ผู้เขียน หัวข้อ: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน  (อ่าน 20174 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 12:30:08 pm »


  นิ้วชี้กับดวงจันทร์

ความจริงนั้นจะสัมผัสได้ ก็ด้วยประสบการณ์จากชีวิตจริงเท่านั้น
หลักการในพระพุทธศาสนาจึงมิได้มีจุดมุ่งหมาย
ที่จะบรรยายให้เห็นถึงความจริง พุทธศาสนาจึงเป็นเพียงวิธีการ
เป็นเครื่องชี้นำให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าถึงความจริงด้วยตนเอง

ใน มหาไวปุลยปูรณพุทธสูตร ปรากฏข้อความความว่า
" หลักการทุกประการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ อาจเปรียบได้กับ

   " นิ้วอันชี้นำสู่ดวงจันทร์ "
เราใช้นิ้วเพื่อชี้ดวงจันทร์แต่เราจะต้องไม่เกิดความสับสนระหว่าง
นิ้วชี้กับดวงจันทร์ ด้วยนิ้วนั้นหาใช่ดวงจันทร์ไม่
คำว่า อุปายะ ( อุบาย ) ในภาษาสันสกฤต คือสิ่งที่ดัดแปลงขึ้น
โดยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นแนวทางแก่บุคคล 
เพื่อทำความเพียรไปสู่การรู้แจ้ง และถ้าถือเอาวิธีการนี้
มาเป็นตัวจุดมุ่งหมายเสียเองแล้วละก็
ย่อมเหมือนดั่งการถือเอาคำอธิบายเกี่ยวกับการตรัสรู้มาเป็นการตรัสรู้เสียเอง
ทำให้อุบายนั้นไม่อาจสัมฤทธิ์ผลได้ ในทางตรงกันข้าม
ก็จะกลับกลายเป็นเครื่องจองจำอันถาวรเสียอีก ในทันใดที่บุคคล
ไปคิดนึกเอาว่านิ้วมือคือดวงจันทร์เองแล้วไซร้ เขาย่อมไม่ปรารถนา
ที่จะมองต่อไปในทิศทางที่นิ้วได้ชี้ไปยังดวงจันทร์อีกเลย

" อุบาย " ในที่นี้ อาจจะเป็นคำพูดประโยคสั้น ๆ หรืออาจจะเป็น
อากัปกิริยาธรรมดาสามัญก็ได้ อาจารย์ใหญ่ ๆ นั้นมักมี
สิ่งที่เรียกว่า อุปายญาณ คือความสามารถที่จะจัดสรรวิธีการต่าง ๆ
มาใช้ให้เหมาะกับสภาพจิตแบบต่าง ๆ ในโอกาสที่ผิดแผกกันไป
การสนทนาระหว่างท่านเจาจูและนานจว๋าน คือตัวอย่างของอุบายเหล่านี้
" ต้นสนในสวน " และ " ดอกไม้ในอุ้งหัตถ์ของพระพุทธองค์ " ก็คืออุบายเหล่านี้


แต่วิธีการเหล่านี้จะเป็นอุบายที่แท้จริง ก็ต่อเมื่อมีความสอดคล้อง
เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้น ๆ
จะต้องมีประสิทธิผลและต้องตอบสนองต่อปัจจัยแห่งอารมณ์ของผู้แสวงหา
หากว่าอาจารย์ไม่เข้าใจถึงสภาพจิตของศิษย์แล้ว
ท่านย่อมไม่สามารถสรรหา อุบายที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาได้
วิธีการแบบเดียวกันไม่อาจนำไปใช้กับทุกเหตุการณ์ ดังนั้นอาจารย์จึง
ต้องสรรหาวิธีการต่าง ๆ นานา แล้วแต่ว่าท่านมีความรู้ชัด
ในสภาวะจิตของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนเพียงใด

ในพุทธศาสนากล่าวกันว่ามีวิธีเข้าสู่ความจริงถึง ๘๔,ooo วิธี
และพุทธศาสนานิกายเซน ได้นำเอาอุบายที่สำคัญยิ่ง
และมีประสิทธิภาพสูงมาใช้
โดยบรรดาอาจารย์เซน มุ่งประสงค์
ที่จะบันดาลให้ศิษย์ทั้งหลายได้เข้าถึงโมกขธรรมโดยทั่วกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2012, 10:55:44 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 01:06:51 pm »



ถ้าพบพระพุทธองค์ จงสังหารท่านเสีย

สิ่งหนึ่งซึ่งพละกำลังอำนาจอย่างใหญ่ของอุบายนี้คือ การปลดปล่อยตน
ให้พ้นจากที่คุมขังแห่งวิทยาการและอคติ ด้วยบุคคลมักจะยึดมั่น
อยู่กับความรู้ ยึดมั่นอยู่กับนิสัยและอคติของตน
ภาษาเซนจะต้องสามารถช่วยปลดปล่อยให้หลุดพ้นออกมาได้
ในพุทธศาสนาถือว่า ความรู้เป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงของการตรัสรู้ อุปสรรคนี้เอง
ที่เรียกว่าอุปสรรคแห่งความรอบรู้ ความรอบรู้ที่เอ่ยถึงนี้หมายเฉพาะความรู้
ที่อาศัยการนึกคิดเอา คาดคะเนเอา
ถ้าเราติดกับดักของความรู้นี้อยู่ละก็
เราจะไม่มีทางถึงการตรัสรู้ได้เลย



ในพระสูตรแห่งนิทานร้อยเรื่อง ได้เล่าถึงเรื่องราวของพ่อม่ายหนุ่มผู้หนึ่ง ซึ่งอาศัย
อยู่กับลูกชายอายุห้าขวบ เมื่อเขากลับมาบ้านก็ได้พบว่าเรือนได้ถูกไฟใหม้
ราบลงและบุตรก็สูญหายไปใกล้ ๆ กับเรือนที่ไฟใหม้นั้น ปรากฏซากศพเด็กไฟใหม
้เกรียมอยู่ศพหนึ่ง เขาเชื่ออย่างยิ่งว่านั่นคือศพลูกชายของเขา จึงได้ร้องไห้คร่ำครวญถึงลูก
แล้วก็จัดศพนั้นไปเผาตามประเพณีของชาวอินเดียในสมัยนั้น เผาเสร็จแล้ว
ก็นำเอาผ้ามาห่อกระดูกและขี้เถ้า เก็บติดตัวไว้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
ไม่ว่าจะในขณะกำลังทำงานหรือพักผ่อน

