ประชาสัมพันธ์ > การเตือนภัยสังคมและกลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ
ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว
sithiphong:
ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ประเภทการเงิน ฉบับที่ 169 เอทีเอ็มแบบธรรมดา ธนาคารยังมีบริการไหม
-http://www.chaladsue.com/new/index.php/2015-03-12-09-57-19/2067-test2169-
เปิดหัวเรื่องมาแบบนี้ เพราะมีคำถามจากผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคารพร้อมกับทำบัตรเอทีเอ็ม เพื่อไว้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ แต่ปัญหาที่เป็นประสบการณ์ร่วมกันคือ ธนาคารมักเสนอบัตรเอทีเอ็มแบบที่มีลักษณะเป็นบัตรเดบิตไปด้วย(สามารถใช้บัตรรูดแทนเงินสดได้ตามจำนวนเงินที่มีในบัญชี) หรือไม่ก็เสนอบัตรที่มีการทำประกันภัยไปด้วย ทำให้ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรพุ่งพรวดไปหลายร้อยบาท
เรื่องนี้มิใช่เพิ่งมามีปัญหา แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เวลามีการโวยวายผ่านสื่อขึ้นมาสักครั้ง ทุกธนาคารก็ให้คำตอบประมาณว่า ธนาคารไม่มีการบังคับ(แบบตรงๆ) ว่าทุกคนต้องทำบัตรเอทีเอ็มชนิดพิเศษ ผู้บริโภคสามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ ซึ่งก็จริง แต่ในสถานการณ์จริง ผู้บริโภคมักถูกบังคับกลายๆ ให้ต้องเลือกทำบัตรเอทีเอ็มแบบพิเศษด้วยข้ออ้างประเภท “บัตรเอทีเอ็มธรรมดาหมด ต้องรอหลายอาทิตย์กว่าบัตรจะมา” หรือ “บัตรแบบนี้ดีกว่าเยอะ สามารถเบิกถอนได้คราวละมากๆ” เป็นต้น ผู้บริโภคหลายคนจึงเลือกเอาความสะดวก ไหนๆ ก็มาแล้ว ทำไปให้เสร็จๆ เพื่อไม่ต้องเสียเวลามาอีก จึงจำยอมทำไป ทั้งที่ไม่เต็มใจเท่าไหร่ เสียงบ่นเสียงครวญจึงเกิดขึ้นมากมาย เพราะค่าธรรมเนียมบัตรประเภทพิเศษนี้ จะวนเวียนมาอีกทุกๆ ปี ซึ่งเป็นเรื่องเกินความจำเป็น
ปัญหาการเปิดใช้บริการเอทีเอ็ม
ปัญหาการเงินการธนาคารเป็นประเด็นหนึ่งที่ คณะกรรมการองค์การอิสระภาคประชาชน ให้ความสำคัญและในปี2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มทดลองทำหน้าที่ ได้มีการจัดทำข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ทางคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ
1.ยกเลิกการขายพ่วง บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม ร่วมกับการขายประกัน ข้อเสนอนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหนังสือตอบว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทย จะขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการ และออกประกาศ หรือกำหนดมาตรการบังคับ ห้ามการขายพ่วงบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม และประกันภัย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้แยกแบบฟอร์มการสมัคร (แยกโต๊ะสำหรับการขายประกันโดยเฉพาะ)
2.ยกเลิกการบังคับ ทำบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มธรรมดา ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า ได้ทำหนังสือถึงธนาคารต่างๆ เพื่อจัดการปัญหาการบังคับทำบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มแล้ว
3.ลดราคาค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต ข้อเสนอนี้ ในขั้นต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแล้ว(มีเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)
