ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธปัจฉิมโอวาทสูตร  (อ่าน 3892 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เลดี้เบื๊อก

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 165
  • พลังกัลยาณมิตร 119
    • ดูรายละเอียด
พุทธปัจฉิมโอวาทสูตร
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 10:06:14 pm »

พุทธปัจฉิมโอวาทสูตร

   ๑. สูตรกถามุข
        สมเด็จพระศรีศากยะมุนีพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมธรรมจักรโปรดพระอัญญาโกณฑัญญะ และทรงแสดงปัจฉิมธรรมเทศนาโปรดพระสุภัทระ พระองค์ทรงพระมหากรุณาคุณต่อเวไนยนิกร ทรงโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายดังห้วงมหาสมุทรสาคร มากไม่มีประมาณ ขณะที่พระองค์ทรงประทับสีหไสยาอยู่ระหว่างโคนต้นสาละพฤษ์ทั้งคู่ ณ เมืองกุสินารานคร ทรงจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เวลานั้นแลเป็นกาลราตรีแห่งมัชฌิมยามปริวารมณฑลเงียบสงัดปราศจากสรรพเสียง สำเนียงใด ๆ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย พระองค์ทรงตรัสประทานสารธรรมที่สำคัญไว้ดั่งนี้
   
   ๒. เจริญศีล
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตปรินิพพานล่วงลับไปแล้ว เธอทั้งหลายพึงเคารพบูชาพระธรรมวินัย และประพฤติปฏิบัติตามในพระปาฏิโมกข์สังวร ซึ่งอุปมาดังอยู่ในท่ามกลางแห่งความมืดได้พบแสงสว่าง แหละประดุจดั่งผู้ยากไร้อนาถาได้ค้นพบรัตมณีอันล้ำค่าฉะนั้น พึงมนสิการธรรมและวินัยอันเราผู้ตถาคตได้แสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้ว จักเป็นองค์บรมศาสดาแห่งเธอทั้งหลาย เช่นเดียวกับเมื่อเราตถาคตยังดำรงชีพอยู่ผู้สมาทานรักษาวินัยถึงพร้อมด้วย มรรยาท และโคจรอันบริสุทธิ์สมบูรณ์ แล้วนั้นจะต้องงดเว้นจากการเลี้ยงชีพด้วยการค้าขายแลกเปลี่ยน เว้นจากการก่อสร้าง สะสมไร่นาที่ดินเคหะสถาน เว้นจากการรับเลี้ยงคนข้าทาสบริวารตลอดสัตว์เดรัจฉาน เว้นจากการปลูกพืชพันธุ์ธัญญาทุกชนิด และเว้นจากการสะสมทรัพย์สมบัติและสิ่งของพัสดุอันมีค่า มิจฉาอาชีวะเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งควรละให้ห่างไกล เสมือนกับการหลบหลีกจากขุมเพลิง ฉะนั้น และไม่ทำลายตัดโค่นพืชคามและภูตคาม ไม่ประกอบการทำไร่ไดนาบุกเบิกขุดที่ดิน ไม่ประกอบการปรุงเภสัชกรรม ไม่ประกอบการทำนายลักษณะดูโชคเคราะห์ ไม่ทำนายเหตุการณ์หรือทำนายดวงชะตาราศีดีร้าย ไม่ทำการคำนวณดูฤกษ์ดูยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ จงสำรวมในการบริโภค ดำรงชีวิตของตนให้บริสุทธิ์ และมักน้อยยินดีในความสันโดษไม่คลุกคลีมั่วสุมประกอบกิจการทางโลก ไม้รับอาสาเจรจาติดต่อ แลงดเว้นจากการเป็นหมอเวทมนต์คาถาอาคมปลุกเสกว่านยาอาถรรพณ์ เว้นจากการค้าสมาคมกับผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ไม่สนิทสนมชิดชอบกับผู้เย่อหยิ่งจองหอง บรรดาธรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ควรประพฤติปฏิบัติ เธอทั้งหลายพึงตั้งใจให้แน่วแน่ มีสติตั้งมั่นแสวงหาวิโมกข์ธรรมไม่แอบแฝงไว้ด้วยราคีมลทินข้อบกพร่องต่าง พร้อมใด ๆ ไม่แสดงอวดอุตตริมนุสธรรมต่อมหาชน เพื่อมุ่งหวังในจตุปัจจัยเครื่องอาศัย (จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ แลยารักษาโรค) จงรู้จักพอประมาณยินดีในสิ่งที่ตนได้รับ ศิลเป็นมูลรากฐานน้อมนำไปสู่วิมุตติ (ความหลุดพ้น) ฉะนั้นจึงเรียกข้อศิลนี้พระปาฏิโมกข์ เพราะเหตุอาศัยศิลนี้และ ฌาณสมาธิจึงบังเกิดตลอดจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงดับทุกข์ทั้งมวลด้วยปัญญา ด้วยเหตุนี้ และภิกษุทั้งหลายจงเจริญศิลให้บริบูรณ์ มีปรกติเห็นเป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย อย่าให้เกิดความขาดตกบกพร่องดังพร้อย หากบุคคลใดสามารถรักษาศิลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว พึงกำหนดรู้ว่าผู้นั้นและสามารถทรงไว้ซึ่งกุศลธรรม ถ้าปราศจากปาริสุทธิ์ศิลแล้วไซร์ บุญกุศลทั้งหลาย ก็จะหาบังเกิดมาไม่ ฉะนั้นพึงมนสิการไว้ว่า คุณสมบัติแห่งศิลนั้นเป็นอุปการะขั้นเอก ในการดำเนินซึ่งจะทรงบรรดาบุญกุศลไว้อย่างมั่นคงสถาพร
   
