ผู้เขียน หัวข้อ: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  (อ่าน 12821 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:31:03 am »
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปี พ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ใน ปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

โดยชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ มาจากหมู่บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของสมเด็จพระเพทราชา โดยลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้

    สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246 (15 ปี)
    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 (6 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 (25 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 (26 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 - ปี พ.ศ. 2310 (9 ปี)

อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง ๑ ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-

.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:33:20 am »
“บ้านพลูหลวง”รากเหง้าแห่งการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ตอน 1

“บ้านพลูหลวง” รากเหง้าแห่งการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ตอน 1

การรัฐประหารเงียบครั้งสุดท้ายของราชธานีศรีอยุธยา เกิดขึ้นจาก พระเพทราชาผู้เป็นบิดาและหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)ผู้เป็นบุตร ร่วมวางแผนก่อรัฐประหารเงียบ ในปี พ.ศ.2231 ก่อนคิมหันตฤดูจนมาถึงวสันตฤดูในปีเดียวกัน จากเม็ดฝนที่โปรยปรายจะเนรมิตรเสน่ห์ความสดชื่นของท้องฟ้า สายน้ำและพืชพรรณ
กลับกลายเป็นเม็ดฝนเต็มไปด้วยสายเลือดหล่นจากฟ้า สาดใส่กระเด็นเข้าหา บุคคลสำคัญและข้าราชบริพารผู้ภักดีแด่องค์สมเด็จพระนารายณ์
เริ่มตั้งแต่บริเวณพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ในเมืองลพบุรีราชธานีแห่งที่สอง รองจากกรุงศรีอยุธยาราชธานีและขอบเขตทั้งราชอาณาจักร

บุคคลสำคัญและควรนับเป็นเอกบุรุษที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับของคนไทยและคนต่างชาติก็คือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์(คอนแสตนติน ฟอลคอน) กลาสีเรือชาวกรีก ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งของขุนนางข้าราชการกรุงศรีอยุธยา ในตำแหน่ง สมุหนายก

และเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ฝั่งธนบุรีสถานที่ที่พระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยามาประทับอยู่ ณ ที่นี่ จนถึงวาระสุดท้าย

จากการที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงเสด็จขึ้นไปประทับยังเมืองลพบุรี ปีหนึ่งประมาณ 7-8 เดือน ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยามากเกินไป หากข้าศึกต่างชาติ(หมายถึงชาวตะวันตก) ยกทัพมาทางเรือ จะป้องกันได้ยาก เมืองลพบุรีอยู่ขึ้นไปประมาณ 100 กม. พอจะมีเวลาป้องกันได้ง่าย ประกอบด้วยพระองค์ทรงมีโรคหอบหืดประจาพระองค์ กรุงศรีอยุธยามีสภาพอากาศชื้น ทำให้พระโรคกำเริบอยู่เสมอ พระองค์มักประทับในกรุงศรีอยุธยาเพียงปีละ 3-4 เดือนเท่านั้น

ช่วง 3-4 เดือนในราชธานีศรีอยุธยา ทรงมอบให้พระเพทราชาและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ดูแลรักษาพระนครต่างพระเนตรพระกรรณ ต่อเมื่อมีราชการสำคัญหรือรับสั่งให้มาปรึกษาข้อราชการ จึงจะเดินทางมาเฝ้า ณ เมืองลพบุรี แต่ทั้งสองต่างก็ระแวง กินแหนงแครงใจซึ่งกันและกัน กล่าวหากันและกัน ว่าฝ่ายหนึ่งเตรียมจะยึดอำนาจแย่งชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระนารายณ์ แต่ดูแล้วพ่อลูกคู่นี้มีภาษีกว่า เพราะมีคนเกลียดชังและรังเกียจการเป็นคนต่างด้าวท้าวต่างแดนในตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มากกว่า

ช่วงก่อนสมเด็จพระนารายณ์จะสวรรคต ระหว่างทรงพระประชวรหนักนั้น พระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ได้เฝ้าอย่างใกล้ชิด ควบคุมภารกิจภายในพระราชวังได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงมีความแน่ใจพระองค์ต้องสวรรคตในเวลาไม่ช้า ก็เกิดกำเริบคิดร้าย แต่ไม่มุ่งประสงค์จะปลงพระชนม์ มีการวางแผนเรียกประชุมขุนนางผู้ใหญ่ท่ามกลางทหารองครักษ์คอยพิทักษ์ ข่มขู่ให้ขุนนางเหล่านั้นเห็นดีเห็นงาม ในอันที่จะมอบราชสมบัติของพระองค์ให้แก่พระเพทราชา บรรดาขุนนางเหล่านั้นไม่สามารถบิดพลิ้วและทำตัวเป็นอย่างอื่นได้ ดีกว่าจะยอมให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ฉวยโอกาสชิงราชสมบัติเสียก่อน บ้านเมืองอาจจะยุ่งยากวุ่นวาย ก็จำต้องยอมคล้อยตามความคิดของสองพ่อลูก

จึงได้เกิดแผนลวงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไปยังกรุงศรีอยุธยา ว่าสมเด็จพระนารายณ์มีพระราชโองการให้เข้าเฝ้าที่พระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี ตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็รู้ตัว แต่ด้วยความจงรักภักดี ก็ยอมนำพาชีวิตไปพบกับดักแห่งความตาย ด้านในหน้าประตูพระราชวังฯ ด้วยคมดาบของเหล่าทหารของพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์

-http://www.19-may.com/forum/forum.php?mod=viewthread&tid=1040&page=1-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:34:13 am »
“บ้านพลูหลวง” รากเหง้าแห่งการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ตอน 2
-http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=27142-

พระรามเดโชเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงส่งหนังสือขอให้พระราชบังสันช่วยหาทางหลบหนีออกจากเมือง พระราชบังสันเห็นแก่ความสัมพันธ์และเป็นชาวมุสลิมที่มีต่อกันมายาวนาน จึงช่วยให้พระยารามเดโชหลบหนีออกทะเลไปได้ ความทราบถึงพระเพทราชา จึงสั่งให้ประหารพระยาราชบังสันเสนีทันที
บุคคลที่กล่าวถึงเล่านี้เป็นนายทหารชั้นยอดของสมเด็จพระนารายณ์ ไม่ได้เป็นคนไทยแต่เป็นแขกเปอร์เซียที่เข้ามาอยู่เมืองไทย ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระเพทราชา ไม่ยอมเข้ามาถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ไม่ยอมตกเป็นผู้ทรยศต่อสมเด็จพระนารายณ์ เท่ากับไม่ยอมเป็น “ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย”
สิ้นราชวงศ์ปราสาททองแล้ว พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2231

เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ “บ้านพลูหลวง” ชื่อหมู่บ้านในแขวงเมืองสุพรรณบุรี มีจิตใจเหี้ยมอำมหิต เจ้าเล่ห์แฝงอยู่ในสัญชาติญาณนักรบ แต่ช่วงเปลี่ยนผ่านรัชกาล ก็ยังมีขุนนางสุดยอดแห่งการทูต ด้านต่างประเทศ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)ผู้โด่งดังในทวีปยุโรปในราชสำนักฝรั่งเศสรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และสำนักวาติกันในกรุงโรม อุปนิสัยเพียบพร้อมไปด้วยความอ่อนโยน มีจิตใจงาม น่าคบหาสมาคม เข้าได้ทุกฝ่ายและเดินสายกลาง ไม่เป็นภัยแก่ผู้ใด
แต่การเมืองในเวลานั้น คงมีสามขั้วอำนาจด้วยกัน กฎแห่งโลกเท่าที่ผ่านมา จะต้องมีพวกสองต่อหนึ่งและพวกหนึ่งต่อหนึ่ง พวกที่เป็นกลางนั้น ยากที่จะอยู่รอดปลอดภัย จึงเป็นเหตุต้องถูกรื้อนั่งร้านที่สำคัญสุดบนยอดเจดีย์ นั่งร้านนี้ค่อยๆถูกอำนาจลี้ลับทลายลงมากองบนพื้นดิน จะเป็นการตรอมใจตายหรืออัตวินิบาตกรรม (SUISIDE) ตนเอง หลักฐานไม่ปรากฏแน่ชัด นี่เป็นตัวโคนสุดท้ายในกระดานหมากรุก ก็ถือว่าเป็นนั่งร้านสุดท้ายดันไปขวางเจดีย์ที่สร้างเสร็จไปแล้ว
การปกครองและการเมืองในสมัยนั้น อำนาจมักจะมาควบคู่กับความระแวง สิ่งที่จะทำให้ความระแวงหมดสิ้นไป มีวิธีเดียวคือการกำจัดเสี้ยนหนามให้สิ้นซากนั่นเอง ทุกรัชกาลในกรุงศรีอยุธยามักเป็นเช่นนั้น พระเจ้าปราสาททองแห่งบางปะอิน

