ผู้เขียน หัวข้อ: การขอโทษและการให้อภัย สมเด็จพระญาณสังวร  (อ่าน 2224 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



การขอโทษและการให้อภัย
: พระนิพนธ์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร..

การรู้จักขอโทษนั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเอง และเป็นการ
ช่วยระงับหรือช่วยแก้โทสะของผู้ถูกกระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดี
ในทางหนึ่ง หรือจะกล่าวว่าการขอโทษคือการพยายามป้องกันมิให้มีการ
ผูกเวรกันก็ไม่ผิด เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิด อีกผู้หนึ่งเกิดโทสะ

เพราะถือความผิดนั้นเป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตน แม้ไม่อาจ
แก้โทสะนั้นได้ ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้น
ถ้าแก้โทสะนั้นได้ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้ เป็นการสร้าง
อภัยทานขึ้นแทน อภัยทานก็คือการยกโทษให้
คือการไม่ถือความผิด
หรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ


อันอภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทาน
ทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด
จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน
โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ
ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย
เป็นการบริหารจิต
โดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น


ผู้ดู แลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิต
ให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใด
เพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม
พยายามมีสติพิจารณา หาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้
ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณ
แก่ตนเองมากมายนัก
ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น

และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่
เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่
และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป

ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย
แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้


ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย
โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ
ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน

อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้
ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย...


: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร..



ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
I am : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=22765
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันติ ความข่มใจ สมเด็จพระญาณสังวร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 05:40:22 pm »


ขันติ ความข่มใจ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ผู้มีขันติคือผู้ที่ แม้มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ในใจมากมายเพียงใดก็ตาม เมื่อมีขันติ ไม่แสดง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกมาอย่างรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงความถูกความผิด ความหนักความเบา

ขันติเป็นความมีใจอดทน อดกลั้น หรือจะกล่าวว่า ทนเก็บความรู้สึกไม่ ว่าโลภ ไม่ว่าโกรธ ไม่ว่าหลง ที่เกิดขึ้นรุนแรงเพียงใดก็ตาม ให้อยู่แต่ภายในใจตน ไม่ให้พ้นใจออกปรากฏเป็นการ ติเตียน ทะเลาะวิวาท ฆ่าฟันกันถึงเป็นถึงตายอันเป็นบาปกรรมทั้งหลาย เป็นไปตามพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาจริงที่ว่า “ขันติตัดรากแห่งมารได้”

ผู้ที่ไม่ได้แสดงความมีขันติให้กลายเป็นความไม่มีขันติ หรือ ขันติแตก อาจไม่ใช่ผู้มีขันติจริง เมื่อเกิดอะไรขึ้นที่น่าจะก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้มีขันติอดทนอดกลั้นจริงไม่ต้องใช้กำลังใจมากมาย เป็นไปง่ายๆ สบายๆ แต่ก็เป็นขันติ

จึงน่าจะแบ่งขั้นได้ว่าเป็นชั้นสูงเหนือขันติธรรมดาทั่วไป ผู้มุ่งมีขันติทั้งหลายอาจต้องข่มใจมาก ถ้าข่มได้สำเร็จ ขันติก็จะเป็นขันติ ไม่เป็นขันแตกให้น่ากลัว

ขันติจะเข้าสู่ระดับไม่ต้องข่มใจหนักหนาได้ ต้องอยู่ที่การพยายามฝึกเสมอ เมื่อ กระทบอารมณ์ใดก็ให้ระวังใจให้ดีที่สุด คือนึกให้เกิดมงคลสูงสุดแก่ชีวิต ว่าเราจะบูชาสมเด็จพระบรมศาสดาด้วยบูชาอันยิ่ง คือด้วยการมีขันติ

ดังในพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า “ผู้มีขันติชื่อว่าทำตามคำทรงสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา” นี้เป็นคำทรงสอนที่ให้คุณแก่ชีวิตสัตว์โลกเป็นอย่างยิ่ง



Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2011, 05:47:19 pm โดย ฐิตา »