   ๓. ควบคุมจิตใจ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอสามารถรักษาวินัยได้โดยพร้อมมูลแล้ว ต่อไปพึงเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้งห้า (ตาหูจมูกลิ้นกาย) อย่าประมาทปล่อยใจให้ถูกชักนำไปตามอำนาจแห่งเบญจกามคุณ (รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส) อุปมาเหมือนกับบุรุษเลี้ยงโคถือไม้ปฎักคอยควบคุมดูแลฝูงโค มิปล่อยให้ฝูงโคไปเหยียบย่ำต้นข้าวอ่อนของชาวนา ฉะนั้น ถ้าหากปล่อยอินทรีย์ทั้งห้า โดยปราศจากการเหนี่ยวรั้งอารมณ์ มิเพียงแต่ตกอยู่ในห้วงกามคุณเท่านั้น หากจะตกเป็นทาสแห่งตัณหาและกิเลส อันปราศจากขอบเขต สุดที่จะควบคุมไว้ได้อีกด้วย ประดุจดังอาชาที่พยศมิได้ใช้บังเ:Pยนเหนี่ยวรั้งไว้ ย่อมจะพาผู้ที่นำไปตกสู่เหวลึกหรือเปรียบเสมือนถูกโจรปล้นสดมภ์ ก็เพียงแต่ทุกข์เศร้าโศกเสียใจเพียงชั่วชีวิตหนึ่งเท่านั้น แต่การถูกปล้นสดมภ์ทางอินทรีย์ทั้งห้านี้ จะก่อให้เกิดความทุกข์ระทมอย่างแสนสาหัสสืบเนื่องต่อกันตลอดหลายภพหลายชาติ เป็นมหาภัยหนักอย่างมหันต์ พึงต้องควบคุม ระวังไว้ให้ดี เพราะฉะนั้นแลบัณฑิตทั้งหลายต้องรู้จักสำรวมควบคุมอินทรีย์ มิให้ปล่อยไปตามอารมณ์แห่งความฟุ้งซ่าน คอยระมัดระวังเหมือนกับป้องกันโจรมิให้หลุดจากที่คุมขังจงควบคุมด้วยความไม่ ประมาท ถ้าหากปล่อยไปตามกระแสอารมณ์แห่งความฟุ้งซ่านแล้วไซร้ ในมิช้าก็จะถึงแก่ความหายนะอย่างใหญ่หลวง อินทรีย์ทั้งห้านี่แลมีใจเป็นใหญ่เพราะเหตุฉะนี้ เธอทั้งหลายพึงคอยสำรวมรักษาใจให้ดี หากใจที่ปราศจากการคุ้มครองปล่อยไปตามกระแสอารมณ์ เป็นสิ่งที่น่าหวาดหวั่นพรั่นพรึงยิ่งกว่าอสรพิษสัตว์ร้ายโจรภัยและน่ากลัว ยิ่งกว่ามหาอัคคีภัย ซึ่งอันจะนำมาเปรียบเทียบกับการปล่อยไปตามอารมณ์แห่งความฟุ้งซ่านนั้นมิได้ อุปมัยบุรุษผู้หนึ่งกำลังถือภาชนะน้ำผึ้งเร่งรีบเดินทางอย่างใจร้อน และมัวแต่คอยพะว้าพะวงในการประคองภาชนะน้ำผึ้ง หาได้แลเห็นภัย (เหวลึก) อยู่เบื้องหน้าไม่ หรือประดุจดังคชสารตกมันที่ปราศจากขอช้างอนึ่ง ดังค่างและวานรหลุดพ้นจากที่คุมไปพบต้นไม้ก็ผาดโผนกระโจนห้อยโหน เป็นการยากลำบากที่จะควบคุม ฉะนั้นจงรีบเร่งระวังอย่าประมาท การสูญเสียชีวิตจะดีกว่าที่จะปล่อยใจให้ตกเป็นทาสของกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นทาสทำลายจริยากุศลธรรม ถ้าสามารถควบคุมคุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลายก็จะเป็นผลนำความสำเร็จในธรรม ทั้งมวล ด้วยเหตุนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เธอจงหมั่นเพียรพยายามสำรวมรักษาใจให้ดีอย่าได้ถูกกามคุมชักนำไป
   
