ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON  (อ่าน 5005 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร
: BREAK THROUGH SERMON
ถ้าผู้ใดมีความตั้งใจที่จะเข้าถึงโพธิญาณ เขาจะปฏิบัติตามวิธีใดที่ดีที่สุด ? ”
“ วิธีที่ดีที่สุด ที่รวมเอาวิธีอื่นทุกวิธีเข้าด้วยกันได้ คือวิธีการเฝ้าดูจิต
“ แต่วิธีเดียวจะสามารถรวมวิธีอื่นทั้งหมดเข้ามาได้อย่างไร ? ”
“ ( เพราะ ) จิตเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญเติบโตของสิ่งทั้งปวง ”

ดังนั้น ถ้าท่านเข้าใจเรื่องจิต ทุกสิ่งก็รวมที่จิตหมด จิตเป็นเสมือนรากของต้นไม้ เพราะผล , ดอก , กิ่งก้านสาขาและใบของต้นไม้ทั้งหมด ล้วนอาศัยรากของมัน ถ้าบำรุงที่รากของมัน ต้นไม้ก็เจริญเติบโตยิ่งขึ้น ถ้าท่านตัดรากของมันต้นไม้ก็ตาย

คนที่เข้าใจเรื่องจิตของตนเอง สามารถบรรลุได้โดยใช้ความเพียรไม่มาก ส่วนคนที่ไม่เข้าใจจิตใจของตนเอง ปฏิบัติไปก็ไร้ประโยชน์ ความดีและความชั่ว ทุกอย่างล้วนมาจากจิตของท่านเอง การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายนอกจิตนั้น เป็นไปไม่ได้

“ แต่การเฝ้าดูจิตอย่างไร จึงจะเรียกว่าการเข้าใจ (ถูกต้อง ) ? ”

เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ เสาะแสวงหาบรมปัญญาอันลึกซึ้ง 1* พระองค์ได้ทรงรู้แจ้งชัดว่า ธาตุ 4 ขันธ์ 5 เป็นภาวะที่ไร้ตัวตนบุคคลเราเขา และรู้แจ้งชัดการปรุงแต่งจิต(จิตตสังขาร) นั้นมี 2 ลักษณะ คือ บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ 2*

โดยธรรมชาติแท้ของจิตนี้ สภาพจิตทั้ง 2 อย่างนี้จึงเป็นปัจจุบันเสมอ แต่มันเกิดสลับกันเสมือนเหตุและผล ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น* (*ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา …. ผู้แปลไทย )

จิตที่บริสุทธิ์พอใจในการทำกรรมดี แต่จิตที่ไม่บริสุทธิ์คิดถึง ( ปรุงแต่ง ) แต่เรื่องชั่ว ๆ บุคคลที่ไม่ได้รับผลจากการกระทบของจิตที่สกปรกคือพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นย่อมอยู่เหนือความทุกข์ และประสบแต่ความสุขของพระนิพพาน ปุถุชนคนอื่น ๆ ย่อมถูกบีบคั้นด้วยจิตสกปรกและสับสนยุ่งเหยิงด้วยกรรมของตนเอง พวกเขาต้องท่องเที่ยวอยู่ในภูมิทั้ง 3 และได้รับความทุกข์ทรมานจากภัยต่าง ๆ อันไม่อาจนับได้ เพราะจิตที่สกปรกของตนย่อมปิดบังธรรมกายของเขาทั้งหลาย

พระสูตรตอนที่ 10 กล่าวว่า “ ในกายของปุถุชนก็มีพุทธภาวะที่ไม่อาจทำลายได้เสมือนกับพระอาทิตย์ แสงของมันขยายไปทั่วอวกาศไม่มีสิ้นสุด แต่เมื่อใดมันถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกอันหนาทึบด้วยเงาทั้ง 5(ขันธ์ 5)มันก็เหมือนแสงในตุ่มน้ำถูกบังจากการเห็น”

และพระนิพพานสูตร 3* กล่าวว่า “ ปุถุชนทุกคน มีธรรมชาติแห่งพุทธะ แต่มันถูกคลอบคลุมด้วยความมืด (ของอวิชชา ) ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงได้ ธรรมชาติแห่งพุทธะของเราก็คือสติสัมปชัญญะ ( ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ) โดยการทำให้ตนเองตื่นตัวและทำให้ผู้อื่นตื่นตัวด้วย การประจักษ์แจ้งความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นความหลุดพ้น ”

ความดี ( กุศลธรรม ) ทุกอย่างมีสติสัมปชัญญะเป็นรากฐาน และจากรากเหง้าแห่งสติสัมปชัญญะนี้ จึงก่อให้เกิดต้นไม้แห่งคุณธรรมขึ้น และผลิตผลออกมาเป็นนิพพาน การเฝ้าดูจิตเช่นนี้จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ( สัมมาทิฏฐิ )


ท่านกล่าวว่า “ พุทธภาวะที่แท้จริงและกุศลธรรมทั้งปวง มีสติสัมปชัญญะเป็นรากเหง้า แต่อะไรเล่าเป็นรากเหง้าของอวิชชา ? ”

จิตที่หลงผิดด้วยอวิชชา ย่อมประสบแต่ความทุกข์และภัย ความทะเยอทะยานอยากและความชั่วร้ายอันไม่รู้จักจบสิ้น อวิชชาหยั่งรากลึกลงในกิเลส 3 ประการ คือ โลภะ โทสะและโมหะ

สภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส 3 ประการเหล่านี้ ย่อมรวมเอาความชั่วประการต่าง ๆ อันนับไม่ได้เข้าไว้ด้วยกัน เหมือนต้นไม้ที่มีลำต้นเพียงลำต้นเดียว แต่มีกิ่งก้านและใบมากมายมหาศาล กิเลสแต่ละตัวยังก่อให้เกิดความชั่วร้ายต่าง ๆ อีกหลายล้านตัว ที่เอาต้นไม้เป็นอุปมา ก็ยังยากที่จะเปรียบเทียบ ให้เหมาะสมได้

กิเลสทั้ง 3 ประการ ย่อมเกิดกับอายตนะทั้ง 6 4* ของเรานี้เอง เหมือนวิญญาณ 6 5* หรือโจร 6 จำพวก

ที่เรียกกิเลสพวกนี้ว่าโจร เพราะว่ามันผ่านเข้าออกตามประตู ของอายตนะ (มโนทวาร) ความโลภและความทะยานอยากอันหาขอบเขตมิได้ ทำให้หมกมุ่นอยู่ในความชั่วร้ายและปิดบังลักษณะอันแท้จริงของจิตไว้ เพราะว่าปุถุชนทั้งหลาย ถูกกิเลสตัณหา หรือพวกโจรชักนำให้ทำผิดทั้งกาย และใจ พวกเขาจึงหลงทางชีวิตและความตาย แล้วร่อนเร่พเนจรไปในภพทั้ง 6 6* และทุกข์ด้วยภัยต่าง ๆ อันหาประมาณมิได้

ทุกข์ภัยเหล่านี้ก็เป็นเสมือนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก เป็นระยะทางยาวเป็นพัน ๆ ไมล์ เพราะการไหลรวมของกระแสน้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่อย่างไม่ขาดสาย แต่ถ้าผู้ใดตัดต้นกำเนิดของน้ำได้ แม่น้ำก็แห้งเหือดฉันใด บุคคลที่แสวงหาการหลุดพ้น สามารถเปลี่ยนกิเลสทั้ง 3 ให้เป็นที่ตั้งของศีลและเปลี่ยนโจรทั้ง 6 ให้เป็นปารมิตา 6 เขาก็ขจัดภัยร้ายต่าง ๆ ให้แก่ตนได้ทุกครั้งหรือตลอดไป ก็ฉันนั้น

“ แต่ภูมิทั้ง 3 และภพทั้ง 6 เป็นสภาวะที่กว้างขวางหาที่สุดมิได้ ถ้าเราเอาแต่เฝ้าดูจิต เราจะสามารถหลบหลีกภัยต่าง ๆ ของจิตได้อย่างไร ? ”

กรรมในภูมิทั้ง 3 ล้วนเกิดจากจิต ถ้าจิตของท่านไม่เข้าไปในภูมิทั้ง 3 จิตก็อยู่เหนือกิเลสนั้น เพราะภูมิทั้ง 3 ก่อให้เกิดกิเลส 3 คือ ความโลภ ก่อให้เกิด ภูมิแห่งความทะยานอยาก (กามาวจรภูมิ ) ความโกรธก่อให้เกิดภูมิของรูป ( รูปาวจรภูมิ ) และความหลงก่อให้เกิดภูมิแห่งความไม่มีรูป (อรูปาวจรภูมิ ) และกรรมที่ตัณหาราคะสร้างขึ้น มีทั้งเบาและหนัก ภูมิทั้ง 3 นี้ ถูกแบ่งเป็น 6 สถาน ที่เรารู้จักกันในนามภพทั้ง 6 นั่นเอง


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 09:45:33 am »

           

