ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นอนิจัง ทุกขังและอนัตตาของขันธ์  (อ่าน 1402 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ความเป็นอนิจัง ทุกขังและอนัตตาของขันธ์

หมั่นมีสติต่องานและหน้าที นี่แหล่ะคือการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุด
สิ่งนี้เป็นโพธิปักฯในส่วนของ อิทธิบาทสี่
จุดหมายของอิทธิบาทสี่ก็คือ สมาธิที่ตั้งมั่น

เมื่อเรามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นบ่อยๆแล้ว ก็ปฏิบัติอิทธิบาทในขั้นต่อไป
ด้วยการตั้งจุดมุ่งหมายใหม่ นั้นก็คือ ปฏิบัติให้ได้มาซึ่งไตรลักษณ์
ทำได้โดยการ มั่นเอาสติมารู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น ณ.ปัจจุบันนั้น
เช่น โกรธก็รู้ หลงก็รู้ ราคะก็รู้
การตามรู้อารมณ์นี่แหล่ะเป็นเหตุปัจจัยให้เห็นไตรลักษณ์

การเห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของจิต
แต่จะเป็นในลักษณะเข้าไปรู้การทำงานของขันธ์
และการทำงานของขันธ์ ก็ไม่ใช่การเกิดดับเหมือนดวงไฟ
แต่เป็นไปในลักษณะของเหตุปัจจัย การแทนที่กันของกระบวนการขันธ์

การตามรู้อารมณ์ก็คือการ ตามรู้ผลของกระบวนการขันธ์นั้นเอง
การจะเกิดอารมณ์ต่างๆได้ต้องมีเหตุปัจจัยมาจาก รูป(กาย) วิญญาณ
เวทนา สัญญาและสังขารขันธ์


การทำงานของขันธ์จะต้องครบขันธ์ห้าทุกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ความสำคัญมันอยู๋ที่สังขารขันธ์ ผลของสังขารขันธ์หรือเรียกว่า
อาการของจิต จะออกมาในลักษณะใด
บ้างก็เป็นอกุศล โลภ โกรธ หลง บ้างก็กุศล สติ ปัญญา

การเห็นไตรลักษณ์นั้นก็คือ เมื่อกระบวนการขันธ์หนึ่งจบลง
สังขารขันธ์หรืออาการของจิต จะเป็นปัญญา

อธิบายความในส่วนของการเกิดปัญญา
ปัญญามันก็เกิดจากกระบวนการขันธ์เช่นกัน มันเป็นลักษณะกระบวนการขันธ์หนึ่ง
ไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกระบวนการของอีกขันธ์หนึ่ง

มันเกิดได้จาก การตามรู้อารมณ์(อาการของจิต)หรือสังขารณ์ขันธ์
เมื่อเรารู้อารมณ์หรือสังขารขันธ์ ย่อมต้องเกิดกระบวนการขันธ์ใหม่ขึ้นแล้ว
ความสำคัญมันอยู่ที่สัญญาของกระบวนการขันธ์ใหม่นี้

สัญญาก็คือการจำได้หมายรู้ คือมันไปจำหรือเปรียบเทียบอารมณ์เก่าที่เคย
เกิดในอดีตกับอารมณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นณ.ปัจจุบัน ความหมายคือ
อารมณ์สองตัวนั้นต้องต้องเหมือนกัน เช่นโกรธหรือราคะฯลฯ
ผลของกระบวนการขันธ์แบบนี้จะเกิดอาการของจิตที่เป็นปัญญา
และปัญญาตัวนี้เอง
ไปทำให้เราไปเห็น ความเป็นอนิจัง ทุกขังและอนัตตาของขันธ์



- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42362&p=296781#p296781