แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน
ทังก้า มันดาลา..... พุทธศิลป์ชั้นสูง
ฐิตา:
แมนดาล่าทำจากอะไร?
แมนดาล่าอาจสร้างขึ้นจากเพชรล้ำค่า ดอกไม้ เมล็ดข้าวแห้ง หินสี หรือทรายสีก็ได้ สำหรับการสร้างแมนดาล่าทราย ทรายนับพันเม็ด ตั้งแต่แบบที่ละเอียดที่สุดไปจนถึงหินทรายเม็ดหยาบ จะถูกทำขึ้นจากหินอ่อนตกผลึกสีขาวที่ได้รับการคัดสรรอย่างพิถีพิถัน และจะถูกนำไปบดให้มีความหยาบต่างๆ กัน จากนั้นผงทรายเหล่านี้ก็จะนำไปผ่านกระบวนการย้อมสี โดยจะมีทั้งสิ้นห้าสี แต่ละสีแทนถึงปัญญาเฉพาะอย่างในการบรรลุถึงการเป็นผู้รู้แจ้ง ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า แต่ละขั้นตอนในการเตรียมการนี้ต้องผ่านการปฏิบัติอย่างตั้งใจและได้รับการปลุกเสกในกระบวนการก่อนที่ผงทรายย้อมสีจะถูกนำมาใช้สร้างแมนดาล่าบนแท่นพื้นเรียบ
กรวยโลหะที่ใช้นั้นเรียกว่า chak-pu เมื่อกรวยที่มีลักษณะแคบและยาวนี้ถูกนำมาถูกับชิ้นเขาสัตว์ ทรายสีที่บรรจุอยู่ภายในกรวยก็จะไหลออกมาในจังหวะที่สม่ำเสมอ เครื่องขูดที่ทำจากไม้หรือที่เรียกว่า shing-ga ถูกนำมาใช้จัดขอบให้ตรงและจัดเม็ดทรายที่กระจัดกระจายให้สะอาดเรียบร้อย ความจำเป็นที่ต้องใช้ทั้งกรวยและเขาสัตว์โดยจะขาดสิ่งใดไปไม่ได้ในกระบวนการเหล่านี้ช่วยเตือนให้เราไม่ลืมว่า ไม่มีสิ่งได้ที่คงอยู่ได้โดยไม่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นจากการพึ่งพากันบนความหลากหลายของเหตุปัจจัย
ผงทรายย้อมสี ซึ่งมีทั้งสีน้ำเงิน ขาว เหลือง แดง เขียว ดำ น้ำตาล ส้ม ฟ้า เหลืองอ่อน แดง และเขียวอ่อน จะถูกนำมาใช้ ในการฝึกปฏิบัติตามแนวตันตระ สีขาว เหลือง แดง และน้ำเงินอมดำจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการกระทำอันสันติ เพิ่มพูน ทรงอำนาจ และดุร้าย ตามลำดับ การกระทำดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว แต่มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตอื่นๆ
อัตราส่วนที่แน่นอนและรายละเอียดทั้งหมดในการสร้างแมนดาล่าทรายถูกกล่าวไว้ในตำราโบราณทางพุทธศาสนา แม่ชีจะทำตามภาพประติมานวิทยาทางศาสนาอย่างพิถีพิถัน เพราะทุกๆ ส่วนของแมนดาล่าสื่อสัญลักษณ์ถึงแง่มุมที่แตกต่างกันของคำสอนและการตระหนักถึงผู้ตรัสรู้ประจำแมนดาล่านั้นๆ
แมนดาล่าพระไภชัษฯ
แมนดาล่าทรายที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ณ วัดธรรมปัญญารามบางม่วงครั้งนี้ คือแมนดาล่าทรายแห่งพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่ท่านเซียงป้อ เจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญารามบางม่วง ได้จัดให้มีโครงการหล่อพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าขึ้นจากเงินแท้ๆ เพื่อเป็นพระประธาน ดังนั้นทางคณะแม่ชีจึงได้สร้างแมนดาล่าทรายพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าขึ้นให้เป็นการสอดคล้องกัน เพื่อเป็นการเสริมอานุภาพแห่งการประสาทพรแห่งการบำบัดรักษา เพราะพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าแห่งการบำบัดรักษาโรคภัย ผู้ที่ได้บูชาพระองค์ด้วยจิตศรัทธาหรือผู้ที่ได้เห็นแมนดาล่าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ก็จะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์ทรมาน และเคราะห์ร้ายทั้งปวง
