็นคน มีความรู้รอบตัว
3.-คบมิตรคนดีที่อุปการะกันได้
4.-เป็นผู้รู้จักรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นอย่างนอบน้อม ไม่แข็งกระด้าง
5.-มีจิตอาสา น้ำใจดูแล เพื่อน ให้โอกาสชีวิตที่ด้วยโอกาส
6.-สนใจศึกษาปรัชญาชีวิต แลกเปลี่ยความคิดเห็นกับนักปราชญ์
7.-มีความเพียร ตามวัย ตามกาล
เพียร ฝึกอยู่ร่วม อยู่รอดในโลก ที่แข่งขัน สุขจากการแบ่งปัน
เพียร ล้าง ขยะปรุงแต่งจิตภายใน
-วัยเด็กเร่งเรียนรู้วิชา
-วัยหนุ่มหาทรัพย์สร้างหลักฐาน
-วัยกลางคน มีศีลธรรมปรัชญาชีวิตดีๆนำชีวิตกัน
-วัยปลาย จิตผ่องใส ให้แสงสว่างธรรมะแด่ปวงชน
9.-มีความอิ่มใจ ในกุศลทุกขณะจิต(สันโดษ)เป็นยอดทรัพย์
10-มีการพัฒนาสติปัญญา เป็นปรีชาญาณ
มีวิชา เป็นแสงส่องรู้จักโลก มีวิชชา เป็นแสงส่องใจ
พ้นเพลิงอารมณ์ทุกข์และเพลิงกิเลส ด้วยการ ทำอาสวะให้สิ้น
.............................................
สันโดษ คือยอดทรัพย์ ทรัพย์แปลว่า เครื่องทำให้ปลื้มใจ
1.เมื่อธรรมชาติ มีผู้เมตตาให้ ต้อง....."ยถาสันโดษ"
ยินดี ตามที่ได้รับ ไม่เรียกร้องเกินเหตุ
2. เมื่อทำงาน ให้ทำเต็มกำลังความสามารถ....."พละสันโดษ"
3.เมื่อมีความสามารถไม่จำกัด ต้องรู้จักพอ สุขจากการแบ่งปัน.."สารุปสันโดษ"
4.เมื่อมีครอบครัว บริวาร ต้อง ยินดีดูแลให้ความเที่ยงธรรม.."สาทารสันโดษ"
5.เมื่อบริหารงานส่วนรวม
ต้องดูแล ปกป้อง รักษา พัฒนา อย่างยั่งยืน
ไม่โลภเอาสมบัติสาธารณะเป็นของตน.."สาธารณะสันโดษ"
................................
นาถกรณธรรมนี้ ท่านเรียกว่าเป็น พหุการธรรม หรือ ธรรมมีอุปการะมาก
เพราะเป็นกำลังหนุนในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตนและ
ประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์
D.III.266, 290;
A.V.23 ที.ปา. 11/357/281; 466/334;
องฺ.ทสก. 24/17/25.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=324
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ชนะทุกข์ แบบชาวพุทธ
1.สภาวะทุกข์......ฝึกทำใจยอมรับในไตรลักษ์
2.เวทนาทุกข์......ฝึกอดทนพันเท่า
3.อารมณ์ทุกข์....ฝึกชงอารมณ์ปีติ สุข สงบ เย็น แทนฯ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
สวัสดี สหายในธรรม
การสวดมนต์ เป็นการเจริญ ภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญาอย่างดี
ไม่ให้เรา ตกต่ำกว่า มาตราฐานมนุษย์ ได้ง่ายๆ
และมีโอกาศพัฒนา สุงขึ้น ยิ่งขึ้น จนพบพระนิพพานด้วยตนเอง
ปู่ชอบ บท อิติปิโส และความหมายของ บทสวด โอวาทปาติโมกข์
//ตัดทาง ไม่ไปสู่อบาย
ทำความฉลาด ทางดีทั้งหลาย ให้ปรากฎ
ชำระจิต ให้สงบ สะอาดสว่าง ไม่ละลด
ทั้งหมดคือ คำสอนพระศาสดา
//-ความอดทน ฝึกฝนตน เป็นยอดตะบะ
พุทธะ ล้วนมีนิพพาน เป็นเป้าหมาย
บรรพชิต คือผู้หมดเจตนา ทำร้ายทำลายใคร
สมณะทั้งหลาย ย่อมมุ่งหมายสันติธรรม
//-ไม่กล่าวร้าย ทำร้ายใคร
สำรวมสังวร ในปาฏิโมกข์นั่น
สงบ สงัด ทุกอริยาบทกัน