   ๔. รู้จักประมาณในโภชนะ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธานั้น พึงถือเสมือนฉันเภสัช ปราศจากความยินดียินร้ายในรสอาหารไม่ว่าดีหรือเลว แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้เพื่อให้ชีวิตเป็นไป กำจัดเวทนาความหิวกระหายเสีย อุปมาภุมรินตอมบุบผาเพียงแต่ลิ้มรสแห่งบุบผาเท่านั้น โดยไม่ได้ทำลายกลิ่นหอมและรูปของบุบผาภิกษุก็เช่นเดียวกัน รับโภชนาที่ผู้ถวายด้วยศรัทธา ฉันเพื่อขจัดความทุกข์เกิดจากเวทนา และพึงรู้จักประมาณอย่างเป็นผู้มักมาก อันจะเป็นหนทางทำลายและถูกติเตียนจากทายก ผู้มีจิตศรัทธาจงประพฤติอย่างบัณฑิตผู้ฉลาด สามารถรู้จักประมาณกำลังแห่งโค จะทานน้ำหนักได้กี่มากน้อย และมิให้บรรทุกน้ำหนักมากเกินกำลังของโคฉะนั้น
   
   ๕. ละความง่วงเหงาหาวนอน
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยามทิวากาลก็ควรปฏิบัติอบรมจิตใจให้ตั้งมั่น ประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ตอนปฐมยามก็ดี ก็อย่าให้ผ่านพ้นล่วงไปโดยปราศจากการเจริญธรรมครั้นมัชฌิมยามจงสาธยายพระ สูตรต่าง ๆ และสำเร็จการนอนอย่างสีหไสยาสน์ (ตะแคงขวาเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น) จงอย่าเห็นแก่การหลับนอน อันเป็นเหตุให้ชีวิตผ่านพ้นไปโดยไร้ประโยชน์ แลหาแก่นสารอันใดในชีวิตมิได้ พึงพิจารณาเพลิงแห่งความไม่เที่ยง กำลังลุกไหม้เผาผลาญโลกอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นจงบำเพ็ญประโยชน์ของตนให้พ้นจากอาวรณิยธรรม ปราศจากความเห็นแก่การหลับนอน บรรดาโจรคือมารกิเลสทั้งหลาย คอยจ้องท่ารอสังหารมนุษย์ชาติอยู่ตลอดกาลร้ายยิ่งกว่าศัตรูคู่อาฆาตเสียอีก เธอจะหลับโดยไม่ระแวงและหวาดสะดุ้งเสียมิได้ จงเตือนให้ละความสุขในการหลับ เพราะอสรพิษ (มารกิเลส) เหล่านั้นกำลังนอนอยู่ในห้องหัวใจของเธอ หรืออุปมาดังอสรพิษร้ายหลับอยู่ในห้องนอนของเธอ จงใช้การเจริญศิลประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องตื่นเป็นอาวุธรีบเร่งขจัดทำลาย อสรพิษร้าย ซึ่งหลับอยู่ให้ออกเสีย แล้วเธอจะหลับได้อย่างเป็นสุข หากเธอหลับโดยไม้ได้ขจัดมารกิเลสให้ออกจากห้วงจิตใจเสียก่อน ก็ได้เชื่อว่าเป็นผู้หาความละอายแก่ใจมิได้ ความรู้สึกละอายใจ เป็นอลังการเครื่องตกแต่งที่เสริฐสุด ในเบื่องต้นแห่งบรรดาจริยาธรรมทั้งหลายผู้มีหิริจิตเปรียบเสมือนขอเหล็ก สามารถระงับมนุษย์มิให้ประพฤติล่วงเกินอกุศลธรรม เพระเหตุฉะนี้แล ภิกษุพึงมีคุณธรรมคือความละอายใจ ต่อบาปประจำจิตอยู่เสมออย่าให้เสื่อมคลาย หากขาดจากคุณธรรมคือความละอาย เสียแล้วไซร้ก็จะสูญสิ้นจากบรรดาบุญกุศลธรรมทั้งปวง ผู้มีความละอายต่อบาป ย่อมมีความแจ่มแจ้งในกองกุศลทั้งหลาย หากผู่ที่ปราศจากความละอายต่อบาป ผู้นั้นมีลักษณะมิแตกต่างกับหมู่สัตว์เดรัจฉานฉะนั้น
   