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 1* - 13*

1* เป็นสำนวนแปลของหทัยสูตรว่า เป็นจุดที่พระโพธิสัตว์ เข้าถึงความเป็นพระอวโลกิเตศวร และมีปัญญาสมบูรณ์หรือเรียกว่า ปรัชญาปารมิตา ไม่ถือว่าเป็นปัญญา เพราะเป็นปัญญาวิมุติเป็นสุญญตาปัญญาและว่างเปล่า ไม่มีการแยกแยะระหว่างความว่างกับเวลา ระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

2* คำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ให้ดูใน “ ตื่นด้วยศรัทธามหายาน ” ที่กล่าวถึงความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ , การตรัสรู้หรือไม่ตรัสรู้

3* SUTRA OF TEN STAGES …NIRANASUTA เวลาที่แปลพระสูตรนี้คือศตวรรษที่ 5 ตอนต้น

4* ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ

5* ตัวรับรู้สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความคิด ลังกาวัตรได้อธิบายในความเข้าใจ การพินิจพิเคราะห์และตถาคตานุสสติโดยสรุปถึงรูปแห่งวิญญาณทั้ง 8

6* ภพชั้นต่ำเหล่านี้คือ ภพที่เป็นอยู่ของสิ่งที่ต้องเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นความคิด หลังคิด ชีวิตหลังการเป็นอยู่จนกว่าจะได้บรรลุ และพ้นไปจากสังสารวัฏนี้ เป็นความทุกข์ในวัฏฏะอันต่อเนื่อง ( ทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท ) ส่วนเทวดาทั้งปวงจะได้รับความสุขสบาย ในขณะที่ผู้ลงนรก ต้องได้รับความทุกข์อย่างหนักครั้งแล้วครั้งเล่า มารและมนุษย์มีทุกข์มากกว่าเหล่าเทพแต่น้อยกว่าสัตว์เดรัจฉานและสัตว์นรก



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 08:57:17 pm »


ภาพปริศนา-ธรรม โดย มาโนชญ์ เพ็งทอง

“ กรรมของภพทั้ง 6 เหล่านี้ แตกต่างกันอย่างไร ? ”

ปุถุชนที่ยังไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง 7* ย่อมทำความดีทั้ง 10 ประการ อย่างขาดปัญญา อันเป็นเหตุให้เกิดในภพสถานเบื้องสูงทั้ง 3 และภูมิสถานเบื้องต่ำทั้ง 3

“ อะไรคือภพสถานเบื้องสูงทั้ง 3 ประการนั้น ? ”
บุคคลที่ประกอบกรรมดี 8* อย่างใบ้บอดโง่เขลา และแสวงหาความสุขอย่างโง่เขลา ย่อมเป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดาในชั้นกามาวจรภูมิ

บุคคลที่รักษาศีล 5 9* แต่ยังลุ่มหลงในความรัก ความชัง เป็นเหตุให้เกิดเป็นมนุษย์ในโทสะภูมิ ( ภูมิของยักษ์ )
ส่วนบุคคล ที่ยึดในโลกียวิสัยอย่างโง่เขลา และเชื่อในคำสอน ( ลัทธิ ) ผิด ๆ และสวดมนต์อ้อนวอนหาแต่ความสุขสบาย ย่อมเป็นเหตุให้เกิดเป็นภูต ผี ปีศาจ ในโมหะภูมิ เหล่านี้เป็นกำเนิดเบื้องสูง 3 ประการ และอะไรเล่าที่เรียกว่าภพเบื้องต่ำทั้ง 3 ?

ภูมิเหล่านี้เป็นสถานที่ของบุคคลผู้ยึดติดในความคิดที่มีกิเลสและเป็นเหตุให้เกิดความชั่ว กรรมของคนเหล่านี้เกิดจากความโลภ ซึ่งเป็นภพภูมิแห่งเปรตที่ใหญ่ที่สุด
กรรมของคนที่เกิดจากความโกรธคือ ภูมิแห่งผู้เสวยทุกข์ในนรก อันใหญ่ที่สุด และกรรมของคนที่เกิดจากความหลง คือภูมิแห่งเดรัจฉานที่ใหญ่ที่สุด

ภพชั้นต่ำ 3 ประการเหล่านี้ รวมกับภูมิสถานชั้นสูงที่กล่าวมา เป็นภูมิทั้ง 6 ( ในคติของเถรวาทหรือหินยาน กำหนดภูมิของสัตว์ที่เกิดในวัฏฏะสงสาร เอาไว้ 8 ภูมิ คือ อบายภูมิเบื้องต่ำ 4 และสุขภูมิเบื้องสูง 4 อบายภูมิ 4 คือ สัตว์นรก, เปรต , อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน สุขภูมิ 4 คือ มนุษย์ , เทวดา , พรหม และพระอริยเจ้า แต่ในของปรมัตถ์ ภูมิทั้ง 8 หมายถึง ภูมิของจิต 8 สภาวะ หรืออารมณ์ประจำตัวของมนุษย์แต่ละคนในชีวิตประจำวัน คือแต่ละขณะจิตเสวยอารมณ์อะไร ดีหรือชั่วก็ถือว่าเขากำลังถือกำเนิดในภพภูมินั้น ๆ โดยถือเอาความรุนแรงของกิเลส 4 ตัว เป็นตัวกำหนด คือผู้เสวยอารมณ์ ดังนี้

โลภะ ก่อกำเนิด เปรต
ราคะ ก่อกำเนิด อสุรกาย – ปีศาจ
โทสะ ก่อกำเนิด สัตว์นรกชั้นต่าง ๆ
โมหะ ก่อกำเนิด เดรัจฉานระดับต่าง ๆ

ความรุนแรงและความเบาบางของกิเลสแต่ละตัว ทำให้เกิดประเภทต่าง ๆ ของภพภูมิ เช่น ใครมีความโลภอ่อน ก็เกิดเป็นเปรตระดับต่ำ ๆ ใครมีความโลภระดับปานกลาง ก็เกิดเป็นเปรตระดับกลาง ใครมีความโลภจัดและรุนแรง ก็เกิดเป็นเปรตที่ใหญ่และมีพิษภัยร้ายกาจ ถึงขนาดเป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคมเลยที่เดียว * (* ที่เกิดปัญหาในสังคมโลกทุกวันนี้ ก็เพราะเปรตประเภทนี้มีมาก โลกจึงเดือดร้อน รายละเอียดและระดับต่าง ๆของพวกราคะ–โทสะ-โมหะ ก็พึงเทียบกับความโลภเอาเองเถิดและส่วนในภูมิเบื้องสูง คือสุขภูมิ 4 ประการ ก็พึงเห็นตรงกันข้ามกับพวกมีราคะ – โทสะ – โมหะ เมื่อกิเลสทั้ง 3 เบาบางหรือหมดไป ได้แก่ พวกมนุษย์,เทวดา,อินทร์พรหมและพระอริยเจ้า.... ผู้แปลไทย)

จากเรื่องนี้ ท่านจะเข้าใจเรื่องกรรมทั้งหมดได้อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดถึงความทุกข์ทรมานและโทษภัยอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นจากจิตใจของท่านเอง ถ้าท่านเพียงแต่กำหนดพิจารณาจิตของตนเองเท่านั้น ย่อมอยู่เหนือความเข้าใจผิดและความชั่วทั้งหลาย และทุกข์อันเกิดจากภูมิทั้ง 3 และภพทั้ง 6 ก็สลายตัวไปเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อใดท่านเป็นอิสระจากทุกข์ ท่านก็หลุดพ้นอย่างแท้จริง

แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ หลังจากได้รับความทุกข์ยากลำบากอันมหาศาลเป็นเวลาสามอสงไขยกัลป์แล้ว 10* ฉันจึงได้บรรลุธรรม ”

“ บัดนี้ทำไมจึงกล่าวว่า การเฝ้าดูจิตธรรมดา ๆ และการเอาชนะกิเลสทั้งสามจึงจะหลุดพ้นเล่า ? ”
พระพุทธพจน์เป็นความจริง แต่คำว่า “ สามอสงไขยกัลป์ หมายถึง สภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสทั้งสาม สิ่งที่เรียกว่า อสงไขย ในศัพท์ภาษาสันสกฤต ท่านหมายถึง กำหนดนับไม่ได้

ภายในสภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสสามตัวนี้ก็คือ ความคิดชั่วที่กำหนดนับไม่ได้ ( มากมายมหาศาล ) ความคิดทุกความคิดจบลงครั้งหนึ่ง ก็เรียกว่า “ กัลป์หนึ่ง ” สภาพที่ไม่มีสิ้นสุดเช่นนี้ คือสิ่งที่พระองค์ทรงหมายถึง “ สามอสงไขยกัลป์ ”


เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 7* - 10*
7* เป็นการปฏิบัติที่นำไปสู่การรู้แจ้ง ตรงกันข้ามกับที่นำไปสู่เป้าหมายอื่น ปฏิบัติถูกต้องหมายถึงการเฝ้าระวังรักษาจิตของตนอยู่ตลอดเวลา

