แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน

ทังก้า มันดาลา..... พุทธศิลป์ชั้นสูง

<< < (2/4) > >>

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
 :13:อนุโมทนาสาธุครับพี่แป๋ม

ฐิตา:



พลวัตแห่งความว่าง : ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี
 
(Five Buddha Families, Five Wisdom Energies)
 
สองแบบฝึกหัดข้างต้น ถือเป็นบทนำที่ทำให้เราเข้าไปรู้จักกับพื้นที่ว่างแห่งประสบการณ์ชีวิตที่แท้ เป็นความจริงที่ว่าหากปราศจากความว่างภายในอันไพศาลเสียแล้ว เราก็ไม่สามารถสัมผัสรับรู้อะไรได้มากนัก อย่างเวลาที่เราเอาแต่คิดฟุ้งซ่าน ร่างกายเต็มไปด้วยความเครียด จะมองอะไรก็คงไม่สวย จะให้กินอะไรก็คงไม่อร่อย กายที่ผ่อนพักและจิตที่ว่างจะยอมให้ทุกประสบการณ์ชีวิตผุดบังเกิดขึ้น ไหลเลื่อน เคลื่อนไหว ในรูปแบบที่หลากหลาย ก่อเกิดเป็นพลังแห่งการเรียนรู้ที่มีค่าในทุกขณะ

ในพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานได้บอกไว้อย่างชัดเจนว่า ความว่างหรือสุญญตา หาใช่ความสูญเปล่าที่แห้งแล้ง ความว่างภายในอันถือเป็นพื้นฐานของการเดินทางทางจิตวิญญาณแท้จริงประกอบไปด้วยพลังแห่งการตื่นรู้ภายในอันเป็นพลวัต โดยหากจะจำแนกคุณลักษณะของพลังแห่งการตื่นรู้ที่ว่านั้น ก็จะสามารถแยกออกได้เป็นห้ารูปแบบด้วยกัน
 
๑) พลังวัชระ (พลังปัญญาสีน้ำเงิน)

วัชระนั้นเป็นอาวุธที่แข็งยิ่งกว่าเพชร เป็นที่รู้กันดีว่าไม่มีสิ่งใดที่จะสามารถทำลายวัชระได้ เอกลักษณ์ของพลังวัชระ คือ ความแกร่งที่สามารถตัดสิ่งต่างๆได้อย่างเฉียบคม พลังการตื่นรู้แบบวัชระเป็นพลังแห่งความเฉียบขาด ทิ่มแทงอย่างตรงจุด ตัดในส่วนที่เกินความจำเป็นได้อย่างหมดจด อีกทั้งยังสามารถตระหนักรู้ถึงความเป็นไปรอบด้านอย่างแจ่มชัดอีกด้วย

พลังวัชระแสดงถึงความสามารถในการคิดวินิจฉัยใคร่ครวญได้อย่างลึกซึ้ง มีความหลักแหลมเฉียบคมทางปัญญา ตัดสินใจเรื่องราวต่างๆได้อย่างรอบคอบถี่ถ้วน วิเคราะห์เหตุปัจจัย ผลลัพธ์ความเป็นไปได้อย่างตรงจุด

แต่ในทางกลับกัน หากพลังวัชระตั้งอยู่โดยปราศจากความว่าง ข้อจำกัดแห่งตัวตนก็จะพลิกผันคุณสมบัติด้านบวกไปสู่ความบ้าคลั่งในแบบวัชระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความโกรธ และการตัดสินผู้อื่นอย่างเสียๆหายๆ ความแหลมคมในการวิเคราะห์วินิจฉัยก็จะกลับกลายเป็นความยึดมั่นในหลักการของตน กลายเป็นความหยาบกระด้างและแข็งทื่อ อย่างที่ไม่ยอมเปิดรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ส่วนความโกรธในแบบวัชระนั้น เปรียบได้กับน้ำแข็งที่เย็นจนบาดเข้าไปถึงเนื้อ เป็นความแหลมคมที่ไปทิ่มแทงผู้อื่นอย่างเย็นชา

