ผู้เขียน หัวข้อ: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน  (อ่าน 20173 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 04:11:07 pm »



              พุทธศาสนา : ศาสนาแห่งการปฏิบัติ

คำว่า " พุทธศาสนา " มาจากคำกริยาในภาษาสันสกฤตที่ว่า " พุทธะ "
ซึ่งในคัมภีร์พระเวทอธิบายความหมายไว้ว่า " การรู้แจ้ง " " การตื่นแล้ว "
ผู้ซึ่งรู้แจ้ง ผู้ซึ่งตื่นแล้วย่อมเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ในภาษาจีน
ได้แปลคำว่า พระพุทธเจ้า นี้ว่า ผู้ซึ่งตื่นอยู่
ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเป็นศาสตร์แห่งการตื่นขึ้น เป็นศาสตร์แห่งการตรัสรู้

แต่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้แต่เริ่มแรกว่า การรู้แจ้งจะไปถึงได้ก็ต่อเมื่อได้
ปฏิบัติตนตาม " มรรค " มิใช่ด้วยการศึกษาเล่าเรียนหรือการขบคิด
การไถ่ถอนผลกรรมทั้งสิ้นนั้น พระพุทธศาสนาถือว่าเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยปัญญาญาณ
หาใช่ด้วยการรู้จักผิดรู้จักชอบ หรือรู้จักคุณความดีตามธรรมดาที่มีอยู่ไม่

การกำเนิดขึ้นของพุทธศาสนาในประเทศอินเดียนั้น อาจจะถือได้ว่าเป็นทัศนะอย่างใหม่
ซึ่งสัมพันธ์กับมนุษย์และชีวิต ทัศนะนี้ในเบื้องแรกแผ่ขยายไปในลักษณะของ
ปฏิกริยาต่อต้านแนวความคิดของลัทธิพราหมณ์ ซึ่งครอบงำสังคมอินเดียอยู่ในเวลานั้น



ดังนั้นพุทธศาสนาและระบบสังคม ซึ่งขัดแย้งกับแนวความคิดของพวกพราหมณ์
จึงเป็นธรรมชาติของการปฏิบัติอย่างชัดแจ้ง ก็สังคมอินเดียในครั้งกระนั้น
เป็นอย่างไรเล่า พวกพราหมณ์ในฐานะที่เป็นคุรุ เป็นปราชญ์และเป็นผู้ทรงความรู้
ได้มีอิทธิพลครอบงำสังคมอยู่ทั้งหมด คัมภีร์พระเวทพูดถึงการไถ่บาป
พูดถึงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และความสูงสุดของพระพรหม ตลอดจนพูดถึงอำนาจ
อันมหัศจรรย์ของการบูชายัญ เหล่านี้คือหลักพื้นฐานสามประการ อันไม่เปิดโอกาส
ให้ใคร ๆ แย้งได้ จากทัศนะความเชื่อทางศาสนาที่ว่า พระพรหม
พระวิษณุ ( นารายณ์ ) และพระศิวะ ( อิศวร ) เป็นจุดหมายปลายทางแห่งศาสนา

และจากทัศนะความเชื่อทางปรัชญาที่ว่า หลักการในคัมภีร์พระเวทและอุปนิษัทเป็น
หลักการพื้นฐานแห่งความคิดความอ่านในทางปรัชญาทั้งหมด ทั้งหลักสางขยะ โยคะ
อันมีอยู่ในปรัชญาทั้งหกแขนง * * ปรัชญาทั้งหกแขนงเรียกว่า
ษัฑทะ อันประกอบด้วยสางขยะ โยคะ นยายะ ไวเศษิกะ มีมางสา และเวทานตะ


ได้ถือกำเนิดขึ้นและพัฒนามาจากพื้นฐานอันเดียวกันนี้ พุทธศาสนาต่อต้านกับ
อำนาจของคัมภีร์พระเวทและความคิดอื่นที่ถือกำเนิดมาจากคัมภีร์พระเวท
ในด้านความเชื่อถือ พุทธศาสนาปฏิเสธเรื่องพระผู้เป็นเจ้าและการบูชายัญทุกชนิด
ในด้านสังคม พุทธศาสนาเป็นปฏิปักษ์กับระบบวรรณะ

โดยการยอมรับเอาวรรณะจัณฑาลให้เข้าอยู่ในวรรณะเดียวกันกับวรรณะกษัตริย์
( ในกาลเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงพบกับชายในวรรณะจัณฑาลซึ่งกำลังขนอุจจาระอยู่
 พระองค์ได้ทรงนำชายนั้นไปยังริมฝั่งแม่น้ำชำระล้างร่างกายให้ และยอมรับ
เข้าในหมู่สงฆ์สาวก พระองค์ทรงทำไปดังนี้โดยไม่ยอมฟังคำคัดค้านของผู้อื่น )
ในด้านหลักความคิด
พุทธศาสนาปฏิเสธหลักแห่งตัวตน ( อัตตา ) ซึ่งเป็นแก่นอันสำคัญยิ่งแห่งลัทธิพราหมณ์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2013, 12:38:49 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 04:15:14 pm »
 


จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงก้าวเดิน ทวนกระแส
ธารแห่ง ความคิด ในเวลานั้นอย่างไร
หากจะได้อ่านพรหมชาลสูตรแห่งทีฆนิกายในพระไตรปิฎก
จะเห็นได้ถึงความขัดแย้งของพระองค์ที่มีต่อ ความคิด ทางฝ่ายพราหมณ์
ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นปฐมฐานแห่งการปฏิวัติ

มากกว่าที่จะนับว่า เป็นการแสดงทัศนะทางศาสนาเท่านั้น
การปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ต่อลัทธิพราหมณ์ มิได้แสดงว่า
หลักความคิด ซึ่งมีอยู่ในพระเวทและอุปนิษัทจะผิดไปเสียทั้งหมด
หรือขัดแย้งกับความจริงเสียทั้งหมดก็หามิได้


การปฏิเสธหรือการคัดค้านนี้เป็นเพียงเสียงฟ้าผ่าที่มุ่งหวัง
จะให้เกิดการตระหนักขึ้น เพื่อ

จะได้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หลักปฏิบัติ และแนวความคิด
ซึ่งปิดล้อมมนุษย์ไว้ในหนทางอันปิดตัน หนทางอันคับแคบ

   

ด้วยเหตุที่ลัทธิพราหมณ์ ถือเอาหลักปรัชญาแบบที่ถือว่า
มีตัวตน ( อัตตา ) มาเป็นพื้นฐาน ของวิชาวิธานวิทยา* และภววิทยา**
พระพุทธเจ้าจึงทรงเผยแผ่หลักแห่งความไม่มีตัวตน ( อนัตตา )
และหลักนี้พระพุทธองค์ทรงหมายถึงอะไรเล่า คำตอบก็คือด้วย ตัวตน ที่เรา
มักพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นตัวตนอันต่ำ หรือตัวตนอันประเสริฐ ( อาตมัน )
สิ่งนั้นเป็นความคิดล้วน ๆ ซึ่งหาได้สัมพันธ์กับความเป็นจริงไม่

* วิธานวิทยา ( Methodology )  เป็นการศึกษาจำแนกแจกแจงเกี่ยวกับวิธีการ
และระบบที่ใช้ปฏิบัติอยู่ และที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
** ภววิทยา ( Ontology ) หลักปรัชญาหนึ่งในหกแขนงใหญ่ ศึกษาว่าด้วย
ภาวะของธรรมต่าง ๆ

การแห่งอัตตา ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่ผิดแต่ถ้าเรามาคิดกัน
ในแง่ของวิธานวิทยา เราก็จะเห็นได้ทันทีว่า
หลักการแห่ง อนัตตา เป็นหลักที่แท้ ซึ่งมุ่งหวังจะปลดปล่อย
ให้มนุษย์หลุดพ้นออกจากพันธนาการแห่งกฏเกณฑ์
ก่อนที่จะมาพิจารณาถึงเรื่อง สัตย์และอสัตย์ได้ จำเป็นที่จะต้อง
พิจารณาในเรื่องหลักความคิดและวิธีการเสียก่อน

นี่อาจอนุโลมได้ว่า หลักแห่งอนัตตา เกิดขึ้นมา
เพื่อที่จะปฏิเสธ  หลักแห่งอัตตา  ของพราหมณ์
มิใช่เป็นการค้นพบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ ความคิด
ในสมัยนั้น เริ่มต้นขึ้นมาเป็นเพียงปฏิกิริยาธรรมดา ๆ แต่ต่อมา
ได้กลายมาเป็นจุดแห่งการก้าวล่วงไป
เพื่อการแสวงหา ปัญญาญาณ อย่างใหม่

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2014, 08:26:46 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 04:30:02 pm »

อนัตตา
ในพุทธศาสนามีการใช้อุบายอันรุนแรงหลายอย่างเพื่อถอดถอนอุปนิสัยและอคติบางอย่าง
และคุณลักษณะเด่นเป็นพิเศษข้อนี้ในพระพุทธศาสนานั้นได้แสดงออกมา อย่างแจ้งชัดในเซน


พระพุทธเจ้าทรงใช้หลักอนัตตาเพื่อการถอดถอนและทำลายความหลงตลอดจน
อคติให้สิ้น แต่ต่อมาพระองค์ทรงใช้หลักการนี้ในการแผ่ขยายหลักแห่งการตรัสรู้
หรือนิพพาน อาจจะพูดได้ว่าหลักอนัตตานี้เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพุทธศาสนา

ในพระสูตรต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนามักจะกล่าวถึงธรรมชาติเป็นอนัตตของ
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ไม่มีสิ่งใดเลยที่ครอบครอง " ตัวตน " ไว้ สพ.เพธม.มาอนต.ตา
( สรรพธรรมในราตมยะ ) * คำแรกในภาษาบาลี ในวงเล็บเป็นภาษาสันสกฤต
มีความหมายว่าธรรมทั้งหลายไม่มีตัวตน
( คำว่า ธรรม หมายถึง สิ่งทั้งปวงทั้งสิ้น วัตถุ สิ่งของ ชีวิต ทั้งที่มีรูปและ ไม่มีรูป )


