แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม

องค์สามของความดี

<< < (2/5) > >>

時々होशདང一རພຊຍ๛:


รรมกับอธรรมให้ผลต่างกัน ไฟลุกคือธรรมจะนำตนไปสู่สถานที่ดี อธรรมนำตนไปสถานที่ชั่ว
ท่านชอบอย่างไหนก็เลือกเอาเอง นึกว่าท่านคงไม่ เลือกอธรรมแน่ ๆ เพราะใจของท่านยังปรารถนาความสุขความเจริญอยู่จึงหวังว่า ท่านคงเลือกเอาธรรมะเป็นฝ่ายดี เป็นฝ่ายที่ทำให้ท่านเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ การที่เราเรียกกันว่ามนุษย์นั้น ย่อมหมายถึงร่างกายและจิตใจอันอาศัยกันอยู่ ดังคำว่า กายกับใจประกอบกันเข้า คำว่า คน จึงเกิดขึ้น ถ้ามีกายไม่มีใจหรือมีแต่ใจไม่ มีกายก็หมดความเป็นคน ทั้งสองอย่างต้องอาศัยรวมกันเป็นอยู่เสมอ ในการบำรุงจึง ต้องบำรุงทั้งสองอย่างแต่คนเราส่วนมากมักพอใจบำารุงแต่ส่วนร่างกาย หาสนใจการบำรุงใจไม่มิใช่แต่ได้บำรุงเท่านั้น ซำ้าร้ายยังทำาลายใจกันเสียด้วย การทำาลายใจ ของตนก็คือ การห่างเหินจากธรรมะนั่นเอง ถ้าเราบำรุงกายด้วยอาหารการกิน ตกแต่งอย่างไหนแล้วราก็ต้องบำรุงใจด้วยอาหารและน้ำฉันนั้น อาหารของกายเป็นคำข้าวอาหารของใจเป็นธรรมะ ธรรมะนี่แหละเป็นอาหารของใจ ถ้าร่างกายอ้วนพี เพราะได้รับการบำารุงอย่างดีแล้ว ก็ควรบำรุงใจให้เป็นอย่างนั้นด้วย ใจที่ขาดการบำรุงเป็นใจที่ซูบผอม ขาดกำาลังสำหรับต่อสู้ เมื่อขาดกำาลังย่อมแพ้ข้าศึกได้ง่าย ข้าศึก ทางกายได้แก่โรคภัยนานาชนิด ข้าศึกทางใจได้แก่ความชั่วทำใจให้อ่อนแอนั่นเอง ความชั่วที่เรียกว่า กิเลสบ้าง มารบ้าง ซาตานบ้างก็มี และถ้าเอาชนะไม่ได้
ก็ต้องพ่าย แพ้ต่อมัน ความทุกข์ก็เกิดขึ้นดังคำาที่ว่า...................................

時々होशདང一རພຊຍ๛:


