ผู้เขียน หัวข้อ: พระเถรีสมัยพุทธกาล  (อ่าน 26818 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 07:07:50 pm »



บวชแล้วยังถูกข่มขืน

ฝ่ายนันทมาณพ ผู้เป็นลูกชายของลุงของพระเถรีนั้น มีจิตหลงรักนางตั้งแต่ยังไม่บวช
เมื่อทราบข่าวว่าพระเถรีมาพักที่ป่าอันธวันใกล้เมืองสาวัตถี

จึงได้ถือโอกาสขณะที่พระเถรีเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีนั้น ได้เข้าไปในกระท่อม
หลบซ่อนตัวอยู่ใต้เตียง

เมื่อพระเถรีกลับมาแล้ว เข้าไปในกระท่อมปิดประตูแล้วนั่งลงบนเตียง ขณะที่สายตา
ยังไม่ปรับเข้ากับความมืดในกระท่อม

นันทมาณพก็ออกมาจากใต้เตียงตรงเข้าปลุกปล้ำข่มขืนพระเถรี ถึงแม้พระเถรี
จะร้องห้ามว่า:-
“เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย”

นันทมาณพ ก็ไม่ยอมเชื่อฟัง ได้ทำการข่มขืนพระเถรีสมปรารถนาแล้วก็หลีกหนีไป
พอเขาหลบหนีไปได้ไม่ไกล แผ่นดินใหญ่ก็มีอาการประหนึ่งว่า

ไม่สามารถจะรองรับน้ำหนักของเขาเอาไว้ได้ จึงอ่อนตัวยุบลง แล้วนันทมาณพ
ก็จมดิ่งลงในแผ่นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรก

ฝ่ายพระอุบลวรรณาเถรี ก็มิได้ปิดบังเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้บอกแจ้งเหตุที่เกิดขึ้น
กับตนนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ต่อจากนั้นเรื่องราวของพระเถรีก็ทราบถึงพระบรมศาสดา



พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-

“คนพาล ย่อมร่าเริงยินดีในบาปกรรมลามกที่ตนกระทำ ประดุจว่าดื่มน้ำผึ้งที่มีรสหวาน
จนกว่าบาปกรรมนั้นจะให้ผลจึงจะได้ประสบกับความทุกข์ เพราะกรรมนั้น”

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2011, 03:13:31 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 07:09:26 pm »


พระขีณาสพเหมือนไม้แห้งไม้ผุ

เมื่อกาลเวลาล่วงไปภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์
ของพระอุบลวรรณาเถรี นั้นว่า:-

“ท่านทั้งหลาย เห็นทีพระขีณาสพทั้งหลาย คงจะยังมีความยินดีในกามสุข
คงจะยังจะพอใจในการเสพกาม

ก็ทำไมจะไม่เสพเล่า เพราะท่านเหล่านั้นมิใช่ไม้ผุ มิใช่จอมปลวก อีกทั้งเนื้อหนังร่างกายทั่วทั้งสรีระ
ก็ยังสดอยู่ ดังนั้น แม้จะเป็นพระขีณาสพก็ชื่อว่ายังยินดีในการเสพกาม”



พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามทรงทราบเนื้อความที่พวกภิกษุเหล่านั้นสนทนากันแล้ว
จึงตรัสว่า:-

“ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลายนั้นไม่ยินดีในกามสุข ไม่เสพกาม เปรียบเสมือนหยาดน้ำ
ตกลงในใบบัวแล้วไม่ติดอยู่

ย่อมกลิ้งตกลงไป และเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด ย่อมไม่ติดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉันใด
ขึ้นชื่อว่ากามก็ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ติดอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น”

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 07:11:24 pm »




ห้ามภิกษุณีอยู่ป่า

ต่อมาพระบรมศาสดา ทรงพิจารณาเห็นภัยอันจะเกิดแก่กุลธิดา
ผู้เข้ามาบวชแล้วพักอาศัยอยู่ในป่า

อาจจะถูกคนพาลลามกเบียดเบียนประทุษร้าย ทำอันตราย
ต่อพรหมจรรย์ได้

จึงรับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาเฝ้า ตรัสให้ทราบพระดำริ
แล้ว ขอให้สร้างที่อยู่อาศัย เพื่อนางภิกษุณีสงฆ์

