ผู้เขียน หัวข้อ: โยนิโสมนสิการ  (อ่าน 7661 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
โยนิโสมนสิการ
« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 05:39:00 am »




โยนิโสมนสิการ

ทบทวน ความรู้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทธรรม
อย่างแยบคาย
โดยวางใจ เป็นกลาง...


พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า การศึกษาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมนุษย์รู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างรอบคอบและรอบด้านจึงจะทำให้เกิดปัญญาแตกฉาน เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

โดยวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 วิธีด้วยกัน คือ...

1.วิธีคิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม ไม่ติดในรูปร่างภายนอกของวัตถุ เมื่อจะอุปโภคบริโภคสิ่งใดก็จะคิดถึงประโยชน์ก่อน หรือเรียกได้ว่าเสพปัจจัยด้วยคุณค่าที่แท้จริง ทำให้ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ

2.วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออกเล็งเห็นว่าทุกสิ่งมีทั้งคุณและโทษ ต้องรู้จักแยกแยะว่าคุณและโทษอยู่ตรงไหน และทางเลือกที่ดีกว่าเป็นอย่างไร

3.วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม คิดหาประโยชน์จากเรื่องต่างๆ จากทั้งแง่ดีและแง่เสียโดยพยายามถือเอาประโยชน์ให้ได้ เช่น เรื่องของความตาย ถ้าเราคิดถึงความตายแล้วเป็นเหตุให้ทำความดีได้ ก็ถือว่าเป็นการปลุกเร้าให้มีความพยายามในการทำความดี ถือว่าเป็นการคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม

4.วิธีคิดแบบอรรถสัมพันธ์ เป็นการคิดแบบเชื่อมโยงหลักการกับความมุ่งหมาย อาทิ การกระทำบางอย่างไม่สำเร็จเพราะมิได้วางเป้าหมายให้ชัดเจน หรือบางครั้งเป้าหมายชัดเจนแต่การกระทำไม่สอดคล้องกันจึงไม่สำเร็จ เป็นต้น

5.วิธีคิดแบบอริยสัจเป็นการคิดแก้ปัญหาที่สาเหตุการคิดแบบนี้คล้ายกับการคิดแบบวิทยาศาสตร์ คือ ต้องมีการตั้งปัญหาคิดสมมติฐาน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบของปัญหานั้น ๆ

6.วิธีคิดแบบสืบสาวหาเหตุและปัจจัย การคิดพิจารณาสืบค้นหาเหตุและปัจจัย ทำให้รู้ได้ว่าสิ่งที่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด และมีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องบ้าง

7.วิธีคิดแบบสามัญลักษณะวิธีคิดแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา นั่นคือรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ มีเกิดขึ้น แปรเปลี่ยน และดับสลายไป เพื่อจะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นและไม่เป็นทุกข์จนเกินไป

8.วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ มีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวอยู่ตลอด เนื่องจากการคิดแบบไม่ยอมอยู่ในปัจจุบัน การจมอยู่กับอดีตหรือคิดล่วงหน้าไปในอนาคตจะทำให้เกิดวิตกกังวล หรือเกิดอันตรายได้ เช่น การขับรถ ถ้าขณะขับไม่มีสติอยู่กับตัว ก็อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

9.วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ เป็นการคิดแบบแยกย่อยเป็นส่วนๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม การคิดแบบนี้จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น เพราะไม่มองแต่ภาพรวมแต่มองลึกลงไปถึงรายละเอียดด้วย

10.วิธีคิดแบบแยกแยะประเด็นการคิดแบบแยกแยะประเด็นมีประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวันยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรารู้จักแยกแยะหน้าที่ของตนเองก็จะทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น ในฐานะที่เป็นนักเรียนก็ควรที่จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนโดยแบ่งเวลาเรียนกับเวลาเล่นให้เป็น เป็นต้น



ขอบคุณน้อง"บางครั้ง"ค่ะ
 :13: http://www.sookjai.com/index.php?topic=4648.new#new

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: โยนิโสมนสิการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 11:22:10 am »
 :13: อนุโมทนาครับ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โยนิโสมนสิการ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 10:44:19 pm »


