ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติและปฏิปทา ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)  (อ่าน 5036 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
ประวัติและปฏิปทา
ท่านติช นัท ฮันห์

(Thich Nhat Hanh)

หมู่บ้านพลัม (Plum Village)
เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ประเทศฝรั่งเศส



ท่านติช นัท ฮันห์ มีนามเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า (Nguyen Xuan Bao) เกิดเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2469 ที่จังหวัดกวงสี ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ฉายาของท่านเมื่อบวชแล้วคือ ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)

“ติช” ในเวียดนามเป็นคำเรียก พระ แปลว่า “แห่งศากยะ” คือ ผู้สืบทอดพุทธศาสนา “นัท ฮันห์” แปลว่า “สติอยู่กับปัจจุบันขณะ” คือ การกระทำเพียงหนึ่ง (One Action) ดังนั้น “ติช นัท ฮันห์” จึงแปลว่า ผู้สืบทอดพุทธศาสนาอันสติอยู่กับปัจจุบันขณะ หมู่ลูกศิษย์ในทางตะวันตก เรียกท่านว่า “Thay” (ไถ่) ซึ่งในภาษาเวียดนามมีความหมายว่า “ท่านอาจารย์”

ในปี พ.ศ.2485 เมื่ออายุได้ 16 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu) วิถีชีวิตในวัดเซนแห่งนี้เป็นรากฐานอันสำคัญต่อชีวิตนักบวชของท่าน สามเณรต้องเรียนรู้การมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะ ในทุกการกระทำ อาจารย์ได้มอบหนังสือเล่มเล็กๆ กำชับให้ศึกษาหนังสือนั้นจนกว่าจะเข้าใจ “การนำสารัตถะแห่งพระวินัย มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน” เป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น กล่าวถึง อากัปกิริยาของพระฝึกหัดจะต้องเกิดขึ้นพร้อมไปกับสัมมาสติ หรือการกำหนดรู้ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2492 เมื่ออายุ 23 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานนิกายเซน จากนั้นจึงเดินทางไปไซ่ง่อนเพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา

ท่านติช นัท ฮันห์ มีความคิดว่า พุทธศาสนาต้องรับใช้สังคม หรือพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Engaged Buddhism) จะมัวเจริญสติเจริญภาวนาอยู่ในวัดอย่างเดียวไม่ได้ ท่านจึงช่วยเหลือผู้คนและสังคมด้วยวิถีแห่งสติและสันติตามแนวทางพุทธศาสนา ช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เข้ากับยุคสมัย รวมทั้งเขียนบทความทางพุทธศาสนา แต่กลับถูกผู้นำองค์กรชาวพุทธและรัฐบาลเวียดนามต่อต้านเป็นอย่างมาก

ในปี พ.ศ.2505 ท่านเดินทางไปศึกษาต่อด้านศาสนาเปรียบเทียบที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากได้รับทุน จากนั้น 1 ปี ในราวปี พ.ศ.2506 ท่านได้เป็นผู้บรรยายพิเศษที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

แต่ท่านตัดสินใจกลับเวียดนาม เพื่อช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทกับมหายานในเวียดนามใต้ ดำเนินการตั้งโรงเรียนยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคมและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากสงครามเวียดนาม พยายามสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ด้วยการสานต่อแนวคิดเรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์กับสังคม และพัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอนและเขียนในสถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่า การกระทำและปัญญาต้องก้าวไปด้วยกัน (action and wisdom must go together)

เมื่อถึงปี พ.ศ.2509 ท่านได้จัดตั้ง “คณะเทียบหิน” เป็นกลุ่มสังฆะประกอบด้วยภิกษุ-ภิกษุณี และฆราวาส ปฏิบัติตนตามหลัก 14 ข้อ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่

ในปีเดียวกันท่านติช นัท ฮันห์ กลับไปสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง เพื่อร่วมการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาในเวียดนามที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ รวมถึงพยายามทำให้สังคมมีสันติภาพ ด้วยการกระตุ้นให้คนไม่ว่าชาติใดก็ตามเห็นถึงความสำคัญของสันติภาพ ท่านตระหนักว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือหยุดการสนับสนุนสงครามและมุ่งเน้นสันติภาพ โดยปลุกจิตสำนึกต่อคนทั่วโลก

กระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King, Jr.) นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกา ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize) เมื่อปี พ.ศ.2507 ได้เสนอนามท่านติช นัท ฮันห์ เข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี พ.ศ.2510

ผลของการทำงานและการเคลื่อนไหวต่างๆ ของท่านติช นัท ฮันห์ ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามใต้ไม่อนุญาตให้ท่านกลับเข้าประเทศ ท่านจึงต้องลี้ภัยอย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส โดยสอนประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนามที่มหาวิทยาลัย และสร้างอาศรมแห่งหนึ่งนอกเมืองปารีส เพื่อเขียนหนังสือและปลูกพืชผักสมุนไพร ซึ่งท่านติดต่อลับๆ กับพระภิกษุที่ถูกจำคุกในเวียดนาม เพราะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงานเพื่อสันติภาพและผู้ลี้ภัย ควบคู่ไปกับการนำธรรมสู่ผู้คนทุกเชื้อชาติ จากประสบการณ์ของท่านที่ได้พบเห็นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยด้วยตนเอง จนสามารถช่วยเหลือผู้คนได้อีกมาก

ในปี พ.ศ.2525 เมื่อผู้มาปฏิบัติธรรมที่อาศรมของท่าน ทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเริ่มก่อตั้งชุมชนแห่งใหม่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ให้ชื่อว่า หมู่บ้านพลัม (Plum Village) อันเป็นชุมชนแบบอย่างการปฏิบัติธรรมแห่งพุทธบริษัท 4 โดยไม่มีเส้นแบ่งทางศาสนา ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างตระหนักรู้ในแต่ละลมหายใจเข้าออก และกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ซึ่งถือเป็นบ้านของท่านจนทุกวันนี้

ที่มาของชื่อหมู่บ้าน “พลัม” เกิดจากท่านติช นัท ฮันห์ มีความประสงค์จะสร้างชุมชนปฏิบัติธรรมขึ้น ครั้งนั้นมีภิกษุเสนอให้ตั้งชื่อว่า หมู่บ้านโรงเรียนสำหรับหนุ่มสาวเพื่อรับใช้สังคม

แต่ท่านติช นัท ฮันห์ เสนอให้ใช้ชื่อ “หมู่บ้านพลัม” เพราะพื้นที่ดังกล่าวปลูกต้นพลัมนับพันต้น เพื่อให้ออกผลให้ผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในฝรั่งเศสเก็บรับประทาน และคำว่า “พลัม” ฟังดูน่ารักและเบาสบาย เหมาะเป็นที่พักทางจิตวิญญาณ

ในช่วงแรกหมู่บ้านพลัม (Plum Village) เป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย ในช่วงการปรับตัวก่อนเข้าสู่สังคมใหม่ในประเทศใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านพลัมได้ต้อนรับผู้คนมากมายในการปฏิบัติสมาธิภาวนา และได้เริ่มมีสมาชิกเป็นนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ซึ่งในปี พ.ศ.2549 มีสมาชิกเป็นนักบวชทั้งภิกษุและภิกษุณีกว่าห้าร้อยคน มาจากยี่สิบกว่าประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่มาอยู่ที่หมู่บ้านพลัม เมืองบอร์กโดซ์ ในประเทศฝรั่งเศส, ที่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และวัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม



ในปัจจุบัน ชุมชนปฏิบัติธรรมแห่งสังฆะหมู่บ้านพลัม มีทั้งสิ้น 12 แห่ง กระจายอยู่ในประเทศฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน และเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ กระจายอยู่อีกหลายประเทศทั่วโลกเกือบหนึ่งพันกลุ่ม อาทิเช่น

- Upper Hamlet, Lower Hamlet, New Hamlet, Son Ha กระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทใกล้เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

- Clarity Hamlet, Solidity Hamlet ที่ Deer Park Monastery, Community of Mindful Living รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

- Green Mountain Dharma Center, Maple Forest Monastery รัฐเวอร์มอนต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

- Blue Cliff Monastery รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

- วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และวัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

จนกระทั่งปี พ.ศ.2548 เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศเวียดนามเข้าสู่ภาวะปกติ หลังไฟของสงครามเวียดนามดับมอดลงไปแล้วถึง 30 ปี ท่านติช นัท ฮันห์ จึงได้เดินทางกลับมาเยือนประเทศเวียดนาม แผ่นดินอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านอย่างเป็นทางการ หลังการจากมาเป็นเวลายาวนานถึง 39 ปี ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวเวียดนามอย่างอบอุ่น

ถึงตอนนี้ ท่านติช นัท ฮันห์ ยังคงพำนักอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส และยังคงเดินทางไปประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก พร้อมด้วยภิกษุและภิกษุณีแห่งหมู่บ้านพลัม เพื่อเผยแผ่ธรรมและนำการเจริญสติเจริญภาวนาแก่ผู้สนใจซึ่งมีเป็นจำนวนมาก

ท่านติช นัท ฮันห์ เคยกล่าวไว้ว่า พุทธศาสนาเป็นวิถีชีวิต เนื่องด้วยคติข้อหนึ่งที่แพร่อยู่ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือ วิถีทางแห่งพุทธธรรม คือ วิถีทางแห่งชีวิต ท่านจึงนำธรรมเข้าสู่ชีวิตประจำวัน เช่น ฝึกลมหายใจเพื่อนำสู่ “สติ” และ “สันติ” ไม่ว่าจะในขณะเดิน นั่ง รับประทานอาหาร หรือขณะทำกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น และไม่เพียงแต่ในห้องปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติในครัว ในห้องน้ำ ในห้องพัก และระหว่างทางเดินด้วย

ในการฝึกปฏิบัติร่วมกันในสังฆะเป็นชุมชน การรับประทานอาหารด้วยกัน (Eating together) ก็เป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง แนวทางปฏิบัติของท่านติช นัท ฮันห์ ระหว่างการรับประทานอาหาร คือ การดำรงอยู่ของเราต่ออาหารทุกมื้อ เมื่อเราตักอาหาร เราก็เริ่มต้นการฝึก เราตระหนักถึงธาตุต่างๆ เช่น สายฝน แสงแดด ผืนแผ่นดิน และความรัก เป็นต้น มาประกอบรวมกันเป็นอาหารอันมหัศจรรย์มื้อนี้ ที่จริงแล้วจากอาหารมื้อนี้ เรามองเห็นถึงจักรวาลทั้งมวลเกื้อหนุนการดำรงอยู่ของเรา

ใน หนังสือปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ (The Miracle of Being Awake) ซึ่งท่านติช นัท ฮันห์ เป็นผู้แต่ง กล่าวไว้ว่า “ในพระสูตรต่างๆ พระพุทธเจ้ามักทรงสอนให้ใช้ลมหายใจบำเพ็ญสติเสมอ มีพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องการใช้ลมหายใจ เพื่อฝึกสติเจริญสมาธิโดยเฉพาะสูตรหนึ่งคือ อานาปานัสสติสูตร

การหายใจเป็นเครื่องมือตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการป้องกันความคิดฟุ้งซ่าน ลมหายใจเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชีวิตและจิตสำนึก ทำให้ร่างกายและความคิดเป็นเอกภาพกัน หากเกิดความคิดฟุ้งกระจายไป ผู้ปฏิบัติงานควรใช้ลมหายใจในการรวมจิตเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง เราไม่ควรปล่อยตนเองให้หลงไปในความคิดที่ฟุ้งซ่านและสิ่งแวดล้อมรอบตัว จงเรียนรู้วิธีฝึกลมหายใจ เพื่อจะได้คอยควบคุมจิตใจและร่างกายของเรา ฝึกสติ พัฒนาสมาธิและปัญญา...การตื่นตัวและพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างสามารถและมีไหวพริบ นี่แหละคือความมีสติโดยแท้...” ท่านติช นัท ฮันห์ แนะไว้ในหนังสือปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ

“...การที่เราจะบังคับบัญชาจิตใจ และทำความคิดให้สงบได้นั้น เราจะต้องเจริญสติที่จิตใจด้วย ไม่ใช่ที่ลมหายใจอย่างเดียว นั่นคือ ต้องฝึกมีสติให้รู้พร้อมถึงความรู้สึกต่างๆ (เวทนานุปัสสนา) และรู้พร้อมถึงความคิดต่างๆ (จิตตานุปัสสนา) ด้วย เราต้องรู้วิธีสังเกต และรู้เท่าทันความรู้สึกและความคิดทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ท่านอาจารย์เซน เดื่อง เจียว ซึ่งอยู่ในช่วงสุดท้ายของราชวงศ์ลี เขียนไว้ว่า

ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมรู้จักจิตใจของตนเองอย่างถ่องแท้ ก็จะเข้าถึงธรรมโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก แต่ถ้าไม่รู้จักจิตใจของตนเองเลย ความพยายามทั้งหมดของเขาก็จะสูญเปล่า มีหนทางเดียวเท่านั้นที่เธอจะรู้จักจิตใจของเธอเองได้ นั่นก็คือการสังเกตและรู้เท่าทัน ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับจิตใจ และต้องฝึกปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาทั้งในชีวิตประจำวัน และในเวลาของการฝึกสมาธิ...” และนี่ก็คือเนื้อหาอีกส่วนหนึ่งในหนังสือปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ

ท่านติช นัท ฮันห์ ยังสอนให้มองทุกอย่างอย่างเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน (interbeing) ไม่มีสิ่งใดที่จะอยู่แยกจากสิ่งอื่นได้ “...บางทีเราอาจจะพูดได้ว่าเราจะมีชีวิตอยู่จริง มิใช่อยู่อย่างตายซาก ก็ต่อเมื่ออยู่อย่างเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโลก ดังนั้น จงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ความทุกข์ของคนอื่นก็คือความทุกข์ของเรา ความสุขของคนอื่นก็คือความสุขของเรา...” เป็นอีกคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์

คนไทยส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินนาม “ติช นัท ฮันห์" หรือทำความรู้จักท่านและคำสอนทางธรรมผ่านงานเขียนของท่าน อาทิ “ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ”, “ความโกรธ ปัญญาดับเปลวไฟแห่งโทสะ” (Anger), “สันติภาพทุกย่างก้าว” (Peace Is Every Step), “กุญแจเซน” (Zen Key), “ศานติในเรือนใจ” (Touching Peace), “ปลูกรัก” (Cultivting the Mind of love) ฯลฯ แต่น้อยคนนักที่จะเคยพบท่านในเมืองไทย

ท่านติช นัท ฮันห์ มาเยือนเมืองไทยครั้งแรกเมื่อราว 30 ปีที่แล้ว คราวที่ ส.ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม อาราธนาท่านมายังอาศรมที่วัดผาลาด ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ครั้งนั้นนั่นเองที่ ส.ศิวรักษ์ สนับสนุนให้มีการแปลงานเขียนของท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภาษาไทยหลายต่อหลายเล่ม รวมถึงกลุ่มอื่นยังมีการจัดเสวนาในประเด็นที่ว่าด้วยธรรมของท่านติช นัท ฮันห์ อยู่หลายครั้ง ส่งผลให้คนไทยได้ลิ้มรสแห่งธรรมจากท่านติช นัท ฮันห์


พระไพศาล วิสาโล


พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ พระนักวิชาการและพระนักกิจกรรมสังคม กล่าวถึงท่านติช นัท ฮันห์ ไว้ในการเสวนาธรรมเรื่อง “3 ทศวรรษสายธารความคิด ติช นัท ฮันห์ กับสังคมไทย” เมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมาว่า

ถ้าพูดถึงท่านติช นัท ฮันห์ หรือที่ศิษย์ของท่านเรียกว่า “ไถ่” คือ อาจารย์ คนที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นสะพานให้คนไทยได้รู้จักท่านติช นัท ฮันห์ หนีไม่พ้นอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์

ความรู้สึกที่ได้อ่านบทความชิ้นแรกๆ ของท่านติช นัท ฮันห์ พระไพศาลเล่าว่า ไม่ได้ทำให้ประทับใจอะไรมาก แต่จะเริ่มประทับใจเมื่อทราบถึงบทบาทและขบวนการของท่าน คือ “ขบวนการของชาวพุทธในเวียดนาม”

พระไพศาลเล่าอีกว่า การที่ได้รู้จักและประทับใจท่านติช นัท ฮันห์ กับขบวนการของท่าน เพราะตอนนั้นไม่เชื่อเรื่องการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา แต่เชื่อในสันติวิธี สิ่งที่ขบวนการชาวพุทธทำ คือ อุทิศตัวเพื่อสันติภาพโดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เป็นการต่อสู้อุทิศตัวซึ่งมีแรงขับเคลื่อนจากภายใน คือ เมตตา กรุณา ไม่ใช่ความเกลียด ความโลภ หลายคนในขบวนการที่เกี่ยวข้องถูกฆ่า แต่ท่านติช นัท ฮันห์ ได้เรียกร้องให้อภัยต่อผู้ที่ฆ่า ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร

“จนมีโอกาสพบท่านเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2518 ท่านมาประชุมอาศรมแปซิฟิกที่วัดผาลาด เชียงใหม่ ตอนนั้นอาตมายังเป็นนักเรียนอยู่ แล้วรู้สึกว่าท่านเป็นฮีโร่ของเรา

ท่านทำให้เห็นว่าในการทำงานเพื่อสันติภาพหรืออะไรก็ตาม จิตใจเราต้องสงบ ต้องมีสันติ และท่านทำให้ชีวิตและการทำงานเพื่อสังคมนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว คือ ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างธรรมะกับชีวิตประจำวัน และไม่มีเส้นแบ่งระหว่างธรรมะกับการทำงานเพื่อสังคม

คำสอนของท่านยังมีคุณค่า ไม่ว่าเรื่องของการใช้สันติวิธีและการให้อภัย หรือความสงบสุขภายในที่ต้องเผชิญกับการยั่วยุของบริโภคนิยม ถ้ามีความสงบสุขภายในแล้ว ก็สามารถเผชิญกับวัฒนธรรมแห่งความโกรธเกลียด และวัฒนธรรมแห่งความละโมบได้” พระไพศาลเล่า


ภิกษุณีนิรามิสา


ด้าน ภิกษุณีนิรามิสา นักบวชแห่งหมู่บ้านพลัม เล่าถึงความพยายามหนึ่งของท่านติช นัท ฮันห์ ในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ “ที่หมู่บ้านพลัมจะมีการจัดให้ชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์มาอยู่ภาวนาร่วมกันทุกปี ช่วงแรกให้ต่างฝ่ายต่างฝึก มีการฟังเทศน์จากท่าน แลกเปลี่ยนทรรศนะกับนักบวชแห่งหมู่บ้านพลัม จากนั้น 1 อาทิตย์จึงให้มีการสนทนากัน ถึงวันสุดท้ายจึงให้ 2 ฝ่ายขึ้นเวที ซึ่งเมื่อต่างฝ่ายต่างรับรู้ว่าญาติพี่น้องของอีกฝ่ายประสบความทุกข์ยากจากความขัดแย้ง ความเมตตาและความสงสารในกันและกันก็เกิดขึ้น หลวงปู่และคณะสังฆะพยายามคุยกับทางสหรัฐอเมริกา ขอให้เขาตั้ง คณะกรรมการรับฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ในฝ่ายชาวมุสลิมและฝ่ายชาวอเมริกาทั่วไป ให้รู้ว่าคนมุสลิมในอเมริกามีความทุกข์มาก คนอเมริกาเองก็ทุกข์เช่นกัน ถ้าจัดให้คนเหล่านั้นมารวมกันแล้วรับฟังกันอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่เพื่อวิพากษ์วิจารณ์หรือตำหนิ ก็จะเกิดปัญญาและทำให้เห็นทางออกว่าควรจะช่วยกันอย่างไร”

ท่านติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระในพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานนิกายเซน ชาวเวียดนาม องค์สำคัญของโลกที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์สให้เป็น “ฮีโร่” หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก ที่มุ่งทำงานด้วยปรารถนาเห็นการขับเคลื่อนสังคมสู่ความจริง ความดี และความงาม เกิดการตื่นตัวที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงเส้นทางแห่ง “การปฏิบัติธรรม” โดยใช้เครื่องมือคือ “การเจริญสติ” เพื่อให้ความรู้สึกแห่งความรัก ความเมตตา ความอดทน และความเข้มแข็ง ได้บังเกิดขึ้นในดวงใจ

หนังสือหลายเล่มของท่านติดอันดับหนังสือขายดี ทั้งในยุโรปและอเมริกา ทุกหนแห่งที่ไปบรรยายจะมีผู้ฟังแน่นขนัด แม้ต้องเสียค่าผ่านประตูก็ตาม โดยเฉพาะที่หมู่บ้านพลัมอันเป็นสำนักในประเทศฝรั่งเศส ทุกปีจะมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมประจำฤดูร้อนนับพันคนในคราวเดียวกัน คนเหล่านี้มาจากแทบทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่แอฟริกาและอเมริกาใต้ คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน


ท่านทะไลลามะ (Dalai Lama)


ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้นำศาสนาพุทธระดับโลก รองลงมาจาก “ท่านทะไลลามะ (Dalai Lama)” ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งธิเบต เพราะได้ต่อสู้เพื่อช่วยเหลือคนเวียดนามที่หนีภัยสงครามมากว่า 40 ปี มีอุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์อันเป็นพระที่น่าเลื่อมใสแห่งสากลโลกโดยแท้จริงอย่างยิ่ง



.............................................................

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
1. หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 33
เรื่องโดย สุทธาสินี จิตรกรรมไทย
วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10671
2. <!-- m -->http://www.thaiplumvillage.org/<!-- m -->
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและปฏิปทา ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 09:06:40 am »
ติช นัท ฮันห์ พลังแห่งสติ...ความสุขหนึ่งเดียว

“หายใจเข้า...ให้ตระหนักรู้ว่าหายใจเข้า”
“หายใจออก...ให้ตระหนักรู้ว่าหายใจออก”


ดวงอาทิตย์ยังคงแผดแสงจ้าในยามบ่ายของวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2550 หากภายในอาคารลุมพินีสถาน สวนลุมพินี สถานที่จัดกิจกรรม “วันแห่งสติ” กลับร่มเย็น เงียบสงบด้วยผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทุกเพศวัย-หลายศาสนาหลายพันคน ล้วนเจริญสติตระหนักรู้ถึงลมหายใจของตน สร้างบรรยากาศแห่งธรรมให้เกิดขึ้น

ทันทีที่ย่างเท้าก้าวเข้าสู่อาคารลุมพินีสถาน ทุกคนก็จะได้รับแจกกระดาษแผ่นหนึ่งซึ่งบรรจุไว้ด้วยเนื้อหาของบทเพลงแห่งหมู่บ้านพลัม เปิดพลิกอ่านดูก่อนที่กิจกรรมจะเริ่มในเวลา 14.30 น. พบว่ามีทั้งสิ้น 13 เพลงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อ่านดูในเนื้อหาก็รู้สึกถึงความเรียบง่ายและลึกซึ้งราวกับบทกวีที่ไร้ฉันทลักษณ์

เมื่อกิจกรรมเริ่มขึ้น บทเพลงเพลงแรกแห่งหมู่บ้านพลัมก็ได้ถูกบรรเลงและขับร้อง แม้จะแผ่วเบา แต่ก็แน่วแน่ เปี่ยมด้วยสมาธิและความสงบ เป็นการเปล่งเสียงอันเกิดจากวัตรปฏิบัติอันต่อเนื่องของบรรดาภิกษุและภิกษุณี หรือคณะ “สังฆะ” (กลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์) จากหมู่บ้านพลัมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และในระหว่างการขับร้องเพื่อสติครั้งนี้ คณะสังฆะได้เคลื่อนไหวมือของท่านเพื่อเป็นการสร้างสมาธิ นับเป็นภาพและบรรยากาศที่น้อยคนนักจะได้เคยพบเห็นหรือเข้าร่วมกิจกรรมเช่นนี้มาก่อน

ภิกษุณีที่นำการขับร้องกล่าวต่อผู้คนจำนวนนับพัน ทั้งในอาคารลุมพินีสถาน สวนลุมพินี และบริเวณรอบๆ ว่า ขอให้ทุกคนมีสมาธิและรับรู้ตลอดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกของเราเอง พร้อมกับตีระฆังสามครั้งเพื่อให้จังหวะ และบอกให้ทุกคนได้รู้ว่าเมื่อคนเรามีสมาธิกับลมหายใจ รู้ตัวตลอดเวลา สติก็ได้เกิดขึ้นแล้ว และกระแสของธรรมะก็ได้แผ่ออกไปพร้อมกับจังหวะเคาะระฆังสามครั้งนี้

“...(1) ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ดั่งดอกไม้บาน
ภูผาใหญ่กว้าง ดั่งสายน้ำฉ่ำเย็น
ดังนภากาศ อันบางเบา

Breathing in,Breathing out
I am blooming as a flower
I am fresh as the dew
I am solid as a mountain
I am firm as the earth
I am free.