วัชระสัมพันธ์โดยตรงกับธาตุน้ำ น้ำที่ใสและนิ่งแสดงถึงธรรมชาติของความชัดเจน แน่วแน่ สะท้อนสรรพสิ่งตามที่เป็นจริงได้อย่างชัดเจน แต่น้ำที่ขุ่นและปั่นป่วน ก็แสดงถึงกลไกปกป้องตนเอง การเอาแต่ตนเองเป็นที่ตั้ง และความขุ่นมัวเย็นชา
 
๒) พลังรัตนะ (พลังปัญญาสีเหลือง)

คุณสมบัติของพลังรัตนะ คือ ความโอบอุ้ม ดูแล เผื่อแผ่ และหล่อเลี้ยง มีความสัมพันธ์โดยตรงกับธาตุดิน เป็นพลังแห่งความอุดมสมบูรณ์และความงอกงาม พลังรัตนะจะมีคุณลักษณะของความอ่อนโยน และการให้อย่างไม่มีข้อแม้ จิตรัตนะจะคิดถึงแต่ผู้อื่นและหมั่นหล่อเลี้ยงมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้างอยู่เสมอ ความกว้างในแบบรัตนะจะให้ความรู้สึกของการโอบอุ้มและความอบอุ่นราวกับอ้อมแขนของแม่ ปัญญาแห่งรัตนะแสดงถึงความรุ่มรวยที่ออกมาจากความเต็มเปี่ยมภายใน ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจแห่งการให้ และการเผื่อแผ่แบ่งปันสู่ผู้อื่นอย่างเป็นธรรมชาติ

อัตตาที่บ้าคลั่งในแบบรัตนะจะแสดงออกด้วยการเปิดขยายอย่างหมกมุ่น จนเป็นความเยิ่นเย้อ ความเกินพอดี ความสุรุ่ยสุร่าย “ให้จนเสียคน” หรือ ความ “เว่อร์” เป็นต้น ความกว้างโดยปราศจากพื้นที่ว่างภายในอาจพลิกกลับกลายเป็นความตระหนี่ หรือความตะกละได้เช่นกัน นั่นคือความต้องการที่จะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง จนกลายเป็น “ได้เท่าไหร่ก็ไม่พอ” เหมือนผืนทะเลทรายที่แห้งแล้ง หรือธรณีสูบ นั่นเอง
 
๓) พลังปัทมะ (พลังปัญญาสีแดง)

ปัทมะ แสดงถึงการเปิดกว้าง คลี่บานอันงดงามของดอกบัว การเปิดในแบบปัทมะเป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์และแรงดึงดูดที่รุนแรง พลังตื่นรู้ในด้านนี้มีเสน่ห์ ร้อนแรง น่าหลงใหล และยังสามารถสัมผัสได้ถึงความสดชื่นและมีชีวิตชีวายามที่ได้เข้าใกล้ การสัมผัสพลังปัทมะเหมือนกับการได้แช่ในอ่างที่หอมหวลไปด้วยสมุนไพรและพฤกษานานาพันธุ์

แต่ในความบ้าคลั่งแบบปัทมะ เราจะเริ่มรู้สึกถึงความร้อนของราคะที่เผาไหม้ การขาดพื้นที่ว่างทำให้พลังปัทมะรุนแรงจนทำเอาเราหายใจไม่ออก ไร้ซึ่งพื้นที่แห่งการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ จนกลายเป็นความลุ่มหลงเกินพอดี แน่นอนว่าธาตุที่สัมพันธ์กับพลังปัทมะ ก็คือ ธาตุไฟนั่นเอง โดยปกตินั้นไฟให้อบอุ่นและแสงสว่าง และการพลิ้วไหวโชดช่วงของไฟนั้นดึงดูดสายตาให้จดจ้องอย่างไม่อาจละวางได้ ประกายและความร้อนของไฟยังปลุกให้เราตื่นจากอวิชชาความง่วงเหงา แต่กระนั้นหากไฟลุกโหมอย่างบ้าคลั่ง ก็จะเข้าเผาไหม้ทุกสิ่งอย่างไม่เลือก
 
