๑๑. ห่างไกล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากปรารถนาที่จะแสวงหาวิเวกความสงบสุขแห่งอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง) จงหลีกเลี่ยงห่างไกลจากการวุ่นวายและความสุขทางโลกพำนักอยู่แต่ผู้เดียวโดย ลำพัง ผู้ที่เจริญธรรมทางสงบ ย่อมเป็นที่เคารพสักการบูชาของท้าวสักกเทวราชและหมู่เทพยดาทั้งปวง เพระเหตุฉะนี้แล เธอจงละจากระคนกับหมู่คณะของตนละผู้อื่น แสวงหาและเสพเสนะสนะอันสงัด ดำริพิจารณาธรรม สมุฎฐานแห่งความดับทุกข์ หากยังหลงเพลิดเพลินระคนอยู่ในหมู่คณะ ก็ต้องรับความทุกข์ระทมในหมู่คณะ เช่นเดียวกัน อุปมาดังพฤกษาชาติอันสูงใหญ่ มีเหล่าปักษิณบินมารวมชุมชนกิ่งก้านย่อมจะต้องอับเฉาและหักไปฉะนั้น ผู้ที่ถูกโลกียธรรมครอบงำ ย่อมจะจมอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์นานาประการ เสมือนกับคชสารชรา ตกหล่มจมอยู่ในหล่ม ไม่สามารถที่จะถอนตัวออกจากหล่มได้ฉะนั้น นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "ห่างไกล"
๑๒. วิริยะภาพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรมานะพยายามโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคนั้นย่อมกระทำกิจสำเร็จลุล่วง โดยหาความยากลำบากมิได้ และไม่มีสิ่งใด ๆ เป็นความยากลำบากในการกระทำ ฉะนั้นเธอทั้งหลาย พึงรีบเร่งทำความเพียรประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้แจ้งแห่งปัญญา อุปมาเหมือนหยดน้ำน้อย ๆ ที่หยดอยู่เสมอ โดยไม่ขาดระยะย่อมสามารถเจาะทะลุศิลาอันกล้าแข็งเป็นทางไปได้ฉะนั้น หากจิตของเธอผู้ประพฤติพรหมจรรย์เต็มไปด้วยความเกียจคร้านไม่ปฏิบัติตามพระ วินัยปล่อยปละละเลย ก็เปรียบเสมือนกับบุคคลที่พยายามสีไม้เพื่อให้เกิดไฟ แต่สีไม้ยังไม่ทันร้อนก็เลิกเสียกลางคันฉะนั้น ถึงแม้มีความอยากจะได้ไฟปานใด ไฟนั้นก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "วิริยะภาพ"
๑๓. ความไม่ลืมสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาความรอบรู้แห่งกองกุศล และการแสวงหาทางพิทักษ์อุปถัมภ์แห่งกุศลนั้น ไม่มีสิ่งใดประเสริฐดีเท่ากับการไม่ลืมสติ หากมีสติสัมปชัญญะควบคุมโดยตลอด บรรดาเหล่ากิเลสมารทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถเข้าไปในจิตของเธอได้ ฉะนั้นเธอทั้งหลาย พึงมนสิการสำรวมสติไว้เป็นเนืองนิตย์เถิดถ้าขาดจากการควบคุมสติสัมปชัญญะ แล้วไซร้ ก็จักเป็นเหตุขาดจากกุศลธรรมทั้งมวล หากว่ามีพละสติอันแข็งแกร่งมั่นคง ถึงแม้จะย่างเข้าไปอยู่ในท่ามกลางโจรแห่งเบญจกามคุณ กิเลสกามเหล่านั้นก็หาทำอันตรายได้ไม่ซึ่งอุปมาเหมือนกับผู้สวมเกราะป้องกัน ศัตราเข้าสู่รณณรค์ในสงคราม ย่อมปราศจากความหวาดหวั่นพรั่นพรึงฉะนั้นนี่แลเป็นความหมายแห่งนาม"ความไม่ ลืมสติ
