ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
มาเล่าสู่กันฟัง เรื่องการหักบัญชีบัตรเครดิต KTC ที่แจ้งการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตอาวุโสโอเค กับ บจ.เอไอเอ
ภรรยาผม ได้เคยแจ้งการทำประกันชีวิตอาวุโสโอเค ให้กับคุณพ่อ กับ เอไอเอ โดยแจ้งให้ตัดบัญชีบัตรเครดิตในการชำระค่าเบี้ยฯ
แต่ต่อมาทางภรรยาผม ไม่ต้องการที่จะส่งค่าเบี้ยฯ ผมจึงได้ทำหนังสือให้ภรรยาผม ในการแจ้งเรื่องนี้กับ บจ.เอไอเอ โดยจะเปลี่ยนแปลงประเภทกรมธรรม์เป็นประเภทขยายระยะเวลา ตามตารางมูลค่าเวนคืนเงินสด (ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยฯอีก) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 วันครบกำหนด 21 สิงหาคม 2564 จนกระทั่งดำเนินการเสร็จเรียบร้อย
และผมได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง บมจ.บัตรกรุงไทย ( KTC ) โดยทำหนังสือฉบับแรกไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 และมีการติดต่อประสานงานเบื้องต้นหลายๆรอบ แต่สุดท้ายหนังสือของ KTC ที่ส่งกลับมาให้ผม มีการตอบมาไม่ตรงกับที่ผมได้สอบถามไป ผมจึงจำเป็นต้องสอบถามในเรื่องนี้ โดยสอบถามไปยังกรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ จะได้มีอำนาจสูงสุดในการตอบปัญหา
แต่ถ้าผมไม่ได้รับหนังสือตอบจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผมจะทำหนังสือฉบับต่อไปในการสอบถามในเรื่องดังกล่าว แต่จะทำเรื่องผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อขอคำตอบในเรื่องดังกล่าวนี้ ครับ
หากมีผลความคืบหน้า จะมาแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบกัน
เพื่อเป็นวิทยาทานในความรู้ ในการติดต่อกับสถาบันการเงินทั้งธนาคาร และ NonBank ครับ
#ktcrealprivileges
#ktc
#บริษัทบัตรกรุงไทยจำกัดมหาชน
#บัตรกรุงไทย
#ktcบริษัทบัตรกรุงไทยอาคารไทยมิททาวเวอร์
#ktcกรุงไทย
#ktcกรุงไทยจํากัด
#ธนาคารพาณิชย์
#ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
#Nonbank
#บริษัทประกันภัย
#บมจบัตรกรุงไทย
#AIA
#AIAประกันชีวิต
#บริษัทอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์จำกัด
#ประกันชีวิตอาวุโสโอเค
.....$$$------------------$$$.....
จดหมายฉบับที่ 1
หนังสือฉบับนี้ เป็นหนังสือฉบับแรกที่ผมส่งให้กับ KTC เนื้อหามีในลักษณะนี้
วันที่ 8 ธันวาคม 2560
เรื่อง การหักบัญชีบัตรเครดิตหมายเลข 6666 7777 8888 9999 เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต
เรียน ผู้จัดการ แผนกBackend
บมจ.บัตรกรุงไทย
ข้าพเจ้า นายaaa บัตรเครดิตหมายเลข 1111 2222 3333 4444 โดยข้าพเจ้าได้ทำบัตรเสริมให้กับนางสาวsss บัตรเครดิตหมายเลข 6666 7777 8888 9999 ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น
ข้าพเจ้าแจ้งความประสงค์ยกเลิกการหักบัญชีบัตรเครดิตของนางสาวsss บัตรเครดิตหมายเลข 6666 7777 8888 9999 ในการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ของกรมธรรมเลขที่ T7777777777 (ผู้เอาประกันภัยชื่อนาย(พ่อของนางสาวsss) แบบการประกันภัยตลอดชีพพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ (ไม่มีเงินปันผล) ) บจ.เอไอเอ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป เมื่อท่านได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว กรุณาแจ้งผลการดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรกลับมายังข้าพเจ้าตามที่อยู่ด้านบนไม่เกิน 45 วันนับตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 จักขอบพระคุณยิ่ง แต่หากท่านไม่ได้แจ้งการดำเนินการของท่าน ข้าพเจ้าขอสอบถามในเรื่องดังกล่าวผ่านหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ
ขอแสดงความนับถือ
.........................................
(นายaaa) (นางสาวsss )
.....$$$------------------$$$.....
จดหมายฉบับที่ 2
หนังสือฉบับนี้ เป็นหนังสือฉบับที่สองที่ผมได้ส่งไปยัง บมจ.บัตรกรุงไทย และผมได้ส่งสำเนาหนังสือตอบรับการยกเลิกการหักบัญชีบัตรเครดิต KTC ในการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตฯ ของ บจ.เอไอเอ ไปด้วย
วันที่ 3 มกราคม 2561
เรื่อง การหักบัญชีบัตรเครดิตหมายเลข 6666 7777 8888 9999 เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต
เรียน ผู้จัดการ แผนกBackend
บมจ.บัตรกรุงไทย
ตามหนังสือของข้าพเจ้า ฉบับลงวันที่ 8 ธันวาคม 2560 เรื่อง การหักบัญชีบัตรเครดิตหมายเลข 6666 7777 8888 9999 ของนางสาวsss เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ของกรมธรรมเลขที่ T7777777777 (ผู้เอาประกันภัยชื่อนาย(พ่อของนางสาวsss) แบบการประกันภัยตลอดชีพพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ (ไม่มีเงินปันผล) ) บจ.เอไอเอ ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น
ข้าพเจ้าขอนำส่งสำเนาหนังสือตอบรับจาก บจ.เอไอเอ ฉบับลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560 มายังท่าน เพื่อดำเนินการในส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป และกรุณาแจ้งผลการดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรกลับมายังข้าพเจ้าตามที่อยู่ด้านบนไม่เกิน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับจดหมายฉบับนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ
ขอแสดงความนับถือ
.........................................
(นายaaa)
.....$$$------------------$$$.....
จดหมายจาก KTC ที่แจ้งผลมาให้ผม
ทำให้ผมต้องทำจดหมายอีกรอบ ไปสอบถามทาง KTC แต่สอบถามไปยังกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะได้ตอบให้ตรงประเด็นครับ
หนังสือของ KTC ที่แจ้งมา ตอบผมมาว่า จากการตรวจสอบไม่พบยอดเรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกัน AIA ผ่านบัตรเครดิต KTC เลขที่ 6666 7777 8888 9999 มีผลนับตั้งแต่งวดกำหนด วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป โดยอ้างอิงจากเอกสารตอบรับการขอยกเลิกการใช้บริการหักชำระค่าเบี้ยประกันอัตโนมัติ ออกโดย บริษัท เอไอเอ จำกัด ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560
.....$$$------------------$$$.....