ฝึกจิต ให้สุงส่งยิ่งๆนั่น เป็นคำสอนพระศาสดา เอยฯ
--------------------------------
เจริญในกุศลธรรม
ปัจจุบัน มีการแต่ง บทสวดใหม่ๆมากมาย
ปู่ก็ส่งสมาธิจิตตาม และถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พ่อ แม่แห่งแผ่นดิน ทุกเย็น
สาธุ การทำดี ไม่มีการผลัดผ่อน เด้อ
อย่าประมาท เวลา อภิสังขาร และมัจจุราชมาร ผู้มีเสนามาก สวัสดี
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
//-ชีวิต จึงเฉกเช่น การพัฒนาการของผีเสื้อ
1.-เป็นไข่หนอน.......................เป็นทาสความอยากภายใน
2.-เป็นหนอน...........................เป็นทาสกระแสวัฒนธรรม ชาวโลก
3.-เป็นดักแด้...........................หยุด ตกผลึกความคิด เปลี่ยนแปลงภายใน
4.-เป็นผี้เสื้อ ผู้เสพแต่น้ำหวาน จากดอกไม้
และมีปีกแห่งเสรีภาพ ที่จะโบยบิน
..........................................สัมมาสติ โพธิปัญญาตื่น
พบ บรมสุข ของชีวาในชีวิต จากวิมุติธรรม สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
วิมุติมีสองรส
1.เย็นภายในจิต วาจา ใจ กาย ถาวร
เพราะ สัมมาสติโพธิปัญญาตื่น
มาล้างขยะปรุงแต่งจิต
ทั้งที่เป็น อาสวะ สาสวะ สิ้น เป็นอนาสวะ
เลิกเป็นทาสจิตปรุงแต่ง
สิ้นอุปาทานในสังขาร
"เตสัง วูปสโม สุโข"
2.เย็นภายนอก เพราะสุขจากการแบ่งปันให้ชีวิตอื่นเป็นสุข
และเราได้รับผล ความสุขนั้นด้วย
"หิตายะสุขายะ"
..
..
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
ฐิตา:
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ขอบคุณครับ มหัศจรรย์แห่งเวลา
จักรวาลประกอบด้วย
1.พลังงาน มวลสาร เป็นผู้แสดงละคร เป็นทุกสรรพสิ่ง
2.กฎ กติกา มารยาท ของ ธรรมชาติเป็นผู้กำกับ
3.เวลา เป็นผู้ตัดสิน
4.อวากาศเป็นเวทีแสดง
...................................
เวลา ในความคิดมนุษย์
1.เป็นลำดับการเปลี่ยนแปลง ของสรรพสิ่ง
2.เวลาหมือนลูกธนู เดินหน้า ไม่สิ้นสุด
3.เวลา คือมิติหนึ่งของธรรมชาติ
เหมือนสายน้ำ เดินไม่เท่ากัน เร็ว ช้า หยุด ได้ (ไอสไตน์)
4.นาฬิกาชีวะภาพ เปลี่ยนแปลงได้
..................................
นาฬิกาชีวะภาพ เป็นระบบมหัศจรรย์หนึ่งของแต่ละชีวิต
จะมีพฤติกรรมตามกาลเวลา
ในแต่ละวัน คืน เดือน ฤดูกาล
นาฬิกาชีวะภาพ แต่ละคนไม่เหมือนกัน และเปลี่ยนตามวัย
ดังนั้นถ้าเราเข้าใจ ยอมรับ ปรับตัวตามสภาพ ชีวิต็ปกติสุขมากขึ้น
....................................
นาฬิกาชีวะภาพ สมัยหนุ่มเหลือมาก สามทุ่ม กำลังตาใส
เดี๋ยวนี้เหมือนเด็กๆ เป็นเฒ่าทารก
ตื่น กิน เล่น เรียน นอน วันละหลายๆรอบ
แต่เราเข้าใจ ยอมรับสภาพ ชีวิตก็ไม่มีปัญหา สนุกไปอีกแบบ
หรรษา กับมหัศจรรย์ ของเวลานะ
.......................................
"จากธาตุรู้...........เกิดความรู้
ความรู้................สร้างตัวรู้
ตัวรู้ตื่น................เปลี่ยนแปลง เป็นผู้รู้
ผู้รู้......................หรรษา กับญาณหยั่งรู้ฯ"
..
..