๑๔. สมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากผู้ใดสำรวมรักษาจิตให้ตั้งมั่น จิตก็จะดำรงอยู่ในสภาวะของสมาธิ เมื่อจิตดำรงอยู่ในสภาวะของสมาธิ เมื่อจิตดำรงอยู่ในสภาวะสมาธิที่มั่นคงแล้ว ย่อมสามารถรู้แจ้งธรรม ลักษณะแห่งการเกิดและการดับของโลกอันเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ถาวรได้ เพราะเหตุฉะนี้ แลเธอทั้งหลายพึงวิริยะอุตสาหะเพียรเจริญให้บรรดาสมาธิเกิด เมื่อบรรลุถึงภาวะแห่งสมาธิแล้ว จิตก็จะไม่ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ เปรียบเสมือนครอบครัวที่ ทนุถนอมน้ำ สร้างเขื่อนทำป้องกันรักษาสระน้ำไว้อย่างดี ผู้บำเพ็ญพรตก็เช่นเดียวกัน ปัญญาเปรียบเหมือนน้ำ เขื่อนทำนบอุปมาดังฌานสมาธิที่ตนบำเพ็ญ เพื่อป้องกันมิให้น้ำ (ปัญญา) นั้นรั่วไหลหายสูญไป นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "สมาธิ"
๑๕. ปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากมีปัญญาญาณรู้แจ้งตามสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็จะไม่ถูกความโลภครอบงำ จงสำรวจตนเองและเจริญธรรมอยู่เป็นนิจ เพื่อป้องกันมิให้สูญเสียซึ่งธรรมนั้นไป นี่แลเป็นธรรมของตถาคตที่ได้ประกาศแล้ว สามารถยังความหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร หากเธอทั้งหลายไม่ปฏิบัติเช่นนี้ เธอก็มิใช่ผู้บำเพ็ญธรรมและก็ไม่ใช่คฤหัสถ์อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่อาจสรรหานามอะไรมาเรียกจึงจะเหมาะสม ปัญญารู้แจ้งอันแท้จริงเป็นมหาประทีบอันรุ่งโรจน์ที่ขจัดความมืดมนคือ อวิชชา เป็นยาอันประเสริฐแก้สรรพโรคาทั้งมวล เป็นขวานอันคมกริบสำหรับโค่นรากเหง้าต้นไม้คือกิเลส เพราะเหตุฉะนี้แลเธอทั้งหลายพึงนำเอาการสดับฟังมาดำริบำเพ็ญอบรมปัญญา อันจะเพิ่มพูนประโยชน์แก่ตนเอง หากผู้ใดมีปัญญารู้แจ้งแทง ตลอดอริยสัจจธรรม ถึงแม้ผูนั้นจะเป็นเพียงมังสะจักขุก็มีปัญญารู้แจ้งตามสภาวะความเป็นจริงของ สรรพสัตว์โลกได้ นี่แลเป็นความหมายแห่นาม"ปัญญา"
๑๖. ไม่พูจาหยอกล้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาหยอกล้อเล่นหัวอันไม่เป็นแก่นสารในเรื่องต่าง ๆ นั้นย่อมทำให้จิตใจเต็มไปด้วยความคิดเศร้าหมองยุ่งเหยิง ถึงแม้ว่าได้สละเรือนออกบรรพชาแล้วก็ตาม ก็ยังหาได้บรรลุถึงความหลุดพ้นไม่ เพราะเหตุฉะนี้แลภิกษุทั้งหลาย พึงรีบเร่งละทิ้งให้ห่างไกลจากความคิดฟุ้งซ่าน และการพูดจาหยอกล้ออันเปล่าประโยชน์ ถ้าเธอปรารถนาที่จะบรรลุความสงบสุขแห่งพระนิพพานแล้วไซร้ จงพึงขจัดความไม่ดีแห่งการกล่าววาจาหยอกล้อเล่นหัวไม่เป็นแก่นสารเสีย นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม "ไม่พูดจาหยอกล้อ"
๑๗. ข้อความเพียรของคนให้ถึงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การประกอบบรรดาบุญกุศลทั้งหลาย จะต้องตั้งใจเป็นหนึ่งเป็นมูลฐาน และละเสียจากความเลินเล่อประมาททั้งมวล อุปมาเหมือนกับหลีกหนีห่างไกลจากโจรอำมหิตฉะนั้น อันพระตถาคตเจ้าทั้งหลายผู้ทรงพระกรุณาธิคุณได้ตรัสสอนเพื่อเกื้อกูลคุณานุ ประโยชน์ แก่บรรดาสรรพสัตว์ล้วนถึงที่สุดแห่งแก่นแล้ว เธอทั้งหลายพึงหมั่นมานะพากเพียรปฏิบัติและรักษาอนุศาสน์นี้ ไม่ว่าจะอยู่ตามภูเขาก็ดี อยู่ตามห้วยลำธารก็ดี อยู่ตามโคนต้นไม้ทั้งหลายก็ดี อยู่ตามเรือนสถานที่ว่างเปล่าก็ดี