การได้เห็นหรือได้เพ่งสมาธิไปที่แมนดาล่าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พร้อมๆ กับสวดบทบูชาประจำองค์พระไปด้วย จะช่วยให้เราได้ชำระบาปกรรมที่สั่งสมมาเป็นเวลานับกัลป์ได้ ผู้ที่เจ็บป่วยใกล้ละจากโลก หากได้เห็นแมนดาล่าทรายนี้ ก็จะไม่รู้สึกทุกข์ทรมาน และจะได้ไปเกิดในภพภูมิใหม่ที่ดี และไม่ได้ไปเกิดในภพของเดรัจฉาน
Credit by : http://mahayan.com/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=6
Pics by : http://buddhayan.sitepackage.net/?p=image&o=192
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
ฐิตา:
ใบหน้า "พระโจโวศากายมุณี" ช่างสวยงาม
ตามศิลปะธิเบต
ตามตำนานเล่าว่า เจ้าหญิงเวนเซ็ง ผู้เข้มแข็งทรงมากด้วยความสามารถ
นอกจากทรงนำขนบธรรมเนียมแบบจีนมาใช้ในราชสำนัก
ตลอดจนการเกษตร และทอผ้ามาเผยแพร่ให้แก่พสกนิกรทิเบตแล้ว พระองค์ทรงเป็นผู้อัญเชิญ
พระพุทธรูปองค์ใหญ่สูง 9 เมตร
ปิดทองอร่ามทั้งองค์ประดับด้วยไข่มุก หินปะการัง และอัญมณีหลากสี ซึ่งชาวธิเบตเรียกว่า
“โจโวศากายมุณี”( Jowo Sakyamuni)
และต่างให้ความนับถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 1 ใน 3 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เล่าขานกันว่า อัญเชิญมาจากแผ่นดินจีน
ด้วยความยากลำบากจนเหล่าเทพยาดาต้องลงมาช่วยกันอัญเชิญต่อเนื่องชั่วเวลาข้ามคืน
Green Tara Mantra (108 Repetitions)
Green Tara Mantra (108 Repetitions)
การกราบแบบอัษฏางคประดิษฐ์ (ทางคติวชิรยาน)
อนุโมทนาค่ะ
ฐิตา:
วัดโจคัง (Jokhang) หรือชาวจีนเรียกว่า ต้าเจ้า ซื่อ (Dazhao Si )
เป็นวัดหลังคาทอง มีอายุมากกว่า 1,400 ปี สร้างขึ้นตั้งแต่ ศตวรรษ ที่ 7 (ประมาณ ปี ค.ศ. 639-647) ชาวธิเบตนับถือว่าวัดแห่งนี้เป็น วัดที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดในประเทศ
วัดโจคังสร้างขึ้น หลังจากการอภิเษกสมรส ระหว่างราชธิดา ราชวงศ์ ถัง ของจีน กับกษัตริย์ ธิเบต เจ้าหญิง เหวินเชง ทรงนำพระพุทธรูปพระศากยมุนีจากจีนมาด้วย เมื่อสร้างวัดเสร็จ ได้อัญเชิญ พระพุทธรูปไปประดิษฐาน ณ วัดโจคัง ปัจจุบันการทำพิธีสำคัญทางศาสนาพุทธก็จะมาทำ พิธีที่วัดนี้
วัดโจคังเป็นสถานที่สำคัญมีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของเมืองลาซา นอกจากพระราชวังโปตาลาแล้ว วัดโจคังก็เป็นสถานที่อีกแห่งที่พลาดเสียมิได้ วัดนี้อยู่ทางตะวันออกของพระราชวัง บริเวณรอบวัดมีถนน ล้อมรอบ ชาวทิเบตเรียกกันว่า ถนนแปดเหลี่ยม เพราะถนนสายนี้ หักเป็นมุมล้อมรอบวัดเป็นรูปแปดเหลี่ยม บนถนนสายนี้เป็นย่างช้อปปิ้ง และย่านที่คึกคักจอแจที่สุดของเมืองลาซาอีกด้วย
จุดเด่นของวัด นี้คือ บนหลังคาวัด ซึ่งเป็นดาดฟ้า มีรูปปั้นสัญลักษณ์ พระธรรมจักรกัปวัตนสูตร ซึ่งพระพุทธองค์ประธานเป็นปฐ่มเทศนา เป็นรูปธรรมจักร และ กวาง 2 ตัวนอนหมอบ หันหน้าเข้าหาธรรมจักร ทั้งธรรมจักร และกวางน้อย หุ้มด้วยทองคำแท้อยู่ด้านบน หลังคาวัดโจคังก็ประดับด้วยทองคำ ในยามเย็น เมื่อแสงอาทิตย์ สาดส่องต้องหลังคาวัด จะสะท้อนสีทองออกมา วาววับจับตา เป็นภาพที่งดงามประทับใจมาก