Breathing in,Breathing out
I am water reflecting
What is real, what is true
And I feel there is space
Deep inside for me
I am free,I am free,I am free.

“... (2) เราเป็นสุขในปัจจุบัน

เราเป็นสุขในปัจจุบัน
เราได้ปล่อยวางความกังวล
ไม่ไปที่ไหน
ไม่มีงานใด
เราจึงไม่ต้องรีบเร่ง
เราเป็นสุขในปัจจุบัน
เราได้ปล่อยวางความกังวล
ต้องไปที่ไหน จะมีงานใด
แต่เราก็ไม่ต้องรีบเร่ง

Happiness is here and now

I have dropped my worries,
Nowhere to go,
Nothing to do,
No longer in a hurry
Happiness is here and now,
I have dropped my worries,
Somewhere to go,
Something to do,
But not in a hurry.” ฯลฯ

หลังจากภิกษุและภิกษุณีจากหมู่บ้านพลัม เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกันขับขานบทเพลงแห่งสติแล้ว ก็เป็นเวลาที่ท่านติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกายเซน ชาวเวียดนาม แสดงปาฐกถาธรรมเรื่อง “สู่ศานติสมานฉันท์ : ความสุขอันเป็นหนึ่งเดียวในครอบครัวและสังคม”

ท่านติช นัท ฮันห์ แสดงปาฐกถาธรรมด้วยใบหน้าอิ่มเอิบผ่องใสตอนหนึ่งว่า “เมื่อร่างกายตึงเครียดใจก็หงุดหงิดง่าย เกิดการแสดงออกต่อคนในครอบครัวและคนรอบข้าง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการตระหนักรู้ให้มนุษย์จัดการอารมณ์ตัวเอง เมื่อพลังแห่งความโกรธผุดขึ้นมาก็ต้องหาพลังแง่บวกมาจัดการ คือ พลังแห่งสติ จึงควรทำทุกอย่างอย่างมีสติ เมื่อเมล็ดพันธุ์แห่งสติเจริญเติบโตก็จะดูแลความเจ็บปวดและความรู้สึกต่างๆ เมื่อปฏิบัติเช่นนั้นได้ ก็ช่วยคนในครอบครัวปลดปล่อยความตึงเครียดได้ เมื่อเรากลับมาดูแลสันติในตัวเราก็เป็นการง่ายที่จะเชิญผู้อื่นให้มีสันติ ความโกรธและความหงุดหงิดก็จะเกิดขึ้นได้ยาก”

นานเพียงไรแล้วที่เราห่างไกลจากธรรมะด้วยข้ออ้างและบรรยากาศต่างๆ นานาอันเชื้อเชิญให้เราเพลิดไปกับสิ่งต่างๆ โดยบางคราเราได้หลงลืมตัวตน หลงลืมวันเวลาโดยเฉพาะปัจจุบันขณะที่เราสามารถเรียกสติคืนกลับมาและมีความสุขด้วยจิตใจที่สงบ ไม่ว่าโลกจะเคลื่อนไหวไปด้วยบรรยากาศหรือสภาพการณ์ใดๆ นับเป็นโอกาสอันดีที่เราได้มานั่งพร้อมเพรียงกันกับสาธุชนคนอื่นๆ นับพันคนภายในลุมพินีสถานกลางเมืองกรุงในบรรยากาศอันแสนรุ่มร้อนของเมืองและโลกภายนอก แต่ภายในห้องกลับสงบร่มเย็นราวกับอยู่ในวิหารแห่งความเมตตา

“ถ้าหากเราสามารถติดตามลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้าเรารู้ตัวว่าเราอยู่ที่นี่ มีสติตลอดเวลา หายใจออกเราส่งยิ้มน้อยๆ ให้กับตัวเอง เพื่อเป็นการเชื่อมต่อระหว่างกายกับจิตของเราเอง ให้กายกับใจของเราสามารถที่จะสื่อสารกันได้ คุณสมบัติในการที่จะสื่อสารกันได้นี้ได้สูญหายไปจากยุคสมัยปัจจุบัน ทำให้คนเราเกิดความไม่ไว้วางใจกันและไม่มีความสุขสงบทางจิตใจ แต่ถ้าเราสามารถกระทำผ่านบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคู่รักหรือคนในครอบครัว ฝึกที่จะรับฟังและได้ยินสิ่งที่เขาบอกเล่าอยู่ต่อหน้าเราในขณะนั้น ก็จะเกิดความสุขสงบขึ้นในสังคมของเรา การปฏิบัติไปสู่หนทางแห่งสติและการรู้ตัวทั่วพร้อมนั้น เราไม่จำเป็นต้องไปที่โบสถ์ หรือเข้าวัดเพื่อที่จะเจริญสติ แต่ทำที่ไหนก็ได้ ในปัจจุบันที่เรารู้ตัวแค่การกำหนดลมหายใจเข้าออกแบบอาณาปาณสติ ตามพระสูตรในพุทธศาสนาที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มอบไว้ให้เรา แม้เวลาจะผ่านไปนาน 2,600 ปี แต่ก็ยังนำมาประยุกต์ใช้ได้ดีและยังใช้ได้จริงในยุคสมัยนี้”


ภิกษุณีนิรามิสา


พอแดดร่มลมตกก็ถึงช่วงของการเดินวิถีแห่งสติ

ท่านติช นัท ฮันห์ พร้อมด้วย พระครูใบฎีกาพิทยา ฐานิสสโร, ภิกษุณีนิรามิสา และภิกษุ-ภิกษุณีแห่งหมู่บ้านพลัมรูปอื่น เป็นผู้นำชาวไทยและชาวต่างชาติ “เดินสมาธิ” รอบสวนลุมพินี เป็นการเดินอย่างช้าๆ สัมผัสผืนดินผืนหญ้า แต่ละก้าวให้ตระหนักรู้ว่ากำลังสัมผัสแผ่นดินผู้ให้กำเนิด...เป็นแผ่นดินอันงดงาม และตระหนักรู้ถึงธรรมชาติรอบตัว ทำให้มองเห็นความมหัศจรรย์ของชีวิต และมีสันติภาพในทุกย่างก้าว

เมื่อการเดินวิถีแห่งสติสิ้นสุดลง ความปีติก็งอกงามขึ้นในใจของใครหลายคน เพราะอย่างน้อยท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมโลกทุนนิยม-บริโภคนิยมในปัจจุบัน ยังมีสิ่งที่เรียกว่า “สติ” ช่วยเหนี่ยวรั้งไว้ไม่ให้หลงทาง

ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ท่านติช นัท ฮันห์ ฝึกการเจริญสติ และแสดงปาฐกถาธรรมเกี่ยวกับ “สันติ” แก่ผู้คนโดยไม่เลือกชาติศาสนา แต่ท่านได้กระทำเช่นนี้มานานต่อเนื่องหลายสิบปี

ติช นัท ฮันห์ สอนนักการเมือง

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2550 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ มีการประชุมวิชาการชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่ 4 เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี 2550 ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 26-29 พฤษภาคม

การประชุมในวันนี้เป็นวันที่ 3 พระสงฆ์ผู้นำชาวพุทธจาก 61 ประเทศ เข้าร่วมงาน โดยในช่วงเช้าเวลา 08.30 น. เริ่มต้นด้วยพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา จากนั้นได้มีการกล่าวสุนทรพจน์และอ่านสารจากประมุขสงฆ์และผู้นำองค์กรทางพระพุทธศาสนาจากประเทศต่างๆ อาทิ ไต้หวัน ญี่ปุ่น พม่า เนปาล เป็นต้น


ท่านติช นัท ฮันห์ ขณะเข้าร่วมประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก 2550
ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร



ท่านติช นัท ฮันห์ นักบวชนิกายเซน ผู้นำคณะสงฆ์หมู่บ้านพลัม ประเทศผรั่งเศส แสดงปาฐกถาธรรมเรื่อง “พระพุทธศาสนากับธรรมาภิบาลและการพัฒนา” มีใจความว่า

“ความหมายที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศ และการปกครอง ควรนำไปสู่ความสุขที่แท้จริงโดยไม่จำเป็นต้องดิ้นรนไขว่คว้าหาอำนาจ ชื่อเสียง เงินทอง และเรื่องทางเพศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำลายตัวเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ โดยเฉพาะผู้นำทางเศรษฐกิจและผู้นำทางการเมือง อาจจะใช้อำนาจที่มีอยู่ในทางที่ผิดได้ และเป็นผลเสียต่อประเทศชาติด้วย หากไม่มีอำนาจทางจิตวิญญาณ ซึ่งพลังอำนาจทางจิตวิญญาณนั้นสามารถฝึกได้ในทางพระพุทธศาสนา

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการฝึกปฏิบัติบนหนทางแห่งจิตวิญญาณ ฝึกเดินอย่างมีสติ ฝึกลมหายใจอย่างมีสติ ฝึกปฏิบัติในทางศีล 5 จะทำให้ตัวเองมีความสุข ประเทศชาติมีความสุข และแก้ปัญหาทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบสภาผู้แทนราษฎรที่รับฟังกัน ไม่ต่อสู้กันเพื่อความคิดหรือพรรคของตัวเอง รวมทั้งการแก้ปัญญาหาการก่อการร้ายที่เกิดจากความเกลียดชัง การถอนรากถอนโคนนี้จะต้องใช้วิธีฝึกปฏิบัติ มีความรัก ความเมตตา ฟัง เข้าใจ และลดความเข้าใจที่ผิดลงก็จะแก้ปัญหาได้

ชีวิตของนักการเมือง นักธุรกิจ มีแต่ความเครียด ความทุกข์ ไม่มีเวลาใช้ชีวิตอย่างลึกซึ้งที่จะดูแลตนเองได้ ในหลายครั้งมักใช้อำนาจในทางที่เสียหาย ทำให้ตนเองและคนรอบข้างมีความทุกข์ เนื่องจากการไม่รู้วิธีการใช้อำนาจที่ถูกต้อง ทางออกในเรื่องนี้คือ จะต้องฝึกเจริญธรรมเพื่อให้เกิดอำนาจทางจิตวิญญาณ 3 ประการ ได้แก่