8* 8 เป็นการเว้นจากอกุศลกรรม 10 อย่าง คือ การฆ่า การลักขโมย การผิดประเวณี การพูดเท็จ การใส่ร้ายผู้อื่น การพูดคำหยาบ การนินทา ความโลภ ความโกรธ และการเพิ่มพูนความเห็นผิด

9* ศีล 5 นี้เป็นข้อปฏิบัติสำหรับชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ทั่วไป เป็นข้อห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดประเวณี พูดเท็จ และดื่มน้ำเมา

10* จักรวาลแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงสร้าง ช่วงดำรงอยู่ ช่วงทำลาย ในแต่ละช่วงนั้นเป็นอสงไขยกัลป์ ช่วงที่ 4 นั้นเป็นช่วงสุญญตาระหว่างจักรวาล ไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ เพราะมันไม่มีความจำเป็น



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2011, 12:26:35 pm »


“ เมื่อใดกายจริง ( ธรรมกาย ) ของท่านถูกบดบังด้วยกิเลสทั้งสาม เมื่อท่านไม่สามารถเอาชนะความชั่วอันมากมายของตนได้ ท่านจะเป็นผู้หลุดพ้นได้อย่างไร ? ”

บุคคลที่สามารถเปลี่ยนแปลงกิเลสทั้ง 3 คือ ความโลภ ความโกรธและความหลงให้เป็นวิมุติทั้งสามได้ เรียกว่าเขาได้ผ่านพ้นจาก อสงไขยกัลป์ทั้งสามได้

แต่คนยุคนี้ เป็นคนยุคสุดท้ายภายหลัง 11* เป็นปุถุชนคนหนาด้วยความโง่ พวกเขาไม่เข้าใจสิ่งที่พระตถาคต หมายถึง สามอสงไขยกัลป์

พวกเขากล่าวว่า การบรรลุธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ อสงไขยกัลป์ผ่านไปแล้ว ดังนั้น คนเหล่านั้นจึงนำสาวกไปสู่ทางปฏิบัติต่อพุทธภาวะ อย่างผิด ๆ

แต่พระมหาโพธิสัตว์ ได้บรรลุธรรมเพียงสมาทานปฏิบัติสามข้อ 12* เท่านั้นและปฏิบัติตามปารมิตา 6 ข้อ บัดนี้ท่านบอกให้สาวกเฝ้าดูจิต ใครจะสามารถบรรลุธรรม โดยปราศจากการอบรมบ่มเพาะระเบียบวินัยที่ดีได้อย่างไร ?

การปฏิญาณรับศีล 3 ข้อ เป็นการเอาชนะกิเลสที่ห่อหุ้มจิตได้อย่างแน่นอน คือ เมื่อท่านเอาชนะกิเลสเหล่านี้ได้ ท่านก็สร้างกุศลธรรม อันไม่มีขอบเขตอีกสามประการ ข้อเดียวแต่รวบทุกข้อเข้าไว้

ในกรณีนี้คือ
กุศลธรรมอันมหาศาลจะหลั่งไหลมาสู่จิตใจของท่านและปารมิตา 6 ก็เป็นธรรมช่วยชำระอายตนะ 6


สิ่งที่เราเรียกว่า “ ปารมิตา ” หมายถึง “ อีกฝั่งหนึ่ง หรือ ฝั่งโน้น 13*

เมื่อชำระมลทินทั้งหกออกจากใจได้แล้ว ( เรือ ) ปารมิตาก็นำท่านข้ามแม่น้ำแห่งวัฏฏทุกข์ ไปสู่ฝั่งแห่งโพธิญาณ ( นิพพาน)

ตามพระสูตรศีล 3 ข้อได้แก่
1. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะกำจัดความชั่วทั้งปวงให้สิ้นไป ( สพฺพปาปสฺสอกรณํ )
2. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะสั่งสมกุศลทั้งปวง ( กุสลสฺสูปสมฺปทา ) และ
3. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์
( สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจเย ) * (* แต่ในคัมภีร์เถรวาทเป็น สจิตฺตปริโยทปนํ คือการชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ สะอาด …. ผู้แปลไทย )

“ แต่บัดนี้ท่านกล่าวว่า ให้ควบคุมจิตให้พ้นจากการครอบงำของกิเลสทั้งสามเท่านั้น ความตรงนี้ไม่ขัดกันกับความหมายในคัมภีร์หรือ ? ”

พระสูตรของพระพุทธเจ้าถูกต้องแต่นานมาแล้ว สมัยเมื่อพระมหาโพธิสัตว์กำลังสร้างสมอบรมพืชพันธุ์และโพธิญาณอยู่ ก็ได้เผชิญหน้ากับกิเลสทั้ง 3 ซึ่งทำให้พระองค์ต้องตั้งสัตย์ปฏิญาณขึ้น 3 ประการ คือ บำเพ็ญข้อห้ามแห่งศีลเพื่อเผชิญกับโลภะกิเลส พระองค์ก็ทำปฏิญาณเพื่อขจัดความชั่วให้หมดไป เมื่อบำเพ็ญสมาธิ เพื่อเผชิญกับโทสะกิเลส พระองค์ก็ปฏิญาณที่จะสั่งสมกุศลธรรมทั้งปวง และเมื่อบำเพ็ญปัญญา เพื่อเผชิญกับโมหะกิเลส พระองค์ปฏิญาณที่จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากทุกข์

เพราะพระองค์ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติ 3 ประการเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา พระองค์จึงสามารถเอาชนะกิเลสทั้ง 3 และเข้าถึงโพธิญาณได้ เมื่อเอาชนะกิเลสทั้งสามได้แล้ว พระองค์ก็สามารถขจัดบาปอกุศลทั้งปวงออกไป และสลัดความชั่วได้หมดสิ้น เมื่อสมาทานศีล ( สัตยปฏิญาณ ) สามข้อแล้วพระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไรอีก นอกจากทำความดีและสั่งสมกุศลธรรม


และเมื่อสลัดความชั่วทิ้งไปได้หมดสิ้นแล้วทรงเจริญกุศล พระองค์ก็สามารถบรรลุถึงข้อปฏิบัติทุกอย่างได้สำเร็จ และบรรลุประโยชน์ของพระองค์เท่ากับสัตว์อื่น ๆ และจาริกไปช่วยปุถุชนทุกหนทุกแห่ง

ดังนั้น พระองค์จึงได้ชื่อว่า “ ปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากทุกข์ ” ได้สำเร็จ


ท่านคงเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วว่า การปฏิบัติที่ท่านกำลังบำเพ็ญอยู่ มิได้อยู่แยกไปจากจิตของท่านเลย ถ้าจิตของท่านบริสุทธิ์ พุทธภูมิทั้งสิ้นก็บริสุทธิ์ไปด้วย

พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้าจิตของเขาสกปรก สัตว์ทั้งหลายก็สกปรกด้วย ถ้าจิตของเขาสะอาด สรรพสัตว์ก็สะอาดด้วย ” และ “ การบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ต้องชำระจิตของท่านให้สะอาด เมื่อจิตของท่านบริสุทธิ์ พุทธภูมิก็บริสุทธิ์ด้วย ”

ดังนั้น เมื่อเอาชนะกิเลสทั้งสาม ที่ครอบงำจิตใจได้ ศีลสามข้อ (ปฏิญญาสาม ) ก็สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 11* - 13*
11* ยุคสุดท้าย อายุพระพุทธศาสนายุคแรกตั้งอยู่ 500 ปี หลังจากเข้าใจคำสอนที่ถูกต้องแล้วก็เริ่มเสื่อมลง ยุคที่ 2 ตั้งอยู่ 1,000 ปี ในขณะที่เข้าใจในหลักคำสอน ความเสื่อมก็เริ่มดำเนินมาเรื่อย ๆ ในยุคที่ 3 และเป็นยุคสุดท้าย เป็นช่วงที่ไม่แน่นอน สติปัญญาที่จะเข้าใจคำสอน หมดไป พระพุทธศาสนาก็จะหมดไปในที่สุด ในคัมภีร์อื่น ๆ ได้กำหนดยุคละ 500 ปี

12* ศีล 5 สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป ศีล 8 สำหรับอุบาสก อุบาสิกา และศีล 10 สำหรับภิกษุสามเณรและแม่ชี ประเภทแรกคือศีล 5 นั้น เป็นคำสั่งให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักขโมย ผิดประเวณี กล่าวเท็จ และเสพของมึนเมาทุกประเภท จากศีล 5 ข้อนี้ ถ้าเพิ่มอีก 3 ข้อ ก็เป็น ศีล 8 คือเพิ่มข้อห้ามที่ไม่ให้ประดับตกแต่งตน ( ด้วยมาลา , รัตนะและน้ำอบน้ำหอมต่าง ๆ ) ห้ามเห็นแก่ความสะดวกสบายเกินไปในส่วนเกี่ยวกับกาย (คือใช้ที่นอนอันอ่อนนุ่ม) และห้ามไม่ให้บริโภคมากเกินไป (งดการฉันในเวลาหลังเที่ยง ) จากศีล 8 ข้อนี้ถ้าเพิ่มอีก 2 ข้อก็เป็นศีล 10 คือ ไม่ให้ยินดีในการดูมหรสพต่าง ๆ และไม่ให้ยินดีในความเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ

13* ปารมิตาทั้ง 6 เหล่า เริ่มต้นด้วย ทาน ศีล ขันติ สัจจ์ และภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญา ปารมิตานั้นอุปมาเหมือน เรือที่บรรทุกคนข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง ชาวพุทธมองทาน (Charity) เป็นเหมือนความว่างเปล่า เมื่อปราศจาก เรือก็ไม่อาจลอยตัวอยู่ได้ กล่าวคือ ศีลนั้นเป็นเสมือนโครงของเรือ ( กระดูกงูเรือ ) ขันติเป็นลำเรือ ( Devotion ) สัจจะเหมือนเสากระโดงเรือ สมาธิภาวนาเป็นใบกังหันของเรือและปัญญาเป็นหางเสือ




(ยังมีต่อค่ะ)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2011, 08:26:56 pm »


แต่พระสูตรกล่าวว่า “ ปารมิตา 6 คือ ทาน ,ศีล ,ขันติ ,จาคะ ,สมาธิและปัญญา บัดนี้ท่านกล่าวว่า ปารมิตา หมายถึง จิตบริสุทธิ์ ข้อนี้ท่านหมายความว่าอย่างไร แล้วทำไมท่านจึงเรียกว่า เรือข้ามฟากเล่า ? ”

การสั่งสมอบรมบารมีธรรมทั้ง 6 หมายถึง การชำระอายตนะทั้ง 6 ให้บริสุทธิ์ โดยการเอาชนะโจรทั้ง 6 คือ

1. สลัดโจรทางตาออกไปด้วยการสลัดทิ้งซึ่งโลกธรรมทั้งหลาย * (* ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การสลัดละความสนุกสนานในการดูการเห็น ในเรื่องโลกียวิสัยทั้งหลาย…. ผู้แปลไทย )
2. การกำจัดโจรทางหู ด้วยการไม่ยินดียินร้าย ในเสียงทั้งหลายทั้งปวง ( คือไม่ฟังเสียง ) เป็นการรักษาศีล
3. บังคับโจรทางจมูกให้อ่อนเชื่องลง โดยการวางจิตเป็นอุเบกขา (ไม่ยินดียินร้าย) ในกลิ่นทั้งหลาย เรียกว่ามีความอดทน ( ขันติ )
4. ควบคุมโจรทางปาก โดยการเอาชนะความกระหายอยากในรสทั้งหลาย ไม่กระหายอยากในเสียงสรรเสริญเยินยอ ไม่กระหายในการพูดคุย นี่คือ จาคธรรม
5. การปราบปรามโจรทางกาย โดยการดำรงจิตไม่ให้หวั่นไหวไปกับเวทนาทางกายสัมผัส เรียกว่าการบำเพ็ญสมาธิ
6. การทำโจรทางจิตให้อ่อนเชื่องโดยการไม่ยอมแพ้ต่อความหลง คือโมหะ แต่การเจริญสติอยู่เสมอ เรียกว่า บำเพ็ญปัญญา

การบำเพ็ญบารมีทั้ง 6 นี้ จึงเป็นเสมือนการสร้างพาหนะ สำหรับขนส่ง เหมือนเรือหรือแพ เมื่อได้เป็นพาหนะที่จะขนส่งไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง ดังนั้น บารมีธรรม ทั้ง 6 นี้ จึงถูกเรียกว่า “ เรือข้ามฟาก

เมื่อคราวที่พระศากยมุนีบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านได้ดื่มนมสามถ้วยและข้าวต้มหกทัพพี 14* ก่อนหน้าการบรรลุธรรม ถ้าท่านต้องดื่มนมก่อนที่ท่านจะได้ชิมรสแห่งพุทธภาวะ เพียงแต่เฝ้าดูจิตเท่านั้น จะมีผลให้เกิดการหลุดพ้นได้อย่างไร ?

สิ่งที่ท่านพูดนั้นก็จริง,ความที่ว่าท่านบรรลุได้อย่างไรนั้น ท่านต้องได้ดื่มนมก่อนที่จะเป็นพุทธะได้ แต่นมมี 2 ชนิด ชนิดที่พระศากยมุนีดื่มนั้น คงเป็นนมที่ไม่ใช่นมธรรมดา ๆ แต่เป็นนมแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ (วิสุทธิธรรม) ที่ว่านมสามถ้วยนั้นคือ ศีล 3 ข้อ หรือปฏิญญา 3 ประการ และข้าวต้ม 6 ทัพพี หมายถึง ปารมิตา 6 ประการ เมื่อพระศากยมุนีบรรลุพระโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้ดื่มนมแห่งวิสุทธิธรรม ซึ่งพระองค์ชิมรสผลของพุทธภาวะนั้นเอง

การที่พูดว่า พระตถาคตได้ดื่มนมอันไม่สะอาดแบบโลก ๆ อันเป็นนมที่มีกลิ่นคาวนั้น เป็นการดูหมิ่นพระองค์อย่างสูง ความจริงที่กล่าวเช่นนั้น ท่านหมายถึง อมฤตธรรมเป็นธรรมอันปราศจากกิเลสตัณหา ดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยจากความทุกข์ของโลกตลอดกาล

ทำไมต้องนำนมอันไม่สะอาด มาสร้างความพอใจแก่คนหิวกระหายด้วยเล่า ?

พระสูตรกล่าวว่า “ โคตัวนี้ ไม่ได้อาศัยอยู่ในดินแดนที่สูงหรือต่ำ มันไม่กินหญ้าหรือฟาง และไม่ใช่หญ้ากับโค และร่างของโคตัวนี้มีสีสุกใสเปล่งปลั่งเหมือนทองคำขัดเงา โคตัวนี้คือ พระไวโรจนพุทธะ ” 15* หมายถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อสรรพสัตว์ ซึ่งเกิดจากธรรมกายอันบริสุทธิ์ของพระองค์

น้ำนมแห่งอริยมรรคของศีล 3 ข้อ และปารมิตา 6 ข้อ เพื่อบำรุงกำลังใจ แก่บุคคลผู้แสวงหาความหลุดพ้น น้ำนมอันบริสุทธิ์เกิดจากโคเช่นนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้พระตถาคตบรรลุพุทธภาวะเท่านั้น แต่สามารถทำให้ใครก็ตามที่ดื่มแล้วย่อมบรรลุธรรมอันเลิศคือสัมมาสัมโพธิญาณได้ทั้งนั้น

ตลอดทั้งสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกปุถุชนทั้งหลายว่า พวกเขาสามารถบรรลุธรรมได้ ด้วยการประกอบกรรมที่เป็นกุศลต่าง ๆ เช่น การสร้างวัด , การหล่อพระพุทธรูป , การจุดธูป (กำยาน) บูชา , การโปรยข้าวตอกดอกไม้บูชา , การจุดประทีปตลอดเวลา , การปฏิบัติกิจวัตร 6 ระยะ ทั้งกลางวันและกลางคืน, 16* การเวียนเทียนรอบพระสถูป 17* เจดีย์ ,การสมาทานอดอาหารและการกราบไหว้บูชา แต่ถ้าการเฝ้าดูจิตได้รวมกิจวัตรต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ ด้วยดูเหมือนว่ากิจกรรมเหล่านี้จะเป็นเรื่องมากเกินความจำเป็น

พระสูตรของพระองค์นั้น ได้บรรจุปริศนาธรรม คำอุปมาเอาไว้มากมาย เพราะปุถุชนทั้งหลายมีจิตใจตื้น ( คิดตื้น ) จึงไม่เข้าใจอะไรได้ลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าทรงใช้รูปธรรม เพื่อแสดงนัยแห่งนามธรรม * (* ใช้บุคลาธิษฐาน เพื่อแสดงธรรมมาธิษฐาน.... ผู้แปลไทย ) บุคคลผู้แสวงหาความสงบสุข โดยอาศัยการพิจารณาไปกับงานภายนอก แทนที่จะฝึกฝนอบรมในใจ มันจึงเป็นความพยายาม ที่สูญเปล่า

สิ่งที่ท่านเรียกว่า “วัด” เราเรียกว่า “ สังฆาราม ” หมายถึง สถานที่ปฏิบัติธรรมชำระจิต แต่ใครก็ตามป้องกันการเข้าไปของกิเลสทั้งสามกอง และระวังรักษาประตูคืออายตนะของตนให้บริสุทธิ์ ทั้งกายและใจสงบ และยังสะอาดทั้งภายในและภายนอก ชื่อว่าเป็นผู้สร้างวัด ๆ หนึ่งทีเดียว

การก่อพระเจดีย์ หมายถึงว่า บุคคลผู้แสวงหาการหลุดพ้น ต้องสามารถฝึกฝนตนเองในข้อวัตรปฏิบัติได้ทุกอย่าง อริยมรรคของพระตถาคต ไม่สมควรจะตีความหมายเป็นวัตถุภายนอก บุคคลผู้แสวงหาโมกขธรรม ถือว่ารูปกายของเขานั้นเป็นเสมือนเตาหลอม , ธรรมะเป็นเสมือนไฟ ,ปัญญาเป็นเสมือนช่างผู้ชำนาญ และศีลทั้งสามข้อและปารมิตาทั้งหกข้อเป็นเสมือนแบบพิมพ์

พิมพ์เหล่านี้ ทำหน้าที่หล่อหลอมแล้ว นำมาขัดเกลาตกแต่งให้ธรรมชาติแห่งพุทธะที่แท้จริงปรากฏกายขึ้นในตนเอง และเทลงไปในแบบที่ตกแต่งด้วยระเบียบวินัยและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเขาก็สามารถสร้างภาพเหมือนที่ครบถ้วนได้โดยธรรมชาติ กายอมตะและประเสริฐ ( อริยรูป ) ย่อมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเปลี่ยนแปลงและเสื่อมเสีย ถ้าแสวงหาสัจจธรรม แต่ไม่เรียนรู้วิธีสร้างภาพที่เหมือนจริง ( พุทธรูป ) ท่านจะได้รับประโยชน์อะไรเล่า ?