ที่จริงบุตรชายของเขามิได้ตายจากไป แต่ถูกลักพาตัวไปโดยโจรคณะหนึ่ง
เมื่อบุตรของเขาหนีออกมาได้
จึงกลับไปหาบิดาที่บ้าน เด็กนั้นไปถึงบ้านในตอนเที่ยงคืน ในขณะที่
บิดากำลังจะเข้านอนพร้อมกับห่อผ้าที่บรรจุกระดูก เด็กจึงเข้าไปเคาะประตู

" ใครกันนั่น " บิดาถาม
" บุตรของท่าน "
" เจ้าโกหก บุตรของเราตายไปได้สามเดือนล่วงมาแล้ว "


บิดานั้นเชื่ออยู่เช่นนั้น และก็หายอมไปเปิดประตูไม่ ในที่สุดบุตรของเขาก็จำใจ
ต้องผละจากไป และบิดาผู้น่าสงสารนี้ได้สูญเสียบุตรสุดที่รักของตนไปตลอดกาล



นิทานเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราได้รู้ในบางสิ่งบางอย่าง เชื่อว่ามันเป็นสัจจะ
อันสูงสุดและยึดติดอยู่เพียงนั้น
เราก็จะไม่ยอมเปิดประตูอีกเลย
แม้ว่าตัวสัจจะจะมาเคาะประตูเองก็ตาม ผู้ฝึกฝนเซนจะต้องปลดปล่อยตัวเอง
ออกจากความยึดมั่นถือมั่น
ในความรอบรู้เพื่อที่จะเปิดประตูแห่งตนออกมา สำหรับการเข้าครอบครองแห่งองค์สัจจะ อาจารย์เซนจะต้องช่วยศิษย์ของตนในความพยายามนี้

ครั้งหนึ่งอาจารย์หลินจีได้กล่าวว่า

" สหายผู้ร่วมเดินทางธรรม ถ้าท่านประสงค์ที่จะมองให้เห็นถึงความจริง
อันจริงแท้
แล้ว จงอย่าปล่อยตนให้หลงเชื่อไปกับวาทะของผู้ใด เมื่อท่านได้พบ
ใครก็ตาม ไม่ว่าขณะกำลังไปหรือกำลังจะกลับ ท่านต้องฆ่าเขาเสีย
ถ้าท่านพบพระพุทธองค์ จงสังหารพระพุทธองค์ ถ้าท่านพบพระสังฆราช
จงสังหารพระสังฆราช ถ้าท่านพบนักบุญ จงสังหารนักบุญ นี่เป็นหนทางเดียว
ที่ท่านจะปลดปล่อยตัวเองให้หลุดพ้น และเป็นอิสระโดยตัวของท่านเอง "



สำหรับผู้ซึ่งอุทิศตนเพื่อการปฏิบัติธรรม คำประกาศเช่นนี้ออกจะเป็นเรื่องที่น่ากลัว
เพราะทำให้เขางุนงงและสับสน แต่ผลย่อมขึ้นอยู่กับสภาพจิต
และความสามารถในการรับรู้
ของผู้ได้ยิน ถ้าผู้นั้นเข้มแข็งพอ เขาก็จะ
มีความสามารถปลดปล่อยตัวเองออกจากอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของใคร
หรืออะไร และย่อมก่อให้เกิดสัจจะอันสูงสุดขึ้นในตน สัจจะนั้นย่อมเป็นจริง

อยู่ในตัวเองหาใช่การนึกคิดเอาไม่ ถ้าหากเราติดยึดอยู่กับความคิดบางอย่าง
และคิดว่านั่นเป็นความจริงเสียแล้ว เราก็จักห่างไกลออกไปจากความจริง
อย่างลิบลับ นี่แหละจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้อง " สังหารและกำจัด "
ความคิดในเรื่องของความจริง เพื่อองค์แห่งความจริงจะได้เปิดเผย
ปรากฏตัวออกมา การสังหารพระพุทธองค์เป็นทางเดียวที่จะได้พบพระพุทธองค์
ความคิดที่เราจินตนาการขึ้นเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกีดขวางไว้

มิให้ได้เห็นพระพุทธเจ้าโดยแท้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2011, 04:44:10 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:01:03 pm »




จงกลับไปล้างจาน

การกลับไปสู่เหย้า การกลับไปแลเห็นธรรมชาติของตน คือ จุดมุ่งหมายของ
ผู้ปฏิบัติธรรม แต่จะกลับไปแลเห็นธรรมชาติเดิมของตนได้อย่างไรเล่า
จำเป็นที่จะต้องมีแสงสว่างสาดส่องอยู่ในการดำรงอยู่ เพื่อจะได้อยู่อย่างมีชีวิตชีวา

อยู่กับปัจจุบัน และมีสติเป็นเครื่องกำหนดรู้ในกิจที่กระทำ หรืออีกนัยหนึ่ง
มีความจำเป็นที่บุคคลจะต้องมองให้เห็นต้นสนในสวน ถ้าหากบุคคลมองไม่เห็น
ต้นสนในสวน ที่อยู่ในสวนของตนเองแล้ว เขาจะแลเห็นธรรมชาติของตนได้อย่างไร

อาจารย์เซนผู้ตรัสรู้ชอบแล้ว คือบุคคลผู้ซึ่งมีดวงตาอันแลเห็นต่อการใช้ชีวิตจริง
ท่านคือผู้ซึ่งได้แลเห็นต้นสนในสวน และรวมทั้งธรรมชาติของตน
หลังจากได้หลงวนเวียนอยู่ในโลกแห่งการนึกคิด โลกแห่งเหตุผล เป็นเวลา
นานนับปี
ดังนั้นท่านจึงไม่ยินยอมที่จะให้ศิษย์ล่องลอยอยู่ในโลกแห่งนึกคิด



