ผู้เขียน หัวข้อ: คุณลักษณะเด่นในการเผยแผ่ศาสนาของ หลวงปู่ชา สุภัทโท  (อ่าน 6350 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



คุณลักษณะเด่นในการเผยแผ่ศาสนา
ของ หลวงปู่ชา สุภัทโท

ในการสอนธรรมะของพระแต่ละท่านย่อมมีความแตกต่างกันออกไป
ตามอุปนิสัยและประสบการณ์ของแต่ละท่าน
การสอนธรรมะของหลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นกรณีหนึ่งที่มีความแตกต่าง และเป็นที่โดดเด่น
เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป  ถึงแม้ว่าหลักการสอนของท่าน
จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แต่เมื่อกล่าวถึงคำสอนแล้ว ก็อยู่ภายใต้กรอบ
ของพระพุทธศาสนา เป็นแบบอย่างที่ควรค่าแก่การศึกษาหลวงปู่ชา ถ่ายทอดธรรมะ

ด้วยการพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ ในการอธิบายธรรมะซึ่งเป็นนามธรรมให้ผู้ฟังเห็นเป็นรูปธรรม
ด้วยการเปรียบเทียบโดยจะยกตัวอย่างจากสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัวมนุษย์
ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เพื่อเปรียบเทียบกับธรรมะ นอกจากนั้นท่านยังมีวิธีการสอน
โดยผ่านการปฏิบัติตนของท่านเอง ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การสอนด้วยการทำให้ดู
การสอนด้วยการบรรยาย การสอนด้วยการตอบปัญหา และอีกหลายวิธีจะได้นำมาฝาก



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

เสฐียรพงษ์ วรรณปก (2536) ได้แสดงทัศนะว่า หลวงปู่ชา เป็นพระปฏิบัติที่น่าสนใจ ท่านใช้ชีวิตแบบที่บาลีเรียกว่า สุตวา สาวโก (พระสาวกผู้ใฝ่สดับ) คือท่านมีวิญญาณของผู้ใฝ่รู้ใฝ่ปฏิบัติจริงขณะที่ท่านเรียนนักธรรมบาลีเริ่ม แปลธรรมบท ท่านคิดว่า ทำไมเราต้องมานั่งแปลวิธีปฏิบัติจากตำรา ทำไมเราไม่ออกไปแสวงหาทดลองด้วยตนเอง ความคิดเหล่านี้กระตุ้นให้ท่านออกเดินธุดงค์เพื่อฝึกปฏิบัติทดลองด้วยตนเอง ท่านทดลองและทดสอบอะไรบ้าง ท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังในภายหลังล้วนแต่เรื่องผู้ที่มีใจไม่เด็ดเดี่ยว มั่นคงไม่สามารถทำได้ แต่ท่านก็ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น เราไม่รู้ว่าท่านได้เข้าถึงธรรมะระดับไหนแต่อ่านคำสอนของท่านแล้ว ทุกถ้อยคำล้ำลึกกินใจกระจ่าง ชี้ตรงไปยังการดับทุกข์ หลวงพ่อท่านบอกสานุศิษย์ว่า คำสอนของผมนอกตำรา แต่อยู่ในขอบเขตอาจไม่ถูกคัมภีร์ แต่มันถูกสัจธรรม

คนึงนิตย์ จันทบุตร (2532) ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับคำสอนของหลวงปู่ชาดังนี้ หลวงปู่ชาไม่ได้เน้นการศึกษาด้านปริยัติมาก ท่านพิจารณาว่าคนที่เรียนปริยัติแต่ไม่ปฏิบัติก็เหมือนกับทัพพีตักแกงที่ อยู่ในหม้อมันตักแกงทุกวันแต่ไม่รู้รสของแกง ทัพพีไม่รู้รสแกงก็เหมือนกับคนเรียนปริยัติที่ไม่ได้ปฏิบัติ ถึงแม้จะเรียนอยู่จนหมดอายุก็ไม่รู้จักรสของธรรมะ ธรรมะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ในสมัยพุทธกาลไม่มีใครศึกษาพระไตรปิฎก พระบวชใหม่จะมีอุปัชฌาย์เป็นผู้สอนส่วนพระไตรปิฎกเป็นเรื่องรู้ร่วมกันที่ พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้คล้ายแผนที่นำทาง เราอาจจะอ่านแผนที่ก็ได้หรือมีคนบอกทางโดยไม่มีแผนที่ก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าเป็นอาจารย์ผู้มีปัญญาสามารถไว้ใจได้