ก็มีส่วนเป็นบ่อเกิดจุดเริ่มต้นความเสื่อมแห่งยุคความอ่อนแอทางด้านการทหาร ได้มุ่งร้ายต่อ ยามาดะ นางามาซะ (ออกญาเสนาภิมุข) หัวหน้ากองอาสาญี่ปุ่น ขุนศึกซามูไรแห่งอโยธยา เป็นนักรบมีฝีมือสมัยพระเจ้าทรงธรรมครองบัลลังค์ พอปลี่ยนรัชกาล ได้นำทัพจากเมืองนครศรีธรรมราชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี สู้รบจนได้รับบาดเจ็บกลับมา ก็ถูกลอบวางยาพิษที่บาดแผล จนเสียชีวิตขณะครองเมืองนครศรีธรรมราช นี่เป็นการกำจัดบทบาทของพวกญี่ปุ่นในราชสำนักจนหมดสิ้น

นับแต่นั้นมาระบบราชการในราชสำนักได้นำความสามารถของ”ไพร่” ขึ้นมาแทนที่ “ผู้ดี”เก่า บางคนมาจากหลายเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติผสมปนเปมั่วไปหมด จึงมีแต่พวกประจบสอพลอ อิจฉาริษยาต้องการมีตำแหน่งสูงขึ้นไปแต่ไร้ฝีมือในการปฏิบัติราชการ ขาดคนเก่งผู้มีฝีมือ ขาดผู้มีความรู้ ทั้งยังขาดความสามัคคี มีแต่ความระแวงในเรื่องส่วนตัวและหน้าที่การงานเป็นส่วนใหญ่

แต่มาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระองค์ ได้รับการเลี้ยงดูแล จากพระนมแม่วัดดุสิต มารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี(ทั้งเหล็กและปาน) ถูกอบรมสั่งสอนมาดี ไม่เหมือนพระนมเปรมพระนมอีกคนหนึ่งมีบุตรชื่อพระเพทราชา นิสัยใจคอตรงกันข้ามจึงแตกต่างกันสิ้นเชิง แต่ด้วยสายตาอันยาวไกลผสมความโชคดีจากบุญบารมี ส่งผลให้ยุคของพระองค์เป็นช่วงรอยต่อเชื่อมความแข็งแกร่งทางด้านการทหาร
ได้มาเสริมบารมีด้วยนักรบมีฝีมือหลายคน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก),เจ้าพระยาสีหราชเดโช,พระยารามเดโช,พระยายมราช,พระยาราชบังสันเสนี ทั้งยังมีพวกตะพุ่นหญ้าช้างจำนวนมากที่ถูกเด็ดร่วงลงมาจากการพ่ายแพ้ในโชคชะตา  รวมทั้งชาวมอญอพยพและถูกกวาดต้อนเข้ามาสวามิภักดิ์ มีความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงดูแลช้างและฝึกการบังคับช้างสำหรับการศึก ยังมีเหล่าทหารต่างชาติไม่ว่าจะเป็นทหารโปรตุเกส,ทหารฮอลันดา,ทหารฝรั่งเศสและชาวแขกเปอร์เซียช่วยดูแลทางด้านการเดินเรือและคอยคุ้มครองน่านน้ำในอ่าวไทย รวมแล้วมีหลักพันคนขึ้น

ความเสื่อมของราชวงศ์ “บ้านพลูหลวง” เริ่มฉายแววปรากฏชัดเจน ความระแวงและจิตใจอำมหิตของพระเพทราชา เป็นที่ยำเกรงและมีส่วนบั่นทอนให้ขุนศึก ข้าราชการมีฝีมือ มีสติปัญญาเป็นเลิศในราชสำนักหลายสาขา ได้เอาใจออกห่างด้วยกลัวภัยมาถึงตัว ก็แตกกระสานซ่านเซ็นทยอยหนีหายไป หลังจากเปลี่ยนผ่านรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์ มีถูกตามล่า ถูกเข่นฆ่า ส่วนใหญ่ที่หนีรอดไปได้ ก็เล็ดรอดออกไปจากราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ทำให้ราชสำนักขาดบุคลากรในการขับเคลื่อนกลไกของงานสำคัญหลายเรื่อง และประสิทธิภาพงานต่างๆก็ด้อยลงในทันใด

เหลือเพียงนักรบตัวจริงเสียงจริงเพียงคนเดียวคือ เจ้าพระยาสีหราชเดโช ยุคสมัยของพระเพทราชานี้ ถูกมองว่า เป็นสงครามล้างเผ่าพันธุ์คนในชาติมากที่สุด กว่าจะสงบเรียบร้อย ก็ต้องสูญเสียทหารกล้ามีฝีมือมากมาย ผูกโยงไปเป็นมูลเหตุให้เห็นถึงความอ่อนแอของบุคคลต่างๆในราชสำนัก ยิ่งขาดการคัดกรองสรรหาบุคคลที่ดีพอ และมีความอ่อนด้อยของการเปลี่ยนแปลงด้าน“สมุหกลาโหม”ยุคใหม่ของพระเพทราชานั้นด้วย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งราชวงศ์
“บ้านพลูหลวง” ก็ถึงกาลอวสานในอีก 79ปีต่อมา พร้อมทั้งกรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงครั้งสุดท้ายแก่พม่าเช่นกัน


ที่มา http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index08.html
และ
ที่มา
http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=443936&d=1226397190
และ
ที่มา
http://allknowledges.tripod.com/killpunish.html
และ
ที่มา ! Private video

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:37:36 am »
 พระราชวงศ์บ้านพลูหลวงหลังกรุงแตกหายไปไหน
-http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/06/K5533752/K5533752.html-

ผมอยากจะทราบเรื่องราวของพระราชวงศ์บ้านพลูหลวงในช่วงหลังกรุงแตกน่ะคับ

1 ราชวงศ์บ้านพลูหลวงหายไปไหนช่วงหลังกรุงแตกและช่วงรัตนโกสินทร์ ผมทราบแต่เพียงว่าบางส่วนถูกกุมตัวไปพม่าและบางส่วนยังตกค้างอยู่ในเมืองไทย

2 ราชวงศ์บ้านพลูหลวงเคยเกี่ยวดองทางการสมรสกับเจ้านายราชวงศ์พระเจ้าตากหรือราชวงศ์จักกรีหรือไม่

3 ปัจจุบันยังพอมีผู้สืบสายเลือดของราชวงศ์นี้อยู่อีกหรือไม่

4พระบรมอัฐิของพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์อยู่ที่ใด

ใครพอทราบช่วยกรุณาตอบด้วยนะคับจะเป็นพระคุณอย่างมากคับ

จากคุณ : odia - [ 21 มิ.ย. 50 20:58:23 ]



ความคิดเห็นที่ 3
1) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นการจัดลำดับพระราชวงศ์โดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ราชวงศ์นี้ก็คือราชวงศ์ที่สืบต่อมาจากพระเจ้าปราสาทโดยปกติ
จึงควรเป็นราชวงศ์อยุธยา