ภายในวัดมีพระประธานเป็นพุทธรูปองค์ใหญ่ สูงประมาณ 3 เมตรคือ โจโวศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เจ้าหญิง เหวินเชง พระธิดา ของฮ่องเต้ราชวงศ์ถัง ของจีน ที่ได้เดินทางไกลมาแต่งงานกับพระเจ้าสองต์สัน กัมโปนำมาด้วย
พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงสุดของชาวธิเบต วัดโจคังได้ชื่อว่าเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของธิเบต มีเรื่องเล่าว่า เมื่อทหารเรดการ์ด ของกองทัพประชาชนในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนยกกำลังมาทำลายวัดวาอาราม และสถานที่สำคัญทางศาสนาในเมืองลาซาจน เสียหายยับเยิน แต่เรดการ์ด กลับไม่กล้าแตะต้อง วัดโจคังเพราะเกรงกลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ อภินิหารของวัดนี้
ชาวธิเบตมีความผูกพันกับวัด โจคังมาตั้งแต่เกิด พวกเขาถือว่าการได้มีโอกาสที่จะมาไหว้พระที่วัดนี้สักครั้ง ถือว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่แล้ว
เมื่อศาสนาพุทธนิกายมหายานได้เผยแผ่ เข้าไปในธิเบต ผสมกับความเชื่อในลัทธิบอนของชาวธิเบต ต่อมาได้ผสมผสานกับศาสนาพุทธ อีกนิกายหนึ่งคือ นิกายตันตระ หรือนิกาย วัชรณาน เป็นพุทธศาสนาอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งเป็นพุทธศาสนาแนวทางธิเบตเรียกว่า "Lamaism" แต่ยังรักษาประเพณีความเชื่อของศาสานพุทธนิกายมหายาน เช่น การเติมน้ำมันตะเกียงตามความเชื่อที่ว่าเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้ชีวิต ซึ่งก็คือการต่ออายุ ผู้เติมนั่นเอง น้ำมันนี้ได้มาจากไขของจามรี เป็นน้ำมันมีกลิ่นฉุนประหลาด เมื่อเข้าวัดธิเบตจะได้กลิ่นน้ำมันจามรีเป็นของคู่วัดธิเบตทุกแห่ง
รอบๆวัดโจคังมีชาวธิเบตมากราบพระด้วยการทอดตัวลงไปนอนราบจนหน้าผากสัมผัสพิ้นแล้วลุกขึ้นมายืนแล้วกราบลงไปใหม่ แล้วลุกขึ้นมาแล้วกราบใหม่ในท่าเดิม ชาวธิเบตเรียก การกราบแบบนี้ว่า " กราบ 8 จุด" หรือ " อัษฏางคประดิษฐ์ " อันเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด
เมื่อไปวัดโจคังจะเห็นภาพชาวธิเบตนอนราบกราบพระแล้วลุกขึ้นมาแล้วนอนลงกราบใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้อยู่ทั่ววัด บ่อยครั้งที่จะเห็นชาวทิเบตเดินวนกราบพระไปรอบๆวัด ด้วยการเดิน 3 ก้าว แล้วกราบพระ 1 ครั้งแล้วลุกขึ้นมาเดินไปอีก 3 ก้าว แล้วนอนกราบอีกครั้ง สลับกันไป บางคนเดินวนรอบวัดกราบพระไม่รู้กี่ร้อยรอบ
รอบโบสถ์วัดโจคัง จะมี " Prayer Wheel" เป็นวงล้อขนาดใหญ่ ภายในวงล้อมีบทสวดมนต์ จารึกอยู่บนวงล้อ การหมุนวงล้อธรรมนี้จะหมุนไป ตามเข็มนาฬิกา หมุนวงล้อธรรม 1 ครั้ง เท่ากับการได้สวดมนตฺ์ ไป 40,000 จบ การหมุนวงล้อ พระธรรมคำสวดนี้ชาวธิเบตจะปฏิบัติกันจนเป็นกิจวัตร ดังนั้น เมื่อเดินไปตามถนนก็จะเห็นชาวธิเบตถือวงล้อ ธรรมดา ขนาดเล็ก เดินไปหมุนไปด้วยตลอดเวลา
ฐิตา:
กวางสองตัว หมอบ หันหน้า เข้า ธรรมจักร อยู่ บน ดาดฟ้า ของวัดโจคัง