1. การละทิ้ง หรือการตัดออก นักการเมืองหลายคนยังยึดติดกับความอยาก โดยเฉพาะเรื่องของกามารมณ์ บางครั้งทำให้เกิดเสียชื่อเสียง ทำให้ไม่สามารถอยู่บริหารงานทางการเมืองต่อไปได้

2. เรื่องปัญญา ต้องรู้จักการเข้าถึงปัญญาด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง การมีปัญญาจะสามารถแปรเปลี่ยนความทุกข์ความสิ้นหวังได้

3. พลังแห่งความรัก ความเมตตา ต้องรู้จักการให้อภัย ยอมรับซึ่งกันและกัน เมื่อไม่มีความรักให้กันและกันจะนำมาซึ่งความโกรธ เกลียด และทุกข์

ท่านติช นัท ฮันท์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อมีเงินทอง มีชื่อเสียง มีอำนาจ เราก็ตกในอยู่ความทุกข์ และใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ ถ้าไม่มีอำนาจทางจิตวิญญาณที่ถูกต้อง ในพระพุทธศาสนามีคำสอนที่ช่วยให้นักการเมือง นักธุรกิจมีความสุขได้ ในขณะเดียวกันนักการเมืองยังขาดการฟังที่ลึกซึ้ง แต่ถ้ามีสติและฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ ก็จะสามารถฟื้นคืนการสื่อสารที่ดีกลับมาได้ ซึ่งจะสามารถทำให้ทำงานเดียวกัน พรรคการเมืองเดียวกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรัฐบาลของเขา ให้เป็นสถานที่แห่งความสุข และความกรุณาได้ รวมถึง การแก้ปัญหาการก่อการร้ายที่เกิดจากความเกลียดชัง การถอนรากถอนโคนนี้จะต้องใช้วิธีฝึกปฏิบัติ มีความรัก ความเมตตา ฟัง เข้าใจ และลดความเข้าใจที่ผิดลงก็จะแก้ปัญหาได้ อยากให้ทุกคนปฏิบัติตามศีล 5 หลีกเลี่ยงประพฤติผิดในกาม เสพสื่อลามกอนาจาร ปกป้องการละเมิดทางเพศต่อเด็กและเยาวชน หลีกเลี่ยงผลิตสื่อแห่งความรุนแรง เราควรมีกฎหมายห้ามผลิตสิ่งบริโภคและสื่อรุนแรงทุกอย่าง เพราะหากทุกคนบริโภคสิ่งเหล่านี้จะไม่มีความสุข”


ท่านติช นัท ฮันห์ กับ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แห่งเสถียรธรรมสถาน
ณ หมู่บ้านพลัม (Plum Village) เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส




.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
1. หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 13, 33
วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10671
2. หนังสือพิมพ์ประชาไท วันที่ : 22/5/2550
เรื่องโดย อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและปฏิปทา ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 09:08:16 am »

 
 
ชีวิต มีชีวา (Live, Alive)
ปาฐกถาธรรมโดย ท่านติช นัท ฮันห์


ณ วัดสวนดอก วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2550 ในเวลา 18.00 นาฬิกา ที่ผ่านมา ได้มีการจัดปาฐกถาธรรมในหัวข้อ “ชีวิต มีชีวา (Live, Alive)” ขึ้น ณ พระวิหารหลวง วัดสวนดอก วรมหาวิหาร ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีองค์ปาฐกคือ ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) พระภิกษุนิกายเซ็นเชื้อสายเวียดนาม ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านพลัม (Plum Village) อันเป็นชุมชนสังฆะของพุทธบริษัทสี่ในพุทธศาสนานิกายเซ็น ทั้งในประเทศฝรั่งเศสและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

โดยการปาฐกถาธรรมดังกล่าว มีพระสงฆ์และประชาชนชาวต่างประเทศในเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง เข้าฟังปาฐกถาเป็นจำนวนมากจนล้นออกมาจากพระวิหารหลวง วัดสวนดอก แต่ทางวัดก็วางจอฉายโทรทัศน์วงจรปิดไว้สำหรับพระสงฆ์และประชาชนที่ไม่สามารถเข้าไปนั่งฟังปาฐกถาธรรมในพระวิหารหลวงได้ โดยในเวลา 18.00 นาฬิกา พระอมรเวที (พระมหาวรรณ เขมจารี) เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ และเจ้าอาวาสวัดสวนดอก จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ฉายวีดีทัศน์นำเสนอเกี่ยวกับท่านติช นัท ฮันห์ และหมู่บ้านพลัม

ต่อมาจึงได้มีการขับขานบทเพลงภาวนาและนำทำสมาธิจากคณะสงฆ์หมู่บ้านพลัม หลังจากนั้น ท่านพระครูพิพิธสุตาทร (พระมหา ดร.บุญช่วย สิรินฺธโร) รองอธิการบดีมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตเชียงใหม่ จึงได้กล่าวต้อนรับและนิมนต์ท่านติช นัท ฮันห์ แสดงปาฐกถา

ท่านพระครูพิพิธสุตาทร ได้กล่าวว่า ได้มีโอกาสอ่านหนังสือของท่านพระอาจารย์ ได้ฟังธรรมะจากท่านพระอาจารย์เมื่อครั้งที่เรียนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยเมืองเดลี ประเทศอินเดีย ทั้งยังได้มอบผลงานให้ลูกศิษย์ได้ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องตลอดมา ซึ่งมีหนังสือ มีงานเขียนของท่านจำนวนมากดังกล่าว เป็นที่รู้จักและได้แปลเป็นภาษาไทย จะรู้สึกว่างานของท่านอ่านง่าย เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และท่านได้เคยมาประเทศไทยเมื่อ 32 ปีที่แล้ว ในตอนเช้าวันนี้เราก็ได้นำท่านไปที่ๆ ท่านเคยพัก ก็คือ วัดผาลาด บ้านห้วยผาลาด โดยท่านติช นัท ฮันห์ได้นำคณะเดินไปตามน้ำตกผาลาดเพื่อไปยังกุฏิที่ท่านเคยพัก และภาวนาเมื่อ 32 ปีก่อน


พระอมรเวที (พระมหาวรรณ เขมจารี) เจ้าอาวาสวัดสวนดอก
[ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2551]



จากนั้นท่านติช นัท ฮันห์ ก็ได้กล่าวแนะนำความสำคัญ และวิธีการฟังธรรมะให้แก่ผู้ฟัง โดยท่านแนะนำว่าให้ฟังด้วยท่าทีที่ผ่อนคลายจากความตึงเครียด ผ่อนคลายจากความเจ็บปวด จากร่างกายเรา เมื่อพวกเรามีความรู้สึกเสียใจกับอดีตที่ผ่านมา หรือว่ากังวลเกี่ยวกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง จึงขอให้ทุกท่านกลับมาอยู่กับขณะปัจจุบัน

เมื่อท่านมีก้อนความทุกข์ความเศร้าหมองก็ขอให้ทุกท่านเปิดหัวใจออก และขอให้พลังแห่งบทสวดนี้เป็นพลังจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แผ่ซ่านเข้าไปในกายของเรา แล้วก็ได้รับการเยียวยาและเปลี่ยนแปลงความเจ็บปวดเหล่านั้นได้ และหากท่านมีใครคนหนึ่งที่มีความใกล้ชิดแต่ไม่สามารถมาอยู่ตรงนี้ ณ ขณะนี้กับเราได้ เราสามารถที่จะส่งพลังจากบทสวดนี้ให้กับคนนั้นได้ โดยการระลึกสติถึงบุคคลนั้นหรือกล่าวชื่อบุคคลนั้นอยู่ในใจเงียบๆ

“ขอเรียนเชิญให้ทุกคนเบิกบานในการรับฟังร่วมกันอย่างผ่อนคลาย เบิกบานกับการนั่งในสังฆะ ณ ที่แห่งนี้ กลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ กลับมาอยู่กับลมหายใจ และขอให้พลังเหล่านั้นช่วยผ่อนคลายและเปลี่ยนแปรภายในของเรา” ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าว

ต่อมาเป็นการสวดมนต์ของฝ่ายคณะสงฆ์หมู่บ้านพลัม โดยเป็นการสวดบทสวดนมัสการพระรัตนตรัยเป็นภาษาอังกฤษ และบทสวดเอ่ยพระนามพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต โดยบทสวดนมัสการพระรัตนตรัยของคณะสงฆ์หมู่บ้านพลัม ภิกษุณีนิรามิสา แห่งคณะสงฆ์หมู่บ้านพลัมได้แปลเป็นภาษาไทยว่า

นมัสการพระรัตนตรัย ลูกขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ผู้ซึ่งแสดงให้ลูกเห็นหนทางแห่งชีวิต ลูกขอกลับเข้าพึ่งพระธรรม หนทางแห่งความรักและความเข้าใจ ลูกขอกลับเข้าพึ่งสังฆะ ชุมชนของบุคคลที่ตั้งสัตย์ปฏิญาณ ที่จะใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความตระหนักรู้ และกลมกลืนสมานฉันท์ เมื่อกลับเข้าพึ่งพระพุทธ ลูกได้รับหนทางที่มีแสงสว่าง อันงดงามในชีวิต เมื่อกลับเข้าพึ่งพระธรรม ลูกได้เรียนรู้ ซักถาม และฝึกปฏิบัติ ทางการเข้าสู่ประตูธรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อกลับเข้าพึ่งสังฆะ ลูกได้ชุมชน ชี้แนะแนวทางบนหนทางแห่งการปฏิบัติ

กลับมาพึ่งพระพุทธในตัวลูก ขอตั้งสัตย์อธิษฐานให้ทุกๆ คน สามารถระลึกได้ถึงความตื่นรู้ เปิดหัวใจแห่งพระโพธิจิตแต่เนินๆ

กลับมาพึ่งพระธรรมในตัวลูก ขอตั้งสัตย์อธิษฐานให้ทุกๆ คนสามารถเข้าสู่ประตูธรรมต่างๆ และร่วมกันเดินไปสู่หนทางแห่งการเปลี่ยนแปลง

กลับมาพึ่งสังฆะในตัวลูก ขอตั้งสัตย์อธิษฐานให้ทุกๆ คน ได้สรรสร้างสังฆะ พุทธบริษัทสี่ เพื่อโอบรัดและเกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งมวลให้ไปสู่การหลุดพ้น


จากนั้นท่านติช นัท ฮันห์ ก็ได้เริ่มแสดงปาฐกถาธรรม “ชีวิต มีชีวา” โดยกล่าวก่อนปาฐกถาธรรมว่า

หายใจเข้า ท่านรู้สึก ท่านมีชีวิตอยู่
หายใจออก ท่านยิ้มให้กับชีวิตที่อยู่ในตัวท่านและรอบข้างท่าน
รู้สึกว่ามีชีวิตอยู่ ยิ้มให้กับชีวิต


ต่อจากนั้น ท่านติช นัท ฮันห์ ได้เริ่มต้นปาฐกถาธรรม ความตอนหนึ่งได้กล่าวถึงที่มาของชีวิตบรรพชิตว่า เมื่อตอนอายุได้ 9 ปี ท่านได้เห็นรูปหน้าปกของหนังสือที่มีรูปของพระพุทธองค์นั่งอยู่ เมื่อได้เห็นรูปนั้นท่านรู้สึกได้ว่าพระองค์นั่งอย่างมีความสุข นั่งอย่างมีรอยยิ้ม ทำให้รู้สึกว่าอยากจะเป็นแบบพระพุทธองค์บ้าง พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งอยู่บนหญ้า พระองค์ไม่ได้ทรงประทับอยู่บนดอกบัว พระพุทธองค์นั้นก็ดูผ่อนคลายและมีความสุขมาก น่าดึงดูดใจสำหรับท่านมาก