เมื่อสิ้นศึกสุริยาศน์อมรินทร์ 2310 พงศาวดารฉบับนายต่อกล่าวถึงการนำพระราชวงศ์กลับสู่อังวะ

".....ครั้นสีหะปะเต๊ะแม่ทัพทำเมรุพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาเสร็จแล้วก็จัดให้พลทหารเข้าเก็บคัดเลือกช้างม้ารี้พลแลแก้วแหวนเงินทองภาชนใช้สอยต่าง ๆ แลสาตราอาวุธต่าง ๆ ในพระคลังมหาสมบัตแลพระคลังข้างที่ทุกหนทุกแห่ง แล้วแม่ทัพคัดเลือกพระอรรคมเหษีแลพระสนม แลพระบรมวงษานุวงษ์ของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยานั้น มีรายชื่อเลอียดแจ้งอยู่ข้างล่างนี้ คือ

        มเหษีพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ๔ องค์ คือ พระนามว่าพระนางเม้า ๑ พระองค์มิ่ง ๑ พระองค์ศรี ๑ พระองค์ศิลา ๑ พระอนุชาของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือ พระอนุชาราชาธิราชที่ได้เสวยราชนั้น ๑ สุรประทุมราชา๑ ชวาลอำดชติ ๑ พระองค์เจ้าตะไล ๑ พระองค์เจ้าสังข์ ๑ พระองค์เจ้าเนียละม่อม ๑ พระองค์เจ้ากร ๑ พระองค์เจ้าจริต ๑ พระองค์เจ้าภูนระ ๑ พระองค์เจ้าสูรจันทร์ ๑ พระองค์เจ้าแสง ๑ พระองค์เจ้าก้อนเมฆ ๑ พระอนุชารวม ๑๒ พระองค์

        พระขนิษฐภคินีของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา คือเจ้าฟ้าปรมาศ ๑ เจ้าฟ้าสุรบน ๑ เจ้าฟ้าอินทรสุดาวดี ๑ เจ้าฟ้าหมื่นคอย ๑ เจ้าเกสร ๑ เจ้าอุ่มฉอุ้ม ๑ เจ้าฟ้าฉโอด ๑ องค์เจ้าลำภู ๑ องค์เจ้าเผือก ๑ องค์เจ้าเจีมตระกูล ๑ องค์เจ้าสอาด ๑ องค์เจ้าชมเชย ๑ องค์เจ้าอินทร์ ๑ พระขนิษฐ์ภคินีรวม ๑๔ พระองค์

         พระราชโอรสของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา คือพระองค์เจ้าประเพศร ๑ พระองค์เจ้าสุรเดช ๑ พระองค์เจ้าเสษฐ ๑ พระราชโอรสรวม ๓ พระองค์
พระราชธิดาของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา คือองค์เจ้าประบิ ๑ เจ้าฟ้าน้อย ๑ เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ ๑ เจ้าเลีศตรา ๑ พระราชธิดาของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยารวม ๔ พระองค์
พระราชนัดดาเจ้าชายของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือ หม่อมสีพี ๑ หม่อมจา ๑ หม่อมสูวดี ๑ หม่อมสูจี ๑ หม่อมฉง่าย ๑ หม่อมสูรัตน ๑ หม่อมโกรน ๑ หม่อมชมภู ๑ หม่อมสุพรรณ ๑ หม่อมอุดม๑ หม่อมไพฑูรย์ ๑ รวม ๑๔ พระองค์

          พระราชนัดดาเจ้าหญิงของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือหม่อมมาลา ๑ หม่อมไชยา ๑ หม่อมชะแวก ๑ หม่อมอะไภย ๑ หม่อมอรุณ ๑ หม่อมอำพันธ์ ๑ หม่อมสรรพ์ ๑ หม่อมมาไลย ๑ หม่อมสูรวุฒ ๑ หม่อมชะฎา ๑ หม่อมม่วง ๑ หม่อมสิทธิ์ ๑ เจ้าศรี ๑ เจ้าต้น ๑ รวม ๑๔ พระองค์
พระราชภาคิไนยเจ้าชายพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือ พระองค์เจ้าตัน ๑ พระองค์เจ้าแม้น ๑ รวม ๒ พระองค์
พระราชภาคิไนยเจ้าหญิงพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือ เจ้าดารา ๑ เจ้าศะริ ๑ รวม ๒ พระองค์
               พระสนมที่เปนเชื้อพระวงษ์พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา รวม ๘๖๙ องค์ พระราชวงษานุวงษ์ชายหญิงของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยารวมทั้งสิ้น ๒๐๐๐ เศษ ......"

...........ครั้นสมโภชเสร็จแล้ว สีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้ทราบข่าวว่าจีนห้อมาติดกรุงอังวะสีหะปะเต๊ะแม่ทัพจึงจัดพลทหารพลเมืองชายหญิง มอบให้นายทัพนายกอง ๔๐๖ คน
ควบคุมรวบรวมพลทหารพลเมืองอยุทธยา ๑๐๖๑๐๐ คน มอบแบ่งให้นายทัพนายกองเสร็จแล้ว ครั้น ณ วัน ฯ ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ สีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้ยกทัพออกจากกรุงศรี อยุทธยาไปยังกรุงรัตนบุระอังวะ ........"



...........ครั้นเดือนห้า จุลศักราช ๑๑๓๐ ปืนใหญ่ก็ถึงกรุงอังวะ
แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระมเหษีแลพระราชบุตรีแลพระสนมที่เปนพระราชวงษ์พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ที่เปนเจ้าหญิงทั้งปวงนั้น ทรงจัดให้สร้างวังเอาเข้าไว้ในมหาพระราชวังหลวง แต่พระราชวงษานุวงษ์แลขุนนางข้าราชการแลพลเมืองพลทหารอยุทธยาทั้งปวงนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังแลทำเย่าเรือนเคหาอยู่ตามภูมิลำเนานอกกำแพงพระราชวัง แล้วทรงโปรดเกล้าฯ เลี้ยงดูให้อยู่เปนศุขทุกคน มิให้ร้อนใจสิ่งหนึ่งสิ่งใด.........."


     ส่วนที่ตกค้องอยู่เมืองไทย จะเป็นเจ้านายในระดับล่างลงมา เช่นพระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษที่ยังตกค้างอยู่ ที่ค่ายรวบรวมนำส่ง ที่ค่ายปากน้ำประสบ( ค่ายรบ) - โพธิสามต้น(ค่ายรวบรวม)

  2) ราชวงศ์อยุธยา มีความเกี่ยวดองกับพระยาตาก และหลวงยกกระบัตรทองด้วง ในฐานะที่พระยาตากเป็นข้าราชการสายการค้า(กรมพระคลังซ้าย)ทางทะเลป้องกับจีนกันสินค้าจากโจรสลัด และหลวงยกกระบัตรเป็นข้าราชการสายมหาดไทย ที่ไปดูแลหัวเมืองราชบุรี

      ศึกทัพเจ้าตากสามารถยึดค่ายรวบรวมเชลยที่โพธิสามต้น ก็ได้พบราชวงศ์อยุธยาฝ่ายหญิงอยู่ในค่ายซึ่งพงศษวดารไทย ว่าเป็นลูกของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ จึงนำมาเป็นมเหสีสองคนในช่วงสถาปนากรุงธนบุรี( ชื่อของพระญาตินั้นหาในพงศาวดารนะครับ) ส่วนทองด้วง ไม่ได้มีการเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อยุธยาหลังจากนั้น นอกจากการพยายามสร้าง Ayutthayanization กลับมา พระญาติพระวงศ์ในระดับล่างของราชวงศ์อยุธยา ได้รับการดูแลเช่นในความเห็นที่ 2 ครับ