   ๖. ละเว้นความผูกพยาบาท

        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากมีผู้มาตัดหั่นสรีระของเธอออกเป็นส่วน ๆ ก็พึงสำรวมใจของตน อย่าให้บังเกิดความโกรธแค้นอาฆาต และพึงสำรวมวาจาอย่าได้ กล่าวคำอาฆาตพยาบาท ถ้าปล่อยจิตใจให้เกิดความโกรธแค้นพยาบาท ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญธรรมของเธอ สูญเสียคุณประโยชน์ในกุศล ขันตินั่นแลเป็นคุณธรรมอันประเสริฐสุด การรักษาศิลบำเพ็ญธรรมก็ดี ยังมิอาจสามารถนำมาเทียบเท่ากับผู้บำเพ็ญคุณแห่งขันติธรรมได้ ผู้ทรงคุณขันติธรรมมีนามว่าเป็นมหาบุรุษผู้ทรงพลังมหิทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ บุคคลผู้ที่ไม่สามารถอดทนต่อคำกล่าวร้ายนินทาใด ๆ ถึงแม้ว่ได้ดื่มน้ำอมฤตอันศักดิ์สิทธิแล้วไซร้ก็หาได้เชื่อว่าเป็นผู้บรรลุ ปัญญาเข้าแก่นแห่งคุณธรรมไม่ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไฉนฤาเพราะโทษแห่งการผูกพยาบาท เป็นการทำลายรากเหง้าแห่งกุศลธรรมทั้งมวล มีชื่อเสียงกิตกิคุณเลื่องลือปรากฏในทางชั่วเป็นผู้ทำลายมูลฐานความดีงาม ทั้งภพนี้และภพหน้าหามีบุคคลใด ที่อยากจะคบค้าสมาคมด้วย พึงสำเนียกไว้เถิด ความมีจิตโกรธแค้นผูกพยาบาทร้ายมหันต์ยิ่งกว่าขุมเพลิงที่กำลังลุกโชติช่วง ฉะนั้นพึงระมัดระวังไว้ด้วยสติ อย่าปล่อยให้บังเกิดขึ้นแก่จิตบรรดาโจรที่ปล้นสะดมกุศลธรรมนั้น ไม้มีโจรประเภทใดร้ายกาจยิ่งกว่าความผูกพยาบาทเครียดแค้น คฤหัสถ์ผู้ข้องอยู่ในกาม มิใช่ผู้ออกประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีธรรมวินัยควบคุมตนเอง ย่อมมิพ้นจากความโกรธซึ่งสมควรอย่างยิ่งต่อการอภัยแต่ผู้เสียสละเรือนปฏิญาณ ตนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้หากามคุณมิได้ หากจิตยังบังเกิดความผูกโกรธพยาบาท เป็นการมิสมควรอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนท่ามกลางนภากาศ อันสดใสปลอดโปร่งเยือกเย็น บัดดลปรากฏบังเกิดอสุนิบาตฟาดเปรี้ยงแล้วเกิดไฟลุกโชติขึ้น ซึ่งไม่เป็นการบังควรเลย
   
   ๗. ละเว้นความมานะทิฎฐิ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงลูบคำศีรษะของตนเอง ซึ่งเราเป็นผู้ละทิ้งเครื่องประดับอันวิจิตรของปุถุชนเสียได้แล้ว มานุ่งห่มจีวรครองผ้ากาสายะย้อมฝาด อุ้มบาตรถือภิกขาจารเลี้ยงชีพ ควรพิจารณาเห็นตนปานฉะนี้แล เมื่อเกิดความคิดในทางมานะทิฎฐิขึ้น พึงรีบขจัดออกจากจิตใจเสียให้สิ้น ความกำเริบเติบใหญ่ของมานะทิฎฐิในตนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมควรแม้แต่ฆราวาส ผู้ครองเรือน นับประสากล่าวอะไรกับผู้สละเรือน ออกบำเพ็ญธรรมรักษาพรหมจรรย์ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น และเป็นผู้ชำระมานะทิฏฐิออกจากตน ยอมจำนนดำรงชีวิตอยู่ด้วยการภิกขาจารเล่า
   
   ๘. ละเว้นความมายาคดเคี้ยว
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตใจที่ชอบประกอบมายาประจบประแจงผู้อื่นนั้น เป็นการขัดต่ออริยธรรมสัจจธรรม ด้วยเหตุฉะนี้แล ควรตั้งจิตใจให้แน่วแน่ซื่อตรงสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย พึงกำหนดรู้จิตที่เต็มไปด้วยมายาประจบคดเคี้ยว เพียงแต่เป็นมายาเครื่องหลอกลวงเท่านั้น ผู้มีปัญญาตั้งอยู่ในทิฏฐิธรรม ละความยินดียินร้ายในอกุศลธรรมเหล่านั้นด้วยเหตุนี้แล เป็นเหตุผลที่เธอทั้งหลายควรยังจิตใจสงบเสงี่ยมปราศจากอภิชฌาใด ๆ โดยใช้ความซื่อสัตย์เที่ยงตรงของจิตเป็นสมุฏฐาน
   
   ๙. มักน้อยในตัณหา
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงกำหนดรู้ไว้เถิดว่า ผู้ที่มักมากไปด้วย (ตัณหา) เป็นเหตุให้เกิดความทะเยอทะยานไปด้วยการขวนขวายหาผลประโยชน์ ดังนั้นความทุกข์โศกก็ทวีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่วนที่มักน้อยในตัณหานั้น ละความทะเยอทะยานในความอยากปราศจากซึ่งกามคุณ จึงเป็นเหตุไม่ต้องประสพกับความทุกข์ลำบากดังกล่าว ฉะนั้นจงกำจัดความยากในตัณหาให้ลดน้อยลงด้วยการฝึกหัดปฏิบัติธรรม เพระเหตุไฉนฤๅ การมักน้อยในตัณหาเป็นเหตุบังเกิดบรรดาบุญกุศลทั้งหลาย เพราะผู้มักน้อยในความยาก ละความประจบประแจงมายา เพื่อให้ผู้อื่นหลงชอบตน มีแต่ความสำรวมในอินทรีย์มิให้ถูกตัณหาชักนำไปและผู้ปฏิบัติเพื่อความมัก น้อยสันโดษ จิตย่อมปราศจากกระวนกระวายในความยากหาความทุกข์โศกหวาดหวั่นมิได้ ดำรงชีวิตอยู่ในความสันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ และผู้มักน้อยยินดีในความสันโดษนั้น ย่อมบรรลุถึงนิพพาน (ความสุขที่ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า) นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "มักน้อยในตัณหา"
   
