ผู้เขียน หัวข้อ: มองไทยในสื่อบันเทิง...ฝนตกขึ้นฟ้า: อำนาจ ศาสนา อาชญากรรม  (อ่าน 1103 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




ฝนตกขึ้นฟ้า: อำนาจ ศาสนา อาชญากรรม


          ‘ฝนตกขึ้นฟ้า’ เป็นภาพยนตร์เรื่องยาวลำดับที่ 8 ของ ‘เป็นเอก รัตนเรือง’ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังของไทย โดยนำ
เนื้อเรื่องมาจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ ‘วินทร์ เลียววาริณ’ นักประพันธ์ฝีมือเยี่ยมในยุคปัจจุบันของไทย การผนึกกำลังกัน
ของศิลปินชื่อดัง ระหว่างนักประพันธ์กับผู้สร้างภาพยนตร์ครั้งนี้จึงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจยิ่งของไทย

          ที่ว่าน่าสนใจก็เนื่องมาจาก‘วินทร์’ ได้ชื่อว่าเป็นนักประพันธ์ที่ ‘ทัน’ สังคม เขามักเสนอนัยทางสังคมปัจจุบัน  ผ่านงาน
ประพันธ์ของเขาอยู่เนือง   ๆ    การเขียนนวนิยายเรื่องนี้     ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในสังคมไทย     จึงมีนัยสำคัญ
บางประการ    และเมื่อเป็นเอกได้หยิบ   นวนิยายเรื่องนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์    จึงช่วยตอกย้ำความสำคัญ   ของนัยดังกล่าว
ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

          ‘ฝนตกขึ้นฟ้า’นวนิยายและภาพยนตร์ชื่อแปลกนี้แสดงการกลับหัวกลับหางกับความเป็นจริง เพราะฝนย่อมตกจากฟ้า
มาสู่ดิน แต่นี่คือปรากฏการณ์พิเศษที่ผิดไปจากธรรมชาติและความเป็นจริง ทำให้เกิดการคาดหวังว่าเนื้อหาและแนวคิดน่าจะ
บ่งบอกนัยถึงสิ่งที่สวนทางกับ   ‘จารีต’   อันคุ้นเคยในความคิดของคนทั่วไป  หรือไม่ก็สะท้อนแนวคิดถึงการต่อต้านสิ่งที่เคย
ดำรงอยู่มาเป็นเวลาช้านาน

          น่าเสียดายว่า  เหตุการณ์ที่  ‘ตุล’  ตัวเอกของเรื่องมองเห็นอะไรกลับหัวนั้น   เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับตัวละครโดยตรง
เป็นการสร้างบุคลิกลักษณะตัวละคร และวิถีชีวิตของตัวละครในมุมใหม่ถือเป็นนวัตกรรมทางวรรณศิลป์อย่างหนึ่ง แต่ตัวละคร
ที่สร้างขึ้นนี้มิอาจสื่อให้เห็นแนวคิด ที่ซ่อนอยู่ในตัวละครนี้ได้อย่างชัดเจนนัก  นี่เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความแปลกของตัวละคร
ที่จัดเป็นอนุภาคสำคัญของเนื้อหามิได้มีพลังเพียงพอที่จะสื่อไปยังผู้รับสารได้


          ปรากฏการณ์ ‘ฝนตกขึ้นฟ้า’อาจสื่อถึงตัวละครในแง่ที่ตุลมีชีวิตที่ผันผวน กลับหัวกลับหางไปจากเดิม คือ จากอาชีพ
ตำรวจฝีมือดี รักความยุติธรรม และรังเกียจการรับสินบน  เขาถือเป็นตำรวจในอุดมคติของสังคมไทยเลยก็ว่าได้แต่เมื่อเขา
ทำงานพลาดจนต้องพบกับอิทธิพลมืด  บวกกับอารมณ์ฉุนเฉียวของเขาทำให้ชีวิตต้องผันแปรจากตำรวจผู้พิทักษ์ความผาสุก
ให้แก่ประชาชนไปเป็น ‘มือปืน’ ซึ่งเป็นอาชีพที่เขาเคยตามล่ามาก่อน