๔) พลังกรรมะ (พลังปัญญาสีเขียว)

กรรม ในที่นี่หมายถึงการกระทำ อันแสดงถึง การเลื่อนไหลดั่งสายธารของพลังทางปัญญา โดยพลังในรูปแบบกรรมะ แสดงถึงความกระตือรือล้นและแรงดลใจอันจะนำไปสู่การกระทำอย่างมีประสิทธิผล พลังกรรมะจะไม่เคยหยุดอยู่นิ่ง ชอบคิดประดิษฐ์ สรรค์สร้างสิ่งละอันพันละน้อยอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถทำไปได้เรื่อยๆอย่างไม่หยุดหย่อน และไม่รู้จักเหนื่อยอีกด้วย แม้แต่ในสถานการณ์คับขัน พลังกรรมะก็ยังสามารถพัดผ่านนำเอาความชุ่มชื้นมาให้ ความตื่นรู้ในลักษณะนี้จะมองเห็นความเป็นไปได้ที่ซ่อนอยู่ในทุกๆสถานการณ์ แล้วจึงแสดงออกมาในรูปแบบของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ กรรมะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับธาตุลมนั่นเอง

ความบ้าคลั่งแบบกรรมะ ก็คือ ความจู้จี้จุกจิก ความเจ้ากี้เจ้าการ ความดันทุรัง การทำอะไรไปเรื่อยๆตามสิ่งเร้าอย่างไม่บันยะบันยัง เอาแต่ใจตัวเอง ขี้ใจน้อย ฉุนเฉียว และขี้อิจฉา ด้วยแนวโน้มของการทำอะไรตามแบบแผนคุ้นชิน และการพัดพาเอาแต่ความต้องการของตนเองเป็นที่ตั้ง
 
๕) พลังพุทธะ (พลังปัญญาสีขาว)

พลังพุทธะสัมพันธ์กับธรรมชาติแห่งการตื่นรู้อันไพศาล หรืออากาศธาตุ พุทธปัญญา คือพลังพื้นฐานของจิตที่แผ่ออกมาจากพื้นที่ภายในอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต พลังพื้นฐานที่ว่านี้มีความสำคัญต่อการโผล่ปรากฏ ไหลเลื่อน หมุนวนของพลังปัญญาสีอื่นๆ พลังพุทธะมีคุณลักษณะของการใคร่ครวญพิจารณาหาคุณค่าและความหมายของสิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลา เป็นความใจกว้างในเชิงจิตวิญญาณที่รองรับความเป็นไปได้ในแบบต่างๆอย่างไม่ตัดสิน
ความพลิกผันของพลังพุทธะ คือ ความเฉื่อยชาและน่าเบื่อ สามารถอยู่เฉยๆได้ทั้งวันโดยไม่ทำอะไร ชอบที่จะปิดตัวเองอยู่ในพื้นที่แคบๆ ความเงียบก็จะบูดเป็นความเย็นชาจนกลายเป็นความเหงา และความง่วงในที่สุด ความหงุดหงิดในแบบพุทธะอีกอย่างหนึ่งก็คือ การไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร และไม่ต้องการให้ใครมายุ่ง อีกทั้งยังขี้อาย และไม่กล้าลองทำอะไรใหม่ๆ
 
ปัญญาทั้งห้าสี คือ พลังการเรียนรู้ที่มีชีวิต การบ่มเพาะพลังทั้งห้าในด้านของปัญญาจำเป็นจะต้องมีพื้นที่ว่างให้กับการเลื่อนไหล และเกิดดับตามธรรมดาสภาวะ เราจะต้องละเลิกความเคยชินของการควบคุมและกดทับ แล้วฝึกฝนเปิดใจให้อยู่ในภาวะของการผ่อนพักตระหนักรู้โดยสมบูรณ์ นั่นคือความหมายที่แท้ของการภาวนาในฐานะกระบวนการเรียนรู้และการสร้างความสัมพันธ์ บนรากฐานของการปล่อยวางและศิโรราบ