ป้ายแสดงยืนยัน ความเป็นมรดกของโลก ของยูเนสโก้
มอง ธรรมจักร จากไกลๆ หน่อย ก็สวยเด่น ตา มีคนอยู่ข้างบนนั้นได้
เพราะเป็นดาดฟ้าขึ้นไปชมได้ครับ มองจากข้างบน ก็จะเห็น พระราชวัง โปตาลา ด้วย
หน้าวัดโจคังแบบ เต็มๆ
วัดโจคัง (อารามโจคัง) Jokhang Monastery
...ศาสนสถานสำคัญแห่งนี้ สร้างขึ้นในราว พ.ศ 1182-1190 ในรัชสมัยของ “พระเจ้าซองเซ็น กัมโป” ปฐมกษัตริย์แห่งธิเบคต ผู้ทรงอำนาจ บรรดาประเทศเพื่อนบ้านต่างส่งเจ้าหญิงของตนมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีด้วยคือ เจ้าหญิงภริกูติ เทวี จากเนปาล และเจ้าหญิงเวนเซ็ง กองโจ พระราชธิดาแห่งราชวงศ์ถัง ทั้ง 2 พระองค์ต่างอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาจากบ้านเกิดของตน
...กษัตริย์ทรงเสื่อมใสในศาสนาพุทธโปรดสร้างอารามโจคังแห่งนี้ เพื่อประดิษฐานองค์พระทั้ง 2 มเหสี
...อารามโจคัง หรือแต่เดิมเรียกว่า “โจโวคัง” Jowokhong ก็คือ อารามประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญองค์นี้นั่นเอง และอารามนี้หาใช่สร้างแบบธรรมดาไม่ เพราที่ตั้งเดิมเคยเป็นทะเลสาบใหญ่ เจ้าหญิงเวนเซ็ง เป็นผู้เลือกฮวงจุ้ยจึงต้องสูบน้ำออกให้หมด และทำพิธีสะกดวิญญาณร้ายให้จมอยู่ใต้ทะเลสาบ ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญทางพุทธศาสนาตามความเชื่อในยุดสมัยนั้น โดยการบูชายัญด้วยแพะ ร่องรอยในอดีตที่เหลือไว้พอให้เห็นน่าเชื่อถือคือ แท่นหินภายในเป็นโพรง
ฐิตา:
ภายในพระอารามโจคังวิหาร มีกลิ่นอายกำยานหอมฟุ้ง มีพระพุทธรูปใหญ่เป็นพระประธานตรงกลาง
สิ่งหลักฐานที่เป็นเหตุจีนแผ่นดินกลืนแผ่นดินธิเบต..ด้วยเหตุผล
...มีแผ่นศิลาคู่จารึก ข้อความเป็นภาษาธิเบตและจีน เป็นสิ่งประจักษ์พยานของ 2 แผ่นดิน
เพื่อสนธิสัญญาสันถวไมตรีในปี พ.ศ.1364
ระหว่างจักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถัง ผู้เป็นพระปิตุลา(ลุง)
และพระเจ้าตริสอง เดนเซน จักรพรรดิแห่งธิเบต
ผู้เป็นพระภาคิไนย (หลานชาย) พระโอรสของเจ้าหญิงเวนเซ็งนั่นเอง
Uttarabodhi Mudra
Two hands placed together above the head
with the index fingers together and the other fingers intertwined.
The gesture of supreme enlightenment.
ในแผ่นศิลาจารึกนั้นมีใจความบันทึกว่า
....” ไมตรีระหว่างอาณาจักรสองเราไร้ซึ่งหมอกควันหรือฝุ่นผง
จงอย่าได้วิตก ถึงคำว่า “ศัตรู”
เพราะแม้แต่การรักษาพรมแดนของเราทั้งสองจักอยู่ในที่ของตน
อย่างสันติสุข นับหมื่นปี
เกียรติคุณครั้งนี้จะแผ่ขยายไปทั่วหล้า ภายใต้รัศมีแห่งสุริยันและจันทรา”....
“สันติสุข” ผ่านไปพันกว่าปี ก็อันมามีอันล่มสลายในปี พ.ศ.2492
รัฐบาลจีนภายใต้การนำของ “เหมา เจ๋อ ตุง”
ส่งกองทัพกำลัง เข้าทำการสงคราม เหนือแผ่นดิน
แม้ใช้สันติวิธีก็ไม่อาจกู้วิกฤตได้ วันที่ 10 มีนาคม 2502
ดาไลลามะองค์ที่ 14 ประมุขของศาสนาจักรและอาณาจักร
จำต้องละทิ้งแผ่นดิน เสด็จลี้ภัยพร้อมพสกนิกร
นับหมื่นกว่าคน เดินเท้าสู่ธรรมศาลาในประเทศอินเดีย จวบถึงปัจจุบัน
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version