อย่างไรก็ตาม แม้มีการตอบรับเรื่องการจัดการแก้ไขปัญหา การบังคับทำบัตรเดบิตแทนเอทีเอ็มธรรมดา โดยธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ก็ยังมีเสียงร้องเรียนมาจากฟากผู้บริโภคว่า ปัญหายังไม่หมดไป ธนาคารหลายแห่งยังมามุขเดิมๆ คือพยายามบ่ายเบี่ยงการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ของผู้บริโภค ดังนั้นในการประชุมคณะอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชนด้านการเงินและการธนาคาร ครั้งที่ 5/2557 จึงมีมติให้ทดลองติดตามมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า มีผลในทางปฏิบัติจริงหรือไม่ ในประเด็น 1) บัตรเอทีเอ็มธรรมดายังทำได้อยู่หรือไม่ 2) ค่าธรรมเนียมการทำบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต ตรงกับที่ทางธนาคารแจ้งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยฉลาดซื้อขออาสาทดสอบเรื่องดังกล่าว
ขั้นตอนการทดสอบ
1.เราเลือกธนาคารเป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยเลือกจาก 3 สาขาของแต่ละธนาคาร ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
2.จัดหาอาสาสมัครเพื่อไปทดลองเปิดบัญชีและทำบัตรเอทีเอ็ม โดยในการทดสอบอาสาสมัครจะบอกเพียงขอทำบัตรเอทีเอ็มเท่านั้นเพื่อดูการเสนอบริการของพนักงานว่ามีการให้ข้อมูลแบบใด เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงค่อยยืนยันว่าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาเท่านั้น เพื่อดูว่าพนักงานจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และอาสาสมัครยังสามารถทำเฉพาะบัตรเอทีเอ็มธรรมดาได้หรือไม่
3.ก่อนจะส่งอาสาสมัครไปเปิดบัญชี เราได้ตรวจสอบข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อดูข้อมูลเรื่องค่าธรรมเนียมการทำบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต ที่แต่ละธนาคารได้แจ้งไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพบว่า ธนาคารกรุงเทพ ได้ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาแล้ว มีเพียงบัตรเดบิต “บีเฟิร์ส” เท่านั้น
รูปที่ 1
จากตารางจะเห็นว่า การทำบัตรเอทีเอ็ม 1 ใบ แบบธรรมดาจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า+รายปี ไม่เกิน 300 บาท เว้นธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งมีค่ารายปี 250 บาท+แรกเข้า 100 บาท รวมเป็นเงิน 350 บาท ข้อสังเกตคือ บัตรเอทีเอ็มธรรมดา ของธนาคารกสิกรไทย กรุงศรีฯ และไทยพาณิชย์จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า+รายปี ไม่แตกต่างจากการทำบัตรเดบิตแบบธรรมดา เว้นของธนาคารกรุงไทยที่ค่าธรรมเนียมบัตรธรรมดาจะถูกกว่าบัตรเดบิต คือ บัตรเอทีเอ็มธรรมดา 230 บาท บัตรเดบิตธรรมดา 300 บาท
รูปที่ 2
KTB
บมจ.ธนาคารกรุงไทย
รูปที่ 3
SCB
บมจ.ไทยพาณิชย์
รูปที่ 4
Kbank
บมจ.กสิกรไทย
รูปที่ 5
Bay
บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
จากการทดลองสรุปว่า 12 สาขาของธนาคารเป้าหมาย ที่อาสาสมัครได้ทดลองเปิดบัญชีใหม่พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม พบว่า ไม่สามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ ถึง 6 สาขา (50%) โดยธนาคารกสิกรไทยทำไม่ได้เลยทั้ง 3 สาขาที่อาสาสมัครได้ทดลองขอใช้บริการ รองลงมาคือ ธนาคารกรุงไทย ทำไม่ได้ 2 สาขา ไทยพาณิชย์ ทำไม่ได้ 1 สาขา(อ้างบัตรหมดเช่นกัน) ส่วนที่ต้องปรบมือให้ คือธนาคารกรุงศรีฯ อาสาสมัครของเราสามารถเปิดบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ทั้งสามสาขา