หากเมื่อใดที่ความว่างถูกแปรเปลี่ยนเป็นความบีบคั้น อันเป็นแรงต่อต้านต่อการเลื่อนไหลของเหตุปัจจัยภายนอก ความตื่นตระหนกก็จะนำไปสู่กลไกการควบคุม เพิ่มความเครียด และความแข็งเกร็งให้กับทุกกล้ามเนื้อและทุกรูขุมขนของร่างกาย ปฏิกิริยานี้ส่งต่อไปยังสมองให้เร่งคิดที่จะควบคุมสถานการณ์ให้ได้โดยด่วน การบีบคั้นเช่นนั้น ก่อให้เกิดการพลิกกลับของความสัมพันธ์ต่อประสบการณ์ที่เกิดขึ้น พื้นที่ว่างอันไร้ขีดจำกัดถูกมองเป็นภยันต์อันตราย ศักยภาพที่กว้างใหญ่ถูกมองกลับไปเป็นความโกลาหล และความกลัวก่อให้เกิดการสร้างขอบเขตของพื้นที่ว่างของจิตเพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ขอบเขตที่ว่าคือสิ่งที่เรียกว่าอัตตาตัวตนนั่นเอง ในขอบเขตที่จำกัดของอัตตา พลังตื่นรู้ทางปัญญาก็จะพลิกผันกลายเป็นพลังอัตตาที่บ้าคลั่ง ด้วยความหลงผิดไปว่าของการควบคุม จะนำมาซึ่งพื้นที่ว่าง “ของเรา”ที่ขยายกว้างและปลอดภัยมากขึ้น
 
บทส่งท้าย:

การภาวนาบนฐานการตื่นรู้ในกาย คือ หนทางแห่งการสร้างความสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึกอย่างถูกต้อง เมื่อเราได้ฝึกฝนอย่างจริงจัง ณ จุดหนึ่งเราอาจจะรู้สึกราวกับว่าแต่ละส่วนของร่างกายค่อยๆเปิดกว้างราวกับดอกไม้กำลังแง้มบานขานรับแสงอาทิตย์ยามเช้า เรารู้สึกถึงพลังชีวิตได้ถูกปลุกให้ตื่น กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แต่ละส่วนของร่างกายดูจะมีพลังแห่งการตื่นรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของมันเอง ที่เราสามารถจะเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ สื่อสารแลกเปลี่ยนเพื่อการเรียนรู้ข้อความที่ร่างกายส่วนนั้นต้องการจะสื่อสารกับเรา

การฝึกฝนทางจิตวิญญาณ นอกจากจะคือการบ่มเพาะพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย และการผ่อนพักใจให้ดำรงอยู่ในพื้นที่ว่างแห่งการเรียนรู้ภายในแล้ว เรายังต้องเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับพลังงานแห่งอารมณ์ที่ผุดบังเกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา อารมณ์เป็นเฉดสีของพลังงานที่ไหลเลื่อน โผล่ปรากฎหมุนวนเป็นพลวัต เราทุกคนต่างก็มีศักยภาพที่จะเปิดรับ สัมผัสพลังงานเหล่านั้นกันได้อย่างเต็มที่ เพราะแท้จริงแล้วพลังงานเหล่านี้ ก็คือ กระแสธารที่ประกอบกันขึ้นเป็นประสบการณ์ที่เรามักหลงผิดคิดไปว่าเป็น “ตัวเรา”นั่นเอง

แต่ทั้งนี้การทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับอารมณ์ ท้ายที่สุดแล้วก็จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ของการรู้จักตัวเองได้จริงๆ การภาวนากับอารมณ์เป็นการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับศักยภาพภายใน สาดแสงไฟแห่งการตื่นรู้ สู่การเรียนรู้ทุกแง่มุมของชีวิต จนสามารถค้นพบศักยภาพแท้จริงที่เต็มเปี่ยมในแบบของเราเอง สู่การเหาะเหินเดินเท้าดำดิน ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมดื่มกินไปกับเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั่วทุกหกภพภูมิ ด้วยพื้นฐานของจิตใจที่ง่ายงามตามเส้นทางแห่งการฝึกฝนตนเองในทุกๆย่างก้าว