คำถาม
ขอให้ช่วยอธิบายคำว่า โยนิโสมนสิการ ค่ะ ว่าหมายถึงอะไร ขอบพระคุณค่ะ

ตอบ
"โยนิโสมนิสิการ" หมายถึงเหตุที่ทำให้เกิดมหากุศลจิต ทำให้จิตที่เป็นบุญเกิดขึ้นได้ ย่อมต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ..หมายถึง การพิจารณาอารมณ์โดยแยบคาย กล่าวคือ เมื่อกระทบกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งทางทวารทั้ง ๖ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ นั้น ก็ได้มีการพิจารณากำหนดรู้ถึงสภาวะความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้นแห่งอารมณ์นั้น การพิจารณากำหนดรู้ตามความเป็นจริงนั้น ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ

การที่บุคคลใดจะมีโยนิโสมนสิการต่ออารมณ์ที่กระทบจิตนั้น ย่อมอาศัย

เหตุทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทั้งหมด ๕ ประการ คือ

๑. ปุพเพกตปุญฺญตา คือ การได้สร้างบุญไว้แต่กาลก่อน
๒. ปฏิรูปเทสวาส คือ การได้อยู่ในประเทศที่สมควร มีพุทธศาสนา
๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย คือ ได้คบหากับสัปบุรุษ
๔. สทฺธมฺมสฺสวน คือ ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อตฺตสมฺมาปณิธิ คือ ตั้งตนไว้ชอบ

ทั้งห้าประการนั้น เป็นเหตุ แห่ง "โยนิโสมนิการ" โดยที่ประการแรกนั้นเป็นอดีตเหตุ
และส่วนเหตุที่เหลือ ๔ ประการนั้นเป็นปัจจุบันเหตุค่ะ

ดังนั้น การศึกษาธรรมจากเว็บไซต์นี้ก็เป็นเหตุแห่งโยนิโสมนสิการ บุคคลที่ใฝ่รู้สนใจที่ติดตามนั้นย่อมมีปุพเพกตปุญฺญตา คือบุญเก่าที่สั่งสมไว้ในอดีตเป็นฐาน ประกอบกับการที่ได้อาศัยเหตุอีกสี่ประการในปัจจุบันเข้าประกอบพร้อมกัน ก็ย่อมทำให้ผล
อันได้แก่ "โยนิโสมนสิการ"เกิดขึ้นได้อย่างมากมายค่ะ...และบุญทั้งหมดนี้
ก็จะกลายเป็นปุพเพกตปุญฺญตาของในอนาคตชาตินั่นเทียว


ขอบคุณ เวป raksa-dhamma ครับ
-http://www.soccersuck.com/soccer/viewtopic.php?p=4857950


โยนิโสมนสิการ
โยนิ แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง
ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น การดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น/เหตุ/ผัสสะ

มนสิการ หมายถึง การทำ(อารมณ์)ในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา
ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น กระทำไว้ในใจ


ภาษาชาวบ้าน
ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น/เหตุ รู้สึกนึกคิดยังไง ยอมรับไปตามความเป็นจริง แต่ไม่กระทำสิ่งใดลงไป ตามความรู้สึกนึกคิด(ยินดี ยินร้าย)ที่เกิดขึ้น

เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกยินดีหรือยินร้าย (ชอบ/ชัง) ให้รู้ไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุ(กายกรรม วจีกรรม) ออกไป ตามความรู้สึกยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้น

ในเมื่อยังมีกิเลส อนุสัยกิเลสยังไม่ถูกทำลายไปหมดสิ้น ความคิดย่อมเกิด ความรู้สึกยินดี ยินร้ายย่อมเกิดขึ้นได้ ห้ามความคิดหรือความรู้สึกไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่สามารถอาศัยการโยนิโสมนสิการเป็นหลัก
สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับลงไปเป็นธรรมดา
สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้าย คือ เหตุที่ยังมีอยู่

เมื่อโยนิโสมนสิการบ่อยๆ การสำรวม สังวรระวังอายตนะย่อมเกิดมากขึ้น
เป็นเหตุให้สภาวะของศีลปรมัตถ์ปรากฏ
สมาธิย่อมเกิดตามเหตุ ปัญญาที่เกิดจากภาวนามยปัญญาย่อมเกิด

เมื่อยังไม่สามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะที่เกิดขึ้นหรือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการเป็นหลัก และอาศัยการอ่านหรือการสดับ รับฟังจากผู้ที่ผ่านสภาวะนั้นๆมาแล้ว
จงอย่าเชื่อไปจากการอ่านและการฟังทั้งหมด เพียงแค่รู้และทำความเพียรต่อเนื่อง

-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42739&start=180
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2012, 02:17:40 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โยนิโสมนสิการ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 05:07:59 am »

                       