ส.ศิวรักษ์ (2538 : 51) ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการเผยแผ่เอาไว้ว่า ขอให้ดูกรณีของท่านอาจารย์ชา สุภัทโท ซึ่งเป็นกระแสที่น่าสนใจมาก ท่านอาจารย์ชา ท่านเป็นกระแสที่รับแบบปฏิบัติและเข้าใจในเรื่องปริยัติ สามารถสื่อกับคนรุ่นใหม่และคนต่างประเทศได้ ผู้ที่สืบสายจากท่านอาจารย์เวลานี้ไปมีผลในต่างประเทศมากกว่าในประเทศ โดยเฉพาะท่านอาจารย์สุเมธาจารย์



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

วิธีการสอนแบบใช้คำพูดสั้น ๆ

วิธีการสอนของหลวงปู่ชา เป็นคำสอนที่สั้น ๆ เรียบง่าย ในระยะแรกฆราวาสมีจำนวนน้อย ท่านจะใช้ภาษาท้องถิ่น(ภาษาถิ่นอีสาน)ต่อมาเมื่อมีผู้คนเป็นจำนวนมากในการสอน ท่านจึงใช้ภาษากลาง และใช้คำพูดที่สั้นฟังแล้วเข้าใจง่าย การสอนของท่านเน้นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถึงแม้คำสอนจะเป็นประโยคที่สั้น แต่ก็ได้ใจความ เช่น

หลวงพ่อได้รับ นิมนต์ไปฉันในพระบรมมหาราชวัง ขณะลงจากรถ ได้พบกับพระเถระท่านหนึ่ง พระเถระท่านนั้นมองเห็นหลวงปู่ชาสะพายบาตรไปด้วย และถามแบบเยาะเย้ยว่า
“คุณ ชา ไม่อายในหลวงหรือสะพายบาตรเข้าวัง”
“ท่านเจ้าคุณ ไม่อายพระพุทธเจ้าหรือครับ ไม่สะพายบาตรเข้าวัง”

(คณะศิษย์, 2536: 113)

บริขาร ที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุสงฆ์ควรนำติดตัวเมื่อเดินทางมี 4 อย่าง คือ สบง จีวรสังฆาฏิ และบาตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบาตรและไตรจีวร เป็นธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้าเคยปฏิบัติมิได้ขาด และเป็นวัตรปฏิบัติอย่างหนึ่งของพระป่า ที่นิยมฉันอาหารที่ผสมทุกอย่างลงในบาตร



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ครั้งหนึ่งหลังจากหลวงปู่ชาแสดงธรรมจบ อุบาสกได้กล่าวว่า
ท่านเทศน์ถูกใจเหลือเกิน พรุ่งนี้เช้าจะต้มไก่มาถวาย
รุ่งเช้าอุบาสกคนนั้น ได้นำแกงไก่มาถวาย
พระที่ติดตามไม่นึกเฉลียวใจว่าสัตว์ที่ถูกฆ่าทำเป็นอาหารเจาะจงถวาย
ถ้าพระฉันจะต้องอาบัติจึงฉันแกงไก่นั้น แต่หลวงปู่ชาไม่ฉันและกล่าวว่า
“อร่อย ไหมแกงไก่ ช่างไม่คิดอ่าน ไม่รู้สึกอะไรเลย แต่ไม่เป็นไรหรอกเพราะ ท่านไม่รู้
ผมนะ เห็นแกงไก่ รู้สึกเสียววาบเลย” (คณะศิษย์ , 2536: 138)

สาเหตุ ที่หลวงปู่ชาไม่ฉันแกงไก่ เนื่องจากมีพระวินัยบัญญัติห้ามไม่ให้พระภิกษุ
ฉันเนื้อสัตว์ที่บุคคลฆ่า ทำเป็นอาหารเจาะจงถวายแด่พระภิกษุโดยตรง


ในขณะที่หลวงปู่ชาอาศัยจำพรรษาที่วัด แห่งหนึ่ง มีเรื่องการสอนพระวินัยที่เคร่งครัด
ตอนเช้ามีอุบาสกนำข้าวหมากมาถวาย พระทุกรูปลงมือฉัน
แต่หลวงปู่ชาไม่ฉันเพียงรับประเคนแล้ววางไว้ หลวงตาท่านหนึ่งถามว่า