จดหมายของผมฉบับที่ 3 ที่ส่งไปสอบถาม
แต่ฉบับนี้ส่งไปสอบถามกับ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ KTC ครับ
วันที่ 16 มีนาคม 2561
เรื่อง การแจ้งยกเลิกหักบัญชีบัตรเครดิต และแนะนำในเรื่องพนักงานที่ให้บริการ
เรียน กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
ตามหนังสือของข้าพเจ้า นายaaa หนังสือของข้าพเจ้าฉบับลงวันที่ 8 ธันวาคม 2560 เรื่องการหักบัญชีบัตรเครดิตหมายเลข 6666 7777 8888 9999 ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น
ข้าพเจ้าขอเรียนชี้แจง ดังนี้
1. เรื่องหนังสือแจ้งผลการยกเลิกหักบัญชีบัตรเครดิต ในเจตนาของหนังสือของข้าพเจ้า แสดงเจตนาให้ทาง บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) แจ้งผลการยกเลิกการหักบัญชีบัตรเครดิตฯ ไม่ใช่แจ้งการตรวจสอบไม่พบยอดเรียกเก็บเงินจากทาง บจ.เอไอเอ และวันที่ในจดหมายของข้าพเจ้ากับวันที่ในเนื้อหาในจดหมายแจ้งของ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) เป็นคนละวันที่กัน ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าขอตำหนิในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เพราะการอ่านและทำความเข้าใจในจดหมายของข้าพเจ้า ทางผู้อำนวยการฝ่ายบริการสมาชิกบัตรและผู้อำนวยการฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้ทำความเข้าใจให้ละเอียด และไม่ได้ตรวจสอบให้เรื่องราวต่างๆให้ละเอียด ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านดำเนินการแจ้งผลการดำเนินการในเรื่องนี้มาให้ข้าพเจ้าทราบอีกครั้ง ส่วนในเรื่องพนักงานCall Center ของ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) แจ้งมาว่า เป็นการทำเรื่องผ่านบจ.เอไอเอ ไม่ได้ทำเรื่องผ่าน บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือแจ้งว่าทางบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) เป็นสื่อกลางในการชำระเงิน ในความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่าเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นเจ้าของบัตรเครดิต จึงมีสิทธิในการแจ้งไม่ให้หักบัญชีบัตรเครดิตได้ เพราะหากมีการเรียกเก็บมาแต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมจ่ายเงิน ข้าพเจ้าจะมีปัญหาทันที ปัญหาที่ตามมาคือ ทาง บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) จะคิดดอกเบี้ยผิดนัด และค่าติดตามหนี้ ผลที่ร้ายกว่านั้นคือ ข้าพเจ้าและนางสาวsss (ภรรยาของข้าพเจ้า)ฯ มีประวัติการค้างชำระบัตรเครดิต ประวัติฯนี้ จะไปปรากฎที่ข้อมูลของข้าพเจ้าที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ทำให้ข้าพเจ้าและ นางสาวsss (ภรรยาของข้าพเจ้า)ฯ ไม่สามารถที่จะใช้วงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้อีก และบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) เป็นเจ้าของบัตรเครดิตที่ข้าพเจ้าและ นางสาวsss (ภรรยาของข้าพเจ้า)ฯ เป็นสมาชิกของท่าน ท่านจึงมีสิทธิ์ในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้
2. ขอชมเชยพนักงาน Call Center รายคุณวัชมล ในวันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลาประมาณ 12.59 น. (ตามเอกสารแนบ 3 และเอกสารแนบ 4) ข้าพเจ้าได้โทรศัพท์เข้าไปที่ 0-2123-5000 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ทางคุณวัชมลรับสาย ทางคุณวัชมลได้ช่วยในการประสานงานให้ข้าพเจ้าเป็นอย่างดี และเกิดความประทับใจในการให้บริการของพนักงานท่านนี้ ทางบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ต้องมีพนักงาน Call Center ในลักษณะนี้มากๆ จะส่งผลดีต่อการให้บริการลูกค้า ของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) รายละเอียดอยู่ในเอกสารแนบ 3 และเอกสารแนบ 4
3. ข้าพเจ้าขอตำหนิการทำงานของพนักงาน Call Center ดังนี้
3.1 คุณวิชยะ(เป็นผู้ชาย) ข้าพเจ้าได้โทรศัพท์เข้าไปที่ 0-2123-5000 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) วันที่ 13 ธันวาคม 2560 เวลาประมาณ 13.20 น. คุณวิชยะรับสาย ข้าพเจ้าแจ้งความประสงค์ให้ทางคุณวิชยะ แต่ข้าพเจ้าแจ้งยังไม่จบเรื่อง ทางคุณวิชยะได้ตัดสายโทรศัพท์ของข้าพเจ้าทิ้งไป ซึ่งการคุยกับพนักงานCall Centerคนอื่นๆไม่มีในลักษณะนี้
3.2 คุณวิชุดา ข้าพเจ้าได้โทรศัพท์เข้าไปที่ 0-2123-5000 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) วันที่ 13 ธันวาคม 2560 เวลาประมาณ 13.20 น. ข้าพเจ้าได้แจ้งทางคุณวิชุดาว่า ในการติดต่อประสานงานในเรื่องนี้ ขอให้ติดต่อกับข้าพเจ้า ไม่ให้ติดต่อไปที่ นางสาวsss (ภรรยาของข้าพเจ้า)ฯ แต่ทางบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ยังติดต่อกลับไปหา นางสาวsss (ภรรยาของข้าพเจ้า)ฯ อีก ข้าพเจ้าขอสอบถามว่า ในการแจ้งเจตนาไป ทำไมทางบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ไม่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 เวลาประมาณ 16.29 น. คุณรัชมล รับสาย ข้าพเจ้าได้แจ้งให้ทางคุณรัชมล ว่าในการติดต่อประสานงานในเรื่องนี้ ให้ติดต่อที่ข้าพเจ้า หลังจากนั้น ในการประสานงานจึงได้ติดต่อมาที่ข้าพเจ้า (ตามเอกสารแนบ 3)
3.3 ในการที่ข้าพเจ้าติดต่อไปในวันที่ 19 ธันวาคม 2560 (ตามเอกสาร แนบ3) และ ทางบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ติดต่อข้าพเจ้ากลับมาในวันที่ 20 ธันวาคม 2560 (ตามเอกสารแนบ 4) พนักงาน Call Center ที่ข้าพเจ้าได้จดรายละเอียดไว้ เป็นบุคคลคนเดียวกัน คือคุณรัชมล หรือคุณวัชมล แต่ข้าพเจ้าอาจจะฟังไม่ชัดจึงทำให้จดชื่อพนักงานผิดไป และสำหรับชื่อพนักงานของ Call Center คนอื่น ข้าพเจ้าอาจจะจดชื่อ ไม่ถูกต้องกับชื่อจริงๆของพนักงานคนนั้น เนื่องจากเป็นการจดจากการฟังและการคุยทางโทรศัพท์