โยนิโสมนสิการ มาจาก ยถา + ตถา + มน + กร
ยถา ศัพท์ แปลว่า ใด
ตถา ศัพท์ แปลว่า นั้น
มน ศัพท์ แปลว่า ใจ
กร ธาตุ แปลว่า ทำ

แปลรวมว่า ทำไว้ในใจโดยประการใด(เกิดขึ้น) โดยประการนั้น
ความหมายคือ ในเวลาปฏิบัติธรรม สภาวะใดเกิดขึ้นแบบไหนอย่างไร รู้สภาวะตามนั้นแบบนั้น
ไม่ต้องปรุงแต่งอะไร คือรู้แบบละอภิชฌาและโทมนัส
(รู้แบบ สติปัฎฐาน)

                                       

พุทธธรรมใหม่ - หน้าที่ 728
[๑"สำหรับภิกษุผู้เสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอย่างอื่นแม้สักอย่าง ที่มีประโยชน์มาก
เหมือนโยนิโสมนสิการเลย ภิกษุผู้ใช้โยนิโสมนสิการย่อมกำจัดอกุศลได้
และบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น"]

[๒เราไม่เล็งห็นธรรมอย่างอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น
หรือให้สัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ
สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น"]

[๓"เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น
หรือให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย
เมื่อมีโยนิโสมนสิการ โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์"]

[๔"เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด
ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ถูกกำจัดได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"]

[๕โยนิโสมนสิการในอสุภนิมิต เป็นเหตุให้ราคะไม่เกิด และราคะที่เกิดแล้วก็ถูกละได้
โยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตติ เป็นเหตุให้โทสะไม่เกิด และโทสะที่เกิดแล้วก็ถูกละได้
โยนิโสมนสิการ (โดยทั่วไป) เป็นเหตุให้โมหะไม่เกิด และโมหะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้]

[๖เมื่อใช้โยนิโสมนสิการ นิวรณ์ 5 ย่อมไม่เกิด ที่เกิดแล้วก็ถูกกำจัดได้
ในขณะเดียวกันก็เป็นเหตุให้โพชฌงค์ 7 เกิดขึ้นและเจริญเต็มบริบูรณ์]

[๗"ธรรม 9 อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรม 9 อย่าง ซึ่งมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
กล่าวคือ เมื่อโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ
กายย่อมสงบระงับ (ปัสสัทธิ) เมื่อกายสงบระงับ ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ
ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง
เมื่อนิพพิทาก็วิราคะ เพราะวิราคะ ก็วิมุตติ"]
ความหมายของโยนิโสมนสิการ ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ
โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่าเหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา [๘อุบาย วิธี ทาง] ส่วน
มนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา]
เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบๆ กันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย การทำในใจ
โดยแยบคายนี้มีความหมายแค่ไหนเพียงใด คัมภีร์ขึ้นอรรถกถาและฎีกาได้ไขคามไว้
โดยวิธีแสดงไวพจน์๑*ให้เห็นความหมายแยกเป็นแง่ๆ ดังต่อไปนี้

1. อุบายมนสิการ แปลว่า คิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือคิดอย่างมีวิธี หรือคิดถูกวิธี
หมายถึงคิดถูกวิธีที่จะให้เข้าถึงความจริง สอดคล้องเข้าแนวกับสัจจะ ทำให้หยั่งรู้สภาวลักษณะ
และสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย

2. ปถมนสิการ แปลว่า คิดเป็นทาง หรือคิดถูกทาง คือคิดให้ต่อเนื่องเป็นลำดับ
จัดลำดับได้หรือมีลำดับ มีขั้นตอน แล่นไปเป็นแถวเป็นแนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบ
ตามแนวเหตุผลเป็นต้น ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ไม่ใช่ประเดี๋ยววกเวียนติดพันเรื่องนี้ ที่นี้
เดี๋ยวเตลิดออกไปเรื่องนั้นที่โน้น หรือกระโดดไปกระโดดมา ต่อเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้
ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักความนึกคิดเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง

3. การณมนสิการ แปลว่า ติดตามเหตุ คิดค้นเหตุ คิดตามเหตุผล หรือ
คิดอย่างมีเหตุผลหมายถึง การคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย
พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าในถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ

4. อุปปาทกมนสิการ๒** แปลว่า คิดให้เกิดผล คือใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์
เล็งถึงการคิดอย่างมีเป้าหมาย ท่านหมายถึง การคิดการพิจารณาที่ทำให้เกิดกุศลธรรม
เช่น ปลุกเร้าให้เกิดความเพียร การรู้จักคิดในทางที่ทำให้หายหวาดกลัว ให้หายโกรธ
การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจมีความเข้มแข็งมั่นคงเป็นต้น

ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดที่เรียกว่า
โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ อาจมีลักษณะครบทีเดียวทั้ง 4 ข้อ
หรือเกือบครบทั้งหมดนั้น หากจะเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนั้นสั้นๆ คงได้ความว่า
คิดถูกวิธี คิดมีระบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล แต่ถ้าจะสรุปเป็นคำจำกัดความ
ก็เห็นได้ว่าทำยากสักหน่อย มักจับเอาไปได้แต่บางแง่บางด้านไม่ครอบคลุมทั้งหมด
หรือไม่ต้องเขียนบรรยายยืดยาวเหมือนอย่างที่เขียนไว้ในตอนเริ่มต้นของบทนี้
อย่างไรก็ตามมีลักษณะเด่นบางอย่างของความคิดแบบนี้ ที่อาจถือเป็นตัวแทน
ของลักษณะอื่นๆ ได้ ดังที่ได้เคยแปลโดยนัยไว้ว่า
[๑ความคิดถูกวิธีความรู้จักคิด การคิดเป็น การคิดตรงตามสภาวะและเหตุปัจจัย
การคิดสืบต้นถึงต้นเค้าเป็นต้น หรือถ้าเข้าใจความหมายดีแล้ว จะถือตามคำแปล
สืบๆ กันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย ก็ได้]

{๑* ไวพจน์ของมนสิการ คือ อาวัชชนา อาโภค สมันนาหาร ปัจจเวกขณ์
(ดู ที.อ.2/323; ม.อ.1/88; อิติ.อ.80; วิสุทธิ,2/63; 138)
นอกจากนี้ในบาลี ยังพบคำจำพวกไวพจน์ของมนสิการอีกหลายคำ เช่น อุปปริกขา
(เช่น สํ.ข. 17/87/53; 242/171) ปฏิสังขา (เช่น องฺ.จตุกฺก.21/37/51 ฯลฯ ฯลฯ)
ปฏิสัญจิกขณา (เช่น องฺ.ทสก.24/92/197 = โยนิโสมนสิการ ใน สํ.นิ.16/154/84
และ สํ.ม.19/1577/489) ปริวีมังสา (เช่น สํ.นิ.16/189/97)
คำว่า สัมมามนสิการ (ที.สี.9/27/16; ที.ปา.11/13/32; ที.อ.1/136;3/95; ม.อ.1/272)
ก็มีความหมายใกล้เคียงกับโยนิโสมนสิการ แต่มีที่ใช้น้อย ไม่ถือเป็นศัพท์เฉพาะ.}

{๒** ไขความเป็น อุปายมนสิการ ปถมนสิการ อุปปาทกมนสิการ ที่ สํ.อ.3/252;
เป็นอุปายมนสิการ และปถมนสิการที่ ที.อ.2/70,323,500 =
วิภงฺค.อ.353 = ม.อ.1/387,88; อิติ.อ.80; สํ.อ.2/27; เป็นอุปายมนสิการ
ที่ ม.อ.2/467; สํ.อ.1/200; 3/215; องฺ.อ.1/49,518; วินย.ฎีกา 4/110;
เป็นอุปปาทกมนสิการ ที่ ม.อ.1/405; เป็นการณมนสิการในฎีกาแห่งทีฆนิกาย
(ขยายความปถมนสิการนั่นเอง; ฉบับไทยยังไม่พิมพ์ พึงดูฉบับอักษรโรมัน หรืออักษรพม่า)
คำอธิบายทั่วไปที่น่าฟัง ดู วิสุทธิ.1/167; วินย.ฎีกา 2/350, วิสุทธิ.ฎีกา 1/226;
อาจดูประกอบที่ปัญจิกา 1/432; 2/115,267; คำอธิบายข้างบน แสดงตามอัตโนมัติด้วย.
พุทธธรรมใหม่ - หน้าที่ 730


:http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=39803

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โยนิโสมนสิการ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 06:44:07 am »

                             

ปัญหาที่ ๗ มนสิการปัญหา (ถามเรื่องมนสิการ (การกำหนดจิต)
ถามว่าผู้ที่ไม่มาเกิดอีกเป็นเพราะอะไร

   ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องมนสิการ (การกำหนดจิต)  
   พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
   " ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ใดไม่เกิดอีกผู้นั้นย่อมไม่เกิดอีกด้วย โยนิโสมนสิการ (คือการกำหนดจิตด้วยอุบายที่ชอบธรรม) ไม่ใช่หรือ ? "
   พระเถระตอบว่า
   " ขอถวายพระพร บุคคลไม่เกิดอีกด้วย โยนิโสมนสิการ คือด้วย ปัญญา และด้วย กุศลธรรมอื่น ๆ "
   " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยนิโสมนสิการ กับ ปัญญา เป็นอันเดียวกันหรืออย่างไร ? "
   " ไม่ใช่อย่างเดียวกัน คือ โยนิโสมนสิการ ก็อย่างหนึ่ง ปัญญา ก็อย่างหนึ่ง
   แพะ แกะ สัตว์เลี้ยง กระบือ อูฐ โค ลา เหล่าใดมีมนสิการ(*อุตสาหะ) แต่ปัญญา(*ตัด)ย่อมไม่มีแก่สัตว์เหล่านั้นขอถวายพระพร "
   " ชอบแล้ว พระนาคเสน "

   ปัญหาที่ ๘ มนสิการลักขณปัญหา (ถามลักษณะมนสิการ)
   ถามว่า โยนิโสมนสิการและปัญญา มีลักษณะอย่างไร
   
   ปัญหาที่ ๘ ถามลักษณะมนสิการ   
   พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามต่อไปว่า
   " ข้าแต่พระนาคเสน มนสิการ มีลักษณะอย่างไร ปัญญา มีลักษณะอย่างไร ? "
   พระนาคเสนตอบว่า
   " มหาราชะ มนสิการ มีความ อุตสาหะ เป็นลักษณะ และมีการ ถือไว้ เป็นลักษณะ ส่วน ปัญญา มีการ ตัด เป็นลักษณะ "
   " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มนสิการ มีการถือไว้เป็นลักษณะอย่างไร ปัญญา มีการตัดเป็นลักษณะอย่างไร ขอจงอุปมาให้แจ้งด้วย ? "

   อุปมาคนเกี่ยวข้าว
   " มหาบพิตรทรงรู้จักวิธีเกี่ยวข้าวบ้างไหม ? "
   " อ๋อ…รู้จัก พระผู้เป็นเจ้า "
   " วิธีเกี่ยวข้าวนั้นคืออย่างไร ? "
   " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คือคนจับกอข้าวด้วยมือข้างซ้าย แล้วเอาเคียวตัดให้ขาดด้วยมือข้างขวา "
   " มหาราชะ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด คือ พระโยคาวจรถือไว้ซึ่ง มนสิการ คือกิเลสอันมีในใจของตนแล้ว ก็ตัดด้วย ปัญญา ฉันนั้น
   มนสิการ มีลักษณะถือไว้ ปัญญา มีลักษณะตัด อย่างนั้แหละขอถวายพระพร "
   " ถูกดีแล้ว พระนาคเสน "

   อธิบาย
   คำว่า มนสิการ มีลักษณะ ถือไว้ หมายถึงการกำหนดจิตพิจารณา ขันธ์ ๕
   คือร่างกายว่ามีสภาพเป็นอย่างไร
   ส่วน ปัญญา มีลักษณะ ตัด หมายถึงยอมรับนับถือกฏธรรมดาว่า ร่างกายมีสภาพเป็น อนิจจัง
   ทุกขัง อนัตตา ไม่ยึดถือว่า " มันเป็นเราเป็นของเรา " ดังนี้

นำมาแบ่งปันโดย : miracle of love
:http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=205.0
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ จีรานุช

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 28
  • พลังกัลยาณมิตร 25
    • ดูรายละเอียด
Re: โยนิโสมนสิการ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 05:39:07 pm »
                               :13:          อนุโมทนา ในหัวข้อ ตอบกลับ # 3 ค่ะ           :13:

น้องต๊ะเจ้าเก่า

  • บุคคลทั่วไป
Re: โยนิโสมนสิการ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 10:24:24 pm »
 :42: :42: :42:

นี่แหละหนา ตัวอย่างง่ายๆ ของการเลือกเฟ้นธรรม

การรู้จักเลือกเฟ้นธรรม ย่อมรู้จักว่า ควรจะอนุโมทนาในสภาวะธรรมใน ข้อใด

ระหว่าง

หนังสือพุทธรรม ที่ยังคงกล่าวแต่การหลงวนเวียนในเรื่องสังขาร

vs.