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 14* - 17*
14* หลังจากที่ได้ทรงอุทิศตนเป็นนักบวช ออกแสวงหาการปฏิบัติเป็นเวลาหลายปี โดยที่ไม่ได้รับผลสำเร็จ พระศากยมุนี ก็ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระองค์ แล้วหันมาบริโภคข้าวมธุปายาส (ข้าวต้มใส่น้ำนม ) ซึ่งนางนันทผลาลูกสาวของหัวหน้าคนเลี้ยงวัวนำมาถวาย เมื่อทรงเสวยแล้วก็ได้นั่งประทับอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า จะไม่ยอมลุกจากที่นี้ จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ

15* ได้แก่ พระสุริยพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นธรรมกายหรือกายแท้ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นไวยโรจนะ จึงหมายถึง รูปลักษณ์ส่วนกลางที่อยู่ในวิหารของพระศากยมุนี พุทธะทั้ง 5 พระองค์ ซึ่งประกอบไปด้วย พระอกโภยะแห่งทิศตะวันออก , พระรัตนสัมภยะแห่งทิศใต้ , พระอมิตาภะ แห่งทิศตะวันตก , และพระอโมคสิทธิแห่งทิศเหนือ

16* ได้แก่ยามเช้า เที่ยง บ่าย เย็น เที่ยงคืนและใกล้รุ่ง

17* สถูปเป็นลักษณะดินรูปโอ่งคว่ำ หรือสิ่งก่อสร้างขึ้นมาครอบพระธาตุต่าง ๆ เป็นต้นว่า พระบรมสารีริกธาตุหรือพระคัมภีร์ของพระพุทธเจ้า การเดินเวียนรอบสถูปนั้นต้องเดินเวียนขวา (ปทักษิณ) คือ ไหล่ขวาจะต้องหันเข้าหาสถูปเสมอ 8 สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะแห่งคุณสมบัติทั้ง 5 ประการของร่างกายพระพุทธเจ้า



pic by : Bowie
:http://www.ladysquare.com/forum_posts.asp?TID=40366&PN=7&title=swiss
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2011, 10:28:37 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 05:14:26 pm »


การจุดธูปบูชา ( เผากำยาน ) ไม่ได้หมายถึง การจุดธูปที่เป็นวัตถุธรรมดา แต่เป็นธูปแห่งธรรมที่ไม่อาจสัมผัสได้ ซึ่งขับไล่เอากิเลส , อวิชชา และกรรมต่าง ๆ ออกไปด้วยกลิ่นหอมของธูปนั้น ธูปที่ว่านั้นมี 5 ชนิดคือ..

ธูปดอกที่หนึ่ง หมายถึง ศีล คือการเลิกละความชั่ว และสร้างสมความดี
ธูปดอกที่สอง หมายถึง สมาธิ คือมีความเชื่อมั่นอย่างมั่นคงในมหายานและมีความตั้งใจอันไม่หวั่นไหว
ธูปดอกที่สาม หมายถึง ปัญญา คือการเพ่งพิจารณากายและใจทั้งภายในและภายนอก
ธูปดอกที่สี่ หมายถึง วิมุติ คือการตัดบ่วงหรือเครื่องผูกของอวิชชาให้ขาด
ธูปดอกที่ห้า หมายถึง ญาณปัญญา คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรขัดข้องในทุกหนทุกแห่ง

ธูป 5 ชนิดนี้ เป็นธูปที่มีคุณค่ามากที่สุดและสูงส่งกว่าธูปใด ๆ ที่จะพึงให้กันในโลก เมื่อพระพุทธองค์อุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงตรัสบอกให้สาวกทั้งหลาย จุดธูปอันมีค่าเช่นนั้น ด้วยไฟแห่งสติสัมปชัญญะ อันเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศ แต่สาธุชนคนทุกวันนี้ไม่เข้าใจความหมายอันแท้จริงของพระตถาคต พวกเขาใช้เปลวไฟธรรมดาจุดธูปหอมไม้จันทร์ หรือกำยาน แล้วสวดมนต์อ้อนวอน เพื่อขอโชคลาภซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นตามขอจริง ๆ

การบูชาพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง สำหรับการโปรยข้าวตอกดอกไม้ ก็เป็นการยึดถือสัจจะ เช่นกัน ปริศนาธรรมนี้ หมายถึง การแสดงธรรมเป็นการโปรยดอกไม้คุณธรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและเชิดชูบูชาธรรมกาย

ดอกไม้คุณธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องบูชา ดอกไม้คุณธรรมนี้จะสถิตย์อยู่ชั่วนิรันด์ ไม่รู้จักร่วงโรย ใครก็ตามที่โปรยดอกไม้ เช่นนี้ย่อมได้รับพรอันหาที่สุดไม่ได้ ถ้าท่านระลึกถึงพระตถาคตแล้ว ใช้ให้คนไปทำลายต้นไม้โดยการเด็ดดอกของมัน เพื่อการบูชา ท่านก็ผิด

บุคคลผู้สมาทานรักษาศีล ย่อมไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ ให้ได้รับ บาดเจ็บไม่ว่าในสวรรค์หรือมนุษย์ ถ้าท่านทำสิ่งใดให้เจ็บปวด เพราะเข้าใจผิด ท่านต้องได้รับทุกข์จากสิ่งนั้น

“ แต่ผู้ใดที่ละเมิดศีลโดยเจตนา ด้วยการทำสิ่งมีชีวิตให้ได้รับความเจ็บปวดเพื่อเห็นแก่โชคลาภของตน น่าจะเป็นทุกข์มากกว่า พวกเขาจะปล่อยให้สิ่งที่เป็นพรกลายมาเป็นสิ่งโศกเศร้าได้อย่างไร ? ”

ประทีปที่ติดไว้ตลอดเวลา * (* ในศาลเจ้าหรือสถานธรรมทั่วไป เราจะพบเขาจุดประทีปไว้ตลอดวันตลอดคืน ….ผู้แปลไทย ) หมายถึง ความสมบูรณ์ของสติสัมปชัญญะ ความสว่างแจ่มใสแห่งความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อุปมาเหมือนแสงประทีปโคมไฟที่ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา บุคคลผู้แสวงหาความหลุดพ้นย่อมเห็นกายนี้เหมือนตะเกียงน้ำมัน ใจของเราเหมือนไส้ตะเกียง การเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเหมือนน้ำมันตะเกียง และพลังแห่งปัญญาเป็นเหมือนเปลวไฟ เมื่อจุดตะเกียงสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ให้ความสว่างไสว มันย่อมขจัดความมืด และโมหะออกไป

และเมื่อถ่ายทอดธรรมะนี้ให้แก่ผู้อื่น พวกเขาก็สามารถใช้ตะเกียงดวงหนึ่งจุดตะเกียงดวงอื่น ๆ ได้อีกเป็นพัน ๆ ดวง เช่นเดียวกันประทีปเหล่านี้ที่จุดไปยังประทีปดวงอื่น ๆ อีกนับไม่ได้ แสงแห่งประทีปย่อมสว่างไสวเป็นนิรันด์กาล

นานมาแล้ว มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร 18* หรือโคมไฟ (ตะเกียง) นี่เป็นความหมายของชื่อของพระองค์ แต่คนเขลาไม่เข้าใจในอุปมา ปริศนาธรรมของพระตถาคต การถือมั่นด้วยความหลง และยึดติดกับสิ่ง ที่เป็นอัตตาตัวตน

พวกเขากลับไปจุด
ตะเกียงที่เต็มไปด้วยน้ำมันพืชทุก ๆ วัน และคิดว่าด้วยแสงสว่างที่เขาจุดไว้ในสถานธรรมนั้น
พวกเขาไม่ได้ปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ช่างโง่เสียนี่กระไร ?

แสงสว่างที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งรัศมีออกมาจากพระอุณาโลม 19* ซึ่งอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง สามารถเปล่งรัศมีออกไปทั่วโลก แสงจากตะเกียงน้ำมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร หรือท่านคิดอย่างไร ?

