อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
108 เคล็ดกิน
sithiphong:
ย่างอย่างไร ไกลมะเร็ง…
-http://club.sanook.com/29893/%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87/-
รู้ดีว่า เถ้าสีดำที่เกาะอยู่บนอาหารที่มาจากการย่างก่ออันตรายมหาศาล ถึงขั้นป่วยโรคมะเร็งกันเลย
ถึงอย่างนั้น ก็ยังอยากลิ้มลองอาหารย่างอยู่บ้าง สักครั้งสองครั้งต่อเดือนก็ยังดี
ด้วยความเป็นห่วง ชีวจิตปักษ์นี้จึงนำคำแนะนำวิธีการย่างจากสถาบันวิจัยโรคมะเร็งอเมริกันหรือ American Institute for Cancer Research (AICR) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง สามารถดำรงภาวะที่ดีของสุขภาพค่ะ
Preparation
เตรียมน้ำหมักสุขภาพที่มีมะนาวหรือไวน์ และสมุนไพรอย่างพริกไทยเป็นเครื่องปรุง ความจริง น้ำหมักสุขภาพนี้อาจมีส่วนผสมหลากหลายแบบตามความชอบ แต่ถ้าจะให้ดีต่อสุขภาพมากๆ ควรใช้ซอสถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมหลัก โดยเพิ่มความหวานด้วยน้ำผึ้ง
เนื้อสัตว์ที่นำมาย่าง ควรเป็นปลา อาหารทะเลอื่นๆ เห็ด และเต้าหู้เท่านั้น
Grilling
พยายามตัดเล็มส่วนที่เป็นไขมันออกจากเนื้อสัตว์ก่อนวางบนเตา
ใช้ไฟต่ำ
วางเนื้อสัตว์ลงตรงกลางเตา เพื่อให้สุกง่ายและทั่วถึง
Serving
เสิร์ฟพร้อมผักต่างๆ ทุกครั้ง ผักที่ใช้ควรมีทั้งสุกและสด ไม่ว่าจะเป็นกระหล่ำสีต่างๆ แตงกวา มะเขือเทศ แครอท และอื่นๆ โดยเป็นผักที่แน่ใจว่าปลอดภัยจากสารเคมีและยาฆ่าแมลง
ลองเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการย่างให้เป็นไปตามที่แนะนำ นอกจากสร้างนิสัยรักสุขภาพแล้ว ยังช่วยให้สมาชิกในครอบครัวปลอดภัยจากโรคร้ายได้ด้วยค่ะ
ที่มา : นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 357
sithiphong:
สุดยอดอาหารช่วยให้ผอมเร็วขึ้น แถมยังช่วยล้างพิษด้วย
-http://guru.sanook.com/27090/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2/-
อาหารที่ช่วยทำให้เราผอมเร็วขึ้น ก็คืออาหารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเผาพลาญพลังงานในร่างกายให้ได้มากขึ้น อาหารที่เรากินเข้าไป เมื่อถูกเผาพลาญออกมาเป็นพลังงาน ก็จะได้ไม่ต้องเป็นส่วนเกิน ไปเก็บกักตุนอยู่ในร่างกายของเรา เป็นเหตุให้เกิดไขมันส่วนเกิน หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าไขมันที่ทำให้เราดูอ้วนนั่นเอง เพราะฉะนั้น ใครที่อยากผอม ก็ควรจะเลือกกินอาหารเหล่านี้ด้วย แถมยังมีคุณสมบัติ ช่วยล้างพิษอีกต่างหาก
มะนาว
เปลือกมะนาว มีคุณสมบัติ ด้วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สิ่งที่ควรทำก็คือ การฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ แล้วใส่ลงในแก้วน้ำดื่ม เพียงเท่านี้ ก็ช่วยได้แล้วค่ะ
หอมหัวใหญ่
หอมหัวใหญ่ มีรสเผ็ด และยังมีวิตามินบี1 ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย แล้วก็ช่วยในการขับสารพิษออกมาจากร่างกายด้วย
ขิง
ขิงก็เป็นพืชอีกอย่างที่มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับเหงื่อ ปรับอุณหถูมิในร่างกาย ให้เกิดการสมดุล เนื่องจากความร้อนของขิง ทำให้ช่วยร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ แล้วก็ยังช่วยแก้ภาวะตัวเย็น ลองดื่มน้ำขิงร้อนๆ เป็นประจำสิคะ
มะเขือเทศ