และต้องสูญเสียชีวิตไปเปล่า สูญเสียโอกาสที่จะตื่นขึ้นไปอีก
ท่านจะรู้สึก
สงสารศิษย์ทุกครั้ง เมื่อเขาตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องธรรมกายหรือ เรื่องตถตะ
ท่านย่อมรำพึงว่า " บุรุษนี้ปรารถนาจะแสวงหาความจริงจากการนึกคิด "
และท่านจะพยายามอย่างยิ่งที่จะนำศิษย์ให้หลุดพ้นออกมาจากโลกแห่งความ
นึกคิด
เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตจริง " จงมองดูต้นสนในสวน "



ครั้งหนึ่งพระรูปหนึ่งได้ขอร้องให้อาจารย์เจาจูอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับเซน
อาจารย์เจาจูจึงถามว่าขึ้นว่า

" เธอฉันภัตตาหารเช้าเสร็จแล้วหรือ "
" ฉันเสร็จแล้วท่านอาจารย์ "
" ดังนั้น เธอจงกลับไปล้างจาน "
" จงกลับไปล้างจาน " นี้ก็เช่นเดียวกับ " จงกลับไปอยู่กับเซน "




แทนที่อาจารย์จะตอบคำถามเกี่ยวกับเซน ท่านกลับเปิดประตูออกและเชื้อเชิญ
ให้ศิษย์เข้ามาในโลกแห่งความจริงของเซนเสียเอง " จงกลับไปล้างจาน "




ถ้อยคำเหล่านี้มิได้มีความหมายลึกลับอันใด
ที่จะต้องอธิบายกัน มันเป็นคำพูดสามัญ
ตรงไปตรงมา และกระจ่างชัด ไม่ต้องตีความ
มิใช่รหัสนัย แต่มันคือข้อเท็จจริงอันเป็นจริงอย่างยิ่ง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 03:28:20 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:08:10 pm »




อภิวัจนะ

ถ้อยคำในพุทธศาสนา เช่นคำว่า ตถตะ สภาวะ ธรรมกาย นิพพาน ฯลฯ
คือตัวสัญลักษณ์ของความจริง แต่หาใช่ตัวความจริงไม่ ในพุทธศาสนานิกายเซน
มิได้ถือว่านามธรรมและสัญลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญคือตัวความจริง




การตื่นขึ้นและการมีสติกำหนดรู้ในปัจจุบันสภาพ
จึงน่าที่จะทำความเข้าใจว่า เพราะเหตุใดคำถามเกี่ยวกับ..
ตถตะ พุทธะ ธรรมกาย




อาจารย์เซนจึงกระตุ้นให้ผุดออกมาจากภายในสู่ภายนอก
ขอให้ลองมาพิจารณาถึงปัญหา ซึ่งศิษย์เซนมักจะถามอาจารย์ของตนว่า
" พุทธะ คืออะไร " และนี่คือตอบต่าง ๆ
อันอาจนับได้ว่าเป็น อภิวัจนะ




" พระพุทธเจ้าหรือ อยู่ในสถานศักดิ์สิทธิ์นั่นไง "
" พระองค์ทำด้วยดินเหนียว และถูกห่อหุ้มด้วยทอง "
" อย่าพูดจาไร้สาระ "
" ภยันตรายมาจากปากของเธอเอง "
" เราถูกล้อมรอบอยู่ด้วยภูเขา "
" จงมองดูชายผู้มีอกเปลือยเปล่า และเดินไปด้วยเท้าเปล่านั่นสิ "





บางทีคำตอบเหล่านี้อาจจะทำให้เรางุนงง แต่บุคคลผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ด้วย
การกำหนดรู้ในสภาวะปัจจุบัน ย่อมอาจจะถึงการตรัสรู้ด้วยคำตอบอันใดอันหนึ่ง
ในคำตอบเหล่านี้ และบุคคลผู้ซึ่งหลงวนเวียนอยู่ในความหลงลืม
ก็อาจจะตื่นขึ้นด้วยคำตอบนี้ รวมทั้งบุคคลซึ่งวนเวียนอยู่แต่ในเรื่องของนามธรรม
ก็อาจจะกลับมาสู่ความเป็นจริงด้วยอาศัยคำตอบเหล่านี้เช่นกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 04:06:12 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:16:17 pm »




กุงอัน

กล่าวกันว่ามีการสนทนาสั้น ๆ ระหว่างอาจารย์เซนกับศิษย์
กว่า ๑,๗๐๐ ชนิด ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นกุงอันได้
มีผู้เข้าใจกันว่ากุงอันเป็นข้อใหญ่ใจความ ที่นำมาใช้ในการฝึกฝนสมาธิชนิดหนึ่ง
แต่หาใช่เสียทีเดียวไม่

กุงอันเป็นภาษาจีน ( อ่านว่า โกอัน ในภาษาญี่ปุ่น ) แปลตามรากศัพท์เดิมว่า
เอกสารทางการตัดสินความ ที่แปลกันอยู่ทั่วไปเป็นภาษาไทย
มักเรียกว่าปริศนาธรรมกุงอัน ใช้เป็นวิธีในการฝึกหัดเซน
ผู้ฝึกฝนย่อมใช้กุงอันในการปฏิบัติสมาธิ จนกระทั่งจิตใจของเขาตื่นขึ้น พูดง่าย ๆ
คืออาจเปรียบกุงอันเหมือนกับโจทย์ทางคณิตศาสตร์
ซึ่งนักเรียนจะต้องทำเพื่อหาคำตอบออกมาแต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อแตกต่างอยู่
ระหว่างกุงอันกับโจทย์คณิตศาสตร์นั้นมีวิธีทำอยู่ในตัวโจทย์เอง
แต่คำตอบของกุงอัน กลับมีอยู่ในชีวิตของผู้ฝึกฝน