//-สวัสดียามเช้า ท่านแมงมุม...........ชาวธรรมะ
ท่ามกลาง หมอกสีขาว บดบังทัศนะ .ยังมีที่เย็นให้อาศัย
ก็ใจเรา บ่เร่าร้อน ตามกระแสโลก ..ธรรมใดๆ
เพราะทุกสิ่งไซร์ มีเกิด ดับ .............ธรรมดา
//-ทุกอย่างในโลก งดงาม.......... ...เพราะแตกต่าง
มนุษย์ มีสติ ปัญญาว่าง อาจารย์สอน..ให้เลือกนั่น
ทั้งละชั่ว ทำดี ไม่ติดดี ...................จิตย่อมเบาทุกวัน
เวลา มัจจุราช.................................บ่เคยคอยใคร
//-ช่างไม้ ถากด้วยขวาน..................ขึ้นรูป
สิ่วสะกัด เป็นลายรูปลักษ์ ...............ให้ชวนฝัน
กระดาษทรายขัด ดูดี ......................งดงามกัน
สีเคลือบ แวววับ ดั่งเนรมิต ..............จับจิตคนฯ
//-ผู้ใฝ่รู้ จึงเร่งละ ..............................กิเลสหยาบ
คอยสะกัด นิวรณ์ ด้วยสติ ................ฝึกดีนั่น
สำรวม มองกระแส โลกธรรม.............อนิจจัง ทุกข์ อนัตตากัน
ละทั้งดีชั่ว ทุกข์ สุขนั้น เลิศล้ำงาม.....พุทธคุณฯ
//-ปู่ส่งเสียง เจี๊ยกๆเตือนภัย ...............อวิชชา มาตลอด
ด้วยตัณหา ชอบเกาะคอ ....................ผู้ที่คิดว่ารู้นั่น
อวจนะ แล้วแต่ บุญบารมีใคร............. จักเข้าใจกัน
ว่าง ช่วยตนท่าน เข้ามา..................... ช่วยร้อยมาลัยฯ
//-อันมาลัย จากใจ .............................ให้ผู้ใฝ่ดีและรู้
เป็นเพื่อน เตือนสติ ข้ามภพชาติ..........กาลนั่น
ภควัน ค้นพบ พุทธบริษัท ....................ส่งสืบทอดกัน
โพธิปักขิยะธรรม คือทางปฏิบัติ ...........อย่าละเลยฯ
//-ไม่งั้นชีวิต ดั่งคนออกแรง .................ยกไถลอย
เชื้อหญ้ารกเรื้อ (กิเลส ตัณหา อุปทาน)หาดับไม่
หมดโอกาสหว่าน บุญ กุศล มงคล .......อริยะธรรมสู่ใจ
ได้แต่ เป็นควายเขากาง บ้าน้ำลาย......ไล่ขวิดคนฯ
//-ช่วงนี้ ลูกหลาน .................................ปลีกเนกขัม
ปู่ก็อาสาช่วย งานเศษฐกิจพอเพียง ......กับสหายนั่น
แจกพันธุ์ปลูกพืชปลอดสาร .................ชีวิตปลอดภัยกัน
เพื่อ ตน สังคม สิ่งแวดล้อมนั้น ............ดียั่งยืน ในถิ่นไทยฯ
//-พระอริยะพ่อหลวง เมตตา ................ชี้ทฤษฎีใหม่
มาช่วยร่วม ทำเป็นรูปธรรม ..................อย่างแข็งขัน
ใครไป สันนายาวแม่จัน .......................ดูงานครูแปลกกัน
ผู้มุ่งมั่น ทำทฤษฎี พ่อหลวงเรา ...........ประจักษ์จริง
//-กายวาจาใจ สุจริตชน .......................ย่อมเที่ยงตรง
ไม่ มัวงมโข่ง ตีความ ...........................ตามใจฉัน
เอาแต่ใจ ก็เป็นทาส อภิสังขารมาร ......เสียเวลาชีวิตกัน
ทำชีวิต ให้มีสติชีวา สันติธรรมแท้.........อยู่ที่ใจฝึกดีเอยฯ
//-ก็ฝากไว้ แด่มวลมิตร .........................ใฝ่กุศล
ขอทุกคน มีกำลังใจ ทำมงคล ...............ให้แจ่มใส
แม้นความคิดต่าง ก็ธรรมดาโลก ............ยิ้มหัวไป
เพราะ กฎแห่งกรรมย่อม ทำหน้าที่ ...........สวัสดีเอยฯ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
//-ก่อนอื่น ต้องเข้าใจ พุทธศาสนาปัจจุบันมีสามมิติ
1.เพื่อ สืบศาสนา
มีอันโนมติ มากมาย หลายหลาย วัฒนธรรม พิธีกรรม
"ตามความเชื่อ แต่ละบุคคล คณะ"
2.เพื่อเกิดความ สันติธรรมแก่สังคม
จะใช้หลัก"ธรรมบาล"
สังคมใด มีและใช้หลัก
-บุพการี(ยินดีทำคุณให้ผู้อื่น)...กตัญญู(รู้คุณและตอบแทน)
-หิริ(รู้ว่าความชั่ว น่าละอาย...โอตตัปปะ(เกรงกลัวผลชั่ว)
-มงคล(ทำหน้าที่ เพื่อได้ สิทธิ แห่งการโชคดี)