มะเขือเทศเป็นผักที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบสูง รวมถึงมีไฟเบอร์สูงอีกด้วย การทานมะเขือเทศ ทำให้รู้สึกว่าอิ่มเร็วกว่าปกติ ทำให้ลดความอยากอาหาร และเมื่อเราทานน้อยลง ก็จะไม่อ้วนยังไงล่ะ
กระเทียม
กระเทียมก็เป็นอีกอย่าง ที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญดีขึ้น กระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาล และไขมัน แล้วก็มีคุณสมบัติช่วยขับสารพิษด้วย
มะเขือม่วง
มะขือม่วงมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง ดูดซับไขมัน และของเสียต่างๆ ในกระแสเลือด ปรับสมดุลต่างๆ ภายในร่างกายของเรา แก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันไม่ให้คอเรสเตอรอลสูงด้วย
งา
งา มีแร่ธาตุต่างๆ มาก โดยเฉพาะแร่ธาตุ และพวกวิตามิน ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และสามารถช่วยลดน้ำหนักได้
เห็ด
เห็กเป็นพืชที่มีไฟเบอร์ หรือว่าเส้นใยสูง สามารถช่วยให้ระบบขับถ่ายดี สามารถช่วยล้างพิษในร่างกาย แล้วก็เสริมสร้างระบบคุ้มกันโรค ทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็ว และอยู่ท้อง ไม่ต้องทานอาหารมากก็อิ่มได้
ส้ม
ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีรสชาติที่อร่อย ถูกปากคนไทย การกินส้มด้วยการเคี้ยวทั้งกากไปด้วย ทำให้ดีต่อระบบขับถ่าย เปลือกส้มนั้น ก็มีสรรพคุณ ในการย่อยไขมัน ถ้านำเปลือกส้มมาต้มชาดื่ม จะสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ค่ะ
พริก
มีสรรพคุณในการเผาผลาญไขมัน เพราะมีรสเผ็ดร้อน ขับเหงื่อ และทำให้น้ำหนักลดลงได้
ถั่วแดง
เป็นอาหารอีกชนิด ที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนัก เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ลดการบวมน้ำ กระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาล แก้ท้องผูก ช่วยล้างพิษในร่างกาย
พริกหวาน
อุดมไปด้วยวิตามินบี และวิตามินซี ถ้ากินมากๆ จะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือด
ข้อมูลจาก : -http://www.lady108.com/-
http://guru.sanook.com/27090/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2/
sithiphong:
ระกำ
-http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/240895/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%8D%E0%B8%B2+-+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-
ที่เปลือกผลจะมีหนามแข็งเล็ก ๆ ในหนึ่งผลจะมีอยู่ด้วยกัน 2-3 กลีบ ผลดิบจะมีรสฝาดและเปรี้ยว ส่วนผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน เนื้ออ่อนและน้อย ฉ่ำน้ำมีกลิ่นหอม
วันพฤหัสบดี 29 พฤษภาคม 2557 เวลา 00:00 น.
ระกําเป็นพืชในตระกูลปาล์มจัดอยู่ในสกุลเดียวกับสละ เป็นต้นหรือเหง้าเตี้ย มียอดแตกเป็นกอ ออกผลรวมกันเป็นกระจุกแบบทะลาย โดยหนึ่งทะลายจะประมาณ 2-5 กระปุก ลำต้นจะมีหนามแหลมยาวประมาณ 1 นิ้ว ใบมีลักษณะยาวเป็นทางประมาณ 2-3 เมตร ที่เปลือกผลจะมีหนามแข็งเล็ก ๆ ในหนึ่งผลจะมีอยู่ด้วยกัน 2-3 กลีบ ผลดิบจะมีรสฝาดและเปรี้ยว ส่วนผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน เนื้ออ่อนและน้อย ฉ่ำน้ำมีกลิ่นหอม ลักษณะโดยรวมคล้ายกับสละ แต่ผลจะป้อมกว่า เมล็ดใหญ่กว่า เนื้อออกสีเหลืองอมส้ม เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก มีสรรพคุณในการช่วยป้องกันอาการเป็นหวัด แก้กระหายน้ำ และช่วยในการย่อยอาหารทำให้เจริญอาหาร.
