ขอนอบน้อมแด่.. พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.. พระองค์นั้น...
พุทธชยันตี หมายความว่าอะไร?พุทธชยันตี โดยรากศัพท์ของคำว่าชยันตีมาจากคำว่า “ชย” คือชัยชนะ
อันหมายถึงชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวง
อย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก
พุทธชยันตีจึงมีความหมายว่าเป็น การตรัสรู้ และ การบังเกิดขึ้น ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความ ในความหมาย
ถึงชัยชนะของพุทธศาสนาและชาวพุทธด้วย เช่น การได้รับเอกราช
และมีสิทธิในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นครั้งแรก ของชาวพุทธใน
ประเทศศรีลังกา การฉลองปีใหม่ชาวพุทธโดยไม่มีเหล้าสุรา ยาเสพติด
สิ่งมึนเมาทั่วทั้งประเทศศรีลังกา การเอาชนะสิ่งเลวร้ายในสังคมจนทำให้
ประเทศศรีลังกามีสถิติอาชญากรรมต่ำมากๆที่มาและความสำคัญพุทธชยันตี (
बुद्ध जयंती,
Buddha Jayanti) เป็นชื่อเรียกงานเฉลิมฉลองหรือพิธีบูชา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในวาระแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับ
วันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั่นเอง พุทธชยันตีนี้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวพุทธ
นานาชาติอย่างในประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงการ
เฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.2500 (ถือกันว่าเป็นกึ่งพุทธกาล)
แต่สันนิษฐานว่ามีการเริ่มต้นงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตีนี้ ภายหลังจากที่ประเทศศรีลังกา
ได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2491 และจากการที่ ดร.อัมเบดการ์
(Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ได้ฟื้นฟูพุทธสาสนาในประเทศอินเดีย
โดยมีการนำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ เมื่อ
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (อินเดีย ศรีลังกา นับเป็นพ.ศ.2500 เร็วกว่าไทย 1 ปี)
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ นอกจากนี้รัฐบาลประเทศอินเดีย
ยังได้สร้าง
สวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระนี้ด้วย
สำหรับรัฐบาลไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ร่วมเฉลิมฉลอง
พุทธชยันตี
25 พุทธศตวรรษ ด้วยการสร้าง
พุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน ประกาศ
ให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยกำหนดให้วันพระหรือวันธรรมสวนะ
เป็นวันหยุดราชการ (ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 9 ลงวันที่
1 ตุลาคม 2499)
และมีการพิมพ์
พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุดฉบับแรก เป็นต้น
สำหรับการเฉลิมฉลองในระดับนานาชาตินั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด
“
ฉัฏฐสังคีติ” คือการ
สังคายนาพระไตรปิฎก
ระดับนานาชาติ โดยทาง
พม่านับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 6
แล้วได้จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกบาลี และคัมภีร์ทั้งหลาย ขึ้นเป็นจำนวนมาก
สำหรับวาระสำคัญในปีปัจจุบันเนื่องในมหาธัมมาภิสมัย พุทธชยันตี 2,600 ปี
แห่งการตรัสรู้นั้น ถ้าถือตามหลักการคำนวณปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง
วิสาขบูชา 2554 – วิสาขบูชา 2555 ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชา 2554 ที่ผ่านมานี้
(17 พ.ค.2554) เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ 2599 ปีเต็ม และเริ่ม
เข้าสู่ปีที่ 2,600 แห่งการตรัสรู้
โดยคำนวณจากการนำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับหลังจากการปรินิพพาน บวก
ด้วย 45 อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำเนินพุทธกิจ
ภายหลังการตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน (สูตรการคำนวณ จำนวนปี
การตรัสรู้ = ปี พ.ศ. + 45 ) ดังนั้นในวันวิสาขบูชาปีพ.ศ.2555
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ 2,600 ปีบริบูรณ์ ในประเทศต่างๆ ที่มีชาว
พุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา 3 ปี
(2553-2555) ดังเช่นในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดียเป็นต้น ได้มีการจัด
งานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัวและยิ่งใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การ
สหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ก็มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชา
ที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดงานในระดับภาคประชาชนกว่า 2 ปี
ที่ผ่านมาในวงจำกัด ส่วนในระดับรัฐบาล สมควรที่ รัฐบาลไทยจะประกาศ
ให้มีการเฉลิมฉลองใหญ่ตลอดปีพุทธศักราช 2555 นี้ อย่างเป็นทางการ : padermที่มืดก็แจ่มแจ้ง ดุจแสงสุรีย์ฉาย
โง่งมก็ค่อยคลาย กมเลศสว่างพลัน
ข้ออรรถบรรยาย อธิบายชยันติ์นั้น
ขอบคุณพระคุณอัน อธิธรรมอรรถา
ตั้งจิตประพฤติธรรม์ มนมั่นจะบูชา
แด่องค์พระสัมมา วสถ้วนชยันตี รจนา
โดย..
สรณ์เมื่อก้มลง กราบพระ ฉันจะ ไม่อธิษฐาน
เพราะหนึ่งอึดใจ ที่ไม่ มีความต้องการ จิตใจช่างสะอาดสะอ้านเหลือเกิน
รจนาโดย..
อรุณวดี อรุณมาศpaderm -http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=20198