ไม่ฉันข้าวหมากหรือ " หลวงปู่ชาบอกว่า " ผมเห็นว่ามันมีกลิ่นและรสคล้าย เหล้า
(นามกาย, 2538: 100)

ในพระ วินัยว่าด้วยเรื่องสุรา และเมรัย สิกขาบทที่ 1 ในสุราปานวรรค บัญญัติไว้ว่า
 ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย (วิ.น.ย. 2/327/465)
ข้าวหมากจัดเป็นของหมักดอง ถือเป็นเมรัยชนิดหนึ่งถ้าฉันเป็นจำนวนมาก
อาจทำให้มึนเมาได้ หลวงปู่ชา พิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งไม่ควรจึงไม่ฉัน


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

อีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่วัดแห่งหนึ่ง ชาวบ้านทำข้าวหลามอยู่ที่วัด หลวงตาได้จับกระบอกข้าวหลามก่อนได้รับประเคน เมื่อถึงเวลาฉัน หลวงปู่ชาไม่ฉันข้าวหลามนั้น เพราะการฉันอาหารที่พระภิกษุแตะต้องก่อนได้รับประเคนเป็นอาบัติ หลังจากฉันเสร็จหลวงตารูปนั้น ขอแสดงอาบัติกับหลวงปู่ชา หลวงปู่ชา ได้บอกว่า ไม่ต้องแสดงก็ได้ขอให้สำรวมต่อไป (นามกาย, 2538: 102)

ในพระวินัยว่าด้วยเรื่องการรับประเคนอาหาร สิกขาบทที่ 10 ใน โภชนวรรค บัญญัติไว้ว่า ภิกษุใดกลืนกินอาหารที่ไม่ได้รับประเคนให้ล่วงลำคอ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (วิ.น.ย 2/263/415) วิธีการสอนในลักษณะเช่นนี้แม้เป็นประโยคคำสั้น ๆ แต่เป็นการสอนที่อาศัยไหวพริบปฏิภาณของผู้สอน ในการอยู่ร่วมกันถ้าไม่หมั่นสังเกตจะไม่รู้ว่าใครมีความประพฤติเรียบร้อยดีงาม และต้องใช้ระยะเวลาจึงจะรู้ถึงความรู้ และความประพฤติได้

พระวิสุทธิสังวรเถร สัมภาษณ์ กล่าวว่า วิธีสอนของหลวงปู่ชาจะใช้คำพูดที่เรียบง่าย โดยจะสอนตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ทั้งนี้คำสอนอาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับบุคคลนั้น โดยผู้สอนไม่ได้เตรียมคำสอนไว้ล่วงหน้า และต้องอาศัยจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

การสอนแบบใช้จังหวะและโอกาส

เมื่อรู้ว่ายังไม่ถึงโอกาสหรือไม่มีจังหวะ ผู้ฟังไม่พร้อม หลวงปู่ชาจะไม่สอน แต่เมื่อได้จังหวะ ท่านจะไม่ปล่อยโอกาสนั้นให้ผ่านไป เช่น พระอาจารย์ สุเมโธ เล่าว่า วันหนึ่งในขณะกำลังกวาดใบไม้ที่ลานวัด รู้สึกอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด ขัดเคือง นึกเพ่งโทษว่าที่วัดหนองป่าพงไม่มีความสุข ทันใดนั้นหลวงปู่ชาเดินผ่านมา และพูดว่า วัดป่าพงทุกข์มาก แล้วเดินจากไป (คณะศิษย์,2536: 355)

จากเหตุการณ์นี้ทำให้พระอาจารย์สุเมโธได้สติว่า ความสุข ความทุกข์ไม่ได้เกิดจากสถานที่ แต่เกิดจากจิตใจของเราเอง การตระหนักถึงเรื่องนี้ทำให้พระอาจารย์สุเมโธ เลิกเพ่งโทษสิ่งแวดล้อม จากคำสอนของหลวงปู่ชาเพียงประโยคเดียวที่ถูกจังหวะและโอกาส