3) เท่าที่จำได้นะครับ ไม่มีโอรสธิดากับพระยาตาก มี Gossip เรื่องความรังเกียจในฐานะ จึงไม่มีการสืบทอดราชวงศ์ของอยุธยาในกรุงเทพ

..............แต่ที่มัณฑะเลย์ มีครับ ลุกหลานของราชวงศ์อยุธยา ยังสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน แต่ก็ผสมกับพม่า มอญไปหลายสายเหมือนกัน เช่นในกรณีศึกษาจากนวนิยาย สายโลหิตไงครับ

4) จากพงศาวดารนายต่อ ".....ในเวลานั้นกองทัพพม่าเที่ยวสืบเสาะค้นหาพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาจนย่ำรุ่งก็ไม่เห็นพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา เพราะฉนั้นแม่ทัพพม่าจึงได้ถอดพวงคอแลเครื่องจำพระองค์เจ้าจันทร์ออกแล้วให้พลทหารคุมพระองค์เจ้าจันทร์นำไปเที่ยวค้นหาพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยานอกกำแพงในกำแพง ก็ไปเห็นพระศพพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาถูกอาวุธล้มสวรรคตอยู่ที่ประตูเมืองฝั่งตะวันตกกรุงศรีอยุทธยา แล้วแม่ทัพพม่าเชิญเอาพระศพนั้นมาทำเมรุโดยสนุกสนาน....."

ส่วนพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขาของไทย ลิขิตให้พระเจ้าเอกทัศน์เป็นโรคเรื้อน หนีตายจากพระนครไปทางวัดสังฆวาส (ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง คนละทางกับประตูตะวันตก) กับมหาดเล็กสองคน แล้วใกล้อดตาย มอญไปพบจึงนำตัวกลับมาแล้วสวรรคตที่ค่ายโพธิสามต้น เจ้าตากมาขุดพระศพทำเมรุให้หลังจากที่ยึดค่ายได้ ..... ทำเมรุที่ค่ายโพธิสามต้น


พระบรมอัฐิของพระเจ้าเอกทัศน์ อยู่ที่ไหนดี เช่นเดียวกับกษัตริย์ในสมัยปลายอยุธยาอีกหลายพระองค์ ที่พงศาวดารของไทยในยุคหลังชี้ว่า มีพระบรมอัฐิของกษัตริย์อยุยา 16 พระองค์ บรรจุอยู่ที่ท้ายจระนำวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ ส่วนที่ติดกับเจดีย์ใหญ่ทางทิศตะวันออก

พระบรมอัฐิอยู่ที่นั่นหรือเปล่า ตามพระราชประเพณีโบราณของกรุงศรีอยุธยา
แต่.....ก็เป็นที่น่าเสียดาย ที่เคยได้ฟังเรื่องเก่า ๆ มาว่า มีการลักลับขุดหาสมบัติโบราณในเกาะเมือง แล้วมีการเอาพระอัฐิออกมาจากกรุที่เก็บแล้วสาดกระจายไปทั่วท้ายจระนำนั้น

ปัจจุบัน อัฐิของพระมหากษัตริย์โบราณ กลายเป็นธุลีดินอยู่ในวัดพระศรีสรรเพชญ โดยเฉพาะจุดท้ายจระนำ ที่ยังไม่เคยมีใครรู้ว่า ตรงนี้เมื่อในยามรุ่งเรือง พระมหากษัตริย์ทำนุบำรุงพระศาสนาแลปกปักษ์รักษาไพร่ฟ้า เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันเป็นที่โพสท่าถ่ายรูป และเป็นทางเดินใหม่ ที่ทับไปบนพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์โบราณ

คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่เคยถูกนำใช้กับวิชาการบูรณะ วิชาการท่องเที่ยวและวิชามรดกโลก

ส่วนใครจะเชื่อว่าพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงอโยธยาศรีรามเทพนครนั้น อยู่ที่ไหน ก็ขอให้อ่านจากข้อความนี้ประกอบการคิดและจดจำเรื่องราวในอดีตซักเล็กน้อย

         “ ..... ทั้งนี้ไม่น่าประหลาดใดอันใด ชนชั้นนำในยุคนั้นเพิ่งผ่านความตระหนกอย่างใหญ่หลวงมาจากความพินาศของอยุธยา “เมืองอันไม่อาจต่อรบได้” จึงเป็นยุคสมัยที่ชนชั้นนำหันกลับไปมองอดีตเพื่อสำรวจตนเอง มีการวิจารณ์ตนเองที่เราไม่ค่อยได้พบในวรรณคดีไทยบ่อยนัก เช่น กลอนเพลงยาวของกรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่หนึ่ง วิเคราะห์สาเหตุของความล่มจมของอยุธยา ความใฝ่ฝันที่จะจำลองอุดมคติของอดีตกลับมาใหม่ในนิราศนรินทร์ ฯลฯ เป็นต้น พระราชพงศาวดารที่ถูก ” ชำระ” ในยุคนี้จึงเต็มไปด้วยความใฝ่ฝัน ความรังเกียจ ความชัง ความรัก ความภูมิใจ ความอัปยศ และอคติของชนชั้นในยุคนี้เป็นอย่างมาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นหลักฐานชั้นต้นที่ดีของประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ซึ่งได้บันทึกสิ่งที่สถิตอยู่ในความคิดและความเชื่อของคนชั้นนำในยุคนั้นอันเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏชัดในหลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยทั่วไป เช่น ตราตั้ง หมายรับสั่ง หรือจดหมายเหตุ......

..........ในขณะเดียวกัน การศึกษาเช่นนี้ก็จะช่วยให้เราใช้เป็นหนทางในการวิเคราะห์พระราชพงศาวดารอยุธยาในฐานะที่เป็นหลักฐานชั้นรองด้วยเพราะหากเราแยกอิทธิพลของการชำระในสมัยกรุงธนบุรี – รัตนโกสินทร์ออกจากพระราชพงศาวดารได้ หรือมีหลักอย่างกว้าง ๆ ในการแยกอิทธิพลดังกล่าว เราก็จะสามารถใช้พระราชพงศาวดารในฐานะหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยาได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ...”

          “...ในปัจจุบัน นักศึกษาประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งสำนึกถึงข้อบกพร่องของการนำเอาปัจจุบันไปปะปนกับอดีต แต่นักศึกษาประวัติศาสตร์เหล่านี้จะได้ ”ลูกค้า” สักเพียงใดในสังคมที่เคยชินกับการ ”ใช้” อดีตเพื่อปัจจุบันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อดีตที่ไม่มีสีสัน ไม่มีความสง่างาม ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของใคร ไม่สนับสนุนสถาบันอะไรเป็นพิเศษ แต่อาจจะใกล้เคียงความจริงกว่า จะมีคุณค่าให้ผู้ใดมองเห็นได้ในสังคมชนิดนี้หรือ
                 และแม้จะพยายามสักเพียงใด งานของนักประวัติศาสตร์ที่จะเสนอความจริงอันแห้งแล้งนี้คือความล้มเหลวอยู่ส่วนหนึ่งเสมอ เราตัดตัวเองออกจาก”ปัจจุบัน” ให้เด็ดขาดไม่ได้ และส่วนนี้เองที่บังคับให้เราสนทนากับอดีตโดยไม่รู้ตัว ตราบเท่าที่เราเป็นมนุษย์ ข้อจำกัดนี้เป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับไว้ และจนสุดความสามารถที่มนุษย์เล็ก ๆ อย่างเราจะพึงทำได้คือก้าวให้พ้นข้อจำกัดนี้ตลอดไป แม้จะต้องล้มเหลวอีก ในส่วนที่เป็นความล้มเหลวของนักประวัติศาสตร์ตรงนี้เองที่ทำให้การสนทนากับอดีตไม่มีวันสิ้นสุด และในหลักฐานชั้นรองทั้งหลายย่อมมีความเป็นหลักฐานชั้นต้น หรือที่มาร์ค บลอค เรียกว่า หลักฐานที่ไม่ได้ตั้งใจอยู่ด้วยเสมอ...”
( อาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา )

จากคุณ : วรณัย - [ 24 มิ.ย. 50 10:09:39 ]
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:40:21 am »
สมเด็จพระเพทราชา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 28 ของอาณาจักรอยุธยาและทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา

พระราชประวัติ

พระเพทราชาเดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน คือ บ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) เป็นบุตรของพระนมเปรม และมีพระขนิษฐาคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม)[3][4] พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาพระเพทราชาได้รับราชการในวังโดยรับตำแหน่งสูงและเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย

ในปี พ.ศ. 2231 ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่ที่ลพบุรีและทรงประชวรหนัก พระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์แล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ประหารชีวิต และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในปัจจุบัน

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2232 เมื่อมีพระชนมายุได้ 56 พรรษา

เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา

สมเด็จพระเพทราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2246 พระชนมายุได้ 71 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
พระราชกรณียกิจ
การปฏิรูปการปกครอง

ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ

นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย
การต่างประเทศ

ประเทศใกล้เคียง มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2234 เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวาย ขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมา ในปี พ.ศ. 2238 กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทานการรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน
พระมเหสี

พระเพทราชาทรงมีมเหสีสำคัญๆอยู่ 4 พระองค์ ได้แก่

    กรมหลวงโยธาเทพ หรือ มเหสีฝ่ายซ้าย - พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์ มีพระราชโอรสคือ เจ้าฟ้าตรัสน้อย ทรงสนใจทางด้านการศึกษาในหลายๆแขนงวิชา ช่วงหลังย้ายตามพระราชมารดาไปอยู่ ณ พระตำหนักใกล้วัดพุทไธศวรรค์
    กรมหลวงโยธาทิพ หรือ มเหสีฝ่ายขวา - พระน้องนางในสมเด็จพระนารายณ์ มีพระราชโอรสคือ เจ้าฟ้าชายเจ้าพระขวัญ (กรมพระราชวังบวรสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์)
    กรมพระเทพามาตย์ หรือ เจ้าแม่วัดดุสิต[5] เป็นผู้อภิบาลพระเจ้าเสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ภายหลังได้ขึ้นเป็นที่กรมพระเทพามาตย์
    พระแก้วฟ้า ปรากฎในเอกสารในสมัยอยุธยาได้กล่าวว่า หลังจากการไกล่เกลี่ยเขตแดนระหว่างไทยกับลาว กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ได้ส่งพระราชธิดาถวายแก่พระเพทราชา แต่เอกสารของลาวกลับไม่ได้ปรากฎหรือกล่าวเอาไว้เลย[1]

อ้างอิง

    ^ 1.0 1.1 ภาสกร วงศ์ตาวัน. ประเทศราช ชาติศัตรู และพ่อค้านานาชาติ. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2553. หน้า 182
    ^ ราชอาณาจักรสยาม
    ^ ภูธร ภูมะธน. โกษาปาน ราชทูตกู้แผ่นดิน. (กรุงเทพฯ:สถาบันการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้), 2550), หน้า 33
    ^ พลับพลึง มูลศิลป์. ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส สมัยอยุทธยา. (กรุงเทพ:บรรณกิจ), 2523, หน้า 110, 238
    ^ เรื่องเก่าเอามาเล่าอีก (1)

    http://www1.mod.go.th/heritage/king/ayuthaya/ayuthaya5.htm

ดูเพิ่ม

    ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2-

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:42:44 am »
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระบรมนามาภิไธย    นายเดื่อ
พระปรมาภิไธย    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
พระอิสริยยศ    พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์    ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครองราชย์    พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251
ระยะครองราชย์    5 ปี
รัชกาลก่อนหน้า    สมเด็จพระเพทราชา
รัชกาลถัดไป    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ    พ.ศ. 2204[1]
ตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร อาณาจักรอยุธยา[2]
สวรรคต    พ.ศ. 2251
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
พระราชบิดา    พระเพทราชา
พระราชมารดา    พระนางกุสาวดี
พระราชโอรส/ธิดา    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
เจ้าฟ้าหญิงแก้ว[3]
พระองค์เจ้าทับทิม[4]

พระราชประวัติ

พระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือนั้น เชื่อว่าเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับพระสนมพระองค์หนึ่งโดยพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ว่า นางเป็นพระราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่[2] โดยคำให้การขุนหลวงหาวัดได้ออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี[1]

แต่ในเวลาต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่ามีเนื้อหาสอดคล้องกัน คือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์ ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา[1] ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ความว่า[6]

    "แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราขา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"

โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์ได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การขุนหลวงหาวัด กล่าวว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น[1]

พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า มะเดื่อ[6][7] ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรียกว่า ดอกเดื่อ[8] เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก

มีความในพระสยามราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช 1024 ปีชวดโทศก (พ.ศ 2205) สมเด็จพระนารายณ์ เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่กลับมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จไปนมัสการพระชินราชพระชินศรี ทำการสักการบูชาแล้วเล่นการมหรสพสมโภชสามวัน

จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสุรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสุรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา[9] แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213[1]

วิเคราห์ตามเวลา การตีเมืองเชียงใหม่ของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นสมัยพระนารายในปี พ.ศ.2205 พระนางกุสาวดี ให้กำเนิดพระเจ้าเสือ พ.ศ.2213 และทรงครองราชจนถึง พ.ศ.2251 พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา จึงควรจะประสูติ พ.ศ.2204 หากรวมเวลาที่พระมารดาทรงพระครรแล้วทำให้เวลาไม่สอดคล้องกัน แต่พอสรุปได้ว่าพระองค์ไม่ใช่พระโอรสของพระนาราย
ครองราชย์

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 - 2246) หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเพทราชา พระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8

ราชาภิเษก พ.ศ. 2246 ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มีพระสมัญญานามว่า “เสือ”[2] ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว[10]

ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่ภายหลังก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ[10]

ส่วนเรื่องพันท้ายนรสิงห์ และเรื่องที่พระองค์ออกไปชกมวยที่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญนั้น เป็นเรื่องราวที่ถูกแต่งเติมขึ้นภายหลัง ปรากฎครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพนรัตน์ และขยายความโดยพิสดารเป็นตำนานพันท้ายนรสิงห์ที่เรา[เป็นใคร?] คุ้นเคยกันดีในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งชำระในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และถูกทำให้คิดว่าเป็นเรื่องจริงจนถึงปัจจุบัน[11]
พระอุปนิสัย

พงศาวดารบันทึกว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 มีพระอุปนิสัยชั่ว ทรงมักมากในกามคุณ และทรงฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอยู่เนือง ๆ ผู้คนจึงออกพระนามว่า "พระเจ้าเสือ" เปรียบว่าทรงร้ายดังเสือ[5] โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกว่า[5]

    "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ทรงพระโกรธ ลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล

    "ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุขแลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร

    "ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฎเรียกว่า พระเจ้าเสือ"

ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมบันทึกไว้ทำนองเดียวกันว่า[12]

    "ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์ทรงเสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้

    "อยู่มาครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยพระชลพาหนะออกไปประพาส ณ เมืองเพชรบุรี และเสด็จไปประทับแรมอยู่ ณ พระราชนิเวศน์ตำบลโตนดหลวง ใกล้ฝั่งพระมหาสมุทร และที่พระตำหนักนี้เป็นที่พระตำหนักเคยประพาสมหาสมุทรมาแต่ก่อนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้านั้น และสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จด้วยพระที่นั่งมหานาวาท้ายรถ แล่นไปประพาสในท้องพระมหาสมุทรตราบเท่าถึงตำบลเขาสามร้อยยอด และทรงเบ็ดตกปลาฉลามและปลาอื่นเป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับมา ณ ตำหนักโตนดหลวง และเสด็จเที่ยวประพาสอยู่ดังนั้นประมาณ 15 เวร จึ่งเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร"