3.4 ในการติดต่อประสานงานในเรื่องนี้ ทางพนักงาน Call Center ราย คุณรัศมี (ตามเอกสารแนบ 5) และ คุณกิตติยา (ตามเอกสารแนบ 6) และคุณสุภาพร (ตามหนังสือของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ที่ CC-FECC-0016/2561 ฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม 2561 ) ไม่ได้เข้าใจในเจตนาที่ข้าพเจ้าแจ้งไป ทั้งๆที่ข้าพเจ้าแจ้งไปโดยใช้ภาษาไทย ไม่ใช่แจ้งไปโดยใช้ภาษาต่างประเทศ ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านดำเนินการในเรื่องการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องตามเจตนาของลูกค้า และหากในเรื่องต่างๆที่ลูกค้าแจ้งเข้ามายัง Call Center ทางพนักงาน Call Center ไม่สามารถตัดสินใจได้ ควรแจ้งเรื่องดังกล่าวไปยังผู้ที่มีตำแหน่งที่มีอำนาจในการพิจารณาในเรื่องนั้นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้ เพื่อประโยชน์ของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ในการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ จะทำให้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ได้เป็นอย่างดี
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ และข้าพเจ้าขอให้ท่านดำเนินการตอบจดหมายฉบับนี้กลับมาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยส่งให้ข้าพเจ้าตามที่อยู่ด้านบน ภายในไม่เกิน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับจดหมายฉบับนี้ แต่หากข้าพเจ้าไม่ได้รับจดหมายของท่านภายในระยะเวลาดังกล่าว ข้าพเจ้าจะขอสอบถามท่านอีกครั้งโดยสอบถามผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ธนาคารแห่งประเทศไทย และข้าพเจ้าแจ้งเรื่องนี้ลงในเฟสบุ๊คส่วนตัวรวมทั้งสื่อออนไลน์ที่ข้าพเจ้าได้เคยแจ้งในเรื่องดังกล่าวนี้แล้ว และในการลงเรื่องดังกล่าวข้าพเจ้าลงรายละเอียดเพื่อเป็นวิทยาทาน,เป็นความรู้ให้กับบุคคลอื่นๆเพื่อเป็นความรู้และใช้ประโยชน์ในการติดต่อกับหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆ ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านมา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ
.................................................................
(นายaaa)
ที่มา https://www.facebook.com/noom.sithiphong/posts/816763928509995
sithiphong:
เรามาทำความรู้จักเรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) กันสักเล็กน้อย
.
เจตนาที่ผมนำมาลง เพื่อให้ความรู้เป็นวิทยาทาน
ผมดำเนินรอยตามพระบาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องที่สอนคนให้ตกปลาให้เป็น ไม่ใช่การให้ปลาไปกิน
เมื่อให้ปลาไปกิน กินหมดแล้ว ก็ยังลำบาก หากินไม่เป็น ดังนั้น การให้ความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ในความคิดเห็นของผม
.
.
ผมจะยกตัวอย่างให้อ่านกัน
.
นายโน๊ตตี้ นามสกุลลูกพี่โบ๊ตซัง เป็นลูกค้า
ธนาคารณัชชี่ เป็นธนาคารที่นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ธนาคารวิไม่ว่าต้อม เป็นธนาคารพาณิชย์อีกธนาคาร
ธนาคารแก้มหอม เป็นธนาคารพาณิชย์อีกแห่ง
บริษัทประกันภัย ออนนี่ โดยนายออนนี่ มีใบอนุญาตประกันวินาสภัย และ เป็นบริษัทประกันภัยที่นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ทำประกันอัคคีภัยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยไว้
บริษัทประกันภัย ชายหล่อ โดยมีนายชายหล่อ มีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาสภัย
.
มาต่อกัน
.
นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ได้ใช้วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารณัชชี่ และได้ทำประกันอัคคีภัยไว้ที่บริษัทประกันภัย ออนนี่ ระยะเวลาที่ทำประกันอัคคีภัยคือ 3 ปี
.
ต่อมาอีก 2 ปีครึ่ง ก่อนที่จะครบกำหนด นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ได้พบกับ นายชายหล่อ ที่เป็นเจ้านายเก่า นายชายหล่อได้ทราบเรื่องที่นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ที่ได้ทำประกันอัคคีภัยไว้จะครบ 3 ปี นายชายหล่อ ได้ชักชวนให้มาทำประกันอัคคีภัยที่ บริษัทประกันภัยชายหล่อ หลังจากที่ได้คุยกันในรายละเอียด นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ได้ตอบตกลง
.
นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ได้ไปติดต่อกับธนาคารณัชชี่ โดยทำหนังสือแจ้งความประสงค์ว่า จะขอเปลี่ยนแปลงการทำประกันอัคคีภัย จากเดิมที่ทำไว้ที่ บริษัทประกันภัย ออนนี่ จะเปลี่ยนไปเป็น บริษัทประกันภัย ชายหล่อ
.
ทางธนาคารณัชชี่ ต้องยินยอมให้นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง เปลี่ยนแปลงการทำประกันอัคคีภัยจาก บริษัทประกันภัย ออนนี่ เป็น บริษัทประกันภัย ชายหล่อ และห้ามธนาคารณัชชี่ อ้างว่า เป็นระเบียบของธนาคาร
.
หากระเบียบของธนาคารใดๆก็ตามทุกธนาคาร ขัดแย้งกับกฎหมาย หรือ ประกาศ/ระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ระเบียบของธนาคารนั้นๆ ใช้ไม่ได้/เป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มต้น
.
แต่การทำประกันอัคคีภัยของสินเชื่อที่อยู่อาศํย จำเป็นต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ เนื่องจากข้อความในสัญญากู้ฯ จะระบุไว้อยู่แล้วว่า ต้องทำประกันอัคคีภัย
อีกส่วนหนึ่ง เป็นเรื่องของการป้องกันความเสี่ยงของตัวลูกค้าและธนาคาร ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าได้ว่า จะไม่เกิดเหตุการณ์เรื่องของไฟไหม้บ้านได้ และที่เคยกระซิบกันไว้ว่า ในเรื่องของน้ำ หากเป็นน้ำที่อยู่ภายในบ้าน เกิดรั่วออกจากท่อน้ำ แล้วไปทำความเสียหายให้กับตัวบ้าน หรือสิ่งควบของบ้าน สามารถแจ้งเคลมกับบริษัทประกันภัยได้
.
