ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค  (อ่าน 6397 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
01.เรื่องภิกษุ 5 รูป


พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุ  5  รูป  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  จกฺขุนา  สํวโร  สาธุ  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  ภิกษุ 5  รูป  ในกรุงสาวัตถี  สำรวมระวังทวาร 5 (ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย)  ต่างรูปต่างทวารกัน  ซึ่งแต่ละรูปก็อ้างว่าตนรักษาทวารที่รักษาได้ยากยิ่ง  เถียงกันไม่เป็นที่ยุติ  จึงได้นำเรื่องขึ้นทูลถามพระศาสดา  ว่าทวารไหนรักษายากยิ่งกว่ากัน ? พระศาสดา  ไม่ทรงทำให้ภิกษุรูปหนึ่งรูปใดน้อยใจ  ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ทวารเหล่านั้นแม้ทั้งหมด  เป็นสิ่งที่รักษาได้โดยยากแท้ “  และใช้วิธีนำอดีตชาติของภิกษุนั้นแต่ละรูปมาทรงเล่า  เพื่อจะทรงสั่งสอนว่าภิกษุเหล่านี้เคยถึงความพินาศ เมื่อครั้งอดีตมาแล้วก็เพราะไม่สำรวมระวังทวารทั้ง  5 โดยทรงนำเรื่องตักกสิลาชาดกมาเล่า  จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสว่า “ธรรมดาภิกษุ  ควรสำรวมทวารแม้ทั้งหมด  เพราะว่า  ภิกษุสำรวมทวารเหล่านั้นนั่นแล  บ่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

จกฺขุนา   สํวโร  สาธุ
สาธุ  โสเตน  สํวโร
ฆาเนน  สํวโร  สาธุ
สาธุ  ชิวฺหาย  สํวโร ฯ


กาเยน  สํวโร  สาธุ
สาธุ  วาจาย  สํวโร
มนสา  สํวโร  สาธุ
สาธุ  สพฺพตฺถ  สํวโร
สพฺพตฺถ  สํวุโต  ภิกฺขุ
สพฺพทุกขา  ปมุจฺจติ ฯ


ความสำรวมทางตา  เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ความสำรวมทางหู  เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ความสำรวมทางจมูก  เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ความสำรวมทางลิ้น  เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ.


ความสำรวมทางกาย  เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ความสำรวมทางวาจา  เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ความสำรวมทางใจ  เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ 
ความสำรวมในทวารทั้งปวง เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ

ภิกษุสำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง    ภิกษุ 5 รูป  บรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนามีประโยชน์  แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกัน.



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 11:21:05 am »


  02.เรื่องภิกษุฆ่าหงส์

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าสงส์ตัวหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  หตฺถสญฺญโต  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  ภิกษุรูปหนึ่ง  มีความเชี่ยวชาญในการในการดีดก้อนกรวด  สามารถดีดวัตถุที่เคลื่อนที่ได้โดยไม่พลาด  วันหนึ่ง  ภิกษุรูปนี้นั่งอยู่กับภิกษุอีกรูปหนึ่ง  หลังจากลงไปอาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดีขึ้นมาแล้ว  ก็เห็นหงส์ 2 ตัวบินมาในอากาศ  จึงได้บอกกับภิกษุอีกรูปหนึ่งที่นั่งอยู่ด้วยกันว่า  จะเอาก้อนกรวดดีดไปที่ตาของหงส์ตัวหนึ่งที่บินมานั้น  ว่าแล้วก็ดีดก้อนกรวดไป   เมื่อหงส์ได้ยินเสียงก้อนกรวด  มันก็หันกลับมามอง ก้อนกรวดที่ภิกษุดีดไปนั้นก็ได้ถูกที่ตาข้างหนึ่งทะลุไปออกที่ตาอีกข้างหนึ่งของนกตัวนั้น   หงส์ตัวนั้นส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดและม้วนตัวตกลงมาที่แทบเท้าของภิกษุนั้น