จงพิจารณาธรรมคำสั่งสอนที่ได้รับไว้อย่าให้หลงลืมและปล่อยเวลาล่วงไปโดยไร้ ประโยชน์ พึงตั้งสติยังจิตให้แน่วแน่เพียรประพฤติธรรมเป็นเนืองนิจ อย่าให้ชีวิตต้องสิ้นไปโดยเปล่า ประโยชน์อันจะเป็นผลแห่งการเสียใจในภายหลัง ตถาคตเสมือนกับนายแพทย์ผู้สามารถรู้จักสมุฏฐานของโรคและรู้จักใช้ยาที่ถูก กับโรค แต่คนไข้จะยอมรับประทานยาหรือไม่นั้น มิใช่ความผิดของนายแพทย์ หรือเปรียบเสมือนผู้แนะนำในทางที่ดีให้ ซึ่งได้ชี้หนทางที่ดีที่สุด หากผู้ได้ดับฟังไม่ประพฤติปฏิบัติเดินตามทางที่แนะนำนั้น ก็หาใช่เป็นความผิดของผู้แนะนำหนทางไม่
๑๘. ตัดสินข้อกังขา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากยังมีความสงสัยเคลือบแคลงในอริยสัจสี่ อันมีทุกข์สัจเป็นต้น ท่านทั้งหลายจงสอบถามเสียเถิด อย่าปล่อยความสงสัยดังกล่าวไว้โดยไม่แก้ไขให้กระจ่าง อันเป็นเหตุให้เดือนร้อนภายหลัง สมัยนั้นแล สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปวารณาถึง ๓ วาระ แต่กระนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดทูลถาม ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไฉนฤๅ! เพราะเหตุท่ามกลางพุทธบริษัทปราศจากความเคลือบแคลงในธรรมวินัยสมัยนั้นพระ อนุรุทธเถระเจ้า ได้เพ่งพิจารณาเห็นจิตใจบรรดาเหล่าบริษัทปราศจากความกังขาในพระรัตนตรัย จึงกราบทูลพระองค์ด้วยความเคารพว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค" แม้จันทราจะกลับกลายเป็นร้อน ดวงสุริยาจะกลับกลายเป็นเย็น แต่อริยสัจที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้นั้นมิอาจที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงกลับกลาย ได้ อริยสัจสี่ที่พระพุทะองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับทุกข์สัจ ย่อมเป็นความทุกข์อย่างแท้จริง มิอาจกลับกลายให้เป็นสุขได้ สมุทัยเป็นเหตุนอกเหนือจากสมุทัยสัจจ์ แล้วก็ไม่มีธรรมอื่นใดเป็นเหตุ หากทุกข์จะดับก็เพราะสมุทัยดับ (เหตุดับ) เนื่องด้วยสมุทัยดับ ผลก็ย่อมดับลง อริยมรรคอันเป็นหนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ย่อมเป็นมรรควิถีอย่างประเสริฐ แท้จริง นอกจากอริยมรรคแล้วก็ไม่มีมรรคอื่นใดยิ่งกว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ" ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ล้วนหมดความเคลือบแคลงสงสัยในพระอริยสัจธรรมแล้วพระเจ้าข้า
๑๙. สัตว์โลกได้รับการโปรด ณ ท่ามกลางพุทธบริษัท ผู้ยังไม่จบกิจการศึกษาเป็นพระเสขะบุคคลอยู่ เมื่อรู้ว่าพระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ย่อมต้องมีความทุกข์โทมมนัสโศกาดูร หากมีผู้เริ่มเข้ามาศึกษาพระธรรมแต่แรก และได้สดับพระพุทธดำรัสแล้ว ย่อมได้รับการโปรดจากพระพุทธองค์ อุปมาดั่งยามราตรี ประกายแห่งแสงฟ้าทำให้สว่างไสวเห็นมรรคาสถานต่าง ๆ และผู้ที่จบการศึกษาเป็นพระอเสขะบุคคล (พระอรหันต์) ข้ามพ้นแล้วซึ่งทะเลแห่งความทุกข์ ย่อมมีความดำริแก่ตนเองว่า สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าทรงเสด็จเข้สู่พระปรินิพพาน