หมายความว่าไม่มีอะไรที่ครอบครองตัวตนไว้ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อพูดไปดังนี้แล้ว
ย่อมเป็นการขัดแย้งกับหลักการที่ถือว่ามีตัวมีตนอันเป็นปฐมฐานแห่งตรรกวิทยา

ซึ่งถ้าถือตามหลักตรรกวิทยาแล้ว ก. จะต้องเป็น ก. ข. จะต้องเป็น ข.
ดังนั้น ก.จะมาเป็น ข. หาได้ไม่
แต่หลักอนัตตากลับกล่าวว่า ก. มิใช่ ก. ข. มิใช่ ข. ดังนั้นก. อาจเป็น ข. ได้
นี่เป็นหลักที่ทำให้ผู้คนตื่นตระหนก เป็นหลักการที่ท้าทาย และชวนให้ผู้คน
หันกลับมาพิจารณาตนเอง เพื่อที่จะได้เข้าใจหลักอนัตตาดีขึ้น จำเป็นจะต้อง
พิจารณากันถึงเรื่องอนิจจังกันเสียก่อน ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ด้วยทุกสิ่งทุกอย่าง
ย่อมมีลักษณะของ วิปริณาม ( การเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด )
ไม่มีสิ่งใดที่คงอยู่ในภาวะเดิมแม้ในช่วงขณะหนึ่ง

ด้วยสิ่งทั้งหลายย่อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้เอง จึงเป็นเหตุให้มัน
ไม่สามารถดำรงอัตสภาพของมันไว้ได้ แม้แต่ขณะเดียวกัน
เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่สามารถดำรงอัตสภาพไว้ได้ ดังนี้ สิ่งทั้งหลายจึงไม่อาจ
มีตัวตน ปราศจากอัตสภาพที่สมบูรณ์ เมื่อปราศจากอัตสภาพ
ณ จุดหนึ่งแห่งกาลเวลา เมื่อช่วงเวลาผ่านไปขณะหนึ่ง ก. มิใช่ ก. อีกต่อไป



อนิจจังเป็นเพียงอีกชื่อหนึ่งหรือช่วงหนึ่งของอนัตตานั้นเอง ทุกสิ่งทุกอย่าง
ย่อมเป็นอนิจจังอยู่ในกาลและเป็นอนัตตาอยู่ในเทศะ ดังนี้ไม่เพียงแต่
เป็นอนิจจังและอนัตตาตามปรากฏการณ์ทางกายภาพเท่านั้น แม้ในปรากฏการณ์
ทางจิตก็เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากกายและจิต อันเราทุกผู้มีอยู่

อย่างไรก็ดี หลักอนิจจังและหลักอนัตตา หาใช่อะไรอื่นไม่นอกจากสัจจะที่ค้นพบจากความเป็นจริงที่เป็นอยู่ ด้วยเจตนาเพื่อจะได้พบกฏแห่งกรรม แต่ก็มีคนเป็นอันมากที่มิได้ทราบความจริงข้อนี้พากันพูดว่า อนัตตาและอนิจจังเป็นรากฐานของศีลธรรมในทางลบและเป็นไปในแง่ร้าย เขามักจะกล่าวว่า " หากแม้นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจังและอนัตตาแล้วไซร้ จะดิ้นรนขวนขวายไปครอบครองอะไรให้ยากลำบากทำไมเล่า " นี้นับว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิที่มีต่อสารัตถะแห่งพระพุทธศาสนา เราย่อมรู้กันอยู่ว่าพุทธศาสนานั้นมุ่งที่จะขจัดผลกรรมด้วยวิถีทางแห่งปัญญา จึงควรพิจารณาหลักการต่าง ๆ ในพุทธศาสนาโดยอนุโลมตามหลักแห่งความเข้าใจ และไม่ควรจะรีบร้อนไปสรุปในเรื่องกฏแห่งกรรม ดังนั้นหลักอนิจจังและอนัตตาจึงเป็นหลักที่ควรจะศึกษา ในฐานะที่เป็นหลักการอันจักชี้นำไปสู่สัมมาทัศนะ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นข้อต้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 03, 2011, 05:48:11 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 01:59:09 pm »




วัตถุธรรมกับสัญลักษณ์

หลักอนัตตาช่วยส่องแสงให้เห็นถึงช่องว่างอันกว้างใหญ่
ที่เปิดอยู่ระหว่างตัววัตถุ ( ธรรม ) กับตัวสัญลักษณ์ ( บัญญัติ )
 
ที่เราใช้อยู่ วัตถุเป็นสิ่งที่มีพลังและมีชีวิตชีวา ขณะที่สัญลักษณ์ที่เราใช้แทน
มันออกจะคับแคบและตายตัว

