อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
108 เคล็ดกิน
sithiphong:
ลูกพลัม-องุ่นม่วง ล้างพิษต้านมะเร็ง
ไหนๆ สัปดาห์นี้ก็เน้นหนักนำเสนอเรื่องของน้ำที่ดื่มกินเข้าไป 'มุมสุขภาพ-กินดี' ขอส่งท้ายด้วย น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ช่วยล้างพิษให้ร่างกาย และต้านโรคมะเร็ง โดยอาศัยสรรพคุณจาก 'ลูกพลัม และ องุ่น' ที่ธรรมชาติมอบให้เป็นตัวช่วยลดพิษภัยให้กับสุขภาพ
ลูกพลัม หรือบางคนเรียก ลูกไหน หากนำไปตากแห้ง ก็จะเปลี่ยนชื่อเรียกไปเป็น ลูกพรุน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็ง ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ทำให้การสังเคราะห์เม็ดเลือดแดงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นภูมิคุ้มกันต้านแบคทีเรีย ทั้งยังมีไฟเบอร์หรือใยอาหารสูง เสริมระบบขับถ่าย
สำหรับ องุ่น เป็นตัวช่วยเพิ่มความเร็วในการเผาผลาญ ช่วยล้างพิษ คุมน้ำหนัก เพราะมีกรดไฟโตเคมิคอลเอลลาจิก และกรดทาร์ทาริก ฟอสฟอรัส กำมะถัน แคลเซียม เหล็ก รวมทั้งวิตามินบี 1 บี 2 และซี นั่นเอง
ส่วนผสม ประกอบด้วย...
* ลูกพลัม 1 ถ้วย
* องุ่นม่วง 1 ถ้วย
หลังจากล้างทำความสะอาดผลไม้ทั้งสองชนิดเรียบร้อยแล้ว ให้ผ่าครึ่งองุ่นโดยไม่ต้องคว้านเมล็ดออก ส่วนลูกพลัมให้หั่นเป็นชิ้นเล็ก จากนั้นนำส่วนผสมที่เตรียมไว้ไปสกัดพร้อมกันเพื่อเอาเฉพาะน้ำ ก่อนดื่มสามารถเติมน้ำแข็งป่นเพิ่มความเย็นชื่นใจ ซึ่งควรดื่มทันทีหลังสกัดน้ำเสร็จใหม่ๆ.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
takecareDD@gmail.com
.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=457&contentId=124766
.
sithiphong:
'น้ำมันปาล์ม' กับ 'สุขภาพ'
คอลัมน์ “X-RAY สุขภาพ” ในสัปดาห์นี้ขอเกาะกระแสปัญหา “น้ำมันปาล์ม” โดยให้ข้อมูลผู้อ่านเรื่องการใช้น้ำมันปาล์มประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นทอด หรือ ผัด พึงรู้เอาไว้
เริ่มจาก รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คนใช้น้ำมันปาล์มเยอะ เพราะมีราคาถูก น้ำมันปาล์มให้พลังงาน เหมาะกับการนำมาทอดอาหารเพราะทนความร้อนสูง แต่เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวสูงเช่นกัน ถ้ากินมาก ๆ โอกาสที่คอเลสเตอรอลจะขึ้น ไขมันแอลดีแอล( Low Density Lipoprotein : LDL) ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีจะขึ้นได้ ทำให้มีปัญหาหลอดเลือดที่จะไปเลี้ยงหัวใจ
คนไทยต้องเข้าใจว่า ถ้าเป็นการทอดปาท่องโก๋ หมูทอด เนื้อทอด อันนี้พอได้ เพราะเราไม่ได้กินน้ำมัน แค่มีน้ำมันติดอาหารนิดหน่อยไม่มีปัญหา แต่ถ้านำน้ำมันปาล์มมาทำอาหารประเภทผัดน้ำมันเยิ้ม ๆ ไม่เหมาะ ไม่ค่อยดี เพราะเหมือนกับว่าเรากินน้ำมันเข้าไปตรง ๆ ต่อให้เป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน ก็ไม่ดี ที่สำคัญไม่ควรจะนำมาใช้ซ้ำ เพราะน้ำมันปาล์มจะเสียสภาพ เวลากินน้ำมันที่ติดกับอาหารเข้าไปบางครั้งจะทำให้ถ่ายท้อง ถ่ายออกมาแบบเหลว ๆ ได้ แต่ไม่ใช่ท้องเสีย คือถ้าทำให้น้ำมันปาล์มร้อนประมาณ 180 องศาเซลเซียส แล้วลงมาที่อุณหภูมิห้อง พอนำมาใช้ซ้ำโดยทำให้อุณหภูมิร้อนขึ้นอีกโอกาสที่จะเกิดสารแปลกใหม่ได้ซึ่ง ไม่ค่อยดี