ภิกษุทั้งหลายที่เห็นเหตุการณ์ก็ได้นำภิกษุนั้นไปเฝ้าพระศาสดา  พระศาสดาทรงตำหนิการกระทำของภิกษุนั้น  แล้วตรัสว่า “ภิกษุ  เธอบวชในพระศาสนาที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ แต่กลับกระทำแล้วอย่างนี้  เพราะเหตุอะไร?  บัณฑิตในปางก่อน   เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ แม้จะเป็นฆราวาสครองเรือนอยู่  ก็ยังรังเกียจการกระทำเช่นนี้ ส่วนเธอบวชในพระพุทธศาสนา หาได้รังเกียจแม้แต่น้อยไม่”   และได้ทรงนำเรื่องในชาดกเรื่องหนึ่งมาทรงเล่า  แล้วได้สรุปว่า “ภิกษุ  บัณฑิตในกาลก่อน  แม้จะมีเหตุจำเป็นเกิดขึ้น ก็ยังรังเกียจแม้แต่เรื่องทำผิดเล็กน้อย แต่เธอสิบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นด้วยกับเรา  ยังทำปาณาติบาตอยู่เช่นนี้  นับว่าได้ทำกรรมอันหนักยิ่งนัก  ธรรมดาภิกษุ  ควรเป็นผู้สำรวมด้วยมือ  เท้า  และวาจา
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

หตฺถสญฺญโต  ปาทสญฺญโต
วาจาย  สญฺญโต  สญฺญตุตฺตโม
อชฺฌตฺตรโต  สมาหิโต
เอโก  สนฺตุสิโต  ตมาหุ  ภิกขํ ฯ


บัณฑิตทั้งหลาย   กล่าวบุคคลผู้มีมือสำรวมแล้ว
มีเท้าสำรวมแล้ว  มีวาจาสำรวมแล้ว  มีตนสำรวมแล้ว
ยินดีในธรรมอันเป็นไปภายใน  มีจิตตั้งมั่นแล้ว
เป็นคนโดดเดี่ยว  สันโดษ  ว่า เป็นภิกษุ
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 11:31:01 am »


  03.เรื่องภิกษุชื่อโกกาลิกะ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ    ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โย  มุขสญฺญโต  เป็นต้น

ภิกษุชื่อโกกาลิกะ  ด่าว่าพระอัครสาวกทั้งสอง คือ  พระสารีบุตรเถระ  และพระมหาโมคคัลลานเถระ  ครั้นมรณภาพแล้ว  ผลกรรมนี้ได้ส่งให้ไปเกิดในปทุมนรก  เมื่อภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้มาสนทนากัน  พระศาสดาทรงทราบ  ตรัสว่า  ภิกษุโกกาลิกะนี้เคยเดือดร้อนเพราะปากมาตั้งแต่ในอดีตชาติ และได้ทรงนำเรื่องในอดีตมาทรงเล่าว่า  ภิกษุโกกาลกะนี้เคยเกิดเป็นเต่า  ถูกหงส์ 2 ตัวคาบ  จะพาไปเที่ยวที่ถ้ำแห่งหนึ่ง  โดยเต่าคาบกลางไม้  ส่วนหงส์ 2  ตัวนั้นคาบที่ปลายไม้ตัวละข้าง แล้วทะยานบินขึ้นสู่อากาศ  พวกเด็กๆเห็นหงส์คาบเต่าบินมา  ก็ร้องตะโกนว่า  “หงส์หามเต่า ๆ” เต่าอายพวกเด็กๆ นึกอยากจะพูดว่า “เต่าหามหงส์  ไม่ใช่หงส์หามเต่า”  แต่พออ้าปากจะพูด ปากก็เลยหลุดจากไม้ที่คาบมา  ตกลงมาตายที่พื้นดิน  เมื่อทรงเล่าเรื่องในอดีตจบลงแล้ว  พระศาสดาตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมดาเป็นผู้สำรวมปาก  ประพฤติเรียบร้อย   ไม่ฟุ้งซ่าน  มีจิตสงบ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โย  มุขสญฺญโต  ภิกขุ
มนฺตภาณี   อนุทธโต
อตฺถํ  ธมฺมญฺจ  ทีเปติ
มธุรนฺตสฺส  ภาสิตํ  ฯ


