ผู้เขียน หัวข้อ: ชมรมพระวังหน้า เพื่อพระวังหน้าและงานบุญต่างๆ  (อ่าน 356341 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สวัสดียามเย็น วันพุธสุขใจ
.
พอมาถึงบ้าน  ผมคิดถึงคำสอนของหลวงพ่อสนอง (วัดนครไทยวราราม จ.พิษณุโลก)
.
ผมเคยถามหลวงพ่อฯ แล้วหลวงพ่อท่านตอบมาให้ผมทราบ  ก็เลยจะนำมาเล่าสู่กันฟัง
.
จะได้เป็นอุทาหรณ์ในการเตือนใจของท่านผู้อ่าน
.
ผมจะยกตัวอย่างโดยเล่าเป็นเรื่องให้ฟัง
.
ว่ากันต่อเลยครับ
.
นายหนุ่ม เหลือน้อย  ได้มีเจตนาฆ่า นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง  และการกระทำนั้น เป็นการฆ่านายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง จนเสียชีวิต
.
นายหนุ่ม เหลือน้อย ต้องรับผลที่ได้กระทำลงไป 2 เรื่อง
.
1.ได้รับผลกรรม ทางกฎหมาย ซึ่งโทษอาจจะเป็นโทษจำคุก หรือ ประหารชีวิต
.
2.ผลกรรมตามกฎแห่งกรรม  แบ่งได้เป็น 2 เรื่อง
.
2.1 กรรมที่เป็นผลจากกรรมผูกพันธ์กันมา นายหนุ่ม เหลือน้อย กับ นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง เคยผลักกันฆ่า กันมา หลายภพ หลายชาติ
.
2.2 กรรมที่เป็นกรรมในการฆ่าสัตว์(คน)
.
ผลที่นายหนุ่ม เหลือน้อย ที่ได้รับผลตามข้อที่ 1 ผมขอพูดนิดเดียวก็คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย (ตำรวจ , ทนาย , อัยการ และ ผู้พิพากษา)  ถึงแม้จะปฎิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมาย แต่หากผิดหลักกฎแห่งกรรม ผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎหมายทุกคน ต้องไปรับผลแห่งกรรมที่ตนเองได้กระทำแน่นอน
.
เรามาว่ากันในข้อที่ 2 กัน
.
ในข้อที่ 2.1 ในกรณีที่นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ไม่อโหสิกรรมให้  ในชาติต่อไป นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง จะกลับมาฆ่านายหนุ่ม เหลือน้อย  และนายหนุ่ม เหลือน้อย ไม่อโหสิกรรมให้  เรื่องนี้จะวนเวียนไปไม่มีวันสิ้นสุด
.
ข้อที่ 2.2 เป็นจุดสำคัญที่อยากจะบอก  ก็คือ  ถึงแม้ว่า นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง อโหสิกรรมกับนายหนุ่ม เหลือน้อย (ที่ได้ฆ่านายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง)   กรรมที่มีกันระหว้าง นายหนุ่ม เหลือน้อย กับ นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง จบกันลงไป
.
ถึงแม้ว่า กรรมระหว่าง นายหนุ่ม เหลือน้อย กับ นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง จะจบกันไปแล้ว  แต่กรรมที่นายหนุ่ม เหลือน้อย ที่ได้ฆ่า นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ยังไม่จบ  นายหนุ่ม เหลือน้อย ต้องไปรับผลกรรมที่ฆ่า นายโบ๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง แน่นอน และไม่ทราบว่า ผลกรรมที่ได้รับ  ได้รับเป็นอย่างไร  จนปัญญา ครับ
.
อยากจะมาเล่าให้ฟัง เพื่อเตือนสติในการใช้ชีวิต ให้ดำเนินการไปอย่างถูกตามทำนองคลองธรรม และดำเนินชีวิตตามหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
.
กราบขอบพระคุณหลวงพ่อสนอง วัดนครไทยวราราม ครับ
.
#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
#เพียงแค่คิดไม่ดีก็ผิดแล้วตามหลักธรรม
.
#หลวงพ่อสนองอตฺตทโม
#วัดนครไทยวราราม
#นายหนุ่มเหลือน้อย
#นายโน๊ตตี้ลูกพี่โบ๊ตซัง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สนใจ หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ไปโหลดกันได้ครับ ตามลิงค์นี้
.
.
.
หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

https://www.m-culture.go.th/adminli/main.php?filename=ebook_king

.

"ประมวลบทความเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก"

http://www.finearts.go.th/literatureandhistory/files/224/articleroyal-r.pdf

.

"ประมวลองค์ความรู้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"

https://www.m-culture.go.th/mculture_th60/download/pramuan_king.pdf

.

"พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"

https://www.m-culture.go.th/mculture_th60/download/final-THAI.pdf

.

"The Royal Coronation Ceremony"

https://www.m-culture.go.th/mculture_th60/download/final-ENG.pdf

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
มีหลายท่านสงสัยว่า ผมทราบได้อย่างไรว่า #พระภิกษุองค์ไหนเป็นผู้อธิษฐานจิต
.
เรื่องนี้เป็นผลพลอยได้จากการ #นั่งสมาธิ มาจนได้ระดับหนึ่ง
.
แต่การที่สามารถ #นั่งสมาธิแล้วเข้าไปดูถึงพระราชพิธีพุทธาภิเษกฯได้  ต้องปฎิบัติสมาธิมาเป็นอย่างมาก  รวมถึงบุญ่บารมีที่เคยสะสมมาในอดีตชาติมานาน
.
ทางครูบาอาจารย์ผม และ เพื่อนใน #ชมรมพระวังหน้า สามารถเข้าไป #ดูในงานพระราชพิธีพุทธาภิเษกฯได้ , #สามารถคุยกับองค์ผู้อธิษฐานจิตได้
.
ซึ่งปกติ  การดู #พลังอิทธิคุณขององค์ผู้อธิษฐานจิต ถ้าดูพื้นๆ จะดูได้แค่ว่า มี #กระแสเมตตา หรือ #แคล้วคลาด หรือ #คงกระพัน
.
เพิ่มเติม นอกเหนือจากนี้ เช่น การดูว่า มี #พลังอิทธิคุณเมตตามหานิยม เรื่องนี้ดูได้ยาก หรือ ดูว่า พระพิมพ์หรือพระเครื่อง องค์นี้ สร้าง และหรือ #อธิษฐานจิตในฤกษ์พิเศษ เช่น #อัศจรรย์โกลาฤกษ์  เรื่องเหล่านี้ ดูได้ยากมาก หากการปฎิบัติไม่มากเพียงพอ
.
เรื่องนี้เป็นเรื่องปัจจัตตัง เป็นเรื่องที่รู้เฉพาะตน
.
อาจารย์ผมเอง ผมยอมรับว่า ท่านเก่งมาก  เก่งขนาด #อาราธนาองค์พยามัจจุราชได้  ต้องไม่ธรรมดา
.
ผมกับพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ในชมรมพระวังหน้า และ #คณะพระวังหน้า  โดนอาจารย์ผมบอกมาว่า  #องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกกุสันโธ เคยเสด็จมาบอกกับอาจารย์ผมว่า ให้เลิกการ #ประมูลพระวังหน้า เพื่อนำเงินไปช่วย #สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง ซึ่งตอนนั้น ทางสำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง กำลังลำบาก ไม่มีเงินที่จะเลี้ยงสามเณรที่ #หลวงพ่อแผนวัดบ่อเงินบ่อทอง ท่านนำมาจากภาคอีสาน ที่เด็กๆเหล่านี้ ไม่มีเงินเรียนหนังสือ #หลวงพ่อแผน ท่านนำมาเลี้ยงดูและให้บวชเป็นสามเณร เพื่อให้เรียนในด้านทางธรรม และ เรียนด้านฝีมือการช่างได้ด้วย
.
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม #กกุสันโธ ท่านบอกกับอาจารย์ผมว่า ไม่สามารถนำพระวังหน้า มาประมูลเพื่อหาเงินได้  และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามกกุสันโธ ท่านบอกอีกว่า พวกนี้(หมายถึงผมและพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ใน  ชมรมพระวังหน้า และ คณะพระวังหน้า) เหมือนกับจับปูใส่กระด้ง จับตัวนี้เข้ากระด้งได้ พอจะไปจับอีกตัว ตัวที่อยู่ในกระด้ง ก็หนีออกมาจากกระด้ง
.
ผมบอกได้เพียงเท่านี้
.
อยากรู้ว่า เป็นอย่างไร  ลองปฎิบัติสมาธิดู แต่การปฎิบัติสมาธิ ต้องมีวิธีในการปฎิบัติเช่นกัน
.
เนื้อหา สงวนลิขสิทธิ์
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ขอเชิญชวนร่วมทำบุญกันครับ
.
ทำบุญได้ที่ หลวงพ่อแผน( เจ้าอาวาส)
เบอร์โทรศัพท์ 081-9408541
.
ธนาคารทหารไทย เลขบัญชี 494-2-21276-4
ชื่อบัญชี พระขุนแผน เกิดทอง
.
.
*********************************************
.
.
วัดบ่อเงิน บ่อทอง
13 กรกฎาคม 2562
.
ขอบอกบุญถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 นะจ๊ะ
.
วัดบ่อเงินบ่อทอง จ.ฉะเชิงเทรา
เรียนเชิญญาติโยมทุกท่าน ร่วมงานบุญวันอาสาฬหบูชา วันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ทำบุญวันเข้าพรรษา
.
สร้างพระพุทธปฏิมากร สมเด็จองค์ปฐม หน้าตัก 4 ศอก เพื่อชำระหนี้เวรหนี้กรรมหนี้สงฆ์ ที่เคยล่วงเกินมาแล้วในอดีตชาติและในชาติปัจจุบันนี้ และเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่ท่านผู้มีพระคุณที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
.
รับเป็นเจ้าภาพปูนหล่อองค์พระถุงละ 125 บาท ใช้ปูนประมาณ 150 ถุง หินทรายคิวละ 300 บาท หรือร่วมบริจาคทำบุญตามอัธยาศัย
.
กำหนดวันสร้างพระพุทธปฏิมากร
.
วันอังคาร ที่ 16 กรกฏคม 2562
.
เวลา 09.29 น. บวงสรวงเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ทุกท่านที่มาร่วมงาน เวลา 09.59 น. เริ่มเทคอนกรีตหล่อพระพุทธปฏิมากร สมเด็จองค์ปฐมจนเสร็จพิธี
.
ขออนุโมทนาบุญทุกๆท่าน ที่ได้ร่วมบุญ ขอผลานิสงส์ผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ญาติโยมทั้งหลาย มีความสุข ความเจริญในอาชีพการงาน ปราศจากโรคภัยใข้เจ็บทั้งปวง ปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง ทำมาหากินให้คล่องตัว มีความร่ำรวยๆๆในชาติปัจจุบันนี้ เทอญ ขอเจริญพร
.
ธนาคารทหารไทย เลขบัญชี 494-2-21276-4 ชื่อบัญชี พระขุนแผน เกิดทอง เบอร์โทรศัพท์ เจ้าอาวาส 081-9408541
.
หมายเหตุ จะใช้แบบพิมพ์พระที่ญาติโยมได้ส่งปัจจัยมาร่วมสร้างเป็นองค์แรก จ๊ะ
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีปีใหม่ 2563
.
.
ไม่มีทุกข์ ไม่มีโศก
ไม่มีโรค ไม่มีภัย
เงินทองเหลือใช้ ร่างกายแข็งแรง
กันทุกๆท่าน ครับ
.
ด้วยรัก
Sithiphong
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวานนี้ (วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2563)