ฉลาดซื้อแนะ
1.ถ้าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาจริงๆ ขอให้ยืนยันกับทางพนักงานว่าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มธรรมดาเท่านั้น ซึ่งค่าธรรมเนียมจะไม่เกิน 300 บาท เว้นธนาคารไทยพาณิชย์ 350 บาท
2.ระวังพนักงานเล่นกลกับท่าน กรณีที่บัตรเอทีเอ็มธรรมดาของธนาคารอาจมีหลายประเภท ท่านอาจได้ประเภทที่ค่าธรรมเนียมสูงแทนบัตรธรรมดาที่ค่าธรรมเนียมต่ำ หรือได้เป็นบัตรเดบิตมาแบบงงๆ เพราะค่าธรรมเนียมเท่ากัน
3.โปรดเลือกบริการโดยคำนึงถึงความเสี่ยง ด้วยค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มกับบัตรเดบิต อาจไม่ได้มีราคาต่างกัน ท่านจึงอาจเลือกบัตรเดบิตเพื่อความสะดวก แต่การเลือกใช้บัตรเดบิตต้องคำนึงเรื่องความปลอดภัย เพราะบัตรเดบิตสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าได้เช่นเดียวกับบัตรเครดิต เพียงแต่ไม่เกินยอดเงินในบัญชี ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงในการสุญเงิน หากท่านทำบัตรสูญหายหรือถูกขโมยไปใช้ เพราะผู้ไม่หวังดีต่อท่านจะสามารถรูดซื้อสินค้าได้ง่ายๆ เพียงแค่ปลอมลายมือชื่อของท่านเวลาซื้อของเท่านั้น(ร้านค้าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้พิจารณาเรื่องลายมือชื่อสักเท่าไร) ดังนั้นท่านอาจสูญเงินทั้งหมดในบัญชีไปได้ง่ายๆ
4.ถ้าพบปัญหาว่าไม่สามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ เพราะการอ้างเรื่องบัตรหมด ท่านควรทำหนังสือร้องเรียนต่อธนาคารดังกล่าว โดยการส่งจดหมายถึงธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานใหญ่ของธนาคารนั้น เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการให้บริการ ถ้าจะไม่มีบัตรแบบธรรมดาแล้ว ก็ควรประกาศยกเลิกไปอย่างเป็นทางการ
sithiphong:
กลโกงของโจรออนไลน์กับวิธีป้องกันครับ
-https://www.facebook.com/hotline1213/photos/a.361487233951356.1073741828.358835237549889/787600391340036/?type=3&theater-
sithiphong:
หนุ่มเครียด ! ถูกเปลี่ยนรหัส Mobile Banking โอนเงินเกลี้ยงเกือบล้านบาท
-http://hilight.kapook.com/view/141065-
หนุ่มเครียดนั่งประท้วงกลางถนนหน้า สตช. หลังโดนคนร้ายหลอกธนาคารเปลี่ยนรหัส Mobile Banking โอนเงินเก็บทั้งชีวิตเกลี้ยงบัญชีเกือบ 1 ล้านบาท ขณะที่ทางแบงก์แถลงพร้อมช่วยเหลือลูกค้าที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ และเร่งประสานหาทางติดตามตัวคนร้าย
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เวลา 11.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพันธุ์สุธี มีลือกิจ เจ้าของร้านประดับยนต์ อายุ 28 ปี และครอบครัว ได้นั่งประท้วงกลางถนนพระราม 1 หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประท้วงกรณีตนเองถูกคนร้ายโอนเงินทั้งหมดในชีวิตที่ฝากเอาไว้ในบัญชีธนาคารกสิกรไทย โดยคนร้ายใช้วิธีติดต่อขอเปลี่ยนซิมที่ทรูช็อปจากนั้นโทรไปเปลี่ยนรหัส แอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking และโอนเงินในบัญชีไปจนเกลี้ยง จำนวน 986,700 บาท พร้อมมอบหลักฐานข้อมูลคนร้ายให้ พ.ต.อ.ธวัชศักดิ์ โปตระนันทน์ รอง ผบก.อก.สทส.