ภิกษุใด  สำรวมปาก
มีปกติกล่าวด้วยปัญญา
ไม่ฟุ้งซ่าน  แสดงอรรถและธรรม
ภาษิตของภิกษุนั้น  ย่อมไพเราะ
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 11:40:49 am »


  04.เรื่องพระธรรมารามเถระ

พระธรรมารามเถระ  พอได้ทราบข่าวว่า  พระศาสดาจะเสด็จดับขันธปรินิพพานภายใน  4  เดือนข้างหน้า  แทนที่จะกระทำอย่างภิกษุรูปอื่นๆ ที่คอยติดตามพระศาสดาอยู่ตลอดเวลา  กลับปลีกตัวเองไปบำเพ็ญสมณธรรม  โดยหวังจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก่อนที่พระศาสดาจะดับขันธ์ปรินิพพานให้ได้  ภิกษุทั้งหลายเข้าใจผิด  คิดว่าพระธรรมารามเถระ ไม่จงรักภักดีพระศาสดา  จึงได้นำความขึ้นกราบทูลให้ทรงทราบ  พระศาสดามีรับสั่งให้เรียกตัวมาเฝ้าแล้วตรัสถามถึงเหตุผล  เมื่อทรงทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้ว  ได้ประทานสาธุการแก่พระธรรมารามเถระว่า  “ดีละ ๆ”  แล้วตรัสว่า   “ภิกษุทั้งหลาย  อันภิกษุผู้มีความรักในเราแม้รูปอื่น  พึงเป็นเช่นภิกษุธรรมารามนี้แหละ  แท้จริง  ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อทำการบูชาด้วยระเบียบและของหอมเป็นต้น  หาชื่อว่าทำการบูชาแก่เราไม่  ผู้ปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเท่านั้น  จึงชื่อว่าบูชาเรา
จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ธมมาราโม  ธมฺมรโต
ธมมํ  อนุวิจินฺตยํ
ธมฺมํ  อนุสสรํ  ภิกฺขุ
สทฺธมฺมา  น  ปริหายติ  ฯ


ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี  ยินดีแล้วในธรรม
ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม
ระลึกถึงธรรมอยู่

ย่อมไม่เสี่อมจากพระสัทธรรม
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุนั้นบรรลุพระอรหัตตผล  พระธรรมเทศนามีประโยชน์  แม้แก่ชนผู้มาประชุมกัน.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2012, 11:48:26 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 11:47:23 am »



05. เรื่องภิกษุคบภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภภิกษุผู้คบภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สลาภํ  นาติมญฺเญยฺย  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  ภิกษุรูปหนึ่ง รับคำเชิญจากภิกษุที่เป็นพวกเดียวกับพระเทวทัต ให้ไปพักด้วย  และได้พักอยู่ที่นั่น 2-3 วัน  หลังจากกลับมาอยู่วัดเดิมแล้ว  ภิกษุอื่นๆได้นำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลพระศาสดาว่า ภิกษุรูปนี้ไปสมาคมกับภิกษุที่เป็นพวกของพระเทวทัต   ถึงขนาดไปพักอยู่ที่วัดของพระเทวทัตเป็นเวลา 2-3  วัน  ไปฉัน  ไปจำวัตรกับภิกษุพวกนั้นด้วย   พระศาสดามีรับสั่งให้ภิกษุนั้นมาเฝ้า  ทรงถามว่าเป็นจริงอย่างที่ภิกษุทั้งหลายกล่าวหาหรือไม่ ภิกษุนั้นกราบทูลว่าได้ไปพักที่วัดแห่งนั้นเป็นเวลา  2-3 วันจริง  แต่ไม่ได้ยินดีคำสอนในลัทธิของพระเทวทัต

