ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพวาดพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร  (อ่าน 42179 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




buddha011 ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) คือทรงผ่อนพระกระยาหารลงตามลำดับจนไม่เสวยอะไรเลย พระวรกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ด้วยหวังว่าจักทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




buddha012 เช้าวันตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา

   นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้  เป็นเวลาย่างเข้าปีที่  ๖
ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว  และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน  ๖ 
ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕  ปี  สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา  เป็นธิดาของคหบดี
ผู้หนึ่งในหมู่บ้าน   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ของที่นางถวายคือข้างมธุปายาส   คือ   ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน 
เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ  ไม่ปนเนื้อ  ไม่เจือปลา  ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ

   ปฐมสมโพธิเล่าว่า  นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกัน
และได้ลูกที่มีบุญ   เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว   จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน  ก่อนถึงวันหุง  นางสุชาดา 
สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ  ให้แม่โคกินชะเอมเครือ  กิน
อิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา     แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ  ละ  ๕๐๐  ตัว  แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูง
หนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน   แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ  ไปจนเหลือแม่โคนม  ๘  ตัว  เสร็จ
แล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง  ๘  มาหุงข้าวมธุปายาส

   หุงเสร็จแล้ว  นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร 
นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า  เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกาย
ให้ปรากฏ  นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว  นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง  จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่
ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี   ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า   นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย   พระ
มหาบุรุษทรงรับแล้วพระเนตรดูนาง    นางทราบพระอาการกิริยาว่า     พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะ
อย่างอื่นรับอาหาร  นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น

   ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้    แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี   และด้วยความสำคัญหมายว่า   พระ
มหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2012, 01:08:37 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




buddha013 พระโคตมะตั้งสัจจะปฏิญาณว่า

“เราจะไม่ลุกจากที่นั่ง จนกว่าจะบรรลุซึ่งโมกขธรรม”
แต่ทันทีที่พระโคตรมะทรงประทับนั่งด้วยพระทัยแน่วแน่ หมู่มารปีศาจแห่งภาพลวงตาตัวเอง ก็รู้ถึงความตั้งใจของพระโคตมะ และกลัวว่าถ้าพระโคตรมะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ก็จะอยู่เหนือมาร ทันทีที่มืดค่ำมารก็ปรากฏตัวออกจากเงามืดทำทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้พระโคตมะบรรลุซึ่งโมกขธรรม


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




buddha014
พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามารโดยทรงบีบมวยผมให้น้ำไหลออกมาท่วม พวกพญามารทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไป


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




buddha015 ตรัสรู้

พระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ณ โคนต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) 4 ประการ ณ ย่ำรุ่งแห่งวันเพ็ญเดือน 6


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



buddha016 พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขและขับไล่ธิดามารทั้ง 3

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข บนรัตนบัลลังก์นั้นสิ้น 7 วัน
ครั้นล่วง 7 วันแล้ว จึงเสด็จลงจากรัตนบัลลังก์ ไปประทับอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของต้นไม้มหาโพธิ์ จ้องพระเนตรดูไม้มหาโพธิ์ถึง 7 วัน สถานที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์

จากนั้น ทรงนิมิตรัตนจงกรมเจดีย์ เสด็จจงกรมในทิศเหนือแห่งไม้มหาโพธิ์ และทรงจงกรมอยู่ที่นี้อีก 7 วัน
ต่อมา พระพุทธองค์เสด็จไปประทับนั่ง ที่รัตนฆรเจดีย์ เรือนแก้ว ในทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แห่งต้นไม้มหาโพธิ์ ซึ่งเทวดาเนรมิตถวาย ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอด 7 วัน

ต่อนั้น จึงเสด็จไปประทับยังร่มไทร ซึ่งเป็นที่อาศัยพักร่มของคนเลี้ยงแพะ อันมีนามว่า อชปาลนิโครธ
ครั้งนั้น พญาวัสวดีมาร มีความน้อยใจ ที่ต้องพ่ายแพ้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อับอายแก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ต้องยอมให้ พระสิทธัตถะ ล่วงพ้นจากวิสัยของตนไปได้ มีใจโทมนัส จึงหนีออกจากเทวโลก ลงมานั่งในทางใหญ่แห่งหนึ่ง
ขณะนั้น ธิดามารทั้ง 3 นาง คือ นางตัณหา นางราคา นางอรดี ไม่เห็นพญาวัสวดีมาร ผู้เป็นบิดาอยู่ในเทวโลก จึงส่องลงมาที่โลกมนุษย์ด้วยตาทิพย์ ก็เห็นบิดาไปนั่งอยู่ที่ทางใหญ่
นางมารทั้ง 3 จึงพากันมาหาพญาวัสวดีมาร แล้วทูลถามว่า พระบิดาทรงทุกข์ด้วยเหตุประการใด
พญามารก็แจ้งความจริงใจแก่ธิดาทั้ง 3 นั้น ธิดามารทั้ง 3 จึงทูลว่า พระบิดาอย่าทรงทุกข์ร้อนไปเลย ข้าพเจ้าทั้ง 3 จะรับอาสาไปทำพระสิทธัตถะให้อยู่ในอำนาจ แล้วจะนำมาถวายพระองค์ให้จงได้
พญามารจึงตรัสว่า ลูกเอ๋ย แต่นี้ไป ไม่มีผู้ใดจะสามารถทำพระสิทธัตถะ ให้อยู่ในอำนาจเสียแล้ว

