แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน
.......เหนือห้วงมหรรณพ คำสอนธิเบตเพื่อการอยู่และตายอย่างไร้ทุกข์ ( บางส่วน )
มดเอ๊กซ:
" ด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
เป็นการยากดุจเต่าที่จะสอดคอของตน
เข้ากับคานหาบที่ลอยอยู่กลางทะเลหลวงฉันใด
การเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากยิ่งฉันนั้น "
" ด้วยความชั่วเพียงขณะเดียว
ก็อาจทำให้ตกนรกขุมลึกที่สุดนานชั่วกัปป์
และด้วยความชั่วที่ข้าฯ ได้สั่งสม ในเวลายาวนานประมาณมิได้
มีประโยชน์อันใดที่จะถามว่าเหตุใดข้าฯ จึงไม่ได้ไปสู่อาณาจักรแห่งความสุข "
...................................ศานติเทวะ....................................
มดเอ๊กซ:
ท่านดูจมรินโปเช เมื่อประกาศการประจักษ์แจ้งอันเลื่องลือของท่าน ได้เขียนว่า
" เนื่องจากความตระหนักรู้ในปัจจุบัน คือพระพุทธองค์ที่แท้
ในความเปิดกว้างและพึงพอใจ ข้าฯ พบลามะในหัวใจ
เมื่อเราตระหนักว่าจิตธรรมชาติที่ไร้จุดจบนี้คือ ลามะ
เมื่อนั้นก็ไม่มีความจำเป็นต้องติดยึด จับฉวย ร่ำไห้ สวดมนต์ หรือแสร้งบ่น
เพียงแต่ผ่อนคลายในสภาวะที่เปิดกว้าง ไร้การปรุงแต่งและเป็นธรรมชาติ
เราย่อมได้รับอานิสงค์คือความหลุดพ้น อย่างไร้เป้าหมายจากสิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น "
มดเอ๊กซ:
" พึงทำงานด้วยศรัทธาอันยิ่งใหญ่
ทำงานด้วยพลังที่เปี่ยมด้วยความตั้งมั่นที่จะปรับปรุง
ถ้าข้าฯ ทำงานแห่งความประเสริฐ เป็นผลประโยชน์ และเพื่อพ้นความทุกข์ยาก
ย่อมเป็นการสร้างบารมีอันยิ่งใหญ่ "
" เมื่อเข้าใจดีแล้ว
ข้าฯ ควรเพียรพยายามเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
พระผู้ทรงเมตตาและทรงเห็นการณ์ไกล ทรงประทานอนุญาติ
กระทำในสิ่งต้องห้าม "
....................ศานติเทวะ
มดเอ๊กซ:
ทีนี้ยังมีธรรมชาติของจิต หรือสารัตถะด้านในสุดของจิต ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหรือความตายมิอาจมากระทบได้ ปัจจุบันมันแอบแฝงอยู่ในจิตของเราหรือเซม ถูกหุ้มห่อหรือบดบังไว้ด้วยความว้าวุ่นของความคิดและอารมณ์ของเรา เมฆสามารถถูกแรงลมพัดเพื่อให้อาทิตย์ฉายฉานและเปิดฟ้ากว้างฉันใด ภายใต้สถานการณ์พิเศษ แรงบันดาลใจบางประการอาจเปิดเผยให้เราแลเห็นประพิมประพายแห่งธรรมชาติของจิต ประพิมประพายดังกล่าวมีความลึกซึ้งและชัดเจนต่างๆกัน กระนั้นแต่ละระดับจะนำแสงแห่งความเข้าใจ ความหมายและอิสระภาพมาให้เรา นี้เป็นเพราะธรรมชาติของจิตคือรากเหง้าของความเข้าใจ ในธิเบตเราเรียกว่า ริกปะ หรือความตระหนักรู้ดั้งเดิมที่บริสุทธิ์และเปี่ยมด้วยปัญญา ญาณ รับผัสสะและเปล่งประกายไปพร้อมกัน อีกทั้งตื่นตัวเสมอ อาจเรียกได้ว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับความรู้
ไม่พึงคิดไปว่าธรรมชาติของจิตนั้นมีอยู่ในเฉพาะจิตใจของเราเท่านั้น แท้ที่จริงมันคือธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มากเกินไปเลยที่จะกล่าวว่าการประจักษ์แจ้งซึ่งธรรมชาติของจิตก็คือการประจักษ์แจ้งซึ่งธรรมชาติของสรรพสิ่ง
พระอริยเจ้าและผู็หยั่งรู้ธรรมอันล้ำลึกในประวัติศาสตร์ กล่าวถึงการประจักษ์แจ้งของท่านด้วยสมัญญาต่างๆกัน แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นประสบโดยพื้นฐาน ก็คือธรรมชาติอันเป็นสารัตถะแห่งจิต ชาวคริสตร์และชาวยิว เรียกว่าพระเจ้า ขาวฮินดูเรียกว่า อาตมัน ศิวะ พรหม และวิษณุ นักรหัสยนัยชาวซูฟี เรียกว่า "สารัตถะที่แฝงเร้น" ส่วนชาวพุทธ เรียกว่า พุทธภาวะ สิ่งที่เป็นหัวใจของศาสนาทั้งหลายก็คือความแน่ใจว่ามีสัจธรรมขั้นพื้นฐานอยู่ และชีวิตนี้เป็นโอกาสอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะวิวัฒน์และพัฒนา และประจักษ์แจ้งซึ่งสัจธรรมดังกล่าว
เมื่อเราพูดถึงพุทธะ เรามักคิดถึงเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ตรัสรู้เมื่อ543ปีก่อนคริสตกาล และเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนาที่คนหลายล้านในเอเชียนับถือ อย่างไรก็ตาม พุทธะ เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้งเกินกว่านั้น คำนี้หมายถึงใครก็ได้ที่ตื่นจากอวิชชาอย่างสิ้นเชิง และเปิดใจรับรู้ถึงศักยภาพอันมหาศาลของตน พุทธะคือผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ และบรรลุถึงสันติสุขที่ยั่งยืนและเป็๋นอมตะ
ขอบคุณ เฒ่าหยำเป มากเด้ออออ :yoyo106:
http://larndham.org/index.php?/topic/13442-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%9E/
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version