พระศาสดาได้ทรงตำหนิภิกษุนั้น  และได้ทรงชี้ว่าพฤติกรรมเช่นนั้นส่อไปในทางที่จะทำให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นศิษย์ของพระเทวทัต  และตรัสว่า  “แม้เธอจะไม่ชอบใจลัทธิคำสอนของพระเทวทัตก็จริง  แต่การที่เธอไปที่นั่นส่อแสดงว่าเธอเป็นสาวกของพระเทวทัต”     และได้ทรงนำเรื่องในมหิฬามุขชาดกมาเล่า  แล้วตรัสว่า   “ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมดาภิกษุ  พึงเป็นผู้ยินดีด้วยลาภของตนเท่านั้น  การปรารถนาลาภของคนอื่นไม่สมควร  เพราะบรรดาฌาน   วิปัสสนา  มรรค  และ  ผลทั้งหลาย  แม้ธรรมสักอย่างหนึ่ง  ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารถนาลาภของผู้อื่น  แต่คุณชาติทั้งหลายมีฌานเป็นต้น  ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยินดีด้วยลาภของตนเท่านั้น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท สองพระคาถานี้ว่า

สลาภํ  นาติมญเญยฺย
นาญฺเญสํ  ปิหยํ  จเร
อญฺเญสํ  ปิหยํ  ภิกฺขุ
สมาธิ  นาธิคจฺฉติ  ฯ

อปฺปลาโภปิ  เจ  ภิกขุ
สลาภํ  นาติมญฺญติ
ตํ เว เทวา  ปสํสนฺติ
สุทธาชีวํ  อตนฺทิตํ ฯ


ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น
ภิกษุเมื่อปรารถนาลาภของผู้อื่น
ย่อมไม่ประสบสมาธิ.

ถ้าภิกษุแม้เป็นผู้มีลาภน้อย
ก็ไม่ดูหมิ่นลาภของตน
เทวดาทั้งหลาย  ย่อมสรรเสริญภิกษุนั้นแล

ว่าผู้มีอาชีพหมดจด  ไม่เกียจคร้าน
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 12:13:25 pm »



06. เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์ชื่อปัญจัคคทายก  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สพฺพโส  นามรูปสฺมึ เป็นต้น

มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง  ปกติจะถวายทานที่เกี่ยวข้องกับข้าวในนา  5 ครั้ง   คือ  ครั้งที่ 1  ให้ทานในตอนเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ  (เขตตัคคะ) ครั้งที่ 2  ให้ทานในตอนขนข้าวเข้าลาน(ขลัคคะ)  ครั้งที่ 3  ให้ทานในตอนนวดข้าว(ขลภัณฑัคคะ)  ครั้งที่ 4  ให้ทานในตอนเอาข้าวสารลงในหม้อข้าว(อุกขลิกัคคะ)  และครั้งที่ 5 ให้ทานในตอนที่คดข้าวใส่ภาชนะ(ปาฏิคคะ)  พราหมณ์ผู้นี้  เมื่อยังไม่ให้แก่ปฏิคาหาหกที่มาขอ  จะไม่ยอมบริโภคอาหาร เพราะเหตุนั้น  เขาจึงมีชื่อว่า  ปัญจัคคทายก(ผู้ให้สิ่งเลิศ 5 ครั้ง)

วันหนึ่ง  พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์และนางพราหมณี   เข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์  และทรงทราบว่าบุคคลทั้งสองนี้จะได้บรรลุพระอนาคามิผล  ดังนั้น  พระศาสดาจึงได้เสด็จไปประทับยืนอยู่ที่ประตูบ้านของบุคคลทั้งสองนั้น   ขณะนั้นพราหมณ์กำลังรับประทานอาหารอยู่  โดยหันหน้าเข้าข้างในบ้าน  เขาจึงไม่เห็นพระศาสดา   ส่วนนางพราหมณีที่อยู่ใกล้ๆกับพราหมณ์มองเห็นพระศาสดา  แต่กลัวว่าหากพราหมณ์เห็นพระศาสดายืนบิณฑบาตอยู่ที่ประตูบ้าน  ก็จะนำข้าวในจานทั้งหมดไปใส่บาตร  และจะทำให้นางต้องหุงข้าวอีก   นางจึงไปยืนบังอยู่ข้างหลังสามีเพื่อมิให้สามีมองเห็นพระศาสดา  ต่อมานางได้ค่อยๆเดินถอยหลังไปยังจุดที่พระศาสดาประทับยืนอยู่นั้น  และได้ย่อตัวลงกราบทูลด้วยเสียงค่อยๆว่า “นิมนต์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด

แต่พระศาสดาไม่ยอมเสด็จออกไปจากบ้านนั้น  พระองค์ทรงสั่นพระเศียร  แสดงสัญญาณว่า  เราจักไม่ไป  นางพราหมณีเห็นอากัปกิริยาของพระศาสดา  ก็นึกขันจนกลั้นไม่อยู่  ได้ส่งเสียงหัวเราะอย่างขบขัน  พราหมณ์จึงได้เหลียวหลังกลับมามอง  เห็นพระศาสดา   จึงพูดกับนางพราหมณีว่า “ นางผู้เจริญ  ทำไมหล่อนไม่บอกว่าพระราชบุตรมาประทับยืนอยู่ที่ประตูบ้านเรา  อย่างนี้ทำให้เราเสียหายมาก  หล่อนทำกรรมหนักแล้ว”  ว่าแล้วก็รีบยกภาชนะอาหารที่ตนบริโภคแล้วครึ่งหนึ่ง  ไปใกล้พระศาสดา  แล้วกราบทูลว่า  “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  ข้าพระองค์ถวายทานอันเลิศในโอกาสทั้ง 5  แล้วจึงบริโภค   ข้าพระองค์รับประทานอาหารนี้ไปส่วนหนึ่งแล้ว  ยังเหลืออยู่อีกส่วนหนึ่ง  ขอพระองค์ได้โปรดรับอาหารส่วนนี้ของข้าพระองค์เถิด

พระศาสดาตรัสตอบว่า “ดูก่อนพราหมณ์  ขึ้นชื่อว่าข้าวทุกอย่างสมควรแก่เราทั้งนั้น  ไม่ว่าจะเป็นข้าวที่ยังไม่รับประทาน  ข้าวที่รับประทานไปเป็นบางส่วน  หรือข้าวที่เหลือเดน   ดูก่อนพราหมณ์  เพราะพวกเราเป็นผู้อาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีพ  เป็นเช่นกับพวกเปรต”  พราหมณ์มีความประหลาดใจที่ได้ยินพระดำรัสเช่นนี้ของพระศาสดา  และในขณะเดียวกันก็เกิดความปิติยินดีที่พระศาสดายอมรับข้าวของตน  จากนั้น  พราหมณ์ได้ทูลถามพระศาสดาว่า  พระองค์ใช้เกณฑ์อะไรกำหนดบุคคลว่าเป็นภิกษุ  พระศาสดาทรงทราบด้วยพระญาณพิเศษว่าทั้งพราหมณ์และนางพราหมณีได้เรียนรู้ถึงเรื่องของนามและรูปมาแล้วในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ  ดังนั้น  พระองค์จึงตรัสว่า  “ดูก่อนพราหมณ์  บุคคลผู้ไม่กำหนัด ไม่ข้องอยู่ในนามและรูป  ชื่อว่า  เป็นภิกษุ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สพฺพโส  นามรูปสฺมึ
ยสส  นตฺถิ  มมายิตํ
อสตา  จ  น  โสจติ
ส  เว  ภิกฺขูติ  วุจฺจติ  ฯ


ความยึดถือในนามรูปว่าเป็นของๆเรา
ไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง
อนึ่ง  ผู้ใด ไม่เศร้าโศก  เพราะนามรูปนั้นไม่มีอยู่
ผู้นั้นแล  เราเรียกว่า ภิกษุ
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภรรยาและสามีทั้ง 2  บรรลุอนาคามิผล  พระธรรมเทศฯมีประโยชน์  แม้แก่ชนผู้มาประชุมกัน.