และในเรื่องของการ Refinance สินเชื่อที่อยู่อาศัย หากนายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ไปแจ้งความประสงค์ที่จะขอ Refinance ทางธนาคารณัชชี่ ต้องไม่ขัดขวาง / ถ่วงเวลา / ไม่ขายผลิตภัณฑ์เช่น ให้ทำประกันชีวิตเพิ่มเติม หรือ ให้ทำประกันวินาสภัย( PA / ประกันอุบัติเหตุ ) เพิ่มเติม โดยที่นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ไม่ยินอม และทางธนาคารณัชชี่ ต้องดำเนินการในเรื่องของ Refinance ผมแนะนำอย่างนี้ว่า นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง จะRefinance สินเชื่อที่อยู่อาศัยไปธนาคารแก้มหอม ให้ทำเป็นหนังสือไปแจ้ง และให้ทางธนาคารณัชชี่ เซ็นรับเอกสารดังกล่าว หากธนาคารณัชชี่ ไม่ดำเนินการเช่น การถ่วงเวลา ขั้นต่อไปให้ นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ทำหนังสือแจ้งในเรื่องนี้ ่ผานศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ธนาคารแห่งประเทศไทย ในหนังสืออาจจะแจ้งเพิ่มเติมในกรณีถูกบังคับให้ทำประกันชีวิตเพิ่มเติม หรือ ให้ทำประกันวินาสภัย( PA / ประกันอุบัติเหตุ ) เพิ่มเติมไปด้วย
.
มาต่ออีกเรื่อง
ต่อมา นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ได้เปิดบริษัททำธุรกิจ ซึ่งต้องการเงินที่มาใช้ในบริษัท นายโน๊ตตี้ ลูกพี่โบ๊ตซัง ได้ไปขอสินเชื่อธุรกิจกับ ธนาคารวิไม่ว่าต้อม ทางธนาคารวิไม่ว่าต้อม ต้องไม่นำเสนอประกันชีวิต หรือ ให้ทำประกันวินาสภัย( PA / ประกันอุบัติเหตุ ) ในกรณีที่หากไม่ทำ วงเงินสินเชื่อจะไม่ผ่านการพิจารณา
.
และผู้ที่นำเสนอ ประกันชีวิตเพิ่มเติม ต้องมีใบอนุญาตตัวแทนประชีวิตหรือใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต / ประกันวินาสภัย( PA / ประกันอุบัติเหตุ ) ต้องมีใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาสภัย หรือ ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาสภัย โดยผู้นำเสนอต้องแจ้งให้กับลูกค้าก่อนเสมอ หรือหากมีการนำเสนอในสถานที่ทำการ ในสถานที่ทำการต้องติดประกาศรายละเอียดของผู้ที่มีใบอนุญาตว่า มีใครบ้าง ทุกสถานที่ทำการ
---------------------------------------------------
เรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct)
.
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
.
ประกาศ ธปท. 12 ม.ค. 2561 (สกส.1/2561)
.
การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct)
.
https://www.bot.or.th/app/FIPCS/Thai/PFIPCS_List.aspx
.
https://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2561/ThaiPDF/25610034.pdf
.
#การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม
#Marketconduct
#ธนาคารแห่งประเทศไทย
#สถาบันการเงิน
#ธนาคาร
ที่มา อัลบั้ม Market conduct
https://www.facebook.com/noom.sithiphong
sithiphong:
เรามาเรียนรู้กันต่อเรื่องของสินเชื่อที่อยู่อาศัยกัน เนื้อหาอาจจะยาวไปสักนิด แต่อ่านแล้วนำไปคิด จะดีกับชีวิตของท่านเอง
ผมดำเนินรอยตามพระบาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องที่สอนคนให้ตกปลาให้เป็น ไม่ใช่การให้ปลาไปกิน
เมื่อให้ปลาไปกิน กินหมดแล้ว ก็ยังลำบาก หากินไม่เป็น ดังนั้น การให้ความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ในความคิดเห็นของผม
และผมเองมีไฟล์คำนวณที่ผมทำเอง เป็นไฟล์Excel หากท่านใดสนใจแจ้งมาผ่านไลน์ส่วนตัวผม แจ้ง ชื่อกับ Email แล้วผมจะส่งให้ท่าน และเมื่อท่านสงสัยว่า จะกรอกข้อมูลอย่างไร โทร.มาสอบถามผมได้ครับ
.
ที่มา https://www.facebook.com/noom.sithiphong/posts/822811464571908
.
นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล อายุปัจจุบัน 44 ปี สถานภาพโสด
ธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ (เป็นธนาคารที่นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล ใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน)
ธนาคารโอ๊ะโอ๋ (เป็นธนาคารพาณิชย์อีกแห่ง โดยมีนายปัดรับผิด รับแต่ชอบ เป็นผู้จัดการ)
บริษัทประกันภัย ออนนี่ (มีนายออนนี่ เป็นผู้จัดการ และเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกันวินาสภัย)
บริษัทประกันภัย ชายหล่อ (มีนายชายหล่อ เป็นผู้จัดการ และเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกันวินาสภัย)
.
มาว่ากันต่อครับ
นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ได้มีวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงินกู้ 4,000,000.-บาท(4 ล้านบาท) และวงเงินกู้เพิ่มเติมจากสินเชื่อบ้านได้เงินเพิ่ม วงเงิน 500,000 บาท รวมวงเงินกู้ 4,500,000 บาท มีระยะเวลาการใช้สินเชื่อ 20 ปี กับธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ และได้ทำประกันอัคคีภัย 3 ปี กับบริษัทประกันภัย ออนนี่ เมื่อเวลาผ่านไปไวเมื่อลมกรด เวลาผ่านไป 3 ปี นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยของนางสาวแป๋วแหวว ภาระหนี้ลดเหลือ 3,600,000.-บาท และวงเงินกู้เพิ่มเติมสินเชื่อบ้านได้เงินเพิ่ม ภาระหนี้ลดเหลือ 450,000 บาท ได้ไปทำเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยกับ ธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ แล้วทางธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 3.09%ต่อปีทั้งสองวงเงิน และได้จ่ายค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยต่อไปอีก 3 ปี
.
เหมือนเดิม เวลาวิ่งไปไม่เคยรอใคร ผ่านไปอีก 1 ปี
มีอยู่วันนึง นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล ได้ไปเจอกับ นายปัดรับผิด รับแต่ชอบ ที่เป็นเพื่อนกัน นายปัดรับผิด รับแต่ชอบ ได้ทราบว่า นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล มีวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย และวงเงินกู้เพิ่มเติมจากสินเชื่อบ้านได้เงินเดิม
.
จึงชักชวนให้ Refinance มายังธนาคารโอ๊ะโอ๋ ที่จะให้อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรก 3.09%ต่อปี โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมดังนี้ 1.ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 2.ค่าธรรมเนียมการโอนที่กรมที่ดิน 3.ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 3 ปีแรก (โดยทำประกันอัคคีภัยกับบริษัทประกันภัยชายหล่อ) 4.ค่าอากรสัญญากู้ฯใหม่ มีระยะเวลาการใช้วงเงินสินเชื่อ 16 ปี และที่สำคัญคือ การรวมวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยเดิม และวงเงินกู้เพิ่มเติมจากสินเชื่อบ้านได้เงินเดิม ให้เป็นวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงินเดียว (ซึ่งมีผลต่อการนำ #ดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ไปคำนวณในการ #หักลดหย่อนภาษีประจำปี กับ #กรรมสรรพากร ที่จะได้จำนวนดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น) นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล ได้ไปลองคำนวณดูว่า ในกรณีการRefinance ไปยังธนาคารโอ๊ะโอ๋ ดีกว่าการใช้บริการที่ธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ ที่เป็นธนาคารเดิมที่ใช้บริการอยู่
.
