คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา
ธรรมะเสวนา สไตล์ my-way
ต๊ะติ้งโหน่ง:
ตะเกียงแก้ว เขียน:
ถ้าเขาตบแก้มซ้าย ให้ยื่นแก้มขวาให้เขาตบด้วย
พระเยซูคริสต์ สอนเรื่องความรัก ที่ฆ่าตัวตน ฆ่าความเห็นแก่ตัว
เพื่อนร่วมทุกข์กำลังโกรธขึ้ง เป็นฟืนเป็นไฟ กำลังเมามันท้าตีท้าต่อย
จนกระทั่งลืมตัวลงมือลงไม้ตบแก้มซ้ายเรา พระเยซูให้แสดงความรักที่มีต่อเพื่อน
ให้เพื่อนเห็นน้ำใจ "ยื่นแก้มขวาให้เพื่อนตบด้วย"
ดูอย่างมหาตมะคานธี ถูกยิงจวนเจียนจะเสียชีวิตอยู่แล้ว ยังนึกเป็นห่วงคนที่ลอบยิงท่าน
ให้บอกให้อภัยเขา อย่าให้ทหารทำอะไรเขา
มหาบุรุษจิตใจกว้างขวาง ที่มีจิตใจอย่างพระเยซูสอน ปฏิบัติเยี่ยงมหาตมะคานธี
มีกันให้มาก สังคมนี้ โลกใบนี้ คงสุข สงบ ร่มเย็นเยือกเย็น มีตัวอย่างดีๆ ให้เห็นกัน
พุทธศาสนา ก็สอนเรื่อง "ยอม" จึงมีคำกล่าว "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร"
ผู้ยอมแพ้ ย่อมทำให้สังคมสงบ เกิดสันติสุข แก้ไขได้ที่ตัวเอง
ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร ผู้ใจเจ็บให้แก่คู่กรณี สร้างเวรให้กับตนเองในอนาคต
my-way เขียน:
มหาบุรุษทั้งสอง ก่อนตาย ยังไม่วายคิดถึงคนอื่นๆ น่าเลื่อมใส
แต่มหาบุรุษหนึ่งเดียว
ก่อนตาย
เข้าฌานหนึ่ง ออกฌานหนึ่ง
เข้าออกๆๆๆๆ หนึ่สองสามสี่
ไม่มีเรื่องใครๆ ให้วุ่นวายใจ
ต๊ะติ้งโหน่ง:
คนธรรมดาๆ เขียน:
ถ้าไม่มีความเห็นอย่างนั้นคงไม่คิดอย่างนั้น
ถ้าไม่มีความคิดอย่างนั้นคงไม่พูดอย่างนั้น
คำพูดทุกประโยคสะท้อนชัดถึงเหตุคือความคิดและความเห็นในตัวผู้พูด ที่ผู้มองสามารถมองเห็นได้
คนมองกงจักรเป็นดอกบัวได้ ก็คงมองดอกบัวที่ท่านหยิบยื่นให้ด้วยความหวังดีเป็นกงจักรไปได้เหมือนกัน
ระวังให้ดีเถิดครับ
หลวงพ่อชากล่าวไว้
"เธอจงระวังความคิดของเธอ เพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
เธอจงระวังความประพฤติของเธอ เพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
เธอจงระวังความเคยชินของเธอ เพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ เพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต"
ดังนั้นควรระวังทุกความคิดให้มากครับ
อันล่างสุดนี้ขอฝากพี่ตะเกียงแก้วและท่านที่ดูอยู่เห็นอยู่ท่านอื่นๆครับ ควรไม่ควรอย่างไรโปรดพิจารณา
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่ามีอยู่ แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามีอยู่ สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่วิวาทโต้เถียงกับโลก แต่โลกย่อมวิวาทโต้เถียงกับเรา”
ใครใคร่ทะเลาะกับโลก ก็ปล่อยโลกให้ทะเลาะกับเขาเถิดครับ
my-way เขียน:
เลื่อมใสๆครับคุณคนธรรมดา
เลื่อมใส จังเลยครับ ในคำสอนที่ว่า
"เธอจงระวังความคิดของเธอ เพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
เธอจงระวังความประพฤติของเธอ เพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
เธอจงระวังความเคยชินของเธอ เพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ เพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต"
ฉะนั้นจงคอยระวังความคิดให้ดี
แต่คำสอนนี้ ไม่ได้สอนให้ระวังครับ
ชาติดับ เพราะภพดับ
ภพดับ เพราะอุปทานดับ...
...............