สมมติว่ามีโต๊ะอยู่ตัวหนึ่ง เมื่อเรามองเห็นโต๊ะ เราก็สร้างภาพพจน์และความคิดเกี่ยวกับโต๊ะขึ้นในใจ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นโต๊ะนั้นไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากสัญลักษณ์ที่เราคิดขึ้น ในขณะที่โต๊ะจริง ๆ นั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งผิดออกไปจากความคิดของเราโดยสิ้นเชิง เราก็มีความคิดอันกะพร่องกะแพร่งว่า โต๊ะนั้นมีลักษณะต่าง ๆ คือ ทำด้วยไม้ มีสีน้ำตาล แข็ง สูงสามฟุต เก่า ฯลฯ คิดอยู่แต่สิ่งเหล่านี้ แต่โต๊ะจริง ๆ นั้นหาได้กะพร่องกะแพร่งเช่นนี้ไม่ นักนิวเคลียร์ฟิสิกส์อาจบอกเราได้ว่า โต๊ะนั้นหาใช่ชิ้นวัตถุอันอยู่นิ่งตายตัวไม่

เพราะมันประกอบด้วยปรมาณูนับล้าน ๆ ตัว ซึ่งมีอีเล็กตรอนเคลื่อนที่วนเวียนคล้ายกับฝูงผึ้ง และหากเราสามารถนำปรมาณูเหล่านี้มาเรียงต่อกัน ก็จะได้สารที่มีขนาดเล็กกว่านิ้วมือเสียอีก โดยความเป็นจริง โต๊ะตัวนี้มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งด้วยกาละและเทศะ มันต่อเนื่องเปลี่ยนแปลงไปจนเราอาจเรียกมันว่า " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ "ปรมาณูเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งว่าหากเรานำเอา " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ " ออกไปจากโต๊ะแล้ว ตัวโต๊ะเองก็จะไม่สามารถคงอยู่อีกต่อไป

ป่าไม้ ต้นไม้ เลื่อย ค้อน ช่างทำโต๊ะ ก็เป็นอีกอีกส่วนหนึ่งของ " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ "นี้ และยังมีอย่างอื่นอีกซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ " นี้ ดังเช่น บิดามารดาของช่างทำโต๊ะ ข้าวที่เขากิน ช่างตีเหล็กซึ่งเป็นผู้ทำค้อน ฯลฯ ถ้าเรารู้จักมองดูโต๊ะ ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โต๊ะนี้ เราก็อาจจะกล่าวได้ว่าการดำรงอยู่ของโต๊ะย่อมขึ้นอยู่กับการคงอยู่ของ " สิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะ " ด้วย ซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่โต๊ะนี้คือความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อันมีอยู่ระหว่างทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล ความคิดแบบนี้ได้แสดงอยู่ในระบบอวตังสกะในพุทธศาสนา ด้วยความคิดเกี่ยวกับสหสัมพันธ์สมุฏฐาน คือ ความคิดที่ว่า หนึ่งเดียวก็คือสรรพสิ่ง และ สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 02:18:21 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 02:29:49 pm »



หลักสหสัมพันธ์แห่งสรรพสิ่ง

หลักแห่งเหตุผลมีชื่อเรียกกันตามภาษาทางพุทธศาสนาว่า
หลักอิทัปปัจจยตา
ความเกิด ความเจริญ และความเสื่อมของสิ่งต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง

มิใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียว การคงอยู่ของสิ่งสิ่งหนึ่ง ( ธรรมะ ) ย่อมต้องขึ้นอยู่
กับการคงอยู่ของทุก ๆสิ่ง พระอริยบุคคลผู้ตรัสรู้ชอบแล้ว
มิได้แลเห็นสิ่งต่าง ๆ แยกออกจากกันอยู่อย่างโดด ๆ แต่ได้แลเห็นความจริงทั้งหมด
ที่เปิดเผยออกอย่างสมบูรณ์


พระเซนชาวเวียดนามในสมัยศตวรรษที่ ๑๒ ชื่อท่านเด๋าฮัน ได้กล่าวไว้ว่า



" ถ้าจะพูดถึงเรื่องการดำรงอยู่
ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดำรงอยู่ แม้แต่ผงธุลีอันละเอียดยิบ
ถ้าจะพูดถึงเรื่องความว่าง
ทุกสิ่งทุกอย่างก็ว่าง แม้แต่ จักรวาลนี้ "


หลักอนัตตา มีจุดมุ่งหมายที่จะนำแสงสว่างมาส่องให้เห็นถึง " กระบวนการ
อิทัปปัจจยตา อันเป็นธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง "
ในขณะเดียวกัน
หลักการอันนี้ยังช่วยเราให้เห็นข้อเท็จจริง

ของความคิดของเราที่มีต่อสรรพสิ่งอีกด้วย การจำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นฝักฝ่าย
เป็นหมวดหมู่ เช่น การดำรงอยู่ ( อัตถิภาวะ )
การไม่ดำรงอยู่ ( นัตถิภาวะ ) เอกภาพ( เอกัตตะ )สหภาพ ( นานัตตะ ) ฯลฯ

สัญลักษณ์เหล่านี้ไม่อาจสะท้อนความจริงได้อย่างตรงไปตรงมาและไม่ก่อให้เกิดการรับรู้
ที่ถูกต้องได้ หากแสดงให้เราเห็นถึงโลกแห่งความคิดกับโลก
แห่งความจริง
ว่าเป็นคนละโลกกัน