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 01:07:11 pm »



07.เรื่องสัมพหุลภิกษุ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุมากรูป  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  เมตฺตาวิหารี  เป็นต้น

พระโสณกุฏิกัณณเถระ  ได้รับนิมนต์จากมหาอุบาสิกาโยมมารดา  ให้ไปแสดงธรรมโปรด  พระเถระได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ ที่สั่งทำเป็นพิเศษพร้อมด้วยมณฑป  แสดงธรรมโปรดโยมมารดาและหมู่บริวารอยู่ที่บริเวณใจกลางเมือง  ขณะจัดให้มีงานบุญครั้งนี้เป็นช่วงเวลากลางคืน  พวกโจรได้ฉวยโอกาสตอนที่มหาอุบาสิกาและหมู่บริวารไม่อยู่บ้าน  ทำการปล้นบ้านของมหาอุบาสิกา  ทั้งนี้หัวหน้าโจรไปยืนคุมเชิงอยู่ในบริเวณงานแสดงธรรมนั้น  ซึ่งเขาได้วางแผนไว้ว่า  จะฆ่ามหาอุบาสิกาโยมมารดาของพระเถระนั้นทันที หากนางจะกลับมาบ้านก่อนที่พวกโจรจะปล้นเสร็จ  หญิงคนใช้ในบ้านได้มาแจ้งข่าวเรื่องโจรเข้าปล้นบ้านให้มหาอุบาสิกาได้ทราบถึง 3 ครั้ง  แต่นางก็มิได้ให้ความสนใจ  มิหนำซ้ำยังขับไล่หญิงคนใช้นั้นกลับบ้านไปทุกครั้ง

โดยนางบอกว่าอย่ามารบกวน  นางกำลังฟังธรรมยังไม่จบ
  ฝ่ายนายโจรที่ยืนคุมเชิงอยู่นั้น  ก็ได้ยินคำพูดที่มหาอุบาสิกากล่าวกับหญิงคนใช้ตลอด เกิดความประทับใจมาก  ได้เดินออกจากบริเวณที่จัดงานนั้น  ไปบอกบริวารโจรให้ขนเข้าของทั้งหมดกลับไปคืนที่บ้านของมหาอุบาสิกาดังเดิม
  จากนั้นได้กลับมาขออุปสมบทจากพระโสณกุฏิกัณณเถระ  เมื่อพวกภิกษุอดีตโจรเหล่านี้นำหัวข้อพระกัมมัฏฐานจากพระโสณกุฏิกัณณเถระเดินทางเข้าป่าไปปฏิบัติธรรมอยู่ในที่สงัดแห่งหนึ่ง  พระศาสดาได้แผ่พระรัศมีไปปรากฏอยู่เบื้องหน้าของภิกษุเหล่านี้  แล้วตรัสพระธรรมบท  9 พระคาถานี้ว่า

เมตฺตาวิหาริ  โย  ภิกฺขุ
ปสนฺโน  พุทฺธสาสเน
อธิคจฺเฉ  ปทํ  สนฺตํ
สงฺขารูปสมํ  สุขํ  ฯ


สิญฺจ  ภิกฺขุ   อิมํ  นาวํ
สิตฺตา  เต  ลหุเมสฺสติ
เฉตวา  ราคัญฺจ  โทสญฺจ
ตโต  นิพฺพานเมหิสิ ฯ

ปญฺจ  ฉินฺเท  ปญฺจ  ชเห
ปญจ  จุตฺตริ  ภาวเย
ปญฺจ  สงฺคาติโต  ภิกฺขุ
โอฆติณฺโณติ  วุจฺจติ  ฯ


ฌาย   ภิกฺขุ  มา  จ  ปมาโท
มา  เต  กามคุเณ  ภมสฺสุ  จิตฺตํ
มา  โลหคุฬํ  คิลี  ปมตฺโต
มา  กนฺที  ทุกฺขมิทนฺติ  ฑยฺหมาโน ฯ

นตฺถิ  ฌานํ  อปญฺญสฺส
ปญฺญา  นตฺถิ  อฌายโต
ยมฺหิ  ฌานญฺจ  ปญฺญา จ
ส  เว  นิพพานสนฺติเก ฯ


สุญฺญาคารํ  ปวิฏฺฐสฺส
สนตจิตฺตสส  ภิกฺขุโน
อมานุสี  รตี  โหติ
สมฺมา  ธมฺมํ  วิปสฺสโต ฯ