ในขณะหลวงปู่ชาเดินรับบิณฑบาตกับพระมหารูปหนึ่ง ขณะเดินถึงบ้านหลังหนึ่งซึ่งเจ้าของบ้านเป็นช่างไม้ หลวงปู่ชากล่าวขึ้นว่า “บ้านช่างไม้นี่เก่าทรุดโทรมเสียจริงนะ” พระมหาจึงพูดว่า “บ้านช่างไม้มีฝีมือ คงมีงานล้นมือจึงไม่มีเวลาซ่อมบ้านของตัวเอง” หลวงปู่ชา ได้จังหวะกล่าวว่า “เราก็เช่นกัน สอนแต่คนอื่น” เมื่อได้ฟังหลวงปู่ชา พูดเช่นนั้น พระที่เดินตามหลังนิ่งไปพักหนึ่ง ด้วยความซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งเพราะเห็นจริงตามนั้น (ทองพูล พานแก้ว, 2541: 30)

พระอาจารย์ คูณ อัคคธัมโม (สัมภาษณ์) บอกว่า หลวงปู่ชาจะใช้จังหวะและโอกาสที่เหมาะสม
ในการอบรมสั่งสอนศิษย์ เช่น ในขณะที่ท่านบอกให้พระเณร ปัดกวาดบริเวณวัด
ท่านจะบอกว่า กวาดทางไปด้วย กวาดใจไปด้วย เป็นการใช้จังหวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์

พระอาจารย์ ญาณธัมโม ชาวออสเตรเลียเล่าถึง วิธีการสอนของหลวงปู่ชา ที่เหมาะกับโอกาสว่า วันหนึ่งท่านมีเรื่องขัดใจกับพระรูปหนึ่ง รู้สึกโกรธทั้งวัน รุ่งเช้าออกรับบิณฑบาตเดินคิดไปตลอดทาง ขากลับเดินสวนทางกับหลวงปู่ชา ท่านยิ้มแล้วทักว่า Good morning ทำให้อารมณ์เปลี่ยนทันที เกิดความเบิกบานปลื้มปีติที่หลวงพ่อทัก ตอนเย็นหลวงพ่อเรียกให้ไปอุปัฏฐากที่กุฎีของท่านและรู้สึกดีใจมากกับโอกาส ที่ได้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อสองต่อสอง ในขณะกำลังถวายการนวดอย่างตั้งอกตั้งใจด้วยความปลื้มปีติ หลวงปู่ชาได้ใช้เท้าถีบไปที่หน้าอก ที่กำลังพองโตด้วยความภาคภูมิใจจนล้มก้นกระแทกพื้น และได้ตำหนิว่า จิตใจไม่มั่นคง พอไม่ได้ดังใจก็ขุ่นเคือง เมื่อได้ตามปรารถนาก็ดีใจ ผมฟังท่านดุไปหลายเรื่องถึงกับร้องไห้ ไม่ใช่เพราะโกรธหรือเสียใจ แต่เพราะ สำนึกในบุญคุณของท่าน หลวงพ่อเมตตาช่วยชี้กิเลสของเราไม่เช่นนั้นเราคงมืดบอดไปอีกนาน (คณะศิษย์,2536: 363)

พระวิสุทธิสังวรเถระ (สัมภาษณ์) กล่าวว่า หลวงปู่ชา จะสังเกตอุปนิสัยของลูกศิษย์ก่อนว่า บุคคลนั้นสอนเข้าใจยากง่ายแค่ไหน เช่น กรณีที่พระอาจารย์ ญาณธัมโม ไปถวายการนวดให้กับท่าน พระอาจารย์ญาณธัมโม รู้สึกปลื้มใจ ในขณะนวดหลวงพ่อจึงใช้เท้าถีบเข้าที่หน้าอกแต่ทั้ง ๆ ที่ท่านถูกถีบนั้นท่านจะโกรธ ท่านกลับสำนึกได้นั้นเป็นเพราะว่า หลวงปู่ชา ท่านรู้แล้วว่าพระอาจารย์ญาณธัมโม มีศรัทธาพอที่จะใช้ความรุนแรง หลวงพ่อจึงใช้ จึงทำให้ท่านได้สติในสิ่งที่ตนคิดผิด และได้ปรับปรุงตัวใหม่