เมื่อนางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล ได้ไปคำนวณและไตร่ตรอง ดังนี้
.
1.อัตราดอกเบี้ยทั้งธนาคารโอ๊ะโอ๋ (ที่เป็นธนาคารใหม่) กับ ธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ(ที่เป็นธนาคารเดิมที่ใช้บริการอยู่) มีอัตราดอกเบี้ยที่เท่ากันใน 3 ปี เรื่องนี้ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน
.
2.อัตราดอกเบี้ยหลังจาก 3 ปีไปแล้ว ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ เนื่องจากสามารถทำเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยได้ตลอด ถึงแม้ว่าทำเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว แต่ยังไม่ถึง 3 ปี ก็สามารถทำเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยได้ใหม่อีกครั้ง จะทำกี่ครั้งก็ได้ในทุกเวลา
.
3.การบริการ ขอไม่พูดถึง
.
4.เรื่องที่ได้ประโยชน์จากการ Refinance ก็คือ การรวมวงเงินทั้งสองวงเงิน (วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยเดิม และวงเงินกู้เพิ่มเติมจากสินเชื่อบ้านได้เงินเดิม) ทำให้มีผลของเรื่องจำนวนดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคาร ที่สามารถนำไปคำนวนในการหักลดหย่อนภาษีประจำปีกับกรมสรรพากร
.
4.1หากเป็นธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ จำนวนดอกเบี้ยที่นำไปคำนวณการหักลดหย่อนภาษีประจำปีกับกรมสรรพากร จะมีเพียง จำนวนดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น ส่วนจำนวนดอกเบี้ยของวงเงินกู้เพิ่มเติมจากสินเชื่อบ้านได้เงิน ไม่สามารถนำไปคำนวนการหักลดหย่อนภาษีประจำปีกับกรมสรรพากรได้
.
4.2หาก Refinance ไปยังธนาคารโอ๊ะโอ๋ สามารถนำจำนวนดอกเบี้ยทั้งหมด ไปคำนวณการหักลดหย่อนภาษีประจำปีกับกรมสรรพากรได้ (เนื่องจากเป็นการรวมวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยเดิม และวงเงินกู้เพิ่มเติมจากสินเชื่อบ้านได้เงินเดิม) เรื่องนี้ธนาคารโอ๊ะโอ๋ (ธนาคารที่นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล จะRefinance วงเงินสินเชื่อไปอยู่ด้วย) ได้เปรียบขึ้นมาทันที
.
5.เรื่องของประกันอัคคีภัย
.
5.1เดิมทำประกันอัคคีภัย และมีการต่ออายุออกไปอีก 3 ปี (ใช้ระยะเวลาไปแล้ว 1 ปี) ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยได้จ่ายให้กับ บริษัทประกันภัย ออนนี่ ไปแล้ว หากยังคงใช้วงเงินสินเชื่ออยู่ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล จ่ายไปแล้ว ถือเสมือนว่า ได้จ่ายเงินไปแล้ว แต่หากว่า นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล ได้ Refinance วงเงินสินเชื่อไปยังธนาคารโอ๊ะโอ๋ นางสาวแป๋วแหวว สามารถขอเวนคืนค่าเบี้ยประกันภัยในส่วนที่เหลืออยู่ตามระยะเวลาในกรมธรรม์ฯได้
.
5.2 หากมีการ Refinance วงเงินสินเชื่อไปยัง ธนาคารโอ๊ะโอ๋ ทางธนาคารโอ๊ะโอ๋ จะเป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยแทนให้ ในเรื่องนี้ ธนาคารโอ๊ะโอ๋ ได้เปรียบอีก (นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล ได้เปรียบในเรื่องที่ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย อีก 3 ปี)
.
6.เรื่องของระยะเวลาการใช้สินเชื่อ เพื่อความยุติธรรม ต้องใช้ระยะเวลาที่เหลืออยู่ คือ 16 ปี เรื่องนี้ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน
.
นางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล สรุปในประเด็นสำคัญได้ดังนี้
.
1.เรื่องของจำนวนดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัย หาก Refinance ไปธนาคารโอ๊ะโอ๋ (ธนาคารใหม่) จะมีมากกว่า การอยู่ที่ธนคารบอยไม่ดื่มค่ะ ส่งผลในเรื่องของการนำดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยไปคำนวณหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี อีก 3 ปี
.
2.ค่าเบี้ยประกันภัย ในกรณีที่ Refinance ไปธนาคารโอ๊ะโอ๋ ทางธนาคารโอ๊ะโอ๋ เป็นผู้ที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยกับบริษัทประกันภัยชายหล่อ แทน และสามารถเวนคืนค่าเบี้ยประกันภัย กับบริษัทประกันภัย ออนนี่ (ธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ ที่เป็นธนาคารเดิม) ได้ ทำให้มีเงินกลับคืนมายังนางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล
.
3.อัตราดอกเบี้ย ใน 3 ปี ของธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ(ธนาคารเดิม) กับ ธนาคารโอ๊ะโอ๋ (ธนาคารใหม่) ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน
.
พอนางสาวแป๋วแหวว ศิษย์หมีพูล ได้วิเคราะห์ผลได้ผลเสียแล้ว ก็ตัดสินใจว่า จะ Refinance สินเชื่อวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยเดิม และวงเงินกู้เพิ่มเติมจากสินเชื่อบ้านได้เงินเดิม จากธนาคารบอยไม่ดื่มค่ะ ไปยังธนาคารโอ๊ะโอ๋ โดยรวมมาเป็นวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงินเดียว ที่มีนายปัดรับผิด รับแต่ชอบ ที่มาชักชวน
.
หากเป็นท่านผู้อ่าน ท่านคิดอย่างไรหากเป็นตัวท่าน
.
มาย้ำกันครับว่า หากมีการขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย(หลังจาก 3 ปีแรก) จากธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ ต่อมาอีก 3 เดือน , 6 เดือน หรือ เวลาไหนก็ได้ หากท่านเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับการลดจากธนาคาร ยังสูงอยู่ และได้ทราบว่า มีธนาคารอื่นให้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าธนาคารเดิม ท่านสามารถเข้าไปทำเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยได้อีก โดยไม่จำเป็นให้ครบอีก 3 ปี
.
ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และประกาศในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ เช่น เรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ ธปท. 12 ม.ค. 2561 (สกส.1/2561) https://www.bot.or.th/app/FIPCS/Thai/PFIPCS_List.aspx
https://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2561/ThaiPDF/25610034.pdf
.