กล่าวอีกนัยหนึ่ง กุงอันคือเครื่องมืออันมีประโยชน์ ที่ใช้สำหรับการบำเพ็ญเพียร
เพื่อการตรัสรู้
เหมือนกับจอบเป็นเครื่องมืออันมีประโยชน์สำหรับ
ใช้ทำงานบนพื้นดิน สิ่งที่จะได้รับเป็นผลตอบแทนจากการทำงานบนพื้นดิน
ขึ้นอยู่กับ บุคคล ผู้ทำการงานมิใช่ขึ้นอยู่กับจอบ



กุงอันจึงมิใช่ข้อปัญหาอันจะต้องเฉลย นี่เป็นเหตุที่ทำให้ไม่อาจพูดได้
อย่างเต็มที่ว่า กุงอันเป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญของการปฏิบัติสมาธิภาวนา
และมิได้เป็นจุดมุ่งหมายหรือตัวสมาธิภาวนา
ด้วยกุงอัน เป็นเพียงอุบายซึ่งช่วยให้ผู้ฝึกฝนได้ไปถึงจุดหมายของเขา

กุงอันเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถัง ผู้ฝึกฝนเซนแต่ละคน
ต่างก็มีกุงอันของตนไว้สำหรับพิจารณา แต่ในสมัยก่อนหน้าราชวงศ์ถังขึ้นไป
อาจารย์เซนไม่ค่อยใช้กุงอันกันเท่าไหร่นัก ด้วยการฝึกฝนเซนนั้น
กุงอันมิใช่บางสิ่งบางอย่าง อันสูงสุดชนิดที่มิอาจขาดได้ หากเป็นเพียงอุบาย
ซึ่งอาจารย์เซนได้สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อช่วยศิษย์ในการแสวงหาตามทาง
ของแต่ละคน และกุงอันเองยังอาจจะกลับกลาย เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่
ต่อการ ตรัสรู้ ได้เสียอีก หากผู้ฝึกมัวไปคิดว่ามีสัจจะแฝงอยู่ใน กุงอัน
และสามารถแสดงสัจจะนั้นออกด้วยระบบของการใช้ความนึกคิด




ท่านฮะกุอิน อาจารย์เซน( พระเซนชาวญี่ปุ่นนิกายรินซาย )
มักจะยกมือข้างหนึ่งของท่านขึ้น พร้อมกับถามศิษย์ของท่านว่า
" เสียงของการตบมือข้างเดียวเป็นอย่างไร "
นี่แหละคือกุงอัน


ผู้คนมักจะคิดทบทวน มักจะต้องการรู้ว่าเสียงซึ่งเกิดจากมือข้างเดียวนั้นเป็นอย่างไร
จะมีความหมายอันยิ่งใหญ่ซึ่งแฝงเร้นอยู่ในคำถามนี้หรือไม่ ถ้าไม่มี เหตุใดท่านฮะกุอิน
จึงได้ถามปัญหาขึ้นและถ้าหากว่ามีคำตอบอยู่จริงแล้ว จะหาคำตอบนั้นได้อย่างไร




ปัญญาของเรามักจะสร้างหลักการแห่งเหตุผลขึ้น และใช้ในการแสวงหาสัจจะ
ซึ่งที่จริงแล้วเหมือนกับรถไฟ ซึ่งมีรางทอดยาวอยู่เบื้องหน้าและพุ่งตามรางไปเรื่อย ๆ
ครั้นมาบัดนี้ รางได้ถูกตัดขาดและรื้อถอนออกเสีย ความเคยชินแต่ดั้งเดิมก็ยังฝืน
สร้างรางอันเป็น มายา ขึ้น
เพื่อให้รถไฟแห่งปัญญาสามารถแล่นต่อไปเบื้องหน้า
เหมือนแต่ก่อน จงระวังไว้ให้ดี
หากยังขืนแล่นต่อไปเบื้องหน้า ก็จะตกอยู่ในหายนะภัยอันใหญ่หลวง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 09:05:00 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:23:20 pm »




" เสียงของการตบมือข้างเดียวเป็นอย่างไร "

คำถามเช่นนี้ เหมือนกับขวานซึ่งตัดรางที่อยู่เบื้องหน้ารถไฟออก
ทำลายนิสัยชอบคิดชอบค้นคว้าในตัวเรา และถ้าหากว่าผลไม้สุกงอมพอแล้ว
หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าจิตของเราได้ตระเตรียมไว้ดีแล้ว คมขวานที่ฟาดฟัน
ลงไปนี้ก็จะช่วยให้เรา หลุดพ้นจากพันธนาการ ซึ่งได้ผูกมัดเราให้อยู่ในโลกซึ่ง
" มีชีวิตอยู่ดังคนที่ตายแล้ว " มาเป็นเวลาหลายปี และช่วยนำเรากลับมาสููู่่่
การมีชีวิตอยู่ในความเป็นจริง แต่หากเราไม่พร้อมที่จะรับความจริง เราก็ท่องเที่ยว 
" แสวงบุญ "  อย่างไร้สาระต่อไป ในโลกของการ  " นึกคิด "



" เสียงของการตบมือข้างเดียวเป็นอย่างไร "

คำถามท้าทายอยู่เบื้องหน้าของเราแล้ว และเราก็พากันขบคิดอย่างเคร่งเครียด
เราสร้างภาพพจน์ของ " เสียงตบมือข้างเดียว " ตั้งร้อยตั้งพันแบบต่าง ๆ กัน
แต่อาจารย์ ก็บอกกลับมาว่า " ไม่ใช่ " อยู่เสมอ เมื่อหมดหนทางเข้า เราก็ชัก
จะบ้าคลั่ง ขาดสติสัมปชัญญะ ด้วยเหตุมาจาก " กุงอัน " อันน่าสาปแช่งนี้