   ๑๐. รู้จักพอประมาณ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์และปวงกิเลสทั้งหลายพึงเพ่งพิจารณาความรู้จัก พอประมาณ ธรรมแห่งความรู้จักพอประมาณ เป็นมูลฐานแห่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นรากฐานของความสุข ผู้รู้จักประมาณ ถึงแม้จะหลับอยู่กลางดินก็หลับอย่างเป็นสุข ผู้ไม่รู้จักประมาณในความพอ ถึงแม้จะหลับอยู่กลางดินก็หลับอย่างเป็นสุข ผู้ไม่รู้จักประมาณในความพอ ถึงแม้สถิตอยู่บนทิพย์อาสน์ ก็ยังคงไม่พอแก่ใจนั่นเอง และผู้มิรู้จักพอประมาณ ถึงแม้จะมั่งคั่งก็เสมือนผู้ยากจน ส่วนผู้รู้จักพอประมาณนั้น ถึงแม้จะยากจนก็เสมือนผู้มั่งคั่ง เพราะผู้ที่ไม่รูจักพอประมาณ ย่อมถูกกามคุณทั้งห้าชักนำไป ซึ่งเป็นที่น่าสงสารสังเวชใจแก่ผู้ที่รู้จักความพอประมาณอย่างยิ่ง นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "รู้จักพอประมาณ"
   

ออฟไลน์ เลดี้เบื๊อก

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 165
  • พลังกัลยาณมิตร 119
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธปัจฉิมโอวาทสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 10:07:23 pm »
   ๑๑. ห่างไกล
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากปรารถนาที่จะแสวงหาวิเวกความสงบสุขแห่งอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง) จงหลีกเลี่ยงห่างไกลจากการวุ่นวายและความสุขทางโลกพำนักอยู่แต่ผู้เดียวโดย ลำพัง ผู้ที่เจริญธรรมทางสงบ ย่อมเป็นที่เคารพสักการบูชาของท้าวสักกเทวราชและหมู่เทพยดาทั้งปวง เพระเหตุฉะนี้แล เธอจงละจากระคนกับหมู่คณะของตนละผู้อื่น แสวงหาและเสพเสนะสนะอันสงัด ดำริพิจารณาธรรม สมุฎฐานแห่งความดับทุกข์ หากยังหลงเพลิดเพลินระคนอยู่ในหมู่คณะ ก็ต้องรับความทุกข์ระทมในหมู่คณะ เช่นเดียวกัน อุปมาดังพฤกษาชาติอันสูงใหญ่ มีเหล่าปักษิณบินมารวมชุมชนกิ่งก้านย่อมจะต้องอับเฉาและหักไปฉะนั้น ผู้ที่ถูกโลกียธรรมครอบงำ ย่อมจะจมอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์นานาประการ เสมือนกับคชสารชรา ตกหล่มจมอยู่ในหล่ม ไม่สามารถที่จะถอนตัวออกจากหล่มได้ฉะนั้น นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "ห่างไกล"
   
   ๑๒. วิริยะภาพ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรมานะพยายามโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคนั้นย่อมกระทำกิจสำเร็จลุล่วง โดยหาความยากลำบากมิได้ และไม่มีสิ่งใด ๆ เป็นความยากลำบากในการกระทำ ฉะนั้นเธอทั้งหลาย พึงรีบเร่งทำความเพียรประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้แจ้งแห่งปัญญา อุปมาเหมือนหยดน้ำน้อย ๆ ที่หยดอยู่เสมอ โดยไม่ขาดระยะย่อมสามารถเจาะทะลุศิลาอันกล้าแข็งเป็นทางไปได้ฉะนั้น หากจิตของเธอผู้ประพฤติพรหมจรรย์เต็มไปด้วยความเกียจคร้านไม่ปฏิบัติตามพระ วินัยปล่อยปละละเลย ก็เปรียบเสมือนกับบุคคลที่พยายามสีไม้เพื่อให้เกิดไฟ แต่สีไม้ยังไม่ทันร้อนก็เลิกเสียกลางคันฉะนั้น ถึงแม้มีความอยากจะได้ไฟปานใด ไฟนั้นก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "วิริยะภาพ"
   
