ผู้เขียน หัวข้อ: ทศกุศลกรรมบถสูตร  (อ่าน 6750 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ทศกุศลกรรมบถสูตร
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:14:37 pm »




ทศกุศลกรรมบถสูตร

พระตรีปิฎกธราจารย์ศึกษานันทะ แห่งราชวงศ์ถัง
แปลจากสันสกฤตพากย์.. สู่จีนพากย์
(ประมาณปี พ.ศ.๑๒๓๓ ถึง ๑๒๔๘) 
พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก แปลไทย เมื่อ ๒๒-๒๔ เมษายน ๒๕๕๓

ข้าพเจ้าได้สดับมาดั่งนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนาคมณเฑียรแห่งสาครนาคราช พร้อมด้วยมหาภิกษุจำนวนแปดพันองค์ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์สามหมื่นสองพันองค์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งกับนาคราชว่า บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย เหตุที่มีสัญญาแห่งจิตต่างกัน การกระทำกรรมจึงต่างกัน เพราะเหตุนี้จึงมีการเวียนว่ายไปในภูมิต่างๆ

ดูก่อนนาคราช เธอทัศนารูปลักษณะต่างๆ ของ(ผู้ที่อยู่ใน)สมาคมที่นี้และห้วงมหาสาคร ว่ามีความต่างกันอยู่หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะไม่ได้เกิดขึ้นเพราะจิตก็หาไม่ ไม่ว่าการทำกุศลหรืออกุศล ไม่ว่าการเป็นไปของกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็ตาม อันว่าจิตนั้นไร้ซึ่งรูป ไม่อาจเห็นหรือจับต้องเอาได้ เป็นเพียงสิ่งที่ไม่จริง ธรรมทั้งปวงแม้นประชุมกันขึ้น ที่สุดแล้วก็ไร้ซึ่งการควบคุมได้ ไร้ซึ่งตัวตน(อัตตา) และไร้ที่ตั้งแห่งตัวตน(มมังการ)

แม้จะล้วนเกิดขึ้นตามกรรม ก็ปรากฏขึ้นไม่เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ไร้ซึ่งผู้กระทำให้เป็นไป เหตุนี้แล สรรพธรรมจึงล้วนเป็นอจินไตย(1)สวภาวะ(2)ที่ว่าก็เป็นดุจมายา อันผู้มีปัญญาจึงรู้ว่าเมื่อตนเองประพฤติกุศลกรรมแล้ว ขันธ์ อายตนะ ธาตุที่เกิดขึ้นนั้นจะงดงามทั้งสิ้น ผู้ที่ได้พบเห็นจะไม่รังเกียจเลย


                   

[1]  อจินติตสูตร    ว่าด้วยอจินไตย ๔ กล่าวว่า   
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด  ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า   ได้รับความลำบากเปล่า
อจินไตย  ๔  คืออะไรบ้าง  คือ

๑.  พุทธวิสัยแห่งพระพุทธทั้งหลาย  เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า   ได้รับความลำบากเปล่า
๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน  เป็นอจินไตยไม่ควรคิด   ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า   ได้รับความลำปากเปล่า
๓.  วิบากแห่งกรรม   เป็นอจินไตยไม่ควรคิด  ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า  ได้รับความลำบากเปล่า
๔. โลกจินดา   (ความคิดในเรื่องของโลก)  เป็นอจินไตยไม่ควรคิดผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า  ได้รับความลำบากเปล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้แล  อจินไตย  ๔ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด  ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า.
(พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 235)