และคนที่อยู่รอบข้างท่าน ก็ดูไม่ค่อยมีความสุขสันติ เขาเหล่านั้นดูค่อนข้างจะตึงเครียด และเมื่อท่านอายุ 11 ปี ท่านได้ยินคำกล่าวว่ามีฤๅษีนักพรต ที่กำลังพักอยู่ใกล้ๆ แล้วก็ได้ท่องเที่ยวไปตามหุบเขา มีคนบอกท่านว่าฤๅษีคือคนที่ฝึกปฏิบัติอย่างเงียบๆ เพื่อที่จะเป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ท่านมีความประทับใจมาก เพราะท่านเองก็อยากเป็นอย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง เมื่ออายุได้ 16 ปี จึงบวชเป็นสามเณรด้วยการอนุญาตจากคุณพ่อคุณแม่ของท่าน และท่านเองก็ได้ฝึกปฏิบัติตั้งแต่อายุ 16 จนบัดนี้อายุได้ 81 ปี

มีอยู่ช่วงเดียวเท่านั้นที่ท่านได้บวชเป็นพระแล้วท่านรู้สึกว่าอยากลาสิกขา ในช่วงขณะนั้นได้เห็นว่าพระผู้ใหญ่รอบข้างท่านไม่ได้ฝึกปฏิบัติอย่างที่ท่านได้สอน ในขณะนั้นก็มีความทุกข์ ความรุนแรง ความอยุติธรรม มากมายในสังคม พระผู้ใหญ่เหล่านั้นก็ได้พูดถึงความกรุณา ถึงความไร้ความรุนแรง ความเป็นอนัตตา แต่ในจริงๆ แล้วท่านก็ไม่ได้ทำอะไรให้ความทุกข์ทรมานเหล่านั้นได้ลดน้อยลง และในช่วงขณะนี้ท่านก็ได้พบว่าแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์นั้นน่าสนใจมาก เพราะแนวคิดของพวกเขาได้พูดถึงความเป็นธรรมในสังคม ความยุติธรรมทั้งหลาย และมีบุรุษชายหลายๆ คน ยินดีที่จะสู้และยอมตายที่จะเป็นนักรบคอมมิวนิสต์

“แต่ด้วยเรื่องคำสอนและคำแนะนำจากรุ่นพี่ ทำให้ท่านสามารถที่จะมีความสุขที่จะลาสิกขาเพื่อไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ ดังนั้นสิ่งที่ดึงดูดในชีวิตนักบวช ทำให้หยุดการเป็นพระ ไม่ใช่ผู้หญิงสวย แต่เป็นอุดมการณ์ต่างๆ” ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าว


ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)


ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าวว่า ได้เรียนรู้ประวัติศาสนาในเวียดนามของตนเองและท่านก็ได้เรียนรู้ว่า พระพุทธศาสนาได้ช่วยผู้คน และรอดพ้นช่วงวิกฤตมาได้หลายๆ ครั้ง และวิธีเหล่านั้นก็เป็นวิธีที่ไร้ความรุนแรงอย่างสิ้นเชิง และถ้าหากต่อสู้เพื่อพรรคคอมมิวนิสต์ ท่านก็ต้องถือปืน ถึงแม้ว่าเธอจะไม่อยากถือปืนและฆ่าคนอื่น แต่ว่าเธอจะต้องทำ ดังนั้นในช่วงชีวิตของท่าน ท่านก็พยายามอยู่เสมอในการที่จะทำให้พระพุทธศาสนาสามารถรับใช้สังคมได้

ท่านติช นัท ฮันห์ ได้ให้แง่คิดกับพระสงฆ์ในที่ปาฐกถาธรรมนั้นว่า “สิ่งหนึ่งที่ฉันอยากจะบอกวันนี้กับพระหนุ่มทั้งหลาย ก็คือชีวิตแห่งความเป็นพระนั้น สามารถจะเป็นชีวิตที่มีความสุขมาก เธอสามารถที่จะได้รับความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งด้วยชีวิตแบบพระ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าอาวาสของวัดใหญ่ๆ, เพื่อที่ทำให้เธอมีความสุข เธอไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งสูงๆ ในสังฆะ, เธอไม่จำเป็นต้องมีอำนาจมากมาย เพื่อที่จะเป็นพระที่มีความสุข, แต่จริงๆ แล้วเธอมีความสุขเพราะว่าเธอสามารถเปลี่ยนแปลงความทุกข์ที่อยู่ภายในตัวเธอได้, เธอจะมีความสุขเมื่อเธอสามารถที่จะเกื้อหนุนผู้คนมากมายให้เขาบรรเทาทุกข์ของเขาเหล่านั้นได้”

“ในฐานะที่ฉันดำรงความเป็นพระ ฉันได้มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงความทุกข์ภายในใจของฉัน และฉันสามารถช่วยเหลือผู้คนมากมายมหาศาลให้หลุดออกจากทุกข์ด้วย ความสุขเหล่านั้นยิ่งใหญ่มหาศาลที่ฉันไม่สามารถที่จะอธิบายได้ ชีวิตของพระนั้นเป็นชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยความรักเมตตา เป็นความรักเมตตาที่ทำให้เธอมีความสุข และที่ทำให้คนที่อยู่รอบข้างเธอมีความสุขด้วย เธอไม่จำเป็นต้องมีความทุกข์ในขณะที่เธอปฏิบัติตามวิถีทางพระพุทธศาสนา จริงๆ แล้วถ้าเธอฝึกปฏิบัติตามวิถีทางพระพุทธศาสนาแล้วมีทุกข์ แสดงว่าเธอปฏิบัติไม่ถูกต้อง การฝึกปฏิบัติธรรมนั้น สามารถนำเธอไปสู่หนทางที่ถูกต้องของการปฏิบัติได้”

ท่านติช นัท ฮันห์กล่าวต่อว่า ในแบบฝึกหัดบทที่สามนั้นพระองค์ได้ทรงเสนอว่า ขอให้เรานำใจของเรากลับมาหากายของเรา ในชีวิตประจำวัน บ่อยครั้งมากที่กายของเราอยู่ตรงนั้นแต่ใจของเราอยู่ที่อื่น ใจของเรานั้นอาจจะติดยึดอยู่กับความเสียใจที่เกิดขึ้นในอดีต ใจของเรานั้นอาจจะติดยึดอยู่ในความกังวลไม่แน่นอน ความกลัวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ใจของเรานั้นอาจจะติดยึดอยู่ในโครงการ อยู่ในความกังวล อยู่ในความโกรธ นั่นก็คือเหตุผลที่ว่า ทำไม น้อยครั้งมากที่ใจของเราจะอยู่ดับกายของเรา

ถ้าเธอนั้นเรียนรู้ที่จะฝึกปฏิบัติกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ เธอนั้นก็สามารถเรียนรู้ที่จะทำให้ใจกลับมาหากายได้ ในช่วงเวลา 1-2 วินาทีเท่านั้น เราอาจจะปล่อยให้ร่างกายของเราทำงานหนักเกินไป เกิดความตึงเครียด เกิดความเจ็บปวด อยู่ในร่างกายของเรา เราอาจจะมีการกระทำที่ผิดต่อร่างกายของเรา และทำให้ร่างกายของเราเป็นทุกข์อย่างยิ่ง และเมื่อเรานำใจของเรากลับเข้ามาสู่กายได้ ก็จะทำให้เกิดความตระหนักรู้ถึงกายของเรา เราจะยิ้มกับกายของเราได้ ใจเราจะสมานไมตรีกับกายของเราได้

เธออาจจะลองฝึกปฏิบัติเช่นนี้ หายใจเข้าให้กายของท่านได้ผ่อนคลาย หายใจออกให้ใจของท่านได้ผ่อนคลาย “หายใจเข้าท่านตระหนักรู้ได้ถึงกายทั่วท้อง หายใจออกท่านปลดปล่อยความตึงเครียดในกายของท่าน” เราไม่ควรจะเคร่งขรึมมากเกินไป ในขณะที่เรากำลังจะฝึกปฏิบัติ เมื่อเธอจะเดินจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง อาคารหนึ่งไปอีกยังอาคารหนึ่ง เธออาจจะลองฝึกปฏิบัติ ในทุกย่างก้าวนั้นสามารถที่จะเต็มไปด้วยความอิสระ ความสุข บอกกับตนเองว่าท่านได้มาถึงแล้ว ท่านได้มาถึงปัจจุบันขณะ

มักจะมีคำพูดที่ว่า ความสุขนั้นไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ ขณะนี้และที่นี่ แต่ความสุขนั้นจะหาได้ในอนาคต คนส่วนใหญ่มักจะหาความสุข เงื่อนไขของความสุขที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่มีคนมากนักที่จะมีความสามารถมีความสุขกับปัจจุบันขณะและเบิกบานกับขณะนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า อดีตได้ผ่านไปแล้ว และอนาคตยังมาไม่ถึง มีเพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้น ที่จะเป็นชั่วขณะที่เราจะมีชีวิตได้อย่างแท้จริง นั่นก็คือ ชั่วขณะปัจจุบัน หากเธอสามารถนำใจกลับมาหากายได้ เธอจะสามารถสัมผัสถึงความมหัศจรรย์ของชีวิต ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะ ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าวในช่วงหนึ่งของการปาฐกถา

ทั้งนี้ การเยือนวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสดงปาฐกถาธรรมของท่านติช นัท ฮันห์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 19-31 พฤษภาคม พ.ศ.2550 ของท่านติช นัท ฮันห์ และคณะสงฆ์จากหมู่บ้านพลัม (Plum Village) เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส ตามคำเชิญของสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เพื่อนำภาวนาและแสดงปาฐกถาเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ณ ประเทศไทย

โดยกำหนดการหลังจากนี้ ระหว่างการพำนักในประเทศไทย คือ การร่วมกิจกรรม ภาวนา : สู่ศานติ สมานฉันท์ ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้านนา ตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันพุธที่ 23 ถึง วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2550

การปาฐกถาธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ณ องค์การสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม เวลา 08.30 นาฬิกา การปาฐกถาธรรม “สู่ศานติสมานฉันท์ : ความรักอันไม่แบ่งแยก” ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต กรุงเทพฯ วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม เวลา 18.00-21.00 นาฬิกา และการปาฐกถาธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา ณ องค์พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ในวันพฤหัสที่ 31 พฤษภาคม เวลา 18.30-19.30 นาฬิกา ก่อนเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 1 มิถุนายน ศกนี้


ท่านติช นัท ฮันห์ นำพาปฏิบัติกิจกรรม “วันแห่งสติ (A Day of Mindfulness)”



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์ประชาไท วันที่ : 24/5/2550
เรื่องโดย ภฤศ ปฐมทัศน์ และพงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและปฏิปทา ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 09:09:24 am »

 
พระไพศาล วิสาโล


ติช นัท ฮันห์ กับมิติใหม่ของพุทธศาสนา
โดย พระไพศาล วิสาโล

นอกจากองค์ทะไล ลามะ แล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่งที่นิตยสารไทม์เมื่อเร็วๆ นี้ ยกย่องให้เป็น “hero” หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก หนังสือหลายเล่มของท่านติดอันดับหนังสือขายดีทั้งในยุโรปและอเมริกา ทุกหนแห่งที่ท่านไปบรรยายจะมีผู้ฟังแน่นขนัดแม้ต้องเสียค่าผ่านประตูก็ตาม ยิ่งที่หมู่บ้านพลัมอันเป็นสำนักของท่านในประเทศฝรั่งเศส ทุกปีจะมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมประจำฤดูร้อนนับพันคนในคราวเดียวกัน คนเหล่านี้มาจากแทบทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่แอฟริกาและอเมริกาใต้

คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน แต่น้อยคนจะตระหนักว่าความสงบเย็นและความรักที่ออกมาจากหัวใจของท่านนั้น มิได้ก่อเกิดจากการนั่งภาวนาในป่าอันสงบสงัดเท่านั้น หากยังกลั่นออกมาจากความทุกข์ยากแสนสาหัสท่ามกลางเพลิงสงครามอันยาวนาน