ธิดามารก็แย้งว่า ข้าพเจ้าทั้ง 3 คงจะพันธนาการพระสิทธัตถะด้วยบ่วง มีราคะเป็นต้น ให้อยู่ได้ เพราะข้าพเจ้าเป็นสตรี จะพยายามไปผูก พระสิทธัตถะ มาให้จงได้ในกาลบัดนี้ พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย
แล้วนางมารทั้ง 3 ก็ทูลลาพระบิดาเข้ามาใกล้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่ร่มไม้อชปาลนิโครธ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ หม่อมฉันจะบำเรอพระยุคลบาทของพระองค์ถวาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เอาใจใส่ในถ้อยคำของธิดามารทั้ง 3 นั้นเลย ทั้งมิได้ลืมตาขึ้นดูธิดามารทั้ง 3 ด้วยซ้ำ คงประทับนั่งนิ่งอยู่เป็นปกติ

นางมารก็คิดว่า ปกติแล้ว บุรุษย่อมมีความเสน่หาในสตรี ที่มีสรีระรูปผิวพรรณสัณฐานต่าง ๆ กัน แล้วต่างก็เนรมิตเป็นนางงามต่าง ๆ แสดงท่าทางโดยมุ่งหมาย จะให้เป็นที่ต้องพระทัยปรารถนา เข้าทูลเล้าโลมดุจกาลก่อน
แต่ครั้นเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงตรัสประการใด ก็แสดงมายาหญิง โดยอาการพิลาศ ชำเลืองเนตร ฟ้อนรำ ขับร้องต่าง ๆ ทุกวิธีที่เห็นว่า จะคล้องจิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ แต่ก็ไม่สามารถ ทำให้จิตของพระพุทธองค์ผิดปกติ
ต่อมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสขับธิดามารว่า

“ธิดามารเอย เจ้าจงออกไปเสียให้พ้นจากที่นี้ เจ้าจะได้ประโยชน์อะไร ในการที่มาพยายามเล้าโลมตถาคต ด้วยทุกสิ่งที่เจ้ามุ่งหมายนั้น ตถาคตได้ทำลายเสียแล้ว เจ้าควรไปเล้าโลมบุรุษผู้มีราคะบริบูรณ์ เมื่อตถาคตไม่มีร่องรอยอะไรเลย แล้วจะนำตถาคตไปด้วยร่องรอยอะไร ไม่เป็นผลที่มุ่งหมายอันใดแก่เจ้าดอก จงออกไปเสีย
ทันใดนั้นเอง ด้วยอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บันดาลให้ร่างกายอันงามของธิดามารทั้ง 3 นาง ซึ่งไม่เชื่อฟังพระโอวาท พยายามออดอ้อนอิดเอื้อนอยู่อีก ได้กลับกลายร่างเป็นหญิงชรา น่าสังเวช นางทั้ง 3 เมื่อได้เห็นร่างกายของตนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น ก็ตกใจพากันหนี ออกจากที่นั้นทันที และกล่าวแก่กันว่า เป็นความจริงดังพระบิดาของเรา ได้เตือนแล้วแต่แรกว่า ไม่มีใครที่จะมาทำพระสิทธัตถะ ให้อยู่ในอำนาจได้เลย แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 31, 2011, 10:11:30 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


buddha017 เสด็จประทับร่มไม้มุจจลินท์

พระพุทธเจ้าเสด็จไปนั่งขัดสมาธิที่ร่มไม้จิก อันมีนามว่า มุจจลินท์ อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก 7 วัน