-หิตายะสุขายะ...ทักษิณาทาน สุขเพราะทำให้ชีวิตอื่นเป็นสุข
3.ทำนิพพานให้แจ้ง
ใครๆก็อยากจะมีความสุข
ความสุขอยู่ที่ใจ
-อามีสสุข สุขที่ต้องใช้กุญแจ ที่เป็นสิ่งนิกกายมาไข
เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ เสพสุข สบายจากวัตถุ
-นิรามมิสสุข
สุขจากพ้นอำนาจกุญแจความสุข
สุขจากสงบ สงัด สันโดษ สมถะ พอเพียง อิๆ
-นิพพานสุข
สุขเมื่อ ละชั่ว ทำดี ชำระใจ จนพ้นบ่วง
ความคิด อารมณ์ อุดมการณ์ ความรู้ สัญชาติญาญนักล่า อิๆ(ทำอาสวะให้สิ้น)
...................................
//-ธรรมของพุทธศาสนา เพื่อ อนุเคราะห์์โลก
-สังขารโลก...โลกที่ปรุงแต่งเป็น"ตัวเรา"แต่ละคน
(มีนิพพารให้แจ้งเป็นที่สุด)
-สัตว์โลก...โลกที่ปรุงแต่งเป็นสังคม
(มีธรรมบาล เป็นหลัก)
-โอกาสโลก..โลกคือระบบชีวาลัยที่ลอยอยู่ในอวกาศ(สิ่งแวดล้อม)
มีความรัก(มหาเมตตา) รักษ์โลกธรรม เป็นหลัก
...................................
จะประกอบด้วย
หลักการ (ปริยัติ)
หลักฝึกฝน(ปฏิบัติ)
หลักรู้(ปฏิเวธ) เป็นประจักษ์นิยม ด้วยตนเอง
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
1 Sep 2015
วันนี้วันพระ พระแท้อยู่ที่ใจ สาธุ
ธรรมชาติของชีวิต ๗ ประการ
(อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อรกานุสาสนีสูตร)
ในอรกานุสาสนีสูตร แห่งคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ได้แสดงว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนด้วยอุปมา ๗ ประการด้วยกัน คือ
๑. ชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง กล่าวคือ หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่ออาทิตย์ขึ้นมา ก็พลันแห้งหายไป ชีวิตมนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกันคือนิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแคบมาก จะพึงเข้าใจได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดแล้วจะไม่ตายไม่มี (ชีวิตของมนุษย์ประมาณ ๑๐๐ ปี เกินกว่านั้นไปก็มี แต่เป็นส่วนน้อย)
๒. ชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนฟองน้ำ กล่าวคือ เมื่อฝนตกหนักฟองน้ำ (อันเกิดขึ้นเพราะฝน) ย่อมแตกไปเร็ว ชีวิตก็ตั้งไม่ได้นาน เช่น ต่อมน้ำ
๓. ชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ กล่าวคือ (น้ำเป็นของไม่แยกกัน) รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ก็พลันกลับเข้าหากัน คนที่ยังมีชีวิตก็ดุจกัน ถ้ายังมีปัจจัยสนับสนุนกยังคงอยู่ได้
๔. ชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา กล่าวคือ แม่น้ำไหลลงจากภูเขาไหลไปไกล กระแสเชี่ยว พัดสิ่งต่าง ๆ ไปด้วย ไม่มีหยุด (แม้สักครู่เดียว) โดยที่แท้ แม่น้ำมีแต่ไหลเรื่อยไปเท่านั้น
๕. ชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนก้อนเขฬะ (น้ำลาย) กล่าวคือ บุรุษที่แข็งแรงอมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น แล้วพึงถ่มไปได้โดยง่ายดาย
๖. ชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ กล่าวคือ ชิ้นเนื้อที่บุคคลใส่ไว้ในกระทะเหล็กร้อนตลอดวันยังค่ำ ย่อมจะไหม้ไปอย่างรวดเร็ว
๗. ชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกฆ่า กล่าวคือ แม่โคที่จะถูกฆ่า ซึ่งเขานำไปสู่ที่ฆ่า ก้าวเท้าเดินไปเท่าใด ก็ใกล้ความตายเข้ามาเท่านั้น
http://www.mongkoltemple.com/page02/daily019.html
..