ในที่บริเวณใกล้ ๆ พระนคร และตั้งแต่นั้นมา ภิกษุณีก็มีอาวาส
อยู่ในบ้านในเมืองเท่านั้น

พระอุบลวรรณาเถรี ปรากฏว่าเป็นผู้ชำนาญในการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ดังจะเห็น
ได้ในวันที่ พระบรมศาสดาทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์นั้น

พระเถรีก็กราบทูลอาสาขอแสดงฤทธิ์เพื่อต่อสู้กับพวกเดียรถีย์แทนพระพุทธองค์ด้วย
และทรงอาศัยเหตุนี้จึงได้ทรงสถาปนาพระอุบลวรรณาเถรีนี้

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์ และเป็น
อัครสาวิกาฝ่ายซ้าย



ข้อมูลด้านล่างส่วนนี้นำมาจาก : http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y3676330/Y3676330.html

พระอุบลวรรณาเถรีได้กล่าวแก่ที่ประชุมว่า พระพุทธเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้ง นางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในหมู่พุทธบริษัทว่า " อุบลวรรณา " " อุบลวรรณาภิกษุณี เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีที่มีฤทธิ์ " คราวหนึ่งพระอุบลวรรณาเถรี มีความสุขอยู่ด้วยณานและสมาบัติ วันหนึ่งท่านพิจารณาเห็นโทษของกามทั้งหลายที่โลกียชนพากันวุ่นวายเดือดร้อนในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นเครื่องทำให้ตกต่ำเศร้าหมอง เป็นที่น่าสลดใจ  ยิ่งท่านระลึกถึงชาติหนหลังของท่าน ที่ได้ประพฤติตัวเลวทราม เพราะกามเป็นเหตุท่านได้เล่าชีวิตของท่านในชาติก่อนแก่เพื่อนภิกษุณีทั้งหลาย ( ปรากฏอยู่ในอรรถกถาแห่งเถรีคาถา )

ดังนี้...
กาม ทำความเสื่อมเสียให้แก่มนุษย์อย่างน่าสลดใจน่าขยะแขยง
เพราะกามไม่มีชาติ ไม่มีสกุล เป็นเรื่องเลวทราม

เมื่อครั้งที่นางอุบลวรรณายังท่องเที่ยวอยู่ในกาม ยังบริโภคกามอยู่ นางได้บุตรชายเป็นสามี และเกิดไปมีสามีคนเดียวกันกับลูกสาว ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว ก็เพราะกามนั้นแหละ การที่พระอุบลวรรณาเถรี สามารถระลึกชาติก่อน ๆ ได้ ทิพยจักษุ เจโตปริยญาณ และ ทิพโสต ธาตุชำระ ให้หมดจด กระทั่งฤทธิ์ก็ทำได้สำเร็จแล้ว ความสิ้นอาสวะ ก็ได้บรรลุแล้ว รวมทั้งได้อภิญญา ๖ ด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นพระอุบลวรรณาเถรีก็ได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ พระอุบลวรรณาเถรีได้เนรมิตรถเทียมด้วยม้า ๔ ตัว นั่งเข้าไปถวายบังคมพระยุคลบาท ณ ที่นั้นด้วย เรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ย่อมแสดงถึงความเป็นยอดภิกษุณีของพระอุบลวรรณาเถรี ซึ่งมีฤทธิ์เทียบเท่ากับพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย ของพระพุทธองค์


แม้จะต้องผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตขนาดถูกข่มขืนในกุฏิของท่านเอง แต่ท่านหาได้หวั่นไหวหรือท้อถอยแต่ประการใดไม่ ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าช่วยประกาศพระศาสนาแก่มวลพุทธบริษัททั้งหลาย จนมีผลงานเป็นที่ยอมรับทั่วไปได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นอัครสาวิกา เบื้องซ้ายของพระบรมศาสดาทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพราะท่านเป็นพระองค์อรหันต์ที่แท้จริงนั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2011, 10:12:58 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 07:12:19 pm »




พระปฏาจาราเถรี

พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของมหาเศรษฐีในเมืองสารวัตถี
เมื่ออายุย่างได้ ๑๖ ปี เป็นหญิงมีความงดงามมาก