มิจฉาชีพขโมยเงิน
นายพันธุ์สุธี มีลือกิจ กล่าวว่า ตนอยากเรียกร้องให้ธนาคารกสิกรไทย และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เนื่องมีคนร้ายไปหลอกขอรหัสผ่านแอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking โอนเงินจากบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขากรุงศรีอยุธยา ไปจนหมดบัญชี โดยคนร้ายได้ไปแจ้งกับทางทรูว่าซิมหายต้องการขอซิมใหม่ โดยใช้สำเนาบัตรประชาชนปลอมที่ทำขึ้นมา ข้อมูลในบัตรเป็นของตน แต่ภาพเป็นของคนร้าย ซึ่งปกติแล้วการขอซิมใหม่ของทรูจะต้องใช้บัตรจริงเท่านั้น แต่ไม่ทราบว่าทางทรูทำซิมใหม่ให้คนร้ายได้อย่างไร และตั้งแต่วันเกิดเหตุทางทรูไม่เคยติดต่อมาหาหรือแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด หลังเกิดเรื่องตนเป็นผู้ดำเนินเรื่องเองทั้งหมด จากนั้นเมื่อได้ซิมใหม่ก็โทรไปขอรหัสผ่าน K-Mobile Banking กับคอลเซ็นเตอร์โดยใช้ข้อมูลในบัตรประชาชนของตน เมื่อได้รหัสมาคนร้ายก็โอนเงินออกจากบัญชีไปจนหมดรวมทั้งสิ้น จำนวน 986,700 บาท เหลือเงินนบัญชีเพียง 58 บาท
มิจฉาชีพขโมยเงิน
ส่วนทางธนาคารกสิกรไทยนั้น ตนใช้ธนคารนี้มานานกว่า 5 ปี เพราะเชื่อว่าธนาคารนี้มีความมั่นคงและปลอดภัย แต่กลับต้องมาหมดตัวเพราะกรณีดังกล่าว แต่เมื่อเกิดเรื่องเช่นนี้ ทางธนาคารได้ติดต่อกลับมาหาตนว่าสามารถชดใช้ได้เพียง 33% จากความเสียหายเท่านั้น ส่วนที่เหลือไปให้ตามเอาเองกับทรูและคนร้าย โดยขณะนี้ตนได้ไปแจ้งความเอาไว้แล้วที่ สภ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเป็นวัดเกิดเหตุ แต่ตำรวจระบุว่าไม่สามารถดำเนินคดีเพราะถือว่าทางธนาคารเป็นผู้เสียหาย แต่ทางธนาคารกับทรูไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใด ทำให้ตนต้องเป็นคนสืบหาข้อมูลของคนร้ายเองจนขณะนี้ได้ภาพใบหน้าของคนร้าย ภาพเจ้าของบัญชีรับโอนเงินของตน และภาพจากกล้องวงจรปิดที่ทรูช้็อปขณะกำลังติดต่อขอซิมใหม่
มิจฉาชีพขโมยเงิน
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าเคสของตนไม่ใช่เคสแรก เพราะมีผู้โดนคนร้ายกลุ่มนี้ถอนเงินออกจนหมดธนาคารมาแล้วกว่า 6 ราย แต่บางรายกลับได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารอย่างเต็มที่ ตนจึงจำเป็นต้องออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมด้วยวิธีดังกล่าว เพราะหมดสิ้นหนทางในการตามเงินคืนแล้วในตอนนี้
จากนั้นผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางธนาคารกสิกรไทย ได้ออกคำชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า
1. จากจำนวนเงินที่ลูกค้าถูกคนร้ายถอนไป เนื่องจากคนร้ายได้ข้อมูลจากลูกค้าไปทำทุจริต ธนาคารเสนอความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาระของลูกค้าครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ถูกทุจริต และจะช่วยลูกค้าอย่างเต็มที่ในการติดตามตัวคนร้าย
2. ลูกค้ามั่นใจได้ว่าระบบของธนาคารมีความปลอดภัย เนื่องจากเรามีการ verify ตัวตนลูกค้าก่อนให้บริการทุกครั้ง ทั้งนี้ทางธนาคารขอแนะนำว่า ลูกค้าควรเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการ
รวมถึงธนาคารจะดำเนินการในการติดต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในด้านการ verify ตัวตนลูกค้าในการออก sim ใหม่ ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิด fraud รับ OTP ในการโอนเงินในครั้งนี้
sithiphong:
กสิกรไทย คืนเงินทั้งหมด หนุ่มโดนตุ๋น Mobile Banking กวาดเงินเกลี้ยงบัญชี
-http://hilight.kapook.com/view/141123-
ธนาคารกสิกรไทย ติดต่อขอรับผิดชอบค่าเสียหายให้เหยื่อถูกคนร้ายโอนเงินเก็บทั้งชีวิตเกลี้ยงบัญชีเกือบ 1 ล้านบาท ด้วยการคืนเงินทั้งหมด 100% พร้อมเตือนหากต้องการส่งบัตรประชาชนให้ใคร อย่าลืมปิดบาร์โค้ดด้านซ้ายมือด้วย
จากกรณี นายพันธุ์สุธี มีลือกิจ เจ้าของร้านประดับยนต์ อายุ 28 ปี และครอบครัว ได้นั่งประท้วงหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลังถูกคนร้ายโอนเงินจำนวน 986,700 บาท ที่ฝากเอาไว้ในบัญชีธนาคารกสิกรไทย โดยคนร้ายใช้วิธีติดต่อขอเปลี่ยนซิมที่ทรูช็อปก่อนโทรไปเปลี่ยนรหัส แอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking และโอนเงินในบัญชีไปจนเกลี้ยง ซึ่งภายหลังธนาคารกสิกรยอมคืนเงินให้ร้อยละ 33 ของเงินที่สูญไปเท่านั้น
[อ่านข่าว : หนุ่มเครียด ! ถูกเปลี่ยนรหัส Mobile Banking โอนเงินเกลี้ยงเกือบล้านบาท]
-http://hilight.kapook.com/view/141065-
ความคืบหน้าล่าสุด (20 สิงหาคม 2559) ทางธนาคารกสิกรไทยได้ติดต่อทางผู้เสียหายเพื่อขอเจรจาคืนเงินให้ทั้งหมด ก่อนจะดำเนินคดีฟ้องร้องกับกลุ่มคนร้ายที่ปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งทนายความออกมาแสดงความคิดเห็นว่าทางธนาคารต้องรับผิดชอบฐานปล่อยปละละเลยให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชีมาทำธุรกรรมการเงิน และในกรณีนี้ผู้เสียหายสามารถแจ้งความได้โดยไม่ต้องรอให้ธนาคารดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม ภายหลังนายพันธุ์สุธี ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตนขอขอบคุณทางธนาคารกสิกรไทยที่ออกมารับผิดชอบ และขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือพ่อค้าธรรมดาอย่างตน ซึ่งตอนนี้ทางธนาคารเองได้ขอความร่วมมือกับตำรวจให้ช่วยจับคนร้าย แต่ครั้งนี้ขอให้เป็นบทเรียนกับธนาคารและโทรศัพท์มือถือ ว่าให้ระวังมิจฉาชีพต่าง ๆ ดังนั้น เรื่องบัตรประชาชนสำคัญมาก ตอนนี้คนร้ายได้บัตรประชาชนสามารถไปหลอกค่ายโทรศัพท์มือถือเพื่อไปเปลี่ยนซิมการ์ดได้ จึงอยากให้ค่ายมือถือและธนาคารมีความรอบคอบ และหากต้องการเปลี่ยนรหัสใด ๆ ต้องทำผ่านเคาท์เตอร์เท่านั้น
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องการส่งบัตรประชาชนให้ลูกค้านั้น ให้ทำการปิดเลข 13 หลัก วันเดือนปีเกิด และบาร์โค้ดด้านซ้ายสุด ซึ่งบาร์โค้ดนี้จะมีเลข 13 หลักอยู่ หากไม่ปิดบาร์โค้ด คนร้ายสามารภใช้แอพพลิเคชั่นสแกนเลขได้เลย เรื่องนี้ไม่มีใครรู้และขอให้ประชาชนระวัง
ภาพจาก ชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม
-https://www.facebook.com/Helpcrimevictimclub/videos/1076087975838656/-
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก thaich8
sithiphong:
.