ผม , ชาวชมรมพระวังหน้า และ คณะพระวังหน้า ได้ไปร่วมทำบุญถวายพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า , พระธาตุพระอรหันต์ , พระวังหน้า พระวังหลวง และพระที่สร้างใหม่ที่บรรจุในกล่องสแตนเลส ไปถวายแม่ชี
.
มีหลายๆท่านที่ได้ร่วมทำบุญกันมา
.
ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำกล่องสแตนเลส
.
การบูชาพระวังหน้าจากผม เพื่อบรรจุลงในกล่องสแตนเลส เพื่อบรรจุในเจดีย์บ้านแสงแห่งธรรม
.
การซื้อเจดีย์และผอบในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุ
.
เงินทุกบาททุกสตางค์ นำไปจัดทำกล่องสแตนเลส(จำนวน 8 ใบ มีขนาดกว้าง 10 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว สูง 10 นิ้ว)
เงินส่วนที่เหลือจากการทำกล่องสแตนเลส
ผมนำไปทำบุญในงานกฐิน ที่ #อาศรมศรีชัยรัตนโคตร อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 และ งานกฐิน ที่ #วัดป่าภัทรปิยาราม อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562
.
ในส่วนที่เหลือนำไปถวายแม่ชี เพื่อสร้างพระเจดีย์ที่บ้านแสงแห่งธรรม
.
และอีกบางส่วนถวายแม่ชีเวลาที่แม่ชีไปจัดตั้งโรงทานในงานบุญต่างๆ
.
การทำบุญกันในครั้งนี้ ทำบุญกัน 2 ครั้ง แต่ได้บุญกันไปหลายบุญมากๆๆๆๆๆๆ
.
.
.
พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุ ที่นำไปถวายแม่ชี
.
(บ้านแสงแห่งธรรม ทุ่งนาผางาม ต.บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก)
.
1.พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม พระกกุสันโธพุทธเจ้า
.
2.พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม พระโกนาคมโนพุทธเจ้า
.
3.พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม พระกัสสโปพุทธเจ้า
.
4.พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม พระศากยมุนีโคดโมพุทธเจ้า
.
5.พระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่ทราบพระนาม
.
6.พระธาตุ พระอัญญาโกณฑัญญะเถระเจ้า (ส่วนกะโหลกศีรษะ)
.
7.พระธาตุ พระอานนท์เถระเจ้า (ส่วนหัวไหล่)
.
8.พระธาตุ พระสารีบุตรเถระเจ้า (ส่วนศีรษะ)
.
9.พระธาตุ พระธาตุพระโมคคัลลานะเถระเจ้า (พระโลหิต องค์สีแดงองค์เล็ก / ไม่ทราบส่วน)
.
10.พระธาตุ พระราหุลเถระเจ้า (ส่วนสมอง ใส / ส่วนกระดูกซี่โครง สีส้ม)
.
11.พระธาตุ พระมหากัสสปะเถระเจ้า (ส่วนกระดูกสันหลัง เป็นพระธาตุนิมิตร)
.
12.พระธาตุ พระสิวลีเถระเจ้า (ส่วนสมอง ใส / ส่วนกระดูกแขน สีเขียวองค์เล็ก / ส่วนกระดูกสันหลัง สีเขียวองค์ใหญ่)
.
13.พระธาตุ พระอุบาลีเถระเจ้า (ส่วนกระดูกสันหลัง สีชมพู / ส่วนสมอง สีเขียว)
.
14.พระธาตุ พระอุปคุตเถระเจ้า (พระโลหิต สีแดงองค์เล็ก / ไม่ทราบส่วน)
.
15.พระธาตุ พระธาตุหลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า , พระธาตุหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า , พระธาตุนิมิตร หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร 5 พระองค์ ( หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า , หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า , หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า , หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า และ หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า)
.
16.พระเกสา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
.
ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญมาในวาระงานบุญนี้
.
มาร่วมโมทนาบุญกัน บุญเสมอกัน ครับ
.
.
.
.
.
#พระบรมสารีริกธาตุ
#องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
#พระกกุสันโธพุทธเจ้า
#พระโกนาคมโนพุทธเจ้า
#พระกัสสโปพุทธเจ้า
#พระศากยมุนีโคดโมพุทธเจ้า
#พระปัจเจกพุทธเจ้า
#พระธาตุ #พระอัญญาโกณฑัญญะเถระเจ้า
#พระอานนท์เถระเจ้า
#พระสารีบุตรเถระเจ้า
#พระธาตุพระโมคคัลลานะเถระเจ้า
#พระราหุลเถระเจ้า
#พระมหากัสสปะเถระเจ้า
#พระสิวลีเถระเจ้า
#พระอุบาลีเถระเจ้า
#พระอุปคุตเถระเจ้า
#หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า
#หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า
#หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร
#หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี
#หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
#หลวงปู่เทพโลกอุดร
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
#คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
#พระเจ้าอโศกมหาราช
#พระเกสาสมเด็จพระญาณสังวร
#พระธาตุนิมิตร
#ถวายพระบรมสารีริกธาตุองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
#ถวายพระบรมสารีริกธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า
#ถวายพระธาตุพระอรหันต์
#พระเจดีย์บ้านแสงแห่งธรรมทุ่งนาผางาม
#โรงทาน

รูปสงวนลิขสิทธิ์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
นำมาให้ชม ชุดเต็มๆ  อีกรอบ
.
พระชัย(ชนะ)สุโขทัย เนื้อทองคำ
.
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นผู้ที่ให้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น
.
มีผู้ที่อัญเชิญองค์ผู้อธิษฐานจิต  ซึ่งท่านผู้อัญเชิญ ผมบอกได้ว่า สุดยอดจริงๆ
.
การอาราธนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ , พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ , พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ และ พระมหาโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ มาอธิษฐานจิต พระขัย ชุดนี้
.
วาระการสร้าง เพื่อเฉลิมฉลองการขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากกรุงสุโขทัย
.
การขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากกรุงสุโขทัย  องค์กษัตริย์ที่ยกกองทัพเข้าไปตีขอมฯ คือ พ่อขุนผาเมือง เมื่อตีได้แล้ว ได้ยกเมืองสุโขทัยให้กับ พ่อขุนบางกลางหาว (หรืออีกชื่อ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)
.
ผมบอกได้อย่างเดียวว่า ไม่สามารถที่จะหาพระเครื่องในลักษณะนี้ได้อีกแล้วในโลกนี้ ครับ
.
ในปัจจุบัน พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ได้กลับชาติมาเกิดเป็นชาติสุดท้ายแล้ว  เป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา  ผมได้มีโอกาสพา พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ หลายๆท่าน ไปกราบท่านมาแล้ว ครับ
.
ก่อนหน้านี้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ได้เวียนว่ายตายเกิดตามหลักกฎแห่งกรรมของพระพุทธศาสนา
.
รูปสงวนลิขสิทธิ์
.