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

การสอนด้วยการเปรียบเทียบ

การสอนด้วยการเปรียบเทียบ หลวงปู่ชา จะใช้วิธีการสอนด้วยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบธรรมะกับสิ่งง่าย ๆใกล้ตัวมนุษย์ ทั้งสิ่งที่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และธรรมชาติใกล้ตัว ในการสอนเนื้อหาบางอย่างอาจลึกซึ้ง ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจได้ทันที ท่านจะยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจน ที่เรียกว่าทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ดังเช่น หลวงปู่ชา ยกตัวอย่างในการสอนปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรมะที่ละเอียด ยากแก่การเข้าใจ ท่านจะใช้วิธีอุปมาอุปไมย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น ปฏิจจสมุปบาท ในทางปริยัติบอกว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป เราเคยเรียนมาก็เป็นจริงตามนั้น แต่เมื่อเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วเรานับไม่ทัน อุปมาเหมือนเราตกจากต้นไม้ เมื่อเราพลาดจากกิ่งไม้ ถึงพื้นโน่น ไม่รู้ผ่านกิ่งไหนบ้าง มันไปตามปริยัตินั่นเอง แต่มันก็ไปนอกปริยัติด้วย หลวงปู่ชาสรุปว่า การปฏิบัติไม่มีป้ายบอกทางว่า ตรงนี้เป็นสังขาร ตรงนี้เป็นวิญญาณ ตรงนี้เป็นนามรูป ท่านจึงเปรียบว่า คล้ายกับตกจากต้นไม้เมื่อพลาดจากกิ่งไม้เราไม่สามารถคำนวณได้ว่าผ่านมากี่ นิ้วกี่ฟุต จะรู้อีกครั้งเมื่อตก
ถึงพื้น (สัมมา สัจจานุรักษ์, 2534: 26)

เปรียบกิเลสเหมือนน้ำ หลวงปู่ชากล่าวว่า คำว่าพระพุทธองค์และพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้ฆ่าและไกลจากกิเลสนั้น ความจริงพระพุทธองค์และพระอรหันต์ไม่ได้ฆ่าและไม่ได้หนีไกลจากกิเลสแต่ ประการใดเลย แต่เป็นเพียงการรับรู้แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพของสิ่งนั้น ถ้าหากพระพุทธองค์ทรงฆ่ากิเลสหมดสิ้นแล้ว คนที่เกิดภายหลังคงไม่มีกิเลสแต่ประการใดเลย และพระองค์ไม่ได้หนีไกลจากกิเลส เปรียบเหมือนบัวที่อยู่กับน้ำแต่ไม่ติดน้ำ ดังนี้ (คณะศิษย์, 2535: 51-79)



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

และได้เปรียบเทียบเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ไว้ว่า หากพูดให้สั้น ศีล สมาธิ ปัญญานั้น เป็นสิ่งเดียวกัน อาศัยซึ่งกันและกัน เปรียบเหมือนมะม่วงลูกหนึ่ง เมื่อยังเล็กก็มะม่วงลูกนั้น โตขึ้นอีกหน่อยก็มะม่วงลูกนั้น เมื่อแก่เต็มที่ (สุก) ก็มะม่วงลูกเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงจากมะม่วงลูกเล็ก ๆไปเป็นมะม่วงลูกใหญ่ เกิดจากมะม่วงลูกเดียวกัน เราจะบอกว่า ไม่ใช่ลูกเดียวกันก็ได้ บอกว่าลูกเดียวกันก็ได้ ต่างกันตรงขนาด และรสชาติเท่านั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เช่นเดียวกัน ต้องเริ่มจากจุดหนึ่งไปสู่เป้าหมายหนึ่ง (คณะศิษย์, 2535: 62)

พระอธิการเอนก ยัสทินโน
(สัมภาษณ์) เล่าว่า วิธีการสอนในสิ่งที่ยาก เช่น เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา หากผู้ฟังตั้งใจฟัง บุคคลเหล่านั้นจะสามารถเข้าใจได้ดีคือ ท่านสอนจากสิ่งที่หยาบเข้าสู่สิ่งที่ละเอียด สอนเปรียบเทียบสิ่งภายนอกเข้าสู่สิ่งภายใน ผู้ฟังสามารถพิจารณาให้เห็นจริงได้
การเปรียบเทียบร่างกายกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น คนเราเกิดมาจนถึงวัยชราได้อาศัยร่างกายมาเป็นเวลานาน ย่อมมีการทรุดโทรมบ้าง เปรียบประหนึ่งเครื่องใช้ภายในบ้านซึ่งเราเก็บรักษาไว้นาน เช่น ถ้วย จาน ชาม เครื่องใช้ต่าง ๆ ในขณะที่ยังใหม่ก็สดใสดี เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มีการทรุดโทรมไปตามกาลเวลา บางอย่างแตกทำลาย บางอย่างหายไป บางอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป ร่างกายของคนเราก็เช่นนั้นเหมือนกัน (คณะศิษย์, 2535: 36)