“ช่วงน้ำมันปาล์มราคาแพงเป็นโอกาสดีที่เราจะหันมาพิจารณาว่าเลิกกินน้ำมัน เถอะ กินอาหารต้ม นึ่ง ตุ๋น แทนก็แล้วกัน คือพยายามกินอาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบให้น้อยลง”
คนที่ไม่ควรกินน้ำมันปาล์ม คือ คนที่เป็นโรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง ไขมันในเลือดสูง ควรพยายามหลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม ถ้าจะใช้น้ำมันพืชประกอบอาหารควรใช้ประเภทไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน หรือน้ำมันข้าวโพด
ทั้งนี้ถ้ากินอาหารประเภทผัด ๆ ทอด ๆ ควรกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ จำพวก ผัก ผลไม้ สีเข้ม ๆ ด้วย อย่างกรณีที่จะผัดผัก ก็ควรใช้ผักสีเข้ม ๆ เช่น บรอกโคลี ถั่วงอก ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จะได้ไม่มีปัญหามะเร็งจากการใช้น้ำมันปรุงอาหาร เพราะในผักมีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือถ้ากินหมูทอด ไก่ทอด ควรกินผัก ผลไม้ตามด้วยเช่นกัน
ด้าน นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันทำกับข้าวที่ราคาย่อมเยาที่สุดจึงเป็นที่นิยมสำหรับ การทอดที่ต้องใช้น้ำมันมาก ๆ เช่น ไก่ ปาท่องโก๋ กล้วยแขก หรือของชุบแป้งทอด นอกจากนี้ยังมีในของกิน เช่น ไอศกรีม ครีมเทียม นมเทียม คุกกี้ เบเกอรี่ นมพร่องมันเนย เนยเทียม อาหารกล่องสำเร็จรูป มีในของใช้ เครื่องอุปโภค เช่น เทียนไข ลิปสติก สบู่ ครีมทาผิว
น้ำมันปาล์มเหมาะกับอาหารทอดที่ใช้ความร้อนสูง เช่น ทอดน้ำมันท่วม แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาปรุงของเย็น อย่างการทำน้ำสลัดหรือทอดไข่ซึ่งไม่ต้องใช้ความร้อนสูงและไม่เหมาะที่นำ มาทอดซ้ำบ่อย ๆ เพราะกรดไขมันในน้ำมันปาล์มที่ทอดซ้ำมีสิทธิกลายไปเป็นไขมันร้ายทำลายหัวใจ ได้
ของดีในน้ำมันปาล์ม เช่น มีวิตามินเอ วิตามินอี เป็นแหล่งวิตามินธรรมชาติ กรดไขมัน มีทั้งอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว และไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ที่ค่อนข้างเป็นมิตรเช่นเดียวกับในน้ำมันมะพร้าว
ข้อเสียน้ำมันปาล์ม คือ 1. กรดไขมันอิ่มตัวสูง มีโอกาสสนับสนุนให้ไขมันร้ายคือแอลดีแอลในเลือดสูงและไขมันดีคือเอชดีแอล ต่ำ ดังนั้นไม่ควรพึ่งแต่น้ำมันปาล์มทุกมื้อทุกครั้งในการปรุงอาหาร 2. มีโอกาสซ่อนไขมันทรานส์ซึ่งเป็นไขมันอันตราย 3. ยิ่งทอดซ้ำยิ่งเสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะจะทำให้น้ำมันปาล์มเปลี่ยนสภาพ ทำให้มีสารโพล่าร์ที่เกิดจากการทอดซ้ำเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 4. ทำให้เกิดสิว คนที่ใช้น้ำมันปาล์มทอดของอยู่หน้าเตานานๆจะมีไอระเหยน้ำมันออกมาจับหน้าตา พาให้เกิดอักเสบเป็นสิวได้ หรือในคนที่ปวดศีรษะบ่อย ปวดประจำเดือนทรมานอย่ากินน้ำมันพืชมากเกินไปเพราะมีกรดอักเสบ ชื่อโอเมก้าหกอยู่ค่อนข้างมาก