 
เตือนให้เรารู้ว่าความรู้อันเกิดจากการคิดไตร่ตรองนั้น มิใช่เครื่องมือที่จะ

ใช้ค้นหาสัจจะได้อย่างสมบูรณ์
ทั้งนี้หมายถึง คำพูดที่เราใช้กันอยู่ ย่อมไม่สามารถแสดงสัจจะ
อันเกี่ยวกับความเป็นจริงอันสูงสุดได้



มีต่อค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2013, 06:20:30 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 03:38:59 pm »



อภิปรัชญา : เรื่องไร้สาระ

ข้อสังเกตุจากบทก่อน นับว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับเซน
จนอาจพูดได้ว่าหลักการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น
เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพุทธศาสนา และในขณะเดียวกันก็เป็นจุดเริ่มต้นของเซนด้วย


ถ้าการขบคิดใคร่ครวญไม่อาจแสวงหาความจริงออกมาได้แล้ว ความรู้ที่เกิดจากการนึกคิด
อนุมานเอาเกี่ยวกับความเป็นจริงจึงอาจถือได้ว่าเป็นความรู้ที่ผิด

ตามที่มีปรากฏอยู่บ่อยครั้งที่พระพุทธเจ้ามักจะตรัสบอกสาวกของพระองค์
ไม่ให้เสียเวลาและพลังงานไปในการขบคิดเกี่ยวกับอภิปรัชญา

ทุกครั้งที่มีผู้ถามพระองค์ในปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอภิปรัชญา พระองค์ได้แต่ทรงดุษณี
โดยไม่ตอบคำถาม

พระองค์มักจะทรงแนะให้สาวกหันมาเอาใจใส่และมีความเพียรในการปฏิบัติธรรม
วันหนึ่งมีผู้ถามพระองค์เกี่ยวกับเรื่องอายุขัยของโลก
ว่าโลกนี้มีวันสิ้นสุดหรือไม่สิ้นสุด  พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า


" ไม่ว่าโลกนี้จะมีจุดจบหรือไร้จุดจบ ไม่ว่าโลกนี้จะมีขอบเขตหรือไร้ขอบเขต
เรื่องการหลุดพ้นจากวัฏสงสารก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม "


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2012, 05:39:06 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 03:48:28 pm »



และยังมีอีกคราวหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า

" สมมติว่ามีบุรุษผู้หนึ่ง ถูกปักตรึงด้วยลูกศรอาบยา และแพทย์ผู้รักษาประสงค์จะผ่าลูกศรนั้นออกในทันที
หากบุรุษนั้นไม่ยินยอมจะผ่าให้ลูกศรออก จนกว่าเขาจะได้รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้ยิงมีชื่อว่าอะไร มีอายุเท่าใด

บิดามารดาโคตรวงค์มีนามว่าอะไร ด้วยเหตุใดจึงมาทำร้ายเขาครั้นเมื่อได้รู้สิ่งเหล่านี้แล้ว
จึงจะยอมให้ถอนลูกศรออก ดังนี้แล้วจะยังรู้ละหรือว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับคนคนนั้น
ถ้าเขายังต้องรอให้ได้รับคำตอบทั้งหมดนี้
ตถาคตเกรงว่าบุรุษผู้นั้นคงจะสิ้นชีพไปเสียก่อน
จะได้ทันรักษาเยียวยา "

ชีวิตนี้สั้น เราย่อมไม่อาจที่จะใช้ชีวิตที่มีเวลาอยู่อย่างแสนสั้นนี้ไปในการขบคิดใคร่ครวญ
เรื่องทางอภิปรัชญาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพราะอภิปรัชญาไม่อาจนำไปสู่สัจจะอันยิ่งใหญ่ได้เลย

แต่ถ้าหากว่าความรู้อันเกิดจากการนึกคิดทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเสียแล้ว เราจะใช้
เครื่องมืออะไร
ในการแสวงหาความจริง

ถ้าตอบตามแบบพุทธศาสนา ก็ถือว่าบุคคลอาจเข้าถึงสัจภาวะได้ด้วยประสบการณ์โดยตรงเท่านั้น
ด้วยการศึกษาเล่าเรียนและการใคร่ครวญนั้นมีพื้นฐานอยู่บนความนึกคิด

ก็ในกระบวนการนึกคิดนั้นเรามักจะตัดความจริงออกเป็นส่วน ๆ คล้ายกับว่าความจริงเสี้ยวเล็ก ๆ
ที่ตัดออกมาเป็นอิสระ
  ไม่เกี่ยวข้องกับความจริงเสี้ยวอื่น ๆ


การจัดระบบเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นความคิดแบบวิกัลปะ คือการใช้ปัญญาในการคิดแยกแยะ
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในนิกายวิญญาณวาท
ของฝ่ายมหายาน

ส่วนนิกายทางฝ่ายที่เราแสวงหาประสบการณ์จากสัจจะโดยตรง โดยไม่อาจอาศัยประสบการณ์
ผ่านมาทางการนึกคิด เรียกกันว่า นิรวิกัลปญาณ คือความหยั่งรู้โดยไม่ต้องใช้ปัญญาแยกแยะ