..
"พระพุทธเจ้า ในอดีต ปรินิพพานไปแล้ว
พระพุทธเจ้า ในอนาคต ยังมาไม่ถึง
ให้พึ่งพุทธเจ้า ที่อยู่ในใจ
คือแสงแห่งสัมมาสติโพธิปัญญาที่ตื่นแล้ว"
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
1.อารมณ์มนุษย์ เหมือน ค็อกเทล
2.ความคิด เป็นผู้ชง จิตเป็นผู้ดื่ม แล้ว เมาโลก
3.ถ้า เบื่อ ทุกข์ โศก เศร้า เหงา หดหู่ ฟุ่งซ่าน ย้ำทำ
ลองฝึกชง อารมณ์ที่ชิวๆ ดีต่อ สุขภาพ
4.อารมณ์ที่ให้คุณ เราชงเองได้
ปิติ........................อิ่มในกุศลที่เราเคยทำ
สุข...........................จากการช่วยให้ชีวิตอื่นเป็นสุข เราได้รับผลสุขด้วย
อุเบกขา....................ใช้ปัญญา แทนอารมณ์
เอกจิต.......................จิตที่ สงบ สะอาด สว่างเย็น
และแอบมอง กฎ พลัง เวลา อวกาศ ปรุงแต่ง
มายา ลีลา อนัตตา ธรรมชาติ เล่นละคร
"คนทั้งโลก หลงอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องไม่"(พุทธพจน์)
สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ในมุมมองของเอเชีย
1."มนุษย์แท้ ควรมีวิชา บู้(ยับยั้งความขัดแย้ง)
2.และบุ๋น(ปรีชาญาณรู้แจ้ง และคุณธรรม)
3.และให้บุ๋น กำกับบู้
4.สูงสุดของความเป็นมนุษย์แท้ คือ สร้าง และเสพศิลป์
......................................................
หนึ่งในวิชาบู้ คือ วิชาต่อสู้ป้องกันตัว ของญี่ปุ่น
"วิชานินจา" เป็นวิชา นอกระบบ ของ นักรบในเงามืด
คู่กับ "วิชา บูชิโด" ของชาวซามูไร นักรบ ที่ที่แจ้ง
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
"ชีวิต มีขึ้น...........................มีลง
เมื่อขึ้น................................ต้องเตรียมทางลง ที่สง่างาม
เมื่อขึ้น................................จะได้พวก
ยามลง................................จะพบเพื่อนแท้ฯ"
https://www.youtube.com/watch?v=FVh8-xgPQZU
上海灘 :Shang Hai Tan
Long ban long lau
maan lei tou tou gong seoi wing bat jau
Tou zeon liu sai gaan si
wan zok tou tou jat pin ciu lau
Si hei si sau long lei fan bat cing fun siu bei jau
Seng gung sat baai long lei hon bat ceot jan mei jau
Moi nei han nei man gwan zi fau
Ci daai gong jat faat bat sau
Zyun cin waan zyun cin taan
Jik mei peng fuk ci zung zaang dau
Jau jau hei jau jau sau
Zau syun fan bat ceng fun siu bei jau
Jing jyun faan baak cin long
Zoi ngo sam zung hei fuk gau
ผมขอแปลเนื้อเพลงเป็นภาษาไทยดังนี้ครับ
คลื่นกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว
เป็นแม่น้ำที่ทอดยาวหลายพันไมล์ไหลต่อเนื่องชั่วนิรันดร
ไหลชะล้างเรื่องราวต่างๆ ของโลก
กระแสน้ำเชี่ยวกราดที่ไหลผสมปนเปกันนี้
มันคือความสุขหรือความทุกข์
ยากนักที่จะบอกความต่างระหว่างความโศกเศร้าและความทุกข์ในกระแสน้ำ
ความสำเร็จ ความพ่ายแพ้
ยากนักที่จะเห็นในสายน้ำ
รักคุณ หรือ เกลียดคุณ
จงถามคุณ หากคุณรู้
เหมือนมหานที เมื่อไหลไปแล้วย่อมไม่หวนกลับ
ไหลผ่าน หลายเวิ้งอ่าว
ไหลผ่านหลาย ฝั่งหาด
ก็ยังไม่อาจหยุดยั้งการดิ้นรนต่อสู้นี้ได้
ทั้งความสุข และความเศร้าโศก
ไม่สามารถที่จะแยกแยะระหว่างสองสิ่งนีได้
ยังคงหวังที่เอาชนะคลื่นที่ถาโถมเข้ามานี้
หัวใจฉันพร้อมรับการขึ้น การลงนี้
ยังคงหวังที่เอาชนะคลื่นที่ถาโถมเข้ามานี่
หัวใจฉันพร้อมรับการขึ้น การลงนี้
http://hakkapeople.com/node/3390
..