น้ำมันแต่ละชนิดมีดีในตัวมันต่างกันออกไปเหมือนกับคนเรา แม้น้ำมันหมูที่คู่คนไทยมาแต่ครั้งยังใช้ครัวไฟก็มีของดี หลักที่อยากฝากไว้คือไม่ควรใช้น้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่งแช่ไว้ติดครัวตลอด ให้สลับกันไปบ้าง ยกตัวอย่าง มื้อนี้ใช้น้ำมันปาล์ม มื้อหน้าอาจเป็นน้ำมันรำข้าวหรือน้ำมันหมูบ้างก็ยังได้ ช่วยแก้ปัญหาน้ำมันแพงแถมบางมื้อยังได้ของอร่อยอย่างกากหมูไว้เจริญอาหาร ด้วย.
นวพรรษ บุญชาญ
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=532&contentId=125009
.
sithiphong:
5 เชื้อโรคที่อาจปะปนมากับอาหารของคุณ
โดย ธรรมชาติแล้วเชื้อแบคทีเรียจะมีปะปนมากับอาหารทุกชนิด แต่เมื่อนำมาปรุงอาหารผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่ถูกต้อง และถูกสุขลักษณะ เชื้อเหล่านี้ก็จะถูสลายไป แต่ในทางกลับกันหากนำไปปรุงไม่ถูกวิธีก็จะเพิ่มปริมาณและส่งผลเสียต่อร่าง กาย และนี่คือ 5 เชื้อโรคที่คุณอาจพบในอาหารโดยไม่ได้ตั้งใจค่ะ
คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเกนส์ (Clostridium perfringens)
พบ ใน เนื้อสัตว์ แกง อาหารแห้ง เช่น กะปิ น้ำพริกต่างๆ รวมถึงอาหารที่ยังร้อนไม่ได้ที่ หรือแช่แข็งอาหารช้าเกินไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้ ปวดบิดในท้อง โดยปกติจะไม่มีไข้ เริ่มมีอาการภายใน 1 - 16 ชั่วโมง และจะเป็นนาน 1 - 2 วัน แต่สามารถป้องกันได้โดยการปรุงอาหารร้อนๆ ให้เนื้อสุกเกิน 60 องศาเซลเซียส หรือนำไปอุ่นให้ได้อย่างน้อย 73 องศาเซลเซียส แช่แข็งอาหารทันที และเก็บอาหารในภาชนะที่สะอาดค่ะ
เอสเชอริเซีย โคไล หรือ เชื้ออี.โคไล
จะ พบจากการปนเปื้อนในโรงฆ่าสัตว์ พบมากที่สุดในเนื้อบดที่ปรุงไม่สุก แหล่งอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ นมดิบ น้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอไรซ์ อุจจาระ และน้ำสกปรก เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำและถ่ายเป็นเลือดภายใน 24 ชั่วโมง ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ บางรายมีอาเจียน แต่ไม่มีไข้ เริ่มมีอาการภายใน 1 - 8 วัน และจะเป็นนาน 5 - 8 วัน ส่วนการป้องกันนั้นทำได้โดยปรุงเนื้อสัตว์ให้เนื้อในสุกถึง 70 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงการดื่มนมดิบหรือน้ำผลไม้ที่ไม่ได้พาสเจอไรซ์ และล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
ซาลโมเนลลา (Salmonella)