ยโต  ยโต  สมฺมสติ
ขนธานํ  อุทยพฺพยํ
ลภตี  ปีติปาโมชฺชํ
อมตํ  ตํ  วิชานตํ ฯ

ตตฺรายมาทิ  ภวติ
อิธ  ปญฺญสฺส  ภิกฺขุโน
อินฺทริยคุตฺติ  สนฺตุฏฺฐี
ปาฏิโมกฺเข  จ  สํวโร
มิตฺเต  ภชสฺสุ  กลฺยาเณ
สุทฺธาชีเว  อตนฺทิเต ฯ


ปฏิสนฺถารวุตฺยสฺส
อาจารกุสโล  สิยา
ตโต  ปาโมชฺชพหุโล
ทุกฺขสฺสนฺตํ  กริสฺสติ ฯ

ภิกษุใด  มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ภิกษุนั้น  พึงบรรลุบทอันสงบ
เป็นที่เข้าไประงับสังขาร อันเป็นสุข.

ภิกษุ  เธอจงวิดเรือนี้
เรือที่เธอวิดแล้ว  จักถึงเร็ว
เธอตัดราคะและโทสะได้แล้ว
แต่นั้นจักถึงพระนิพพาน.


ภิกษุพึงตัดธรรม 5 อย่าง
พึงละธรรม 5  อย่าง
และพึงยังคุณธรรม 5 ให้เจริญยิ่งๆขึ้น
ภิกษุผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง 5 อย่างได้แล้ว
เราเรียกว่า  ผู้ข้ามโอฆะได้.


ภิกษุ  เธอจงเพ่งและอย่าประมาท
จิตของเธออย่าหมุนไปในกามคุณ
เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนกินก้อนแห่งโลหะ
เธออย่าเป็นผู้อันกรรมแผดเผาอยู่
คร่ำครวญว่า  นี้ทุกข์.

 
ฌานย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญาย่อมไม่มีในบุคคลใด
บุคคลนั้นแล  ตั้งอยู่ในที่ใกล้นิพพาน.

ความยินดีมิใช่ของมีอยู่แห่งมนุษย์
ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปแล้วสู่เรือนว่าง
ผ็มีจิตสงบแล้ว  ผู้เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ”


ภิกษุพิจารณาอยู่  ซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
แห่งสังขารทั้งหลายโดยอาการใดๆ
เธอย่อมได้ปีติและปราโมทย์โดยอาการนั้นๆ
การได้ปีติและปราโมทย์นั้น
เป็นธรรมอันไม่ตายของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.

ธรรมนี้ คือความคุ้มครองซึ่งอินทรีย์ 1
ความสันโดษ 1  ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์  1
เป็นเบื้องต้นในธรรมอันไม่ตายนั้น
มีอยู่แก่ภิกษุผู้มีปัญญาในพระศาสนานี้
.

เธอจงคบมิตรที่ดีงาม  มีอาชีวะอันหมดจด
ไม่เกียจคร้าน  ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติในปฏิสันถาร
พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ
เพราะเหตุนั้น  เธอจักเป็นผู้มากด้วยปีติปราโมทย์
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


เมื่อพระธรรมบทแต่ละพระคาถาจบลง  ภิกษุ 100 รูป(ในจำนวน 900 รูป)บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภทาทั้งหลาย.



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 02:24:58 pm »


08.เรื่องภิกษุประมาณ  500 รูป 

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุประมาณ  500 รูป  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  วสฺสิกา  วิย  ปุปฺผานิ  เป็นต้น

ภิกษุ  500 รูปจากนครสาวัตถี   รับหัวข้อพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดาแล้ว  ก็ได้เดินทางเข้าป่าไปปฏิบัติธรรมในที่สงัดแห่งหนึ่ง  ณ ที่นั้น  ภิกษุเหล่านี้ไปสังเกตเห็นดอกมะลิซึ่งบานในตอนเช้าหลุดออกจากขั้วหล่นลงสู่พื้นดินในตอนเย็น  ก็มีความคิดว่า  พวกตนจะต้องพยายามปลดเปลื้องตนออกจากิเลสอาสวะให้ได้ก่อนที่ดอกมะลิจะหลุดออกจากขั้ว  พระศาสดา  ทรงตรวดูอุปนิสัยของภิกษุเหล่านั้น  แล้วตรัสว่า   “ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมดาภิกษุพึงพยายามเพื่อหลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์ให้ได้  ดุจดอกไม้ที่หลุดจากขั้วฉะนั้น”  ประทับอยู่ในพระคันธกุฏี    ได้แผ่รัศมีไปปรากฏอยู่เบื้องหน้าของภิกษุเหล่านี้แล้ว  ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