.
#พระชัยชนะสุโขทัย
#พระชัยสุโขทัย
#พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
#พ่อขุนบางกลางหาว
#พ่อขุนผาเมือง
#ผู้อธิษฐานจิต
#องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
#พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ 
#พระอรหันต์ทุกพระองค์
#พระมหาโพธิสัตว์ทุกพระองค์
#วาระการสร้าง
#เฉลิมฉลองการขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากกรุงสุโขทัย
#ขอมสบาดโขลญลำพง
#กฎแห่งกรรมของพระพุทธศาสนา
.
.--------------------------------------------------
.
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย  เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึงปีใดไม่ปรากฏ พระนามเดิมคือพ่อขุนบางกลางหาว มีมเหสีคือนางเสือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์ พระราชโอรสองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ส่วนพระราชโอรสองค์ที่ ๒ และ ๓ คือพ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์ต่อมาตามลำดับ เดิมพ่อขุนบางกลางหาวทรงเป็นเจ้าเมืองอยู่ที่ใดไม่ปรากฏ แต่ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าอยู่ใต้เมืองบางยางลงไป มีผู้เสนอความเห็นว่าพ่อขุนบางกลางหาวน่าจะอยู่แถวกำแพงเพชร
.
            ก่อนราชวงศ์พระร่วงอาณาจักรสุโขทัยมีราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถุมครองอยู่ ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุมซึ่งเริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๒ อาณาจักรสุโขทัยครอบคลุมถึงเมืองฉอด (ใกล้แม่น้ำเมย) ลำพูน น่าน พิษณุโลก ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ใต้อำนาจขอมสบาดโขลญลำพง จนกระทั่งพ่อขุนผาเมืองโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุมทรงร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาวขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงไป   พ่อขุนบางกลางหาวทรงยึดเมืองศรีสัชนาลัยได้และทรงเวนเมืองให้พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์สุโขทัย พ่อขุนผาเมืองซึ่งเป็นพระชามาดา (ลูกเขย)ของกษัตริย์ขอมทรงยกพระนามศรีอินบดินทราทิตย์ซึ่งพระองค์ได้รับมาจากกษัตริย์ขอมมอบให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว แต่พ่อขุนบางกลางหาวทรงใช้พระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ บางทีอาจจะทรงเห็นว่าพระนามเดิมมาจากคำ อินทรปัต + อินทร + อาทิตย์ แสดงว่าอยู่ใต้อินทรปัตซึ่งเป็นเมืองหลวงของขอม (ดังปรากฏในจารึกหลักที่ ๒) ก็เป็นได้
.
             การที่พ่อขุนผาเมืองทรงยกสุโขทัยและอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ อาจจะทรงเห็นว่าสุโขทัยในขณะนั้นเป็นเมืองเล็กกว่าศรีสัชนาลัย หรืออาจจะเป็นเพราะว่านางเสือง พระมเหสีของพ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระภคินี (พี่สาว) ของพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนบางกลางหาวจึงทรงมีสิทธิที่จะได้ครองเมืองก่อนพ่อขุนผาเมืองก็เป็นได้
.
             พ่อขุนผาเมืองเป็นเจ้าเมืองราด มีพระอนุชาคือพระยาคำแหงพระรามครองเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก) โอรสของพระยาคำแหงพระราม คือ มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เมื่อเป็นฆราวาสมีฝีมือในการสู้รบ ได้ชนช้าชนะหลายครั้ง รู้ศิลปศาสตร์หลายประการ ขณะอายุ ๓๐ ปีมีบุตรแต่เสียชีวิต มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีจึงออกบวช ได้ไปปลูกต้นโพธิ์ สร้างพิหาร อาวาส และซ่อมแซมพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งในและนอกประเทศ เช่น พม่า อินเดีย และลังกา
.
            อนึ่ง เมืองราดตั้งอยู่ที่ใดมีผู้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเมืองราดน่าจะอยู่ที่เพชรบูรณ์และเมืองลุมคือเมืองหล่มเก่าแต่ผู้เขียน(ประเสริฐ ณ นคร) วางตำแหน่งเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายไว้ที่ลุ่มแม่น้ำน่านด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
.
จากจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายเป็นกลุ่มเมืองที่อยู่ใกล้กันพ่อขุนผาเมืองอยู่เมืองราดและกษัตริย์น่านมีพระนามผานองผากองและผาสุมแต่กษัตริย์เมืองอื่นไม่ใช้“ผา”นำหน้าพระนามเลยพ่อขุนผาเมืองจึงน่าจะเป็นกษัตริย์น่าน(คือเมืองราดนั่นเอง)นอกจากนี้ยังมีพระราชโอรสของกษัตริย์น่านมีพระนามว่าบาจายอาจจะแสดงว่าน่านมีอำนาจเหนือบาจายแบบพระนามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์แสดงว่ากรุงเทพฯมีอำนาจเหนือราชบุรีนั่นเอง
.
              อีกประการหนึ่ง จารึกหลักที่ ๘ กล่าวถึงไพร่พลของพระเจ้าลิไทยว่ามีทั้งชาวสระหลวงสองแควพระบางฯลฯเริ่มตั้งแต่เมืองทางทิศตะวันออกของสุโขทัยแล้วกวาดไปทางใต้ทางทิศตะวันตกทางทิศเหนือจนกลับมาจบที่ทิตะวันออกตามเดิมจารึกหลักอื่นเช่นหลักที่ ๓๘ และจารึกวัด อโสการาม (หลักที่๙๓) ก็ใช้ระบบเดียวกันโดยถือตามพระพุทธศาสนาว่าตะวันออกเป็นทิศหน้าแล้ววนตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากสระหลวงสองแควคือพิษณุโลกไปปากยม(พิจิตร)พระบางไปชากังราวสุพรรณภาวกำแพงเพชรรวม ๓ เมืองที่กำแพงเพชรบางพาน(อำเภอพานกระต่ายกำแพงเพชร)ต่อไปจะถึงราดสะค้า ลุมบาจายซึ่งจะอยู่ระหว่างทิศเหนือกวาดมาทางทิศตะวันออกของสุโขทัยและย่อมจะอยู่เหนือสระหลวงสองแควขึ้นไป จารึกหลักที่ ๑ วางลุมบาจายและสะค้าไว้ระหว่างพิษณุโลกกับเวียงจันทน์
.
               อีกประการหนึ่ง ตอนพ่อขุนผาเมืองยกมาช่วยพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพงที่สุโขทัยถ้าหากพ่อขุนผาเมืองอยู่แถวเพชรบูรณ์คงจะมาช่วยไม่ทันสินชัยกระบวนแสงจากคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพบใบลานที่วัดช้างค้ำเมืองน่านกล่าวถึงเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ ๒ ว่า เจ้าผู้ครองน่านขึ้นตามแม่น้ำน่านไปถึงอำเภอท่าปลา (ปัจจุบันคือจังหวัดอุตรดิตถ์) ใกล้ห้วยแม่จริม“เมืองราดเก่าหั้น”แสดงว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยังทราบกันดีว่าเมืองราดอยู่บนแม่น้ำน่านใกล้อำเภอท่าปลา
ที่มา http://historytactic.blogspot.com/2015/08/blog-post_29.html
.
----------------------------------------------------
.
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
.
ประวัติ
.
          ราชวงศ์สุโขทัยมีประวัติปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ใจความว่า ผู้ตั้งราชวงศ์มี 2 คน ด้วยกัน คือ พ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาว ได้ช่วยกันตั้งราชวงศ์ขึ้นเมื่อพ.ศ. 1800 พ่อขุนผาเมืองเป็นลูกพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยในครั้งนั้นเมืองสุโขทัยยังเป็นเมืองประเทศราชของขอมอยู่
.
          พ่อขุนผาเมืองนั้น พระเจ้ากรุงกัมพูชาพระราชทานนามว่า กมรเตงอัญศรีอินทรปตินทราทิตย์ และได้พระราชทานพระราชธิดาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระนางสิงขรมหาเทวี พ่อขุนผาเมืองเป็นเจ้าเมืองราด ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวนั้นเป็นเจ้าเมืองบางยาง (แต่เดิมนั้น เรียกชื่อพ่อขุนบางกลางหาวว่า บางกลางทาว หรือ บางกลางท่าว ต่อมา ดร. ประเสริฐ ณ นคร ตรวจสอบอักษรที่จารึกใหม่พบว่า แท้ที่จริง จารึกเขียนว่า บางกลางหาว เพราะที่อ่านกันแต่เดิมนั้น เข้าใจผิดไปว่าเป็น "ท ทหาร" ที่แท้คือ " ห หีบ" และ"ไม้เอก" ก็ไม่มี) ครั้งนั้นเมืองสุโขทัยมีข้าหลวงเขมรชื่อ โขลญลำพง เป็นผู้รักษาเมืองหรือสำเร็จราชการอยู่ พ่อขุนบางกลางหาวเป็นมิตรสหายของพ่อขุนผาเมือง ทั้งสองได้ตั้งใจตีเมืองสุโขทัย พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนผาเมืองเมื่อได้เมืองบางขลังแล้วก็นำพลมาทางเมืองราด เมืองศรีสัชนาลัยถึงเมืองสุโขทัย ข้าหลวงขอมไม่อาจสู้ได้ ต้องยอมแพ้และทิ้งเมืองสุโขทัยไป
.
          เมื่อได้เมืองสุโขทัยแล้วพ่อขุนผาเมืองได้นำพลออกและได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้เป็นเจ้าเมืองสุโขทัย ถวายพระนามตามพระนามของตนที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้ากรุงกัมพูชาว่า "กมรเดงอัญศรีอินทรปตินทราทิตย์" (ในตอนต้นศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เรียกโดยย่อว่า ศรีอินทราทิตย์ เป็นพระนามพระราชบิดาของพ่อขุนรามคำแหง) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัยนั้น ในหนังสือชินกาลมาลินี และสิหิงคนิทาน เรียกว่า โรจนราช หรือสุรางคราช คือ พระร่วง (สำหรับพระนามพระร่วงนี้มีหลักฐานไม่แน่ชัดว่า หมายจำเพาะเจาะจงว่าเป็นองค์ใด บ้างก็ว่าหมายถึงพระเจ้าศรีอินทราทิตย์ บ้างก็ว่า หมายถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และบ้างก็ว่าหมายถึงกษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์พระร่วง)
ที่มา http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/pkr1.htm
.
---------------------------------------------
.
ประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
.
                      ตามพงศาวดาร และคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์  ได้กล่าวไว้ว่าพ่อขุนศรี  อินทราทิตย์มีพระนามเต็ม  คือ  กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์  พระนามเดิม  พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่  “กล่างท่าว”)  ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย  ครองราชย์สมบัติ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1782 - 1822 (30 ปี คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ  ศ.ประเสริฐ  ณ  นครและ  พ.อ.พิเศษ  เอื้อนมณเฑียรทอง)
.
                       เมื่อจุลศักราช 536 พระเจ้าสุริยราชา ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ได้ทรงตบแต่งซ่อมแซมแปลงเมืองพิจิตรปราการ(กำแพงเพชร)ขึ้นใหม่ครองราชย์สมบัติต่อไป มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า สิริสุธาราชเทวี มีพระราชโอรสองค์หนึ่งด้วยพระอัครมเหสี ทรงพระนามว่าจันทกุมารพระเจ้าสุริยราชา เมื่อแรกได้ราชสมบัติพระชนม์ได้ 20 พรรษา อยู่ในราชสมบัติ 28 ปี เสด็จสวรรคตพระชนม์ได้ 47 พรรษา พระองค์ประสูติวันจันทร์ จุลศักราช 570 พระจันทกุมารราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามว่า พระเจ้าจันทรราชาและตามพระราชพงศาวดารโยนก หน้า 80 วรรค 2 กล่าวไว้ว่ายังมีข้อความในหนังสือชินกาลมาลินี กล่าวถึงมูลประวัติของพระเจ้าโรจนราชผู้ได้ พระพุทธสิหิงค์มาจากศรีธรรมนครนั้นว่า บุรุษผู้หนึ่งหลงป่าที่บริเวณ บ้านโคณคาม(เข้าใจว่าบ้านโคนริมเมืองเทพนคร)และได้พบนางเทพธิดาแปลงเป็นมนุษย์(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)มาร่วมสมัครสังวาสเกิดบุตรได้มาเป็นเจ้ากรุงสุโขทัยทรงนามว่า โรจราช
.
                           ประวัติพระองค์ท่านจากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์  หน้า  112-113  ตอนหนึ่งกล่าวถึงการประสูติของพระองค์ ได้ยินว่าที่บ้านโค  (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร  ในปัจจุบัน)  ยังมีชายคนหนึ่ง(จันทราชา)รูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า  มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)เห็นชายคนนั้นแล้ว  ใคร่ร่วมสังวาสด้วยจึงแสดงมารยาหญิง  ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น  เนื่องจากการร่วมสังวาสของทั้งสองคนนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่ง  และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก  รูปงาม  เพราะฉะนั้น  ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น  บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า  โรจราช    ภายหลังปรากฏพระนามว่าพระเจ้าล่วง
.
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ทั้งหมดเชื่อได้ว่า  เมืองคณฑีโบราณ  หรือตำบลคณฑี
.
จังหวัดกำแพงเพชร  ในปัจจุบันนั้นอยู่ในอาณาจักร  สุโขทัย  เนื่องจากพระเจ้าสุริยราชา  (พระอัยกาของ  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ )  ครองราชย์สมบัติที่เมืองพิจิตปราการ  (เมืองกำแพงเพชร  ปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็เสด็จสวรรคตและต่อมาพระจันทกุมารราชโอรส  (พระเจ้าจันทรราชา  พระราชบิดา  ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)  ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อ  ระหว่างนี้เกิดปาฏิหาริย์หลายสิ่งมากมายจนกระทั่งได้มเหสีเป็นเชื้อชาตินางนาคกุมารี  และมีพระราชโอรสคือ  พระร่วง  (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)  นั่นเอง  เพราะอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเชื่อถือคือ  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์  ชินกาลมาลีปกรณ์  ว่า  บ้านเดิมของพระองค์อยู่ที่  “บ้านโคน ” ในจังหวัดกำแพงเพชร  พระองค์ทรงนำชนชาติไทยต่อสู้กับชนชาติขอมซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในสุวรรณภูมิ  อันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงกรุงสุโขทัยด้วย  ทรงได้ชัยชนะขอมและประกาศอิสรภาพ  ตั้งราชอาณาจักรสุโขทัย  ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกและเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
.
ส่วนพระราชกรณียกิจที่สำคัญ
.
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง  เจ้า  เมืองราด  แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถมรวมกำลังพลกัน  กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง  โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมือง  ศรีสัชนาลัย  และเมืองบางขลงได้  และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง  ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้  ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว  พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและยกพระกนิษฐา(นางเสือง)ให้เป็นมเหสีอีกด้วยส่วนพระนาม  “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”  ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม  ภายหลังได้กลายเป็น  ศรีอินทราทิตย์  โดยคำว่า “บดินทร” หายออกไป  เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการแสดงว่ามิได้  เป็น  บดีแห่งอินทรปัต  คืออยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมร  (เมืองอินทรปัต)  อีกต่อไป การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์  ส่งผลให้  ราชวงศ์พระร่วง  เข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น  และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป  แต่เขตแดนเมืองสลวงสองแคว  ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถมอยู่ในกลางรัชสมัย  ทรงมีสงครามกับขุนสามชน  เจ้าเมืองฉอด  ทรงชนช้างกับขุนสามชน  แต่ช้างทรงพระองค์  ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า  “หนีญญ่ายพ่ายจแจ” ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก  ทรงมีพระปรีชาสามารถ  ได้ชนช้างชนะขุนสามชนภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่า  รามคำแหงในยุคประวัติพ่อขุน
.
ศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม  5 พระองค์  ได้แก่
.
1.       พระราชโอรสองค์โต  (ไม่ปรากฏนาม)  เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
.
2.       พ่อขุนบานเมือง
.
3.       พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)
.
4.       พระธิดา  (ไม่ปรากฏนาม)
.
5.       พระธิดา  (ไม่ปรากฏนาม)
.
วิธีการคิดปั้นรูปหล่อ(จินตนาการ)พ่อขุนศรีฯ
.
เมื่อเทียบเคียงวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ ของหลักฐานที่มีอยู่ จัดแบ่งลำดับขั้นตอนความสำคัญที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ โดยนำมาประมวลออกแบบสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรมขององค์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งกำหนดลักษณะตามแบบอย่างพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องพระอิสริยยศทรงจอมทัพไทย ประทับยืนทรงถือพระแสงขรรค์ชัยศรีด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง พระพักตร์ทอดพระเนตรเบื้องหน้าเสมือนกับทรงดูแลอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขขณะเดียวกันก็ยังคงดูลักษณะการประทับยืนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นท่าประทับยื่นที่สง่างามกว่าทุกพระองค์) ประกอบไปด้วย
.
                เมื่อได้ลักษณะของรูปแบบจากความคิดแล้วออกแบบเขียนภาพร่าง โดยคัดเลือกคนผู้เป็นหุ่นยืนเป็นแบบเพื่อดูลักษณะการยืน ดูกล้ามเนื้อ ดูโครงสร้างของร่างกายแต่ละส่วน เพื่อพิจารณาถึงรายละเอียดที่จะต้องแสดงให้ปรากฏออกมา ซึ่งจะต้องมีความเป็นพิเศษต่างจากบุคคลทั่วไป เพื่อให้มีภาพลักษณ์เป็นองค์พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ จากนั้นเป็นเรื่องของแบบเครื่องทรง
.
                  เครื่องทรงของแบบรูปปั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระวรกายตอนบนเป็นลักษณะเครื่องทรงแบบสุโขทัยโบราณ ทรงสวมพระมงกุฎทรงเทริด ยอดพระมงกุฎเป็นลวดลายกลับบัว 3 ชั้น  พระศอมีสร้อยพระศอ และพระกรองศอ สร้อยสังวาลพร้อมทับทรวงพระพาหุตอนบน ประดับพาหุรัด ข้อพระหัตถ์เป็นทองกร พระวรกายจากบั้นพระองค์ถึงพระบาททรงฉลองพระภูษายาวกรอบข้อพระบาท พร้อมคาดปั้นเหน่งทับและห้อยพระสุวรรณกันถอบด้านหน้าพระภูษาทรงด้านเปิดชายผ้าชั้นนอกซ้าย-ขวาลักษณะทิ้งชายผ้าให้พลิ้วเคลื่อนไหว ชายผ้าทั้งชั้นนอกและชั้นในเป็นลายกรวยเชิงประดับ และข้อพระบาทประดับทองบาท(กำไลเท้า) พร้อมฉลองพระบาท ทั้งนี้เพื่อต้องการให้พระบรมรูปมีลักษณะของฉลองพระองค์เป็นแบบมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยโบราณตามที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า
.
ที่มา http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=138
.
..
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทุกวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี) เป็นวันคล้ายวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำสงครามยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า
.
รำลึกนึกถึงพระคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช , สมเด็จพระเอกาทศรถ  , เหล่าวีรชนทหารกล้าทุกท่าน และ พระสงฆ์ รวมถึงประชาชนในประเทศไทยที่รักชาติรักแผ่นดินที่เป็นเบื้องหลังในการปกป้องประเทศไทยทุกท่าน
.
เรื่องของพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นหลังสงครามยุทธหัตถึ  ส่วนตัวมั่นใจอยู่ที่จ.กาญจนบุรี
.
รูปสงวนลิขสิทธิ์
.
.
.**********************************.
.
.


พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พิกัด
N 14.05883
E 99.67847
.
สถานที่ตั้ง
บ้านดอนเจดีย์ หมู่ที่ 2 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน
.
ประวัติ-ข้อมูลสถานที่
.
พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสร้างในวโรกาสมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 และเพื่อเป็นการถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสครบ 400 ปี แห่งชัยชนะที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกรีฑาทัพผ่านกาญจนบุรีไปทรงยึดกรุงหงสาวดี เมื่อปี พ.ศ. 2142 สถานที่ตั้งพระบรมราชนุสาวรีย์เป็นสถานที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำสงครามยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า หลักฐานที่ค้นพบเต็มไปด้วยวัตถุโบราณที่ใช้ในการทำสงคราม ทั้งเครื่องศาสตราวุธ เครื่องประดับช้างม้า ลูกประคำม้า เครื่องประดับช้าง ตราม้าศึกและกระสุนปืน
.
พระบรมราชานุสาวรีย์เป็นพระบรมรูปประทับช่วงบนพระคชาธาร พระแสงดาบพาดพระเพลา นายควาญช้างและท้ายช้างประกอบขนาดเท่าครึ่งของครึ่งพระองค์จริง น้ำหนักวัสดุทองเหลืองที่ใช้ในการจัดสร้างประมาณ 20 ตัน งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงินประมาณ 50 ล้านบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชนุสาวรีย์ เมื่อวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546
.
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เปิดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนสักการะทุกวันระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น.
.
ที่มา http://kanchanaburi.go.th/au/tourkan2015/kingnaresuan.php
.
.
.--------------------------------------------.
.