บิดามารดาทะนุถนอมห่วงใยให้อยู่บนปราสาท ชั้น ๗ เพื่อป้องกัน
การคบหากับชายหนุ่ม




ดอกฟ้าได้ยาจก

แม้กระนั้น เพราะนางเป็นหญิงโลเลในบุรุษ จึงได้คบหาเป็นภรรยาคนรับใช้
ในบ้านของตน ต่อมาบิดามารดาของนางได้ตกลงยกนางให้แก่ชายคนหนึ่ง

ที่มีชาติสกุลและทรัพย์เสมอกัน เมื่อใกล้กำหนดวันวิวาห์ นางได้พูดกับ
คนรับใช้ผู้เป็นสามีว่า:- “ได้ทราบว่า บิดามารดาได้ยกฉันให้กับลูกชายสกุลโน้น
ต่อไปท่านก็จะไม่ได้พบกับฉันอีก ถ้าท่านรักฉันจริง ท่านก็จงพาฉันหนีไป
จากที่นี่ แล้วไปอยู่ร่วมกันที่อื่นเถิด”

เมื่อตกลงนัดหมายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วชายคนรับใช้ผู้เปลี่ยนฐานะมาเป็นสามีนั้น
ได้ไปรออยู่ข้างนอก แล้วนางก็หนีบิดามารดาออกจากบ้าน

ไปร่วมครองรักครองเรือนกันในบ้านตำบลหนึ่งซึ่งไม่มีคนรู้จัก ช่วยกันทำไร่ ไถนา
เข้าป่าเก็บผักหักฟืนหาเลี้ยงกันไปตามอัตภาพ นางต้องตักน้ำตำข้าว
หุงต้มด้วยมือของตนเอง ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส เพราะตนไม่เคยทำมาก่อน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2011, 04:26:48 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 07:36:05 pm »





คลอดลูกกลางทาง

กาลเวลาผ่านไป นางได้ตั้งครรภ์บุตรคนแรก เมื่อครรภ์แก่ขึ้นนางจึงอ้อนวอนสามี
ให้พานางกลับไปยังบ้านของบิดามารดาเพื่อคลอดบุตร เพราะการคลอดบุตรในที่ไกล

จากบิดามารดาและญาตินั้นเป็นอันตราย แต่สามีของนางก็ไม่กล้าพากลับไป
เพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง จึงพยายามพูดจาหน่วงเหนี่ยวเธอไว้

จนนางเห็นว่าสามีไม่พาไปแน่ วันหนึ่ง เมื่อสามีออกไปทำงานนอกบ้าน
นางจึงสั่งเพื่อนบ้าน
ใกล้เคียงกัน ให้บอกกับสามีด้วยว่านางไปบ้านของบิดามารดาแล้วนางก็ออกเดินทาง

ไปตามลำพัง เมื่อสามีกลับมาทราบความจากเพื่อนบ้านแล้ว ด้วยความห่วงใยภรรยาจึงรีบ
ออกติดตามไปทันพบนางในระหว่างทาง แม้จะอ้อนวอนอย่างไรนางก็ไม่ยอมกลับ

ทันใดนั้น ลมกัมมัชวาต คือ อาการปวดท้องใกล้คลอด ก็เกิดขึ้นแก่นาง จึงพากัน
เข้าไปใต้ร่มริมทาง
นางนอนกลิ้งเกลือกทุรนทุรายเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างหนัก ในที่สุดก็คลอดบุตรออกมา

ด้วยความยากลำบาก เมื่อคลอดบุตรโดยปลอดภัยแล้ว ก็ปรึกษากันว่า “กิจที่ต้องการ
ไปคลอด ที่เรือนของบิดามารดานั้นก็สำเร็จแล้ว
จะเดินทางต่อไปก็ไม่มีประโยชน์” จึงพากันกลับบ้านเรือนของตน อยู่ร่วมกันต่อไป




สามีถูกงูกัดตาย

ต่อมาไม่นานนักนางก็ตั้งครรภ์อีก เมื่อครรภ์แก่ขึ้นตามลำดับนางจึงอ้อนวอนสามี
เหมือนครั้งก่อน
แต่สามีก็ยังคงไม่ยินยอมเช่นเดิม นางจึงอุ้มลูกคนแรกหนีออกจากบ้านไป