          แตกต่างกันตรงที่ว่า   ตุลทำงานให้องค์กรลับของนายแพทย์   ผู้มีนามแฝงว่า ‘ปีศาจ’ งานการเป็นมือปืนของเขาก็คือ
การเด็ดชีพนักเลง  อาชญากร  ซึ่งเป็นมารสังคม เพื่อผดุงสังคมที่ผาสุกไว้ให้ได้ ภายใต้ความเชื่อว่ามนุษย์อ่อนแอ และตกอยู่
ภายใต้ยีนแห่งความชั่วร้าย     ซึ่งมีอิทธิพลทำให้มนุษย์แปรเปลี่ยนจากผู้บริสุทธิ์ไปเป็นผู้ร้ายได้    ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องขจัดมนุษย์ผู้มียีนชั่วร้าย เพื่อมิให้แพร่พันธุ์ต่อไปและทำให้สังคมมีแต่ความสงบสุข

          ‘ตุล’   เป็นตัวละครที่ตกอยู่ใต้     ‘อำนาจ’   ที่เขาพยายามหลีกหนี   แต่ก็ไม่สำเร็จ  ดังจะเห็นว่าเมื่อมีอาชีพเป็นตำรวจ
ตุลก็อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ ซึ่งใช้กระบวนการต่างๆที่รัฐสร้างขึ้นเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ต่าง ๆนานา และนานเข้าก็ทำให้
เขารู้ว่าอำนาจของรัฐเป็นอำนาจที่มิได้บริสุทธิ์ยุติธรรมซ้ำยังมีช่องโหว่ให้หาผลประโยชน์ได้ด้วยตัวอย่างที่เป็นเอกเสนอไว้
ในภาพยนตร์  ก็เช่น  กรณีที่ตุลติดคุกอยู่  แต่ ‘ปีศาจ’ หัวหน้าขบวนการใต้ดิน  ก็ยังทำให้เขาออกจากคุกได้   (ด้วยช่องโหว่
ของอำนาจบางอย่าง)  หรือการที่เสนอให้เห็นถึงนักการเมืองซึ่งมีเบื้องหลังโสมม  จนกระทั่งตกเป็นเหยื่อที่ตุลจะต้องกำจัด
เพื่อผดุงความผาสุกของสังคมไว้ให้ได้




        ทว่าอำนาจที่ตุลพยายามหนีนั้น   ก็ไม่มีใดจะมีอำนาจที่ยิ่งใหญ่เท่าอำนาจมืดภายในจิตใจของมนุษย์เอง  เป็นอำนาจ
แห่งความทะยานอยาก    ความอยากได้ใคร่มี    และความต้องการมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่น     อำนาจมืดที่แฝงอยู่ในตัวมนุษย์
แต่ละคนนั้นเองที่ผลักดัน   ให้มนุษย์ต้องกระทำทุกวิถีทางให้ตนเองใช้อำนาจมืดที่มีอยู่    เพื่อให้มีบทบาทเหนือมนุษย์ผู้อื่น
และก้าวไปสู่การเป็นผู้ครอบครองวัตถุมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

          แต่ไม่ว่าจะเป็นอำนาจภายใต้กฎเกณฑ์ของรัฐ     อำนาจที่อยู่เหนือขอบเขตของรัฐ     และอำนาจมืดในจิตใจมนุษย์ 
ล้วนต้อง  หาที่พึ่งพิงเสมอเป็นเอกเล่นกับ‘ศาสนา’ได้อย่างน่าขบคิด  ศาสนากลายเป็นเกราะกำบังอันตรายเป็นเครื่องห่อหุ้ม
ให้คนไม่บริสุทธิ์    กลายเป็นผู้บริสุทธิ์   ดังจะเห็นว่าตุลเองก็เคยปลอมตัวเป็นพระไป   ‘ฆ่า’   นักการเมืองผู้มีเบื้องหลังโสมม
จนกระทั่งตนเองถูกยิงที่หัว และเมื่อฟื้นขึ้นมาเขาก็กลายเป็นคนที่มองเห็นอะไรกลับหัวไปหมด  หรือเมื่อเขาหนีการถูกไล่ล่า
เขาก็หนีไปบวชเป็นพระ  โดยหวังว่าผ้าเหลืองจะช่วยปกป้องตนเองให้พ้นจากอันตรายได้   แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ    สุดท้าย
ตุลก็ต้องตายในผ้าเหลืองอีกครั้ง เขาถูกตามล่าไปฆ่าถึงในวัด เป็นเอกชี้ให้เห็นว่า   วัดกลายเป็นพื้นที่ของ  ‘อาชญากรรม’
เป็นพื้นที่ของการทำลายล้าง มากกว่าเป็นพื้นที่ของความสงบสุขและหลีกพ้นจากกิเลสต่าง ๆ

