ผู้เขียน หัวข้อ: จิตวิวัฒน์ : การจัดการความรู้แล้ว  (อ่าน 1426 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
 
โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2553
 
สัญชาตญาณการอยู่รอดยังคงทำงานในชีวิตมนุษย์ เราเรียนรู้ที่จะจดจำความผิดพลาด และป้องกันตัวเองไม่ให้ต้องประสบกับความยากลำบากนั้นอีก เราจึงฝึกให้ตัวเองคิดล่วงหน้า และเตรียมการเพื่อให้เกิดความพร้อม จนการคิดคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนกลายเป็นโหมดอัตโนมัติที่ทำงานทุกครั้งเมื่อมีสิ่งกระตุ้นให้รู้สึกถึงความไม่มั่นคง ซึ่งสำหรับในบางคน มันทำงานมากจนเกินความต้องการของเจ้าตัว บางทีดูเหมือนว่าเขาห่วงหรือวิตกกังวลเรื่องงาน แต่พอค้นเข้ามาในตัวเองจริงๆ แล้ว สิ่งที่เขาเป็นห่วงคือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการห่วงว่าเขาจะได้รับการยอมรับ ในฐานะคนทำงานสำเร็จ คู่ควรแก่การยกย่อง และได้รับความรักจากเพื่อนร่วมงานหรือไม่ เขาผูกยึดคุณค่าของตัวเองไว้กับผลสำเร็จของงาน ที่อาจส่งผลต่อการมีอาชีพที่มั่นคงอีกด้วย
 
บางครั้งเราเป็นห่วงตัวเองมาก จนบางทีแทบจะนอนไม่หลับเพราะโหมดปกป้องได้คาดการณ์ และวางแผนล่วงหน้า ด้วยความวิตกกังวล กระบวนการซักซ้อมความคิดเชิงปกป้อง (Defensive Mental Rehearsal) ดังกล่าว ทำงานได้เพราะมนุษย์เรามีความทรงจำ เมื่อเคยพลาด เคยเจ็บ หรือเคยประสบภัยที่เสี่ยงต่อการสูญเสีย เราจะอาศัยความทรงจำเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนและพัฒนายุทธศาสตร์ หรือวิธีการรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน
 
ในงานที่ผมทำ คือการสร้างกระบวนการเรียนรู้และช่วยเหลือให้กลุ่มคนหรือองค์กรเกิดการเรียนรู้ เนื่องจากมีเหตุปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ผมจำต้องใส่ใจกับรายละเอียดของงานทุกขั้นตอน แต่ยังไม่วายหลวมตัวยอมให้ตัวเองทำงานอยู่ในโหมดปกป้องมานานนับสิบปี แม้ความระแวดระวังและการตระเตรียมให้เกิดความพร้อมจะช่วยทำให้พัฒนาตัวเองอย่างรัดกุมและรอบคอบมากขึ้น แต่ไม่สามารถรับประกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นหรือควบคุมผลลัพธ์ปลายทางให้ได้ดังที่คิดไว้ล่วงหน้า อีกทั้งความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นก่อนการเริ่มต้นของงาน ก็ดึงพลังและความสุขสันติออกไปจากชีวิตไม่น้อย จนบางครั้งคิดจะเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นที่ไม่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างนี้ เช่น งานแปลหรือเขียนหนังสือ เป็นต้น
 
สิ่งหนึ่งที่ผมค้นพบในช่วงของการตระเตรียมงานทางความคิดในใจตัวเองคือ เราจะสร้างภาพล่วงหน้าว่ากลุ่มคนที่เราจะได้พบเจอนั้นจะเป็นแบบไหน เราควรจะพูดเรื่องอะไร หรือต้องทำกิจกรรมอะไรให้เหมาะสมกับพวกเขา เพื่อให้เขายอมรับและอื่นๆ อีกมากมาย แต่พอเอาเข้าจริงๆ การณ์มักกลับไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด เราต้องเริ่มใหม่ มองใหม่ทุกครั้ง ต้องลืมสิ่งที่ตระเตรียมไว้ก่อน แต่นำสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าเป็นครู ทำความเข้าใจกับอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการที่อยู่ตรงหน้า ปรับตัวเข้ากับมันแล้วจึงจะสามารถนำพาสิ่งที่อยู่ตรงหน้าไปได้ในทิศทางที่จะตอบสนองความต้องการของเขาและของเราด้วย
 
บังเอิญผมอ่านพบถ้อยความที่น่าสนใจในหนังสือ The Three Laws of Performance: Rewriting the Future of Your Organization and Your Life โดย Steve Zaffron & Dave Logan ที่ออกมาใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ ความว่า "หัวใจสำคัญของการเป็นเซียนในแขนงวิชาหรือแนวคิดอะไรก็ตาม คือการเข้าถึงสิ่งเหล่านั้นอย่างไร้ข้อคิดเห็นล่วงหน้า หากมองสิ่งต่างๆ ตามที่เป็น แล้วสร้างผลลัพธ์จากสิ่งที่อยู่ตรงหน้านั้น" ความเห็นนี้ช่วยอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับเกือบทุกๆ การอบรมที่ทำมาได้อย่างดี นั่นคือสถานการณ์ที่ไม่เป็นไปดังคิด เป็นเงื่อนไขปัจจัยที่ทำให้เราไม่สามารถทำตามแผนการที่วางไว้ได้
 