สงครามครั้งที่ 10 สงครามยุทธหัตถี
.
            เมื่อพระมหาอุปราชาแตกทัพกลับไปครั้งก่อน  ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงพระวิตกยิ่งนัก  เพราะว่าพม่าเสียทั้งรี้พลและอำนาจ  เป็นเหตุให้เมืองขึ้นต่าง ๆ ของพม่าเกิดความเคลื่อนไหวที่จะแข็งเมืองทั่วไป  การที่จะรักษาอำนาจพม่าไว้ได้ ก็ด้วยการเอาชนะไทยให้ได้  พระเจ้าหงสาวดีจึงให้พระมหาอุปราชา  ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ในปี พ.ศ. 2135
.
            ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า  พระเจ้าหงสาวดีได้ตัดพ้อในที่ประชุมเจ้านายและขุนนาง  ถึงการที่ไม่มีใครเจ็บร้อนเรื่องเมืองไทย  สมเด็จพระนเรศวรมีรี้พลเพียงหยิบมือเดียว  ก็ไม่มีใครกล้าไปรบพุ่ง  เมืองหงสาวดีคงสิ้นคนดีเสียแล้ว  ขุนนางคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า  กรุงศรีอยุธยานั้น สำคัญอยู่ที่สมเด็จพระนเรศวรพระองค์เดียว  เพราะกำลังหนุ่มรบพุ่งเข้มแข็ง  ทั้งบังคับบัญชาผู้คนก็สิทธิ์ขาด  มีคนน้อยก็เหมือนมีคนมาก  เจ้านายในกรุงหงสาวดีที่ทำสงครามเข้มแข็ง เคยชนะศึกเหมือนอย่างสมเด็จพระนเรศวรก็มีอยู่หลายองค์  ถ้าจัดกองทัพให้เป็นหลายกองทัพ แล้วให้เจ้านายดังกล่าวเป็นแม่ทัพ  ยกไปช่วยรบก็เห็นเอาชัยชนะได้  พระเจ้าหงสาวดีก็ได้ตรัสตอบ ตามที่ปรากฎในพระราชพงศาวดารว่า  ข้อเสนอนั้นก็ดีอยู่  แต่ตัวของพระองค์เป็นคนอาภัพ ไม่เหมือนพระมหาธรรมราชาซึ่งมีลูก  พ่อไม่ต้องพักใช้ให้ไปรบ มีแต่กลับจะต้องห้ามเสียอีก  ตัวของพระองค์เองไม่รู้ว่าจะใช้ใคร  พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น ก็เกิดความอัปยศอดสู  จึงกราบทูลว่าขอรับอาสามาตีเมืองไทยแก้ตัวใหม่
.
            สงครามคราวนี้ ทางพม่าเกณฑ์กองทัพ 3 เมือง คือ กองทัพเมืองหงสาวดี ให้เจ้าเมืองจาปะโร เป็นกองหน้า  พระมหาอุปราชา เป็นกองหลวง  กองทัพเมืองแปร ให้พระเจ้าแปรลูกเธอที่ไปตีเมืองคังได้เมื่อครั้งหลัง เป็นนายทัพ  กองทัพเมืองตองอู ให้นัดจินหน่อง ลูกพระเจ้าตองอู  ผู้ต้านทานกองทัพไทยไว้ได้เมื่อคราวที่พระเจ้าหงสาวดีล่าทัพจากเมืองไทย  เป็นนายทัพ  รวมกำลังพลทั้งสิ้น 240,000 คน  นอกจากนั้น ยังให้พระเจ้าเชียงใหม่ ยกกองทัพเมืองใหม่ใหม่ ลงมาสมทบด้วยอีกหนึ่งกองทัพ
.
            กองทัพพระมหาอุปราชายกออกจากเมืองหงสาวดี  เมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง พ.ศ. 2135  เดินทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์  เมื่อล่วงเข้าถึงตำบลไทรโยค ก็ให้ตั้งค่ายลง แล้วปรึกษาแผนการที่จะเข้าตีเมืองกาญจนบุรี  และเมื่อล่วงมาถึงลำตะเพินในตำบลลาดหญ้า  ก็ให้พระยาจิตตองคุมพลสร้างสะพานเรือก เพื่อใช้ข้ามลำน้ำสายนี้  เมื่อเข้าเมืองกาญจนบุรีได้ก็พักอยู่หนึ่งคืน  แล้วเคลื่อนทัพมายังตำบลตระพังกรุ  แขวงเมืองกาญจนบุรี  พระมหาอุปราชาก็ทรงให้ตั้งค่ายแบบดาวล้อมเดือน ตรงชัยภูมินาคนาม  ทัพพม่ายกมาครั้งนี้ จนล่วงเข้าเขตกาญจนบุรี ไม่มีทัพไทยไปขัดตาทัพเลย  จึงยกเข้ามาได้ตามลำดับ จนเข้าเขตเมืองสุพรรณบุรี แขวงบ้านพนมทวนเวลาบ่ายสามโมง เกิดลมเวรัมภาพัดหมุนเป็นเกลียว ทำให้เศวตฉัตรของพระมหาอุปราชาหักสะบั้นลง  พระมหาอุปราชาเห็นเป็นลางร้าย มีความหวาดหวั่นพรั่นพระหฤทัยที่จะมาทำสงครามเพิ่มมากขึ้น  กองทัพพม่ายกมาถึงตำบลตระพังกรุ แขวงเมืองสุพรรณบุรี ก็ให้หยุดตั้งทัพอยู่ ณ ที่นั้น  แล้วให้สมิงจอดราน  สมิงเป่อ  สมิงซาม่วน คุมกองทัพม้า ออกลาดตระเวณหาข่าวกองทัพพม่าที่จะยกลงมาทางเหนือ  และสืบข่าวกองทัพฝ่ายไทย ว่าได้ยกออกมาและวางกำลังต่อสู้ไว้ที่ใดบ้าง
.
            กองทัพพม่าที่ยกมาครั้งนี้ ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า ได้รบกันที่แขวงเมืองสุพรรณบุรี  และกล่าวถึงกองทัพพระมหาอุปราชาเพียงทัพเดียว  ไม่ปรากฎอีกสองกองทัพ คือกองทัพพระเจ้าแปร และกองทัพนัดจินหน่องแต่อย่างใด  เรื่องนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า  กองทัพพม่าที่ยกมาครั้งนี้ น่าจะยกมาสองทาง คือ กองทัพพระมหาอุปราชายกมาทางด่านเจดีย์สามองค์  ส่วนอีกสองกองทัพยกมาทางด่านแม่ละเมา  และให้พระเจ้าเชียงใหม่คุมเรือเป็นกองลงมาเช่นคราวก่อน  กำหนดให้กองทัพที่ยกมาทั้งสองทางนี้ มารวมกันที่กรุงศรีอยุธยา  แต่เมื่อฝ่ายไทย ตีกองทัพพระมหาอุปราชาแตกไปก่อนแล้ว ก็เป็นอันสิ้นสุดสงคราม  ทัพพม่าอีกสองกองทัพที่ยกมาทางเหนือ  เดินทางมาถึงทีหลัง  จึงยังไม่ทันเข้ารบพุ่งเลยต้องถอยกลับไป  ข้อสันนิษฐานนี้น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด  เพราะแม้แต่จะมีหลักฐานบางแห่งกล่าวว่า  ทัพเจ้าเมืองแปรเป็นปีกซ้าย  ทัพเจ้าเมืองตองอูเป็นปีกขวา  เมื่อพิจารณาภูมิประเทศของเส้นทางเดินทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์  ห้องภูมิประเทศจะไม่อำนวยให้จัดทัพเช่นนั้นได้ จะทำได้เมื่อกองทัพเข้าสู่ที่ราบแล้วเท่านั้น และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ควรจะได้ปรากฎการปฏิบัติการของกองทัพทั้งสอง บันทึกไว้แน่นอน
.
            ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวร  ตั้งแต่กองทัพพระมหาอุปราชาแตกกลับไปเมื่อครั้งก่อน พระองค์ก็ทรงประมาณสถานการณ์ว่า ไทยคงจะว่างศึกไปสักปีสองปี  เพราะข้าศึกบอบช้ำมาก ต้องใช้เวลาฟื้นฟูเป็นเวลานาน  ดังนั้นในปีมะโรง พ.ศ. 2135  ทรงวางแผนที่จะไปตีกรุงกัมพูชา  เนื่องจากในระหว่างที่ไทยทำศึกติดพันอยู่กับพม่านั้น  เขมรจะฉวยโอกาสเข้ามาซ้ำเติมไทยอยู่หลายครั้ง  แม้ต่อมาเมื่อเขมรเห็นว่าไทยเข้มแข็งขึ้น  รบชนะพม่าทุกครั้งจะรีบเข้ามาขอเป็นไมตรีกับไทยก็ตาม  แต่ครั้นเห็นพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ยกกองทัพใหญ่เข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา  เขมรคาดว่าไทยจะสู้พม่าไม่ได้  ก็หันกลับไปสู่พฤติกรรมเดิม  ฉวยโอกาสยกกำลังเข้ามาโจมตีไทยอีก  พระองค์จึงคอยหาโอกาส ที่จะยกกำลังไปปราบปรามเขมรให้สำนึกตน  ครั้นถึงเดือนอ้าย ปีมะโรง พ.ศ. 2135  พระองค์ได้ทรงให้มีท้องตรา เกณฑ์ทัพเพื่อไปตีเมืองเขมร  กำหนดให้ยกทัพไปในเดือนยี่  พอมีท้องตราไปได้ 6 วัน ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือนยี่  ก็ได้รับใบบอกจากเมืองกาญจนบุรีว่า  พระเจ้าหงสาวดีทรงให้พระมหาอุปราชา ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์  และได้ข่าวจากหัวเมืองเหนือว่า  มีกองทัพข้าศึกยกลงมาอีกทางหนึ่ง
.
            ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์  ทรงพระราชดำริว่าข้าศึกยกลงมาสองทาง  ถ้าปล่อยให้มาสมทบกันได้ ก็จะทำให้ข้าศึกมีกำลังมาก  เมื่อกองทัพพระมหาอุปราชายกเข้ามาก่อน  จึงจะต้องชิงตีให้แตกเสียก่อน เป็นการรวมกำลังเข้ากระทำการต่อข้าศึกเป็นส่วนๆ ไป  เช่นที่เคยเอาชนะกองทัพพระยาพสิม  ก่อนที่กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่จะยกลงมาถึง ในสงครามครั้งแรก   ดังนั้น จากการเตรียมประชุมพลที่ทุ่งบางขวด เพื่อเตรียมยกไปตีกรุงกัมพูชา  ก็เปลี่ยนมาเป็นประชุมพลที่ทุ่งป่าโมก  แขวงเมืองวิเศษไชชาญ  อันเป็นเส้นทางร่วมที่จะยกทัพไปเมืองสุพรรณบุรี  และไปเมืองเหนือได้ทั้งสองทาง
.
            ในระหว่างนั้น พระองค์ก็ทรงให้พระอมรินทรฤาไชย  ผู้ว่าราชการเมืองราชบุรี คุมพล 500 คน  จัดกำลังแบบกองโจร ออกไปปฏิบัติการตีตัดเส้นทางลำเลียง  และรื้อสะพานทางเดินทัพของข้าศึกทางด้านหลัง  จัดทัพหัวเมือง ตรี จัตวา  และหัวเมืองปักษ์ใต้ รวม 23 หัวเมือง  รวมกำลังพลได้ 50,000 คน  ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นนายทัพ พระยาราชฤทธานนท์เป็นยกกระบัตร คุมกองทัพหัวเมือง ไปตั้งขัดตาทัพสะกัดข้าศึกอยู่ที่ลำน้ำท่าคอย  แขวงเมืองสุพรรณบุรี  เมื่อเตรียมทัพหลวงเสร็จ  สมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ ก็เสด็จโดยกระบวนเรือพระที่นั่งจากพระนคร  ไปทำพิธีฟันไม้ข่มนามที่ทุ่งลุมพลี เมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่  แล้วเสด็จไปยังที่ตั้งทัพชัย ที่ตำบลมะม่วงหวาน  หยุดปรับกระบวนทัพอยู่สามคืน  พอวันขึ้น 12 ค่ำ ก็เสด็จยกกองทัพหลวงมีกำลังพล 100,000 คน  ออกจากทุ่งป่าโมกไปเมืองสุพรรณบุรีทางบ้านสามโก้  ข้ามลำน้ำสุพรรณที่ท่าท้าวอู่ทอง  ไปถึงค่ายหลวงที่หนองสาหร่ายริมลำน้ำท่าคอย เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ
.
            มีความในพระราชพงศาวดาร แสดงถึงความอัศจรรย์ตอนหนึ่งว่า  ขณะเมื่อสมเด็จพระนเรศวร ประทับอยู่ที่ค่ายหลวง ตำบลมะขามหวาน  ก่อนวันที่จะเสด็จยกกองทัพไปเมืองสุพรรณบุรี  ในตอนกลางคืน พระองค์ทรงพระสุบินว่า มีน้ำท่วมป่า หลากมาแต่ทางทิศตะวันตก  พระองค์เสด็จลุยน้ำไปพบจรเข้ใหญ่ตัวหนึ่ง ได้เข้าต่อสู้กัน ทรงประหารจรเข้นั้นสิ้นชีวิตด้วยฝีพระหัตถ์ สายน้ำนั้นก็เหือดแห้งไป  ทรงมีรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนั้น  พระยาโหราธิบดีกราบทูลพยากรณ์ว่า เสด็จไปคราวนี้จะได้รบพุ่งกับข้าศึก เป็นมหายุทธสงคราม ถึงได้ทำยุทธหัตถีและจะมีชัยชนะข้าศึก
.
            มีเรื่องของศุภนิมิตครั้งที่สองที่ได้กล่าวไว้ในที่บางแห่งว่า  เมื่อใกล้ฤกษ์ยกทัพ  สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ  เสด็จไปยังเกยทรงช้างพระที่นั่งตามพิชัยฤกษ์นั้น  พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง  ส่องแสงเรืองอร่าม ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้  แล้วลอยวนรอบกองทัพไทย เป็นทักษิณาวัตรสามรอบ  จากนั้นจึงลอยขึ้นไปทางทิศเหนือ  สมเด็จพระนเรศวร  และพระอนุชาทรงปิติยินดีตื้นตันพระราชหฤทัยยิ่งนัก  ทรงนมัสการและอธิษฐานให้  พระบรมสารีริกธาตุนั้น ปกป้องคุ้มครองกองทัพไทย ให้พ้นอันตรายจากผองภัยทั้งมวล
.
            เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงหนองสาหร่าย  ก็ทรงให้กองทัพพระศรีไสยณรงค์ กับ พระราชฤทธานนท์ ซึ่งออกไปขัดตาทัพอยู่ก่อนที่ลำน้ำท่าคอย  เลื่อนออกไปขัดตาทัพที่ดอนระฆัง  ส่วนกองทัพหลวงก็ทรงให้เตรียมค่ายคู  และกระบวนทัพที่จะรบข้าศึก  ด้วยคาดว่าคงจะได้ปะทะกันในวันสองวันเป็นแน่  เพราะกองทัพของทั้งสองฝ่ายอยู่ใกล้กันมากแล้ว  พระองค์ทรงจัดทัพเป็นขบวน  เบญจเสนา 5 ทัพ  ดังนี้