ฐิตา:





กลับมาอ่านกำลังภายในอีกครั้ง
วิศิษฐ์ วังวิญญู

สาราณียกรปาจารยสารมอบงานให้เขียนเรื่องการปฏิวัติในชีวิตปกติธรรมดา หรือในชีวิตประจำวัน จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก แล้วแต่ว่าจะมองงานเขียนแบบนี้ อย่างไร ตอนแรกคิดเรื่อง “การปฏิวัติในห้องนั่งเล่น” ที่เคยเป็นจ่าหัวหนังสือนิตยสารทางเลือกในสหรัฐอเมริกาเล่มหนึ่ง คือ อัตเน่รีดเดอร์ ตอนที่เราเป็นบรรณาธิการปาจารยสารฉบับหัวกะทิ เคยใช้ประเด็นนี้มาเล่นเป็นจ่าหัวหนังสือของเราเหมือนกัน เพียงนึกถึงคำ ๆ นี้ ก็ทำให้นึกถึงหลายสิ่งหลายอย่าง รวมทั้งบรรยากาศครั้งเมื่อทำปาจารยสารฉบับหัวกะทิด้วย
 
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการ “กลับมาอ่านกำลังภายในอีกครั้งหนึ่ง” ซึ่งประการแรก คนใกล้ชิดบอกว่า การที่ผมกลับมาอ่านกำลังภายในอีกครั้งหนึ่งนี้ ทำให้เธอ(น่าจะเป็นว่า) ผิดหวังในตัวผมลึก ๆ เธอบอกว่า ความรู้สึกเมื่อเลือกผมเป็นคนใกล้ชิด ก็คือ รู้สึกว่า ผมเป็นคนวิเศษกว่าคนอื่น ๆ หรือ คนธรรมดาทั่วไป แต่แล้วกลับมาอ่านกำลังภายใน! ประการแรก เธอไม่ชอบจีน และความเป็นจีนทั้งปวง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเธอชอบทิเบตหรือเปล่า ก็ไม่รู้ได้ และประการที่สอง เธอบอกว่า เวลาอยู่ด้วยกันจะเป็นช่วงเวลาที่เธอรู้สึกว่า ผมอยู่กับเธอน้อยที่สุด ก็เมื่อเวลาที่ผมกลับไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเมื่อกลับไปอ่านกำลังภายใน เธอจะรู้สึกว่า ตัวตนของผมหายไปจากโลกนี้ มันถูกกิจกรรมนั้น ๆ กลืนกินตัวตนไปจนมืดมิด หายสาบสูญไป น่าสนใจมาก ในฐานะคนเล่นเรื่องพลังและคลื่นกันก่อเกิดจากพลัง พลังอะไรมันดูดเราไปจนหายไปสนิท พลังอะไร มันช่างมีศักยภาพอันยิ่งใหญ่เพียงนั้น มันคืออะไรหนอ?
 
เราพยายามทำอะไรกันที่ “ปาจารยสารฉบับหัวกะทิ” คือคนทำงานกับอาจารย์สุลักษณ์จะมีสองแบบ กระมัง อาจกล่าวอย่างนี้ได้หรือเปล่า? โดยเฉพาะคนที่มาทำปาจารยสาร ไม่ว่า ฉบับไหน มีลูกเล่นหรือตัวเล่นหรือเปล่า? สำหรับผมมีตัวเล่น หรือลูกเล่น หาตัวตนที่แตกต่าง อย่างเราเมื่อเราอยู่ในอาณาจักรของอาจารย์ เราก็คงหนีตัวตนหรือร่มเงาหรือฉายาของอาจารย์ไปไม่พ้น อย่างน้อยก็ดิ้นรนสักอย่างหนึ่ง อันนี้ก็ทำให้ผมเป็นบรรณาธิการ ในขณะที่คนทำปาจารยสารปัจจุบัน ซึ่งเรียกผมเป็นลุงแล้ว ใช้ตำแหน่งเรียกตัวเองว่า เป็นสาราณียกร อาจารย์เป็นคนพิถีพิถันมาก คงคิดว่า คนฝึกงาน คนเรียนรู้ น่าจะถ่อมตัว และคำว่า สาราณียกรอาจจะเหมาะสมกว่า