การพ่ายแพ้เป็นความทุกข์ ทุกข์เพราะตกอยู่ในอำนาจของมารร้ายที่คอยดึงไปสู่หลุมอบาย รู้สึกแย่ตกเป็นทาสของมัน พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า การเป็นทาสเป็นทุกข์หนัก แต่ถ้าเรามีหลักใน
ทางใจมีอาหารหล่อเลี้ยง มีกำลังสกัด ต่อต้าน โดยวิธีการเข้าหาการฟังธรรมะ สนทนา
ธรรมะ คิดค้นธรรมะให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วลงมือปฏิบัติธรรมะนั้น ๆ ให้ใจอ้วนพีมีกำลัง
มั่นคง ไม่มีข้าศึกใด ๆ มายย่ำยีได้ เลย เมื่อไม่มีข้าศึกมารบกวน ก็นอนหลับอย่างเป็นสุขในหมู่
ของคนที่เป็นสุขและเป็นทุกข์ ทั้งหลาย ธรรมะย่อมรักษาคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้
แหละหนอมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า ธมฺมกาโม ภวำ โหติ - ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญในทางตรงกันข้ามผู้
ไม่ใคร่ธรรมก็เป็นคนเสื่อมแน่ ความใคร่ธรรมก็คือความอยากได้ใน ทางดี ตรงกันข้ามกับความชังธรรม
อันหมายถึงความไม่ปรารถนาในทางดีเสียเลย ภาษิตไทยโบราณรักดีหาม
จั่ว รักชั่วหามเสาจั่วเป็นของสูง เสาเป็นของตำ่และหนัก ด้วย นับว่าเป็นคำเตือนใจได้อย่าง
ดี ให้พยายามทำาตนเป็นคนเบากันเถิด อย่าเป็นคน หนักด้วยบาปอกุศลกันเลยคนจักเบาใจ
ได้เพราะการกระทำในทางดี ทางดีเป็น ทางธรรม เป็นทางของพระที่ได้ประกาศไว้เป็นตัว
ศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชีวิต จึงเป็นการสมควรที่พวกเราจักเปลี่ยนใจมีเดินทางของศาสนา
อันเป็นทางที่สงบและ ปลอดภัย การเดินก็เช่นเดียวกัน อย่ามัวให้ผลัดวันประกันพรุ่งอยู่เป็น
อันขาด เมื่อรู้สึก ตนต้องการธรรมแล้ว ก็จงลงมือทำาทันที่ เพราะพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
ถ้าหากจะทำความดีจงทำทันทีอย่าช้าไว้เป็นอันขาด เพราะการทำาความดีช้าๆ อาจตกไปสู่
บาปเสียอีกแห่งหนึ่งตรัสสอนไว้ว่า ความเพียรควรทำเสียแต่วันนี้ อย่าผลัดไว้ค่อยทำเลย
เพราะ ใครจักรู้ได้ว่า ชีวิตจักตายในวันนี้คิดอย่างนี้เป็นการคิดเพื่อเตือนใจให้เข้าหาความดี
คนไทยโบราณก็ได้สอนไว้ว่า น้ำขึ้นให้รีบตักน้ำลงจักไปตักได้ที่ไหน ฝรั่งสอนว่าจงตี
เหล็กเมื่อยังร้อน จงดายหญ้าเมื่อแดดออก เหล่านี้เป็นคำเตือนใจให้รีบกระทำในสิ่งที่ ควร
กระทำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งอันเกี่ยวกับใจเป็นงาน่รีบด่วน ช้านิดเดียวไม่ได้ จึงควรมีสำนึกใน
เรื่องนี้ แล้วออกเดินทางทันที ทางได้เปิดไว้แล้วสำาหรับทุกคน เป็น ทางตรงไปสู่ความพ้น
ทุกข์ ทางที่กล่าวถึงก็ คือ การเดินทางกาย วาจา ใจ ตามหลักพระพุทธศาสนา มีอยู่ ทางเดียว
เป็นทางเอก อันประกอบด้วยองค์แปดประการ เป็นทางที่เป็นไปเพื่อ ความหมดจดของสัตว์
ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความดับสนิทของความโศกรำพันเพื่อความดับสนิทของทุกข์
โทรมมนัสเป็น....ทางที่พระบรมครูของเราทรงค้นพบด้วยพระปรีชาสามารถและทรงเดินตามนั้นจน
กระทั่งพ้นทุกข์ได้สมความปรารถนา มิใช่เดินแต่ลำพัง พระองค์ ยังทรงมีพระเมตตาแก่ชาว
โลกผู้ตกอยู่ในกองทุกข์ ได้ทรงสอนให้เขาได้เข้าใจ หนทางนั้น และทรงเร่งเร้าให้ทุกคนเดิน

時々होशདང一རພຊຍ๛:


ตามทางนั้นเป็นทางที่ทำให้ผู้เดินตามเปลี่ยน จากสภาพของปุถุชนไปเป็นพระอริยเจ้า เป็น
ทางที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงจากความทุกข์ ไปเป็นทางสงบสุข เป็นทางที่ให้ประโยชนแก่ ยิ้ม
ทุกคนทุกสมัย ตราบใดที่ชาวโลกยังเห็นว่า ทางนั้เป็นทางถูก และพยายามเดินตามทางนี้อยู่
แล้ว โลกจึงไม่ว่างจากพระอรหันต์ ทางนั้นอันประกอบด้วยองค์แปด................นี้คือ..................