แม้สามีจะตามมาทันชักชวนให้กลับก็ไม่ยอมกลับ จึงเดินทางร่วมกันไป เมื่อเดินทาง
มาได้อีกไม่ไกลนัก เกิดลมพายุพัดอย่างแรงและฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก
พร้อมกันนั้นนางก็ปวดท้องใกล้จะคลอดขึ้นมาอีก จึงพากันแวะลงข้างทาง ฝ่ายสามีได้ไป
หาตัดกิ่งไม้ เพื่อมาทำเป็นที่กำบังลมและฝน แต่เคราะห์ร้ายถูกงูพิษกัดตายในป่านั้น

นางทั้งปวดท้องทั้งหนาวเย็น ลมฝนก็ยังคงตกลงมาอย่างหนัก สามีก็หายไป
ไม่กลับมา ในที่สุดนางก็คลอดบุตรคนที่สองอย่างน่าสังเวช ลูกของนางทั้งสองคน
ทนกำลังลมและฝนไม่ไหว ต่างก็ร้องไห้กันเสียงดังลั่นแข่งกับลมฝน
นางต้องเอาลูกทั้งสองมาอยู่ใต้ท้อง โดยนางใช้มือและเข่ายืนบนพื้นดิน
ในท่าคลาน ได้รับ ทุกขเวทนาอย่างมหันต์สุดจะรำพันได้

เมื่อรุ่งอรุณแล้วสามีก็ยังไม่กลับมา จึงอุ้มลูกคนเล็กซึ่งเนื้อหนังยังแดง ๆ อยู่
จูงลูกคนโตออกตามหาสามี เห็นสามีนอนตายอยู่ข้างจอมปลวก จึงร้องไห้รำพันว่า
สามีตายก็เพราะ นางเป็นเหตุ เมื่อสามีตายแล้ว ครั้นจะกลับไปที่บ้านทุ่งนา
ก็ไม่มีประโยชน์ จึงตัดสินใจไปหาบิดามารดาของตนที่เมืองสาวัตถี
โดยอุ้มลูกคนเล็ก และจูงลูกคนโต
เดินไปด้วยความทุลักทุเล เพราะความเหนื่อยอ่อนอย่างหนักดูน่าสังเวชยิ่งนัก




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2011, 04:18:10 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 07:38:44 pm »




หัวใจสลายเพราะสูญเสียลูกน้อยทั้งสอง

นางเดินทางมาถึงริมฝั่งแม่น้ำจิรวดี มีน้ำเกือบเต็มฝั่งเนื่องจากฝนตกหนัก
เมื่อคืนที่ผ่านมา นางไม่สามารถจะนำลูกน้อยทั้งสองข้ามแม่น้ำไปพร้อมกันได้
เพราะนางเองก็ว่ายน้ำไม่เป็น แต่อาศัยที่น้ำไม่ลึกนักพอที่เดินลุยข้ามไปได้
จึงสั่งให้ลูกคนโตรออยู่ก่อนแล้ว อุ้มลูกคนเล็กข้ามแม่น้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

เมื่อถึงฝั่งแล้วได้นำใบไม้มาปูรองพื้นให้ลูกคนเล็กนอนที่ชายหาดแล้วกลับไปรับ
ลูกคนโตด้วยความห่วงใยลูกคนเล็ก นางจึงเดินพลางหันกลับมาดูลูกคนเล็กพลาง
ขณะที่มาถึงกลางแม่น้ำนั้น มีนกเหยี่ยวตัวหนึ่งบินวนไปมาอยู่บนอากาศ

มันเห็นเด็กน้อยนอนอยู่มีลักษณะเหมือนก้อนเนื้อ จึงบินโฉบลงมาแล้วเฉี่ยวเอา
เด็กน้อยไป นางตกใจสุดขีดไม่รู้จะทำอย่างไรได้ จึงได้แต่โบกมือร้องไล่ตามเหยี่ยว
ไป แต่ก็ไม่เป็นผล เหยี่ยวพาลูกน้อยของนางไปเป็นอาหาร

ส่วนลูกคนโตยืนรอแม่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง เห็นแม่โบกมือทั้งสองตะโกนร้องอยู่
กลางแม่น้ำ ก็เข้าใจว่าแม่เรียกให้ตามลงไป
จึงวิ่งลงไปในน้ำด้วยความไร้เดียงสา ถูกกระแสน้ำพัดพาจมหายไป




