ผู้เขียน หัวข้อ: นิวรณ์ ศัตรู หรือ ครูผู้สอนใจ  (อ่าน 2649 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

   นิวรณ์  ศัตรู หรือ ครูผู้สอนใจ
   หลวงพ่อชา สุภัทโท   
   
   หลวงพ่อท่านให้ภาวนาตั้งท่าทีทัศนะต่อนิวรณ์ที่กำลังรุมเร้ารบกวนจิตใจอยู่ว่า เป็นครูบาอาจารย์หรือเครื่องทดสอบสติปัญญาของตน มากกว่าที่จะมองเห็นนิวรณ์เป็นตัวศัตรูที่น่าเกลียด อันอาจทำให้เกิดความตึงเครียดเป็น วิภวตัณหา ซึ่งเป็นเหตุให้ความไม่อยากให้นิวรณ์นั้นอยู่ในใจของตนทุกข์เพิ่มทวี อีกวิธีการหนึ่งที่หลวงพ่อสอนสำหรับแก้องค์นิวรณ์ คือคำว่า ไม่แน่
   
   เมื่อมันเกิดอะไรขึ้นมาในใจของเรานี่ มันเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ที่เราชอบใจก็ตาม เราเห็นว่ามันผิดมันถูกก็ตามเถอะ ให้เราตัดมันไปเลยว่า อันนั้นมันไม่แน่ จะเกิดอะไรขึ้นมาก็ช่างมันเถอะ สับมันลงไป ไม่แน่ ไม่แน่ อย่างเดียว ขวานเล่มเดียวสับลงไป ไม่แน่ทั้งนั้นแหละ มันแน่ตรงที่ไหนล่ะ ถ้าเห็นว่ามันไม่แน่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ราคามันก็น้อยลง อารมณ์ทั้งหลายมันเป็นของที่ไม่มีราคาแล้ว ของที่ไม่มีราคาแล้วเราจะเอาไปทำไม
   เรื่อง การปฏิบัติต่อ นิวรณ์ จึงขึ้นกับ ทัศนะมุมมอง และ ท่าทีของการปฏิบัติต่อมัน
   
   ถ้า ปฏิบัติด้วยการรู้เท่าทัน เช่นที่ทรงแสดง ใน ธัมมานุปัสสนา นิวรณ์บรรพ คือ

   รู้ชัดว่า มีหรือไม่มีอยู่ในจิต

   รู้ชัดว่า ที่มีนี้ มีเพราะเหตุใด

   รู้ชัดว่า ที่มันดับไป ดับด้วยเหตุใด

   รู้ชัดว่า ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด

   และ เห็นสภาวธรรมทั้งหลาย เป็นเรื่อง"สักแต่ว่า" ที่ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
   
   ถ้าอยู่ในหลักการนี้ การปฏิบัติต่อจิต ไม่ว่าจะเป็นการอบรมจิตด้วยสมาธิภาวนาวิธีใดๆ ก็จะจัดเป็นฉันทะ เป็นเหตุแห่งความเจริญ และ ก็จะบ่ายหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ทั้งสิ้น
   
   แต่ ถ้าปฏิบัติต่อจิต ด้วยการไปตั้งหน้าตั้งตารังเกียจนิวรณ์ เห็นนิวรณ์เป็นศัตรูที่จะต้องกำจัด จนกลายเป็นการปฏิบัติต่อนิวรณ์ด้วยวิภวตัณหา(อยากให้ไม่เกิด หรือ ไม่อยากให้เกิด) ก็จะกลายเป็นความเครียด และ ทุกข์ เมื่อจิตมีนิวรณ์เข้า
   
   การฝึกจิต อบรมจิต ด้วยกรรมฐานต่างๆ ก็คือ การประกอบเหตุอันควร เพื่อนำไปสู่ผลอันควร

   เป็น การประกอบเหตุ แล้ว ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปเอง
   
   การฝึกจิต ไม่ใช่เป็นการทำจิตที่เป็นอนัตตา(บังคับไม่ได้) ให้กลายเป็นจิตที่เป็นอัตตา(บังคับได้)
   
   การฝึกจิต ไม่ใช่การสั่งจิตว่า "จงสงบเดี๋ยวนี้ จงหายโกรธเดี๋ยวนี้ จงสงัดจากกามเดี๋ยวนี้" โดย ไม่ประกอบเหตุอันควร ....ซึ่ง นั่นคือ การบังคับจิต และ เป็นสิ่งที่ไม่ถูก
   
   แต่ การฝึกจิต คือ "การประกอบเหตุที่จะเป็นเหตุนำจิตไปสู่ความสงบ ที่จะนำจิตไปสู่ความมีเมตตา ที่จะนำจิตไปสู่ความจางคลายจากราคะ " แล้ว ปล่อยให้จิตมันดำเนินไปสู่ผล ....เป็นกุศโลบายที่พระพุทธองค์ท่านประทานไว้ให้แก่ผู้เดินตามที่มีจริตนิสัยบางประเภท สำหรับอบรมจิต