รูปนามดับ เพราะวิญญาณดับ
วิญญาณดับ เพราะสังขารดับ
ต๊ะติ้งโหน่ง:
ตะเกียงแก้ว เขียน:
:b8: อนุโมทนา คุณฮานะจัง , และญาติธรรมท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวชื่อ
ให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป เป็นโอกาสอันดี ที่กัลยาณมิตรจะได้มาร่วมวงสนทนาธรรมกัน
อบอุ่นดี
ไม่ถือถูก ไม่ถือผิด เหนือถูกเหนือผิด ก็อยู่ตรงที่ว่าง
ไม่แปลกใจเลย ว่าจะถูกกล่าวว่าเป็น มิจฉาทิฏฐิ
ธรรมใดที่ได้นำมาแลกเปลี่ยนให้สหายธรรม ได้ร่วมกันใคร่ครวญโยนิโสกัน
คนแรกที่ได้รับ ก็คือ คนที่เอ่ยธรรมนั้น ธรรมดำธรรมขาว ธรรมว่างจากขาวจากดำ
ก็คงขึ้นมาถึงตรงที่ว่าง
เพื่อนกันทั้งนั้นๆ ถือว่าเป็นแบบทดสอบอารมณ์กัน ไม่ถือโทษทะเลาะกันกับโลก
ขอตัวทำงานก่อน ใครใคร่สนทนาธรรมกันต่อ ก็เชิญตามสบาย
my-way เขียน:
ธรรมนี้ ไม่ได้เพื่อสหายหรือเพื่อกัลยาณมิตร
เพราะว่างจากสหายและกัลยาณมิตร
เมือว่างจากสหายและกัลยาณมิตร
แล้วใยจะไปกล่าวได้ถึงอริราช
จ๊ะคุณหมอ
ต๊ะติ้งโหน่ง:
ปล่อยรู้ เขียน:
:b8: อนุโมทนาสาธุ ทุกๆท่านครับ
อุปาทาน เป็นเหตุปัจจัย ทำให้เกิดภพ...
นิพพาน มิใช่ภพ
แต่การยึดมั่นถือมั่นในนิพพาน คือภพ.
ความรู้ ความเห็น อุบายในการปฏิบัติภาวนาต่างๆ
ญาณ ฌาน ใดๆทั้งหลาย
ยังมิได้เป็นภพ หากยังไม่มีการเข้าไปสำคัญมั่นหมายยึดมั่นถือมั่น.
ความวุ่นวาย ความทุกข์ ความคับแค้นขัดเคืองใจ ความโศกธุลี จะเกิดมีขึ้นก็ต่อเมื่อมีภพบังเกิดขึ้น
ภพจะบังเกิดมีขึ้น ก็เพราะมีอุปาทาน
อุปาทานจะเกิดมีขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยตัณหา
อยากให้ ไม่อยากให้
อยากได้ ไม่อยากได้
อยากมี ไม่อยากมี
อยากเป็น ไม่อยากเป็น...
อยากให้รู้อย่างนี้ อยากให้ดูอย่างนี้ อยากให้ปฏิบัติอย่างนี้ อยากให้สนทนาอย่างนี้
หากไม่รู้อย่างนี้ ไม่ดูอย่างนี้ ไม่ปฏิบัติอย่างนี้ ไม่สนทนาอย่างนี้ ...ไม่ใช่ ไม่ถูก
การรู้ ก็ดี การเข้าไปรู้ ก็ดี
การดู ก็ดี การเข้าไปดู ก็ดี
ไม่ว่าจะเป็นการรู้หรือการดูแบบใดๆก็ตาม
หากมีการยึดมั่นให้ความสำคัญมั่นหมายขึ้นมาเมื่อใด
เมื่อนั้น การรู้ การดู ก็จะกลายเป็นภพ เป็นที่ที่ให้จิตเข้าไปเสพ เข้าไปอาศัย
เข้าไปตั้งอยู่ ให้จิตเจริญงอกงามอยู่
ความรู้... ที่ได้จากการรู้,จากการดู เช่นนี้ ก็ยังไม่อาจที่จะดับทุกข์ลงได้สนิทอย่างสิ้นเชิงแต่ประการใด
ความรู้ที่ยังมีความสำคัญมั่นหมายอยู่นั้น
จะเป็นได้ก็เพียงใช้เป็นอาวุธเมื่อการต่อสู่ประหัดประหารทางวาจาเท่านั้นเอง
ความรู้ที่ปรารถนาจะให้เป็นธรรมทานแก่ผู้อื่นนั้น เพื่อใช่ดับกระหายบันเทาทุกข์ให้เจือจาง
ก็จะกลับกลายเป็นผงทราย น้ำเกลือ ที่เพิ่มความระคายเคืองแสบตา หิวกระหายหนักเพิ่มขึ้นไปอีก.