พระราชกรณียกิจ
ด้านศาสนา

    ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม
    ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร
    ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์
    พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขว้างใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและ ดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร

สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุนี) เป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา ทรงไม่พอพระทัยที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสึกออกมาทำราชการเป็นจำนวนมาก
ด้านคมนาคม

    ทรงให้มีการตัดถนนข้ามบึงหูกวางที่เมืองนครสวรรค์
    ทรงให้ขุดคลองโคกขามซึ่งคดเคี้ยวให้ตรง[11] และขุดลัดคลองอ้อมเกร็ด[11]
    ทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางมาสะดวกยิ่งขึ้น

สวรรคต

สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 15 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2251 เป็นเวลา 5 ปี พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา

ดูเพิ่ม

    ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

อ้างอิง

    ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับพระนารายณ์". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 109
    ^ 2.0 2.1 2.2 ประวัติ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) Welcome to Phichit
    ^ ราชอาณาจักรสยาม
    ^ สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70
    ^ 5.0 5.1 5.2 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). (2553). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา. ISBN 9786167146089.
    ^ 6.0 6.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 91-94
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 183
    ^ ปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบ, ในอภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ:มิตชน, 2545, หน้า 68
    ^ เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ เขียน, อัมพร สายสุวรรณ แปล. ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2545, หน้า 64
    ^ 10.0 10.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์. พระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย. สกุลไทย ฉบับที่ 2436 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2544
    ^ 11.0 11.1 11.2 เรื่องเก่าเอามาเล่าอีก (1)
    ^ พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับที่เป็นสมบัติของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน. (2507). ตรี อมาตยกุล, บรรณาธิการ. พระนคร: ก้าวหน้า.

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_8-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:44:01 am »
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ)


สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
พระบรมนามาภิไธย    เจ้าฟ้าเพชร
พระปรมาภิไธย    สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาท้ายสระ
พระอิสริยยศ    พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
ราชวงศ์    ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครองราชย์    พ.ศ. 2251-พ.ศ. 2275
ระยะครองราชย์    26 ปี
รัชกาลก่อนหน้า    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
รัชกาลถัดไป    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต    พ.ศ. 2275
พระราชบิดา    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
พระอัครมเหสี    กรมหลวงราชานุรักษ์ (พระนามเดิม เจ้าฟ้าทองสุก)[1]
พระราชโอรส/ธิดา    เจ้าฟ้าพระนเรนทร กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
เจ้าฟ้าหญิงเทพ
เจ้าฟ้าหญิงประทุม
เจ้าฟ้าอภัย
เจ้าฟ้าปรเมศร์



สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาท้ายสระ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเพชร เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเสือ ขึ้นครองราชย์ใน ปี พ.ศ. 2251 ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา โดยมีเจ้าฟ้าพร พระอนุชา เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

พระราชประวัติ

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเสือ ขึ้นครองราชย์ใน ปี พ.ศ. 2251 ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา มีพระนามว่า สมเด็จพระภูมินทรมหาราชา โดยพระนามที่เป็นที่รู้จักกัน คือ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ โดยมีเจ้าฟ้าพร พระอนุชาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ปลายรัชสมัย มีการแย่งชิงราชสมบัติอย่างรุนแรง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ระหว่างพระราชโอรส 2 พระองค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคมะเร็งที่พระชิวหาและพระศอ ในปี พ.ศ. 2275 รวมระยะเวลาครองราชย์ 24 ปี
พระนาม

    สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระบรมมหาราชวัง
    สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 9
    สมเด็จพระภูมินทราธิราช
    ขุนหลวงทรงปลา

พระราชกรณียกิจ

ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ มีเรื่องราวที่น่าสนใจคือ มีการแต่งเรือสำเภาบรรทุกสินค้าไปค้าขายที่เมืองท่ามะริด ไปจรดถึงทวีปแอฟริกาตอนเหนือ มีการขุดคลองสำคัญอันเป็นเส้นทางคมนาคม คือ "คลองมหาไชย" และ "คลองเกร็ดน้อย" มีการแข่งกันสร้างวัด ระหว่างพระองค์กับพระอนุชา คือ วัดมเหยงค์ และวัดกุฏีดาว มีการเคลื่อนย้ายพระนอนองค์ใหญ่ของวัดป่าโมกเพื่อให้พ้นจากการถูกน้ำเซาะตลิ่ง เป็นต้น

ในด้านการต่างประเทศ มีการส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีนถึงสี่ครั้ง ทำให้การค้าขายระหว่างไทยกับจีน ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2244 เกิดความวุ่นวายในเขมร อันเนื่องจากการแย่งราชสมบัติกัน เจ้าเมืองละแวก ขอเข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ส่วนพระแก้วฟ้าผู้เป็นอนุชาฝักใฝ่อยู่กับฝ่ายญวน ซึ่งพยายามแผ่อำนาจเข้าไปในเขมร พระองค์ได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าไปถึงเมืองอุดงมีชัย ราชธานีของเขมร และได้เกลี้ยกล่อมให้พระแก้วฟ้ากลับมาอ่อนน้อมต่อไทย เขมรจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยเช่นแต่ก่อน
เกร็ดที่น่าสนใจ

    ทรงเป็นกษัตริย์ที่โปรดเสวยปลาตะเพียนมาก โดยออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษ คือ ปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท
    พระราชทานท้องพระโรงแก่สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระองค์โดยล่องเรือจากอยุธยาไปเพชรบุรีแล้วไปสร้างที่วัดใหญ่สุวรรณาราม (วัดสุวรรณาราม บ้างก็เรียกวัดใหญ่) จึงทำให้คงเหลือพระราชวัง ท้องพระโรงที่แสดงถึงศิลปกรรมของอยุธยาที่เหลือรอดจากการเผาของพม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี

อ้างอิง

    ^ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ 1-9. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16

    วิชาการ.คอม
    หอมรดกไทย

ดูเพิ่ม

    ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:45:18 am »
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระบรมนามาภิไธย    เจ้าฟ้าพร
พระปรมาภิไธย    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระอิสริยยศ    พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
ราชวงศ์    ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครองราชย์    พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301
ระยะครองราชย์    26 ปี
รัชกาลก่อนหน้า    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
รัชกาลถัดไป    สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต    พ.ศ. 2301
พระราชบิดา    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
พระอัครมเหสี    กรมหลวงอภัยนุชิต (พระพันวัสสาใหญ่)
กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย)[1]




สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 31 แห่งกรุงศรีอยุธยา


พระราชประวัติ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าพร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงมีพระเชษฐา ได้แก่ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) พระองค์ได้รับการสถานปนาเป็นพระบัณฑูรน้อยในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 และเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
สงครามแย่งราชสมบัติ

เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคตนั้น พระราชทานราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระเจ้าบรมโกศ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราชอยู่ไม่เต็มพระทัย เพราะปรารถนาจะให้ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้าฟ้านเรนทร (กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์) ซึ่งในขณะนั้นทรงผนวชอยู่

ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างพระองค์กับพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คือ เจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศร์ อันเนื่องมาจากพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเชษฐาใกล้สวรรคตกลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติแก่ เจ้าฟ้านเรนทร พระโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่เห็นด้วยชอบด้วย จึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระโอรสองค์รอง เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี

ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ และประหารชีวิตเจ้าฟ้าทั้ง 2 พระองค์
รัชสมัย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาจนกล่าวได้ว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระองค์นั้นเป็นยุคที่บ้านเมืองดี มีขุนนางคนสำคัญที่เติบโตในเวลาต่อมา ในรัชกาลของพระองค์หลายคน เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี, พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้น ในทางด้านวรรณคดี ก็มีกวีคนสำคัญเช่น เจ้าฟ้ากุ้ง ซึ่งเป็นพระโอรส เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2296 พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป สมเด็จพระเจ้าบรมอยู่หัวโกศ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกา หลังจากที่ได้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว คณะสงฆ์คณะนี้บางส่วนได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2303