สงครามเวียดนามได้สังหารญาติมิตรศิษย์หาและเพื่อนร่วมชาติของท่านเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำให้ท่านมั่นคงยิ่งขึ้นในเมตตากรุณาแม้กระทั่งกับผู้ปลิดชีวิตบุคคลที่ท่านรัก ท่ามกลางการตอบโต้ด้วยความอาฆาตพยาบาท ท่านเรียกร้องการให้อภัย ขณะเดียวกันก็อุทิศตนเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา

ท่านเคยกล่าวถึงประเทศเวียดนามของท่านว่า เปรียบเสมือน “ดอกบัวกลางทะเลเพลิง” ชีวิตของท่านจะว่าไปแล้วไม่ได้ผิดไปจากอุปมาดังกล่าวเลย


ท่านติช นัท ฮันห์-องค์ทะไลลามะ


หากจีนไม่รุกรานทิเบต โลกก็คงไม่รู้จัก องค์ทะไลลามะ ในทำนองเดียวกันหากรัฐบาลเวียดนามใต้ไม่ปิดประตูผลักไสให้ท่านกลายเป็นผู้ลี้ภัย โลกก็คงไม่มีโอกาสดื่มด่ำสัมผัสธรรมของ ท่านนัท ฮันห์ อย่างแพร่หลายเช่นทุกวันนี้ เมื่อท่านไม่อาจเข้าประเทศเวียดนามได้หลังจากการไปรณรงค์เรียกร้องสันติภาพที่สหรัฐอเมริกา อเมริกาและยุโรปจึงเปรียบเสมือนบ้านของท่านตลอด 39 ปีที่ผ่านมา หนังสือและคำสอนที่สำคัญของท่านส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ยิ่งท่านมาตั้งสำนักที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส สังฆะของท่านก็หยั่งรากลึกและเติบใหญ่จนกลายเป็นพลังที่สำคัญในทางศาสนธรรมและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็สร้างมิติใหม่ให้แก่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับโลกและสำหรับเวียดนามเอง

ท่านนัท ฮันห์ เป็นหนึ่งในบุคคลผู้ริเริ่มนำพุทธศาสนาออกมาสัมพันธ์กับโลกสมัยใหม่อย่างมีพลัง ในยามที่บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ท่านเห็นว่าจุดยืนของพุทธศาสนามิได้อยู่ที่การสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จับอาวุธห้ำหั่นกัน หากอยู่ที่การเสนอทางออกอย่างสันติ โดยมีความเมตตาต่อทั้งสองฝ่าย แม้นั่นจะหมายถึงการถูกเข้าใจผิดจากทุกฝ่ายก็ตาม และในขณะที่ผู้คนกำลังเดือดร้อนจากภัยสงครามและความยากจน ชาวพุทธไม่ควรเอาแต่นั่งภาวนาหรือแผ่เมตตาอยู่ในมุ้ง หากควรออกไปช่วยเหลือคนเหล่านั้น โดยพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กับปฏิบัติการทางสังคม ก็คือการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดความสงบ มีสติ เปี่ยมด้วยกรุณาและมีปัญญากระจ่างแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ท่านและประโยชน์ตนอย่างแท้จริง

นอกจากการนำพุทธศาสนามาสัมพันธ์กับสังคมแล้ว ท่านนัท ฮันห์ ยังเห็นว่า พุทธศาสนามิอาจแยกจากชีวิตได้ การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการปลีกตัวออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น พุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคมอย่างแนบแน่นดังกล่าว ท่านนัท ฮันห์ เรียกว่า Engaged Buddhism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน


ท่านติช นัท ฮันห์ ขณะเข้าร่วมประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก 2550
ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร



เสน่ห์แห่งคำสอนของท่านนัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล 5 ในขอบเขตแคบๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล 5 ให้มีความหมายกว้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนแยบยลสูงจนผู้คนสามารถเบียดเบียนกันได้แม้จะไม่เห็นตัวกัน เช่น ศีลข้อที่ 1 อันได้แก่ปาณาติบาต ท่านได้ขยายความว่าหมายถึง “การตั้งจิตมั่นที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายชีวิต รวมทั้งจะไม่ส่งเสริมการทำลายชีวิตใดๆ ในโลกนี้ โดยทั้งความคิดและในทางการปฏิบัติ” ในแง่นี้การสนับสนุนนโยบายฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด หรือการบริโภคที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมทารุณสัตว์ ก็เท่ากับผิดศีลข้อที่ 1 ด้วย

ในด้านสมาธิ ท่านเห็นว่าหัวใจสำคัญของสมาธิภาวนา คือ การเจริญสติ เพราะสตินำไปสู่ความตื่นรู้ และความตื่นรู้นั้นมิได้จำกัดอยู่แค่การรู้กายและใจของตนเท่านั้น หากยังรู้ความเป็นไปของสิ่งรอบตัว รวมทั้งรู้ถึงความทุกข์ยากของผู้คนด้วย แต่ขณะเดียวกันจะต้องไม่ปล่อยให้ความทุกข์ของผู้อื่นท่วมท้นจิต จนตนเองกลายเป็นผู้ทุกข์ไปด้วยอีกคน

เราจะต้องรักษาจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ โดยมีสติเข้าไปรับรู้ความเศร้าโศก ความโกรธ ความเกลียด และแปรให้เป็นความสงบและความรัก การตื่นอยู่เสมอด้วยสตินั้นเป็นปาฏิหาริย์ในตัวเอง ดังหนังสือเรื่อง ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ของท่านเป็นคู่มือนำทางให้แก่เราได้เป็นอย่างดี โดยที่ต้องไม่ลืมว่าหนังสือเล่มนี้ท่านเขียนในขณะที่สงครามเวียดนามกำลังมาถึงจุดแตกหัก แม้ท่านจะห่วงใยกับสถานการณ์ดังกล่าวเพียงใด แต่ท่านก็สงบนิ่งพอที่จะเขียนหนังสืออันมีคุณค่าลุ่มลึกทางจิตใจได้

ท่านนัท ฮันห์ ยังเป็นผู้ฉลาดในการนำพาให้เราเห็นโลกด้วยปัญญา กล่าวคือไปพ้นจากความหลงแห่งทวิภาวะที่มองสิ่งต่างๆ แยกออกเป็นขั้วๆ ท่านชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่มองเห็นเป็นขั้วนั้นแท้จริงเป็นอีกด้านของเหรียญเดียวกัน ไม่ว่า ได้-เสีย มา-ไป เกิด-ตาย เรา-ผู้อื่น ขยะ-ดอกไม้ เหยื่อ-อาชญากร ทั้งหมดนี้ไม่ได้แยกจากกัน คนที่เป็นอาชญากรนั้นก็เคยเป็นเหยื่อมาก่อน เช่นเดียวกับขยะซึ่งในอดีตเคยเป็นดอกไม้ และในอนาคตก็จะกลายเป็นดอกไม้อีก ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กันและเป็นเหตุปัจจัยให้แก่กันและกัน (ดังท่านเรียกว่า “เป็นดั่งกันและกัน” หรือ interbeing)


การประชุมวิชาการชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก 2550
ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร



เมฆกับกระดาษ เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ไม่มีเมฆ ไม่มีฝน ก็ไม่มีต้นไม้ และไม่มีกระดาษ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงย้ำให้เรามองกระดาษจนเห็นก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ และคนตัดไม้ กล่าวอีกนัยหนึ่งกระดาษนั้นไม่มีตัวตนของมันเอง หากเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่ใช่กระดาษ เช่นเดียวกับร่างกายของเราล้วนเกิดขึ้นจากธาตุหรือสารต่างๆ ที่ไม่ใช่ตัวเรา เช่น คาร์บอน แคลเซียม เหล็ก ฯลฯ ด้วยคำสอนง่ายๆ ที่ฝึกให้เรามองสิ่งต่างๆ อย่างเพ่งพินิจ ท่านได้พาให้เราเข้าใจความจริงอันลึกซึ้งอันได้แก่อนัตตา คือความไม่มีตัวตน

คุณูปการสำคัญอีกประการหนึ่งของท่านนัท ฮันห์ ที่ควรกล่าวย้ำในที่นี้ก็คือ การตั้งสังฆะที่สมสมัย ท่านตระหนักดีว่าพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ จำต้องมีสังฆะที่เข้มแข็ง แต่แทนที่สังฆะจะหมายถึงผู้บวชที่ถือเพศพรหมจรรย์เท่านั้น ท่านได้ขยายสังฆะให้คลุมไปถึงอุบาสกและอุบาสิกา ขณะเดียวกันในฝ่ายผู้บวช ก็มิได้มีแต่ภิกษุเท่านั้น หากยังมีภิกษุณีอีกด้วย โดยมีสิกขาบทที่ปรับปรุงให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการทวนกระแสบริโภคนิยม ซึ่งกำลังเป็นตัวกัดกร่อนบั่นทอนชีวิตจิตใจของนักบวชและผู้ใฝ่ธรรมทั่วโลก ขณะเดียวกันท่านยังได้คิดค้นพิธีกรรมใหม่ๆ ที่สื่อธรรมอย่างน่าประทับใจ ควบคู่ไปกับการสร้างสามัคคีธรรมในหมู่สังฆะเพื่อเป็นชุมชนกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง

นิมิตดีก็คือในเดือนพฤษภาคมนี้ ท่านนัท ฮันห์ และสังฆะของท่านจะมาเยือนประเทศไทย (หลังจากที่เคยมาครั้งล่าสุดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว) นอกจากการบรรยายแล้ว ท่านยังจะนำการปฏิบัติเพื่อความตื่นรู้ในปัจจุบันอันประเสริฐสุด นี้เป็นโอกาสดีที่หาได้ยากสำหรับชาวไทย (และผู้สนใจจากประเทศเพื่อนบ้าน) ที่จะได้ฟังธรรมจากท่าน ซึ่งเป็นการผสานมหายาน (โดยเฉพาะเซน) กับเถรวาท ได้อย่างลุ่มลึกและสื่อตรงกับคนสมัยใหม่ได้อย่างถึงแก่น

ด้วยวัย 80 ปีและกิจนิมนต์ที่ได้รับจากทั่วโลก ไม่ง่ายเลยที่ท่านจะกลับมาเยือนเมืองไทยอีกหลังเดือนพฤษภาคมนี้ ผู้สนใจโปรดสอบถามรายละเอียดการบรรยายและการปฏิบัติธรรมได้จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลวิสาขบูชาแห่งโลก


ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)



............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ โดย พระไพศาล วิสาโล
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10578
.....................................................
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและปฏิปทา ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 09:10:14 am »

 
 
ปรัชญาหลักคิด ‘ติช นัท ฮันห์’
ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมโลก


หายใจเข้า ฉันตระหนักรู้ว่าฉันกำลังหายใจเข้า
หายใจออก ฉันยิ้ม ผ่อนคลายกายและใจของฉัน

บ่อยครั้งที่ชีวิตของเราว้าวุ่นและสับสน เหน็ดเหนื่อยกับการวิ่งไล่ตามและวิ่งหนีสิ่งต่างๆ ที่เป็นทั้งกิเลส ความอยาก ความทุกข์ และความกังวลนานัปการในการดำเนินชีวิต จนเราไม่มีเวลาดูแลสิ่งต่างๆ ไม่มีเวลาดูแลคนที่เรารัก ไม่มีเวลาแม้แต่ตระหนักถึงลมหายใจของตนเอง