การปฏิบัติ 6 ระยะตลอดทั้งวันทั้งคืน หมายถึง การบำเพ็ญโพธิญาณในระหว่างสัมผัสทั้ง 6 นี่คือความหมายการปฏิบัติตลอด 6 ระยะ

สำหรับการเวียนเทียนรอบสถูปเจดีย์ หมายความว่า “ สถูป” คือ กายและจิตของท่าน ( รูปและนาม ) เมื่อความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านหมุนรอบกายรอบใจของท่านโดยไม่ขาดสาย นี่เรียกว่า การเดินเวียนรอบสถูป ผู้รู้ในอดีตกาลได้ปฏิบัติตามทางสายนี้ แต่คนปัจจุบันไม่เข้าใจว่าการทำเช่นนี้หมายความว่าอย่างไร” แทนที่จะกลับไปเฝ้าดูภายใน พวกเขากลับยืนกรานเฝ้าแต่มองข้างนอก คือ ใช้รูปกายของตนเดินรอบพระสถูปภายนอกและพวกเขาทำอยู่เช่นนั้น ทั้งวันทั้งคืน ทนทำในสิ่งไร้สาระและไม่มีโอกาสได้สัมผัสกายแท้ ( ธรรมกาย ) ของตนเองอย่างใกล้ชิดเลย

การอดอาหาร ถือเป็นสัจจะอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องไร้ประโยชน์เว้นแต่ว่าท่านจะเข้าใจความหมายอันแท้จริงของการกระทำ การอดอาหารหมายถึง การจัดระเบียบคือจัดระเบียบกายและใจของท่าน เพื่อไม่ให้ถูกกิเลสบีบคั้นหรือรบกวน และการสมาทานปฏิบัติ หมายถึง การสนับสนุนส่งเสริมระเบียบวินัยที่สอดคล้องตามธรรมะ

การอดอาหารหมายถึง การระวังป้องกันความเพลิดเพลินที่เข้ามา จากอายตนะภายนอกหก20* และกิเลสทั้งสามกองภายใน และเพียรพยายามพินิจพิจารณาเพื่อชำระกาย – ใจ ของตนให้บริสุทธิ์

การอดอาหารรวมถึงอาหาร 5 ชนิดด้วย คือ
1. ธัมมฉันทะ คือ ความพึงพอใจที่เกิดจากการกระทำที่สอดคล้องกับธรรมะ
2. ความผสมกลมกลืนกับการทำสมาธิ หมายถึง ความกลมกลืนของกายและจิต จากการเห็น ที่ผ่านมาทางรูปและนาม
3. การอ้อนวอน คือ การอ้อนวอนขอร้องพระพุทธเจ้า ด้วยการขอร้องด้วยปากที่ตรงกับใจ
4. ความตั้งใจ คือตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกุศลธรรม ไม่ว่าจะอยู่ใน การยืน เดิน นั่ง หรือนอน
5. วิมุตติ คือ ทำให้จิตของท่านหลุดพ้นจากความสกปรกของโลกียวิสัย


อาหารทั้ง 5 ประการนี้ไม่ต้องอด ยกเว้นบุคคลที่กินอาหารอันบริสุทธิ์ 5 ประการนี้แล้ว เขาคิดผิดที่ว่าเขาอดอาหาร

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 18* - 20*
18* พระศากยมุนีได้พบพระพุทธเจ้าทีปังกร ในปลายอสงไขย กัลป์ที่ 2 และได้ถวายดอกบัวบูชาพระองค์ 5 ดอก แล้วพระพุทธเจ้าทีปังกรได้ทรงพยากรณ์พระศากยมุนีไว้ว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระพุทธเจ้าทีปังกรนั้นปรากฏพระองค์เมื่อไรก็ตาม, พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ชื่อ ปุณฑริกสูตร เมื่อนั้น

19* เป็นลักษณะแห่งมหาบุรุษอย่างหนึ่งใน 32 ประการ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง เป็นที่แผ่รังสีของพระพุทธเจ้า (อุณาโลม)

20* หมายถึง ความรู้สึกที่ดึงดูดหรือวิญญาณ 6 ประการ เป็นเครื่องเข้าไปยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2011, 05:29:28 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 11:00:55 am »


ขณะเดียวกัน ท่านต้องหยุดกินอาหารด้วยโมหะ ( ความหลง ) ด้วย ถ้าท่านแตะต้องอาหารอีก ( ขณะทำการอดอาหาร ) ท่านก็ละเมิดการอดอาหารของท่าน และเมื่อใดท่านละเมิด ท่านก็มิได้รับอานิสงส์จากการอดอาหารนั้น

โลกนี้เต็มไปด้วยคนหลงที่ไม่รู้จักเรื่องนี้ พวกเขาทำกายและใจของเขาให้หลงเพลินในลีลาแห่งความชั่วทุกอย่าง และทอดสะพานให้แก่ตัณหาราคะของตน และไม่มียางอาย ( หิริ – โอตตัปปะ ) และเมื่อพวกเขาหยุดกินอาหารธรรมดา พวกเขาเรียกสิ่งนี้ว่า “ การอดอาหาร ” ช่างงี่เง่าเสียนี่กระไร

มันก็เหมือนกับการบูชา ท่านต้องเข้าใจความหมายและรู้จัก ดัดแปลงเงื่อนไข ความหมายนั้นรวมถึงการกระทำและไม่กระทำด้วย ใครก็ตามถ้าเข้าใจเรื่องนี้ดีชื่อว่าปฏิบัติตามธรรมะ

การบูชา หมายถึง การแสดงความเคารพ รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง
การเคารพสัจจธรรมในตัวของท่านและทำให้โมหะอ่อนตัวลง ถ้าสามารถขจัดปัดเป่าตัณหาลามกออกไป และพึ่งพากุศลจิต ( ความดี ) แม้ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมาว่าเป็นการบูชาก็ตาม รูปแบบการบูชาเช่นนี้ เป็นรูปแบบที่ถูกต้อง

พระพุทธองค์ ต้องการให้ปุถุชนระลึกถึงการบูชา อันเป็นการแสดงออกทางจิตที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และอ่อนโยนต่อทุกสิ่ง ดังนั้น พระองค์จึงตรัสให้ปุถุชนทั้งหลายรู้จักหมอบราบกราบกราน เพื่อแสดงออกซึ่งความเคารพของเขา ให้มีการแสดงออกทั้งภายนอกและภายใน เพื่อมีความสอดคล้องกลมกลืนกันทั้งแก่นสารและรูปแบบ ( เนื้อหาและรูปแบบ ) บุคคลที่ไม่เข้าใจความหมายภายใน และมุ่งที่แสดงออกแต่อาการภายนอกแทน ไม่เคยหยุดยั้งความหลงเพลิดเพลินในอวิชชา ความเกลียดชัง และความชั่วได้เลย

ขณะที่ทำตนเองให้อ่อนน้อมจนอ่อนเพลีย ก็ไม่ได้รับประโยชน์อานิสงส์อะไรเลย เขาสามารถหลอกลวงผู้อื่นด้วยลีลาท่าทาง คือ ต่อหน้าบัณฑิตก็ยังขาด หิริ – โอตตัปปะ ต่อหน้าปุถุชนก็แสดงอาการ เหลวไหลไร้สาระ แต่พวกเขาก็หลีกไม่พ้นจากวัฏฏทุกข์ ได้รับบุญกุศลจากการทำเช่นนั้นเพียงน้อยนิดเหลือเกิน

ห้องน้ำ (อุทกฆรสูตร*22) ในพระสูตรกล่าวว่า “ ด้วยการสนับสนุนการสรงน้ำพระ ประชาชนย่อมได้รับพรอย่างมากมาย ” เรื่องจะปรากฏเป็นตัวอย่าง การปฏิบัติภายนอกที่ทำให้ได้บุญ และเรื่องนี้ก็ไม่เห็นเกี่ยวข้องกับการเฝ้าดูใจได้อย่างไร? * (* การสรงน้ำพระ เป็นประเพณีที่ทำติดต่อกันมาช้านาน โดยเฉพาะในเมืองไทย ทำกันมาจนชิน แต่ไม่มีใครคิดว่าทำเพื่ออะไร โดยเฉพาะทางภาคอีสาน ประเพณีสรงน้ำพระหลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนผ้า , การรับยศ เลื่อนยศ , ประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ จากหนังสือเล่มนี้ เราจะรู้ความหมายของการสรงน้ำเราทำกันอยู่นั้น หมายความว่าอย่างไร ….. ผู้แปลไทย )

ในที่นี้ การสรงน้ำพระไม่ได้หมายถึงการสรงน้ำภายนอกใด ๆ เลย สมัยเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงอุทกฆรสูตร ( สูตรว่าด้วยเรื่องห้องน้ำ ) พระองค์ต้องการให้สาวกของพระองค์จดจำธรรมะ ว่าด้วย การชำระ (ขจัด ) ดังนั้นพระองค์จึงใช้กิจวัตรประจำวัน บรรจุความหมายอันแท้จริงของพระองค์ไว้ ซึ่งพระองค์ได้บันทึกไว้ ในการอธิบาย เรื่องการทำบุญจากการให้ทานวัตถุ 7 ประการ ในวัตถุ 7 ประการนั้นได้แก่

