แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์
ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
ภาพสวยจังครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม ^^ :13: อนุโมทนาครับ
ฐิตา:
การที่ชาวพุทธนิยมใช้ดอกบัวเป็นสื่อในการพรรณนาเหตุการณ์ บุคคล หลักธรรม
เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของดอกบัว ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ประเภทหนึ่งที่มีอยู่เกือบทุกมุมของโลก
ตามนัยในพระพุทธศาสนา
ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความสะอาดบริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ธรรมครับ
ดอกบัวแย้มบานรับแสงอาทิตย์อุทัยในยามเช้า ย่อมงดงามด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
ประการแรก บัวนั้นเป็นบัวพันธุ์ดี ดอกจึงมีสีที่งดงาม
ประการที่สอง บัวนั้นมีน้ำและโคลนตมคอยหล่อเลี้ยง
พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน จะเจริญงอกงามได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
ประการแรก พระภิกษุสามเณรมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
และตั้งใจออกบวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
ประการที่สอง พระภิกษุสามเณรต้องอาศัยปัจจัย 4 อันควรแก่สมณะบริโภค
ซึ่งท่านทานบดีผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธา นำมาอุปัฏฐากบำรุงเลี้ยง ท่านจึงมีเวลาศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรม
ฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นเนื้อนาบุญให้แก่ชาวโลก
ด้วยเหตุ 2 ประการนี้ จึงทำให้พระภิกษุสามเณรเจริญรุ่งเรืองเป็นอายุของพระพุทธศาสนา
อ้างอิง : พระวิมลศีลาจารย์ พระพุทธโฆสาจารย์ จารวี มั่นสินธร
อ้างอิง : พระไตรปิฎก
ฐิตา:
ในภาษาบาลี เรียกมะลิว่า “สุมนา” ซึ่งแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ผู้ใจดี” อาจจะเป็นด้วยความหมายนี้ ประกอบกับการที่มะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ในพระไตรปิฎก เล่ม ๓๒ พระสูตรที่ชื่อ “สุมนเถราปทาน” ซึ่งพระสุมนเถระได้กล่าวถึงผลแห่งการถวายดอกมะลิในครั้งอดีตกาล ความว่า
“ในกาลนั้น เราเป็นนายมาลาการมีนามชื่อว่าสุมนะ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลี ทรงสมควรรับเครื่องบูชาของโลก จึงเอามือทั้งสองประคองดอกมะลิที่บานดีบูชาแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ด้วยการบูชาดอกไม้นี้ และด้วยการตั้งจิตไว้ เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๓๑ ...”
ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส เคยกล่าวไว้ว่า “ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่าเป็นดอกไม้ที่หอมเย็น ชื่นใจที่สุด และขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ก็เช่นเดียวกับการเล่นละคร ขอให้เป็นตัวเอกที่มี ชื่อเสียงที่สุด เช่นเดียวหรือลักษณะเดียวกับดอกมะลิ อย่าเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด และให้เห็นว่าดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง ๒-๓ วัน ก็จะเหี่ยวเฉาไป ฉะนั้นขอให้ทำตัวให้ดีที่สุด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะลิที่เริ่มแย้มบาน ฉะนั้น”
ฐิตา:
ธรรมซีรี่ย์ดอกบัว
ตอนนี้เป็นตอนที่สองเป็นเรื่องสระบัวในโลกมนุษย์ สระบัวในโลกสวรรค์ สระบัวในโลกบาดาลครับ มีคำบรรยายถึงสระบัวหรือสระโบกขรณี หลายลักษณะ เช่น สระโบกขรณีมีน้ำใสสะอาด ใช้เป็นที่อาบและดื่มกินได้
“สระโบกขรณี มีน้ำรสอร่อยใสสะอาดดารดาษไปด้วยดอกบัวและกอบัว”
นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่สระสนานและเล่นน้ำตั้งแต่บุคคลธรรมดาจนถึงพระโพธิสัตว์ เช่น มีคำบรรยายว่า “พระโพธิสัตว์นั้นทรงเล่นอยู่ในอุทยานนั้นตลอดทั้งวัน แล้วสรงสนานในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล” ดอกบัวที่เกิดในสระโบกขรณีมีหลายชนิด มีทั้งปทุม บุณฑริก อุบล โกมุท โกกนุท จงกลนี ดังคำบรรยายว่า แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบรอบด้าน ..... สระโบกขรณีที่เนรมิตขึ้นด้วยดีน่ารื่นรมย์ใจ มีดอกปทุมบานสะพรั่งร่วงหล่นลงดารดาษ
เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารทรงเจริญวัยมีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้รับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีขึ้น ๓ สระ ภายในบริเวณราชนิเวศน์ สระที่หนึ่งปลูกปทุมบัวหลวง สระที่สองปลูกบุณฑริกบัวขาว สระที่สามปลูกอุบลบัวขาบตกแต่งให้เป็นสถานที่เล่นสำราญพระทัย สำหรับพระสิทธัตถราชกุมารร่วมกับพระสหายที่อยู่ในวัยเดียวกัน
ฐิตา:
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญผู้ซึ่งปฏิบัติดี เป็นผู้บริสุทธิ์ พ้นจากอกุศลธรรมทั้งปวง หรือผู้ที่ละกิเลสอันเป็นมลทินแล้ว เมื่อพิจารณาธรรมเหล่านี้ จิตเกิดความปราโมทย์ ปีติ และเกิดความสงบ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยนำมาเปรียบกับน้ำในสระโบกขรณีซึ่งสามารถบรรเทาความร้อน ความกระวนกระวาย ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย สระโบกขรณี มีน้ำใสบริสุทธิ์ เย็นสะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ถูกความร้อนแผดเผา เร่าร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความร้อนได้
ทรงอุปมาไว้ว่า สระโบกขรณีที่มีน้ำใสสะอาด เย็น มีท่าดีน่ารื่นรมย์
คนที่ถูกแดดแผดเผาจากทิศใดก็ตาม
เมื่อมาสระนี้แล้ว ย่อมบรรเทาความกระวนกระวายเพราะความร้อนได้ฉันใด
พระศาสนาของพระองค์ก็ฉันนั้น คือ ถ้ากุลบุตรไม่ว่ามาจากชนชั้นวรรณะใด มาบวชเป็นบรรพชิต
มาถึงธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว
เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบระงับในภายใน
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต) ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา)
เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่ง พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่สมณะ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version