[2] สวภาวะ แปลว่า ความเห็นที่ว่าสรรพสิ่งล้วนมีคุณลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เช่น รถยนต์มีสวภาวะของความเป็นรถยนต์ จึงทำให้เป็นรถยนต์ แต่นัยยะของพระสูตรนี้ มุ่งแสดงให้เห็นว่าทุกสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่าจากสวภาวะ กล่าวคือ ทุกสิ่งไม่ได้มีคุณลักษณ์เฉพาะที่แท้จริงเลย สรรพสิ่งเกิดขึ้นมาได้ ล้วนเป็นเพราะมีเหตุปัจจัยจากสิ่งอื่น หรือเพราะการอิงอาศัยกับสิ่งอื่นๆ ในรูปแบบของปฏิจจสมุปปบาทหรืออิทัปปัจจัยตา เช่น เพราะมีประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ มาประกอบกันจึงเกิดเป็นรูปร่างของรถยนต์ขึ้นมา ซึ่งรถยนต์ที่แท้นั้นไม่ได้มีอยู่จริง หรือแม้แต่ประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ ก็ไม่ได้มีความเป็น ประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ อยู่ด้วยเช่นกัน เพราะแต่ละสิ่งล้วนเกิดจากการประกอบกันขึ้นของแร่เหล็ก และสารทางเคมีอื่นๆ สรุปคือ สรรพสิ่งเกิดขึ้นได้เพราะต้องอาศัยอีกสิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่งประกอบกันเข้า เมื่อหลายๆสิ่งรวมเป็นสิ่งเดียวแล้ว เราจึงสมมุติชื่อเรียกสิ่งๆนั้นต่อไป


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2012, 04:53:51 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:16:02 pm »
ดูก่อนนาคราช เธอพิจารณาพุทธกายนี้ ว่าเป็นบ่อเกิดแห่งกุศลมงคลร้อยพันโกฏิประการ อันเป็นอลังการลักษณะทั้งปวง มีความโอภาสรุ่งเรืองอยู่ ครอบคลุมไปในมหาชนทั้งปวง แม้นท้าวมเหศวรพรหมราช(1)จำนวนหาประมาณโกฏิไม่ได้(จะมาอยู่รวมกันรัศมี) ก็ยัง(ถูกบดบังไว้)ไม่ปรากฏ อันผู้ที่ได้เพ่งพิศกายแห่งตถาคตนั้น ล้วนจะตระการตา

อีกเธอจงพิจารณามหาโพธิสัตว์ทั้งหลายนี้ ที่มีรูปกายงดงาม บริสุทธิ์ อลังการ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการบำเพ็ญกุศลธรรมแล้วจึงเกิดเป็นบุญกุศลขึ้น อีกบรรดาเทพ นาค และหมู่สัตว์ในคติแปด(2)เหล่านี้ผู้มีเดชานุภาพยิ่งใหญ่ ก็ล้วนมีเหตุจากกุศลกรรมแล้วจึงเกิดเป็นบุญกุศลขึ้นเช่นกัน

สรรพสัตว์บรรดามีในมหาสาครนี้ ที่มีรูปลักษณะหยาบช้า บ้างใหญ่โต บ้างเล็ก ก็ล้วนเกิดจากสัญญานานาประการที่ระลึกอยู่ในจิตของตนเองทั้งสิ้น แล้วกระทำอกุศลกรรมทั้งหลายทางกาย วาจา ใจ เหตุนี้จึงต้องรับวิบากผลเอง ตามแต่กรรมที่ทำทั้งสิ้น ในบัดนี้เธอพึงศึกษาบำเพ็ญอย่างนี้ แลจงยังให้สรรพสัตว์แทงตลอดซึ่งเหตุและผล แล้วประพฤติกุศลกรรมเถิด

ในข้อนี้เธอจงเห็นถูกอย่างนี้ ไม่หวั่นไหว อย่าตกสู่ความเห็นทั้งสอง คือ อุจเฉททิฏฐิ  และ สัสสตทิฏฐิ (3) อีก ในหมู่ผู้เป็นบุญเกษตร(4)ทั้งหลายก็จงยินดีที่จะให้ความเคารพและบูชา เหตุนี้พวกเธอทั้งหลาย ก็จะได้รับการเคารพและบูชาจากมนุษย์และเทวดาทั้งหลายเช่นกัน