และในช่วงเวลาอันเป็นจุดวิกฤติอย่างร้ายแรงนี้เอง แน่นอนอย่างยิ่งว่าหนทาง
กลับไปสู่ตนเองก็ได้เริ่ม ดังนั้น " เสียงของการตบมือข้างเดียว "อาจจะ
กลายเป็นดวงอาทิตย์ซึ่งฉายลงมายังความเป็นอยู่ของเราก็อาจจะเป็นได้

เสียงเหย็น เป็นศิษย์ของอาจารย์โปจัง เสียงเหย็นเป็นคนเอาใจใส่ ขยันขันแข็ง
แม้เมื่ออาจารย์ของท่านมรณภาพไปแล้ว ท่านก็ยังมิได้ตรัสรู้ ท่านจึงได้ไป
ฝากตัวอยู่กับอาจารย์ไหว่ซัน
และปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน วันหนึ่งอาจารย์ไหว่ซันถามเสียงเหย็นว่า



" เธอลองพูดให้ฟีงเรื่องการเกิดและการตายซิ บอกว่าใบหน้าและดวงตาของเธอ
ก่อนที่เธอจะถือกำเนิดขึ้นมานั้นเป็นอย่างไร "

เสียงเหย็นได้พยายามตอบไปต่าง ๆ นานา แต่ก็ไร้ประโยชน์ ท่านจึงกลับมายังกุฏิ
ใช้เวลาทั้งกลางวันและกลางคืนในการอ่านพระสูตรที่ท่านได้ศึกษามา
ค้นหาบันทึกที่ท่านได้ทำไว้สมัยอยู่กับอาจารย์โปจัง แต่ท่านก็ยังมิอาจหาคำตอบได้
ครั้นเมื่อท่านกลับไปหาอาจารย์ไหว่ซัน อาจารย์ก็ได้บอกท่านว่า

" ฉันไม่ได้ต้องการจะรู้ว่าเธอมีความรู้อยู่มากน้อยเพียงใด ฉันเพียงแต่ต้องการ
จะรู้ถึงความล้ำลึกแห่งจิตของเธอเท่านั้น ดีละ ลองบอกอะไรมาซักทีซิ "

" กระผมไม่รู้ที่จะพูดประการใด ขอให้อาจารย์ได้กรุณาสั่งสอนกระผมด้วย "
เสียงเหย็นตอบ แต่ท่านไหว่ซันกลับพูดว่า
" จะมีประโยชน์อะไรเล่า หากฉันจะบอกทัศนะของฉันแก่เธอ "




เสียงเหย็นรู้สึกหมดอาลัยตายอยาก คิดว่าอาจารย์คงไม่เต็มใจที่จะช่วย จึงเผา
หนังสือที่มีอยู่ทั้งหมดทิ้ง และปลีกตัวไปอาศัยอยู่ในที่อันห่างไกล รำพึงกับ
ตนเองว่า " เรื่องอะไรจะต้องไปศึกษาพุทธศาสนาให้ยากเย็น
ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปเป็นผู้รู้ในหลักลัทธิ ฉันอยากจะมีชีวิตอยู่เฉกเช่น
พระภิกษุอันธรรมดาสามัญมากกว่า "

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังเตรียมพื้นดินเพื่อที่จะปลูกถั่วคราดเหล็กที่ท่านถือ
อยู่ฟันไปกระทบก้อนกรวด ทำให้ก้อนกรวดนี้กระเด็นไปกระทบกับกิ่งไผ่
เกิดเสียงดัง " แกร็ก " ขึ้น เสียง " แกร็ก " นี้เองทำให้ท่านได้ตรัสรู้ สิ่งที่
อาจารย์ไหว่ซันเรียกว่า " ใบหน้าและดวงตาของเธอก่อนที่จะถือกำเนิดขึ้นมา "
ทันใดนั้นก็ฉายแสงอยู่ในดวงจิต และท่านก็ได้เข้าถึงความ ตรัสรู้ ในขณะนั้น




อาจารย์ไหว่ซันไม่ต้องการจะนำเสียงเหย็นเข้าไปใน โลกแห่งปัญญา ท่านต้องการให้
เสียงเหย็นกลับไปสู่ ธรรมชาติที่แท้ของตน และแท้จริงแล้วเสียงเหย็นอาจ ตรัสรู้ ได้
ก็โดยที่ท่านได้ " ละ " ความมานะบากบั่น ในการสั่งสมปัญญาทางวิชาการ
ในกรณีนี้แหละที่ กุงอัน ได้กระทำหน้าที่เป็นอย่างดี นับว่ามีประสิทธิภาพ
อย่างสูงในการนำผู้ฝึกฝนให้กลับไปสู่เส้นทางแห่ง
ความชัดเจนทางด้านจิต และช่วยสร้างจุดวิกฤติเพื่อมุ่งที่จะให้เกิด การ ตรัสรู้ ขึ้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 04:19:23 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:30:33 pm »




คำว่า " ไม่ใช่ " ของอาจารย์เจาจู

ภิกษุรูปหนึ่งถามอาจารย์เจาจูว่า " แม้ว่าสุนัขก็มีธรรมชาติแห่งการ ตรัสรู้ อยู่
ใช่หรือไม่ " อาจารย์ตอบว่า " ไม่ใช่ " อยู่ต่อมาภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ก็ถามอาจารย์ว่า " แม้สุนัขก็มีธรรมชาติแห่งการตรัสรู้อยู่ใช่หรือไม่ " เจาจูตอบว่า " ใช่ "



เหตุใดคำตอบทั้งสองจึงตรงกันข้าม ทั้งที่คำถามนั้นเป็นคำถามเดียวกัน อาจอธิบายได้ว่า
เป็นเพราะพระภิกษุผู้ถามคำนามมีสภาพจิตที่แตกต่างกัน
คำตอบว่า " ใช่ "และ " ไม่ใช่ " อาจถือได้ว่าเป็นอุบายที่มุ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบ
อันมีคุณค่าต่อผู้ฝึกฝนเซน ทั้งสองคำนั้นมิอาจถือว่าเป็นสัจจะที่มุ่งมาดได้
แต่ในแง่ของสัญลักขณภาพแล้ว ถือได้ว่าคำตอบที่ว่า " ใช่ " เป็นคำตอบที่ถูก