ช่วงนั้น ฝนตกพรำตลอด 7 วัน พญานาคนามว่า มุจจลินท์นาคราช มีอานุภาพมาก อยู่ที่สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์นั้น มีความเลื่อมใสในรูปพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระรัศมีโอภาส อันงามกว่าเทวดาทั้งหลาย จึงเข้าไปใกล้ แล้วขดเข้าซึ่งขนดกาย แวดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ 7 รอบ และแผ่พังพานอันใหญ่ ป้องปกเบื้องบนพระเศียร มิให้ลมและฝน ถูกต้องพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้งล่วง 7 วัน ฝนหายขาดแล้ว พญานาคก็คลายขนด จำแลงกายเป็นมานพ เข้าไปถวายอัญชลีหน้าพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาว่า

“ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้เห็นธรรมแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ คือความถือตัวออกให้หมดไป เป็นสุขอย่างยิ่ง”

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




buddha018 ท้าวสหัมบดีพรหม อาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรม

ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะหรือไม้เกดครบ  ๗   วันแล้ว   พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่ประทับ กลับไปประทับอยู่ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร  ซึ่งเคยเสด็จไปประทับหนหนึ่งมาแล้ว  ครั้งนี้นับเป็นสัปดาห์ที่  ๕
         ระหว่างที่ประทับอยู่  ณ ที่นี่  พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา  ทรงเห็นว่า    เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด    ก็ทรงบังเกิดความท้อพระทัยว่า   จะมีใครสักกี่คนที่จะฟังธรรมของพระองค์รู้เรื่อง  พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย

         ท่านผู้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  ได้แต่งเรื่องสาธกให้เห็นเป็นปุคคลธิษฐานประกอบเข้าในตอนนี้ว่า พระดำริของพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลก ท้าวสหัมบดีพรหมจึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงเปล่งศัพท์สำเนียงอันดังถึงสามครั้งว่า "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้"
        ปฐมสมโพธิว่า   "เสียงนั้นก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ    ท้าวสหัมบดีพรหมจึงพร้อมด้วยเทวาคณานิกรลงมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม"
         ตอนท้าวสหัมบดีพรหมลงมาทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลกนี้  กวีท่านแต่งเป็นอินทรวงศ์ฉันท์ภาษาบาลีไว้ว่า

      "พรหฺมา  จ  โลกาธิปตี  สหมฺปติ
      กตฺอญฺชลี  อนฺธิวรํ  อยาจถ
      สนฺตีธ  สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
      เทเสตุ  ธมฺมํ  อนุกมฺปิมํ  ปชํ"


         แปลว่า  "ท้าวสหัสบดีพรหม  ประณมกรกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่า  สัตว์ในโลกนี้  ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่  ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือชาวโลกเทอญ"
          ต่อมาภาษาบาลีที่เป็นฉันท์บทนี้       ได้กลายเป็นคำสำหรับอาราธนาพระสงฆ์ในเมืองไทยให้แสดงธรรมมาจนทุกวันนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2012, 01:53:30 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



buddha019 ทรงแสดงปฐมเทศนา

พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่าด้วยอริยสัจสี่ แก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เป็นการแสดงธรรมครั้งแรก จึงเรียกว่า ปฐมเทศนา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



buddha020 โปรดยสกุลบุตร

สมัยนั้น มีมาณพคนหนึ่งชื่อ ยสะ เป็นบุตรชายของเศรษฐีในเมืองพาราณสีกับนางสุชาดา เป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ พ่อแม่ก็ทะนุถนอมอย่างแก้วตา มีชีวิตการเป็นอยู่คล้ายคลึงกับที่พระสิทธัตถโคตมะ คือพ่อแม่ได้ปลูกเรือนให้ ๓ ฤดู กล่าวคือ มีความสุขสบายที่สุด ได้รับการบำเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรีประโคมไม่มีบุรุษเจือปน
ค่ำวันหนึ่ง ยสกุลบุตรนอนหลับก่อน หมู่ชนบริวารหลับต่อภายหลัง แสงไฟยังตามสว่างอยู่ ยสกุลบุตรตื่นขึ้นกลางดึก เห็นหมู่ชนบริวารกำลังนอนหลับ มีอากัปกิริยาพิกลต่างๆ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเหมือนเมื่อก่อน คือบางนางมีพิณตกอยู่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ที่คอ บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางมีเขฬะไหล บางนางบ่นละเมอต่างๆ หมู่ชนบริวารเหล่านั้นปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจซากศพทิ้งอยู่ในป่าช้า
ครั้นยสกุลบุตรได้เห็นแล้วก็เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่ายมาก ถึงกับออกอุทานว่า”ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ทนดูอากัปกิริยาพิกลต่างๆนั้นไม่ได้ รำคาญใจ จึงสวมรองเท้าเดินออกจากประตูเมือง ตรงไปทางที่จะไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โดยไม่รู้สึกตัวเองว่าไปถึงไหน แต่ก็รู้สึกว่าสบายใจ ก็เดินเรื่อยไปไม่หยุด