.
            ทัพที่ 1  เป็นกองหน้า  ให้พระยาสีหราชเดโชชัยเป็นนายทัพ  พระยาพิชัยรณฤทธิ์ เป็นปีกขวา  พระยาวิชิตณรงค์ เป็นปีกซ้าย
.
            ทัพที่ 2  เป็นกองเกียกกาย  ให้พระยาเทพอรชุน เป็นนายทัพ  พระยาพิชัยสงคราม เป็นปีกขวา  พระยารามคำแหง เป็นปีกซ้าย
.
            ทัพที่ 3  เป็นกองหลวง  สมเด็จพระนเรศวร ทรงเป็นจอมทัพ  พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ  เจ้าพระยามหาเสนา เป็นปีกขวา  เจ้าพระยาจักรี เป็นปีกซ้าย
.
            ทัพที่ 4  เป็นกองยกกระบัตร  ให้พระยาพระคลัง เป็นนายทัพ  พระราชสงคราม เป็นปีกขวา  พระรามรณภพ เป็นปีกซ้าย
.
            ทัพที่ 5  เป็นกองหลัง  ให้พระยาท้ายน้ำ เป็นนายทัพ  หลวงหฤทัย เป็นปีกขวา  หลวงอภัยสุรินทร์เป็นปีกซ้าย
.
            ค่ายที่หนองสาหร่ายนี้  ทรงให้ตั้งเป็นกระบวนปทุมพยุหะเป็นรูปดอกบัว  และเลือกชัยภูมิครุฑนาม  เพื่อข่มกองทัพข้าศึกซึ่งตั้งในชัยภูมินาคนาม  ตามหลักตำราพิชัยสงคราม
.
            ครั้นถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่  พระยาศรีไสยณรงค์บอกมากราบทูลว่า  ข้าศึกยกกองทัพใหญ่พ้น บ้านจรเข้สามพันมาแล้ว  สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้กองทัพทั้งปวง เตรียมตัวรบข้าศึกในวันรุ่งขึ้น  แล้วสั่งให้พระยาศรีไสยณรงค์ ยกออกไปหยั่งกำลังข้าศึก แล้วให้ถอยกลับมา
.
            ในวันจันทร์  แรม 2 ค่ำ เดือนยี่  สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถ  ทรงเครื่องพิชัยยุทธ ให้ผูกช้างพระที่นั่งชื่อ พลายภูเขาทอง  ขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาไชยานุภาพ  เป็นพระคชาธารของพระองค์  มีเจ้ารามราฆพเป็นกลางช้าง นายมหานุภาพเป็นควาญ  อีกช้างหนึ่งชื่อพลายบุญเรือง  ขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาปราบไตรจักร  เป็นพระคชาธารสมเด็จพระเอกาทศรถ  มีหมื่นภักดีศวรเป็นกลางช้าง ขุนศรีคชคงเป็นควาญ พร้อมด้วย นายแวง จตุลังคบาท  พวกทหารคู่พระทัยสำหรับรักษาพระองค์
.
            ขณะนั้นเสียงปืนจากการปะทะกัน ระหว่างทัพหน้าของไทย กับทัพหน้าของพม่าดังขึ้น  พระองค์จึงดำรัสให้จมื่นทิพเสนา ปลัดกรมตำรวจ เอาม้าเร็วไปสืบข่าว ได้ความว่า  พระยาศรีไสยณรงค์ได้ยกกำลังออกไป และได้ปะทะกับข้าศึกที่ ตำบลดอนเผาข้าวเมื่อเวลาเช้า  ฝ่ายข้าศึกมีกำลังมากต้านทานไม่ไหว จึงแตกถอยร่นมา  สมเด็จพระนเรศวรจึงปรึกษาแม่ทัพนายกองว่า สถานการณ์เช่นนี้ควรจะทำอย่างไร  บรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลายกราบทูลว่า ควรให้มีกองทัพหนุน ออกไปช่วยต้านทานข้าศึกไว้ให้อยู่เสียก่อน  แล้วจึงให้ทัพหลวงออกมาตีภายหลัง  สมเด็จพระนเรศวรไม่ทรงเห็นชอบด้วย  มีพระดำรัสว่า กองทัพแตกลงมาเช่นนี้แล้ว  จะให้กองทัพไปหนุน ไหนจะรับไว้อยู่  มาปะทะกันเข้าก็จะพากันแตกลงมาด้วยกัน  ควรที่จะล่าถอยลงมาโดยเร็ว  เพื่อปล่อยให้ข้าศึกยกติดตามมาอย่างไม่เป็นกระบวน พอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่เข้าโจมตีข้าศึก ก็คงจะได้ชัยชนะโดยง่าย  สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้จมื่นทิพเสนา กับ จมื่นราชามาตย์  ขึ้นม้าเร็ว รีบไปประกาศแก่พวกกองทัพหน้าของไทยว่า  อย่าได้รั้งรอข้าศึก ให้รีบล่าถอยหนีไปโดยเร็ว  กองทัพหน้าของพระยาศรีไสยณรงค์ก็พากันถอยหนีไม่เป็นกระบวน ข้าศึกเห็นดังนั้น ก็พากันรุกไล่ลงมาด้วยเห็นได้ที จนไม่เป็นกระบวนเช่นกัน
.
            สมเด็จพระนเรศวรสงบทัพหลวงรออยู่จน 11 นาฬิกา  เห็นข้าศึกตามลงมาไม่เป็นกระบวน ก็สมคะเน ทรงดำรัสสั่งให้บอกสัญญาณกองทัพทั้งปวง ให้ยกออกตีข้าศึก  พระองค์และพระเอกาทศรถ ยกกองทัพหลวงเข้าโอบกองทัพหน้าข้าศึก  ทัพท้าวพระยาอื่น ๆ ได้ทราบกระแสรับสั่งได้เร็วบ้างช้าบ้าง เนื่องจากเหตุการณ์กระทันหัน มีเวลาน้อยมาก  ทำให้ยกไปไม่ทันเสด็จเป็นส่วนมาก  คงมีแต่กองทัพพระยาสีหราชเดโชชัย กับกองทัพเจ้าพระยามหาเสนาซึ่งเป็นปีกขวา  ตามกองทัพหลวงเข้าจู่โจมข้าศึก  กองทัพหน้าของพม่าไม่คาดว่าว่าจะมีกองทัพไทยไปยอทัพ ก็เสียทีแตกหนีอลหม่าน
.
            เหตุการณ์ตอนนี้มีเรื่องบันทึกไว้ในบางแห่งว่า  ขณะที่สมเด็จพระนเรศวรประทับรอฟังข่าวทัพหน้าอยู่นั้น ได้บังเกิดเมฆเยือกเย็น ตั้งเค้ามืดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  แล้วกลับกลายเป็นเปิดโล่ง  เห็นดวงตะวันสาดแสงสว่างกระจ่างตา  สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเคลื่อนทัพตามเกล็ดนาค  ซึ่งตามตำราพิชัยสงครามได้กำหนดไว้ว่า  ในวันใดหัวนาคและหางนาคอยู่ทางทิศใด  ต้องไปตั้งทัพทางหัวนาค  แล้วเคลื่อนทัพไปทางหางนาค  เป็นการเคลื่อนที่ตามเกล็ดนาค  ไม่ให้เคลื่อนที่ย้อนเกล็ดนาค  เมื่อช้างพระที่นั่งของทั้งสองพระองค์ได้ยินเสียงฆ้องกลองรบ  และเสียงปืนที่ทั้งสองฝ่ายยิงต่อสู้กัน  ก็เกิดความคึกคะนองด้วยเหตุที่กำลังตกมัน  แล้ววิ่งถลันเข้าไปในหมู่ข้าศึก  ควาญไม่สามารถคัดท้ายอยู่  บรรดาแม่ทัพนายกองและไพร่พลทั้งปวงตามเสด็จไม่ทัน  ผู้ที่สามารถตามเสด็จไปด้วยได้ คงมีแต่ผู้ที่มีหน้าที่อยู่ประจำช้างพระที่นั่ง  คือกลางช้าง ควาญช้าง และจตุลังคบาท ที่มีหน้าที่รักษาเท้าช้าง  สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ  ทอดพระเนตรเห็นข้าศึกมีกำลังมากมาย  ไม่เป็นทัพเป็นกอง จึงทรงไสช้างพระที่นั่งเข้าชนช้างข้าศึก  เหล่าข้าศึกพากันระดมยิงอาวุธมาดังห่าฝน  แต่ไม่ถูกช้างทรง  ทันใดนั้นก็บังเกิดตะวันตลบมืด ท้องฟ้ามืดมิดราวกับไม่มีแสงตะวัน จนมองไม่เห็นกัน  สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นดังนั้น จึงได้ประกาศแก่เทวดา พระพรหมทุกชั้นฟ้า    ถึงปณิธานของพระองค์ที่ได้มาสืบวงศ์กษัตริย์  และมุ่งหวังที่จะทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา  ทันใดนั้นก็บังเกิดพายุใหญ่พัดปั่นป่วนในท้องฟ้า  สนามรบก็สว่างแจ้ง  พระองค์แลไปเห็นนายทัพข้าศึก นั่งอยู่บนหลังช้างเผือกตัวหนึ่ง  มีฉัตรกั้นอยู่ใต้ร่มต้นข่อย มีพล 4 เหล่า  เรียงรายอยู่มากมาย  ก็ทรงตระหนักแน่พระทัยว่าเป็นพระมหาอุปราชา
.
            เหตุการณ์ในตอนนี้มีอยู่หลายสำนวน  ตามพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ให้เอาพลายภูเขาทอง ขึ้นระวางสะพัด ชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ  สูง 6 ศอกคืบ 2 นิ้ว  ติดน้ำมันหน้าหลัง  เป็นคชาธารสมเด็จพระนเรศวร  และให้เอาพลายบุญเรืองขึ้นระวางสะพัด ชื่อเจ้าพระยาปราบไตรจักร สูง 6 ศอก 2 คืบ ติดน้ำมันหน้าหลัง เป็นพระคชาธารสมเด็จพระอนุชาธิราชพระเอกาทศรถ  ส่วนพระคชาธารของพระมหาอุปราชานั้น ชื่อพลายพัทธกอ สูง 6 ศอกคืบ  6 นิ้ว  ติดน้ำมันหน้าหลังเช่นเดียวกัน
.
            สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์  ยาตราพระคชาธารเป็นบาทย่างสะเทินมา  บ่ายหน้าต่อข้าศึก  เจ้าพระยาไชยานุภาพ  เจ้าพระยาปราบไตรจักร  ได้ยินเสียงพลและเสียงฆ้องกลองอึงคะนึง ก็เรียกมันครั่นครื้น กางหูชูหางกิริยาป่วนเป็นบาทย่างใหญ่ เร็วไปด้วยกำลังน้ำมัน  ช้างท้าวพระยามุขมนตรี และโยธาหาญซ้ายขวาหลังนั้นตกลง  ไปมิทันเสด็จ  พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ใกล้ทัพหน้าข้าศึก  ทอดพระเนตรเห็นพลพม่ารามัญนั้นยกมาเต็มท้องทุ่ง  เดินดุจคลื่นในมหาสมุทร  พลข้าศึกไล่พลชาวพระนครครั้งนั้น สลับซับซ้อนกันมิได้เป็นกระบวน  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์  ก็ขับพระคชาธารเข้าโจมแทงช้างม้ารี้พลปรปักษ์  ไล่สายเสยถีบฉัดตะลุมบอน  พลพม่ารามัญตายเกลื่อนกลาด  ช้างข้าศึกได้กลิ่นน้ำมันพระคชาธาร ก็หกหันตลบปะกันไปเป็นอลหม่าน  พลพม่ารามัญก็โทรมยิงธนู หน้าไม้ ปืนไฟ ระดมเอาพระคชาธารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์  และธุมาการก็ตรลบมืดเป็นหมอกมัวไป มิได้เห็นกันประจักษ์
.
            สำนวนของวันวลิต ชาวฮอลันดา  ซึ่งเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2176 ได้บรรยายเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า  พระเจ้ากรุงหงสาวดียกทัพอันมีกำลังใหญ่หลวง มายังกรุงศรีอยุธยา  พระนเรศวรยกทัพมาถึงวัดร้างแห่งหนึ่ง เรียกว่า เครง หรือ หนองสาหร่าย  เพื่อปะทะทัพมอญ  เมื่อกองทัพทั้งสองมาประจัญกันเข้า  พระนเรศวรและพระมหาอุปราชา (ซึ่งต่างก็ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ และประทับบนพระคชาธาร) ต่างทอดพระเนตรเห็นกันเข้า  ต่างองค์ก็มีพระทัยฮึกเหิม  เสด็จออกจากกองทัพ  ขับพระคชาธารโดยปราศจากรี้พลเข้าหากัน  แต่พระคชาธารที่พระนเรศวรทรงอยู่นั้น  เล็กกว่าช้างทรงพระมหาอุปราชามากนัก  เมื่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์มุ่งเข้าหากัน  ช้างที่เล็กกว่าก็ตกใจกลัวช้างที่ใหญ่กว่า ถึงกับเบนหัวจะถอยกลับ  พระนเรศวรทรงเห็นดังนั้น จึงตรัสปลอบพระยาช้างต้นให้มีใจฮึกเหิมกลับมาสู้ช้างข้าศึก และทรงพรมน้ำเทพมนต์ซึ่งพราหมณ์ได้ทำถวายไว้สำหรับโอกาสนี้ ลงบนศีรษะช้าง  พระยาช้างต้นผู้ชาญฉลาดเมื่อได้รับน้ำเทพมนต์  และได้ยินเสียงพระราชดำรัสของวีรกษัตริย์ก็มีใจฮึกเหิม  ชูงวงขึ้นประณตแล้วเบนหัวสู่ข้าศึก  พลันวิ่งพุ่งเข้าสู่กษัตริย์มอญอย่างเมามัน  อำนาจของพระยาช้างต้นในการสู้รบครั้งนี้ แลดูน่าสพึงกลัว และน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
.
            ทั้งหมดที่กล่าวมา  เป็นเหตุการณ์ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การกระทำยุทธหัตถีของสองกษัตริย์  และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงได้ชัยชนะอย่างงดงาม  เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทิศานุทิศ  ข้าศึกศัตรูไม่หาญกล้ามาเบียดเบียนราชอาณาจักรไทยอีกเลยถึง 160 ปี
.
            สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงขับช้างพระที่นั่งตรงไปยังพระมหาอุปราชา  แล้วร้องตรัสไปโดยฐานที่คุ้นเคยกันมาแต่ก่อน มีความว่า