ถ้อยคำง่ายๆ ข้างต้น คือบทหนึ่งในการเริ่มต้นวิถีแห่งการเจริญสติ ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงลมหายใจเข้าออกของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะนำไปสู่การมีสมาธิในทุกๆ ช่วงของการดำเนินชีวิต สร้างความสงบภายในใจ ลดกระแสความเร่งร้อนและรุนแรงของสังคมโลกปัจจุบัน ผู้กล่าวถ้อยคำสอนและนำการปฏิบัติอันเรียบง่ายนี้ เป็นพระภิกษุชาวเวียดนามที่ผู้คนรู้จักท่านในนาม ‘ติช นัท ฮันห์’

นอกจากองค์ทะไลลามะแล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง ที่นิตยสาร ไทม์ (Time Magazine) ยกย่องให้เป็น ‘Hero’ หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก

พระไพศาล วิสาโล กล่าวถึงท่านติช นัท ฮันห์ ไว้ว่า “คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน แต่น้อยคนจะตระหนักว่า ความสงบเย็นและความรักที่ออกมาจากหัวใจของท่านนั้น มิได้ก่อเกิดจากการนั่งภาวนาในป่าอันสงบสงัดเท่านั้น หากยังกลั่นออกมาจากความทุกข์ยากแสนสาหัสท่ามกลางเพลิงสงครามอันยาวนาน สงครามเวียดนามได้สังหารญาติมิตร ศิษย์ และเพื่อนร่วมชาติของท่านเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำให้ท่านมั่นคงยิ่งขึ้นในเมตตากรุณา แม้กระทั่งกับผู้ปลิดชีวิตบุคคลที่ท่านรัก ท่ามกลางการตอบโต้ด้วยความอาฆาตพยาบาท ท่านเรียกร้องการให้อภัย ขณะเดียวกันก็อุทิศตนเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา

ท่านเคยกล่าวถึงประเทศเวียดนามของท่านว่าเปรียบเสมือน ‘ดอกบัวกลางทะเลเพลิง’ ชีวิตของท่านจะว่าไปแล้วไม่ได้ผิดไปจากอุปมาดังกล่าวเลย”

• สังคมโลกดำรงอยู่ด้วยสันติภาพ

กว่า 30 ปีก่อน ขณะที่เวียดนามกำลังคุกรุ่นด้วยไฟสงคราม มีผู้ตั้งคำถามกับท่านติช นัท ฮันห์ ว่า ระหว่างพุทธศาสนากับสันติภาพ หากเลือกได้ ท่านจะเลือกอะไร

ท่านตอบว่า “หากคุณต้องเลือกระหว่างพุทธศาสนากับสันติภาพ คุณต้องเลือกสันติภาพ เพราะหากคุณเลือกพุทธศาสนาแล้วละทิ้งสันติภาพ พุทธศาสนาย่อมรับไม่ได้ ยิ่งกว่านั้นพุทธศาสนามิใช่วัดหรือองค์กร พุทธศาสนาอยู่ในใจคุณ ถึงแม้คุณไม่มีวัดหรือพระสงฆ์ คุณก็ยังเป็นชาวพุทธในหัวใจและในชีวิตได้”

แนวคิดส่วนใหญ่ของชาวพุทธในเวียดนามขณะนั้นคือ การทำทุกวิถีทางเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ แม้กระทั่งการสนับสนุนการทำสงครามระหว่างสหรัฐและรัฐบาลเวียดนามใต้ เพราะต่างเห็นว่า หากคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะ ย่อมหมายถึงการสูญสิ้นพุทธศาสนา คำตอบของท่านติช นัท ฮันห์ จึงขัดแย้งกับความคิดของคนหมู่มาก

แม้จะได้รับการต่อต้านจากประชาชนและรัฐบาลในบ้านเกิดของท่านเอง แต่ติช นัท ฮันห์ ยังคงเชื่อมั่นว่า สงครามคือความเลวร้ายที่เป็นเหตุปัจจัยแห่งการทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เพียงแต่การสูญเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ หากยังผลักดันให้ผู้คนแสดงด้านมืดที่สุดของจิตใจ หันมากระทำย่ำยีต่อกันอย่างไร้ความเมตตา ละทิ้งคุณธรรมจริยธรรมอย่างสิ้นเชิง นั่นหมายถึงความล่มสลายของมนุษยชาติในที่สุด

ท่านเชื่อว่าพุทธศาสนามีขึ้นเพื่อสันติสุขแห่งมวลมนุษย์ หากต้องเลือกระหว่างสันติภาพกับพุทธศาสนา ชาวพุทธสมควรเลือกสันติภาพ การสนับสนุนสงครามแม้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการคงอยู่ของศาสนา ย่อมมิใช่หนทางของพุทธศาสนาที่ปฏิเสธการเบียดเบียนและเข่นฆ่าในทุกกรณี พุทธศาสนามิได้อยู่ที่พระ วัดวาอาราม หรือวัตถุมงคลใดๆ หากแต่สถิตอยู่ในจิตใจที่เป็นกุศล เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารี ต่อกัน ไม่ถูกครอบงำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ความเกลียดชัง หรือความหวาดระแวง ด้วยเหตุนี้ ติช นัท ฮันห์ จึงอุทิศชีวิตของท่านเพื่อนำสันติภาพกลับคืนสู่ชาวเวียดนามจนเป็นผลสำเร็จ การตั้งมั่นของท่านพิสูจน์ให้ชาวโลกได้ตระหนักว่า สันติภาพคือรากฐานแห่งการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา

ในการปาฐกถาธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชาโลกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ท่านติช นัท ฮันห์ ยังคงกล่าวย้ำให้ทุกคนมีชีวิตอยู่ด้วยสติ ปัญญา เมตตา กรุณา อยู่กับปัจจุบันขณะ ฝึกฝนการฟังอย่างลึกซึ้ง รักษาศีล 5 บ่มเพาะหน่ออ่อนแห่งความรักความเมตตาในจิตใจ รื้อถอนรากเหง้าแห่งความรุนแรง คือ ความคิดความเห็นที่ผิดพลาด ด้วยการปฏิบัติเหล่านี้จึงจะสามารถแก้ปัญหาความรุนแรงในโลกได้


ดอกบัวบานที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส


• พลังแห่งสติ พลังแห่งชีวิต

ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปี ที่ท่านต้องลี้ภัยเนื่องจากความไม่ไว้ใจของผู้นำคอมมิวนิสต์ฝ่ายเหนือและผู้นำฝ่ายใต้ ท่านได้ก่อตั้งชุมชนปฏิบัติธรรม ณ หมู่บ้านพลัม เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส ทำให้ท่านได้รับฟังปัญหาของชาวตะวันตกจำนวนมาก และได้ข้อสรุปว่า ประชาชนที่อยู่ดีกินดี อุดมด้วยวัตถุ เครื่องใช้ทันสมัยนานาชนิด กลับหาความสุขในชีวิตได้ยาก ครอบครัวไม่อบอุ่น ชีวิตคู่ประสบปัญหาหย่าร้าง

ท่านพบว่ามีผู้สนใจหันเข้ามาศึกษาวิธีการปฏิบัติธรรมและขอบวชกับท่านจำนวนมากขึ้นทุกที มีทั้งผู้ที่เปี่ยมด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ รวมถึงคนหนุ่มสาวจากนานาชาติ ที่เบื่อชีวิตในสังคม หันมาพึ่งร่มกาสาวพัสตร์ หวังขจัดปัญหาเรื่องความโดดเดี่ยวและชีวิตที่เศร้าเหงาในสังคมตะวันตก

คำตอบเรียบง่ายของท่านในการขจัดความทุกข์และสร้างความสุข คือการเจริญสติ

สติเป็นพลังแห่งความตระหนักรู้ และรู้สึกตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ เป็นการเฝ้ามองอย่างลึกซึ้งในทุกขณะของชีวิตประจำวัน

การดำรงสติเป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างแท้จริง ดำรงอยู่กับปัจจุบันขณะ และกับทุกสิ่งที่รายล้อมเรา รวมทั้งกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราสามารถโน้มนำกายและจิตให้ผสานอย่างสอดคล้อง ในทุกกิจกรรมที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร ล้างจาน ขับรถ หรืออาบน้ำยามเช้า


ชาวหมู่บ้านพลัม รวมทั้งผู้ปฏิบัติภาวนาตามแนวทางของติช นัท ฮันห์ ทั่วโลก ต่างเรียนรู้ที่จะทำกิจวัตรต่างๆ ด้วยลมหายใจแห่งสติ ด้วยการตระหนักรู้ในทุกขณะ ฝึกสติทุกๆ ขณะ ตลอดทั้งวัน และไม่เพียงแต่ในห้องปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติในครัว ในห้องน้ำ ในห้องพัก และระหว่างทางเดินด้วย

การฝึกสติตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ ไม่จำเป็นต้องไปบังคับลมหายใจ เพียงแค่สัมผัสถึง ลมหายใจก็จะช้าลงและลึกขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ การตระหนักรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ เป็นกุญแจดอกสำคัญสู่การประสานกายและจิตให้เป็นหนึ่งเดียว และนำมาซึ่งพลังแห่งสติในทุกๆ ขณะของชีวิต

ผู้ที่ผ่านการฝึกสติ ล้วนพบว่า การฝึกสตินำมาซึ่งความเบิกบาน ผ่อนคลาย และมั่นคง เพียงแค่เราท่องจำว่า หายใจเข้า ฉันรู้ว่าฉันหายใจเข้า หายใจออก ฉันรู้ว่าฉันหายใจออก

ความลุ่มลึกแห่งถ้อยคำจากคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์ เปรียบเสมือนยาขนานวิเศษ ที่จะช่วยเยียวยาชีวิตอันยุ่งเหยิงในสังคมที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ท่านยังบอกไว้ว่า มนุษย์มีเกราะกำบังที่จะสามารถปกป้องชีวิตจากการถูกความทุกข์ครอบงำได้ นั่นคือ หัวใจที่เปี่ยมไปด้วยสติและรอยยิ้มของมนุษย์เอง

• ศีล 5 สำหรับสังคมสมัยใหม่

พระไพศาล กล่าวว่า เสน่ห์แห่งคำสอนของท่านนัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล 5 ในขอบเขตแคบๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล 5 ให้มีความหมายกว้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนแยบยลสูง จนผู้คนสามารถเบียดเบียนกันได้แม้จะไม่เห็นตัวกัน

ตัวอย่าง เช่น ศีลข้อที่ 1 อันได้แก่ปาณาติบาต ที่เราเข้าใจมาตลอดว่าคือการห้ามฆ่าสัตว์ ท่านได้ขยายความว่าหมายถึง “การตั้งจิตมั่นที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายชีวิต รวมทั้งจะไม่ส่งเสริมการทำลายชีวิตใดๆ ในโลกนี้ โดยทั้งความคิดและในทางการปฏิบัติ” ในแง่นี้การสนับสนุนนโยบายฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด หรือการบริโภคที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมทารุณสัตว์ ตลอดจนการทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมก็เท่ากับผิดศีลข้อที่ 1 ด้วย

ศีลข้อห้ามลักทรัพย์ ท่านยังรวมไปถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น ความอยุติธรรมทางสังคม ศีลข้อ 3 ห้ามประพฤติผิดในกามนั้น ท่านยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศของเด็ก อันเป็นปัญหาสังคมที่ก่อให้เกิดผลกระทบอันเป็นลูกโซ่ไม่มีสิ้นสุด ศีลข้อ 4 ก็มิได้หมายถึงการห้ามกล่าวเท็จแต่เพียงอย่างเดียว หากยังรวมไปถึงการตั้งสัตย์ปฏิญาณที่จะพูดแต่ความจริง และถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความหวัง เบิกบาน และไม่ควรกระพือข่าวที่ตนเองไม่รู้แน่ชัด ตลอดจนละเว้นวาจาที่จะก่อให้เกิดความแตกแยก