[1] อรรถกถาว่า คือ พรหมที่อยู่รูปพรหมชั้นสูงสุด ผู้บรรลุฌานสี่ เป็นใหญ่ในภพทั้งสาม มีอำนาจและรัศมีรุ่งเรืองที่สุดในหมู่สัตว์ในไตรภูมิ

[2] อัษฐคติ หรือ คติ ๘ หรือ คณะ๘ มี ๑.เทพ ๒.นาค ๓.ยักษ์ ๔.คนธรรพ์ ๕.อสูร ๖.ครุฑ ๗.กินนร ๘.มโหราค

[3] ทิฏฐิ ๒ (ความเห็น, ความเห็นผิด - view; false view)
       ๑. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง, ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป - eternalism)
       ๒. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป - annihilationism) 

[4] หมายถึง สมณะ ผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา ในพระพุทธศาสนา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:19:01 pm »
ดูก่อนนาคราช พึงทราบไว้ว่าโพธิสัตว์มีธรรมอยู่ประการหนึ่ง สามารถตัดทุกข์แห่งอบายมรรคทั้งปวงได้ อันประการหนึ่งนั้นเป็นเช่นไรเล่า? ก็คือทุกทิพาราตรี ได้ตามระลึก ตรึกคิด พิจารณาอยู่ซึ่งกุศลธรรมเป็นเนืองนิตย์ จะยังให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้นทุกขณะจิต ไม่ให้อกุศลแม้แต่น้อยเข้ามาเจือปนได้ จึงจะสามารถยังให้อบายทั้งปวงขาดสิ้นลงไป กุศลธรรมจะบริบูรณ์ จะได้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและหมู่พระอริยบุคคลอื่นๆ อยู่เสมอ

อันกุศลธรรมนั้น ก็คือ มนุษย์ เทวดา พระสาวกโพธิ พระปัจเจกโพธิ พระอนุตรสัมโพธิ ก็ล้วนอาศัยธรรมนี้เป็นมูลฐานทั้งสิ้น จึงจะสำเร็จได้ จึงได้ชื่อว่า ?กุศลธรรม?  ธรรมนี้ก็คือ ?หนทางแห่งการทำความดีสิบประการ? (1)  ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่า ก็คือการสามารถไกลจาก

การพล่าพลาญชีวิต
การลักขโมย
การผิดกาม
การพูดเท็จ
การพูดกลับกลอกสองลิ้น
การพูดวาจาหยาบคายชั่วร้าย
การพูดเพ้อเจ้อโปรยเสียซึ่งสารประโยชน์
ความโลภ
ความโกรธ และ
ความเห็นผิด อยู่เป็นนิจ



[1] คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ ?
wholesome course of action)
ว่าโดยข้อธรรมสมบูรณ์ (แปลตัดเอาแต่ใจความ)  ดังนี้ ?

ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย ? bodily action)

๑. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ
(ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ?
to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)

๒. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขตํ อนาทาตา โหติ
(ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ?
to avoid stealing, not violating the right to private property of others)

๓. กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ
(ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ ?
to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)

ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา ? verbal action)

๔. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ
(ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ ?
to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)

๕. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯลฯ สมคฺคกรณี วาจํ ภาสิตา โหติ
(ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี ?
to avoid malicious speech, unite the discordant,
encourage the united and utter speech that makes for harmony)

๖. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปี วาจํ ภาสิตา โหติ
(ละคำหยาบพูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน ?
to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous, dear and agreeable words)

๗. สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวตึ วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ
(ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาละเทศะ ?
to avoid frivolous talk; to speak at the right time, in accordance with facts,
 what is useful, moderate and full of sense)

ค. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ ? mental action)

๘. อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ
(ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น ? to be without covetousness)

๙. อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ ฯเปฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ
(ไม่มีจิตคิดร้าย คือปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด ?
to be free from illwill, thinking, ?Oh, that these beings were free fron hatred and illwill,
and would lead a happy life from trouble.?)