ปัญญาชนิดนี้เป็นผลมาจากสมาธิภาวนา ซึ่งนับเป็นความรู้เกี่ยวกับสัจภาวะอย่างสมบูรณ์และเกิดขึ้นโดยตรง
เป็นความรู้ชนิดที่ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างอัตตา ( ผู้รับรู้ ) และกรรม ( ผู้ที่ถูกรู้ สิ่งที่ถูกรู้ )
ซึ่งเป็นความรู้ชนิดที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ความนึกคิดและแสดงออกมาโดยภาษาพูด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2013, 12:44:50 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 03:52:50 pm »


 

เป็นตัวประสบการณ์นั้นเอง

สมมติว่าท่านกำลังอยู่ที่บ้านของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าได้เชิญท่านดื่มน้ำชา
ท่านก็ยกถ้วยขึ้นจิบชาในถ้วย รู้สึกว่าท่านพอใจในรสชาติของชา

ท่านวางถ้วยลงบนโต๊ะและเราก็สนทนากัยต่อไป ทีนี้หากข้าพเจ้าจะถามท่านว่า ท่านรู้สึกว่า
ชาเป็นอย่างไร ท่านย่อมเริ่มใช้ความจำ ความนึกคิด และใช้ศัพท์แสงทางภาษาพูด

เพื่อที่จะบรรรยายถึงรสชาติของชาออกมา เช่น ท่านอาจพูดว่า " ชาดีมากเป็นชาเตี้ยกวนหยิง
ทำจากโรงงานที่กรุงไทเป เมื่อจิบแล้วก้รู้สึกชุ่มชื่น " ท่านอาจแสดงความรู้สึกออกมาได้หลายวิธี

แต่ความคิดและคำพูดเหล่านี้เป็นเพียง " การบรรยายประสบการณ์ที่เกิดจาก
การดื่มชาเท่านั้น หาใช่ตัวประสบการณ์โดยตรงไม่ "




ตามความเป็นจริงแล้ว ในประสบการณ์โดยตรงที่เกิดจากการดื่มชา
ท่านคงไม่ได้แยกว่าตัวท่านเองเป็นผู้ลิ้มรสและชาเป็นรส

ท่านคงไม่ได้คิดว่าชานั้นเป็นชายี่ห้อเตี้ยกวนหยิงชนิดดีหรือเลวจากไทเปหรือจากใหน
ประสบการณ์นี้เป็นประสบการณ์ภายในที่ไม่มีความคิดและคำพูดมาจำกัดขอบเขต

ความรู้สึกล้วน ๆ นี้ย่อมเกิดมาจากประสบการณ์ ท่านอาจบรรยายความรู้สึกออกมา
เท่าที่ท่านต้องการ

แต่มีเพียงตัวท่านเองเท่านั้นที่เป็นพยานในการรับรู้ประสบการณ์ในการดื่มชานั้น
เมื่อผู้อื่นได้มาฟังท่านพูด เขาก็คงได้แต่สร้างความรู้สึกขึ้นมาใหม่

 โดยอาศัยพื้นฐานจากประสบการณ์เกี่ยวกับการดื่มชาที่เขามีอยู่ในอดีต แม้แต่ตัวท่านเอง
ก็เช่นกัน เมื่อท่านพยายามที่จะบรรยายประสบการณ์ของท่านออกมา



คำบรรยายนั้นก็หาใช่ " ตัวประสบการณ์แท้ ๆ " ที่ท่านได้รับไม่ ด้วยประสบการณ์แท้ ๆ นั้น
ท่านได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับชา
ไม่มีผู้ดื่ม ไม่มีชา ไม่มีการให้คุณค่า ไม่มีการแบ่งแยก

ความรู้สึกอันไม่มีอื่นใดเจือปน
นี้แหละ อาจยกมาเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นแทน นิรวิกัลปญาณ
( การหยั่งรู้โดยไม่ต้องใช้ปัญญาแยกแยะ )
ซึ่งเป็นปัญญาเครื่องนำเราให้เข้าสู่หัวใจแห่งความเป็นจริง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 02:33:20 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 03:59:43 pm »




ช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้ 

การที่จะเข้าถึงสัจจะได้ มิใช่ด้วยการสะสมความรู้
แต่ด้วยการตื่นขึ้นในท่ามกลางแก่นแท้แห่งความเป็นจริงเท่านั้น ความจริงทั้งสิ้น
จะเปิดเผยตัวเองออกมาอย่างหมดจดในช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้
ด้วยแสงสว่างแห่งการรู้แจ้งเห็นแจ้งนี้
ย่อมสมบูรณ์ในตนเองชนิดที่เรียกว่า ไม่มีอะไรจะต้องเพิ่มเข้ามา หรือ
ไม่มีอะไรที่ขาดตกบกพร่องไป
อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากความนึกคิดนั้น
จะไม่สามารถมีอิทธิพลต่อมนุษย์ได้อีกต่อไป