   ๑๓. ความไม่ลืมสติ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาความรอบรู้แห่งกองกุศล และการแสวงหาทางพิทักษ์อุปถัมภ์แห่งกุศลนั้น ไม่มีสิ่งใดประเสริฐดีเท่ากับการไม่ลืมสติ หากมีสติสัมปชัญญะควบคุมโดยตลอด บรรดาเหล่ากิเลสมารทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถเข้าไปในจิตของเธอได้ ฉะนั้นเธอทั้งหลาย พึงมนสิการสำรวมสติไว้เป็นเนืองนิตย์เถิดถ้าขาดจากการควบคุมสติสัมปชัญญะ แล้วไซร้ ก็จักเป็นเหตุขาดจากกุศลธรรมทั้งมวล หากว่ามีพละสติอันแข็งแกร่งมั่นคง ถึงแม้จะย่างเข้าไปอยู่ในท่ามกลางโจรแห่งเบญจกามคุณ กิเลสกามเหล่านั้นก็หาทำอันตรายได้ไม่ซึ่งอุปมาเหมือนกับผู้สวมเกราะป้องกัน ศัตราเข้าสู่รณณรค์ในสงคราม ย่อมปราศจากความหวาดหวั่นพรั่นพรึงฉะนั้นนี่แลเป็นความหมายแห่งนาม"ความไม่ ลืมสติ
   
   ๑๔. สมาธิ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากผู้ใดสำรวมรักษาจิตให้ตั้งมั่น จิตก็จะดำรงอยู่ในสภาวะของสมาธิ เมื่อจิตดำรงอยู่ในสภาวะของสมาธิ เมื่อจิตดำรงอยู่ในสภาวะสมาธิที่มั่นคงแล้ว ย่อมสามารถรู้แจ้งธรรม ลักษณะแห่งการเกิดและการดับของโลกอันเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ถาวรได้ เพราะเหตุฉะนี้ แลเธอทั้งหลายพึงวิริยะอุตสาหะเพียรเจริญให้บรรดาสมาธิเกิด เมื่อบรรลุถึงภาวะแห่งสมาธิแล้ว จิตก็จะไม่ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ เปรียบเสมือนครอบครัวที่ ทนุถนอมน้ำ สร้างเขื่อนทำป้องกันรักษาสระน้ำไว้อย่างดี ผู้บำเพ็ญพรตก็เช่นเดียวกัน ปัญญาเปรียบเหมือนน้ำ เขื่อนทำนบอุปมาดังฌานสมาธิที่ตนบำเพ็ญ เพื่อป้องกันมิให้น้ำ (ปัญญา) นั้นรั่วไหลหายสูญไป นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "สมาธิ"
   
   ๑๕. ปัญญา
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากมีปัญญาญาณรู้แจ้งตามสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็จะไม่ถูกความโลภครอบงำ จงสำรวจตนเองและเจริญธรรมอยู่เป็นนิจ เพื่อป้องกันมิให้สูญเสียซึ่งธรรมนั้นไป นี่แลเป็นธรรมของตถาคตที่ได้ประกาศแล้ว สามารถยังความหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร หากเธอทั้งหลายไม่ปฏิบัติเช่นนี้ เธอก็มิใช่ผู้บำเพ็ญธรรมและก็ไม่ใช่คฤหัสถ์อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่อาจสรรหานามอะไรมาเรียกจึงจะเหมาะสม ปัญญารู้แจ้งอันแท้จริงเป็นมหาประทีบอันรุ่งโรจน์ที่ขจัดความมืดมนคือ อวิชชา เป็นยาอันประเสริฐแก้สรรพโรคาทั้งมวล เป็นขวานอันคมกริบสำหรับโค่นรากเหง้าต้นไม้คือกิเลส เพราะเหตุฉะนี้แลเธอทั้งหลายพึงนำเอาการสดับฟังมาดำริบำเพ็ญอบรมปัญญา อันจะเพิ่มพูนประโยชน์แก่ตนเอง หากผู้ใดมีปัญญารู้แจ้งแทง ตลอดอริยสัจจธรรม ถึงแม้ผูนั้นจะเป็นเพียงมังสะจักขุก็มีปัญญารู้แจ้งตามสภาวะความเป็นจริงของ สรรพสัตว์โลกได้ นี่แลเป็นความหมายแห่นาม"ปัญญา"
   
   ๑๖. ไม่พูจาหยอกล้อ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาหยอกล้อเล่นหัวอันไม่เป็นแก่นสารในเรื่องต่าง ๆ นั้นย่อมทำให้จิตใจเต็มไปด้วยความคิดเศร้าหมองยุ่งเหยิง ถึงแม้ว่าได้สละเรือนออกบรรพชาแล้วก็ตาม ก็ยังหาได้บรรลุถึงความหลุดพ้นไม่ เพราะเหตุฉะนี้แลภิกษุทั้งหลาย พึงรีบเร่งละทิ้งให้ห่างไกลจากความคิดฟุ้งซ่าน และการพูดจาหยอกล้ออันเปล่าประโยชน์ ถ้าเธอปรารถนาที่จะบรรลุความสงบสุขแห่งพระนิพพานแล้วไซร้ จงพึงขจัดความไม่ดีแห่งการกล่าววาจาหยอกล้อเล่นหัวไม่เป็นแก่นสารเสีย นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "ไม่พูดจาหยอกล้อ"
   