------------------------------------------------------------
ปลีกล้วยป่า
-http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/241278/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2+-+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-
กล้วยป่าเกิดตามธรรมชาติในพื้นที่ป่าเขา คนไทยเมื่อครั้งอดีตนิยมนำต้นกล้วยป่ามาทำอาหารทั้งแกงและต้มเป็นผักเคียงนํ้าพริก หัวปลี ใช้ทำอาหารเป็นผักสดประกอบแกงหรือต้มยำ
วันเสาร์ 31 พฤษภาคม 2557 เวลา 00:00 น.
กล้วยป่าเกิดตามธรรมชาติในพื้นที่ป่าเขา คนไทยเมื่อครั้งอดีตนิยมนำต้นกล้วยป่ามาทำอาหารทั้งแกงและต้มเป็นผักเคียงนํ้าพริก หัวปลี ใช้ทำอาหารเป็นผักสดประกอบแกงหรือต้มยำ ชาวอินเดียเมื่อครั้งอดีตนำดอกกล้วยซึ่งอยู่ในหัวปลีมาต้มเอานํ้ามากินแก้เบาหวาน โดยใช้ดอกกล้วย 1 กำมือ ล้างนํ้าให้สะอาด ต้มกับนํ้า 3 แก้ว เดือดนาน 20 นาที กินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ส่วนในประเทศจีนจะใช้ดอกกล้วยแห้งบดผงผสมนํ้า เติมเกลือเล็กน้อย กินรักษาโรคหัวใจ กินครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น.
sithiphong:
7 เหตุผล ที่ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลทราย
-http://guru.sanook.com/9364/7-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/-
7 เหตุผล ที่ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลทรายแม้น้ำตาลจะให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ก็มีผลเสียต่อสุขภาพเป็นของแถมตามมาอีกหลายโรค ลองดูเหตุผลต่อไปนี้ก่อนกินน้ำตาลคราวต่อไปค่ะ
1. เมื่อเรากินน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลเชิงเดี่ยว (น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง น้ำตาลในผลไม้ น้ำตาลในนม) น้ำตาลจะเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป ร่างกายเกิดภาวะไม่สมดุล จึงมีการดึงแร่ธาตุจากส่วนต่างๆภายในร่างกายมาแก้ไขความไม่สมดุล
2. ทำให้เกิดไขมันสะสม น้ำตาลจะถูกเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน แต่ถ้ามีมากจนเกินไป ตับก็จะส่งไปยังกระแสเลือดและเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน โดยจะสะสมไว้ในส่วนของร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น ขาอ่อน หน้าท้อง
3. หากยังคงรับประทานน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันจะสะสมไว้ที่อวัยวะภายในอื่นๆ เช่นหัวใจ ตับ และไต ดังนั้นอวัยวะเหล่านี้จะค่อยๆถูกห่อหุ้มด้วยไขมัน และน้ำเมือก ร่างกายจะเริ่มผิดปกติ ความดันเลือดจะสูงขึ้น
4. การรับประทานน้ำตาลมากเกินไป มีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน
5. อาการปวดศีรษะเรื้อรัง เป็นตะคริวเวลามีรอบเดือน เป็นสิว ผื่น แผลพุพอง ตกกระ แผลริดสีดวงทวารหนัก ไมเกรน เบาหวาน วัณโรค โรคหัวใจ มะเร็งตับ สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับการรับประทานน้ำตาลมากเกินไป
6. น้ำตาลทำให้อาการของโรคติดเชื้อที่เป็นอยู่ทวีความรุนแรงขึ้น เพราะ "เชื้อโรคทุกชนิดใช้น้ำตาลเป็นอาหาร"
7. น้ำตาลนอกจากจะมีผลต่อผู้ใหญ่แล้วยังมีผลต่อเด็กอีกด้วย เพราะถ้าหากเด็กกินน้ำตาลในปริมาณที่มากจนเกินไป จะทำให้เด็กเป็นโรคกระดูกเปราะและฟันผุได้ และอาจเป็นคนโกรธง่าย ไม่มีสมาธิในสิ่งที่ทำอยู่
ที่มาข้อมูล -bloggang.com-
-----------------------------------------------------------------------------------------------
หมอชี้น้ำดื่มขวดพลาสติกเก็บในรถนานๆไม่ก่อสารพิษ ทดลองแล้ว อย่าหลงเชื่อโลกออนไลน์
-http://campus.sanook.com/1371359/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%86%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9-%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5/-
วันที่ 2 มิถุนายน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์เตือนให้หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกที่เก็บในหลังรถยนต์และจอดกลางแดดโดยมีโอกาสได้รับสารไดออกซินที่แพร่ออกมาจากขวดน้ำพลาสติกเนื่องจากอากาศร้อนจัดอาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งอื่นๆ ได้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นกลัวถึงอันตรายจากการดื่มน้ำบรรจุ ขวดพลาสติก