ดังที่ศาสนาพุทธฝ่ายมหายานถือว่า สัตว์ทุกชนิดมีธรรมชาติแห่งการตรัสรู้อยู่ในตัว
แต่ในแง่ของอสัญลักขณภาพหรือในโลกแห่งความเป็นจริง โลกแห่งสัจจะนั้น คำพูดที่ว่า
" ใช่ "ไม่แตกต่างอะไรไปจากคำพูดที่ว่า " ไม่ใช่ " อีกต่อไป คำว่าใช่จึงดำเนิน
บทบาทที่แตกต่าง
กันออกไป
มีแต่เพียงจิตใจของผู้ฝึกฝนเท่านั้นที่อาจรับรู้ความหมายจากคำพูดนั้นได้โดยตรง



คำว่า " ใช่ " ของอาจารย์เจาจู ได้มีอาจารย์เซนคนอื่น ๆ นำไปใช้เป็นกุงอัน
สำหรับศิษย์ของตน ขอให้ลองมาดู
ข้อเขียนของอาจารย์วูเมน ซึ่งได้เขียนไว้ในเรื่องวูเมนก๋วน เป็นตัวอย่าง

" เพื่อที่จะเข้ามาสู่เซน จำเป็นที่จะต้องผ่านประตูของพระสังฆราช เพื่อที่จะตรัสรู้
จำเป็นที่จะต้องไปถึงก้นบึ้งแห่งจิต ถ้าเธอไม่อาจผ่านประตูของสังฆราช
ไม่อาจไปถึงก้นบึ้งแห่งจิต เธอก็จะเป็นเพียงวิญญาณอันแฝงเร้น อยู่ตามพุ่มไม้ใบหญ้า
อยู่ตลอดไปแต่อะไรเล่าคือประตูของสังฆราช คำว่า ' ไม่ใช่ ' เพียงคำเดียวนี้แหละ



คือประตูของนิกายเซนทั้งหมด
ผู้ซึ่งสามารถผ่านประตูนี้ได้
ย่อมไม่เพียงแต่ได้พบกับตัวอาจารย์เจาจูเท่านั้น แต่ยังจะได้ร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่
ไปกับบรรดาพระมหาสังฆราชองค์อื่น ๆ ด้วย เขาจะได้แลเห็นสรรพสิ่งด้วยสายตา
แบบเดียวกันได้ยินเสียงด้วยหูอย่างเดียวกัน
นี่มิใช่เป็นความเบิกบานอันใหญ่ยิ่งหรอกหรือ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2012, 03:13:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:39:43 pm »




ในพวกเธอ จะมีใครบ้างใหมที่ปรารถนาจะ ผ่าน ประตูนี้
ถ้ามีละก็ ฉันจะขอเชื้อเชิญให้เขาลองใช้กายสังขารอันน่าทึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
กระดูก ๓๖o ชิ้น ขุมขนทั้ง ๘๔,ooo
เพื่อพิจารณาในถ้อยคำที่ว่า " ไม่ใช่ " เพียรพยายามอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน
โดยไม่พักผ่อนอย่าเข้าใจเอาว่า
' ไม่ใช่ ' หมายถึง ' ความไม่มี ไม่เป็น อะไรเลย ' อย่าเข้าใจว่า
เป็น สัญลักษณ์ อันตรงกันข้ามกับคำว่า ' ใช่ ' เธอจำเป็นที่จะต้องกล้ำกลืนคำคำนี้ลงไป
เหมือนกับเธอกำลังกลืนกินลูกเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ และไม่อาจจะเอากลับออกมาได้



จำเป็นที่เธอจะต้องขจัดความรู้ ความรู้ทั้งหมดที่เธอได้สะสมเอาไว้เป็นเวลานาน
จิตใจของเธอก็จะเริ่มสุกงอมอย่างช้า ๆ สักวันหนึ่งโลกภายในและภายนอก
ก็จะมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว และเธอก็จะตื่นขึ้นคล้ายกับการตื่นขึ้น
จากความฝันของคนผู้นอนซบเซา
เธอก็จะเก็บรักษาสิ่งที่เธอได้ครอบครองไว้ในตัว
โดยไม่สามารถจะอธิบายถึง สิ่งที่เธอเป็นอยู่ให้ใครเข้าใจได้ การตรัสรู้นั้นจะทำให้
ทั่วพิภพและสรวงสวรรค์สะเทือนสะท้าน เหมือนกับเธอได้ถือดาบอันสูงค่าไว้ในมือ

เมื่อเธอพบพระพุทธองค์ จงสังหารพระพุทธองค์เสีย เมื่อเธอได้พบพระสังฆราช
จงสังหารพระสังฆราชเสีย เธอจะไปถึง อิสรภาพ อันสมบูรณ์
ที่ริมขอบของ ชะตาและมรณะ เธอจะเดินฝ่าไปในภูมิทั้งหก *และโยนิทั้งสี่
**ในขณะที่ดำรงอยู่ในสมาธิ

* ภูมิหก นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา
** โยนิสี่ ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ

เราจะถึงสภาวะนี้ได้ก็เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คืออุทิศแรงพลังทั้งหมดเท่าที่มี
ในการพิจารณาคำว่า " ไม่ใช่ " โดยไม่หยุดยั้งอยู่แม้แต่วินาทีเดียว
การ ตรัสรู้ ย่อมเป็นของแน่
เหมือนไส้ตะเกียงซึ่งลุกวาบขึ้นในขณะที่อยู่ไกล้กับเปลวไฟฉันนั้น จงดูสิ

' ธรรมชาติแห่ง พุทธะ ของสุนัขนั้น เป็นประกาศิตจากเบื้องบน
มีอยู่แน่แท้ ด้วยความคิดว่า " มีหรือไม่มี " ชีวิตก็จะสูญเปล่าไปเสีย ' "