            "เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในที่ร่มไม้ทำไม  เชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด  กษัตริย์ภายหน้า ที่จะทำยุทธหัตถีได้อย่างเรา จะไม่มีแล้ว"
.
            พระมหาอุปราชา  เมื่อทรงได้ยินดังนั้นก็ขับพลายพัทธกอซึ่งเป็นพระคชาธาร  ออกมาชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพ  พระคชาธารของสมเด็จพระนเรศวร  ในชั้นแรก เจ้าพระยาไชยานุภาพเสียที พลายพัทธกอได้ล่างแบกรุน  พระยาไชยานุภาพเบนจะขวางตัว  พระมหาอุปราชาได้ทีฟันด้วยพระแสงของ้าว  สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบทัน  ถูกแต่พระมาลาหนังขาดลิไป  พอพระยาไชยานุภาพสะบัดหลุด แล้วกลับชนได้ล่างแบกถนัดรุนพลายพัทธกอหัวเบนไป  สมเด็จพระนเรศวรก็จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว  ถูกพระมหาอุปราชาที่ไหล่ขวาขาด  สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง
.
ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้ชนช้างกับเจ้าเมืองจาปะโร และฟันเจ้าเมืองจาปะโรตายเช่นกัน  ทหารพม่าก็เข้ามากันพระศพพระมหาอุปราชา และเจ้าเมืองจาปะโรออกไป  แล้วเข้าระดมยิงถูกสมเด็จพระนเรศวรที่พระหัตถ์ได้รับบาดเจ็บ  และถูกนายมหานุภาพควาญช้างพระที่นั่ง กับหมื่นภักดีศวรกลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรถ ตายทั้งสองคน  ขณะนั้น กองทัพเจ้าพระยามหาเสนา พระยาสีหราชเดโชชัยตามไปทัน  ก็ช่วยกันรบพุ่งแก้กันทั้งสองพระองค์ออกมาได้  สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่า  กองทัพข้าศึกแตกเฉพาะทัพหน้า กำลังฝ่ายไทยที่ตามเสด็จไปถึงเวลานั้นมีน้อยนัก  จึงจำต้องเสด็จกลับมาค่ายหลวง  ฝ่ายข้าศึกก็เชิญพระศพพระมหาอุปราชา เลิกทัพกลับไปเมืองหงสาวดี  เหตุการณ์ในตอนนี้ วัน วลิต ได้บรรยายไว้ว่า
.
            ช้างข้าศึกพยายามเอางาเสยพระคชาธารให้ถอยห่างอยู่ตลอดเวลา  แต่ในที่สุดพระคชาธารซึ่งเล็กกว่าก็ได้ทีช้างข้าศึก  โดยช้างข้าศึกไม่ทันรู้ตัว  ขึ้นเสยช้างข้าศึกแล้วเอางวงตีด้วยกำลังแรงยิ่งนัก  จนช้างข้าศึกร้องขึ้น  กษัตริย์มอญก็ตกพระทัย  กษัตริย์ไทยเห็นได้ทีก็เอาพระแสงขอ ตีต้องพระเศียรกษัตริย์มอญ  แล้วใช้พระแสงทวนแทงจนกษัตริย์มอญตกช้างสิ้นพระชนม์  แล้วทรงจับช้างทรงของกษัตริย์มอญนั้นไว้ได้ ทหารรักษาพระองค์ซึ่งตามมาโดยไม่ช้า ก็แทงชาวโปรตุเกส ซึ่งนั่งอยู่เบื้องหลังกษัตริย์มอญนั้นตาย  เมื่อกองทัพมอญเห็นกษัตริย์ของตนสิ้นพระชนม์  ก็พากันล่าถอยไม่เป็นกระบวน  กองทัพไทยก็ไล่ติดตามไปอย่างกล้าหาญ  จับเป็นได้เป็นจำนวนมาก  ฆ่าตายเสียก็มาก ที่เหลือนั้นก็แตกกระจัดกระจายไปประดุจแกลบต้องลม  ทหารมอญหลายพันคนต้องตกค้างอยู่ และเมื่อต้องถอยทัพกลับโดยที่ขาดแคลนเสบียงอาหาร  จึงกลับไปถึงเมืองมอญได้น้อยคนนัก
.
            สมเด็จพระนเรศวรมีชัยในการกระทำยุทธหัตถีครั้งนี้  พระเกียรติยศได้เลื่องลือไปทั่วทุกประเทศในชมพูทวีป  ด้วยถือเป็นคติมาแต่โบราณว่า  การชนช้างเป็นยอดวีรกรรมของนักรบ  เพราะเป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว มิได้อาศัยกำลังพล  หรือกลยุทธใดๆ  เป็นการแพ้ชนะกันด้วยฝีไม้ลายมือและความแกล้วกล้า  นอกจากนั้น โอกาสที่จะมีเหตุการณ์ดังกล่าวก็มีน้อย  ดังนั้น ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะ  ก็จะได้รับความยกย่องว่ามีพระเกียรติยศอย่างสูงสุด  ถึงเป็นผู้แพ้ ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ว่าเป็นนักรบแท้
.
            ด้วยเหตุผลดังกล่าว  สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่ง  ตรงที่ได้กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา  ณ ตำบลท่าคอย  ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลดอนเจดีย์  อยู่ห่างจากหนองสาหร่ายไปประมาณ 100 เส้น  พระเจดีย์ทิ้งร้างมานานหลายร้อยปี  เพิ่งมาพบเมื่อปี พ.ศ.  2456  วัดฐานเจดีย์ได้ด้านละ 10 วา  ความสูงประมาณ 20 วา  ต่อมา ได้มีการบูรณะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ตามแบบอย่างเจดีย์ที่วัดใหญ่ชัยมงคล  ซึ่งสันนิษฐานว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงให้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ แห่งชัยชนะครั้งนั้น  ตามคำกราบทูลแนะนำของสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว  เป็นเจดีย์กลมแบบลังกา  ดังที่ปรากฎอยู่ปัจจุบันนี้
.
            สมเด็จพระนเรศวร  ทรงปูนบำเหน็จความชอบอันเนื่องมาจากการสงครามครั้งนี้โดยทั่วกัน คือ ช้างพระที่นั่งที่ชนชนะข้าศึก  พระราชทานนามว่า  เจ้าพระยาปราบหงสาวดี  พระแสงของ้าวก็ได้นามว่าเจ้าพระยาแสนพลพ่าย  นับถือเป็นพระแสงศักดิ์สิทธิ์ สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงคชาธารในรัชกาลหลัง ๆ สืบมา  พระมาลาที่พระองค์ทรงในวันนั้น  ก็ปรากฎนามว่าพระมาลาเบี่ยง ดำรงคงอยู่มาถึงปัจจุบันนี้
.
            เมื่อเสร็จศึกแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงโทมนัส ที่ไม่สามารถจะตีข้าศึกให้แตกยับเยินไปได้เหมือนครั้งก่อน เพราะเหตุที่แม่ทัพนายกองไม่สามารถตามเสด็จให้ทันการรบพุ่งพร้อมกัน พระองค์จึงให้ลูกขุน ประชุมปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองเหล่านั้นตามพระอัยการศึก  ลูกขุนปรึกษากันแล้ววางบทว่า
.
            พระยาศรีไสยณรงค์  มีความผิดฐานฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ ไปรบพุ่งข้าศึกโดยพละการจนเสียทัพแตกมา
.
            เจ้าพระยาจักรี  พระยาพระคลัง  พระยาเทพอรชุน  พระยาพิชัยสงคราม  พระยารามคำแหง  มีความผิดฐานละเลย มิได้ตามเสด็จให้ทันท่วงทีการพระราชสงคราม
.
            ทั้งหมดนี้ โทษถึงประหารชีวิตด้วยกัน  พระองค์จึงทรงให้เอาตัวคนทั้งหมดดังกล่าวไปจำตรุไว้ พอพ้นวันพระแล้ว  ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย  ตามคำพิพากษาของลูกขุน
.
            ครั้นถึงวันแรม 14 ค่ำ เดือนยี่  สมเด็จพระนพรัตน์ วัดป่าแก้ว  กับพระราชาคณะรวม 25 รูป  เข้าไปเฝ้า ถามข่าวถึงการเสด็จพระราชสงครามตามประเพณี  สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสเล่าเหตุการณ์ทั้งปวงให้ฟังทุกประการ  สมเด็จพระพนรัตน์ได้ฟังแล้วจึงถวายพระพรถามว่า  พระองค์มีชัยแก่ข้าศึก  แต่เหตุไฉนข้าราชการทั้งปวงจึงต้องรับราชทัณฑ์
.
สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า  นายทัพนายกองเหล่านี้กลัวข้าศึกมากกว่ากลัวพระองค์  ละให้แต่พระองค์สองคนพี่น้อง ฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึก  จนได้ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา  ต่อมีชัยกลับมาจึงได้เห็นหน้าพวกเหล่านี้  นี่หากว่าพระองค์ยังไม่ถึงที่ตาย  หาไม่แผ่นดินก็จะเป็นของชาวหงสาวดีเสียแล้ว  เหตุนี้พระองค์จึงให้ลงโทษตามอาญาศึก  สมเด็จพระพนรัตน์จึงถวายพระพรว่า  เมื่อพิเคราะห์ดูข้าราชการเหล่านี้ ที่จะไม่กลัวสมเด็จพระนเรศวรนั้นหามิได้  เหตุทั้งนี้เห็นจะเผอิญเป็น เพื่อจะให้พระเกียรติแก่พระองค์เป็นมหัศจรรย์  เหมือนสมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า  เมื่อพระองค์เสด็จเหนืออปราชิตบัลลังก์ใต้ควงไม้โพธิ์ครั้งนั้น  เทพเจ้าก็มาเฝ้าพร้อมหมื่นจักรวาล  พระยาวัสวดีมารยกพลเสนามาผจญ  ถ้าพระพุทธเจ้าได้เทพเจ้าเป็นบริวาร มีชัยแก่พระยามารก็หาสู้เป็นอัศจรรย์ไม่  เผอิญให้หมู่เทพเจ้าทั้งปวงปลาศนาการหนีไปสิ้น  เหลือแต่พระองค์เดียวสามารถผจญให้เหล่ามารปราชัยไปได้  จึงได้พระนามว่า  พระพิชิตมาร โมฬีศรีสรรเพชญดาญาณ  เป็นมหาอัศจรรย์บันดาลไปทั่วอนันตโลกธาตุ
.
ก็เหมือนทั้งสองพระองค์ครั้งนี้  ถ้าเสด็จพร้อมด้วยโยธาทวยหาญมาก  และมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชา  ก็จะหาสู้เป็นมหัศจรรย์แผ่พระเกียรติยศ ให้ปรากฎแก่นานาประเทศไม่  อันเหตุที่เป็นทั้งนี้  เพื่อเทพเจ้าทั้งปวงอันรักษาพระองค์ จักสำแดงพระเกียรติยศ  เป็นแน่แท้
.
            สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังแล้วก็ทรงพระปิติโสมนัส ตรัสว่า  พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา  สมเด็จพระพนรัตน์จึงได้ถวายพระพรว่า  ข้าราชการซึ่งเป็นโทษเหล่านี้ก็ผิดหนักหนาอยู่แล้ว  แต่ทว่าได้ทำราชการมา  แต่ครั้งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช  และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง  ตลอดมาจนถึงพระองค์ดุจพุทธบริษัท  สมเด็จพระบรมครู  จึงขอพระราชทานโทษคนเหล่านี้ไว้สักครั้งหนึ่ง จะได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป  สมเด็จพระนเรศวร จึงมีรับสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระพนรัตน์ขอแล้ว พระองค์ก็จะถวาย แต่ทว่า จะต้องไปตีเมืองตะนาวศรี  เมืองทวายแก้ตัวก่อน สมเด็จพระพนรัตน์
.
ถวายพระพรว่า  การจะใช้ไปตีบ้านเมืองนั้นสุดแต่พระองค์จะสงเคราะห์  มิใช่กิจของสมณะ  แล้วก็ถวายพระพรลาไป  สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้นายทัพนายกองที่มีความผิดพ้นจากเวรจำ  แล้วทรงให้พระยาจักรียกกองทัพมีกำลังพล 50,000 คน  ไปตีเมืองตะนาวศรีทัพหนึ่ง ให้พระยาพระคลังคุมกองทัพมีกำลัง 50,000 ไปตีเมืองทวายอีกองทัพหนึ่ง
.
บันทึกเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี
.
            เรื่องเจดีย์ยุทธหัตถีนี้  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดี มีข้อมูลที่น่ารู้ดังนี้
.
            ในหนังสือพระราชพงศาวดาร  ได้กล่าวถึงเจดีย์ยุทธหัตถีไว้ว่า  เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ทรงชนะยุทธหัตถี แล้ว "ตรัสให้ก่อพระเจดีย์สถาน สวมศพพระมหาอุปราชาไว้ ณ ตำบลตระพังกรุ"
.
            สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ได้ทรงให้พระยากาญจนบุรี (นุช) ไปสืบหา ได้ความว่าบ้านตระพังกรุมีมาแต่โบราณ เป็นที่ดอนต้องอาศัยใช้น้ำบ่อ  มีบ่อน้ำกรุอิฐข้างในซึ่งคำโบราณ เรียกว่า  ตระพังกรุ อยู่หลายบ่อ  แต่ไม่มีเจดีย์ที่สมควรว่าเป็นของพระเจ้าแผ่นดินสร้างอยู่ในบริเวณนั้น
.
            เมื่อได้ประมวลเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า  สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้สร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถี ขึ้นตรงที่ชนช้างองค์หนึ่ง  แล้วทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่อีกองค์หนึ่ง  ขนานนามว่า  พระเจดีย์ชัยมงคล ขึ้นที่วัดเจ้าพระยาไทย  อันเป็นที่สถิตของพระสังฆราชฝ่ายขวา  จึงมักเรียกกันว่า วัดป่าแก้ว  ตามนามเดิมของพระสงฆ์คณะนั้น
.
            ในปีแรกรัชกาลที่ 6  พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ  ตาละลักษณ์)  เมื่อยังเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ ได้พบหนังสือเรื่องพงศาวดารเล่มหนึ่ง  มีหลักฐานว่าเขียน เมื่อปี พ.ศ. 2223  ซึ่งต่อมาให้เรียกว่า  พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ  มีความในเรื่องสงครามยุทธหัตถีว่า
.
            "พระมหาอุปราชามาตั้งประชุมทัพอยู่ที่ตำบลตระพังกรุ  แล้วมาชนช้างกับสมเด็จพระนเรศวร ฯ  ที่ตำบลหนองสาหร่าย  เมื่อวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 955  (พ.ศ. 2135)"
.
            สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ จึงทรงให้พระยาสุนทรบุรี (อี่  กรรณสูตร)  สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ไปสืบหาตำบลหนองสาหร่าย  ได้ความว่า  ตำบลหนองสาหร่ายนั้นอยู่ใกล้ลำน้ำท่าคอย  อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสุพรรณ  เป็นลำน้ำเดียวกันกับลำน้ำจรเข้สามพัน ที่ตั้งเมืองอู่ทอง  แต่อยู่เหนือขึ้นไปไกล มีเจดีย์โบราณอยู่  ชาวบ้านเรียกว่า  ดอนเจดีย์  เป็นเจดีย์ฐานทักษิณเป็น 4 เหลี่ยม 3 ชั้น ชั้นล่างกว้าง 8 วา องค์พระเจดีย์เหนือฐานทักษิณ ชั้นที่ 3 ขึ้นไป หักพังหมดแล้ว  ประมาณขนาดสูงเมื่อยังบริบูรณ์ เห็นจะราวเท่า ๆ กับ พระปรางค์ที่วัดราชบูรณะในกรุงเทพ ฯ
.
            ระยะทางระหว่างตำบลสำคัญที่ได้จากเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินโดยสถลมารค ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปสักการบูชา  พระเจดีย์ยุทธหัตถี เมื่อ พ.ศ. 2453  พอประมวลได้ดังนี้
.
                  นครปฐม  ถึง  กำแพงแสน                                            ระยะทาง  568  เส้น      หรือประมาณ  23  กิโลเมตร
.
                  กำแพงแสน ถึง  บ้านบ่อสุพรรณ                                    ระยะทาง  706  เส้น      หรือประมาณ  28  กิโลเมตร
.
                  บ้านบ่อสุพรรณ  ถึง  บ้านตระพังกรุ                                ระยะทาง  125  เส้น      หรือประมาณ  5   กิโลเมตร
.