ทราบข่าวการตายของบิดามารดาถึงกับเสียสติ

เมื่อสามีและลูกน้อยทั้งสองตายจากนางไปหมดแล้วเหลือแต่นางคนเดียว
นางจึงเดินทางมุ่งหน้าสู่บ้านเรือนของบิดามารดา ทั้งหิวทั้งเหนื่อยล้า
ได้รับความบอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ รู้สึกเศร้าโศกเสียใจสุดประมาณ
พลางเดินบ่นรำพึงรำพันไปว่า:-

“บุตรคนหนึ่งของเราถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป บุตรอีกคนหนึ่งถูกน้ำพัดไป
สามีก็ตายในป่าเปลี่ยว”

นางเดินไปก็บ่นไปแต่ก็ยังพอมีสติอยู่บ้างได้พบชายคนหนึ่งเดินสวนทางมา
สอบถามทราบว่ามาจากเมืองสาวัตถี จึงถามถึงบิดามารดาของตนที่อยู่ในเมืองนั้น
ชายคนนั้นตอบว่า:- “น้องหญิงเมื่อคืนนี้เกิดลมพายุและฝนตกอย่างหนัก
เศรษฐีสองสามีภรรยาและลูกชายอีกคนหนึ่ง ถูกปราสาทของตนพังล้มทับ

ตายพร้อมกันทั้งครอบครัวเธอจงมองดูควันไฟที่เห็นอยู่โน่น ประชาชนร่วมกันทำการ
เผาทั้ง ๓ พ่อ แม่ และลูกบนเชิงตะกอนเดียวกัน” นางปฏาจารา พอชายคนนั้น
กล่าวจบลงแล้ว ก็ขาดสติสัมปชัญญะไม่รู้สึกตัวว่าผ้านุ่งผ้าห่มที่นางสวมใส่อยู่หลุด
ลุ่ยลงไป เดินเปลือยกายเป็นคนวิกลจริตร้องไห้บ่นเพื่อรำพันเซซวนคร่ำครวญว่า:-

“บุตรสองคนของเราตายแล้ว สามีของเราก็ตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดา
และพี่ชายของเราก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน” นางเดินไปบ่นไปอย่างนี้ คนทั่วไป
เห็นแล้วคิดว่า “นางเป็นบ้า” พากันขว้างปาด้วยก้อนดินบ้าง โรยฝุ่นลงบนศีรษะ
นางบ้าง และนางยังคงเดินต่อเรื่อยไปอย่างไร้จุดหมายปลายทาง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2013, 12:11:40 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:29:30 pm »




หายบ้าแล้วได้บวช

ขณะนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางพุทธบริษัท ทรงทราบด้วยพระฌาณ
ว่านางปฏาจารามีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตต์ จึงบันดาลให้นางเดินทางมายังวัดพระเชตวัน

นางได้เดินมายืนใกล้เสาศาลาโรงธรรมอยู่ท้ายสุด พุทธบริษัทหมู่คนทั้งหลาย
พากันขับไล่นางให้ออกไป แต่พระบรมศาสดาตรัสห้ามไว้
แล้วตรัสกับนางว่า “จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง” ด้วยพุทธานุภาพ

นางกลับได้สติในขณะนั้นเอง มองดูตัวเองเปลือยกายอยู่ รู้สึกอายจึงนั่งลง
อุบาสกคนหนึ่งโยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางเข้าไปกราบถวายบังคมพระศาสดา
ที่พระบาท แล้วกราบทูลเคราะห์กรรมของนางให้ทรงทราบโดยลำดับ



 พระพุทธองค์ได้ตรัสพระดำรัสว่า:- “แม่น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ยังน้อยกว่าน้ำตา
ของคนที่ถูกความทุกข์ความเศร้าโศกครอบงำ ปฏาจารา เพราะเหตุไร เธอจึงยังประมาทอยู่”


ปฏาจารา ฟังพระดำรัสนี้แล้วก็คลายความเศร้าโศกลง พระบรมศาสดา ทรงทราบว่านาง
หายจากความเศร้าโศกลงแล้ว จึงตรัสต่อไปว่า:-