..
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
ฐิตา:
โลกุตระปัญญา(โพธิปัญญา)นำไปสู่ความเย็น
โลกียะปัญญา นำไปสู่ความร้อนครับผม สาธุ
Originally shared by Suraphol Kruasuwan Sep 23, 2015
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,
ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุเป็นของร้อน
รูปทั้งหลายเป็นของร้อน
วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน
สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน
ความเสวยอารมณ์(เวทนา)เป็นสุขเป็นทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
เป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน
อาทิตตปริยายสูตร
ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิล
ทีเดิมบูชาไฟ ทรงตรัสว่า
ไฟที่ควรบูชาคือ ไฟ แห่งสัมมาสติโพธิปัญญา
ไฟที่ไม่ควรบูชา คือ ไฟ จาก กิเลส ตัณหาอุปาทาน
ราคะ โทสะ โมหะ
ทำให้ผัสสะโลก ธรรม แล้วร้อน
..........................................
สรุป เมื่อขาดสติปัญญากำกับ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะ โลก ธรรม แล้วร้อน เพราะ
ไฟ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ในตน ยังมีเชื้ออยู่
สร้าง อารมณ์ร้อนขึ้นในตน สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
https://www.youtube.com/watch?v=fh3KuBS6AqA
บทสวด กรณียเมตตสูตร พร้อมคำแปล
บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
ยัสสานุภาวะโต ยักขา ยัมหิ เจวานุยุญชันโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ เอวะมาทิคุณูเปตัง
เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง รัตตันทิวะมะตันทิโต
ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
แปลบทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
เหล่า เทพยาทั้งหลาย ย่อมไม่แสดงอาการอันน่าสะพรึงกลัว เพราะอานุภาพแห่งพระปริตรนี้ อนึ่งบุคคลไม่เกียจคร้าน สาธยายอยู่เนือง ๆ ซึ่งพระปริตรนี้ ทั้งในกลางวันและกลางคืนย่อมหลับเป็นสุข ขณะหลับย่อมไม่ฝันร้าย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงสวดพระปริตร อันประกอบไปด้วยคุณดังกล่าวมา ดังนี้เทอญ
บทกะระณียะเมตตะสุตตัง
ทำ ให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
กิจ ที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำ ก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง
๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย
๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด
๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . . . .ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ขอ สัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์-มีลำตัวยาวหรือ ลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม
๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ที่ มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือ กำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด
๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้าย ต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน
๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิต ฉันนั้น
๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ
๙. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ผู้ เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)
๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้
http://www.astroneemo.net/index.php?option=com_content&view=article&id=1432:2013-03-30-09-27-50&catid=176:-12--&Itemid=80
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ภาษาคน ภาษาธรรม
..................................
วรรณกรรมพุทธศาสนา ที่สืบทอดมา
ล้วนมี"สัจธรรมซ่อนอยู่"
หน้าที่เรา ต้องแกะหาความหมายที่แท้จริง เอามาปฏิบัติ(พุทธทาส)
.................................