   ๑๗. ข้อความเพียรของคนให้ถึงพร้อม
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การประกอบบรรดาบุญกุศลทั้งหลาย จะต้องตั้งใจเป็นหนึ่งเป็นมูลฐาน และละเสียจากความเลินเล่อประมาททั้งมวล อุปมาเหมือนกับหลีกหนีห่างไกลจากโจรอำมหิตฉะนั้น อันพระตถาคตเจ้าทั้งหลายผู้ทรงพระกรุณาธิคุณได้ตรัสสอนเพื่อเกื้อกูลคุณานุ ประโยชน์ แก่บรรดาสรรพสัตว์ล้วนถึงที่สุดแห่งแก่นแล้ว เธอทั้งหลายพึงหมั่นมานะพากเพียรปฏิบัติและรักษาอนุศาสน์นี้ ไม่ว่าจะอยู่ตามภูเขาก็ดี อยู่ตามห้วยลำธารก็ดี อยู่ตามโคนต้นไม้ทั้งหลายก็ดี อยู่ตามเรือนสถานที่ว่างเปล่าก็ดี จงพิจารณาธรรมคำสั่งสอนที่ได้รับไว้อย่าให้หลงลืมและปล่อยเวลาล่วงไปโดยไร้ ประโยชน์ พึงตั้งสติยังจิตให้แน่วแน่เพียรประพฤติธรรมเป็นเนืองนิจ อย่าให้ชีวิตต้องสิ้นไปโดยเปล่า ประโยชน์อันจะเป็นผลแห่งการเสียใจในภายหลัง ตถาคตเสมือนกับนายแพทย์ผู้สามารถรู้จักสมุฏฐานของโรคและรู้จักใช้ยาที่ถูก กับโรค แต่คนไข้จะยอมรับประทานยาหรือไม่นั้น มิใช่ความผิดของนายแพทย์ หรือเปรียบเสมือนผู้แนะนำในทางที่ดีให้ ซึ่งได้ชี้หนทางที่ดีที่สุด หากผู้ได้ดับฟังไม่ประพฤติปฏิบัติเดินตามทางที่แนะนำนั้น ก็หาใช่เป็นความผิดของผู้แนะนำหนทางไม่
   
   ๑๘. ตัดสินข้อกังขา
        ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากยังมีความสงสัยเคลือบแคลงในอริยสัจสี่ อันมีทุกข์สัจเป็นต้น ท่านทั้งหลายจงสอบถามเสียเถิด อย่าปล่อยความสงสัยดังกล่าวไว้โดยไม่แก้ไขให้กระจ่าง อันเป็นเหตุให้เดือนร้อนภายหลัง สมัยนั้นแล สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปวารณาถึง ๓ วาระ แต่กระนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดทูลถาม ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไฉนฤๅ! เพราะเหตุท่ามกลางพุทธบริษัทปราศจากความเคลือบแคลงในธรรมวินัยสมัยนั้นพระ อนุรุทธเถระเจ้า ได้เพ่งพิจารณาเห็นจิตใจบรรดาเหล่าบริษัทปราศจากความกังขาในพระรัตนตรัย จึงกราบทูลพระองค์ด้วยความเคารพว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค" แม้จันทราจะกลับกลายเป็นร้อน ดวงสุริยาจะกลับกลายเป็นเย็น แต่อริยสัจที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้นั้นมิอาจที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงกลับกลาย ได้ อริยสัจสี่ที่พระพุทะองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับทุกข์สัจ ย่อมเป็นความทุกข์อย่างแท้จริง มิอาจกลับกลายให้เป็นสุขได้ สมุทัยเป็นเหตุนอกเหนือจากสมุทัยสัจจ์ แล้วก็ไม่มีธรรมอื่นใดเป็นเหตุ หากทุกข์จะดับก็เพราะสมุทัยดับ (เหตุดับ) เนื่องด้วยสมุทัยดับ ผลก็ย่อมดับลง อริยมรรคอันเป็นหนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ย่อมเป็นมรรควิถีอย่างประเสริฐ แท้จริง นอกจากอริยมรรคแล้วก็ไม่มีมรรคอื่นใดยิ่งกว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ" ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ล้วนหมดความเคลือบแคลงสงสัยในพระอริยสัจธรรมแล้วพระเจ้าข้า
   