          ‘ตุล’  ผู้ซึ่งเห็นอะไรกลับหัวไปหมด  เขาถูกชะตากรรมเล่นงานให้มีชีวิตกลับหัวกลับหางไปจากเดิม  จากผู้ใช้  ‘ปืน’
(อันเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความรุนแรง)เพื่อผดุงรักษาความผาสุกให้สังคมมาเป็นมือปืนเพื่อตามล่าผู้อื่น และในที่สุด
เขาก็เป็นฝ่ายถูกตามล่าโครงเรื่องอันหมุนวนเป็นวงกลมเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงความผันผวนของชีวิตที่ต้องตกเป็นเหยื่ออยู่ภายใต้
วงจรของชะตากรรมซึ่งตนไม่มีโอกาสเลือก และไม่มีโอกาสหลุดพ้นไปจากวงจรนี้ได้


          โดยรวมของเนื้อหาภาพยนตร์เป็นการนำเสนอถึงเรื่องราวของ ‘อาชญากรรม’ และความรุนแรงในสังคมไทย  อันเป็น
ปรากฏการณ์ที่เราต้องเผชิญหน้าอยู่กับมัน ดูเหมือนว่า‘อาชญากรรม’เหล่านี้จะอยู่รอบตัวเรา  ซึ่งเราเองก็มีโอกาสพานพบ
ได้ทุกเมื่อ มีโอกาสตกเป็นเหยื่อ     เป็นผู้ถูกกระทำ  และเป็นผู้กระทำได้ตลอดเวลา   ขณะเดียวกัน  ‘อาชญากรรม’  ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นก็มิอาจตัดสินได้อย่างถ่องแท้ว่าใครถูกหรือใครผิด ในเมื่อตำรวจและโจรต่างก็มีหน้าที่ต้องฆ่าและต้องล่า  เป็นผู้ใช้
ความรุนแรง  มีอำนาจในการใช้ความรุนแรง    โดยฝ่ายหนึ่งเป็นการใช้อำนาจอย่างถูกกฎหมาย และอีกฝ่ายเป็นผู้ใช้อำนาจ
อย่างผิดกฎหมาย

          ‘ฝนตกขึ้นฟ้า’ จึงเป็นภาพยนตร์ที่สอดประสานกันระหว่างนัยของ ‘อำนาจ ศาสนา และอาชญากรรม’ เมื่ออำนาจ
ถูกสร้างขึ้น       เพื่อเป็นเครื่องมือของผู้ใช้อำนาจ      ศาสนาก็อ่อนแอเกินกว่าจะทำให้มนุษย์รู้เท่าทันความชั่วร้าย   ดังนั้น
‘อาชญากรรม’ จึงแพร่หลายไปทั่วสังคม

          น่าเสียดาย  ที่ภาพยนตร์ใช้เทคนิค ตัดสลับกลับไปกลับมามากเกินไป   อาจไม่ถูกจริตกับคอหนังไทยซึ่งนิยมแต่เสพ
เรื่องราวที่ง่าย   ๆ    มุ่งเน้นแต่ความบันเทิงแต่เพียงอย่างเดียว       จึงอาจทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
สารที่น่าสนใจซึ่งผู้สร้าง  ตั้งใจจะสื่อไปยังผู้เสพจึงยังคงเดินทางไปไม่ถึงผู้เสพกลุ่มใหญ่ในประเทศ   ตราบใดที่ ‘อำนาจ’
ยังตกอยู่ในมือของผู้ใช้ความรุนแรง ‘ศาสนา’ ก็อ่อนแอจนมิอาจทำให้อำนาจมืดในใจของผู้คนสว่างได้ ซ้ำยังยอมให้พื้นที่
ของศาสนาครอบงำด้วยอำนาจของความรุนแรงแล้ว ‘อาชญากรรม’ ก็ยังเต็มแผ่นดินต่อไปตราบนานเท่านาน...

          ปรากฏการณ์ ‘ฝนตกขึ้นฟ้า’ จึงเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้มนุษย์ในสังคมพานพบกับ ‘อำนาจ’ และ ‘ความรุนแรง’


จาก http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/1812/--.aspx

<a href="https://www.youtube.com/v/gWAxULYireI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/gWAxULYireI</a>
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...