1.สมฺมาทิฏฺฐิ - ความเห็นชอบ
2.สมฺมาสงฺกปฺป - ความคิดในทางที่ชอบ รัก
3.สมฺมาวาจา - การพูดในทางที่ชอบ
4.สมฺมากมฺมนฺต - การกระทำาที่ชอบ
5.สมฺมาอาชีว - การเลี้ยงชีวิตชอบ
6.สมฺมาวายาม - การทำาความเพียรชอบ
7.สมฺมาสติ - การระลึกในทางที่ชอบ
8.สมฺมาสมาธิ - ความตั้งใจมั่นชอบ

มรรคหรือหนทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้ เป็นทางสายกลางที่นำาคนผู้เดิน ตามไป
สู่ความพ้นทุกข์ ที่อิงทางนี้ก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง คือ สัมมาทิฏฐิและ สัมมา
สังกัปปะ เป็นตัวปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ส่วนนี้เป็นศีล สัมมา
วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ส่วนนี้เป็นสมาธิ รวมความก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็น
บทเรียน 3 ประการ ของพระพุทธศาสนานั่นเอง...................................

時々होशདང一རພຊຍ๛:


ต่อไปจักได้พิจารณาถึงมรรคเหล่านี้ไปตามลำดับพอเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้พ้น
จากทุกข์..............................................

1.สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นในทางที่ชอบ ทิฏฐิ แปลว่าความคิดเห็น ความเข้าใจ ความเป็น
กลาง ๆ ไม่ดี ไม่ชั่วแต่ในภาษาไทยมักหมายถึงความชั่ว เช่นพูดว่า คนนั้นทิ ฏฐิแรงมากต่อ
เมื่อได้ใส่คำาเข้าข้างหน้า เช่น มิจฉาทิฏฐิ ก็หมายถึงความเห็นผิด สัม มาทิฏฐิ ก็หมายถึงความ
เห็นถูก ที่เอาคำาอื่นมาใส่ข้างหลัง ทำาให้เป็นคุณบทไปก็มี เช่น ทิฏฐิสัมปันโน - ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ ทิฏฐิวิปันโน - วิบัติด้วยทิฏฐิ ในที่นี้มุ่งกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิอัน เป็นทางประกอบของทาง
สายกลาง เรื่องของความคิดเห็นหรือความเข้าใจเป็นมูล ฐานอย่างสำคัญของการกระทำ ถ้าผู้
ใดมีความเห็นถูกตรงแล้ว การกระทำเป็นไปใน ทางที่ดี ผู้มีความเห็นผิด การกระทำก็เป็นไป
ในทางชั่วเสีย ข้อนี้เป็นความจริงโดยแท้ลองสังเกตเพื่อนของท่านก็พอเห็นได้ เช่น ถ้าเขามีความเห็นว่า
การดื่มเหล้าเป็นของดี เป็นเครื่องสมานมิตร เขาจักเป็นนักเลงเหล้าที่ดื่มได้อย่างไม่อั้นที่เดียว
ถ้าใครไปชวนให้เขาเลิก เขาอาจเห็นเป็นความคิดที่เหลวไหลไปเลย คนใหนเห็นว่าการไม่ โกงไม่ร่ำรวย เขาก็ต้องเดินตามความเห็นของเขา นักศาสนาที่มีความเห็นในหลักใดก็พอใจในหลักนั้น ทำตาม
ความคิดเห็นนั้น ๆ เสมอไป จึงเห็นได้ว่า ความเห็นก่อให้เกิด การกระทำทั้งส่วนดี และส่วน
เสียการกระทำทั้งมวลของบุคคลและจากความเห็นของ เขาความเห็นของแต่ละบุคคล การรวม
กันเข้าก็เป็นความเห็นสาธารณ และการกระทำให้เกิดจากความเห็นแบบนั้น อันเป็นไปใน
ทางที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง สุดแล้วแต่พื้นฐานของความเห็นโดยเหตุนี้แหละเจ้าลัทธิทุกฝ่ายไม่ว่าใน
ด้านใหน....ได้ทำการชักจูงให้ประชาชน มีความโน้มเอียงมาตามความเห็นฝ่ายตนโดยบอกให้
เห็นว่า คนที่มีความเห็นแบบนี้ ย่อมเป็นคนก้าวหน้างอกงาม อยู่กันฉันท์พี่น้อง เมื่อชักจูง
มาก ๆ เข้าก็เกิดความสนใจศึกษาเห็นว่าดีก็รับไว้ อันการชักจูงนั้นเขาอาจทำาของดำให้เป็น
ของขาว ของขาวให้เป็น ของดำเพื่อยั่วใจของผู้ฟังก็ได้