ส่วนศีลข้อสุดท้าย มิได้หมายถึงข้อห้ามเพียงแค่ละเว้นสุราและเครื่องดื่มมึนเมาเท่านั้น หากยังขยายความไปถึงการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ทั้งต่อร่างกายและจิตวิญญาณของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือ ภาพยนตร์ และการสนทนา

วิถีชีวิตปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ชีวิตและสังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การมองเห็นความผิดบาปหรือความเบียดเบียนที่มนุษย์สามารถกระทำต่อผู้อื่นนั้น เป็นไปได้ยากขึ้นตามลำดับ การที่ติช นัท ฮันห์ ได้ตีความศีล 5 ในพุทธศาสนา ในลักษณาการที่คนร่วมสมัยเข้าใจได้ ย่อมมิใช่แค่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักษาศีลโดยลำพัง หากแต่ยังประโยชน์ให้แก่สังคมทั้งมวลอีกด้วย


ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)


(มีต่อ)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและปฏิปทา ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 09:11:24 am »

ท่านติช นัท ฮันห์ นำพาปฏิบัติกิจกรรม “ก้าวย่างแห่งสันติภาพ”

 
• พุทธศาสนากับการเยียวยาการเมืองและธุรกิจ

ปลายเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา ในการประชุมชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่ 4 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ท่านติช นัท ฮันท์ ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง “พระพุทธศาสนากับธรรมาภิบาลและการพัฒนา” ความตอนหนึ่งท่านกล่าวถึงนักการเมืองและนักธุรกิจว่า

ชีวิตของนักการเมืองและนักธุรกิจ มีแต่ความเครียด ความทุกข์ ไม่มีเวลาที่จะใช้ชีวิตอย่างลึกซึ้งที่จะดูแลตนเองได้ และหลายครั้งที่เราใช้อำนาจในทางที่ผิด ใช้อำนาจในทางที่เสียหาย เราทุกคนมีอำนาจในตัวเอง ในฐานะที่เป็นครู เรามีอำนาจ ในฐานะที่เป็นคุณพ่อ เราก็มีอำนาจเหมือนกัน ถ้าเราใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจนั้นก็ทำให้คนอื่นมีความทุกข์ไปด้วย ทำให้ตนเองและคนรอบข้างมีความทุกข์ เนื่องจากการไม่รู้วิธีการใช้อำนาจที่ถูกต้อง นอกจากนี้ เงินทอง ชื่อเสียง และอำนาจ ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เราตกอยู่ในห้วงทุกข์เช่นกัน

ทางออกในเรื่องนี้ คือ นักการเมือง นักธุรกิจ จะต้องฝึกเจริญธรรม เพื่อให้เกิดอำนาจทางจิตวิญญาณ 3 ประการ ได้แก่

หนึ่ง ใช้สติในการดำเนินชีวิต รู้จักละทิ้ง หรือตัดออก เพราะนักการเมืองหลายคนยังยึดติดกับความอยาก โดยเฉพาะเรื่องของกามารมณ์ บางครั้งทำให้เสียชื่อเสียง จนไม่สามารถอยู่บริหารงานทางการเมืองต่อไปได้

สอง ใช้ปัญญาเป็นฐานในการพัฒนาชีวิต ต้องรู้จักการเข้าถึงปัญญาด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง การมีปัญญาจะสามารถแปรเปลี่ยนความทุกข์ ความสิ้นหวังเป็นพลังสร้างสรรค์ได้

สาม เรียนรู้ที่จะใช้พลังแห่งความเมตตาและความรัก ต้องรู้จักการให้อภัย ยอมรับซึ่งกันและกัน เมื่อไม่มีความรักให้กันและกันจะนำมาซึ่งความโกรธ เกลียด และความทุกข์

การมีสติและฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ สามารถทำให้บ้าน ที่ทำงาน หรือพรรคการเมือง เปลี่ยนแปลงจากสถานที่บ่มเพาะความทุกข์ เป็นสถานที่แห่งความสุข และความกรุณาได้

ท่านติช นัท ฮันห์ เห็นว่าพุทธศาสนามิอาจแยกจากชีวิตได้ การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการปลีกตัวออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น พุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคมอย่างแนบแน่นดังกล่าว ท่านเรียกว่า “Engaged Buddhism” หรือ “พุทธศาสนาเพื่อสังคม” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

เมื่อมองอย่างลึกซึ้ง การที่ผู้คนทั่วโลกยอมรับนับถือและลงมือปฏิบัติตามแนวคิดของท่านติช นัท ฮันห์ อาจเป็นเพราะความเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ อันเป็นวิถีทางของชีวิตแท้ๆ และสัจธรรมที่ว่า การก่อเกิดพลังอันยิ่งใหญ่ย่อมเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ที่ธรรมดาสามัญ เช่น ลมหายใจ การเดิน และการเจริญสติ ที่นำไปสู่การเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งสันติในใจ ไหลรินไปสู่ครอบครัว และงอกงามสู่สังคมโลก

ดังที่ท่านกล่าวไว้ในปาฐกถาธรรมเรื่อง “สู่สันติสมานฉันท์ : ความสุขอันเป็นหนึ่งเดียวในครอบครัวและสังคม” ปาฐกถาธรรมครั้งแรกในเมืองไทยของท่าน เนื่องในงานวันวิสาขบูชาโลก ปี พ.ศ.2550 ว่า “หากเธอไม่สามารถที่จะสันติกับตัวเองได้แล้ว เธอก็ไม่สามารถสันติกับผู้อื่นได้เช่นกัน”


ท่านติช นัท ฮันห์ กลับบ้านเกิดที่เวียดนาม เมื่อปี พ.ศ.2548


• พุทธศาสนาในเวียดนาม

พุทธศาสนาในประเทศเวียดนามมีประวัติยาวนานกว่า 2,000 ปี พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศเวียดนาม เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7 ซึ่งขณะนั้น เวียดนามตกอยู่ในอำนาจของจีน โดยสันนิษฐานว่า ท่านเมียวโป (Meou-Po) ได้เดินทางจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่

ในยุคแรกๆ พระพุทธศาสนายังไม่เจริญรุ่งเรืองนัก กระทั่งเวียดนามกอบกู้เอกราชจากจีนได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาจึงได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง และเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ มีการจัดตั้งองค์การปกครองคณะสงฆ์ขึ้น กษัตริย์หลายพระองค์ของเวียดนามทรงเอาใจใส่และทำนุบำรุงพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ต่อมาในช่วง พ.ศ.1957-1974 เวียดนามได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีนอีก ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลง และแม้ว่าจะได้เอกราชอีกครั้งในปี พ.ศ.1974 แต่สถานการณ์ของพุทธศาสนาก็ยังไม่ดีขึ้น

พ.ศ.2076 เวียดนามได้แตกแยกเป็น 2 อาณาจักร คือฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ที่ทำสงครามกันตลอดเวลา 270 ปี ในช่วงนี้แต่ละอาณาจักรก็ได้มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมากมาย เพื่อสร้างศรัทธาแก่ผู้คน

พ.ศ.2426 เวียดนามได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พุทธศาสนาจึงเริ่มเสื่อมโทรมลงอีกครั้ง มีการห้ามสร้างวัด จำกัดจำนวนพระสงฆ์ และตัดสิทธิของชาวพุทธมากมาย แต่ชาวพุทธก็พยายามต่อสู้เพื่อเอกราช กระทั่งศาสนาพุทธซึ่งดูเหมือนว่าจะสูญสิ้นแล้ว ก็กลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง โดยในปี พ.ศ.2474 ได้มีการจัดตั้งสมาคมพุทธศาสนาขึ้นที่เมืองไซ่ง่อน เมืองเว้ และฮานอย เพื่อมุ่งเน้นด้านการศึกษา และสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งได้มีการจัดพิมพ์วารสารของพระพุทธศาสนา และแปลคัมภีร์ต่างๆ ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท แต่การฟื้นฟูก็หยุดชะงักลงอีกครั้ง เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2482

ในปี พ.ศ.2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ก็เริ่มฟื้นฟูพุทธศาสนาต่อไป มีการตั้งกิจการบริหารคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ รวมทั้งพุทธสมาคมสำหรับฆราวาสขึ้นด้วย

ในช่วงที่ฝรั่งเศสปกครองเวียดนามนั้น ได้แบ่งประเทศเวียตนามเป็น 2 เขตคือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ โดยเวียดนามเหนือปกครองในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ส่วนเวียดนามใต้ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์กับพุทธศาสนามากมาย โดยเฉพาะในเวียดนามใต้ ที่ปกครองโดยรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีโง ดินห์เดียม ซึ่งนับถือคริสต์ และได้กดขี่ข่มเหงชาวพุทธ รวมทั้งกระทำย่ำยีต่อพุทธศาสนามากมาย กระทั่งพระสงฆ์กับชาวพุทธทนไม่ไหวได้รวมตัวกันต่อต้าน จนถึงขั้นพระติช กวางดึ๊ก เผาตัวเองจนมรณภาพ เพื่อเป็นการประท้วง จนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก ในปี พ.ศ.2506

ต่อมาใน พ.ศ.2519 ได้มีการรวมเวียดนามทั้ง 2 เขตเข้าเป็นประเทศเดียวกันอีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า ‘สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม’ ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเวียดนาม

ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา พระติช ตริ ถู ได้รวบรวมชาวพุทธทุกนิกายและองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ จัดตั้ง ‘ชุมชนชาวพุทธแห่งเวียดนาม’ เพื่อร่วมฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งภายหลังการรวมชาติ ภายใต้คำขวัญว่า “ธรรมะ-ชาติ-สังคมนิยม” และร่วมกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อนำความสงบและสันติมาสู่โลก รวมทั้งได้จัดตั้งองค์กรระดับชาติ 5 องค์กร และได้มีการแปลและพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาเวียดนามด้วย ทุกวันนี้ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร แม่ชี และสาวกพุทธบริษัททั้งหลาย อยู่ภายใต้การนำของชุมชนชาวพุทธแห่งเวียดนาม ที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปสู่สิ่งใหม่ๆ

ปัจจุบัน เวียดนามมีประชากรราว 82 ล้านคน ในจำนวนนี้ราว 92 เปอร์เซนต์นับถือพุทธศาสนา และผลจากการสำรวจของฝ่ายกิจการศาสนาของภาครัฐเวียดนาม ในปี พ.ศ.2549 พบว่า ในปี พ.ศ.2548 เวียดนามมีภิกษุ ภิกษุณี และสามเณร 37,775 รูป แบ่งเป็นมหายาน 26,046 รูป เถรวาท 9,370 รูป นักพรต 2,359 รูป

วัดมีศาสนสถานและสำนักแม่ชี 16,972 แห่ง ศูนย์ให้ความรู้ทางพุทธศาสนา 40 แห่ง แบ่งเป็นสถาบันพุทธศาสนา 3 แห่ง มีสามเณรศึกษารวม 1,141 รูป วิทยาลัยพุทธศาสนา 6 แห่ง มีสามเณรศึกษารวม 1,000 รูป ศูนย์อบรมพุทธศาสนาระดับกลาง 31 แห่ง มีสามเณรศึกษารวม 3,726 รูป มีนักศึกษาที่จบปริญญาตรีและปริญญาเอกทางพุทธศาสนาในต่างประเทศ จำนวน 200 คน มีองค์กรการกุศล 1,076 องค์กร


และประเทศเวียดนามได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ในปี พ.ศ.2551


ท่านติช นัท ฮันห์ กับ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดี มจร.
ขณะเข้าร่วมประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก 2550




............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 80 ก.ค. 50
โดย นันท์ธนัตถ์ จิตประภัสสร
ผู้จัดการออนไลน์ 26 กรกฎาคม 2550 10:50 น.
 
 
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?post_id=4913
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ประวัติและปฏิปทา ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 11:18:13 pm »
 :13: อนุโมทนาสาธุครับผม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~