1. น้ำสะอาด
2. ไฟ , ประทีป
3. สบู่
4. ไม้สีฟัน
5. ขี้เถ้าสด
6. ยาขี้ผึ้ง
7. เครื่องนุ่งห่มภายใน


พระองค์ใช้วัตถุ 7 ประการนี้ เพื่อแสดงความหมายธรรม 7 ประการ อีกแบบหนึ่งเพื่อพัฒนาบุคคลเพื่อขจัดโมหะและสิ่งสกปรกออกจากใจที่ถูกมันห่อหุ้มอยู่

ปริศนาธรรมข้อแรก คือ ให้น้ำสะอาด ซึ่งหมายความว่า ให้รู้จักชำระส่วนเกินของชีวิตออกไป เสมือนน้ำสะอาดชำระความสกปรกของร่างกายออกไปฉันนั้น

ข้อที่ 2. ให้ไฟหรือประทีป หมายถึง ปัญญา ซึ่งรอบรู้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งรูปธรรมนามธรรม เสมือนไฟที่ทำน้ำเย็นให้อุ่นได้

ข้อที่ 3. การให้สบู่ หมายถึง การรู้จักแบ่งแยกระหว่างของสะอาดและของสกปรก ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติเพื่อเลิกละความชั่ว เสมือนสบู่ที่ใช้เพื่อขจัดความสกปรกออกไป

ข้อที่ 4. การให้ไม้สีฟัน หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสามารถชำระล้างมลทินต่าง ๆ อันเกิดจากความหลงได้ เสมือนไม้สีฟัน เมื่อเคี้ยวไม้สีฟันประจำ จะทำให้ลมหายใจสะอาด

ข้อที่ 5. การให้ขี้เถ้าสด หมายถึง อจลศรัทธา ( ความเชื่ออันไม่หวั่นไหว ) ซึ่งทำให้ขจัดความสงสัยทุกอย่างได้ เสมือนขี้เถ้าบริสุทธิ์ ใช้ทาร่างกายเพื่อป้องกันโรค * (* คนไทยชอบใช้ขมิ้นมากกว่าขี้เถ้า … ผู้แปลไทย )

ข้อที่ 6. การให้ยา – น้ำมันขี้ผึ้ง หมายถึง มีความอดทน (ขันติ ) ซึ่งสามารถจะเอาชนะความอวดดื้อถือดี และความหน้าด้านของตนเอง ได้เสมือนขี้ผึ้งซึ่งใช้นวดลำตัวให้หายปวดเมื่อยได้

ข้อที่ 7. การให้เครื่องนุ่งห่มภายใน หมายถึงให้มีหิริ – โอตตัปปะ(มียางอาย ) ซึ่งให้รู้จักแก้ไขความชั่วของตนเองอยู่เสมอ เหมือนเครื่องนุ่งห่มภายใน ใช้นุ่งห่มร่างกายเพื่อปกปิดส่วนที่น่าเกลียดน่าละอาย

ปริศนาธรรม 7 ประการนี้ เป็นความหมายที่ถูกต้องของพระสูตรซึ่งพระตถาคตเจ้าได้ตรัสบอกแก่สาวกแห่งมหายาน ให้มีสายตายาวไกล ไม่เป็นคนใจแคบด้วยทัศนะมืดมน เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนทุกวันนี้ทำด้วยความไม่เข้าใจ ( ความหมายที่แท้จริง )

ห้องน้ำ หมายถึง ร่างกาย เมื่อท่านจุดไฟแห่งปัญญานั้นแล้ว อุ่นน้ำสะอาดแห่งศีลและอาบด้วยน้ำ คือ พุทธภาวะอันแท้จริงในตัวคุณ

ด้วยการส่งเสริมข้อวัตรปฏิบัติ 7 ประการนี้ ท่านก็จะเพิ่มพูนบุญกุศลของท่านได้มากขึ้น พระในยุคนั้นมีความเข้าใจเช่นนี้ ท่านจึงเข้าใจความหมายคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ ท่านเหล่านั้นดำเนินตามคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้กุศลธรรมของท่านเต็มบริบูรณ์ได้ และได้ลิ้มรสแห่งพุทธภาวะ

แต่สาธุชนปัจจุบันไม่สามารถหยั่งรู้ถึงความจริงเหล่านี้
พวกเขาสรงน้ำธรรมดา ๆ เพื่อชำระร่างกายและคิดว่าตนเองได้ปฏิบัติตามพระสูตรแต่ความจริงแล้วพวกเขาเข้าใจผิด

พุทธภาวะอันแท้จริงของเรา ไม่มีรูปลักษณ์และมลทินแห่งความทุกข์ยากลำบาก ก็ถ้าไม่มีรูปแล้ว บุคคลจะใช้น้ำธรรมดาชำระนามรูปได้อย่างไร มันทำไม่ได้ เมื่อไรเขาจึงจะตื่นตัว ?

การชำระภายในเช่นนี้ ท่านต้องเฝ้าดูมัน เมื่อใดกิเลสและอาสวะเกิดขึ้นจากตัณหา ท่านต้องเพิ่มการเฝ้าดูมากขึ้น จนให้สามารถควบคุมตนเองได้ทั้งภายในและภายนอก, แต่ถ้าท่านพยายามชำระร่างกายนี้ ท่านจะต้องขัดถูมันจนกว่าจะหมด มันถึงจะสะอาด จากการอาบนี้ ท่านต้องเข้าใจว่าการอาบน้ำเพื่อชำระสิ่งสกปรกภายนอก ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 01:18:04 pm »


พระสูตรกล่าวว่า “ คนที่อ้อนวอนขอร้องพระพุทธเจ้า จนหมดหัวใจเพื่อความแน่ใจที่จะได้ไปเกิดในสวรรค์ทิศตะวันตก *24 เพราะประตูสวรรค์นี้จะนำไปสู่พุทธภาวะ จะแสวงหาการหลุดพ้นด้วยการเฝ้าดูจิตไปทำไม? ”

ถ้าท่านกำลังอ้อนวอนพระพุทธเจ้า ท่านต้องทำสิ่งนี้ให้ถูก ถ้าท่านเข้าใจความหมายของการอ้อนวอนไม่ถูกต้องแล้ว ท่านก็จะผิด ถ้าท่านทำสิ่งนี้ผิด ท่านก็ยังไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย

พระพุทธเจ้า หมายถึง ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ความรู้สึกทั้งกายและใจนี่เอง จะช่วยป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป และการอ้อนวอน หมายถึง การเรียกร้องหาจิตใจ การเรียกร้องหาจิตใจตลอดเวลา เป็นระเบียบวินัย ( ธรรมวินัย ) ที่ท่านสามารถปฏิบัติตามได้ด้วยความสามารถทั้งหมดของท่าน นี่เป็นความหมายที่แท้จริงของการอ้อนวอน การอ้อนวอนขอร้องต่อพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อ้อนวอนด้วยความคิดและคำพูด

ถ้าท่านใช้ไซจับปลา (ไซดักปลา) เมื่อท่านจับได้สำเร็จ ท่านอาจลืมไซได้ ถ้าท่านใช้ภาษาเพื่อความหมาย ถ้าท่านพบความหมายแล้ว ท่านก็ลืมภาษาได้เช่นกัน

การขอร้องอ้อนวอน ด้วยการออกพระนามของพระพุทธเจ้า ท่านต้องเข้าใจธรรมะสำหรับการอ้อนวอนด้วย

ถ้าท่านไม่เอาใจใส่ในการกระทำนั้นได้ ปากของท่านก็สวดมนต์ไป ด้วยพระนามอันว่างเปล่า *21 (* การสวดมนต์ เป็นการอ้อนวอนแบบหนึ่ง แต่ถ้าไม่แปล ไม่เข้าใจความหมาย ก็ไร้ประโยชน์ เหนื่อยเปล่าเช่นกัน … ผู้แปลไทย )

ตราบใดที่ท่านยังได้รับความทุกข์ยากลำบาก เพราะกิเลสหรือความคิดของตนเองอยู่ จิตอันมืดมนของท่านก็จะบดบังการเห็นพระพุทธเจ้าของท่าน และความพยายามของท่านก็ทำให้เสียเวลาเปล่า การสวดมนต์และการอ้อนวอน เป็นโลกที่แยกตัวออกไป * (* กิจกรรม ที่แยกจากสังคม …. ผู้แปลไทย)

การสวดมนต์สำเร็จด้วยปาก แต่การอ้อนวอนสำเร็จด้วยใจ เพราะการอ้อนวอนออกมาจากจิต เป็นการเคาะประตู เรียกว่า ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ( สติสัมปชัญญะ ) เท่านั้น การสวดมนต์มีศูนย์รวมอยู่ที่ปาก และปรากฏออกมาเป็นเสียง ถ้าท่านยึดติดปรากฏการณ์ขณะที่แสวงหาความหมายท่านก็จะไม่พบสิ่งใด