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ซึ่งมีภารกิจ ในการวิเคราะห์ วิจัยทางด้านไดออกซิน น้ำดื่ม และวัสดุสัมผัสอาหาร ชี้แจงข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ความรู้ผู้บริโภคดังนี้ สารไดออกซิน (Dioxins) เป็นชื่อกลุ่มสารที่มีโครงสร้างและสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกัน ประกอบด้วย สารกลุ่มโพลี คลอริเนตเตท ไดเบนโซพารา ไดออกซิน (Polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) สารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตท ไดเบนโซ ฟูแรน (Polychlorinated dibenzo furans: PCDFs) และสารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตทไบฟีนิล ที่มีสมบัติคล้ายสารไดออกซิน (Dioxins-like polychlorinated biphenyls: DL-PCBs) ซึ่งกลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมี 29 ตัว และสารแต่ละตัวจะมีค่าความเป็นพิษแตกต่างกัน
นพ.อภิชัย กล่าวว่ากระแสข่าวเรื่องไดออกซินละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำดื่มเมื่อวางไว้ในที่ร้อนๆ เช่น หลังรถยนต์นั้น เป็นเหมือนเรื่องเล่าต่อๆ กันมาโดยปราศจากแหล่งข้อมูลที่แน่ชัด ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่างๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง ซึ่งไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้
ความจริงคือขวดพลาสติกขนาดเล็ก ปัจจุบันมีอยู่2ชนิดคือขวดสีขาวขุ่นทำจากพลาสติกชนิด PE (พอลิเอทิลีน) และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิด PET (พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต)ซึ่งนิยมใช้กันมากกว่าขวดแบบขาวขุ่น
สำหรับขวดบรรจุน้ำชนิดเติมซึ่งมีการบรรจุซ้ำจะเป็นขวดความจุประมาณ 20ลิตรมี3 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่นทำจากพลาสติก ชนิด PP (พอลิพรอพิลีน) ขวดใส สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อน ทำจากพลาสติกชนิด PC (พอลิคาร์บอเนต) และขวดพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีน เป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของไดออกซิน หรือถึงแม้ว่าพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงมากพอที่จะท้าให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกทั้งไม่นิยมใช้เพื่อบรรจุน้ำบริโภค
"เพื่อความชัดเจน ห้องปฏิบัติการไดออกซิน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ทำการทดลองโดยซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิพรอพิลีน พอลิคาร์บอเนต และพอลิไวนิลคลอไรด์ที่จำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน 17 ตัว และพีซีบี 18 ตัว
โดยใช้เทคนิคขั้นสูง Isotope Dilution และวัดปริมาณด้วยเครื่องมือ High Resolution Gas Chromatography/High Resolution Mass Spectrometry ผลการวิเคราะห์สรุปว่า ตรวจไม่พบ สารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง ดังนั้น จึงอยากเตือนผู้บริโภคควรพิจารณาแหล่งของข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับจากสื่อสังคมออนไลน์และตรวจสอบที่มาด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว
อนึ่ง สารไดออกซินเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แหล่งกำเนิดสำคัญของสารกลุ่มนี้คือกระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น การสร้างกลุ่มสาร ไดออกซินจากการเผาไหม้จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 200-550 องศาเซลเซียส และจะเริ่มถูกทำลายเมื่ออุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้มีการปลดปล่อยและสะสมสารกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ดิน หรือน้ำ ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้
sithiphong:
หมากเม่า ผลไม้พื้นบ้าน ขจัดสารพิษ ต้านมะเร็ง
-http://health.kapook.com/view90125.html-
หมากเม่า (หมอชาวบ้าน)
โดย สุภาภรณ์ เลขวัต, อุบลวรรณา ศรีมงคลลักษณ์ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
หมากเม่า หรือ มะเม่า ผลไม้พื้นบ้านที่ให้ประโยชน์ได้หลายส่วน เป็นอีกหนึ่งตำรับยาไทยที่คนไทยควรรู้จัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma thwaitesianum Muell.Arg
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อท้องถิ่น : มะเม่า ต้นเม่า (ภาคกลาง) หมากเม่า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) หมากเม้า บ่าเหม้า (ภาคเหนือ) เม่า หมากเม่าหลวง (พิษณุโลก) มัดเซ (ระนอง) เม่าเสี้ยน (ลำปาง) เป็นต้น