พระนาคเสน ที่กล่าวเลยเรื่องไร้สาระแบบสังขาร
กล่าวธรรม เลยไปจนถึงเรื่องปัญญา ที่เข้าไปตัดอวิชชา และการตัดสังขารอ่า

ไปอ่านกันดูให้ดีๆๆๆหลายๆๆๆๆรอบ อ่าจ๊ะ
 :42: :42: :42:








ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โยนิโสมนสิการ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 07, 2012, 03:45:10 pm »

โยนิโสมนสิการมีอุปการะมากแก่อริยมรรค
[๑๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิด
ขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งการ
กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดย
แยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่ง
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่าง
ไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดย
แยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
โยนิโสมนสิการมีอุปการะมากแก่อริยมรรค

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=795&Z=904&pagebreak=0


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โยนิโสมนสิการ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2015, 11:08:04 pm »


ไม่มีธรรมอื่นอีกแล้ว ที่ขจัดข้อสงสัยได้เหมือน “โยนิโสมนสิการ”

หากท่านใด มีข้อสงสัยในข้อธรรมใดๆ พระพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้ "โยนิโสมนสิการ"
แก้ข้อสงสัยนั้น เพื่อนๆท่านใดยังไม่เข้าใจคำว่า “โยนิโสมนสิการ” เชิญพิจารณาได้เลยครับ

โยนิโสมนสิการ  การใช้ความคิดถูกวิธี คือ
- การกระทำในใจโดยแยบคาย
- มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย
- แยกแยะออก พิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบ และโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
- โยนิโสมนสิการนี้ อยู่ใน ฝ่ายปัญญา
..
..
พระพุทธพจน์ที่กล่าวถึง โยนิโสมนสิการ มีดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

“เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

“โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ
..
..
ธรรมข้ออื่น ที่ได้รับยกย่องคล้ายกับโยนิโสมนสิการนี้ ในบางแง่ ได้แก่
อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท),
วิริยารัมภะ (การปรารภความเพียร, ทำความเพียรมุ่งมั่น),
อัปปิจฉตา (ความมักน้อย, ไม่เห็นแก่ได้),
สันตุฏฐี (ความสันโดษ),
สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว, สำนึกตระหนักชัดด้วยปัญญา);
กุสลธัมมานุโยค (การหมั่นประกอบกุศลธรรม);
ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ),
อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว),
ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ),
และ อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งอัปปมาทะ)

อ้างอิง   สํ.ม.๑๙/๕-๑๒๙/๒-๓๖; องฺ.เอก.๒๐/๖๐-๑๘๖/๑๓-๔๑; ขุ.อิติ. ๒๕/๑๙๔/๒๓๖
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
------------------------------------- 

อัปปมาทะ ความไม่ประมาท คือ
ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ ความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่

- การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความอันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย
- การทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป
- ข้อนี้เป็น องค์ประกอบภายใน และเป็น ฝ่ายสมาธิ
..
..
พระพุทธพจน์ที่กล่าวถึง อัปปมาทะ มีดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

“ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัษฎางคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”

“รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใด ๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด, รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด   กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด  ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้นฉันนั้น”

“ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย”

“ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้าหรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจหรือคุณธรรม) ก็คือความไม่ประมาท”

“สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา  ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

“ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ
 
อ้างอิง   ที.ม.๑๐/๑๔๓/๑๘๐; สํ.ส.๑๕/๓๗๘-๓๘๔/๑๒๕-๑๒๙; สํ.ม.๑๙/๑๓๕-๒๖๒/๓๗-๖๖; องฺ.เอก.๒๐/๖๐-๑๑๖/๑๓-๒๓; อํ.ฉกฺก.๒๒/๓๒๔/๔๐๗; องฺ.ทสก.๒๔/๑๕/๒๓
ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
---------------------------------------------

โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด
มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา
อัปปมาท ความไม่ประมาท, ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อยปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจรญ, ความมีสติรอบคอบ
ความไม่ประมาท พึงกระทำในที่ ๔ สถาน คือ
 
๑) ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
๒) ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
๓) ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
๔) ในการละความเห็นผิด ประกอบความเห็นที่ถูก;

อีกหมวด หนึ่งว่า
๑) ระวังใจไม่ให้กำหนัด
๒) ระวังใจไม่ให้ขัดเคือง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
๓) ระวังใจไม่ให้หลง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
๔) ระวังใจไม่ให้มัวเมา ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)
raponsan - http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=585.0