“ปฎาจารา ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้านทานหรือเป็นที่ป้องกัน
แก่ผู้ไปสู่ปรโลกได้ บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ก็เหมือนไม่มี
ส่วนผู้รู้ทั้งหลายรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ควรชำระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น”


เมื่อจบพระธรรมเทศนา นางปฏาจาราดำรงอยู่ในโสดาปัตผล เป็นพระอริยบุคคล
ชั้นพระโสดาบัน แล้วกราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้ว จึงบวชเป็น
ภิกษุณี ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เมื่อนางปฏาจาราได้อุปสมบทแล้ว
ปรากฏว่าเป็นพระเถรีผู้มีความรอบรู้ในเรื่องพระวินัยเป็นอย่างดี อาศัยเหตุนี้
พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้
ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย






ข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่าง ส่วนนี้นำมาจาก : http://www.dharma-gateway.com/bhikunee/pra-pata-jara.htm

นางได้ตั้งความปรารถนาไว้ในชาติก่อน

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ นางปฏาจารานั้น เห็นพระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยรูปหนึ่ง อันพระปทุมุตตรศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ จึงทำคุณความดีแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า “แม้หม่อมฉันพึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า พระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยทั้งหลายในสำนักพระพุทธเจ้าเช่นกับด้วยพระองค์.” พระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงเล็งอนาคตตั้งญาณไป ก็ทรงทราบความปรารถนาจะสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า
“ในอนาคตกาลหญิงผู้นี้จักเป็นผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยทั้งหลาย มีนามว่าปฏาจาราในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า
.”

พระศาสดา ทรงเห็นนางผู้มีความปรารถนาตั้งไว้แล้วอย่างนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร กำลังเดินมาแต่ที่ไหนเทียว ทรงดำริว่า
“เว้นเราเสีย ผู้อื่นชื่อว่าสามารถจะเป็นที่พึ่งของหญิงผู้นี้ได้ ไม่มี” จึงได้ทรงบันดาลให้นางเดินบ่ายหน้ามาสู่วิหาร
พวกพุทธบริษัทเห็นนางแล้วจึงกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าให้หญิงบ้านี้มาที่นี้เลย.”พระศาสดาตรัสว่า “พวกท่านจงหลีกไป อย่าห้ามเธอ”
ในเวลานางมาใกล้ จึงตรัสว่า “จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง.”
นางกลับได้สติด้วยพุทธานุภาพในขณะนั้นเอง.
ในเวลานี้ นางกำหนดความที่ผ้านุ่งหลุดได้แล้ว ให้เกิดหิริโอตัปปะขึ้น จึงนั่งกระโหย่ง.

ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งจึงโยนผ้าห่มไปให้นาง. นางนุ่งผ้านั้นแล้วเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แทบพระบาททั้งสองซึ่งมีพรรณะดังทองคำแล้วทูลว่า “ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า เพราะว่าเหยี่ยวเฉี่ยวบุตรคนหนึ่งของหม่อมฉันไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับตายเขาเผาเชิงตะกอนเดียวกัน.”

พระศาสดาทรงสดับคำของนาง จึงตรัสว่า

“อย่าคิดเลยปฏาจารา เธอมาอยู่สำนักของผู้สามารถจะเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของเธอได้แล้ว
เหมือนอย่างว่า บัดนี้ บุตรคนหนึ่งของเธอถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป
สามีตายแล้วที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับฉันใด น้ำตาที่ไหลออกของเธอ 
ผู้ร้องไห้อยู่ในสังสารนี้ ในเวลาที่ปิยชนมีบุตรเป็นต้น  ตาย ยังมากกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

“น้ำในสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้อย น้ำตาของคนผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก
ไม่ใช่น้อย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น เหตุไร เธอจึงประมาทอยู่เล่า? แม่น้อง.”


เมื่อพระศาสดาตรัสอนมตัคคปริยายสูตรอยู่อย่างนั้น ความโศกในสรีระของนาง ได้ถึงความเบาบางแล้ว.ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบที่นางผู้มีความโศกเบาบางแล้ว ทรงเตือนอีก แล้วตรัสว่า

ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่อาจเพื่อเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลกได้;เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงมีอยู่ ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีทีเดียว ส่วนบัณฑิตชำระศีลแล้ว ควรชำระทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพานของตนเท่านั้น

เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

“บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน บิดาก็ไม่มี
ถึงพวกพ้องก็ไม่มี เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำ
แล้ว ความต้านทาน
ในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว สำรวมในศีล
พึงชำระทางไปนิพพานโดยเร็วทีเดียว.”

ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
ดังนี้แล.

นางปฏาจาราทูลขอบวช

ฝ่ายนางปฏาจารานั้นเป็นโสดาบันแล้ว ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. พระศาสดาทรงส่งนางไปยังสำนักของพวกภิกษุณีให้บรรพชาแล้ว. นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า “ปฏาจารา” เพราะนางกลับความประพฤติได้.

วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง.น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด.
ครั้งที่ ๒ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น.
ครั้งที่ ๓ น้ำที่เทลง ได้ไหลไปไกลกว่าแม้นั้น ด้วยประการฉะนี้. นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง ๓ แล้ว คิดว่า

“สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก
ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น
ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น.”


พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป เป็นดัง ประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า

“ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

“ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม อยู่พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี
ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.”


นางครั้นบวชแล้ว ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตต์ เรียนพุทธวจนะ. ท่านเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในวินัยปิฏก.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2013, 07:54:36 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:30:21 pm »


พระนันทาเถรี

เอตทัคคะในฝ่ายผู้แพ่งด้วยฌาน

พระนันทาเถรี เป็นธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็น
กนิษฐภคินีของเจ้าชายนันทะ พระนามเดิมว่า “นันทา” แต่เพราะนางมีพระสิริโฉมงดงามยิ่งนัก

น่าทัศนา น่ารัก น่าเลื่อมใส พระประยูรญาติจึงพากันเรียกว่า “รูปนันทา” บ้าง
“อภิรูปนันทา” บ้าง “ชนปทกัลยาณี” บ้าง


เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้นับเนื่องเป็นพระเชษฐาของนาง เสด็จออกบรรพชา ได้ตรัสรู้
เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแล้ว เสด็จมาโปรดพระประยุรญาติ ณ พระนครกบิลพัสดุ์

เทศนาสั่งสอนให้ได้บรรลุมรรคผลตามวาสนาบารมี ทรงนำพาศากยกุมารทั้งหลายมีพระนันทะ
พระราหุล และพระภัททิยะ เป็นต้น ออกบรรพชา

ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชพุทธบิดา เสด็จเข้าสู่พระนิพพานแล้ว พระนางมหาปชาบดี
โคตรมีพระมารดา และพระนางยโสธราพิมพาพระมารดาของพระราหุล

ต่างก็พาสากิยกุมารีออกบวชในพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งสิ้น นางจึงมีพระดำรัสว่า “เหลือแต่เรา
เพียงผู้เดียว ประหนึ่งไร้ญาติขาดมิตร จะมีประโยชน์อะไรกับการดำรงชีวิตในฆราวาสวิสัย

สมควรที่เราจะไปบวชตามพระประยูรญาติผู้ใหญ่ของเราจะประเสริฐกว่า”

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:31:27 pm »


เพราะรักญาติจึงออกบวช

เมื่อพระนางมีพระดำริดังนี้แล้ว จึงจัดเตรียมผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จไปสู่สำนักพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
กราบแทบเท้ากล่าวขอบรรพชาอุปสมบทพระเถรี ก็โปรดให้บรรพชา

ตามปรารถนา แต่การบวชของพระนางนันทานั้นมิใช่บวชด้วยความศรัทธา แต่อาศัยความรักใน
หมู่ญาติจึงออกบวชครั้นบวชแล้ว พระรูปนันทาเถรีได้ทราบว่า พระพุทธองค์ทรงตำหนิติเตียน

เรื่องรูปกาย จึงไม่กล้าไปเฝ้าพระศาสดา เพื่อรับพระโอวาท เมื่อถึงวาระที่ตนจะต้องไปรับโอวาท
ก็สั่งให้ภิกษุณีรูปอื่นไปรับแทน พระบรมศาสดาทรงทราบว่าพระนางหลงมัวเมาในพระสิริโฉม

ของตนเอง จึงตรัสรับสั่งว่า:-
“ต่อแต่นี้ ภิกษุณีทั้งหลาย ต้องมารับโอวาทด้วยตนเอง จะส่งภิกษุณีรูปอื่นมารับแทนไม่ได้”