หมากเม่า มะเม่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
ลำต้น : หมากเม่าเป็นไม้พุ่มต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร เป็นไม้พื้นเมืองเนื้อแข็ง แตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม
ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีเขียวสด ปลายและโคนมนกลมถึงหยักเว้า ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบมันทั้ง 2 ด้าน แผ่นใบกว้าง 3.5-4.5 ซม. ยาว 5-7 ซม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ มักออกใบหนาแน่นเป็นร่มเงาได้อย่างดี
ดอก : ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด คล้ายช่อพริกไทย จะออกตามซอกใบใกล้ยอดและปลายกิ่ง แยกเพศกันอยู่คนละต้น ยาว 1-2 ซม. ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง มักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
ผล : ผลหมากเม่ามีขนาดเล็กเป็นพวง ภายใน 1 ผลประกอบด้วย 1 เมล็ด ผลดิบสีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม มีรสเปรี้ยว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงดำในที่สุด ผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวปนฝาดเล็กน้อย
ระยะเวลาออกดอกและติดผล : ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลสุกช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
แหล่งเพาะปลูก
หมากเม่าพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยมักพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และตามหัวไร่ปลายนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบได้มากที่เทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
คุณประโยชน์
ผลมะเม่าสุกมีปริมาณสารอาหาร วิตามิน กรดอินทรีย์ และกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด และเมื่อนำผลมะเม่าสุกมาทำการวิเคราะห์ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจำพวกสารแอนโทไซยานินและสารกลุ่มโพลีฟีนอล พบว่า น้ำมะเม่า 100 กรัม มีสารแอนโทไซยานิน 299.9 มิลลิกรัม และสารโพลีฟีนอล 566 มิลลิกรัม ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ชะลอความแก่ชรา ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตันในสมอง และช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่ายอีกด้วย
การวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พบว่าคุณค่าทางด้านโภชนาการของน้ำคั้นจากผลมะเม่า 100 กรัม ประกอบด้วย
สารอาหาร
ปริมาณ
ไขมัน
0.77 กรัม
โปรตีน
0.19 กรัม
ความชื้น 92.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
5.99 กรัม
เส้นใย 0.02 กรัม
วิตามินบี 1 0.221 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.113 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.13 มิลลิกรัม
แคลเซียม 126.35 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.70 มิลลิกรัม
กากมะเม่าหลังจากการคั้นน้ำยังคงอุดมด้วยสารที่มีประโยชน์ ได้แก่ สารประกอบฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบว่ามะเม่ามีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อเอชไอวี (กัมมาล และคณะ, 2546)
หมากเม่า มะเม่า
ตำรายาไทย
ใบและผล : ต้มน้ำอาบ แก้อาการซีดเหลือง โลหิตจาง
ใบ : ทาแก้ปวดศีรษะ แก้โรคผิวหนัง ใบสดนำมาอังไฟประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว
ผล : ทำยาพอก แก้ปวดศีรษะ แก้ช่องท้อง บวม ใช้ผสมน้ำอาบแก้อาการไข้
ต้นและราก : แก้กษัย บำรุงไต ขับปัสสาวะ แก้ตกขาว แก้ปวดเมื่อย
* ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร, 2550 ; วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540 อ้างอิงโดย สำนักหอสมุดและสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
น้ำมะเม่าพร้อมดื่ม
ส่วนผสม
น้ำมะเม่า 2 ถ้วยตวง
น้ำมะนาว 2 ช้อนชา
น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา
เกลือป่นเล็กน้อย
ขั้นตอนการทำ
1. นำมะเม่ามาล้างทำความสะอาด คั้นนาและกรองแยกกาก
2. นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน ปรับแต่งรสชาติตามชอบ แช่เย็นก่อนดึ่ม
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version