คำสอน และความสนใจ พุทธธรรม แปรเปลี่ยนตามกาล
1.ยุค แสวงหา วิมุติ
"จำเดิม เราก็บอกเรื่องทุกข์ และดับไม่เหลือแห่งทุกข์"(พุทธพจน์)
2.ยุคแห่ง สุขจากจิตเอื้อเฟื้อ
เรี่มในพรรษาที่7
พรรษาที่ ๗ (ปีเถาะ)
ณ ดาวดึงส์เทวโลก
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้นแล้ว
พระบรมศาสดาเสด็จขึ้นเทวพิภพชั้นดาวดึงส์ทันที
โดยทรงยกพระบาทขวาขึ้นจากจงกรมแก้วก้าวขึ้น
เหยียบยอดภูเขายุคันธร แล้วยกพระบาทซ้ายก้าวขึ้นหยียบยอดเขาสิเนรุ
ทรงประทับนั่งบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ร่มไม้ปาริชาต
ท้าวสักกะเทวราชจอมภพผู้ปกครองดาวดึงสเทวโลกสวรรค์ชั้นที่ ๒ ป่าสวรรค์ ๖ ชั้น เสด็จขึ้นสู่สุสิตเทวพิภพสวรรค์ชั้นที่ ๔
เข้าเฝ้าพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมารดา
ทูลอัญเชิญให้เสด็จไปเผ้าพระบรมศาสดาตามพุทธประสงค์
พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือน
เทพยาดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมอยู่ที่นั้นบรรลุมรรคผล
สุดที่จะประมาณ ส่วนพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมาดา
ได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผลสมพระประสงค์ของพระบรมศาสดา
http://www.dhammathai.org/buddha/g54.php
ถอดความเป็นภาษาธรรม
หลังตรัสรู้ พุทธเจ้า สอนโอวาทปาฎิโมกข์(ปฏิวัติสู่ทางสว่างชีวิต)
มีผู้บรรลุ เป็นอริยะบุคคล พันเศษๆ
มีคำถามว่า....มนุษย์ที่เหลือ จะอยู่กันอย่างไรแบบมี
ธรรมบาล และเกิดวิญญูชนมากขึ้น...แม้นไม่อาจสิ้นอุปทานทุกข์
พรรษาที่ึ 7 จึงจัดสัมนา ให้ พวกผู้นำปวงชน ลัทธิ ปราชญ์
มาหาหลัก สังคมที่เป็นธรรมบาลที่เป็นสากล"
และต้องใช้ภาษา ปรากฤต(ต่อมากลายเป็นสันสกฤต) เป็นภาษากลาง
ประชาชนสนใจเข้ามารับฟังโดยการแปลของพระโมคคัลลานะ
สรุปวันสุดท้ายคือ...สังคมจะ เป็นสุขได้คือ
2.1.ส่งเสรีม สร้าง บุพการี กตัญญชน ให้มาก
2.2.ให้สังคม มี หิริโอตตัปปะ
2.3.ใช้หลัก มงคลชีวิต และทักษนาทาน เป็นธรรมณูญชีวิต
"หิตายะ สุขายะ"
"เมื่อช่วยกันทำให้ชีวิตอื่นเป็นสุข เราก็รับอนิสงค์สุขด้วย"
เป็นการเรี่มต้น ยุค"มหายาน"
เมื่อจบสัมนา ก็มีการทดลองปฏิบัติ
ผู้ที่ มีความรู้ ความสามารถ ทรัพย์ ก็แบ่งปัน ให้ประชาชน ผู้จำเป็น
และได้กลายมาเป็น ทำบุญเปรตพลี บุญเดือนสิบ สลากภัต
เทกระจาด ในปัจจุบัน
...........................
3.ยุคญาณทัศนะ
มีผุ้รู้หลากหลาย มาขยายความคิดเห็นตน เกิด ลัทธิใหม่ๆมากมาย
ต่างนับถือ อาจารวาท(ความเห็นครูบาอาจารย์) สำคัญกว่า
คำสอนพุทธเจ้า ทุกวันก็ยังเป็นเช่นนี้
4.ยุคอารามรุ่งเรือง
แข่งกันสร้าง วัด วิหาร อารามให้พิศดาร เป็นอนุสาวรีย์ส่วนตน
ของอาจารย์ ที่ตนชอบ เชื่อ และคิดว่า ใช่
ในนาม"สืบพระพุทธศาสนา"
...............................