แต่หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมในการให้บริการของธนาคาร ผมแนะนำตามนี้
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
โทร.1213
https://www.1213.or.th/th/Pages/default.aspx
----------------------------------------------------------
ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน
https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/complainthandling/Pages/complainthandling.aspxเป็นรายละเอียดที่สามารถร้องเรียนกับ ธปท.ได้
----------------------------------------------------------
ตารางแสดงระยะเวลาการให้บริการทางการเงิน (SLA)
https://www.1213.or.th/th/tools/programs/Pages/SLA.aspx
เป็นตารางแสดงระยะเวลาที่ธนาคารได้แจ้งกับธนาคารแห่งประเทศไทยว่า เป็นระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งให้บริการกับลูกค้าในเรื่องต่างๆ
----------------------------------------------------------
เงื่อนไขการร้องเรียน
https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/complainthandling/pages/complain-condition.aspxเป็นหน้าจอที่เข้าสู่ระบบการร้องเรียน
. .
#สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
#การRefinanceสินเชื่อ
#การย้ายวงเงินสินเชื่อไปสถาบันการเงินอื่น
#อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
#การคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
#ธนาคารพาณิชย์
#สินเชื่อRefinance
#สถาบันการเงิน
#อัตราดอกเบี้ย
#ประกันชีวิต
#ร้องเรียนผ่านคปภ.
#สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
#คปภ
sithiphong:
เมื่อธนาคาร "ฟรีค่าธรรมเนียม" คนออมเงินแบบเราได้ประโยชน์อะไรบ้าง?
by อภินิหารเงินออม,Apr 5, 2018 4:35 PM
บทความนี้เป็น Advertorial
ฟรี ฟรี ฟรี!! ค่าธรรมเนียมธนาคาร
"ฟรีค่าธรรมเนียม" เรารอมาเนิ่นนานเหลือเกิน สุดท้ายมันก็เกิดขึ้นจริงๆสักที (เฉพาะการใช้บริการธนาคารออนไลน์) เชื่อว่าทันทีที่เห็นข่าวนี้ หลายคนมักจะแชร์ไปบอกพ่อแม่พี่น้องหรือเพื่อนๆด้วยความดีใจว่า ต่อไปไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมธนาคารอีกต่อไป ในขณะที่อีกมองมุมหนึ่งที่รับรู้ได้จากปรากฎการณ์นี้ คือ ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าเป็นองค์กรขนาดใหญ่ก็ต้องยอมถอย เพื่อก้าวต่อไปที่ไกลกว่าเดิม และเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่า เราก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเป็นทางการแล้วนะคะ
“สังคมไร้เงินสด” คืออะไร?
เชื่อว่าหลายคนคุ้นเคยกับสังคมไร้เงินสดกันมาสักระยะแล้ว เช่น การใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS , MRT การเติมเงินเล่นเกมส์ การโอนเงินหรือจ่ายบิลผ่านมือถือ การลงทุนหุ้นหรือกองทุนรวมแบบออนไลน์ การซื้อตั๋วเครื่องบินแบบออนไลน์ การจ่ายเงินผ่าน QR Code และอื่นๆที่กำลังจะตามมาอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ทำให้เราใช้จ่ายโดยไม่ต้องใช้เงินสด
เรียกง่าย ๆ ว่า "โลกอนาคตเป็นยุคที่เราไม่ใช้จ่ายเงินในรูปแบบเหรียญหรือธนบัตรอีกต่อไป เพราะเงินของเราจะกลายเป็นเพียงตัวเลขที่อยู่ในระบบ"
ถ้าต้องการดูยอดเงินคงเหลือหรือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ก็ทำธุรกรรมการเงินได้แบบออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์หรือแอพธนาคารบนมือถือ ทำให้ชีวิตของเราง่ายและสะดวกมากขึ้น เพราะทำได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องกังวลกับเวลาเปิดปิดของธนาคารอีกต่อไป
สิ่งที่เราได้รับจากการฟรีค่าธรรมเนียมครั้งนี้
เราประหยัดเงินมากขึ้น
จากเดิมที่ต้องเสียเงินยิบย่อยทั้งการโอนข้ามเขต โอนต่างธนาคาร จ่ายบิลสินค้าและบริการ การเติมเงินนั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมมากหรือน้อยแตกต่างกันไป แต่ตอนนี้ฟรีทุกอย่างแล้วจ้า ทำให้มีเงินเหลือไปทำอย่างอื่นมากขึ้น
เราจัดการเงินได้ง่ายขึ้น
เมื่อเราแยกบัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่ายออกจากกัน โดยเหลือเงินไว้ใน “บัญชีฟรีค่าธรรมเนียม” นี้ตามจำนวนเงินที่จะใช้จ่ายในแต่ละเดือน เรียกง่ายๆว่าให้เป็นบัญชีเงินผ่าน เพื่อใช้จ่ายส่วนตัวในเรื่องต่างๆ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เราดูแลเงินได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ใช้เกินเงินที่มีในบัญชี รู้ว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้างผ่านทางมือถือ เหมือนมีผู้ช่วยจดรายจ่ายให้เราแบบอัตโนมัติ
ฟรีค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง?