๑๐. สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺ?า สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ
(มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น ?
to posses right view such as that gifts, donations and offerings are not fruitless
and that there are results of wholesome and unwholesome actions)


M.I.287; A.V.266, 275-278.     ม.มู.๑๒/๔๘๕/๕๒๓; องฺ.ทสก.๒๔/๑๖๕/๒๘๗; ๑๖๘-๑๘๑/๒๙๖-๓๐๐.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:21:03 pm »
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพล่าพลาญชีวิต ย่อมได้สำเร็จธรรม
ที่ไม่เศร้าหมองสิบประการ ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ?

๑. ให้อภัยทาน(1)ต่อหมู่สัตว์ทั้งปวง
๒. เกิดจิตเมตตาที่ยิ่งใหญ่ต่อหมู่สัตว์ทั้งปวงอยู่เป็นนิจ
๓. ไกลจากอุปนิสัยโกรธเกรี้ยวทั้งปวงเป็นนิจ
๔. ร่างกายย่อมปราศจากโรคอยู่เป็นนิจ
๕. มีอายุขัยยืนยาว

๖. อมนุษย์ล้วนปกป้องคุ้มครอง
๗. ย่อมไม่ฝันร้าย ยามตื่นก็เป็นสุข
๘. ความอาฆาตแค้นมลายสิ้น ศัตรูจะเลิกราไปเอง
๙. ปราศจากความหวั่นเกรงอบายภูมิ
๑๐. สิ้นชีพแล้วไปอุบัติยังโลกสวรรค์

นี่คือทั้งสิบประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้
เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมมีพระพุทธชนม์ชีพอิสระตามใจ



[1] อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย,ให้ความปลอดภัย,
ทาน การให้, สิ่งที่ให้,ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา,
สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น;
 
ทาน ๒ คือ
๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ
๒. ธรรมทาน ให้ธรรม;

ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่งคือ
๑. สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม
๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:23:18 pm »
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการลักขโมย ย่อมได้รับธรรมที่คุ้มครองศรัทธาสิบประการ  ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ?

๑. ทรัพย์สมบัติที่สั่งสมไว้ พระราชา โจร น้ำ ไฟและบุตรที่ไม่น่ารัก ไม่สามารถทำให้เสื่อมสิ้นได้
๒. คนเป็นอันมากรักใคร่และระลึกถึง
๓. ผู้คนไม่อาจข่มเหง
๔. (ผู้คน)สรรเสริญไปทั่วทศทิศ
๕. ไม่ต้องโศกเศร้าและไม่ต้องโดนทำร้าย

๖. มีชื่อเสียงอันดีงามแผ่ไปไกล
๗. ไม่หวั่นเกรงในสถานที่และหมู่ชน
๘. มีทรัพย์ อายุ วรรณะ พละ สุขะ พร้อมด้วยปฏิภาณไม่บกพร่อง
๙. ไม่เสื่อมจากทานจิต
๑๐.  สิ้นชีพแล้วไปอุบัติยังโลกสวรรค์

นี่คือทั้งสิบประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมบรรลุถึงมหาโพธิปัญญาที่บริสุทธิ์


ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการผิดกาม ย่อมบรรลุธรรมอันผู้มีปัญญาสรรเสริญแล้วสี่ประการ ก็สี่ประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑. อินทรีย์ทั้งปวงราบรื่นปกติ
๒. ไกลจากการทะเลาะโต้เถียง
๓. โลกให้การยกย่อง
๔. ภริยา(หรือคู่ครอง)ไม่ถูกล่วงเกิน 

นี่คือทั้งสี่ประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมมีพุทธลักษณะคือพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก(1)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:24:26 pm »

[1] พุทธลักษณะข้อที่ ๑๐ จาก ทั้งหมด ๓๒ ข้อ คือ

๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)
๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปลอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไป สู่ที่หมาย)
๓. มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) (พระชงฆ์ = แข้ง)
๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)(นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม

๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ดำเนิน = เดิน)
๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)

๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)
๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)
๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม

๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) (พระมังสะ = เนื้อ , ชิ้นเนื้อ พระอังสา = บ่า,ไหล่ พระศอ = คอ)
๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย) ๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง) ๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์)(วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร) ๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด

๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
๒๒.มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)(พระหนุ = คาง) ๒๓.มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) (พระทนต์ = ฟัน)
๒๔.มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕.พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง

๒๖.เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์
๒๗.พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้)(พระชิวหา = ลิ้น พระนลาฎ = หน้าผาก)
๒๘.พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
๒๙.พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๐.ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด

๓๑.มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)
๓๒.มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:25:39 pm »
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดเท็จ ย่อมบรรลุธรรมอันเทวดาสรรเสริญแล้วแปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑. เป็นผู้มีโอษฐ์บริสุทธิ์อยู่เป็นนิจ มีกลิ่นหอมเหมือนดอกอุบล
๒. เป็นที่ยอมรับของชาวโลกทั้งปวง
๓. วาจาที่กล่าวพิสูจน์ได้ มนุษย์และเทวดาย่อมเคารพรักใคร่
๔. ใช้ปิยวาจาปลอบประโลมสรรพสัตว์(ให้เป็นสุขใจ)อยู่เป็นนิจ

๕. ได้บรรลุอัธยาศัยที่ประเสริฐ มีกรรมทั้งสาม(1)ที่บริสุทธิ์
๖. มีวาจาไม่วิบัติผิดพลาด ดวงจิตเบิกบานอยู่เป็นนิจ
๗. วาจาที่กล่าวน่านับถือ มนุษย์และเทวดาย่อมรับไปปฏิบัติตาม
๘. มีปัญญาญาณที่วิเศษ ไม่มีผู้ใดหักล้างได้

นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมบรรลุถึงสัจจวาจาของพระตถาคต


[1] คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือการกระทำทางกาย วาจา ใจ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:28:11 pm »
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการกลับกลอกสองลิ้น ย่อมบรรลุธรรมอันไม่เสื่อมสลายห้าประการ ก็ห้าประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     ร่างกายไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่มีผู้ใดทำร้ายได้
๒.     ตระกูลไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่มีผู้ใดทำลายได้
๓.     ศรัทธาไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะอนุโลมตามกิจเดิมของตน
๔.     ธรรมจริยาไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะบำเพ็ญด้วยความมั่นคง
๕.     กัลยาณมิตรไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่โกหกหลอกลวง

นี่คือทั้งห้าประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมบรรลุถึงบริษัทที่ดี หมู่พาหิรมารไม่อาจทำให้เสื่อมสลาย

ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดวาจาหยาบคายชั่วร้าย ย่อมบรรลุกรรมที่บริสุทธิ์แปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     มีวาจาที่ไม่ขัดแย้ง
๒.     มีวาจาที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์
๓.     มีวาจาที่เป็นอรรถะ
๔.     มีวาจาที่ไพเราะ

๕.     มีวาจาที่น้อมรับได้
๖.     มีวาจาที่น่าเชื่อถือ
๗.     มีวาจาที่เย้ยหยันไม่ได้
๘.     มีวาจาที่น่ารัก น่ายินดียิ่งนัก

นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมสมบูรณ์ซึ่งพรหมโฆษะ(1)ของพระตถาคต


[1] พุทธลักษณะข้อที่ ๒๘ ดูเชิงอรรถที่ ๘

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:29:28 pm »

ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดเพ้อเจ้อโปรยเสียซึ่งสารประโยชน์ ย่อมบรรลุความแน่นอนสามประการ ก็สามประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     จะเป็นที่รักของผู้มีปัญญาอย่างแน่นอน
๒.     จะสามารถใช้ปัญญาถามตอบด้วยความสัตย์ได้อย่างแน่นอน
๓.     จะเป็นผู้ที่มีอำนาจยิ่งในหมู่มนุษย์และเทวดา ไม่ลวงหลอกอย่างแน่นอน

นี่คือทั้งสามประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมได้รับการพยากรณ์จากพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ซึ่งล้วนไม่ลวงหลอก

ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความโลภ ย่อมสำเร็จซึ่งความอิสระห้าประการ ก็ห้าประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     มีกรรมทั้งสามเป็นอิสระ เหตุเพราะอินทรีย์ทั้งหลายสมบูรณ์
๒.     มีทรัพย์สิ่งของเป็นอิสระ เหตุเพราะศัตรูและโจรทั้งปวง มิอาจแย่งชิง
๓.     มีบุญวาสนาเป็นอิสระ เหตุเพราะสิ่งของมีอยู่พร้อม ตามใจต้องการ
๔.     มีราชศักดิ์เป็นอิสระ เหตุเพราะได้รับการถวายแต่สิ่งของล้ำค่า
๕.     จะได้รับสิ่งของทั้งปวง ประเสริฐกว่าทุนเดิมนับร้อยเท่า เหตุเพราะเมื่อกาลก่อนไม่ละโมบและอิจฉา

  นี่คือทั้งห้าประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมเป็นผู้เลิศพิเศษในไตรภูมิ เป็นผู้ที่ชนทั้งปวงเคารพบูชา

ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความโกรธ ย่อมได้รับธรรมอันเป็นเครื่องเบิกบานของจิตแปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     ไม่มีจิตคิดทำร้าย
๒.     ไม่มีจิตโกรธเคือง
๓.     ไม่มีจิตวิวาทะ
๔.     จิตอ่อนโยน ซื่อตรง

๕.     บรรลุถึงจิตเมตตาของพระอริยะ
๖.     มีจิตที่จะกระทำประโยชน์ผาสุกให้สรรพสัตว์อยู่เป็นนิจ
๗.     มีรูปกายสง่างาม หมู่ชนต่างให้ความเคารพ
๘.     เหตุเพราะมีความอดทน จึงได้ไปอุบัติที่พรหมโลก

 นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมมีจิตไม่ติดขัด อันผู้ได้ทัศนาจักไม่เบื่อหน่ายเลย

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:31:49 pm »
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความเห็นผิด ย่อมสำเร็จซึ่งกุศลสิบประการ ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     ได้บรรลุถึงอัธยาศัยอันดีงามแท้จริง แลมีกัลยาณมิตรที่ดีแท้
๒.     ศรัทธาในเหตุและผลอย่างลึกซึ้ง แม้ถึงชีวิตก็ไม่ยอมทำความชั่ว
๓.     ยึดสรณะเพียงพระพุทธองค์ ไม่ยึดเทพเจ้าอื่นๆ
๔.     มีจิตซื่อตรง เป็นสัมมาทิฐิ ไกลจากบ่วงคือความสงสัยว่าเป็นมงคลหรืออัปมงคลทั้งปวง
๕.     เกิดเป็นมนุษย์และเทวดาอยู่เป็นนิจ ไม่ตกอบายภูมิ

๖.     บุญและปัญญาไม่มีประมาณ เจริญวัฒนาตลอด
๗.     ไกลจากอบายภูมิเป็นนิตย์ แล้วดำเนินในอริยมรรค
๘.     ไม่เกิดสักกายทิฏฐิ(1) เพิกเฉยในการทำบาปทั้งปวง
๙.     ตั้งอยู่ในความไม่สงสัย
๑๐.   ไม่ตกสู่ภัยทั้งปวง

นี่คือทั้งสิบประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้ว จะบรรลุพุทธธรรมทั้งปวงอย่างรวดเร็ว ได้สำเร็จความเป็นอิสระแห่งฤทธิ์



[1] สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล ? fetters; bondage)

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ ? lower fetters)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น ? personality-view of individuality)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ ? doubt; uncertainty
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร ? adherence to rules and rituals)
๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ ? sensual lust)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง ? repulsion; irritation)

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง ? higher fetters)

๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ ? greed for fine-material existence; attachment to realms of form)
๗. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ ? greed for immaterial existence; attachment to formless realms)
๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ? conceit; pride)
๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน ? restlessness; distraction)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง ? ignorance)