กลอนบทนี้ของท่านวูเมนก็เป็น กุงอัน อันยิ่งใหญ่อันหนึ่ง วูเมนหมายความว่าอะไร
เมื่อท่านพูดว่า " ... ใช้กายสังขารอันน่าทึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกระดูก ๓๖o ชิ้น
ขุมขนทั้ง ๘๔, ooo เพื่อพิจารณาในถ้อยคำ " ไม่ใช่ "
เพียรพยายามอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยไม่พักผ่อน " ซึ่งเป็นคำพูดธรรมดาอย่างยิ่ง



ท่านหมายถึงว่า ให้เราจุดแสงสว่างให้แก่ชีวิตการดำรงอยู่ของตนเอง
เราจะไม่ยอมให้ความมืดเข้ามาครอบงำ เราจะต้องไม่จมอยู่กับจิตใต้สำนึกและความหลงลืม
เราจะต้องมีชีวิตอยู่ทุกวินาที กระดูกทั้ง ๓๖o ชิ้น และขุมขนทั้ง ๘๔, ooo จะต้องตื่นตัวอยู่่
เหมือนกับแสงเทียน ท่ามกลางแสงเทียนนี้เองที่โฉมหน้าของ" ไม่ใช่ "จักเผยตัวออกมา


นี่เป็นชีวิตจริงที่ไม่เกี่ยวกับความนึกคิดหรือการเล่นคำ การตีฝีปาก ปัญหาเกี่ยวกับ
ชีวิตและความตาย คือลูกเหล็กแดงร้อนก็ถูกกลืนเข้าไป จะคายออกก็ไม่ได้
ด้วยชีวิตเป็นบางสิ่งบางอย่าง
ที่อยู่เหนือกว่าเหตุผล ความคิดคำนึง จงอย่าเข้าใจว่า ไม่ใช่ นั้นคือความเป็นอะไรเลย
อย่าคิดว่าการ ไม่มีอยู่ นั้นตรงกันข้ามกับความ มีอยู่ ด้วยว่า
" หากยังวุ่นวายอยู่ด้วยความคิดว่า " มีหรือไม่มี " ชีวิตก็จะสุญเปล่าไปเสีย "


แน่นอนชีวิตของเราจะสูญเปล่าไป หากเราหลีกหนีการใช้ชีวิตตามความเป็นจริง
เมื่อไปอยู่ในโลกแห่งความคิดอันล้ำลึกแล้ว เราก็จะเป็นเพียงวิญญาณพเนจร
ไร้ทั้งเลือดเนื้อและกระดูกอันได้ประกอบขึ้นเป็นชีวิตจริงของเรา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2012, 06:19:55 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:47:09 pm »




เข้าสู่วัฏฏะคือวงกลม

อาจารย์ฮวงโป ได้กล่าวไว้ถึงคำว่า " ไม่ใช่ " ของท่านเจาจูว่า

" ทุกผู้คนที่ถือว่าตัวเองเป็นอัศวิน จะต้องเพียรใคร่ครวญต่อกุงอันนี้ จงอยู่กับคำว่า
" ไม่ใช่ " นี้ตลอดทั้ง ๒๔ ชั่วโมง ไม่ว่าเธอจะนั่ง นอน ยืน ไม่ว่ากำลังจะแต่งตัว
รับประทานอาหาร ดื่มน้ำหรือเข้าห้องน้ำ จิตของเธอจะต้องรวบรวมพลังจดจ่ออยู่
กับคำว่า " ไม่ใช่ " นี้ สักวันหนึ่งที่ดอกไม้แห่งจิตจะเบิกบานออก และเธอจะได้
เห็นหนทางแห่ง " อิสรภาพ " อันยิ่งใหญ่เปิดโล่งอยู่เบื้องหน้า
เมื่อนั้นเธอจะไม่ถูกลวงให้หลงโดยพระแก่ ๆ กับ กุงอัน ของท่านอีกต่อไป "



ที่ท่านฮวงโปพูดนั้น ไม่ผิดแผกไปจากคำพูดของท่านวูเมนเลย ท่านฮวงโปถือว่า
กุงอัน เป็น อุบาย ที่นำใช้เป็น ปัจจัย เท่านั้น
ในขณะที่ท่านพูดถึง

" การถูกลวงให้หลงโดยพระแก่ " คืออาจารย์เจาจูผู้คิด กุงอัน ข้อนี้ขึ้น

ลองมาดูถึงตัวอย่างเรื่อง " ต้นสนในสวน " ซึ่งท่านเจาจูพูดกับศิษย์อีกครั้ง ต้นสน
ที่อยู่ในสวนนั้น เป็นต้นไม้ของบุคคลเพียงสองคน
คือท่านเจาจูและศิษย์ของท่านเท่านั้น เมื่อผู้หนึ่งชี้ไปที่ต้นสนในสวนและพูดกับอีกผู้หนึ่ง
ว่า " จงมองดูต้นสนที่อยู่ในสวนสิ " คราวนี้ลองมาสมมติกันว่า มีวัฏฏะคือวงกลม
ล้อมรอบตัวท่านเจาจูและศิษย์กับต้นสนอยู่ส่วนพวกเราต่างอยู่นอกวงกลม
ท่านเจาจูชี้ให้ศิษย์ดูต้นสนมิได้ชี้ให้เราดู เราเป็นเพียง ผู้ดู ที่ไม่เกี่ยวข้อง เราไม่มีทางรู้้
ว่ามีอะไรเกิดขึ้นระหว่าง ท่านเจาจูและศิษย์กับต้นสน และปัญหานั้นจะผุดขึ้นมาในตัวเรา
ก็ต่อเมื่อเราได้มีต้นสนของเราเอง



แต่ที่ว่า " ต้นสนของเราเอง " นั้น หมายความถึงอะไร ต้นสนซึ่งอยู่ในวงกลมนี้ี้
จะเป็นของเราก็ต่อเมื่อเราได้เข้าไปอยู่ในวงกลมเสียเอง
เมื่อเรายอมรับเอา กุงอัน มาเป็นของเราเสียเอง เมื่อเราไม่มัวแต่ไปศึกษากุงอันแทนผู้อื่น