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สวรรคตในปี พ.ศ. 2301 รวมระยะเวลาการครองราชย์นาน 26 ปี

อ้างอิง

    ^ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16

    วิชาการ.คอม
    หอมรดกไทย[ลิงก์เสีย]

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:47:48 am »
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระบรมนามาภิไธย    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าดอกเดื่อ
พระปรมาภิไธย    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
พระอิสริยยศ    พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์    บ้านพลูหลวง
ครองราชย์    พ.ศ. 2301 - พ.ศ. 2301
ระยะครองราชย์    2 เดือน
รัชกาลก่อนหน้า    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
รัชกาลถัดไป    สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต    พ.ศ. 2339
พระราชบิดา    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชมารดา    กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย)
พระราชโอรส/ธิดา    พระองค์เจ้าตัน
พระองค์เจ้าแม้น
พระองค์เจ้าหญิงดารา
พระองค์เจ้าหญิงสิริ




สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ สมเด็จพระอุทุมพรมหาพรพินิต หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าดอกเดื่อ (อุทุมพร หมายถึง "มะเดื่อ") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 32 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) โดยพระมารดาของพระองค์สืบเชื้อสายมาจากสกุลพราหมณ์บ้านสมอพลือ ที่มีต้นสกุลมาจากเมืองรามนคร มัชฌิมประเทศ ต่อมาได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมเป็น กรมขุนพรพินิต พระองค์มีพระเชษฐาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) และมีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 6 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าประภาวดี เจ้าฟ้าประชาวดี เจ้าฟ้าพินทวดี เจ้าฟ้าจันทวดี เจ้าฟ้ากษัตรี และเจ้าฟ้ากุสุมาวดี

ครองราชย์

หลังจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2289 แล้วสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มิได้ทรงแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใด ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแทน เป็นเวลาถึง 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2300 จึงทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยทรงเห็นว่าทรงพระปรีชา มีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด

เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศสวรรคต เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2301 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 แต่ก่อนหน้าที่จะมีพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและพระอนุชาต่างพระมารดาสามองค์ คือ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และ กรมหมื่นเสพภักดี ได้พยายามแย่งชิงราชสมบัติ แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทรงขอให้พระราชาคณะเกลี้ยกล่อมจนสำเร็จ และพระองค์ได้ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์

เมื่อพระองค์ครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ ก็ทรงสละราชย์สมบัติแล้ว ถวายราชสมบัติแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ผู้เป็นพระเชษฐา แล้วพระองค์เสด็จออกผนวช โดยประทับอยู่ที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งเป็นที่มาในการเรียกพระองค์ว่า ขุนหลวงหาวัด ในกาลต่อมา


หลังเสียกรุงศรีอยุธยา
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ถูกกวาดต้อนไปที่พม่าด้วยพร้อมเจ้านายและเชลยชาวไทยอื่น ๆ โดยทางพม่าได้ให้สร้างหมู่บ้านอยู่รอบเมืองมัณฑะเลย์ และพระองค์ได้เป็นผู้ให้ปากคำเรื่องประวัติศาสตร์อยุธยาแก่พม่า ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" ในปัจจุบัน หมู่บ้านดังกล่าวนี้ก็ยังคงมีอยู่ มีชื่อว่า "เมงตาสึ" แปลว่า "เยี่ยงเจ้าชาย" และก็ยังคงมีหลักฐานปรากฏถึงวัฒนธรรมไทยอยู่ เช่น ประเพณีการขนทรายเข้าวัดในวันสงกรานต์ หรือการตั้งศาลบูชาพ่อปู่ หรือ หัวโขน เป็นต้น แม้ผู้คนในหมู่บ้านนี้จะไม่สามารถพูดไทยหรือมีวัฒนธรรมไทยเหลืออยู่แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นที่รับรู้กันว่าบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นเชลยมาจากไทย ปัจจุบันคนไทยกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า "โยเดีย" (Yodia)

ปี พ.ศ. 2540 มีข่าวว่าพบพระบรมสถูปบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร บริเวณสุสานร้าง เมืองอมรปุระ ไม่ไกลจากสะพานไม้สักอูเบ็ง ข้อสันนิษฐานเกิดจากการพิจารณารูปพรรณสัณฐานไม่ได้ว่าเป็นแบบมอญ หรือพม่า คนเฒ่าคนแก่ในย่านนั้นก็เรียกสถูปนี้ว่า "โยเดียเซดี" (Yodia Zedi) แปลว่า สถูปอยุธยา แต่ทว่า ข้อห้ามของทางการพม่าที่ไม่ให้ขุดค้นหลักฐานโบราณคดีในสถูป ทำให้กลายเป็นข้อสันนิษฐานที่รอการพิสูจน์

สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสวรรคตในขณะทรงเป็นบรรพชิต ใน พ.ศ. 2339 ตามพงศาวดารพม่า

อ้างอิง

    เทปสนทนาเรื่อง วาระสุดท้าย...ของ อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ วีระ ธีรภัทร (เมษายน พ.ศ. 2544)

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 10:49:47 am »
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์)

พระบรมนามาภิไธย    เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี
พระปรมาภิไธย    สมเด็จพระบรมราชากษัตริย์บวรสุจริต
พระอิสริยยศ    พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์    ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ระยะครองราชย์    9 ปี
รัชกาลก่อนหน้า    สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
รัชกาลถัดไป    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช(กรุงธนบุรี)
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต    พ.ศ. 2310
พระราชบิดา    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชมารดา    กรมพระเทพามาตย์ (พลับ)
พระอัครมเหสี    กรมขุนวิมลภักดี[1]
พระราชโอรส/ธิดา    พระองค์เจ้าประเภท
พระองค์เจ้าสุรเดช
พระองค์เจ้าเศรษฐ์
พระองค์เจ้าหญิงประพิมพ์
พระองค์เจ้าหญิงน้อย
พระองค์เจ้าหญิงดอกมะเดื่อ
พระองค์เจ้าหญิงเลิศะตรา



สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ พระเจ้าเอกทัศ[2] มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเอกทัศ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 33 พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301-พ.ศ. 2310 ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) (ต่อมาพระราชมารดาได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) โดยพระมารดาของพระองค์สืบเชื้อสายมาจากสกุลพราหมณ์บ้านสมอพลือ ที่มีต้นสกุลมาจากเมืองรามนคร มัชฌิมประเทศ ต่อมาเจ้าฟ้าได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมเป็น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี


พระนามที่ทรงเป็นที่รู้จัก

    สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
    พระเจ้าเอกทัศ (ชื่อที่นิยมเรียกโดยทั่วไป)
    สมเด็จพระบรมราชากษัตริย์บวรสุจริต (พระนามเมื่อขึ้นครองราชย์)
    สมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร
    ขุนหลวงขี้เรื้อน (ชื่อติดปาก; เนื่องจากเป็นที่เชื่อกันว่าพระองค์ทรงเป็นโรคเรื้อน)
    กรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระนามก่อนครองราชย์
    พระที่นั่งสุริยามรินทร์ เมื่อพระเจ้าอุทุมพรกำลังครองราชย์
    พระบรมราชาที่ 3 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์

พระราชประวัติ
การเสด็จขึ้นครองราชย์

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หนึ่งปีก่อนหน้าการเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าอุทุมพร ผู้เป็นอนุชาของเจ้าฟ้าเอกทัศ ให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ทูลว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระเชษฐา ยังคงอยู่ขอพระราชทานให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลน่าจะสมควรกว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงตรัสว่า กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นโฉดเขลา หาสติปัญญาแลความเพียรมิได้ ถ้าจะให้ดำรงฐานุศักดิ์มหาอุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่งนั้น บ้านเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติฉิบหายเสีย และมีพระราชดำรัสสั่งให้กรมขุนอนุรักษ์มนตรีออกผนวชเสียเพื่อไม่ให้กีดขวางเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล[3]

หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่อีกสองเดือนถัดมา พระองค์กลับมาแสดงพระประสงค์ขึ้นครองราชย์ และเสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ จนทำให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรยอมสละราชสมบัติและเสด็จออกผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2301
สงครามคราวเสียกรุงครั้งที่สอง

ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์ พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2303 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่ ต้องยกทัพกลับ และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ โอรสของพระเจ้าอลองพญา ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พม่า และได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ให้เกณฑ์กองทัพกว่า 70,000 นาย ยกเข้าตีเมืองไทย 2 ทาง ทางทิศใต้เข้าตีเข้าทางเมืองมะริด ส่วนทางตอนเหนือตีลงมาจากแคว้นล้านนา และบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนานกันสองข้างโดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 1 ปี 2 เดือน ก็เข้าพระนครได้ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

ในพงศาวดารฉบับหอแก้วและคองบองของพม่า ได้บรรยายให้เห็นว่าในสงครามครั้งนี้ ผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเองก็ได้เตรียมการและกระทำการรบอย่างเข้มแข็ง มิได้เหลวไหลอ่อนแอแต่ประการใด[4]
การเสด็จสวรรคต

สาเหตุการเสด็ตสวรรคตของพระเจ้าเอกทัศมีหลายข้อสันนิษฐาน ในหลักฐานของไทยส่วนใหญ่บันทึกไว้ว่าพระองค์เสด็จสวรรคตจากการอดพระกระยาหารเป็นเวลานานกว่า 10 วัน ภายหลังจากที่เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้กับวัดสังฆาวาส[5] ทหารพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิ์สามต้น เมื่อเสด็จสวรรคตนายทองสุกได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุ ตรงหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร[6] ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพขึ้นถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี[7][8]

ฝ่ายพงศาวดารพม่าระบุว่า เกิดความสับสนระหว่างการหลบหนีในเหตุการณ์กรุงแตก จึงถูกปืนยิงสวรรคตที่ประตูท้ายวัง

ส่วนคำให้การของแอนโทนี โกยาตัน ตำแหน่ง Head of the foreign Europeans เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2311 ได้กล่าวว่า "กษัตริย์องค์ที่สูงวัย (พระเจ้าเอกทัศ) ถูกลอบปลงพระชนม์โดยชาวสยามเช่นเดียวกัน" หรือไม่พระองค์ก็ทรงวางยาพิษตนเอง[9]
พระราชกรณียกิจ

ในทัศนะของ สุเนตร ชุตินธรานนท์ มีความเห็นว่า ผู้ชำระพงศาวดารไทยไม่ได้ระบุพระราชกรณียกิจของพระเจ้าเอกทัศ ซ้ำยังกล่าวพาดพิงในแง่ร้ายอยู่บ่อยครั้ง หากแต่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ กลับมีการกล่าวถึงกษัตริย์พระองค์นี้อย่างชื่นชม

คำให้การชาวกรุงเก่า ปรากฏความว่า "[กษัตริย์พระองค์นี้] ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง"

ใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ปรากฏความว่า "พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสด็จไปถวายนมัสการพระศรีสรรเพชทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิจ บพิตรตั้งอยู่ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณ์ก็ชื่นชมยินดีปรีเปนศุขนิราชทุกขไภย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความศุกมิได้ดาล ทั้งข้าวปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎร์และชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทาน และการมโหรสพต่าง ๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความศุกที่ทุกขอบขันธสีมา"

นอกจากนี้ จากหลักฐานทั้งสอง ยังได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าเอกทัศ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัติเครื่องชั่ง ตวง วัดต่าง ๆ, มาตราเงินบาท สลึง เฟื้องให้เที่ยงตรง และโปรดให้ยกเลิกภาษีอากรต่าง ๆ เป็นเวลา 3 ปี

รวมทั้ง "ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก"[10]


ทัศนะ

ฝ่ายซึ่งเห็นว่าพระองค์ทรงมีพระราชประวัติความประพฤติไม่ดีก็ว่า ราษฎรไม่เลื่อมใสศรัทธาเพราะพระมหากษัตริย์ทรงประพฤติตนไม่เหมาะสม บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย มีข้าราชการลาออกจากราชการอยู่บ้าง สังคมสมัยนั้นมีการกดขี่รีดไถ ข่มเหงรังแกราษฎรอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อขุนนางชั้นผู้น้อยเห็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทำก็เลียนแบบ ราษฎรและข้าราชการทั้งหลายหมดที่พึ่งจึงแตกความสามัคคี ดังที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุบันทึกไว้ว่า: "... บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตายเอาไฟเผาบ้านเรือนจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น..."[11]

ในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์ที่ถูกกล่าวถึงในแง่ร้ายเรื่อยมา และถูกจดจำในฐานะ "บุคคลที่ไม่มีใครอยากจะตกอยู่ในฐานะเดียวกัน" เหตุเนื่องจากไม่สามารถป้องกันกรุงศรีอยุธยาให้พ้นจากข้าศึก ทั้งนี้ คนไทยที่เหลือรอดมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นถือเอาว่า พระองค์ควรรับผิดชอบจากการเสียกรุงครั้งที่สองร่วมกับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร[12]

ครั้ง พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรหนัก เหตุเพราะช้ำพระราชหฤทัยที่สยามยกดินแดนให้ฝรั่งเศสไป โดยทรงพระราชนิพนธ์บทกวีรำพันความทุกข์ร้อน และท้อพระทัยว่าจะถูกนินทาไปตลอดกาล ดังเช่นสองพระมหากษัตริย์ (พระเจ้าอุทุมพรและพระเจ้าเอกทัศ) ผู้ไม่อาจปกป้องกรุงศรีอยุธยาจากศัตรู

เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรหนัก ไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทมหลายวันหลายคืนติดต่อกัน มีสาเหตุจากเจ็บช้ำพระราชหฤทัยเรื่องฝรั่งเศสรังแกสยาม ในช่วงนั้นก็ทรงพระราชนิพนธ์บทกวีรำพึงถึงความกลัดกลุ้มทุกข์ร้อน ทั้งกลัวว่าจะถูกติฉินนินทาไม่รู้จบสิ้น เหมือนสองกษัตริย์ผู้ไม่สามารถจะปกป้องกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ได้จากข้าศึกศัตรู ความดังนี้[12]

"เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์       มะนะเรื่องบำรุงกาย
ส่วนจิตบ่มีสบาย       ศิระกลุ้มอุราตรึง
แม้หายก็พลันยาก       จะลำบากฤทัยพึง
ตริแต่จะถูกรึง       อุระรัดและอัตรา
กลัวเป็นทวิราช       บ่ตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา       บ่ละเว้นฤๅว่างวาย


ดูเพิ่ม

    ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
    การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

อ้างอิง

    ^ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16
    ^ พระนามพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา
    ^ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 2. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.
    ^ สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:มติชน, 2554. หน้า 88
    ^ พระเจ้าเอกทัศน์ครองเมืองกรุงศรีอยุธยา
    ^ จรรยา ประชิตโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 185
    ^ กรมตำรา กระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช ๑๑๒๘-๑๑๔๔. พิมพ์ครั้งที่ ๔ ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, ๒๔๗๒. หน้า ๒๓.
    ^ สุนทรภู่, นิราศสุนทรภู่ ตอนนิราศพระบาท (พระนคร:คุรุสภา ๒๕๑๙) หน้า ๑๒๓-๑๒๔.
    ^ จรรยา ประชิตโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 198
    ^ จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 3.
    ^ ขจร สุขพานิช. ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2531. หน้า 269.
    ^ 12.0 12.1 สองกษัตริย์สุดท้าย วิชาการ.คอม

    สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2541). สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐: ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง. สำนักพิมพ์ศยาม. หน้า 81-82.

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)