                  บ้านตระพังกรุ  ถึง  บ้านดอนมะขาม                              ระยะทาง  274  เส้น      หรือประมาณ  11  กิโลเมตร
.
                  บ้านดอนมะขาม  ถึง  บ้านจรเข้สามพัน                            ระยะทาง  411  เส้น      หรือประมาณ  16  กิโลเมตร
.
                บ้านจรเข้สามพัน ถึง  อู่ทอง                                           ระยะทาง  140  เส้น      หรือประมาณ    6  กิโลเมตร
.
                  อู่ทอง  ถึง  บ้านโข้ง                                                        ระยะทาง  510  เส้น      หรือประมาณ  20  กิโลเมตร
.
                  บ้านโข้ง  ถึง  ดอนเจดีย์                                                   ระยะทาง 495  เส้น       หรือประมาณ  20  กิโลเมตร
.
ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของห้วงเวลานั้นได้ดังนี้
.
            กองทัพพระมหาอุปราชา เดินทัพมาจนเข้าเขตเมืองสุพรรณบุรี  แขวงบ้านพนมทวน  หยุดตั้งกองทัพที่ตำบลตระพังกรุ  แขวงเมืองสุพรรณบุรี  แล้วให้กองกำลังทหารม้าออกลาดตระเวณหาข่าว
.
            สมเด็จพระนเรศวร ยกกองทัพมาตั้งค่ายหลวงอยู่ที่หนองสาหร่าย ริมแม่น้ำท่าคอย  เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่  และทรงให้กองทัพพระยาศรีไสยณรงค์ กับพระราชฤทธานนท์  ที่ออกไปขัดตาทัพอยู่ที่ลำน้ำท่าคอย  เลื่อนออกไปขัดตาทัพที่ดอนระฆัง
.
            พระยาศรีไสยณรงค์  แจ้งข่าวข้าศึกว่า  กองทัพใหญ่ข้าศึกเคลื่อนที่พ้นบ้านจรเข้สามพันมาแล้ว  เมื่อวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่  สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้กองทัพทั้งปวง  เตรียมตัวรบข้าศึกในวันรุ่งขึ้น
.
            วันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือนยี่  สมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ  ทรงเครื่องพิชัยยุทธ  ขณะนั้นได้ยินเสียงปืน จากการปะทะกันของทัพหน้าไทยกับทัพหน้าพม่า  ได้ความว่าปะทะกันที่ดอนเผาข้าว  เมื่อเวลาเช้าจึงมีรับสั่งให้ กองทัพหน้าล่าถอยลงมาโดยเร็ว  ทรงให้สงบทัพหลวงรออยู่จน 11 นาฬิกา  เห็นข้าศึกรุกไล่ลงมาไม่เป็นกระบวน  จึงทรงให้สัญญาณกองทัพทั้งปวงยกออกตีข้าศึก
.
            จากเหตุการณ์ดังกล่าว จะพบว่าพระมหาอุปราชาเคลื่อนทัพจากตระพังกรุ มาถึงบ้านจรเข้สามพันเมื่อวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ เป็นระยะทาง 685 เส้น หรือ  28 กิโลเมตร  ซึ่งต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 วัน  ณ จุดนี้จะอยู่ห่างจากหนองสาหร่าย ที่ตั้งค่ายหลวงของไทย เป็นระยะทาง 1145 เส้น หรือ 46 กิโลเมตร  สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้เตรียมตัวรบข้าศึกในวันรุ่งขึ้น
.
            ในวันรุ่งขึ้นซึ่งข้าศึกจะเคลื่อนทัพมาได้อีกประมาณ 30 กิโลเมตร  ซึ่งจะอยู่ห่างจากค่ายหลวงของไทยประมาณ 20 กิโลเมตร  ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเดินทางอีกไม่เกิน 1 วัน
.
            วันต่อมาคือวันแรม 2 ค่ำ เดือนยี่  เวลาเช้าได้ยินเสียงปืนจากการปะทะกัน  ได้ความว่าปะทะกันที่ดอนเผาข้าว ซึ่งน่าจะอยู่ห่างจากหนองสาหร่ายไม่เกิน 15 กิโลเมตร  เพราะเป็นเวลาเช้าเสียงปืนใหญ่ได้ยินไปได้ไกล  และพระองค์ทรงรออยู่จน 11 นาฬิกา ข้าศึกจึงรุกไล่ทัพหน้าของไทยมาถึงทัพหลวง
.
            เมื่อสมเด็จพระนเรศวร กับพระเอกาทศรถ  ยกกำลังทั้งปวงเข้าตีข้าศึก  ช้างศึกของทั้งสองพระองค์เร่งรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จนกองทัพตามไม่ทัน  ผงคลีจากกองทัพทั้งสองฝ่ายที่สู้รบติดพันกันมาปลิวคลุ้งจนมืดมิด  และเมื่อฝุ่นจางจึงทอดพระเนตรเห็น พระมหาอุปราชายืนอยู่ช้างอยู่ใต้ร่มไม้  ระยะทางที่ช้างทรงของทั้งสองพระองค์ตลุยข้าศึกมานี้เป็นระยะทาง 100 เส้น หรือ 4 กิโลเมตร  เนื่องจากพระเจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ห่างจากหนองสาหร่ายไปประมาณ 100 เส้น
.
            เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยครั้งนั้น ก็สมจริงตามได้บันทึกกันไว้สืบต่อมาทุกประการ
.
ที่มา http://thaiheritage.net/king/naresuan/naresuan3.htm
.
.
.--------------------------------------------.
.
.
“หลักฐานพม่า” พลิกความเข้าใจเรื่อง “สงครามยุทธหัตถี”!!!
.
เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2562
.
“หลักฐานพม่า” พลิกความเข้าใจเรื่อง “สงครามยุทธหัตถี” ข้อความส่วนนี้คัดบางส่วนจากบทความของ ศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ เรื่อง “ประวัติศาสตร์ไทยในหลักฐานพม่า” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม ๒๕๖๑ ดังนี้
.
“…แต่เรื่องที่พลิกความเข้าใจยิ่งไปกว่า คือ เรื่องสงครามยุทธหัตถี ความที่มีระบุในพงศาวดารพม่าฉบับอูกาลาจะเล่าว่า “ทัพของพระมหาอุปราชาเคลื่อนมาถึงชานกรุงศรีอยุธยาในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๕๙๒” และเล่าต่อว่า สมเด็จพระมหาอุปราชาทรงคชาธารชื่อ “งะเยโซง” ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากพงศาวดารพม่า ส่วนพงศาวดารไทยระบุชื่อช้างว่าชื่อ “พลายพัทธกอ” เบื้องขวาของพระองค์ยืนด้วยพระคชาธาร และกำลังไพร่พลของเจ้าเมืองแปรชื่อ “ตะโดธรรมราชา” ส่วนเบื้องซ้ายยืนด้วยพระคชาธาร และไพร่พลของนัดจินหน่อง โอรสของเจ้าเมืองตองอู และถัดไปทางเบื้องขวาไม่ใกล้ไม่ไกล ยืนด้วยคชาธารของเจ้าเมืองชามะโร ไทยเรียกมังจาปโร เป็นพระพี่เลี้ยง
.
หลักฐานพม่าระบุว่าช้างของชามะโรกำลังตกน้ำมันหนักถึงกลับต้องใช้ผ้าคลุมหน้าช้างเอาไว้ไม่ให้ช้างตื่น ในขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงคชาธารชื่อพระลโปง นำไพร่พลทแกล้วทหารจำนวนมากออกมาจากพระนครหมายจะเผด็จศึก พระองค์ทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระมหาอุปราชาแล้วก็ไสช้างตรงไปยังตำแหน่งที่จอมทัพพม่าประทับอยู่โดยแรงเร็ว ฝ่ายเจ้าเมืองชามะโร เมื่อเห็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขับพระคชาธารตรงรี่หมายชิงชนกับช้างประทับ ชามะโรซึ่งเป็นราชองครักษ์ก็เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพาหนะของตนออก หมายมุ่งที่จะนำช้างของตนออกสกัดช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ช้างนั้นเป็นช้างตกน้ำมันหนักยากที่จะบังคับ ช้างที่ไสออกไปแทนที่จะเข้าชิงชนกับช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มันก็หันรีหันขวาง และกลับตัวมาแทงโดนเอาช้างของสมเด็จพระมหาอุปราชาโดยกำลังแรง หลักฐานพม่าอธิบายว่าแรงขนาดช้างของสมเด็จพระมหาอุปราชาจามสนั่นด้วยความเจ็บปวด
.
ขณะนั้นทหารองครักษ์ที่ล้อมช้างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ระดมยิงปืนสวนใส่เข้ามาและมีกระสุนพลัดถูกเอาสมเด็จพระมหาอุปราชาโดยถนัดถึงสิ้นพระชนม์ซบกับคอช้าง ควาญช้างพอเห็นพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะต้องปืน ก็บังคับช้างเข้ามาหลบที่พุ่มไม้แห่งหนึ่ง ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเองก็ยังไม่ทรงทราบว่าสมเด็จพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ยังยืนพระคชาธารอยู่ ณ ที่เดิม เป็นจังหวะให้นัดจินหน่องซึ่งทรงพระคชาธารนามว่า “อูดอตะกะ” ไสช้างเข้าชนช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ช้างทรงก็ถอยร่นลงไปซ้ำ ตะโดธรรมราชาพอเห็นช้างทรงถอยร่นจึงไสช้างตนสำทับเข้าไปอีก ทำให้ทางฝ่ายอยุธยาต้องถอยร่นเข้ามาสู่พระนคร อาศัยกำแพงพระนครเป็นที่มั่นในการต่อสู้ ไม่ออกมาทำสงครามกลางแปลงอีก
.
เรื่องตามแสดงมามีปรากฏอยู่ในหลักฐานทางฝ่ายพม่า การที่หลักฐานพม่าให้ข้อมูลที่แตกต่างไปจากเรื่องสงครามยุทธหัตถีที่มีอยู่ในหลักฐานของไทย ทำให้วงวิชาการต่างชาติเกิดการตีความต่างกันไป วิคเตอร์ ลิเบอร์แมน (Victor Lieberman) นักประวัติศาสตร์สำคัญคนหนึ่งระบุว่า ครั้งนั้นสมเด็จพระมหาอุปราชาต้องปืนสวรรคต โดยนำหลักฐานพม่าไปเปรียบเทียบกับหลักฐานเยซูอิตร่วมสมัย อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ไม่ใช่วิสัยที่จะมาตัดสินเอากันง่ายๆ และก็ไม่ใช่ว่าหลักฐานของพม่าและหลักฐานของฝรั่งจะเชื่อถือไปได้หมด หลักฐานฝรั่งที่เก่าแก่ไม่แพ้กันกับหลักฐานที่ลิเบอร์แมนกล่าวถึงการทำคชยุทธ์ครั้งนั้นอย่างมโหฬาร แสดงว่าหลักฐานฝรั่งก็มีขัดกันเอง
.
ภาพความขัดแย้งที่ปรากฏในหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับสงคราม คือภาพสะท้อนการเผชิญหน้าระหว่างจารีตอันเป็นธรรมเนียมนิยมของการทำสงครามรูปแบบเก่า คือการรบแบบตัวต่อตัวบนหลังช้าง กับการแพร่กระจายของอาวุธสมัยใหม่คือ ปืนไฟ (อ่านเพิ่มเติมประเด็น ปืนไฟ)
.
ถึงแม้ท้ายที่สุดปืนไฟจะทำให้ธรรมเนียมนิยมของการยุทธหัตถีหมดไป แต่ยืนยันได้ว่าในช่วงหลังสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ธรรมเนียมนิยมในการทำยุทธหัตถียังไม่ได้หมดไป มีหลักฐานปรากฏในพงศาวดารพม่าเองว่าพระเจ้านันทบุเรงเมื่อยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองอังวะก็ได้มีการท้าทายพระเจ้าอังวะให้กระทำยุทธหัตถี และกระทำยุทธหัตถีต่อหน้ารี้พล กระทั่งพระเจ้าอังวะพ่ายแพ้ ถึงกลับต้องหลบหนีไป
.
เพราะฉะนั้นเรื่องยุทธหัตถีนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะหาข้อยุติกันได้โดยง่าย ยังจะต้องศึกษากันต่อไปในรายละเอียด นอกจากหลักฐานพม่าจะเสนอภาพที่พลิกตามความเข้าใจในเรื่องสงครามยุทธหัตถีแล้ว ยังมีหลักฐานอื่นๆ อีกมากที่พลิกความเข้าใจซึ่งตกทอดกันมา เช่น กรณีสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐…”
.
ที่มา https://www.silpa-mag.com/history/article_17774
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ชมรมพระวังหน้า เพื่อพระวังหน้าและงานบุญต่างๆ
« ตอบกลับ #488 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2020, 01:31:14 pm »
.
.
.
ผมร่วมบุญสร้างอุโบสถ
ณ วัดป่าภัทรปิยาราม ต.โคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี
.
.
.
ผมโอนเงินร่วมทำบุญ 500 บาท
มาร่วมโมทนาบุญกันครับ
.
.
.*****************
.
.
สำหรับท่านใดสนใจร่วมทำบุญ
สามารถร่วมทำบุญได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาลพบุรี
บัญชีเลขที่ 111-0-65693-9 ชื่อบัญชี วัดป่าภัทรปิยาราม
.
.
.
.฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿
.
.
.
และ ผมร่วมบุญสร้างอุโบสถ
ณ วัดไหล่ดุม ต.สังเม็ก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
.
.
.
ผมโอนเงินร่วมทำบุญ 500 บาท
มาร่วมโมทนาบุญกันครับ
.
.
.*****************[
.
.
สำหรับท่านใดสนใจร่วมทำบุญ
สามารถร่วมทำบุญได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาเทสโก้ โลตัส กันทรลักษ์
บัญชี 7580123680 ชื่อบัญชี วัดไหล่ดุม
.
.
.
หรือติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหาอาคม กิตฺติญาโณ 0922918381
.
.
.
#วัดไหล่ดุม
#วัดป่าภัทรปิยาราม
#พระมูนียะเถระเจ้า
#บรมครูมูนียะโลกอุดร
#หลวงปู่เทพโลกอุดร
#พระพุทธยมกปาฎิหาริย์
#พระพุทธมณีรัตนอัมรินทร์สถิตย์
#พญานาคราชศีลวิสุทธิโลกาธิบดี
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ชมรมพระวังหน้า เพื่อพระวังหน้าและงานบุญต่างๆ
« ตอบกลับ #489 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2020, 10:06:29 am »
ผมมาร่วมทำบุญ ในวาระงานบุญ การอัญเชิญรูปหล่อพระมูนียะเถระเจ้า ( หรือ หลวงปู่บรมครูมูนียะโลกอุดร หรือหลวงปู่เทพโลกอุดร) ขึ้นประดิษฐาน ณ มณฑปกลางน้ำ ที่อาศรมศรีชัยรัตนโคตร จ.สกลนคร ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563
.
โดยผู้ร่วมทำบุญ หลายๆท่าน ( ผม , ผู้บัญชาการที่บ้าน , สมาชิกชมรมพระวังหน้า , สมาชิกคณะพระวังหน้า , พนักงานฝ่ายปฎิบัติการสินเชื่อธุรกิจขนาดกลาง บมจ.ธนาคารกรุงไทย , พนักงานฝายทีมบริหารทีมปฎิบัติการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมบุญดังนี้
.
1.การสร้างวิหาร และ มณฑปกลางน้ำ ที่อาศรมศรีชัยรัตนโคตร
.
2.การถวายหนังสือประวัติหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร แด่พระอาจารย์นิล (อาศรมศรีชัยรัตนโคตร จ.สกลนคร)
.
3.ถวายปัจจัยในการทำบุญภัตตาหารของพระภิกษุที่อยู่ที่อาศรมศรีชัยรัตนโคตร
.
4.การถวายหนังสือประวัติหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร แด่แม่ชีรุ่งนภา (บ้านแสงแห่งธรรม จ.พิษณุโลก)
.
5.ถวายปัจจัยการทำบุญโรงทานของแม่ชีรุ่งนภา (มูลนิธิบ้านแสงแห่งธรรม)
.
6.ถวายรูปคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร 5 พระองค์ แด่ พระอาจารย์นิล , พระภิกษุอีก 1 รูป และ แม่ชีรุ่งนภา
.
ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่าน
มาร่วมโมทนาบุญกันครับ
.
.
.-----------------------------------------------.
.
.
กำหนดการ