.
.
ปลอมเสียงหลอกเป็นคนรู้จักเพื่อยืมเงิน -ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย
.
ที่มา และ โพสโดย เฟซบุ๊ก ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท.
วันที่ 1 สิงหาคม 2566
.
.
????????♀️ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย
????ปลอมเสียงหลอกเป็นคนรู้จักเพื่อยืมเงิน
.
????กลโกงของคนร้าย :
.
1. คนร้ายติดต่อหาเหยื่อผ่านทางโทรศัพท์โดยใช้เครื่องมือปลอมเสียงอ้างว่าเป็นคนรู้จักของเหยื่อ
.
2. คนร้ายแจ้งเหยื่อว่าตนเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ใหม่ ให้เหยื่อบันทึกเบอร์ที่ใช้แอบอ้างไว้
.
3. ในวันถัดไป คนร้ายจะโทรศัพท์หาเหยื่ออ้างเหตุจำเป็นต้องใช้เงินด่วน
เช่น ต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์แต่ App ธนาคารตนเองโอนเงินไม่ได้ หรือต้องชำระเงินค่าสินค้า
.
4. คนร้ายจะส่งเลขบัญชีรับเงิน (บัญชีม้า) ไปให้เหยื่อ
หากเหยื่อเกิดความสงสัยว่าเหตุใดชื่อบัญชีที่ได้รับมา ไม่ตรงกับชื่อคนที่คนร้ายแอบอ้าง
คนร้ายก็จะอ้างว่าเป็นเลขบัญชีของทางร้านค้า และจะกดดันเหยื่อว่าตนเองเดือดร้อน ต้องรีบใช้เงิน
.
5. เมื่อเหยื่อหลงกลโอนเงินไปให้คนร้ายแล้ว คนร้ายจะบล็อคเบอร์โทรศัพท์ของเหยื่อ
.
.
????ข้อสังเกต :
.
1. คนร้ายมีข้อมูลชื่อ หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ของคนที่ถูกแอบอ้างและเหยื่อ
2. ชื่อบัญชีธนาคารที่รับโอนเงิน (บัญชีม้า) ไม่ตรงกับคนที่คนร้ายแอบอ้าง
.
.
????ข้อควรระวัง และแนวทางป้องกัน :
1. ให้สอบถามรายละเอียดเชิงลึกระหว่างคนที่ถูกแอบอ้างกับเหยื่อหรือผู้ที่ได้รับโทรศัพท์คนร้าย
2. ให้ติดต่อกลับทางช่องทางอื่น เช่น ไลน์ facebook หรือเบอร์โทรศัพท์เดิม
3. กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชีคนอื่นหรือบัญชีม้า โดยอ้างว่าเป็นบัญชีของเลขา ร้านค้า เพื่อน หรืออื่นๆ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นคนร้าย
4. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ที่คนร้ายใช้ด้วยแอปพลิเคชัน Whoscall (เป็นแอปพลิเคชันแจ้งเตือนเบอร์มิจฉาชีพที่โทรเข้ามาได้เบื้องต้น)
.
.
❌ไม่เชื่อ ❌ไม่รีบ ❌ไม่โอน
.
???? "ตำรวจไซเบอร์ ให้ความรู้ รู้ทันความคิดมิจฉาชีพ"
.
#ตำรวจไซเบอร์ #เตือนภัยออนไลน์ #ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย
#ปลอมเสียง #หลอกยืมเงิน #หลอกโอนเงิน
.
.
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
???? ด้วยความห่วงใย จากตำรวจไซเบอร์
????โทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
????https://www.thaipoliceonline.com/
???? หรือ แอดไลน์@police1441 แชทบอทกับหมวดขวัญดาว ตลอด 24 ชั่วโมง
.
.
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version