กุงอันจะเป็นกุงอันก็ต่อเมื่อมันเป็นของเรา กุงอันของผู้อื่นหาใช่กุงอันไม่ ดังนั้น
ต้นสนของศิษย์ท่านเจาจูก็ไม่ใช่ต้นสนของเรา
เราจะต้องทำให้ต้นสนกลายมาเป็นของเรา และเมื่อกลายมาเป็นของเราแล้ว ก็จะ
 
" ไม่กลับมาเป็นของคนอื่นอีก " พูดง่าย ๆ ก็คือ " ต้นสนของเรากับของคนอื่น
ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
" ด้วยก็เป็นต้นสนสองต้นที่ " แตกต่างกัน " นั่นเอง



ขั้นแรก เราจะต้องปฏิเสธที่จะเป็นเพียงผู้ดูเท่านั้น จงมองดูต้นสนด้วยตาของเราเอง
ท่านเจาจูอยู่นั่นไง อยู่เบื้องหน้าของเรา และต้นสนก็ขึ้นอยู่ในสวนไม่ห่างไกล
เรากำลังประจันหน้าอยู่กับท่านอาจารย์เจาจู
กำลังประจันหน้าอยู่กับต้นสน เราเห็นต้นสนไหม ถ้าเห็นแล้ว ก็เป็นอันว่ากุงอันนั้นสำเร็จ

จะเป็นต้นสน ต้นมะนาว หรือต้นหลิวก็ไม่สำคัญ อาจจะเป็น ก้อนเมฆ แม่น้ำ
หรือแม้แต่มือที่วางอยู่บนโต๊ะ ถ้า " เห็น " มันละก็ เมื่อนั้น " กุงอัน " ก็สำเร็จผล



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2012, 06:42:15 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:53:21 pm »




บางครั้ง อาจารย์เซนก็นำ กุงอัน เก่า ๆ ที่เคยมีอยู่แล้วมาใช้แทนที่จะคิดค้นขึ้นใหม่
นี่มิได้หมายความว่าท่านปล่อยปละละเลย ให้ศิษย์เป็นเพียงผู้ดู
ใช้แต่สติปัญญาของตัวไปพิจารณากุงอันของผู้อื่น
อาจารย์เซนต้องการให้กุงอันของเก่า
กลับมาเป็นของใหม่และให้ศิษย์รับเอาไปเป็นของตน
ภิกษุรูปหนึ่งได้ถามอาจารย์เดียนง ูเกียกหวง อาจารย์เซนชาวเวียดนามในสมัยศตวรรษที่ ๑๓
ว่า " อะไรคือการทำเพื่อความก้าวหน้าแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน " ท่านเดียนงูตอบว่า
" คือการ คอนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไว้ ที่ปลายไม้เท้า "


" กุงอันเก่ามีประโยชน์อย่างไร " พระภิกษุรูปนั้นถามขึ้น
" ทุกครั้งที่นำกลับมาใช้ กุงอันก็ใหม่อยู่เสมอ " ท่านเดียนงูยิ้ม



หากว่าผู้ใดไม่อาจเห็นต้นสน ก็เป็นด้วยผู้นั้นไม่อาจทำให้ต้นสน กลายเป็นต้นสนใหม่
หรือต้นสนแห่งสัจจะสำหรับตัวเรา
และเป็นเพราะผู้นั้น มัวแต่ไปพึงใจอยู่กับการค้นหา มองหาต้นสนของคนอื่น

หลังจากที่ท่านเจาจูได้มรณภาพแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ไปเล่าเรียนศึกษากับศิษย์
ผู้สำเร็จของท่านเจาจู
" อาจารย์เจาจู ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับต้นสนบ้างหรือไม่ "
ภิกษุรูปนั้นถามขึ้น
" หามิได้ อาจารย์มิได้พูดอะไรเกี่ยวกับต้นสนเลย " ศิษย์สำเร็จตอบ


แต่กุงอันเรื่องต้นสนนี้เป็นี่รู้จักกันโดยทั่วไป ทุกคนในวงการเซนพูดกันถึงต้นสนนี้ทั้งนั้น
เหตุใดศิษย์ของอาจารย์เจาจูจึงปฏิเสธความจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปเล่า
ดังนั้น ภิกษุรูปนี้จึง รบเร้า ต่อไป
" ทุกผู้คนต่างรู้อยู่แก่ใจว่า อาจารย์ของท่านได้ตั้งกุงอันเรื่องต้นสนขึ้น เหตุใดท่าน
จึงปฏิเสธด้วยเล่า "
" อาจารย์ไม่เคยตั้งกุงอันเช่นนั้นขึ้นเลย เธอควรจะหยุดสบประมาทท่านได้แล้ว "

ศิษย์ท่านเจาจูตอบอย่างเฉื่อยชา



เป็นที่น่าประหลาดใจว่า เหตุใดศิษย์ผู้สำเร็จของอาจารย์เจาจูจึงทำเช่นนั้น

คำตอบง่ายแสนง่าย คือ " ต้นสนมิอาจแลเห็นได้ " ด้วย รูปนั้น อยู่นอกวงกลม
มาบัดนี้สิ พระกลับมาแลหาต้นสนซึ่งได้ตายไปแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นละก็
" ฆ่า " ต้นสนนั้น
ให้ตายไปเสียดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงคำนินทาว่าร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้

คำตอบของศิษย์อาจารย์เจาจูได้กลายเป็นกุงอันใหม่ อันอาจทำให้ใคร ๆ
อาจแลเห็นต้นสนต้นมหึมาผุดตระหง่านขึ้นมา
ซึ่งจะกลายเป็นพลังแห่งชีวิตใหม่ แต่ไม่ว่าจะมีผู้แลเห็นหรือแลไม่เห็น
ต้นสนใหม่ก็ตาม ต้นสนเก่าของอาจารย์เจาจูก็ยังคงไร้ประโยชน์อยู่เช่นเดิม

หาจำเป็นต้อง เกี่ยวพัน ไปถึงไม่


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2012, 08:25:48 pm โดย ฐิตา »