ตั้งแต่นั้น พระรูปนันทาเถรี ไม่มีทางอื่นที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ จึงจำเป็นและจำใจไปรับพระโอวาท
ทั้ง ๆ ที่ไม่ปรารถนา ไปเฝ้าพระบรมศาสดาพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย แต่มิกล้าแม้กระทั่ง

จะนั่งอยู่แถวหน้า จึงนั่งหลบอยู่ด้านหลัง  พระพุทธองค์ทรงเนรมิตรูปหญิงสาววัยรุ่นคนหนึ่ง
ให้มีรูปสิริโฉมสวยงามสุดที่จะหาหญิงใดในปฐพีมาเปรียบได้ ให้หญิงนั้นดูประหนึ่งว่า

ถือพัดวีชนีถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังของพระพุทธองค์ และให้สามารถมองเห็นเฉพาะพระพุทธองค์
กับพระรูปนันทาเถรีเท่านั้น  พระรูปนันทาเถรีได้เห็นหญิงรูปเนรมิตนั้นแล้วก็คิดว่า เราหลงผิด

คิดมัวเมาอยู่ในรูปโฉมของตนเองโดยใช่เหตุ จึงมิกล้ามาเฝ้าพระพุทธองค์ หญิงคนนี้มีความสนิมสนม
อยู่ในสำนักพระบรมศาสดา รูปโฉมของเรานั้นเทียบไม่ได้ส่วนเสี้ยวที่ ๑๖ ของหญิงนี้เลย ดูนาง

ช่างงามยิ่งนัก ผมก็สวย หน้าผากก็สวย หน้าตาก็สวย ทุกสิ่งทุกอย่างช่างสวยงามพร้อมทั้งหมด


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:33:52 pm »


พอเบื่อหน่ายก็ได้สำเร็จ

เมื่อพระรูปนันทาเถรี กำลังเพลิดเพลินชื่นชมโฉมของรูปหญิงเนรมิตอยู่นั้น
พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานให้รูปหญิงนั้นปรากฏอยู่ในวัยต่าง ๆ ตั้งแต่เป็นหญิงวัยรุ่น

เป็นหญิงสาววัยมีลูก หนึ่งคน มีลูก ๒ คน จนถึงวัยกลางคน วัยชราและวัยแก่หง่อม
ผมหงอก ฟันหัก หลังค่อม และล้มตายลงในขณะนั้น ร่างกายมีหมู่หนอน

มาชอนไชเจาะกินเหลือแต่โครงกระดูก พระพุทธองค์ทรงทราบว่าพระรูปนันทาเถรี เกิด
ความสังเวชสลดจิตเบื่อหน่ายในรูปกายที่ตนยึดถือแล้วจึงตรัสว่า:-

“ดูก่อนนันทา เธอจงดูอัตภาพร่างกายอันเป็นเมืองแห่งกระดูกนี้ (อฏฺฐีนํนครํ)
อันกระสับกระส่าย ไม่สะอาด อันบูดเน่านี้เถิด เธอจงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง มีอารมณ์เดียว

ในอสุภกรรมฐาน จงถอนมานะละทิฏฐิให้ได้แล้วจิตใจของเธอก็จะสงบ จงดูว่ารูปนี้เป็นฉันใด
รูปของเธอก็เป็นฉันนั้น รูปของเธอเป็นฉันใดรูปนี้ก็เป็นฉันนั้น รูปอันมีกลิ่นเหม็นบูดเน่านี้

ย่อมเป็นที่เพลิดเพลินอย่างยิ่งของผู้โง่เขลาทั้งหลาย” พระรูปนันทาเถรี ส่งกระแสจิตไปตามพระพุทธดำรัส
เมื่อจบลงก็สิ้นกิเลสาสวะ บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา

ปรากฏว่าเมื่อพระนางสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วเป็นผู้มีความชำนาญพิเศษในการเพ่งด้วยฌาน ด้วยเหตุนี้
พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย

ในฝ่าย ผู้แพ่งด้วยฌาน หรือ ผู้ทรงฌาน



ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มี ๔ คือ

๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ปีติ สุข เอกัคคตา

๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔. จตุถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา