ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ทางธรรม

ชมรมพระวังหน้า เพื่อพระวังหน้าและงานบุญต่างๆ

<< < (110/114) > >>

sithiphong:
.
.
สืบเนื่องจากที่ผมลงประวัติของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ
.
มาแอบกระซิบกัน ว่า การสร้าง #พระวังหน้า ในช่วงนั้น แม่พิมพ์หลายๆพิมพ์ เป็นการออกแบบแม่พิมพ์โดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ
.
#แม่พิมพ์พระสมเด็จ นั้น
ผมเคยบอกมาก่อนหน้านี้แล้วว่า พระสมเด็จ มีการสร้างกันมาตั้งแต่ยุคศรีสัชนาลัย ที่ทางกลุ่มลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร มีการค้นพบแม่พิมพ์พระสมเด็จในสมัยนั้น
ปัจจุบัน แม่พิมพ์พระสมเด็จอันนั้น อยู่ในกลุ่มลูกศิษย์ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร
.
พระสมเด็จที่ผมได้พบที่มีการสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา(เกือบ)ตอนปลาย
.
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา(เกือบ)ตอนปลาย มีการสร้างพระสมเด็จขึ้นมา
คาดว่า น่าจะมีการสร้างขึ้นมาในช่วงสมัย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐ) ถึง สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
.
ดังนั้น แม่พิมพ์พระสมเด็จ ไม่มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แน่นอน
.
ผมลงรูป #พระสมเด็จที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกือบตอนปลาย นำมาให้ชม
.
ส่วนหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นช่างสิบหมู่เช่นกัน เพียงแต่เป็นช่างที่ทำงานด้านการทำเพชรพลอย
.
รูปสงวนลิขสิทธิ์
.
.
.
.
หนังสือทั้ง 3 เล่ม
เป็นความรู้เบื้องต้นเท่านั้น
ในการเรียนรู้เรื่อง #พระวังหน้า
.
เพราะว่า มีอีกหลายเรื่องมากที่ไม่มีในหนังสือทั้ง 3 เล่ม ที่ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ได้สอนลูกศิษย์และผู้ที่ไปหาท่าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง #รูป (คือ #เนื้อหาทรงพิมพ์ และ #นาม (คือ #พลังอิทธิคุณขององค์ผู้อธิษฐานจิต) ครับ
.
.
.
#หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร
#ท่านอาจารย์ประถมอาจสาครผู้เขียน
.
#หนังสือวิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จฯและสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า
#ประถมอาจสาคร ผู้เขียน
#ปรัชนีประชากร
.
#หนังสือปู่เล่าให้ฟัง
#ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้เขียน
.
#ถ้ายังไม่ได้อ่านหนังสืออย่าริเป็นเซียน
.
.
.*******************************************.
.
.
ประวัติของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02RppDfpueNY5p4h1uRkHdyV7CZn6n1pgnJFbmycyF2j7AmDXNesy7FK7AHSSXbejXl&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
.
.
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ
.
ที่มา thestatestimes
เรื่อง: สถาพร บุญนาจเสวี Content Manager
ที่มาของภาพ สถาพร บุญนาจเสวี Content Manager
07 JANUARY , 2023
.
.
เจ้าชายนักประดิษฐ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ผู้สร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
.
.
เมื่อช่วงปีใหม่ผมมีโอกาสได้ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามวิถีของชาวพุทธ โดยได้ไปสักการะ 'พระพุทธอังคีรส' ประธานพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม คำว่า 'อังคีรส' มีความหมายว่า 'มีพระรัศมีเปล่งออกมาจากพระวรกาย'
.
พระพุทธรูปองค์นี้ หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อต้นรัชกาลที่ 5 ด้วยกะไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก 180 บาท เป็นทองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เมื่อยังทรงพระเยาว์ เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงนำไปประดิษฐานที่พระปฐมเจดีย์ แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2415 ซึ่งใต้ฐานบัลลังก์ของ 'พระพุทธอังคีรส' นั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมสรีรางคารของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
.
พุทธลักษณะของ 'พระพุทธอังคีรส' ประกอบด้วยพระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาเล็ก ไม่มีอุษณีษะ (ปุ่มด้านบนศรีษะ) มีพระรัศมีขนาดใหญ่เป็นเปลว พระกรรณสั้นเหมือนมนุษย์ปกติ ไม่ยาวเหมือนพระพุทธรูปทั่วไป การครองจีวรห่มเฉียง มีริ้วแบบธรรมชาติ สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่เหมือนผ้าสังฆาฏิที่ใช้จริงแบบพระสงฆ์ทั่วไป นักวิชาการให้ความเห็นกันไว้ว่านี่คือพระพุทธรูปที่มีลักษณะ 'เทวดาครึ่งมนุษย์' ที่งดงาม ไร้ที่ติ ถึงตรงนี้ใครกันหนอ ? คือผู้ปั้นและหล่อ 'พระพุทธอังคีรส' องค์นี้
.
'พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' พระองค์คือช่างปั้นและช่างหล่อท่านที่ผมสงสัยนั่นเอง พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของ 'พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์' ต้นราชสกุล 'ดวงจักร' เมื่อแรกประสูติ ทรงพระนามว่า 'หม่อมเจ้าดิศ' พระบิดาของพระองค์นั้น ทรงกำกับ 'กรมช่างหล่อ' (เป็น DNA จากพ่อสู่ลูกแน่ ๆ อันนี้ผมคิดเองนะ) ในรัชสมัยของ 'พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว' โดย 'ช่างหล่อ' เป็นหนึ่งในกลุ่ม 'ช่างหลวง' ที่เรียกกันว่า 'ช่างสิบหมู่'
.
โดย 'ช่างหล่อ' มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหล่อโลหะ เช่น การหล่อกลองมโหระทึก หล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ การหล่อพระพุทธรูปโลหะทำได้โดยการใช้ขี้ผึ้งทำเป็นหุ่นแล้วละลายขี้ผึ้งจนเกิดที่ว่างในแม่พิมพ์ แล้วจึงเทโลหะหรือทองที่กำลังหลอมละลายเข้าแทนที่ จะได้เป็นรูปหล่อโลหะสำริด เรียกวิธีนี้ว่า 'ไล่ขี้ผึ้ง' ซึ่งก็คืองานวิจิตรศิลป ประเภทงานประติมากรรมนั่นเอง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญมาก ๆ ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเชื่อได้ว่า 'พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' คงจะได้เรียนรู้ ศึกษา และสั่งสมประสบการณ์ จาก 'พระบิดา' ของพระองค์นั่นเอง
.
ผมคงไม่เล่าพระประวัติของพระองค์มากนัก แต่จะเล่าถึงความสามารถของพระองค์และงานปั้นที่พระองค์ได้ทรงปั้นไว้ดีกว่า
.
เริ่มต้นในรัชสมัยของ 'พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว' รัชกาลที่ 4 ซึ่งในช่วงนั้น ฝรั่งเศสและอังกฤษ พยายามหาทางจะยึดครองสยามให้ได้ แต่เมื่อถึงช่วงเวลาวิกฤติก็เกิดเหตุพลิกผันที่ทำให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างอัศจรรย์ พระองค์จึงทรงดำริว่า เป็นไปได้ว่าน่าจะมีเทพยดาคอยพิทักษ์รักษาสยามอยู่ จึงสมควรจะสร้างรูปสมมติของเทพยดาองค์นั้นขึ้นเพื่อสักการบูชา จึงได้มีพระบรมราชโองการ ให้ 'พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็น 'หม่อมเจ้าดิศ' รับราชการในกรมช่างสิบหมู่ ได้เป็นนายช่างเอกออกแบบเทพยดาองค์หนึ่ง ตามพระราชดำริของพระองค์ ซึ่งใช้คติ 'มเหศักดิ์' หรือเทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมืองมาจินตนาการแล้วปั้นขึ้นเป็น 'เทวรูปยืน' ทรงเครื่องต้น พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระในท่าประทานพร มีขนาดสูง 8 นิ้ว หรือ 20 เซนติเมตร เป็นที่พอพระราชหฤทัยของ ร.4 เป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นแล้วถวายพระนามว่า 'พระสยามเทวาธิราช'
.
ช่วงปลายรัชกาลที่ 4 'พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' ก็ได้ใช้ประสบการณ์ด้านงานปั้นและงานหล่อที่ฝึกฝนมายาวนานจนชำนาญในงานแขนงนี้มากกว่าใคร จนถือได้ว่าศิลปินเอกแห่งยุคนั้น มาปั้นพระพุทธรูปที่ใช้คติ 'เทวดาครึ่งมนุษย์' ที่สวยงามแตกต่าง ก่อนจะนำไปหล่อด้วย กะไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก 180 บาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เมื่อคราวพระราชพิธีโสกันต์ เกิดเป็นพระพุทธรูปที่มีพระวรรณะเปล่งปลั่งงดงามที่สุด สมกับพระนามว่า
.
'พระพุทธอังคีรส' ซึ่งผมได้กล่าวไว้ในข้างต้น
.
พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งมาจากฝีมือของ 'พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' ที่จะไม่กล่าวถึงคงไม่ได้คือ พระประธานในพระอุโบสถของ 'วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ' โดยพุทธลักษณะแบบผสมผสานระหว่างประเพณีนิยมและตะวันตก รับกับตัวอุโบสถที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบกอธิกของยุโรป โดยพุทธลักษณะมีความใกล้เคียงกับมนุษย์ จากขมวดพระเกศาไม่มีพระเกตุมาลา มีแต่พระรัศมี ครองจีวร อย่างพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ริ้วจีวร เลียนแบบธรรมชาติ นิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน ฐานพระเป็นฐานกลีบบัวหลายบนฐานสิงห์ประดับลวดลายอย่างวิจิตร ซึ่ง ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระราชหฤทัยมาก โดยถวายพระนามว่า 'พระพุทธนฤมลธรรโมภาส'
.
ย้อนกลับไปตอนต้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมช่างสิบหมู่ และได้สร้างผลงานสำคัญซึ่งปัจจุบันประดิษฐานไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร นั่นก็คือพระบรมรูป 4 รัชกาล โดยพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 - 3 นั้นเป็นการปั้นขึ้นมาใหม่ โดยใช้ความทรงจำของเจ้านายที่ทันเห็นในหลวงทั้ง 3 รัชกาลมาสร้างงานปั้น โดยปั้นไป แก้ไป ซึ่งต้องนับว่า พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ทรงมีความอดทนและความสามารถเป็นอย่างมาก เมื่อปั้นเสร็จก็ได้แก้ไขข้อบกพร่องของพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ที่ได้มีแบบปั้นอยู่แล้ว เมื่อเสร็จก็หล่อพระบรมรูปทั้งหมดในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยแรกเริ่มนั้นได้ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดรในรัชสมัย 'พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว' รัชกาลที่ 6
.
ส่วนงานที่ 'พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' ยังดำเนินการไม่สำเร็จ แต่ได้ส่งต่อร่างต้นแบบที่สวยงามอัศจรรย์ใจ และยังปรากฏอยู่จนถึงวันนี้ นั่นก็คือการออกแบบภายนอกพระอุโบสถของ 'วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม' ที่ผมได้เข้าไปสักการะ 'พระพุทธอังคีรส' นั่นเอง โดย 'พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่กองอำนวยการสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2412 แต่ยังไม่แล้วเสร็จพระองค์ก็ประชวรด้วย 'พระโรคคันธสูตปลายปัตฆาฏ' ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่พระองค์ทรงนั่งปั้นงานอย่างต่อเนื่องยาวนาน พระองค์สิ้นพระชนม์ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2428 สิริพระชันษา 68 ปี เมื่อ 'พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ 'พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ' เป็นแม่กองอำนวยการสร้างต่อ
.
แม้พระประวัติของ 'พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' จะมีไม่มาก แต่ฝีมือเชิงช่างของพระองค์ยังคงเฉิดฉายและงดงาม ควรค่าแก่การสักการะ จวบจนปัจจุบันนี้ ผมขอก้มกราบฝีมือเชิงช่างของพระองค์อย่างหมดหัวจิตหัวใจ
.
กราบ...
.
.
เรื่อง: สถาพร บุญนาจเสวี Content Manager
.
.
.
.
.**********************************.
.
.
ว่าด้วยเรื่อง หลวงวิจารณ์เจียรนัย
โพสโดย Paisal Puechmongkol
วันที่ 2 กรกฎาคม 2020
.
หลวงวิจารณ์เจียรนัย!!!
.
กองเชียร์ของเซียนพระบางท่าน ที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระสมเด็จเวอร์ชั่นงานหลวงทั้งหมด กล่าวอ้างว่าหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้แกะแบบพิมพ์พระสมเด็จเวอร์ชั่นงานหลวง ว่าไม่มีตัวตนอยู่จริง โดยอ้างเหตุผล 3 ประการคือ
.
ก. ไม่พบประกาศการแต่งตั้งในราชกิจจานุเบกษา
ข.ไม่มีหลักฐานการขอนามสกุลพระราชทาน และไม่มีประกาศตั้งบรรดาศักดิ์ ในราชกิจจานุเบกษาด้วย
ค.ไม่เคยได้ยินประวัติหลวงวิจารณ์เจียรนัยมาก่อน และไม่มีทายาท ให้ปรากฏ!!
.
ข้อกล่าวอ้าง 3 ประการนี้ไม่เพียงพอที่จะสรุป ว่าหลวงวิจารณ์เจียรนัยไม่มีตัวตน เพราะ
.
1 ราชกิจจานุเบกษานั้นเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ตีพิมพ์เพียงบางส่วน และมาตีพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ในกลางรัชกาลที่ 5 ดังนั้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จึงทรงโปรดให้นำราชกิจจานุเบกษาฉบับสำคัญในรัชกาลที่ 4 มาพิมพ์ใหม่เป็นบางฉบับ ดังนั้นขุนนางข้าราชการ เกือบทั้งหมด จึงไม่มีการประกาศแต่งตั้งในราชกิจจานุเบกษาในขณะนั้น
ผมมีการศึกษาไม่มากนัก แต่ผมก็ประกาศได้ว่า ผมเป็นคนหนึ่งในไม่กี่คนของประเทศไทยที่ได้อ่านและศึกษาราชกิจจานุเบกษาทุกฉบับที่มีการตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5
.
2 นามสกุลพระราชทานนั้น เป็นค่านิยมที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ส่วนในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ยังไม่มีพระราชนิยมในเรื่องนี้ แม้ในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีขุนนางข้าราชการที่ได้รับนามสกุลพระราชทาน ไม่ถึง 300 ตระกูล
.
3 การพระราชทานบรรดาศักดิ์ก่อนสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นแบบแผนแต่โบราณ ไม่ได้มีการวางระบบพระราชทานเป็นนามชุด ที่สอดคล้องกัน เหมือนสมัยรัชกาลที่ 6 ดังเช่น บรรดาศักดิ์ชั้น"พระ" ที่มีนามว่า พระดุลยพากษ์สุวมัณฑ์ พระดุลยฑัณฑ์ชนาณัติ พระดุลยทัศน์ปฏิภาณ
หรือชั้นหลวง เช่น หลวงสุทธิมลนฤนาท หลวงสุทธิวาทนฤพุฒิ เป็นต้น
.
4 หลวง วิจารณ์เจียรนัยมีชีวิตอยู่ในยุครัชกาลที่ 4 ถึงกลางรัชกาลที่ 5 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมช่างสิบหมู่ ในสังกัดของกระทรวงวัง ซึ่งในช่วงที่มีการสร้างพระสมเด็จ เวอร์ชั่นงานหลวงของวังหลวงนั้นอยู่ในบังคับบัญชาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เสนาบดีกระทรวงวัง ซึ่งท่านก็มีทายาทสืบสายสกุลลงนาจนถึงวันนี้ และได้รับพระราชทาน หรือมีพระสมเด็จวังหลวงอยู่มากแบบ
.
ส่วนหลวงวิจารณ์เจียรนัยท่านก็มีทายาทสืบทอดลงมาจนถึงปัจจุบันนี้
.
ผมรู้จักเชื้อสายพระทายาทรุ่นปัจจุบันของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นั้น และท่านก็เมตตามอบพระสมเด็จให้ผม มาแล้ว และผมรู้จักทายาทของหลวงวิจารณ์เจียรนัยด้วย
.
ความจริงเป็นเช่นนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของใคร
.
.
.***********************************************
.
.
.
.
การเรียนรู้ ต้องมี สุ(ฟัง) จิ(คิด) ปุ(ถาม) ลิ(เขียน)
.
พาหุสัจจะ แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับมาก
หนังสือบางฉบับเรียกว่า หัวใจนักปราชญ์
.
สุ ย่อมาจาก สุตะ แปลว่า ฟัง
จิ ย่อมาจาก จินตะ แปลว่า คิด
ปุ ย่อมาจาก ปุจฉา แปลว่า ถาม
ลิ ย่อมาจาก ลิขิต แปลว่า จด
.
#อย่าไปเรียนกับกลุ่มเก๊สนิทศิษย์ส่ายหน้า
.
#เรียนรู้ของเก๊จี๊ดจ๊าดแทนของแท้ #เก็บสะสมของเก๊สนิทศิษย์ส่ายหน้าแทนของแท้
.
#หลงทางหลงป่าเข้าพงลงเหว จาก #กลุ่มกูรูเก๊
.
ระวังให้มากสำหรับ เก๊สนิทศิษย์ส่ายหน้า และ เก๊จี๊ดจ๊าด กัน
.
#อย่าไปเข้าป่าเข้าพงลงเหว #ไม่หลงทิศหลงทางลงนรก #อย่าตกเป็นเหยื่อ
.
ในเรื่อง #มุสาวาท และ #ปรามาสผู้มีธรรม จากกลุ่ม #กูรูเก๊
.
#โง่จริงแบบว่าไม่โง่จริงทำไม่ได้
.
.
#พระเก๊สนิทศิษย์ส่ายหน้า
#เก๊สนิทศิษย์ส่ายหน้า
#พระเก๊จี๊ดจ๊าด
#เก๊จี๊ดจ๊าด
#ต่อตีนโจร
.
.
.
.----------------------------------.
.
.
สองคน ยลตามช่อง คนหนึ่ง มองเห็นโคลนตม คนหนึ่ง ตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวแพรว
บทกวีของท่านเช็คสเปียร์ "Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star.
ถอดเป็นภาษาไทยโดยท่านภราดา ฟ. ฮีแรห์ แห่งอัสสัมชัญ
.
“สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย”
แปลโดยเจษฏาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ (F. Hilaire)
สุภาษิตนี้แปลมาจากภาษาอังกฤษ
Two men look out through the same bars; One sees the mud, and one the stars
โดย Frederick Longbridge
.
.
"สองคน ยลตามช่อง
คนหนึ่ง มองเห็นโคลนตม
คนหนึ่ง ตาแหลมคม
มองเห็นดาวอยู่พราวแพรว"
.
.....ต่อมาเมื่อได้ค้นคว้าเพิ่มเติมก็ได้ทราบว่าต้นแบบเป็นบทกวีของท่านเช็คสเปียร์ ที่ว่า "Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star." ถอดเป็นภาษาไทยโดยท่านภราดา ฟ. ฮีแรห์ แห่งอัสสัมชัญ เมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว (ข้อมูลจาก ไทยโพสต์ 25 พ.ย. 2547 โดยคุณสุวรรณ) ความหมายก็คือมุมมองของคนหลายคนในเรื่องเดียว อาจมีความแตกต่างกันได้ ไม่จำเป็นว่าคนหนึ่งต้องมองว่าบวกอีกคนต้องมองว่าลบเสมอไป อาจจะมองทางบวกทั้งคู่ หรือลบทั้งคู่ก็ได้ ถ้าแตกต่างกันในความคิดเห็นก็จัดว่าเป็นสองคนยลตามช่องได้ทั้งสิ้น
.
#สองคนยลตามช่อคนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
#คนหนึ่งตาแหลมคมมองเห็นดาวอยู่พราวแพรว
.
.
ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=178927421502615&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
.
.

sithiphong:
.
.
หนังสือทั้ง 3 เล่ม
เป็นความรู้เบื้องต้นเท่านั้น
ในการเรียนรู้เรื่อง #พระวังหน้า
.
เพราะว่า มีอีกหลายเรื่องมากที่ไม่มีในหนังสือทั้ง 3 เล่ม ที่ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ได้สอนลูกศิษย์และผู้ที่ไปหาท่าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง #รูป (คือ #เนื้อหาทรงพิมพ์ และ #นาม (คือ #พลังอิทธิคุณขององค์ผู้อธิษฐานจิต) ครับ
.
.
.
#หนังสือบรมครูพระเทพโลกอุดร
#ท่านอาจารย์ประถมอาจสาครผู้เขียน
.
#หนังสือวิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จฯและสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า
#ประถมอาจสาคร ผู้เขียน
#ปรัชนีประชากร
.
#หนังสือปู่เล่าให้ฟัง
#ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้เขียน
.
#ถ้ายังไม่ได้อ่านหนังสืออย่าริเป็นเซียน
.
.
.
.
.
การเรียนรู้ ต้องมี สุ(ฟัง) จิ(คิด) ปุ(ถาม) ลิ(เขียน)
.
พาหุสัจจะ แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับมาก
หนังสือบางฉบับเรียกว่า หัวใจนักปราชญ์
.
สุ ย่อมาจาก สุตะ แปลว่า ฟัง
จิ ย่อมาจาก จินตะ แปลว่า คิด
ปุ ย่อมาจาก ปุจฉา แปลว่า ถาม
ลิ ย่อมาจาก ลิขิต แปลว่า จด
.

sithiphong:
.
"หลวงพ่อกวย ชุตินธโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดโฆสิตาราม ครับ
.
หลวงพ่อกวย ท่านเก่งมากครับ
.
ประสบการณ์ส่วนตัว
.
เมื่อก่อนมีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมจะเดินทางไปกราบหลวงพ่อสนอง วัดนครไทยวราราม (พิษณุโลกฉ)
.
ผมไปแวะกราบหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี
.
พอกราบหลวงปู่บุดดาเรียบร้อยแล้ว ผมตั้ง Google Map ไปที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)  จ.พิษณุโลก
.
ผมขับรถมาตาม Google Map ที่ตั้งไว้  ขับมาได้สักพัก ปรากฎว่า ผมเห็นป้ายวัดโฆสิตาราม
.
ผมก็เลยแวะเข้าไปกราบ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร พอกราบหลวงพ่อกวยเสร็จเรียบร้อย
.
ผมก็ตั้ง Google Map ไปที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)  จ.พิษณุโลก
.
ปรากฎว่า เส้นทางใน Google Map ให้ย้อนกลับไปทางเดิม  ไปได้สักพัก ก็มีทางแยก (ให้เลี้ยวขวา)
.
พอเลี้ยวขวาแล้ว ขับตามเส้นทางมาได้สักพัก ก็ออกมาสู่ถนนสายเอเซีย แล้วก็เดินทางต่อไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)  จ.พิษณุโลก 
.
ในความเห็นของผม กับ อีกหลายท่าน บอกมาตรงกันว่า หลวงพ่อกวย ท่านให้ไปกราบท่านก่อน
หากเดินทางไปโดยไม่ไปแวะกราบท่าน อาจจะประสบกับอุบัติเหตุก็ได้ ครับ
.
หลวงพ่อกวย ท่านเปลี่ยนเส้นทางใน Google Map ในมือถือผม ครับ
.

sithiphong:
.
.
สืบเนื่องจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566) ผมและคณะไปร่วมงานบุญที่วัดป่าภัทรปิยาราม
.
.
.
ผมนำแผ่นทองเหลือง จำนวน 3 แผ่น
(ที่ผมเคยนำไปขอพระเมตตา หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด อธิษฐานจิตแผ่นทองเหลืองชุดนี้ที่วัดแค (วัดราชานุวาส) จ.พระนครศรีอยุธยา
.
นำไปใส่ในเตาหลอม (เป็นส่วนหนึ่งของมวลสาร) ในการสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ทั้ง 2 องค์
.
ผมนำรูปพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากพระอาจารย์ณริชธันร์ มาให้ชมกัน
.
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  สวยงามมาก ครับ
.
.**************************************************.
.
รายละเอียดของงานบุญในวันนั้น ด้านล่าง ครับ
.
.
.**************************************************.
.
.
รายละเอียดของงานบุญ
.
ที่มา และโพสโดย อรุโณ โลกุตตระ
วันที่ 8 มกราคม 2566 เวลา 05:18 น.
.
เรียนเชิญร่วมงาน
.
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖” (ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนสาม ปีขาล)
.
ณ วัดป่าภัทรปิยาราม ต.โคกตูม อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี
.
~ ยกช่อฟ้า, ปั้นลม, หน้าบัน ศาลาเคียงอุโบสถ วัดป่าภัทรปิยาราม
~ หล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”
~ ประดิษฐานศาลาเคียงอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม
~ ประดิษฐานหน้าเสาธงโรงเรียนบ้านวังเพลิง
~ หล่อพระบรมรูป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
~ ประดิษฐานหน้าเสาธงโรงเรียนบ้านวังเพลิง
.
.
มาร่วมโมทนาบุญกันครับ
.
.
.
#สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์
#หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
#หลวงปู่ทวดวัดช้างไห้
#พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
#สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
#วัดแค #วัดแคอยุธยา
#วัดราชานุวาส #วัดราชานุวาสอยุธยา
#วัดป่าภัทรปิยาราม
.
#หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
.
#หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
.
#หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
.
#หลวงปู่เทพโลกอุดร
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
.
#คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
.
#สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
.
#หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
.
#พระพุทธยมกปาฎิหาริย์
.
#พระพุทธมณีรัตนอัมรินทรถสถิต (พระประธาน พระอุโบสถเจดีย์ จักรรัตนอุโบสถ โลหะสัมฤทธิ์เจดีย์ บรมพิมาน พระพุทธมณีรัตนอัมรินทรถสถิต อัมพรสุวรรณนพรัตนมณีโชติจรัสสุริเยนทร์ วัดป่าภัทรปิยาราม)
.
#พระอุโบสถเจดีย์จักรรัตนอุโบสถโลหะสัมฤทธิ์เจดีย์ บรมพิมานพระพุทธมณีรัตนอัมรินทรถสถิตอัมพรสุวรรณนพรัตนมณีโชติจรัสสุริเยนทร์
.
#พระบรมธาตุเจดีย์ศรีอิทธิมนต์ทิพยสถานอรุโณโลกุตตระ
.
#พระอาจารย์ณริชธันร์ #วัดป่าภัทรปิยาราม
.
#ถ้าสุวรรณคูหามัฆวานวินิจฉัย
.
#พญานาคราชศีลวิสุทธิโลกาธิบดี
.
#ศาลาศรีอิทธิมนต์ (#ศาลาเคียงอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม)
.
#ชมรมพระวังหน้า
.
#พระวังหน้า
.

sithiphong:
.
.
หลวงพ่อสนอง วัดนครไทยวราราม ท่านมรณภาพแล้วในวันที่ 2 มีนาคม 2566 ประมาณ 11.30 น.ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
.
ขอกราบส่งดวงจิตหลวงพ่อและกราบด้วยความเคารพอย่างสูง ครับ
.
คุณปู (ภรรยาคุณดาว ที่เป็นคนดูแลหลวงพ่อสนองฯ) ได้จัดตั้งโรงทานขึ้น
ผมได้ร่วมทำบุญในการจัดตั้งโรงทานในงานศพฯด้วย
มาร่วมโมทนาบุญกันครับ
หมู่คณะของผมในไลน์กลุ่มพระวังหน้า และ ไลน์กลุ่มพระวังหน้าโลกอุดร หลายๆท่าน ได้ร่วมทำบุญโรงทานด้วย
ผมขอโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ร่วมทำบุญโรงทานในครั้งนี้ด้วย ครับ
.
.
.
ส่วนตัว ถือว่า ตนเองโชคดีมาก ที่ได้มีโอกาสไปกราบและได้ร่วมทำบุญกับหลวงพ่อสนองในหลายงานบุญ ครับ
.
.
หมายเหตุ พระสงฆ์รูปหนึ่ง ที่ทางครูบาอาจารย์ผม ได้สั่งให้ผมต้องไปกราบท่าน
เพราะ ปัจจุบัน หาพระสงฆ์ที่ท่านปฎิบัติดีปฎิบัติชอบที่ดีมากขนาดนี้ ที่ไปกราบได้สนิทใจนั้น หาได้ยาก
.
พระสงฆ์รูปนั้นก็คือ หลวงพ่อสนอง วัดนครไทยวราราม ครับ
.
ผมได้มีโอกาสไปกราบท่านมาหลายครั้งแล้ว
แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ได้รับโอกาสพิเศษ
.
มีงานบุญงานหนึ่งที่วัดนครไทยฯ คือ งานตักบาตรเทโว
ผมและหมู่คณะไปร่วมงาน แต่ไปก่อนงาน 1 วัน (วันที่ 12-13 ตุลาคม 2560)
วันนั้น ผมได้รับเส้นเกสา(หลวงพ่อสนอง) ที่ผมได้เคยขอเส้นเกสาจากพี่ทวีป
และ ได้รับเส้นเกสาของหลวงพ่อมาไว้เพื่อสักการะบูชา
ในคืนวันที่ 12 ตุลาคม 2560 (ถ้าจำไม่ผิด)
ผมและหมู่คณะ ได้ไปนั่งฟังหลวงพ่อสวดมนต์ในห้องของท่าน
หลังจากที่หลวงพ่อสวดมนต์เสร็จแล้ว ผมและหมู่คณะได้นั่งสมาธิกับหลวงพ่อฯด้วย
.
หลวงพ่อสนอง ท่านเป็นอริยบุคคลแล้ว โดยเป็นอริยบุคคล ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว ครับ
.
หมายเหตุ ในกรณีที่พระสงฆ์มรณภาพ ห้ามใช้คำว่า สาธุ
.
หมายเหตุ รูปสงวนลิขสิทธิ์
.
.
.
คำสอนที่หลวงพ่อสนอง วัดนครไทยวราราม ได้สอนลูกศิษย์เสมอก็คือ “หนัก คือ ยึด ว่าง คือ วาง สว่าง คือ ปัญญา รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน ความสุขสงบที่แท้จริง จึงจะปรากฏ”
.
.
.
ชาติภูมิหลวงพ่อสนอง
ที่มา เว็บไซด์ คมชัดลึก
.
“สนอง ขำคง” เป็นชื่อและสกุลเดิมของหลวงพ่อสนอง เกิดที่ บ้านนาบัว ต.นาบัว อ.นครไทย เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๗๘ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดนาบัว เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๘ โดยมี พระครูประพัฒน์สรศีล (ชม) วัดหัวร้อง เจ้าคณะอำเภอนครไทย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้นักธรรมโท ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ และดำรงตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะอำเภอนครไทย
.
เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ พระครูประพัฒน์สรศีล ได้ลาสิกขา หลวงพ่อสนอง ขณะนั้นอายุได้ ๒๗ ปี พรรษา ๗ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นรักษาการเจ้าคณะอำเภอนครไทย ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นโท ที่พระครูนครบุราณานุรักษ์
.
พ.ศ.๒๕๑๑ เป็น พระอุปัชฌาย์ และใน พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก จนในพ.ศ.๒๕๒๒ จึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอนครไทย เพื่อมุ่งปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิภาวนา แสวงหาความสงบ ในสมณเพศอย่างแท้จริง ดังพุทธพุจน์ที่ว่า นตฺถิ สนฺติ ปรมํสุขขํ สุขใดยิ่งกว่าใจสงบไม่มี
.
.
.
.
.
#พระครูนครบุราณานุรักษ์
#หลวงพ่อสนอง #อตฺตทโป
#หลวงพ่อสนองอตฺตทโป
#วัดนครไทยวราราม หรือ #วัดหัวร้อง (#วัดใต้)
#วัดนครไทยวรารามอำเภอนครไทยจังหวัดพิษณุโลก
.
#ชมรมพระวังหน้า
#ไลน์พระวังหน้า
#ไลน์พระวังหน้าโลกอุดร
.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version