จากนั้น หลวงพ่อได้สอนการปล่อยวางเป็นกรณีต่อไป สำหรับการปล่อยวางบางคนไม่เข้าใจความหมาย คำว่า ปล่อยวาง อุเบกขาหรือวางเฉย จึงมีการตีความหมายสับสนต่าง ๆ นานา ดังศิษย์ของหลวงปู่ชารูปหนึ่ง ที่ฝึกปฏิบัติการปล่อยวาง ในฤดูฝนหลังคากุฎีพระรูปหนึ่งมีรอยรั่ว พระรูปนั้นไม่ขวนขวยหาวัสดุมุงหลังคาใหม่ จึงปล่อยให้ฝนรั่วอยู่อย่างนั้น และได้เก็บบริขารไปไว้อีกมุมหนึ่งของกุฎี หลายวันผ่านไป หลวงปู่ชาไปถามที่กุฎี พระรูปนั้นตอบว่า ผมกำลังฝึกการปล่อยวาง หลวงปู่ชา จึงกล่าวว่า นี่เป็นการปล่อยวางที่ไม่ใช้ปัญญา เปรียบเหมือนการปล่อยวางของควายเท่านั้นเอง (สันติภูมิ, 2530: 76)

เรื่องการปล่อยวางต้องใช้คู่กับปัญญา ปล่อยวางไม่ใช่ปล่อยทิ้ง จะสังเกตได้ว่า หลักการสอนของหลวงปู่ชาไม่เน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ท่านสามารถนำสิ่งที่ท่านพบเห็นหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนำมาเปรียบเทียบ ในสิ่งที่ท่านสอนให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน พระอาจารย์คูณ (สัมภาษณ์) บอกว่า การยกตัวอย่างของหลวงปู่ชา มีมากมายหลายวิธี มีทั้งจากพระไตรปิฎก และจากประสบการณ์ของท่าน ส่วนมากจะมาจากประสบการณ์ของท่านมากกว่าจากการยกตัวอย่าง จากสิ่งใกล้ตัว จากเครื่องใช้ประจำครัวเรือน และสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทำให้ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะตัวอย่างที่หลวงปู่ชานำมาเปรียบเทียบเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคย ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะอยู่ในฐานะเช่นไร



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

การสอนแบบใช้อุปกรณ์การสอน

เมื่อกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว การสอนของหลวงปู่ชา คล้ายกับการสอนของพระป่าโดยทั่วไป คือ ไม่มีอุปกรณ์การสอนที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการสอนโดยเฉพาะเช่นในปัจจุบัน แต่หลวงปู่ชาจะใช้สิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัวท่าน ที่หาได้ในขณะนั้น พระวิสุทธิสังวรเถร (สัมภาษณ์) กล่าวว่าการใช้อุปกรณ์การสอนมีบ้างเป็นบางโอกาส อุปกรณ์จะเป็นสิ่งใกล้ตัวท่าน หากจะถามว่าเป็นการใช้อุปกรณ์หรือไม่นั้น ก็สุดแท้จะเข้าใจ แต่หากเป็นไหวพริบปฏิภาณของผู้สอนต่างหาก ซึ่งอุปกรณ์นั้นท่านไม่เคยเตรียมไว้ก่อน เช่น เมื่อครั้งเดินทางไปแสดงธรรมต่างประเทศ ชาวต่างชาติถามท่านว่าตายแล้วไปไหน หลวงปู่ชาหันไปจับเทียนที่ตั้งอยู่ด้านข้าง แล้วเป่าเทียนดับ และย้อนถามว่า เทียนดับแล้วไปไหน ผู้ถามบอกว่าไม่รู้ หลวงพ่อจึงบอกว่า ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน และหลวงปู่ชาได้ถามว่าพอใจหรือไม่กับคำตอบนี้ เขาบอกว่าไม่พอใจ ท่านจึงบอกว่าฉันก็ไม่พอใจในคำถามนั้นเหมือนกัน