พิธีอัญเชิญหลวงปู่เทพโลกอุดร ขึ้นประดิษฐาน ณ มณฑปกลางน้ำ อาศรมศรีชัยรัตนโคตร
.
07.19 น. พิธีบวงสรวงโดยพระมหาเถระ 2 รูป
.
ท่านพระครูวิลาศกาญจนธรรม ดร. เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี
ท่านเจ้าคุณพระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ) ประธานสงฆ์วัดใหม่ปลายห้วย จ.พิจิตร
.
07.30 น. เริ่มพิธีอัญเชิญรูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดร จากแท่นประดิษฐานด้านนอก เข้าสู่ฐานองค์พระภายในมณฑปกลางน้ำ
.
พระสงฆ์ 9 รูป สวดชัยมงคลคาถา
.
ด้านในมณฑป- พระครูวินัยธรธวัชชัย ชาครธัมโม พร้อมคณะช่าง ดำเนินงานติดตั้งระบบเพิ่มเติมของแท่นฐานหินอ่อนกับรูปหล่อองค์หลวงปู่เทพโลกอุดร
.
ด้านนอกมณฑป-กราบอาราธนาพระมหาเถระเทศน์โปรดญาติโยมพุทธบริษัท
.
08.30 น. กราบอาราธนาพระมหาเถระสองรูป ประกอบพิธีภายในมณฑป (ถวายพานเครื่องสักการะ และทำพิธีเบิกพระเนตรองค์พระ)
.
10.15 น. ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์
.
10.30 น. ถวายภัตตาหารเพล
.
เสร็จพิธี
.
#หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า

#หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า

#หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพธิ์

#หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี

#หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ

#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์

#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร

#คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ

#หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ

#พระเจ้าอโศกมหาราช

#พระครูวิลาศกาญจนธรรม #เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน

#เจ้าคุณพระพิศาลญาณวงศ์ ( #หลวงปู่ทองดีอนีโฆ ) #ประธานสงฆ์วัดใหม่ปลายห้วย

#ชมรมพระวังหน้า

#พระวังหน้า

#อาศรมศรีชัยรัตนโคตร

#พระธวัชชัยชาครธัมโม

#พระอาจารย์นิล

#หลวงพี่นิล

#มูลนิธิบ้านแสงแห่งธรรม

#บ้านแสงแห่งธรรม

#แม่ชีรุ่งนภา

#โรงทาน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)