   ๑๙. สัตว์โลกได้รับการโปรด

        ณ ท่ามกลางพุทธบริษัท ผู้ยังไม่จบกิจการศึกษาเป็นพระเสขะบุคคลอยู่ เมื่อรู้ว่าพระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ย่อมต้องมีความทุกข์โทมมนัสโศกาดูร หากมีผู้เริ่มเข้ามาศึกษาพระธรรมแต่แรก และได้สดับพระพุทธดำรัสแล้ว ย่อมได้รับการโปรดจากพระพุทธองค์ อุปมาดั่งยามราตรี ประกายแห่งแสงฟ้าทำให้สว่างไสวเห็นมรรคาสถานต่าง ๆ และผู้ที่จบการศึกษาเป็นพระอเสขะบุคคล (พระอรหันต์) ข้ามพ้นแล้วซึ่งทะเลแห่งความทุกข์ ย่อมมีความดำริแก่ตนเองว่า สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าทรงเสด็จเข้สู่พระปรินิพพาน ถึงแม้พระอนุรุทเถระเจ้าได้กราบทูลแล้ว เช่นนี้ และในท่ามกลางพุทธบริษัทต่างเข้าใจอรรถแห่งอริยสัจสี่อย่างแจ่มแจ้งแล้วทั้ง นั้น สมเด็จพระบรมศาสดายังปรารถนาที่จะได้เหล่าพุทธบริษัทได้รับความมั่งคงในธรรม ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ พระองค์ทรงตรัสเพื่อเกื้อกูล เพื่อประโยชน์แก่เหล่าบริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! "อย่าทุกข์คร่ำครวญโศกาดูรเลย แม้ตถาคตดำรงอยู่ในโลกนี้อีกสักกัลป์หนึ่งก็ดี การอยู่ร่วมกันระหว่างคถคคตและเธอทั้งหลายก็ย่อมมีการสิ้นสลายดับไปเป็น ธรรมดา การอยู่ร่วมกันโดยปราศจากพลัดพรากจากกันนั้น ย่อมเป็นไปมิได้ ฉะนั้น จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อม พระสัจจ์ธรรมก็ได้แสดงไว้สมบูรณ์แล้ว แม้ตถาคตดำรงพระชนม์ชีพต่อไปก็หาประโยชน์อันใดมิได้ ผู้ที่ได้รับการโปรดจากเราตถาคตนั้น จะเป็นปวงเทพยดามนุษย์ทั้งหลายก็ดี ย่อมได้รับการโปรดตามอุปนิสัย ตามปัจจัยและบารมีเป็นลำดับไป
   
   ๒๐. พระธรรมกายดำรงอยู่เสมอ
        นับต่อแต่นี้ไป เธอทั้งหลาย จงจาริกเผยแผ่พระสัจธรรมให้แพร่หลายไพศาล ทั้งนี้เป็นการไว้ซึ่งพระธรรมกายแห่งตถาคต ให้ดำรงอยู่ชั่วนิรันดรโดยมิให้ดับสูญไปฉะนั้นเธอทั้งหลาย พึงกำหนดให้รู้ว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะจีรังยั่งยืนถาวร ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยง มีการร่วมกันย่อมมีการพลัดพรากจากกัน จงอย่ามีความเศร้าโศกใด ๆ (ในการจากไปของตถาคต) สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นธรรมลักษณะของโลกไม่มีผู้ใดหลีกพ้นได้ เธอทั้งหลายพึงวิริยะพากเพียรบากบั่น เพื่อแสวงหาวิมุตติสุข (ความหลุดพ้น) ไว้แต่เนิ่นๆ จงใช้ความรู้แจ้งแห่งปัญญา ทำลายความมืดคือวิชชาทั้งหมดให้สิ้นไป อันที่จริงโลกนี้ประกอบด้วยภัยน่าสะพรึงกลัว มีแต่ความเสื่อมสลายหาสิ่งใดเป็นแก่นสารมิได้ การที่ตถาคตดับขันธปรินิพพานนี้ เปรียบเสมือนพ้นจากโรคาพาธอันร้ายกาจน่ากลัว ซึ่งตถาคตได้ทำลายขจัดเสียสิ้นเชิงแล้ว
   สิ่งที่เป็นอกุศลชั่วร้ายทั้ง หลาย (หมายถึงกาย) สักแต่มีนามว่ากายเป็นสิ่งที่ต้องจมอยู่ในห้วงมหาสมุทรอันยิ่งใหญ่แห่ง ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไม่มีนรชนใดที่จะไม่ยินดี ในโอกาสที่จะขจัดธรรมเหล่านี้ให้สิ้นไป เปรียบเหมือนได้ประหารโจรใจอำมหิตฉะนั้น
   
   ๒๑. สรุปความ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! พึงตั้งใจดำรงความเป็นเอกะแห่งจิต เพียรแสวงหาวิโมกขธรรม (ความพ้นจากวัฏฏสงสาร) สังขารธรรมทั้งหลายในโลก ไม่ว่าไม่ว่าจะเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรมก็ดี (ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ล้วนแต่มีความเสื่อมสูญ หาความเที่ยงแท้แห่งลักษณะมิได้ เธอทั้งหลายนี้เกือบจะถึงกาลเวลาที่สิ้นสุดแห่งเราแล้ว เธอจะไม่ได้ฟังคำพร่ำสอนจากตถาคตอีกต่อไป วาระสุดท้ายแห่งกาลเวลาถึงแล้วตถาจะดับขันธปรินิพพาน ธรรมเหล่านี้แลเป็นปัจฉิมโอวาทของตถาคต

ที่มา
www.buddhayan.com
(พระอาจารย์วิศวภัทรแปลจากพระไตรปิฏกมหายาน)
http://www.buddhakhun.org
   
กราบบูชาพระคุณพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
ขออานิสงค์อุทิศผลบุญกุศลทั้งหมดแด่พี่กบค่ะ