การแข่งขันในตลาดดุเดือดมากๆ จึงทำให้นโยบายของธนาคารต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในขณะที่เราก็ต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะใช้บริการธนาคารออนไลน์ที่ไหน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานธุรกรรมการเงินของเราให้ได้มากที่สุด อภินิหารเงินออมจึงขอรวบรวมข้อมูลที่อัพเดทที่สุดในขณะนี้ ณ วันที่ 1 เม.ย. 61 มาให้เห็นภาพรวมว่าธนาคารหลักๆแต่ละแห่งที่ประกาศว่า “ฟรีค่าธรรมเนียม” นั้นมีเงื่อนไขอะไรแตกต่างกันบ้าง? (เฉพาะช่องทาง Internet , Mobile Banking และ ATM)
ตาราง ให้ดูจากรูปที่แนบ
จากตารางสรุปนี้จะเห็นว่าแต่ละธนาคารมีรายละเอียดแตกต่างกัน ถ้าเราเข้าใจตรงจุดนี้แล้วก็จะฟรีค่าธรรมเนียมได้เต็ม 100%
ช่องทาง Internet และ Mobile Banking ส่วนใหญ่จะ “ฟรีไม่จำกัด” คล้ายๆกัน
ช่องทาง ATM นั้นมีจุดที่แตกต่างกัน เพราะสิ่งของทุกอย่างล้วนมีต้นทุน คำว่า “ฟรี” ก็เช่นกัน ต้นทุนที่ว่านี้ คือ ค่าธรรมเนียมบัตรรายปีที่แต่ละธนาคารเก็บค่าใช้บริการบัตร ATM ไม่เท่ากัน ถ้าเราเลือกที่จะฟรีค่าธรรมเนียมแล้ว ควรเลือกต้นทุนที่เป็นค่าธรรมเนียมรายปี ATM ที่ราคาไม่สูง เพื่อทำให้เราประหยัดรายจ่ายได้มากขึ้นนะคะ
ข้อดี และข้อควรระวังของการใช้บริการเมื่อธนาคารออนไลน์ ฟรีค่าธรรมเนียม
ข้อดี
ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะฟรีค่าธรรมเนียม ทำให้เรามีเงินเหลือไปใช้อย่างอื่นได้มากขึ้น
เราจัดการเรื่องเงินทุกอย่างได้ในระบบออนไลน์ ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
ข้อควรระวัง
แม้ว่าระบบรักษาความปลอดภัยในของธนาคารจะแข็งแกร่งมากแค่ไหน แต่ถ้าเราไม่ระมัดระวังตัวเอง อาจจะถูกกลุ่มมิจฉาชีพหลอกได้ เช่น การถูกหลอกให้โอนเงิน การตอบอีเมลล์ที่ไม่รู้จักหรือโหลดโปรแกรมแปลกๆลงคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ
ทางที่ดีเราควรติดตามข่าวสารตลอดเวลาว่ากลุ่มมิจฉาชีพอัพเลเวลไปถึงไหนแล้ว เราจะได้รู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่อนะคะ
หากทุกเดือนเราต้องทำธุรกรรมการเงินเหล่านี้ เช่น ถอนเงิน โอนเงิน จ่ายบิล เติมเงิน โดยทำผ่านทั้งช่องทางบริการ Internet , Mobile Banking และ ATM ควรแยกบัญชีเพื่อการออมและการใช้จ่ายออกจากกัน เพื่อป้องกันการสับสนเผลอดึงเงินออมออกมาใช้จ่าย
ซึ่งการมีบัญชีเพื่อรายจ่ายโดยเฉพาะนั้น ควรเป็นบัญชีที่ "ฟรีค่าธรรมเนียม" เพราะทำให้เราประหยัดรายจ่าย ของเราได้ ยกตัวอย่าง เช่น “บัญชีฟรีเว่อร์ไลท์” ของธนาคารธนชาต ก็อาจจะตอบโจทย์ความต้องการตรงจุดนี้ได้ (เผื่อใครยังไม่รู้ จริงๆแล้วบัญชีฟรีเว่อร์ไลท์ของธนาคารธนชาตเขา ให้โอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม มาตั้งนานแล้วนะจ๊ะ ไม่ได้ตามกระแสแต่อยางใด) โดยท่ามกลางกระแสความฟรีนี้ เรียกได้ว่าธนชาตจัดเต็มไม่น้อยหน้าใคร เพราะให้ลูกค้าออมทรัพย์ธนชาต โอนเงิน และ จ่ายบิล ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่านทุกช่องทางออนไลน์ ถือได้ว่าได้ใจลูกค้าไปเต็มๆ
“บัญชีฟรีเว่อร์ไลท์” ที่ตอบโจทย์ความคุ้มทุกการใช้จ่ายยังไง?
บัญชีฟรีเว่อร์ไลท์ เหมาะกับคนที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้จ่าย เพราะทำเองได้ง่ายๆ ผ่านระบบออนไลน์ ในกรณีที่ใช้บริการผ่านทางเคาน์เตอร์ของสาขาธนาคารและช่องทางอื่นๆ จะเสียค่าธรรมเนียมตามปกติ แต่ถ้าเป็นช่องทาง Internet , Mobile Banking และ ATM จะฟรีค่าธรรมเนียมจ้า
ใช้บริการผ่านช่องทาง Internet และ Mobile Banking ผ่าน Thanachart Connect โมบายแอพ และ Thanachart i-Net ฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้
การโอนเงินข้ามเขตในธนาคารเดียวกัน
การโอนเงินต่างธนาคาร
การจ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ
การเติมเงิน
ใช้บริการผ่านช่องทาง ATM ฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้
ฟรี!! ไม่จำกัด ผ่านตู้ ATM ทุกธนาคาร
การสอบถามยอด กดเงินผ่านตู้ ATM (ในเขต)
ฟรี!! ไม่จำกัด ผ่านตู้ ATM ธนชาต
การโอนเงินต่างธนาคารผ่านตู้ ATM
การจ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ
ในขณะที่ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตมีค่าใช้จ่ายปีละ 250 บาท ถือว่ากลางๆและค่อนข้างประหยัดกว่าที่อื่นถ้าเทียบกับธนาคารอื่นๆ ที่ฟรีค่าธรรมเนียมเหมือนกัน แต่เก็บค่าธรรมเนียมบัตร ATM หรือบัตรเดบิตที่รายปีสูงกว่า
“สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้เราจัดการเงินได้ง่ายขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง เพราะประหยัดเงินที่ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมยิบย่อย”
ที่มา
https://aommoney.com/stories/pajaree/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/1677#jfovm8t494
sithiphong:
ว่าด้วยเรื่อง #อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ #บัญชีเงินกู้ #อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก #บัญชีเงินฝาก ของ #ธนาคาร
เรื่องนี้ ผมเคยเขียนไว้สมัยโบราณนานมากแล้ว เขียนไว้ประมาณ 19 มิถุนายน 2551
.----------------------------------------
เรื่องของการเงินและการธนาคาร เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นใคร เราจึงควรที่จะเรียนรู้ และรู้เท่าทันกับเรื่องต่างๆที่เป็นเรื่องการเงินหรือการธนาคาร อีกทั้งกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพที่นับวันจะพัฒนามากขึ้นไปเรื่อยๆ เพิ่มความซับซ้อนมากตามเทคโนโลยี จนบางครั้งบางคนตามเหล่ามิจฉาชีพไม่ทัน ผมจึงได้นำเรื่องราวต่างๆที่เคยประสบพบเห็นและได้เจอ นำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
เรามาว่ากันเรื่องของบัญชีออมทรัพย์ ,บัญชีกระแสรายวัน และบัญชีฝากประจำกันก่อน
.
บัญชีออมทรัพย์ เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่มีความต้องการฝากและถอนเงิน โดยมีบัตรเอทีเอ็มเป็นสิ่งที่สามารถถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มจากบัญชีของตนเอง หรือการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง อัตราดอกเบี้ยของบัญชีออมทรัพย์เป็นบัญชีที่ให้อัตราดอกเบี้ยน้อย
.
บัญชีกระแสรายวัน เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่มีความต้องการใช้ในธุรกิจของตนเอง มีการสั่งจ่ายเงิน(ถอนเงิน)ในบัญชีกระแสรายวันได้หลายทาง เช่น การจ่ายเช็ค ,การถอนเงินจากบัตรเอทีเอ็ม หรือการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง อัตราดอกเบี้ยของบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไม่จ่ายดอกเบี้ยให้
.
