ผู้เขียน หัวข้อ: กระโถน ส้วม อยากระบาย เขียน บ่นอะไร เชิญ เอาให้โล่ง โปร่งไปสิบทิศ  (อ่าน 473127 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
             [๑๓๔] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง

ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า

ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร

หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น

ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง

สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น

อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว

กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี

มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่มีเหลือ ฯ

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
             [๑๓๕] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง

ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า

ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็นอย่างอื่น

และภพนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น

อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว

กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี

มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ...

อุปาทานเป็นไฉน ...

ตัณหาเป็นไฉน ...

เวทนาเป็นไฉน ...

ผัสสะเป็นไฉน ...

สฬายตนะเป็นไฉน ...

นามรูปเป็นไฉน ...

วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ


             [๑๓๖] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง

ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า

สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร

หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่นว่า

ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง

สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว

ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน

ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๒

             [๑๓๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย

จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


             [๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า

ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร

หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะ

นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น

สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี

หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง

ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯลฯ

ชาติเป็นไฉน ...

ภพเป็นไฉน ...

อุปาทานเป็นไฉน ...

ตัณหาเป็นไฉน ...

เวทนาเป็นไฉน ...

ผัสสะเป็นไฉน ...

สฬายตนะเป็นไฉน ...

นามรูปเป็นไฉน ...

วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
             [๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า

สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า

สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น

คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น

สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี

หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง

ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ


             [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง

ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชรามรณะเป็นไฉน

และชรามรณะเป็นของใครหรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น

และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น

หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น

อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว

กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี

มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
             [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง

ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน

และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น

และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น

อันอริยสาวกนั้นละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว

กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี

มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯลฯ


ภพเป็นไฉน ...

อุปาทานเป็นไฉน ...

ตัณหาเป็นไฉน ...

เวทนาเป็นไฉน ...

ผัสสะเป็นไฉน ...

สฬายตนะเป็นไฉน ...

นามรูปเป็นไฉน ...

นามรูปเป็นไฉน ...

วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ


             [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง

ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพติด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน

และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น

และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น

อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว

กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี

มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๕๙๕ - ๑๖๖๗. หน้าที่ ๖๕ - ๖๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=1595&Z=1667&pagebreak=0             

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส

             [๑๘๐] คำว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา

เป็นผู้คงที่ มีความว่า อมตนิพพาน เรียกว่าฝั่ง

ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง

เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา ความสำรอก

ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด.


ผู้ใดไปถึงฝั่ง บรรลุฝั่งแล้ว ไปถึงส่วนสุด

บรรลุส่วนสุดแล้ว ไปถึงที่สุด บรรลุที่สุดแล้ว ฯลฯ

ภพใหม่มิได้มีแก่ผู้นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง.

คำว่า ย่อมไม่กลับ คือ กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละแล้ว

ด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก

ไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น

กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยสกทาคามิมรรค

อริยบุคคลนั้น ย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง

ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น กิเลสเหล่าใด

อันอริยบุคคลละแล้วด้วยอนาคามิมรรค

อริยบุคคลนั้น ย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง

ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น กิเลสเหล่าใด

อันอริยบุคคลละแล้วด้วยอรหัตมรรค

อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง

ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่าย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา.


คำว่า ผู้คงที่ คือพระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

โดยอาการ ๕ คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์

และอนิฏฐารมณ์ เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าสละแล้ว

เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าข้ามแล้ว

เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าพ้นแล้ว

เป็นผู้คงที่เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ.

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
             พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างไร?

พระอรหันต์เป็นผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ

แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ

แม้ในนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์.


หากว่าชนทั้งหลายพึงลูบไล้แขนข้างหนึ่ง

แห่งพระอรหันต์ด้วยเครื่องหอม

พึงถากแขนข้างหนึ่งด้วยมีด

พระอรหันต์ย่อมไม่มีความยินดีในการลูบไล้

ด้วยเครื่องหอมโน้น และไม่มีความยินร้าย

ในการถากด้วยมีดโน้น เป็นผู้ละการยินดียินร้ายเสียแล้ว

เป็นผู้ล่วงเลยการดีใจและการเสียใจแล้ว

เป็นผู้ก้าวล่วงความยินดีความยินร้ายเสียแล้ว

พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์

และอนิฏฐารมณ์อย่างนี้.


             พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

เพราะอรรถว่าสละแล้วอย่างไร?

พระอรหันต์สละ คายปล่อย ละ สละคืนเสียแล้ว

ซึ่งความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ

ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา

ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง

ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา

ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละแล้วอย่างนี้.

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
             พระอรหันต์ชื่อว่าผู้คงที่

เพราะอรรถว่าข้ามแล้วอย่างไร?

พระอรหันต์ข้ามแล้ว ข้ามขึ้นข้ามพ้น

ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี เป็นไปล่วงซึ่งกาโมฆะ

ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ และคลองแห่งสงสารทั้งปวง

พระอรหันต์นั้นอยู่จบแล้ว ประพฤติจรณะแล้ว ฯลฯ

ภพใหม่มิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น

เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

เพราะอรรถว่าข้ามแล้วอย่างนี้.


             พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างไร?

พระอรหันต์มีจิตพ้นแล้ว พ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว

จากความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง

ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ

ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด

ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น

ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง

ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง

พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างนี้.

ออฟไลน์ ซุปเปอร์เบื๊อก

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 67
  • พลังกัลยาณมิตร 21
    • ดูรายละเอียด
             พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างไร?

พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า

เป็นผู้มีศีล ในเมื่อศีลมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศรัทธา ในเมื่อศรัทธามีอยู่.


ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีความเพียร

ในเมื่อความเพียรมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่.


ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า

เป็นผู้ตั้งมั่น ในเมื่อสมาธิมีอยู่.


ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า

เป็นผู้มีปัญญา ในเมื่อปัญญามีอยู่.


ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า

เป็นผู้มีวิชชา ๓ ในเมื่อวิชชามีอยู่.


ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า

เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญามีอยู่.


พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่

เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ อย่างนี้

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง

ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า


พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย

ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิ

ไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลาย

อันพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น

ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว

พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์

อันใครๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต

ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ ดังนี้.



จบปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๒๕๓๖ - ๒๕๘๖. หน้าที่ ๑๐๗ - ๑๐๙.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=2536&Z=2586&pagebreak=0

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...