ดังนั้น นักปราชญ์ในอดีตจึงอบรมฝึกฝนการใคร่ครวญพิจารณา และไม่ใช้วาจา
จิตนี้เป็นแหล่งกำเนิดของกุศลธรรมทั้งปวง และจิตนี้ก็เป็นใหญ่กว่าอำนาจทั้งปวง ความสุขอันอมตะของพระนิพพาน เกิดจากจิตที่สงบ การเกิดใหม่ในภูมิทั้งสามก็มาจากจิตด้วย

จิตเป็นประตูเปิดไปสู่ทุก ๆโลกและเป็น
ท่าน้ำข้ามไปสู่ฝั่งตรงข้ามได้ บุคคลที่รู้จักว่าประตูอยู่ที่ไหนย่อมไม่กังวลที่จะเข้าไป คนที่รู้ว่าท่าน้ำอยู่ที่ไหนย่อมไม่กังวลที่จะข้ามไป

บุคคลที่ฉันพบทุกวันนี้ เป็นคนตื้นเขิน เขาคิดว่าบุญเป็นสิ่งที่มีตัวตน พวกเขาจึงใช้จ่ายทรัพย์ทำบุญอย่างฟุ่มเฟือย ฆ่าเนื้อเบื่อปลาทั้งบกและทะเล พวกเขามอมเมาตัวอย่างโง่ ๆ ด้วยการสร้างสถูปเจดีย์อย่างสูงส่ง บอกให้ประชาชนบริจาคไม้และอิฐ หิน ดิน ปูน ทาสีเขียวและน้ำเงิน ( เจดีย์ที่สร้างเสร็จ )

พวกเขาทำกายและใจให้ตึงเครียด ทำตนเองให้เจ็บป่วยและนำผู้อื่นไปผิดทางและเขาไม่รู้จัก หิริ – โอตตัปปะ อย่างเพียงพอแล้วพวกเขาจะบรรลุธรรมได้อย่างไร พวกเขาเข้าไปยึดติดกับสิ่งที่เห็นภายนอกอย่างเหนียวแน่น

ถ้าท่านพูดเรื่องอนัตตาให้เขาฟัง เขานั่งนิ่งและงงงัน ชอบแสดงความเมตตาเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อชาวโลก แต่มีความโลภลามกอยู่เบื้องหลัง เขายังใบ้บอดต่อมหันตทุกข์ที่กำลังมาถึง สาวกเช่นนั้นกำลังมอมเมาตนเองด้วยสิ่งไร้สาระ หันเหจากสัจจธรรมไปสู่ความจอมปลอม พวกเขาไม่ได้พูดอะไรนอกจากขอพร เพื่อให้พบความสุขในอนาคต

ถ้าท่านสามารถเพ่งพินิจแสงสว่างภายในใจของตนอยู่เสมอ ๆ แล้วจะเห็นแสงสว่างภายนอก ท่านจะขับไล่อสรพิษทั้ง 3 ( โลภะ โทสะ โมหะ ) และโจรทั้ง 6 ( อุปาทานในอายตนะ ทั้ง 6 ) ออกไปได้ทันทีและตลอดไป กุศลธรรมและบารมีธรรมอันมากมายมหาศาลจะบังเกิดขึ้นแก่ท่าน และเป็นพาหนะนำไปสู่ประตูแห่งปรมัตถธรรมโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม

การรู้แจ้งแทงตลอด โลกียธรรมและโลกุตตรธรรม จะอุบัติขึ้นรวดเร็วยิ่งกว่าการกระพริบตาเสียอีก การรู้แจ้งธรรมจะบังเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที ทำไมต้องกังวลจนผมหงอกด้วยเล่า ?
เมื่อประตูสัจจธรรมยังเปิดไม่ได้ ฉันก็เพียงแต่เฝ้าดูใจไปเรื่อย ๆ

               

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 21* - 24*
21* เป็นคำแปลจากคำว่า ภควันต์ เป็นชื่อหนึ่งในสิบสอง ของพระพุทธเจ้า คำแปลในภาษาจีนได้ใช้คำใหม่แทน คือ World – honored one

22* แปลโดยฉีเก๋า ( Shih – kao ) ในกึ่งศตวรรษที่ 2 สูตรนี้โดยสังเขปกล่าวถึงอานิสงส์ของการสร้างที่อาบน้ำให้แก่พระภิกษุทั้งหลาย

23* เป็นหนึ่งในเครื่องนุ่งห่มประจำตัวของภิกษุทั้ง 3 ประเภท คือชุดภายในใส่เพื่อป้องกันตัณหา ผ้า 7 ชิ้นใส่เพื่อป้องกันความโกรธ และชุดที่มี 27 ชิ้นใส่ป้องกันโมหะ

24* เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิสุทธิภูมิ ซึ่งเป็นดินแดนแห่งพระอมิตาภะ ผู้เป็นหนึ่งในพระธยานีพุทธะทั้ง 5 พระองค์ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง กับชาวตะวันตกโดยตรง การอ้อนวอนต่อพระอามิตภะจนหมดหัวใจ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผู้ที่อุทิศตนเช่นนั้นจะได้ไปเกิดใหม่ในดินแดนอันบริสุทธิ์ร่วมกับพระองค์ ซึ่งถือกันว่าอยู่ห่างไกลออกไปหลายล้านไมล์ แต่ก็ไม่ไกลจนเกินไปเสียเลยทีเดียว การไปเกิดใหม่ที่ดินแดนแห่งนั้นครั้งหนึ่ง ผู้อุทิศตนหรืออุบาสกอุบาสิกาแทบจะไม่มีปัญหาอะไรเลย ในการเข้าใจธรรมะและการบรรลุถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ (วิมุตติ)


จบ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 02:32:59 pm »


ในสรรพสิ่งทั้งหลายย่อมไม่มีอะไรที่จริงแท้ ดังนั้นเราควรเปลื้องตนออกเสียจากความคิดเห็น ถึงความจริงแท้แห่งวัตถุเหล่านั้น ใครที่เชื่อในความจริงแท้ของวัตถุ ย่อมถูกพันธนาการอยู่ด้วยความคิดเห็นเช่นนั้นซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งลวง ใครที่ตระหนักชัดถึงความจริงแท้ในตัวเขาเอง ย่อมรู้ว่า จิตที่แท้ต้องค้นหาต่างที่กับปรากฏการณ์ที่ผิด ถ้าจิตของใครถูกพันธนาการไว้ด้วยปรากฏการณ์ที่เป็นความลวงแล้ว จะไปหาความจริงแท้ได้ที่ไหน ในเมื่อปรากฏการณ์ทั้งหลายไม่ใช่ความจริงแท้

           

สัตว์ทั้งหลายย่อมเคลื่อนไหว วัตถุทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง ใครฝึกตนเองให้เป็นผู้ไร้ความเคลื่อนไหว ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากทำตนให้แน่นิ่งอย่างวัตถุ ถ้าท่านจะหาความสงบนิ่งที่ถูกแบบ ก็ควรเป็นความสงบนิ่งภายในการเคลื่อนไหว ความสงบนิ่ง ( เหมือนอย่างวัตถุ) ก็เป็นเพียงความสงบนิ่ง (ไม่ใช่ธฺยานะ)........”

สูตร ของเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล



ถ้าผู้ใดมีความตั้งใจที่จะเข้าถึงโพธิญาณ
เขาจะปฏิบัติตามวิธีใดที่ดีที่สุด ? ”

วิธีที่ดีที่สุด ที่รวมเอาวิธีอื่นทุกวิธีเข้าด้วยกันได้ คือวิธีการเฝ้าดูจิต
“ แต่วิธีเดียวจะสามารถรวมวิธีอื่นทั้งหมดเข้ามาได้อย่างไร ? ”
( เพราะ ) จิตเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญเติบโตของสิ่งทั้งปวง

           

ดังนั้น ถ้าท่านเข้าใจเรื่องจิต ทุกสิ่งก็รวมที่จิตหมด จิตเป็นเสมือนรากของต้นไม้เพราะ.. ผล , ดอก, กิ่ง, ก้าน, สาขาและใบของต้นไม้ทั้งหมด ล้วนอาศัยรากของมัน ถ้าบำรุงที่รากของมัน ต้นไม้ก็เจริญเติบโตยิ่งขึ้น ถ้าท่านตัดรากของมันต้นไม้ก็ตาย คนที่เข้าใจเรื่องจิตของตนเอง สามารถบรรลุได้โดยใช้ความเพียรไม่มาก
ส่วนคนที่ไม่เข้าใจจิตใจของตนเอง ปฏิบัติไปก็ไร้ประโยชน์ ความดีและความชั่ว ทุกอย่างล้วนมาจากจิตของท่านเอง การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายนอกจิตนั้น เป็นไปไม่ได้

แต่การเฝ้าดูจิตอย่างไร จึงจะเรียกว่า การเข้าใจ (ถูกต้อง ) ?



ขอบพระคุณที่มาจาก :http://larndham.net/index.php?showtopic=12071
นำมาแบ่งปันโดย...
มดเอ๊กซ์ :
http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=modx&topic=47&Cate=8
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 10:55:35 pm »
 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~