พบ ใน น้ำนม เนื้อสัตว์ดิบหรือปนเปื้อน ไข่แดงปนเปื้อน พบในอาหารที่ปรุงไม่สุก เชื้อโรคมักจะแพร่ไปกับมีด เขียง หรือกับผู้ป่วยติดเชื้อที่รักษาสุขอนามัยไม่ดี เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการท้องร่วงรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้สูงถึง 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้น เริ่มมีอาการภายใน 6 - 72 ชั่วโมง และจะเป็นนาน 1 - 14 วัน สำหรับการป้องกันควรปรุงเนื้อสัตว์ให้สุก หลีกเลี่ยงการดื่มนมดิบ ไข่ดิบ หมั่นทำความสะอาดมีด เขียง และล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
สเตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)
แพร่ เชื้อจากการสัมผัสมือ ไอ และจาม เชื้อโรคจะเติบโตได้ดีในเนื้อสัตว์ น้ำปรุงสลัด ครีมซอส ขนมจีน อาหารและขนมที่ใช้มือหยิบจับ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการถ่ายเหลวรุนแรง ปวดบิดในท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เริ่มมีอาการภายใน 1 - 6 ชั่วโมง และจะเป็นนาน 1 - 2 วัน สามารถป้องกันได้โดยการอย่าวางอาหารที่ติดเชื้อง่ายทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง นานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ล้างมือและเครื่องครัวก่อนนำมาปรุงอาหารทุกครั้ง
วิบริโอ วัลนิฟิคัส (Vibrio vulnificus)
พบในอาหารทะเลดิบทุกชนิด โดยเฉพาะหอยนางรม หอยแครง และหอยแมลงภู่ดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ
เมื่อ เข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอาการเป็นไข้ หนาวสั่น เป็นโรคผิวหนัง เริ่มมีอาการภายใน 1 ชม. – 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยร้อยละ 50 มีโอกาสเสียชีวิตได้ ส่วนการห้องกันคือให้งดเว้นการกินอาหารทะเลดิบทุกชนิด และต้องปรุงให้สุกทุกครั้งก่อนรับประทาน
รู้แบบนี้แล้วอาหารมื้อต่อไปก็ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทานจะดีที่สุดนะคะ
http://www.womanstoryonline.com/detail-page-1815.html
.
sithiphong:
“ไข่มดแดง” เมนูเด็ดหน้าร้อน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
10 มีนาคม 2554 18:28 น.
“ไข่มดแดง” เป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารตามฤดูกาล ที่เมื่อได้ลิ้มลองแล้วก็มักจะติดอกติดใจกันถ้วนหน้า ส่วนใหญ่แล้วจะได้ยินกันว่าเป็นอาหารจานเด็ดของภาคอีสาน แต่ในทางภาคเหนือและภาคกลางก็มีให้กินเช่นกัน แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก หรือยังไม่เคยได้ลองชิม ก็มาทำความรู้จักกับ “ไข่มดแดง” กันเสียหน่อยดีกว่า
ไข่มดแดงจัดว่าเป็นอาหารตามฤดูกาล ในช่วงฤดูร้อน หรือประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อยไปจนถึงเดือนมิถุนายน โดยสามารถแบ่งไข่มดแดงออกไปเป็นสองชนิด คือ ไข่ผาก เป็นไข่ที่มดแดงออกมาเพื่อให้เจริญเติบโตเป็นตัวมดแดง จะมีลักษณะเล็ก ลีบ ฝ่อ ไม่เต่งตึง ส่วนใหญ่แล้วไข่ผากจะมีตลอดทั้งปี แต่ก็ไม่นิยมนำมาปรุงอาหาร เนื่องจากมีรสเปรี้ยว และเลือกไข่ออกจากแม่มดแดงได้ยาก ถ้านำมาปรุงอาหารก็จะใช้ใส่ต้มยำ หรือใส่อาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยว
ส่วน ไข่ใหญ่ หรือ ไข่มดแดง จะมีขนาดใหญ่เต่งตึง และมีน้ำในไข่มากกว่าไข่ผาก ไข่ใหญ่จะเจริญเติบโตออกมาเป็นแม่เป้ง ซึ่งเป็นมดแดงอีกแบบหนึ่งที่สามารถบินได้ เมื่อแม่เป้งโตเต็มที่แล้วก็จะออกไข่มาเป็นลูกมดแดง ไข่ใหญ่จะมีเฉพาะในฤดูร้อน เพราะเป็นช่วงที่มดแดงจะเร่งแพร่ขยายพันธุ์ รังมดแดงที่มีไข่ใหญ่ เต่งและตึงจะเริ่มมีไข่ตั้งแต่ช่วงปลายฤดูหนาวประมาณเดือน กุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน แต่ช่วงที่นิยมนำมากินกันมากที่สุดคือช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เพราะไข่มดแดงช่วงนี้จะใหญ่ เต่ง ตึง และอร่อยที่สุด
ไข่มดแดงสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายเมนู อย่างเช่น ต้มกับผักหวานป่า นำไปใส่ไข่เจียว ทำยำไข่มดแดง เป็นต้น ซึ่งไข่มดแดงนั้นก็มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีน ฟอสฟอรัส และแคลเซียม มีสรรพคุณทางยาช่วยระบายท้อง ช่วยให้เจริญอาหาร และเป็นอาหารบำรุงธาตุน้ำ แต่มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ ถ้าหากกินมากจะทำให้เกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000029397
.
.
.
sithiphong:
‘เฉาก๊วย’ ของว่างมาจากไหน?
“เฉาก๊วย” ขนมหวานสีดำ ที่มีลักษณะหยุ่น ๆ เหมือนวุ้น ต้องรับประทานพร้อมกับน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง ใครรู้บ้างว่า จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่วุ้น แต่มันทำมาจากพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งพืชชนิดนั้นก็คือ “ต้นเฉาก๊วย” นั่นเอง
“ต้นเฉาก๊วย” เป็นพืชล้มลุก ประเภทคลุมดิน ลักษณะเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นกลม เปราะและหักง่าย พืชชนิดนี้เป็นพืชในตระกูลเดียวกับพวกใบสะระแหน่ หรือ มิ้นต์ แต่ใบจะใหญ่และเรียวแหลมกว่า ใบเป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ มีสีเขียวสด ดอกสีขาว ลักษณะคล้ายดอกกะเพรา ออกได้เรื่อย ๆ ตลอดทั้งปี คนไทยเรียกว่า “หญ้าเฉาก๊วย” แปลว่า ขนมที่ทำจากหญ้า (“เฉา” แปลว่า “หญ้า”, “ก๊วย” แปลว่า “ขนม”)
พืชชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำกิ่ง แต่ก็สามารถขึ้นได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ที่ชอบทั้งแดดและความชุ่มชื้น ปลูกได้ทั้งในดินกลางแจ้งและลงกระถาง ใบเมื่อนำไปตากแห้งแล้วเอาไปต้มจนเดือด แล้วกรองเอาแต่น้ำก็จะได้น้ำเฉาก๊วย หรือนำยางไปผสมแป้งให้มันอยู่ตัว ก็จะได้เฉาก๊วยที่เรารับประทานกัน สรรพคุณนอกจากจะช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำแล้ว ยังสามารถควบคุมโรคความดันสูงได้อีกด้วย.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
.
Daily News Online > โทรโข่ง > หน้าเกร็ดความรู้ > ‘เฉาก๊วย’ ของว่างมาจากไหน?
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=132305
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version