บัญชีฝากประจำ เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่ต้องการออมเงิน โดยมีระยะเวลาต่างๆ เช่น การฝาก 3 เดือน , 6 เดือน , 12 เดือน , 24 เดือน เป็นต้น อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารแต่ละแห่งเป็นผู้ที่กำหนดเองว่า จะให้อัตราดอกเบี้ยจำนวนเท่าไร แต่โดยปกติหากการฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำ ถ้าระยะเวลาที่น้อย จะได้อัตราดอกเบี้ยน้อยว่า การฝากที่ใช้ระยะเวลาที่มากกว่า ส่วนการถอนเงินเมื่อครบกำหนดที่ระบุไว้( เช่น 3 เดือน , 6 เดือน , 12 เดือน , 24 เดือน) ผู้ฝากเงินย่อมมีสิทธิที่สามารถถอนเงินจากบัญชีนั้นๆได้ โดยถอนเงินที่ทำการธนาคาร แต่ถ้าหากว่าบัญชีเงินฝากประจำที่มีกำหนดระยะเวลามากกว่า 3 เดือน เช่น ระยะเวลา 12 เดือน แต่หากเจ้าของบัญชีมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน สามารถถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำนั้นๆได้ แต่ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารต้องจ่ายให้กับผู้ฝากเงินนั้น จะได้เป็นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์
.
การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์และบัญชีฝากประจำ จะมีอีกเรื่องที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องคือ การเสียภาษีเงินได้ของกรมสรรพากร บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หากได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษี 15 % ส่วนบัญชีเงินฝากประจำ ไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากจำนวนเท่าไร ต้องเสียภาษี 15 % เสมอ ภาษีที่ผู้ฝากเงิน(บัญชีเงินฝากประจำ) เสียให้กับกรมสรรพากร สามารถนำไปหักลดหย่อนในการยื่นแบบการเสียภาษีประจำปีได้
.
นอกเหนือจากบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทแล้ว ยังมีบัญชีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นบัญชีที่หลายๆคนชอบ และอีกหลายๆคนไม่ชอบ นั่นก็คือบัญชีเงินกู้
.
บัญชีเงินกู้จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ก็คือ
1.บัญชีเงินกู้ประจำ
2.บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี
3.บัญชีเงินกู้อื่นๆ
.
สำหรับบัญชีเงินกู้นั้น เมื่อเอ่ยคำว่า “กู้เงิน” ต้องมีสิ่งหนึ่งตามมา นั่นก็คือ “ดอกเบี้ย” ดอกเบี้ยจะแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ “ #MOR ( #MinimumOverdraftRate ) ” , “ #MLR ( #MinimumLoanRate) ” , “ #MRR ( #MinimumRetailRate) ” และประเภทสุดท้าย (ที่ใครๆไม่ต้องการ)คือ #อัตราดอกเบี้ยผิดนัด
.
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ “MOR (Minimum Overdraft Rate) ” เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี
.
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ “MLR” (Minimum Loan Rate) , “MRR” (Minimum Retail Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับบัญชีเงินกู้ประจำ หรือบัญชีเงินกู้อื่นๆ
.
อัตราดอกเบี้ยทั้งสามประเภท เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ลอยตัว ไม่ใช่ล่องลอยไปในอากาศ แต่เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารสามารถปรับขึ้นหรือลง ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศและการบริหารของธนาคารนั้นๆ
.
ผมมาอธิบายต่อสำหรับบัญชีเงินกู้ประเภทต่างๆนะครับ
.
1.บัญชีเงินกู้ประจำ เป็นบัญชีที่ธนาคารให้กู้เงินเพื่อใช้สำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย (แม้บางครั้ง ผู้กู้จะไม่ได้ซื้อไว้เพื่ออยู่อาศัยเอง แต่อาจจะเป็นการให้บุคคลอื่นเช่าก็มี) อัตราดอกเบี้ยก็จะแตกต่างกันในแต่ละธนาคาร จะใช้ประเภทของอัตราดอกเบี้ยอยู่ 2 ลักษณะคือ “MLR” (Minimum Loan Rate) หรือ “MRR” (Minimum Retail Rate) แล้วแต่ แต่ละธนาคารเป็นผู้ที่กำหนด
.
2.บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นบัญชีที่บุคคลที่ทำธุรกิจต่างๆ ใช้กันโดยบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีจะเป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นบัญชีที่ใช้สำหรับการหมุนเวียนในธุรกิจ โดยผู้ที่มีบัญชีประเภทนี้ ต้องนำโฉนดที่ดิน(จะมีสิ่งปลูกสร้างด้วนหรือไม่ ก็ไม่เป็นไร) หรือนำบัญชีเงินฝากประจำ มาเป็นหลักประกันเงินกู้ประเภทนี้ หรือในบางครั้งก็จะเป็นผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้ค้ำประกันส่วนตัวเต็มวงเงินก็มี บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีนี้ จะใช้อัตราดอกเบี้ย คือ “MOR (Minimum Overdraft Rate)
.
3.บัญชีเงินกู้อื่นๆ เช่น การมีวงเงินหนังสือค้ำประกัน ,การมีวงเงินการเปิด LC และTR , วงเงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคล ,บัตรเครดิต สำหรับบัญชีเงินกู้ในกลุ่มนี้ ผมขออธิบายเฉพาะเรื่องของวงเงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตในช่วงต่อๆไป แต่เรื่องของวงเงินกู้ในประเภทอื่นๆ เป็นเรื่องเฉพาะ ผมไม่ขออธิบายครับ
.
สิ่งต่างๆที่ผมได้นำมาเล่าให้ฟังนี้ หลายๆท่านคงทราบกันดีแล้ว แต่ผมนำมาเกริ่นเรื่องราวที่จะบอกกันต่อๆไป และเผื่อท่านใดที่ไม่ทราบ จะได้ทราบกัน
.
มาว่ากันต่อ
.
เรื่องของการนำเอกสาร(ของตนเอง) นำไปเปิดบัญชีกับธนาคาร เช่นบัตรประชาชน เวลาที่เราจะเซ็นชื่อเพื่อรับรองสำเนาถูกต้องนั้น เราควรที่จะเขียนลงบนสำเนาบัตรประชาชนว่า ใช้เพื่อเปิดบัญชี(ออมทรัพย์หรือกระแสรายวันหรือฝากประจำ) กับธนาคาร.....เท่านั้น และควรเขียนลงบนรูปสำเนาบัตรประชาชนด้วย
.
เรื่องของบัญชีธนาคารต่างๆที่เปิดไว้ เราควรจดประเภทของบัญชี ,เลขที่บัญชี ,ธนาคาร-สาขา และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกับสาขาที่เราเปิดบัญชีไว้ อีกทั้งหมายเลขโทรศัทพ์ที่สามารถติดต่อกับธนาคารกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน(เช่นบัตรเอทีเอ็มหาย)ไว้
.
https://palungjit.org/threads/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.22445/page-873
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version