พระเขมธัมโม เล่าไว้ว่า วันหนึ่งหลังกลับจากรับบิณฑบาต หลวงปู่ชาเรียกให้เดินไปกับท่าน เพื่อดูแลความเรียบร้อยภายในวัด ในขณะเดินเข้าไปใกล้ประตูเข้าวัด หลวงปู่ชาเห็นกิ่งไม้ ซึ่งท่านต้องการให้ช่วยยกออกจากถนน จึงใช้มือออกท่าทาง เพื่อบอกให้จับปลายไม้อีกด้านหนึ่ง ในขณะที่ยกกิ่งไม้พร้อมที่จะเหวี่ยงทิ้ง หลวงพ่อได้เงยหน้าขึ้นมอง และถามว่า หนักไหม จึงเหวี่ยงกิ่งไม้เข้าป่าและถามอีกว่า ตอนนี้หนักไหม (คณะศิษย์, 2536: 263-264)

การสอนของหลวงปู่ชาในลักษณะเช่นนี้ สามารถตีความหมายได้ 2 อย่างด้วยกัน คือ...

1. หลวงพ่อสอนให้รู้จักการปล่อยวาง
2. เป็นการใช้อุปกรณ์การสอนที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่พอหาได้ในขณะนั้น

หลวงปู่ ชา มักใช้สิ่งที่คนทั่วไปรู้จักอยู่แล้ว ไม่ต้องอาศัยการอธิบายประกอบ เช่น หลวงปู่ชา จับท่อนไม้ขึ้น “ดูนี่สิ มันสั้นหรือยาว สมมติว่าคุณอยากได้ไม้ที่ยาวมากกว่านี้ ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้ที่สั้นกว่านี้ ไม้ท่อนนี้ก็ยาว หมายความว่า ตัณหาของคุณต่างหากที่ทำให้ไม้มีสั้นมียาว มีดี มีชั่ว มีสุข มีทุกข์ (ทำให้สุดขุดให้ถึง, 2536: 47)



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

การสอนแบบตอบคำถามตัดปัญหา

บุคคลที่เดินทางมายังวัดหนองป่าพงมีจำนวนมากมาย หลากหลายอาชีพ มีความแตกต่างกันหลาย ๆ ด้าน ทั้งถิ่นที่อยู่อาศัย สถานะความเป็นอยู่ อาชีพการงาน ความแตกต่างด้านการศึกษาภาษาและวัฒนธรรม จึงมีข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับคำสอนหรือเกิดความสงสัยในการปฏิบัติ แม้กระทั่งถามเพื่อลองภูมิ ในการตอบปัญหาของหลวงปู่ชา จึงมีหลากหลายวิธี และท่านจะสังเกตว่าเมื่อตอบไปแล้ว จะมีประโยชน์ต่อผู้ฟังมากน้อยเพียงใด ปัญหาบางอย่างหลวง ปู่ชา ไม่ตอบแต่ท่านจะแนะนำหลักธรรมที่ควรรู้ ดังเช่น

ครั้งหนึ่งมีคนไปถามท่านว่า เขาว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์เหาะได้หรือเปล่า หลวงปู่ชาตอบว่า “เรื่องเหาะเรื่องบินนั้นไม่สำคัญหรอก แมงกุดจี่มันก็บินได้(เรื่องของหลวงปู่ชา, 2536: )

จากปัญหาข้างต้นหลวงปู่ชาท่านตอบเพื่อ ตัดปัญหา เพราะเป็นเรื่องที่ห่างไกลตัวเกินไปและปัญหานั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถาม และผู้ตอบ ในอีกแง่หนึ่งเป็นการสอนว่าท่านไม่ให้ความสนใจในอิทธิปาฏิหาริย์ พระอาจารย์คูณ (สัมภาษณ์) เล่าว่า อุบาสิกาท่านหนึ่งถามหลวงปู่ชาถึง วิธีการปฏิบัติสมาธิว่า หลวงพ่อปฏิบัติอย่างไร ท่านตอบว่า ก็ปฏิบัติอย่างที่โยมเห็นนี้แหละ โยมเห็นอย่างไร อาตมาก็ปฏิบัติเช่นนั้น