ถึงแม้พระอนุรุทเถระเจ้าได้กราบทูลแล้ว เช่นนี้ และในท่ามกลางพุทธบริษัทต่างเข้าใจอรรถแห่งอริยสัจสี่อย่างแจ่มแจ้งแล้วทั้ง นั้น สมเด็จพระบรมศาสดายังปรารถนาที่จะได้เหล่าพุทธบริษัทได้รับความมั่งคงในธรรม ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ พระองค์ทรงตรัสเพื่อเกื้อกูล เพื่อประโยชน์แก่เหล่าบริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! "อย่าทุกข์คร่ำครวญโศกาดูรเลย แม้ตถาคตดำรงอยู่ในโลกนี้อีกสักกัลป์หนึ่งก็ดี การอยู่ร่วมกันระหว่างคถคคตและเธอทั้งหลายก็ย่อมมีการสิ้นสลายดับไปเป็น ธรรมดา การอยู่ร่วมกันโดยปราศจากพลัดพรากจากกันนั้น ย่อมเป็นไปมิได้ ฉะนั้น จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อม พระสัจจ์ธรรมก็ได้แสดงไว้สมบูรณ์แล้ว แม้ตถาคตดำรงพระชนม์ชีพต่อไปก็หาประโยชน์อันใดมิได้ ผู้ที่ได้รับการโปรดจากเราตถาคตนั้น จะเป็นปวงเทพยดามนุษย์ทั้งหลายก็ดี ย่อมได้รับการโปรดตามอุปนิสัย ตามปัจจัยและบารมีเป็นลำดับไป
๒๐. พระธรรมกายดำรงอยู่เสมอ นับต่อแต่นี้ไป เธอทั้งหลาย จงจาริกเผยแผ่พระสัจธรรมให้แพร่หลายไพศาล ทั้งนี้เป็นการไว้ซึ่งพระธรรมกายแห่งตถาคต ให้ดำรงอยู่ชั่วนิรันดรโดยมิให้ดับสูญไปฉะนั้นเธอทั้งหลาย พึงกำหนดให้รู้ว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะจีรังยั่งยืนถาวร ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยง มีการร่วมกันย่อมมีการพลัดพรากจากกัน จงอย่ามีความเศร้าโศกใด ๆ (ในการจากไปของตถาคต) สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นธรรมลักษณะของโลกไม่มีผู้ใดหลีกพ้นได้ เธอทั้งหลายพึงวิริยะพากเพียรบากบั่น เพื่อแสวงหาวิมุตติสุข (ความหลุดพ้น) ไว้แต่เนิ่นๆ จงใช้ความรู้แจ้งแห่งปัญญา ทำลายความมืดคือวิชชาทั้งหมดให้สิ้นไป อันที่จริงโลกนี้ประกอบด้วยภัยน่าสะพรึงกลัว มีแต่ความเสื่อมสลายหาสิ่งใดเป็นแก่นสารมิได้ การที่ตถาคตดับขันธปรินิพพานนี้ เปรียบเสมือนพ้นจากโรคาพาธอันร้ายกาจน่ากลัว ซึ่งตถาคตได้ทำลายขจัดเสียสิ้นเชิงแล้ว
สิ่งที่เป็นอกุศลชั่วร้ายทั้ง หลาย (หมายถึงกาย) สักแต่มีนามว่ากายเป็นสิ่งที่ต้องจมอยู่ในห้วงมหาสมุทรอันยิ่งใหญ่แห่ง ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไม่มีนรชนใดที่จะไม่ยินดี ในโอกาสที่จะขจัดธรรมเหล่านี้ให้สิ้นไป เปรียบเหมือนได้ประหารโจรใจอำมหิตฉะนั้น
๒๑. สรุปความ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! พึงตั้งใจดำรงความเป็นเอกะแห่งจิต เพียรแสวงหาวิโมกขธรรม (ความพ้นจากวัฏฏสงสาร) สังขารธรรมทั้งหลายในโลก ไม่ว่าไม่ว่าจะเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรมก็ดี (ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ล้วนแต่มีความเสื่อมสูญ หาความเที่ยงแท้แห่งลักษณะมิได้ เธอทั้งหลายนี้เกือบจะถึงกาลเวลาที่สิ้นสุดแห่งเราแล้ว เธอจะไม่ได้ฟังคำพร่ำสอนจากตถาคตอีกต่อไป วาระสุดท้ายแห่งกาลเวลาถึงแล้วตถาจะดับขันธปรินิพพาน ธรรมเหล่านี้แลเป็นปัจฉิมโอวาทของตถาคต