ในเวลานั้นจวนใกล้รุ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรออกอุทานเช่นนั้น เดินมายังที่ใกล้ จึงตรัสเรียกยสกุลบุตรว่า “ยสะที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านจงมาที่นี่เถิด นั่งลงเถิด เราจักแสดงธรรมให้ฟัง“ ยสกุลบุตรได้ยินว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง” มีความพอใจ จึงถอดรองเท้าเข้าใกล้ ถวายบังคมแล้วนั่งที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงตรัสอนุปุพพิกถาเทศนา คือ ถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับ ได้แก่ การพรรณนาทานกถา การให้ก่อน แล้วพรรณนาศีล ความรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นลำดับแห่งทาน พรรณนาสวรรค์ พรรณนาโทษของกามคุณ ที่บุคคลใคร่ ซึ่งความสุขไม่ยั่งยืน และพรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม อันเป็นลำดับแห่งโทษของกามเรียกว่าเนกขัมมะ ฟอกจิตของยสกุลบุตรให้ปราศจากมลทินให้เป็นจิตสมควรรับธรรมเทศนา ให้เกิดดวงตาเห็นธรรมเหมือนผ้าที่ปราศจากมลทินควรแก่การได้รับน้ำย้อมฉะนั้น แล้วทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนา ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมพิเศษเป็นโสดาบุคคล

ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร ขึ้นไปบนเรือนในเวลาเช้า ไม่เห็นลูกชายจึงบอกแก่ท่านเศรษฐีผู้สามีให้ทราบ ท่านเศรษฐีใช้ให้คนไปตามหาทั้ง ๔ ทิศ ส่วนตนเองก็ออกเที่ยวหาด้วยบังเอิญไปในทางที่จะไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวัน ได้เห็นรองเท้าของลูกชายตั้งอยู่ ณ ที่นั้นแล้วตามเข้าไปใกล้
ครั้นเศรษฐีเข้าไปถึงแล้ว พระบรมศาสดาได้ตรัสอนุปุพพิกถาเทศนาอริยสัจ ๔ ให้เศรษฐีได้เห็นธรรมแล้ว เศรษฐีทูลสรรเสริญธรรมเทศนาแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกว่า “ข้าพเจ้าถึงพระองค์กับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะที่พึงระลึกที่นับถือ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เศรษฐีเมืองพาราณสีนั้นได้เป็นอุบาสก อ้างพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ สรณะ ก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก

ครั้งนั้นยสกุลบุตรได้พิจารณาภูมิธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสสอนเศรษฐีผู้เป็นบิดาอีกวาระหนึ่ง จิตก็พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดายังไม่ทราบว่า ยสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้วจึงบอกความว่า “พ่อยสะ มารดาของเจ้าเศร้าโศก พิไรรำพัน เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด” ยสกุลบุตรแลดูพระบรมศาสดา พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่เศรษฐีให้ทราบว่า
ยสกุลบุตร ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่ใช่ผู้ควรจะกลับไปครองเรือนอีก” เศรษฐีทูลสรรเสริญว่า “เป็นลาภของยสกุลบุตรแล้ว” และทูลอาราธนาพระบรมศาสดา กับยสกุลบุตรเป็นผู้ตามเสด็จ เพื่อทรงรับภัตตาหารในเช้าวันนั้น ครั้นเศรษฐีทราบว่า พระบรมศาสดาทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพแล้ว ก็ลุกจากที่นั่งแล้วถวายอภิวาท ทำประทักษิณ (คือเดินเวียนขวา) ๓ รอบ แล้วหลีกไปยังเรือนแห่งตน และแจ้งเรื่องทั้งหมดให้ภรรยาและสะใภ้ได้ทราบ พร้อมกับให้จัดอาหาร บิณฑบาตเช้า เพื่อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

เมื่อเศรษฐีผู้บิดาทูลลาพระบรมศาสดากลับไป ไม่ช้ายสกุลบุตรจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาต ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้อุปสมบทด้วยพระวาจาว่า ”เอหิภิกขุ ท่านจงเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” เช่นเดียวกับที่ทรงประทานแก่ปัญจวัคคีย์ แต่ในที่นี้ไม่ตรัสว่า ”เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ” เพราะพระยสะได้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว คือเป็นพระอรหันต์เสียก่อนแล้ว สมัยนั้น ได้มีพระอรหันต์ขึ้นในโลกเป็น ๗ ทั้งพระยสะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 04, 2011, 09:23:23 am โดย ฐิตา »