คนภายนอกอาจจะไม่ทราบ หรือไม่ก็อาจจะคาดเดาได้ คนทำงานกับอาจารย์สุลักษณ์ อย่างไร ก็คงต้องเต้นรำกับอาจารย์ จะเต้นแบบไหน ท่าไหน ก็เป็นอีกเรื่อง แต่จะต้องเต้นรำ คือหาที่ทางความสัมพันธ์กับอาจารย์ และเรื่องนี้จะไม่มีคำว่า ลงตัว จะเป็นความไร้ระเบียบและยากแก่การคาดเดาอยู่ตลอดเวลา ตรงนี้ก็เป็นอะไรที่มีชีวิตชีวามาก ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ห้องนั่งเล่น ในบ้านซอยอิสรภาพ ถนนนเรศ เป็นบ้านเรือนไทยหลังเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ท่ามกลางตึกสูง ๆ ที่รายล้อมอยู่ทั่วไป ในย่านที่ที่ดินคิดเป็นตารางวา อย่างแพงหูฉี่
 
แล้วมันเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวอะไรกับการกลับมาอ่านกำลังภายในอีกครั้ง?
 
มันอาจจะเกี่ยวกันในแง่ของคลื่นพลังกระมัง แต่จะเป็นคลื่นพลังอย่างใดแบบไหน คงจะต้องวินัจฉัยกันต่อไป
 
มาดูเรื่องปัญจะพุทธคุณหรือเบญจคุณ คือเวลานี้คนรุ่นหลานสองคน คือ ณัฐฬสกับวิจักขณ์ซึ่งเรียนมาจากนาโรปะทั้งคู่ และก็ในเวลาเดียวกัน สนใจที่จะนำพาเรื่องราวของมันดาลา หรือพลังทั้งห้า อันเป็นจริตของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์มาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ และก็ได้แปล เก็บความและเขียนเรื่องนี้ออกมา ในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างน่าประหลาดใจ
 
ความสนใจเรื่องนี้ของผม มันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องของพลัง ซึ่ง ผมพยายามหรือเปล่า ที่จะสร้างแบรนด์เนมกับเรื่องนี้ขึ้นมา อย่างน้อยก็ด้วยการเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เรียกว่า “มณฑลแห่งพลัง”

อาจารย์สุลักษณ์นั้นมีพลังแห่งวัชระ คือปัญญา คือพลังทางความคิด อันนี้คงไม่มีใครเถียงใคร แต่ความเป็นข้อจำกัดหนึ่ง ของวัชระก็คือ ความใกล้ชิด อาจารย์เคยบอกกล่าว คนจีนและคนอังกฤษรังเกียจ “ความใกล้ชิด” “Intimacy breeds contempt” แปลไทยง่าย ๆ ว่า “ความใกล้ชิดก่อให้เกิดความเกลียดชัง” แต่ในขณะเดียวกัน อาจารย์ก็มีพลังพุทธะ หรือการให้พื้นที่คนอื่น โดยเฉพาะกับคนรุ่นหลัง อย่างมีคนตั้งข้อสังเกตว่า อาจารย์มีส่วนเกื้อกูลให้เกิดคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพจำนวนมาก

แล้วทั้งหมดนี้มันเกี่ยวกับการกลับมาอ่านกำลังภายในอย่างไรหรือ?
 
