อ่าๆๆๆ
ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น
เป็นปัจจเวกขณญาณอย่างไร อ่า
ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่มาประชุมกันใน
ขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ฯ
พิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น อ่า
ชื่อว่าเป็นคู่ เพราะอรรถว่าไม่มีล่วงเกินอ่า
ปัญญา ชนะทุกอย่าง
ปัญญาชนะการล่วงเกินด้วยประการทั้งปวง
ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฎฐิ โดยเทียบเคียงคำสอนพระพุทธเจ้า
เพื่อลบล้างคำสอนเดียร์ถีย์
ไม่จัดว่าเป็นกรรมดำอ่า
ไม่จัดว่าเป็นการล่วงเกิน ผู้มีธรรมอันเป็นท่าน้ำ อ่า
แต่จัดในการทำลาย ความเชื่อผิด เห็นผิด เข้าใจผิด ของพวกลัทธิเห็นผิด รู้ผิด เข้าใจผิด พวกเดียรถีย์ออกจากใจอ่า
ปํญญาจึงชนะธรรมของลัทธิเดียร์ถีย์ นิกายอื่น ศาสนาอื่น ไม่มีล่วงเกินอ่า
น้องต๊ะนิมนต์พระคาถา ไล่เดียรถีย์ให้คุณพี่หนุ่มโดยเฉพาะอ่า
เอาคาถาไล่ลัทธิเดียร์ถีย์ ลัทธิข้ามน้ำผิดท่าอ่า ลัทธิซื้อขายเช่าพระออกไปด้วยปัญญาอ่า
คาถาพาหุง บทที่ ๖
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ
ตั้งใจมาโต้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคนมืดบอดยิ่งนัก
พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย“แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้
ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
การชนะครั้งนี้เป็นการชนะด้วยวาทะเป็นเรื่องของการใช้ปัญญา หักล้างกันด้วยเหตุด้วยผลแท้จริง ดังได้เคยกล่าวมาบ้างแล้วว่า
ศาสนาที่เป็นคู่แข่งกับพระพุทธศาสนา ที่คัมภีร์พระพุทธศาสนาบันทึกไว้คือศาสนาเชนของมหาวีระ สาวกระดับนำของศาสนานี้มักจะหาทางเอาชนะพระพุทธองค์ทุกคน ไม่ว่าสีหเสนาบดี หรืออุบาลีคหบดีทำเอามหาวีระ (นิครนถ์นาฏบุตร) กระอักโลหิตมาแล้ว
สัจจกะนิครนถ์คนนี้ก็เป็น “มือวางอันดับหนึ่ง” ของลัทธิเชน เทียบกับสมัยนี้ก็คือนักวิชาการ “แสนรู้” ที่คิดว่าตนรู้มากกว่าใครในหล้าคนอื่นโง่ไปหมด อะไรทำนองนั้นสัจจกะแกจบไตรเพท จบปรัชญาชั้นสูง เป็นผู้ถึงสุดยอดแห่งวิชาการศาสนาของตนแล้ว แกจึงภาคภูมิใจในความเป็นผู้รู้ของตน แกจะเอาเข็มขัดเหล็กมาคาดพุงไว้ ดังหนึ่งคนเป็นโรคปวดหลังเอาสเตย์ ( Stay ) รัดพุงยังไงยังงั้น แกคงคิดว่าพุงเป็นที่เก็บสติปัญญาอันล้ำเลิศกระมัง จึงรัดเข็มขัดเหล็กเส้นเบ้อเร่อไว้กันสติปัญญาหล่นหาย
คิดเอาก็แล้วกัน คนที่คิดว่าสติปัญญาอยู่ที่พุง จะเป็นคนฉลาดได้อย่างไร ที่แท้ก็คนโง่อวดฉลาดนั่นเอง เพราะเหตุนี้แหละคาถาพาหุงจึงจึงบรรยายลักษณะ ของสัจจกะว่า อติอันธภูตัง (คนมือบอดอย่างยิ่ง โง่งมงายอย่างยิ่ง)
สัจจกะรู้ว่าพระพุทธเจ้ามีคนเคารพนับถือมาก มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาบวชเป็นสาวกจำนวนมาก รวมทั้งเพื่อนร่วมศาสนาของตนหลายคนด้วย ก็ร้อนใจว่า ถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นอยู่อย่างนี้ ไม่ช้าศาสนิกของศาสนาตนก็ร่อยหรอ พระเชนทั้งหลายก็จะถูกดับรัศมี ดังหนึ่งหิ่งห้อยท่ามกลางแสงจันทร์ฉะนั้น จึงอาสาไปโต้วาทะกับพระพุทธองค์ให้รู้ดำรู้แดงกันเสียที
เข้าใจว่า การประกาศโต้วาทะกับพระพุทธเจ้าครั้งนี้ คงได้รับฉันทานุมัติจากมหาวีระ (นิครนถ์นาฎบุตร) เป็นที่เรียบร้อยแล้วมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งมหาวีระไม่เคยออกมาเผชิญหน้ากับพระพุทธองค์เลย หลบเลี่ยงตลอดส่งแต่สาวกมือดีมาโต้ ที่เป็นเช่นนี้ สันนิษฐานได้ ๒ ประการคือ
- มหาวีระอาจถือว่าตนเป็นศาสดา อาวุโสดีกว่า เก่งกว่าพระพุทธเจ้าก็ได้ จึงไม่ยอม “ลดตัว” ลงมาหาพระพุทธเจ้า (คนเรามีสิทธิ์คิดนะครับ มณฑก (คางคก) ยังทำ “เทียบท้าวราชสีห์” หรือหมูยัง “เห็นสีหราชท้าชวนรบ” ได้นี่ครับ แล้วทำไมศาสดามหาวีระจะไม่มีสิทธิ์คิดว่าตนเก่งกว่าพระพุทธเจ้าเล่า)