...ความยึดมั่นถือมั่น มีผลเป็นแต่ความทุกข์สถานเดียว...
...ความยึดมั่นถือมั่น เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่เป็นทุกข์ เป็นไม่มี...
my-way เขียน:
ยึดในความไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็มีผลเป็นเป็นแต่ความทุกข์ แหละครับ
เพราะไปยึดว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น ซะแล้ว
ต๊ะติ้งโหน่ง:
LuiPan เขียน:
มันคนละเรื่องกันกับ การมีจิตตั้งมั่น
จิตตั้งมั่น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการ อยู่กับการส่งสวด
จิตตั้งมั่น คือ อยู่กับการงานการพิจารณาทุกข์
ทุกขในกรณีของ จขกท คือ กิเลสอันเป็นสังขารขันธ์มันปรากฏตัวออกมา
สังขารขันธ์ปรากฏตัวแล้ว ลืม หลักการพิจารณา ไปสำคัญว่า สังขารขันธ์เป็นตนเข้า
เพราะการขาดการสดับ
ถ้าหมั่นสดับ ก็จะอ๋อ สังขารมันปรากฏเพราะอวิชชามันมีอยู่ จิตสวดมนต์นี้มันผ่อง
ใสด้วยการสวดมนต์แต่มันก็เป็นจิตที่มีอวิชชาอยู่วันยันค่ำ เมื่อมีอวิชชาแล้วกิเลส
อันเป็นสังขารขันธ์ก็เกิดตามมาเป็นธรรมดา
แต่เพราะไม่ทันกระแสของอวิชชา ทำให้คว้าเอากิเลสว่าเป็นตนอยู่ เลยทำให้
ตกจากการพิจารณาทุกข์ การงานที่ควรทำไม่ได้ทำ จึงเรียกว่า จิตไม่ตั้งมั่น
ต่อการงาน ต่อการทำนิพพานให้แจ้ง ผิดหน้าที่ ผิดวาจา ฯ ไป
หากจะผลิกให้กลับมาตั้งมั่น ก็อย่าสำคัญผิดว่า สังขารขันธ์เป็นตน แยกสังขารขันธ์
ออกจากองค์ธรรมที่กำลังทำหน้าที่รู้ให้ได้ วิญญาณขันธ์ก็จะแยกออกจากสังขาร
ขันธ์ ปฏิสนธิกิจของจิตในการคว้าเอาขันธ์5 มาเป็นตนก็จะถูกชำระออกไป
สังขารขันธ์อันที่เป็นกองกิเลส ก็จะย้อมไม่ติดจิต ไม่เกิดปฏิสนธิกิจ นั่นแหละ
หากทำได้ เห็นชัดว่าข้ามได้ ย่อมพยากรณ์ตัวเองได้ว่า จะเกิดอุปาธิ กับอกุศล
นั้นๆอีกหรือเปล่า
แล้วก็ทำการงานอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ขาดการพิจารณา ไม่พลาด ไม่เผลออีก
ก็เรียกว่า มีจิตตั้งมั่น มีธรรมเอกผุด ไม่มีอกุศลใดหยั่งลงในจิต หรือ ชักชวน
ให้จิตสำคัญผิด ย้อมไม่ติดจิต ก็เรียก สติวินโยก็เรียก
my-way เขียน:
จิตตั้งมั่น อยู่กับการพิจารณาทุกข์
ตั้งมั่นระดับหนึ่งเท่านั่นเอง มั๊งครับ
คือตั่งมั่นอยู่ในทุกข์
ก็เลยเข้าไปตั้งอยู่ กับการพิจารณาทุกข์
ก็เลย ยังไม่ถึงความไม่นึกเลย ครับ
ธรรมเอกก็เลยไม่ผุด
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น"
my-way เขียน:
และเมื่อไปตั่งมั่นอยู่ในทุกข์ ยังหาทางออกยังไม่ได้
ก็ไปอาศัย ตั้งมัน อยู่ในพิจารณา ซ้อน เข้าไปอยู่ ในทุกข์อีก ให้มันทุกข์หนักเข้าไปอีกสองต่อ
แบบนี้ นี่ไม่ค่อยฉลาด
ที่ทำไหลสะสมทุกข์ ไปอย่างต่อเนื่อง
ไปตั้งมั่นอยู่ในทุกข์ แล้วพิจารณาทุกข์
นั่นเพราะขาดสติ
ที่ไม่สามารถจะออกจากทุกข์อันนั้นก่อน
แล้วค่อย กลับเข้าสู่ความเป็นผู้ไม่นึก
แล้วค่อยกลับมาพิจารณา
ครับผม
มันตรึกตาม ไปเสียหมด ทั้งๆที่ยังจมอยู่ในทุกข์
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version