กลับไปอ้างอิงโจเซฟ ชิลตัน เพียซ เขาไม่ได้กล่าวโดยตรงนะครับ แต่ประมาณว่า ส่วนหนึ่ง หรือส่วนสำคัญของเอนเตอเทนเมนท์ในยุคสมัยนี้ ไม่ว่า จะเป็นคอมพิวเตอร์เกมก็ดี หรือ นิยายประโลมโลกก็ดี ที่ผ่านมาทางหนังสือการ์ตูนบางแบบ ภาพยนตร์บางแบบ อาจจะรวมทั้งหนังสือกำลังภายในด้วย มันไปเล่นกับสมองส่วนหลัง หรือสมองที่อยู่ในวิวัฒนาการอันดับต้น ๆ หรือ แรก ๆ แน่นอน เมื่อเรื่องราวมันวนเวียนอยู่กับเรื่องราวของการดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด มันจะไปกระตุ้นเร้าอะไรบางอย่างในระบบชีวิตของเราขึ้นมา และมันทำให้ติดได้ คือมันเสพติด เวลานี้ลูกหลานของเราติดเกมกันเป็นเรื่องธรรมดา และกลายเป็นปัญหาที่ผมไปทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใด ผู้คนก็มักจะถาม หรือขอความช่วยเหลือว่า ทำอย่างไร จะทำให้ลูกเขาเลิกละจากการติดเกม
 
แต่คนใกล้ชิดของผมก็ติดหนัง และหนังสือนิตยสารสวย ๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือไลฟ์สไตล์ เขากล่าวหาว่า ผมหายตัวไป เขาก็หายตัวไปเหมือนกัน เวลาไปกินอาหารในร้านรวงที่มีหนังสือพวกนี้ไว้บริการ ผมก็เห็นเขาหายตัวไป ขัดใจเหมือนกันแหละ แต่ผมยังไม่ได้บอกกล่าวเขา ว่าคุณหายตัวไปไหนแล้ว เพราะว่า ผมไม่ได้ชมชอบในสิ่งที่เขาชมชอบ ในมันดาลา ต้องบอกว่า เขาเป็นรัตนะ ชมชอบสิ่งของ และก็อยากครอบครองด้วย โดยเฉพาะเวลาที่มันไปในทางลบ แต่ในทางบวกที่ทำให้เขาและผมมาบรรจบกันก็คือ ความมั่งคั่งพรั่งพร้อมในใจของเขาที่พร้อมจะแบ่งปัน แต่แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ที่จะทำให้ผู้คนก้าวมาในวิถีทางที่เป็นบวก
 
เสกสรร ประเสริฐกุลเคยบอกกล่าวว่า ผมมันพวกไมโคร ส่วนเขามันพวกแมคโคร นั้นเป็นเมื่อสมัยก่อน เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ เสกสรรก็มาสนใจเรื่องทางจิตวิญญาณมากขึ้น แต่ตั้งแต่สมัยที่เราเคยอยู่ด้วยกันที่บ้านแสงจันทร์แล้ว เขาก็เคยถกกับผมในเรื่องพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อยเวลาเลยทีเดียว เพียงแต่ว่า เวลานั้น การอยากเป็นคนเล็ก ๆ ตกปลาอยู่ริมลำธารของเขายังเป็นเพียงความฝัน
 
ก่อนที่ท่านจะตั้งคำถามว่า นี่มันอะไรกันหว่า ประเด็นของเรื่องอยู่ที่ไหน? ผมก็จะบอกว่า คือผมจะเก็บเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้แหละครับ มาเขียนในคอลัมน์ประจำนี้ ตามความประสงค์ของสาราณียกรรุ่นหลาน คนนี้ ผมก็นับถือเขาครับ ผมว่า ผมจะไม่เขียนบทความอะไรอยู่แล้วในช่วงนี้ แต่แล้วก็ต้องเอาสักหน่อย ตอบสนองคนรุ่นหลังบ้าง อย่างเช่นที่อาจารย์สุลักษณ์เคยเปิดทางให้คนรุ่นพวกเรามา แม้ว่าจะด้วยมันดาลาแบบไหน นพลักษณ์แบบใดก็ตาม ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่บังเอิญนะครับ เพราะเรื่องพวกนี้เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผมจะเขียนต่อ ๆ ไปในคอลัมน์ประจำนี้ ถ้าคุณยังตามอ่านผมอยู่