- มหาวีระคงรู้ตัวว่าตนเองสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ ถ้าหากมาโต้วาทะกับพระพุทธเจ้าแล้วแพ้ ตนจะเอาหน้าไปไว้ไหน สาวกทั้งหลายอาจเลื่อมศรัทธาหมด ทางที่ดีก็เลี่ยงๆ ไว้ก่อนเป็นดีที่สุด
จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เป็นอันว่าศาสดาของสองศาสนานี้ ไม่เคยเผชิญหน้ากันเลย มีแต่สาวกมือดีอย่าง สัจจกะนิครนถ์นี้แหละกำแหงมาตอแยพระพุทธเจ้า
เข้าใจว่าเรื่อง สัจจกะนิครนถ์ประกาศจะโต้วาทะหักล้างพระพุทธองค์คงเป็นข่าวใหญ่ ถ้าเป็นสมัยนี้ ก็ คงลงข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ยักษ์แทบทุกฉบับ ทีวีแทบทุกช่อง วิทยุแทบทุกคลื่น เสนอข่าวกันครึกโครมเป็นที่รับรู้กันทั่วไป ชาวชมพูทวีปสมัยโน้น เป็นคนชอบแสวงหาสติปัญญาแสวงหาแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามสำหรับตน เรื่องประเทืองปัญญาอย่างนี้ คงไม่พลาดแน่ๆ
วันแห่งการรอคอยก็มาถึง ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ทีป่ามหาวัน นอกเมืองไพสาลี แห่งแคว้นวัชชี พร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ป่ามหาวันนี้เป็นที่สงบสงัด พระพุทธองค์มักเสด็จมาประทับเสมอ พวกกษัตริย์ลิจฉวี เมื่อทราบว่าพระพุทะองค์เสด็จมาประทับที่นี่ ก็มักจะพากันมาเฝ้าฟังธรรมมิได้ขาด
มหาชนจำนวนมากได้ติดตามสัจจกะนิครนถ์ไปป่ามหาวัน เพื่อฟังการโต้วาทะระหว่างพระพุทธเจ้ากับสัจจกะนิครนถ์ ป่ามหาวันอันกว้างใหญ่ไพศาลก็ถึงกับคับแคบลงมาถนัดตาเพราะเต็มไปด้วย “แขกมุง” ผู้อยากรู้อยากเห็นทั้งหลาย
เนื้อหาที่โต้กันนั้นมีบันทึกไว้ในจูฬสัจจกสูตร และมหาสัจจกสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒เกี่ยวกับเรื่อง อัตตา (ตัวตน) และ อนัตตา (มิใช่ตัวตน, ไม่มีตัวตน) และเรื่องเกี่ยวกับการฝึกฝนกายและจิต
เฉพาะในเรื่องอัตตาและอนัตตานั้นสัจจกะนิครนถ์เชื่อมั่นว่า มี “อัตตา” (ตัวตน) และอัตตาตัวนี้เป็นภาวะ “สัมบูรณ์” หรือ Absolute ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายว่า ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็น “อนัตตา” (มิใช่ ตัวตนและไม่มีตัวตน)
การอธิบายของพระพุทธองค์ทรงใช้วิธีถามให้สัจจกะตอบ ค่อยตะล่อมเข้าหาจุด เช่นตรัสถามว่า “กษัตริย์ย่อมมีอำนาจในการสั่งริบทรัพย์สั่งจองจำ สั่งฆ่าผู้ที่มีความผิดใช่หรือไม่ (ใช่) กษัตริย์ทีมีอำนาจเด็ดขาดเช่นนี้ จะสั่งให้รูป (หนึ่งในขันธ์ ๕) ว่า จงเป็นอย่างนี้อย่าเป็นอย่างนั้นได้ไหม (ไม่ได้) สั่งให้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จงเป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้นได้ไหม (ไม่ได้)”
ทรงถามไปทีละข้อๆ อย่างนี้ สัจจกะก็ยอมรับว่า ไม่มีอำนาจให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วพระองค์ก็ตรัสสรุปว่า ที่ท่านว่าขันธ์ ๕ เป็น “ตัวตน” นั้นผิดแล้ว เพราะถ้ามันเป็นตัวตนของเราจริง เราก็น่าจะบังคับบัญชามัน และสั่งให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ความจริงขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และไม่มีตัวตน
สัจจกะจำนนด้วยเหตุผล ยอมรับว่าตนเข้าใจผิด คัมภีร์บันทึกว่าสัจจกะนิครนถ์ ผู้ถือตนว่าฉลาด ถูกพระพุทธเจ้าปราบสิ้นพยศนั่งจ๋องดุจปูถูกหัก “ก้าม” และ “กรรเชียง” คลานกลับสู่สระน้ำไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น
สัจจกะ นิมนต์พระพุทธเจ้าไปเสวยภัตตาหาร ที่บ้านของตนและประกาศตนเป็นสาวกของพระพุทธองค์แต่ บัดนั้น