ถ้าหากว่าท่านโพธิธรรมเป็นพระอริยบุคคลในอุดมคติแล้ว
ก็ด้วยเหตุว่า ท่านมีภาพพจน์เป็นเอกบุรุษ
ผู้สามารถทำลายโซ่ตรวนแห่งมายา ซึ่งได้พันธนาการมนุษย์ไว้
ในโลกแห่งอารมณ์ลงได้




และค้อนซึ่งใช้ทุบโซ่ตรวนนั้นให้ขาดสะบั้นลงก็คือการปฏิบัติเซน
ในช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้นั้น อาจสังเกตเห็นได้จากเสียงหัวเราะที่ระเบิดขึ้นมา
แต่เสียงหัวเราะนี้ มิใช่เสียงหัวเราะของผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งได้รับ
มหาโชคอย่างทันทีทันใด ทั้งมิใช่เสียงหัวเราะของผู้ชนะ
แต่เป็นเสียงหัวเราะของผู้หนึ่ง ซึ่งหลังจากได้แสวงหาอะไรบางอย่าง อย่างรวดร้าว
มาเป็นเวลานาน
ในที่สุด เช้าวันหนึ่งก็ได้พบสิ่งนั้น
อยู่ในกระเป๋าเสื้อของตนนั่นเอง

วันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงยืนอยู่เบื้องหน้าที่ประชุมสงฆ์ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ขณะที่สงฆ์ทุกรูปกำลังรอสดับพระธรรมเทศนาประจำวันอยู่ แต่พระองค์ก็ยังทรงอยู่ในอาการดุษณีภาพ หาได้เอ่ยวาจาใดไม่ ชั่วขณะหนึ่งพระพุทธองค์ทรงยกหัตถ์ขวาอันบรรจงจับดอกบัวชูขึ้น มองดูสังฆสภาโดยมิได้ตรัสแต่ประการใด พระภิกษุสงฆ์ทุก ๆ รูปเพ่งดูพระองค์อย่างไม่เข้าใจ มีเพียงแต่พระมหากัสสปรูปเดียวเท่านั้นที่แลดูพระพุทธองค์ด้วยดวงตาอันเปล่งประกายจำรัสพร้อมกับรอยยิ้มละไม ครั้นแล้วพระพุทธองค์จึงตรัสขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมว่า



" ตถาคตเป็นผู้มีญาณทัสนะอันรู้จบพร้อมในธรรม ตถาคตเป็น
ผู้มีดวงจิต อันหลุดพ้นแล้ว
คือมีพระนิพพานเป็นที่พักอาศัย ตถาคตเป็นผู้ธำรงสัจจะอันบริสุทธิ์ไม่เคลือบคลุม
สิ่งใดอันตถาคตเป็น ธรรมใดตถาคตรู้

สิ่งนั้น ธรรมนั้น ตถาคตได้ถ่ายทอดให้แก่ มหากัสสป โดยครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว "



พระมหากัสสปถึงช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้ เมื่อพระพุทธองค์ชูดอกบัวขึ้นถ้าพูดกันอย่างเซนแล้วก็ต้องว่าท่านได้รับ " ตราแห่งจิต " มาจากพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงส่งทอดปัญญาญาณจากจิตสู่จิต พระพุทธองค์ได้ทรงหยิบดวงตาแห่งจิตอันใช้สำหรับประทับถือไว้ในพระหัตถ์ และทรงประทับตรานั้นลงไปบนดวงจิตของพระมหากัสสป รอยยิ้มของพระมหากัสสปก็เป็นเช่นเดียวกับการเปล่งเสียงหัวเราะของอาจารย์เซนนั่นเอง พระมหากัสสปตรัสรู้โดยอาศัยดอกไม้ ในทำนองเดียวกับอาจารย์เซนหลาย ๆท่าน ที่บ้างก็ตรัสรู้เมื่อได้ยินเสียงสะท้อน บ้างก็ตรัสรู้เมื่อโดนเตะอย่างหนักหน่วง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 02:50:46 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 06:54:22 pm »




ภาค ๓ สนในสวน
ภาษาเซน

แก่นหลักของเซนคือการตื่นขึ้น นี่จึงเป็นเหตุที่ทำให้เราไม่อาจพูดคุยกันได้
เกี่ยวกับเรื่องเซน ผู้ใดอยากรู้เรื่องเซน ผู้นั้นจะต้องปฏิบัติเอง
หาประสบการณ์เอง
การตื่นขึ้นนั้นเป็นปรากฏการณ์อันยิ่งใหญ่ ฉายรัศมี
แพรวพราวดุจดังดวงอาทิตย์
บุคคลผู้รู้แจ้ง บุคคลผู้ตื่นขึ้นจากความหลับใหลแล้ว ย่อมมีที่ให้สังเกตเห็น
ได้บางประการ ประการแรกคือ ความเป็นอิสรภาพหลุดพ้นจากข้อผูกพันทั้งปวง
เขาย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความเปลี่ยนแปลงของชีวิต

ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความรื่นเริง ความหงุดหงิด ความสำเร็จ ความล้มเหลว ฯลฯ
ดังนั้นจึงมีพลังอำนาจแห่งจิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของรอยยิ้ม
อันสงบสุขุมอย่างสุดที่จะพรรณา และความสงบรำงับแห่งอากัปกิริยาไม่อาจนับว่า
เป็นเรื่องเกินความจริง หากจะกล่าวว่า รอยยิ้มสายตา ถ้อยคำ
และอาการทั้งหมดของบุคคลผู้ตื่นแล้ว ผู้รู้แจ้งแล้ว ย่อมประกอบขึ้นเป็น
" ภาษาแห่งการรู้แจ้ง "
ซึ่งอาจารย์เซนได้ใช้ภาษาเหล่านี้แหละในการชี้นำศิษย์ของตน




อาจารย์เซนก็ยังคงใช้ความคิดและถ้อยคำเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ
เพียงแต่ว่า ท่านมิได้ถูกจำกัดหรือติดยึดอยู่กับการกับการนึกคิดและถ้อยคำเหล่านั้น
ภาษาของเซนมุ่งที่จะทำลายตัวตนของผู้ที่รู้จักแต่เพียงการคิด
โดยใช้สัญลักษณ์ลงภาษาของเซนทำให้คนเหล่านั้นจนแต้ม ซึ่งอาจจะพลิกเขา
กลับไปสู่มรรคผลแห่งการ ตรัสรู้ ได้ในที่สุด

ขอให้ลองพิจารณาการสนทนาที่ตัดตอนมาสองเรื่องนี้ดู



- ๑ -
เจาจู ถาม นานจว๋าน ว่า อะไรคือมรรค
นานจว๋าน : คือ จิตทุกขณะ
เจาจู : หากเป็นดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการบรรลุถึงหรือไม่
นานจว๋าน : ความปรารถนาที่จะบรรลุถึงมรรค ย่อมเป็นสิ่งขัดแย้งกับมรรคอยู่แล้ว
เจาจู : หากไร้ความปรารถนาเสียแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่านั่นคือมรรค
นานจว๋าน : มรรคนั้นมิได้อยู่ที่ว่า " รู้ " หรือ " ไม่รู้ " ถ้ามีใครคนหนึ่งที่ " รู้ "

ความรู้นั้นก็เป็นเพียงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากความนึกคิด ถ้า " ไม่รู้ " ความไม่รู้
นั้นก็หาได้แตกต่างไปจากสิ่งไร้ชีวิตทั้งหลายไม่
ถ้าท่านได้ไปจนถีงสภาวะอันเป็นที่สิ้นสุดแห่งความสงสัยทั้งมวล ท่านก็จะแลเห็น
จักรวาลอันไร้ขอบเขตเปิดโล่งอยู่เบื้องหน้า
จักรวาลอันสรรพสิ่งได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวนี่แหละ ใครจะเป็นผู้แบ่งแยกสรรพสิ่ง
ในขณะที่อาศัยอยู่ในโลก
อันกลมกลืน




-๒-
พระรูปหนึ่งมาถามอาจารย์เจาจู ว่า : อะไรคือความปรารถนาของท่านโพธิธรรม
เมื่อท่านเดินทางมาสู่ประเทศจีน
อาจารย์เจาจู ตอบว่า : จงมองดูต้นไม้ในสวน

บทสนทนาข้อต้นมุ่งจะชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคซึ่งสร้างขึ้นโดย วิธีการนึกคิด
และในขณะเดียวกัน ก็นำผู้ถามให้กลับไปสู่
การสำนึกถึง
การไม่แบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ และสภาวธรรมต่าง ๆ ออกเป็นส่วน ๆ

บทสนทนาที่สอง มุ่งที่จะสั่นคลอน ความนึกคิด ของผู้ถาม
และทำให้ผู้ถาม ตกตะลึง เพื่อนำไปสู่การรู้แจ้ง
ถ้าหากจิตใจของบุคคลสุกงอมพอแล้ว การตรัสรู้ก็อาจปรากฏขึ้นมาในตัวของเขา




อาจารย์เซนผู้รู้ชอบแล้ว ย่อมมีญาณพิเศษที่อาจหยั่งรู้ถึง
อารมณ์ความนึกคิดของศิษย์ ด้วยเหตุที่ท่านล่วงรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของศิษย์
นี่เอง ท่านจึงอาจหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพ
ที่จะนำศิษย์ของท่านให้ก้าวล่วงสู่ภพอันตื่นแล้ว ภาษาของเซน
อาจนับเป็นหนึ่งในวิธีการเหล่านี้ ด้วยมุ่งที่จะช่วยเหลือผู้ฝึกฝน

ภาษาเหล่านี้จะต้องมีลักษณะ ซึ่ง
๑. ประกอบไปด้วยอำนาจ อันช่วยให้บุคคลหลุดพ้น..
..จากอคติ และความยึดมั่น ในความรู้ที่  ตน  มีอยู่
๒. เหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน เป็นคน ๆ ไป
๓. เป็น   วิธีการ   ที่.. จัดเจนและมีประสิทธิภาพ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 08:30:11 pm โดย ฐิตา »