เสียงขลุ่ย คืนสู่กอใผ่
เราหลงมาไกล จาก
-ยุควิมุติ
-ยุคจิตเอื้อเฟื้อ
-ยุคญาณทัศนะ
-ยุคอารามรุ่งเรือง
กลับไปหาแก่นแท้..วิมุติ
ทุกข์คือนรก สุขคือสวรรค์ นิพพาน คือเย็น
วิมุติมีสองรส
1.เย็นภายใน เมื่อ สัมมาสติโพธิปัญญาตื่น
มาล้างจิต สิ้นอาสวะ(ขยะปรุงแต่งจิต)
2.หิตายะสุขายะ
จิตเอื้อเฟื้อ จิตอาสา ช่วยให้ชีวิตอื่นเป็นสุข
และรับอนิสงค์นั้นด้วยกัน
"ดีด้วยกัน เติบโตแบบคู่ขนาน"
สาธุ
https://www.youtube.com/watch?v=lGBCW7He-_A
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
บุญ......แปลว่า สุขจากทำความดี
กุศล....แปลว่าฉลาด ฉลาดทั้งทางโลก และธรรม
"ฉลาดรู้ถ้วนทั่ว.......................ทำดี
ฉลาดรู้วิธี ราวี.........................กำหราบชั่ว
ฉลาดรู้วิธี พัฒนา ศักยภาพ.....ของตัว
ฉลาดพาจิตพ้นพันพัว..............สู่วิมุติธรรมฯ"
.....................................
"ฉลาดเลือก..............................ชัยภูมิ เพื่อชัยชนะ
ฉลาดเลือก ยุทธศาสตร์............ที่เหมาะสมกับจุดยืนของเรานั่น
ฉลาดเลือก ยุทธวิธี....................ที่เหมาะแก่จังหวะเวลากัน
ฉลาดสูงสุด คือรู้จักเลือกนั้น......เครื่องมือปรับตัว ที่สงวนพลังฯ"
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ชีวิตเราต้องปรับตัว อยู่กับ
1.กฎธรรมชาติ
2.วิวัฒนาการของธรรมชาติ
3.วัฒนธรรมของมนุษย์
4.กฎป่า
5.กฎปัญญาประดิษฐ์ (คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์)
6..อัตตา ที่เราปรุงแต่งเอง
ที่ต้องการ ให้เรา
-อยู่รอด อยู่ร่วมเป็น
-เป็นที่ยอมรับ
-เป็นผู้นำ
-และ ลงเวทีเป็น
//-มนุษย์เป็น"ชีวะยนต์" เครื่องยนต์ คอมพิวเตอร์ที่มีชีวิต(ขันธุ์ห้า)....
ธรรมะ ที่เป็นกุศล วิมุติ..อยู่ที่เรา คิด พูด ทำ อย่างไร..
ชีวิตเราก็เปลี่ยนแปลงไปตามนั้น..สาธุ
..
..
อารมณ์ที่ดีที่สุด ที่ควรมีไว้คือ อารมณ์ฌาน
-ปิติ...................อิ่มใจในสิ่งดีๆ ที่เคยทำ และทำต่อไป
-สุข...................จากจิตเอื้อเฟื้อ และ แบ่งปันสิ่งดีๆให้แก่กัน
-อุเบกขา...........สงบ เย็น ใช้ปัญญา แทนอารมณ์ ชอบ ชัง
-เอกจิต.............จิตปรุงแต่ง เป็นหนึ่งเดียวกับ สัมมาสติโพธิปัญญา เคารพธรรม สาธุ
..
..
สิ่งที่ขัง จิตวิญญาณเราไว้คือ
วิสัยทัศน์ ทัศนวิสัย ที่เรา มองดูโลกนั่นเอง
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่างเคารพธรรม...
ธรรมะคือ
1.ธรรมชาติทั้งหมด
2.กฎของธรรมชาติทั้งหมด
3.วิธีปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อธรรมชาติ
4.ผลจากการปฏิบัติ อย่างถูกต้อง กับธรรมชาติ
(หลวงพ่อ พุทธทาส ภิกขุ) สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
Happy day to you
วันนี้ คือวันสำคัญที่สุด
เมื่อวาน ใช้ไปแล้ว
พรุ่งนี้ เราอาจไม่มีโอกาสใช้
Today, the most important
Yesterday is gone
Tomorrow may not be used
หรรษา มีชีวาในชีวิต อิ่มใจในกุศลทุกขณะจิต คือกำไรชีวิตที่แท้จริง
"ทุกคนมีเวลาบนโลก สามวันเท่ากัน
วันวาน............................ใช้ไปแล้ว
วันพรุ่งนี้..........................อาจไม่ได้ใช้
วันนี้................................ดีที่สุดที่จะทำความดีฯ"
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปในที่ดีๆ...ย่อมดี ต่อชีวิตแน่นอน
(ดัดแปลงจากคำสั่งสอน หลวงพ่อ ปัญญานันทะภิกขุ)
..
..
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version