時々होशདང一རພຊຍ๛:


ทางด้านศาสนาก็มีความเห็นต่าง ๆกัน ใครมีความเห็นแบบใดก็พูดชักจูงคนให้คล้อยตาม
ความเห็นในแบบนั้น ที่สุดก็มีหลายแบบหลายความเห็น ต้องถกเถียงกันเป็นการใหญ่ทำไมจึงถกเถียงกัน เพราะเขาเป็นผู้ยึดถือในความเห็นของตน ๆ ต่างก็ถือว่าอันนี้จริงอันอื่นหาจริงไม่ เมื่อไม่ยอมกันก็เถียงกัน การยึดมั่นในความเห็นเป็นกิเลสแบบหนึ่งท่านเรียกว่าทิฏฐุปาทาน - การยึดมั่นในความเห็น การยึดถืออย่างนี้ก็เป็นทุกข์ เหมือนกัน ทุกข์เพราะคิดว่า คนอื่นไม่เห็นเหมือนตัว ทุกข์ว่าน่าสงสารเขาที่เป็นคนเห็นผิดแต่เจ้าตัวเองหาได้รู้ไม่ว่าตนเองก็เป็นคนเจ้าทิฏฐิ เห็นอะไรผิดอยู่เหมือนกันครั้งหนึ่งมีพราหมณ์มาถามพระพุทธองค์ว่าพระองค์มีทิฏฐิอย่างไร?ตรัสตอบว่า ตถาคตไม่มี ทิฏฐิ เพราะไม่ทรงยึดมั่นในอะไร ๆ ทรงใช้ความรู้ความเห็นเป็นทางเดินเหมือนคนใช้แพข้ามฟาก หาได้ทรงติดในแพนั้นไม่ จึงทรงกล่าวตอบอย่างนั้น ทิฏฐิหรือความเห็นผิด มี
อิทธิพลเหนือใจคนเหนือสังคมอยู่มาก จึงเป็นการจำเป็นที่ ต้องมอบความเห็นในทางที่ชอบ
ไว้แก่เขา ตั้งแต่ใจของเขายังว่าอยู่ ยังไม่ได้รับอะไรไว้ว่าเป็นลัทธิของตนการทำางานอย่างนี้
เป็นงานของผู้นำาในครอบครัวที่ให้การศึกษาแก่เด็กของตนอย่างถูกต้อง เพื่อให้เขารับไว้
เฉพาะแต่สิ่งที่ถูกต้องอย่างเดียวไม่ว่าในด้านศาสนาการเมือง ลัทธิเศรษฐกิจงานอย่างนี้เป็นงานที่ต้องทำาอย่างรีบด่วนช้าไว้ไม่ได้ เพราะเรื่องของใจคนเป็นเรื่องที่ช้านาที่เดียวก็เสียหายจึงต้องพร้อมกันให้ความเห็นถูกแก่เขาเราจะเห็นได้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเล่อร์ประมุขของประ เทศเยอรทันได้ทำการชักจูงใจชเยอรมันให้เกิดความเชื่อว่า ชนเยอรมันเท่านั้นเป็น อารยัน เป็นผู้สมควรจักครองโลก นักรบเยอรมันเป็นนักรบไม่รู้จักคำว่าแพ้พูดเสมอ ๆ ในวิทยุกระจายเสียงในหนังสือพิมพ์ในบทละคร ในการสอนในโรงเรียนตลอดถึงใน ครอบครัว เป็นการฉีดความเห็นอย่างนี้เข้าสมองของเด็กหนุ่มเยอรมัน ผลที่สุดแถวทหารกล้าตายก็พร้อมเยอรมัน
ทั้งชาติได้เข้าสู่สงครามและได้รับความแหลกลาญไปหมด

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version