(เข้าไปคุยต่อกับผมได้ใน www.wongnamcha.com)

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
 :13:อนุโมทนาครับ

ฐิตา:


แมนดาล่าทราย

คำว่า “แมนดาล่า”ในภาษาทิเบตคือ “kyil-khor”มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “ซึ่งล้อมรอบจุดศูนย์กลาง” โดยทั่วไปแล้ว แมนดาล่าจะถูกแสดงไว้เป็นรูปแบบสองมิติ ซึ่งโดยปกติก็จะทำจากกระดาษ สิ่งทอ และผงทรายย้อมสี และโดยเฉพาะสำหรับแมนดาล่าทรายจะมีชื่อเรียกว่า dul-tson-kyil-khor ในภาษาทิเบต ซึ่งแปลว่า “แมนดาล่าที่ทำจากผงสี”

แมนดาล่า คือการแสดงออกแห่งสภาวะของการรู้แจ้งอย่างถ่องแท้ และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการทำสมาธิ กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ แมนดาล่าแสดงให้เห็นวิมานสวรรค์อันศักดิ์สิทธิ์ของผู้รู้แจ้งอย่างชัดเจน และในกรณีนี้ก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งความเมตตาอันเป็นสากล ที่รู้จักกันในนามว่า “เชนรีซิก” ในภาษาทิเบต พระอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต และกวนอิมในภาษาจีน (สำหรับประเทศไทย ก็จะเป็นพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า) อย่างไรก็ตาม ในระดับที่เป็นนัยขึ้นไปอีก แมนดาล่าจะเป็นสัญลักษณ์ของสภาวะอันบริสุทธิ์แห่งจิตใจเรา ซึ่งสมมติไว้ในรูปแบบของวิมานสวรรค์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะในเนื้อแท้ของเราจะสถิตอยู่ที่ใจกลาง ของวิมานในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง

จากมุมมองทางพุทธศาสนา ความเมตตาและปัญญาคือสองปัจจัยซึ่งเป็นแก่นสำคัญในการปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากพันธนาการแห่งความทุกขเวทนาทั้งปวง และทำให้เราบรรลุถึงสภาวะแห่งความสุขที่จริงแท้และยืนนาน

ในระหว่างการสร้างแมนดาล่าทรายของพระเชนรีซิก ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา แมนดาล่าจะค่อยๆ ก่อรูปขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาหลายวันที่ทุ่มเทไปพร้อมกับสมาธิอันแรงกล้าและ งานทรายที่ต้องใช้ความอุตสาหะ ในที่สุดแมนดาล่าซึ่งอยู่ภายในจิตใจนี้ก็จะแปรเปลี่ยนไปสู่งานศิลป์สำหรับ ให้ทุกคนได้เห็นและชื่นชม

แมนดาล่ายังถูกสร้างขึ้นสำหรับพิธีกรรมรับเข้าที่อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงจะเป็นผู้อนุญาตให้ศิษย์ชั้นสูงเข้าร่วมในการฝึกสมาธิตามแนวตันตระ ทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ ณ ใจกลางแมนดาล่า และตัวแมนดาล่าเองล้วนได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบการแสดงออก อันบริสุทธิ์ของจิตใจที่รู้แจ้งอย่างเต็มเปี่ยมของพระพุทธเจ้า ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือผู้ให้การยอมรับ ส่วนแมนดาล่าก็คือสถานที่ซึ่งประกอบการยอมรับ ตลอดพิธีกรรมยอมรับนี้ เมล็ดพันธุ์แห่งความรู้แจ้งจะถูกปลูกฝังไว้ภายในจิตใจแต่ละบุคคล และจากนั้นก็จะได้รับการหล่อเลี้ยงโดยกระบวนการอันทรงพลังของ การประจักษ์ถึงและ


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version