ผมชอบประโยคนี้เพราะมันทำให้คิดอะไรออกอีกหลายอย่าง ในการทบทวนบทเรียนจากการทำงานอบรมที่ผ่านมา บ่อยครั้งเราตระเตรียมงานมากมาย แต่พอเอาเข้าจริงๆ สิ่งที่เราต้องพึ่งพิงอย่างยิ่งคือ ปัญญาญาณภายใน ที่เชื่อมเข้าหาสถานการณ์ตรงหน้า ที่เรียกร้องความเข้าใจจากเรา เราจำต้องสร้างจากสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ใช่จากความคิดของเรา เหมือนกับการทำอาหาร ถ้าเราเตรียมความคิดว่าจะทำนั่นทำนี่ แต่เอาเข้าจริง วัสดุที่มีมาให้ตรงหน้า มันต้องทำอย่างอื่น เราก็ไม่ควรขัดขืนจะทำตามความคิดล่วงหน้าของเรา เพราะอาหารก็จะจืดชืดหรือไม่เป็นรสเอาเสียเลย เหมือนกับการเริ่มต้นจากศูนย์ทุกครั้ง แล้วสังเกตว่าพลังของอะไรหนอที่ต้องการการปลดเปลื้องออกมา
 
เราอาจทำกิจกรรมต่างๆ ได้ที่เตรียมไว้ แต่นั่นก็เพื่อจะได้สังเกตดูอย่างใกล้ชิดว่า วาระที่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนกลุ่มที่เรากำลังทำงานด้วยแท้จริงแล้วคืออะไร
 
นอกจากนี้ ระยะหลัง นอกจากการจัดงาน Dialogue แล้ว ผมยังจัดงานการถอดองค์ความรู้ขององค์กร หรือ Knowledge Sharing ที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ (KM) บทเรียนจากการทำงานด้านการจัดการความรู้ ทำให้เห็นว่า เวลาเราทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือถอดบทเรียนขององค์กรในเรื่องวิธีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะสังเกตเห็นเนื้อหาบางอย่างสดแทรกเข้ามา นั่นคือประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงาน ผมเลยได้บทเรียนอย่างหนึ่งว่า การจัดการความรู้จะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหากมีการจัดการความสัมพันธ์ไปด้วย ความสัมพันธ์ที่ผู้คนรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจและมีไมตรีต่อกันเป็นหัวใจสำคัญต่อการแบ่งปันและสร้างความรู้ใหม่ในองค์กร
 
แต่ในองค์กรที่สนใจแต่เป้าหมายหรือผลลัพธ์ของงาน อาจละเลยเรื่องการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ไปอย่างไม่ตั้งใจ บ้างก็อาจพยายามหลีกเลี่ยงการต้องเผชิญหน้ากับความไม่ลงตัวของขั้วขัดแย้งต่างๆ แล้วมุ่งไปในเรื่องการทำงาน เพราะไม่ต้องการให้ปัญหาคาราคาซังหรือเลวร้ายลงไปอีกด้วยการ "เปิดประเด็น" จนเกิดอาการ "งานเข้า" ได้ในภายหลัง ด้วยขาดทักษะในการสื่อสารหรือความสามารถในการคลี่คลายความขัดแย้งเหล่านี้ด้วยตัวเอง การไม่พูดถึงปัญหาความสัมพันธ์จึงเป็นการหมักปัญหาไว้จนอาจเรื้อรัง และนับวันยากจะเยียวยา
 
ดังนั้น “ความรู้แล้ว” ที่มาจากการตีความหรือการคาดคะเนล่วงหน้าอาจเป็นอุปสรรคในการเข้าใจ ความรู้ที่มีชีวิตที่อาจแฝงเร้นอยู่ในจิตใจของผู้คนปัจจุบัน โดยเฉพาะความรู้หรือประสบการณ์ที่ถูกกีดกันหรือกดทับเอาไว้ด้วยอำนาจที่เหนือกว่าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นอำนาจจากการมีตำแหน่งหน้าที่เหนือกว่า สถานภาพทางสังคมหรือทางวิชาการ หากองค์กรที่ต้องการสร้างความรู้ร่วมสามารถปลดเปลื้องพันธนาการที่ยึดกุมความรู้จากความกลัวผิด ความกลัวเสียหน้า หรือไม่ได้รับการยอมรับ ที่ถูกละเลย เช่น ประสบการณ์ของคนทำงานเข็นเปล เหล่านี้ออกมาได้ ศักยภาพในการเรียนรู้ร่วมกันขององค์กรหรือสังคมจะเพิ่มขึ้นได้มหาศาล แต่นั่นอาจหมายถึงผู้ที่อยู่ในตำแหน่งเหนือกว่า จำต้องจัดการกับความรู้แล้วของตัวเองให้ไม่ไปกดข่มความรู้หรือ ความรู้สึกอื่นๆ ให้ได้เสียก่อน
 
วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553 at ที่ 10:30 by knoom
ป้ายกำกับ: ณัฐฬส วังวิญญู, บทความมติชน | 3 ความคิดเห็น


http://jitwiwat.blogspot.com/search?updated-max=2010-10-30T10%3A34%3A00%2B07%3A00&max-results=3
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: จิตวิวัฒน์ : การจัดการความรู้แล้ว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2010, 11:13:52 pm »
 :13: ขอบคุณครับพี่มด^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~