วสฺสิกา  วิย  ปุปผานิ
มทฺทวานิ  ปมุญฺจติ
เอวํ  ราคญจ  โทสญฺจ
วปฺปมุญเจถ  ภิกฺขโว  ฯ


ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงปลดเปลื้องราคะและโทสะเสีย
เหมือนมะลิเครือ
ปล่อยดอกทั้งหลาย
ที่เหี่ยวเสีย ฉะนั้น.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุทั้ง  500 รูป  บรรลุพระอรหัตตผล.



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 02:30:20 pm »


09.เรื่องพระสันตกายเถระ 

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระสันตกายเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สนฺตกาโย เป็นต้น

พระสันตกายเถระ   เคยเป็นราชสีห์มาแต่อดีตชาติ    มีความสำรวมระวังกายอยู่เป็นนิตย์  ไม่เคยแสดงอาการคะนองมือคะนองเท้า  แม้แต่จะบิดกายก็ไม่เคยทำ   ลักษณะของพระเถระรูปนี้ไม่ผิดกับพฤติกรรมของราชสีห์  คือ  ราชสีห์เมื่อกลับจากหาอาหาร  คืนสู่ถ้ำที่พักอาศัยของมันแล้ว  มันก็จะนอนลงบนผงมโนศิลา  และหรดาลที่โรยไว้ตลอด 7 วัน  พอถึงวันที่ 7 มันก็จะตรวจดูที่นอน  ถ้าเห็นผงที่โรยไว้นี้กระจุยกระจาย เพราะกระดิกหาง  หู หรือยันเท้าไปถูก  มันจะลงโทษตัวเองด้วยการอดอาหาร  ไม่ออกไปไหน  เป็นเวลา 7 วัน  แต่หากผงนั้นไม่กระจุยกระจาย  มันก็จะภาคภูมิใจ  เดินออกจากถ้ำ  บิดกาย  ชำเลืองดูทิศทั้ง  4  แล้วออกหาอาหาร
ภิกษุทั้งหลาย นำเรื่องพฤติกรรมของพระสันตกายเถระกราบทูลพระศาสดา  พระศาสดาตรัสว่า   “ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมดาภิกษุ  พึงเป็นผู้สงบทางทวารทั้งหลายมีกายทวารเป็นต้นโดยแท้  เหมือนกับสันตกายเถระฉะนั้น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

สนฺตกาโย  สนฺตวาโจ
สนฺตมโน สุสมาหิโต
วนฺตโลกามิโส  ภิกฺขุ
อุปสนฺโตติ  วุจฺจติ ฯ


ภิกษุผู้มีกายสงบ  มีวาจาสงบ
มีใจสงบผู้ตั้งมั่นดีแล้ว
มีอามิสในโลกอันคายเสียแล้ว

เราเรียกว่า ผู้สงบระงับ
.

เมื่อพระธรรมเทศฯจบลง  พระเถระบรรลุพระอรหัตตผล   พระธรรมเทศนามีประโยชน์  แม้แก่ชนผู้มาประชุมกัน.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 02:40:31 pm »


10.เรื่องพระนังคลกูฏเถระ 

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระนังคลกูฏเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อตฺตนา  โจทยตฺตานํ  เป็นต้น

พระนังคลกูฏเถระ  เมื่อสมัยยังเป็นฆราวาส  เป็นชาวนาผู้ยากไร้  มีสมบัติส่วนตัวอยู่ 2 ชิ้น  คือ  ผ้าเตี่ยว 1  ผืน  และไถ  1 คัน  เมื่อใดที่ท่านเกิดความเบื่อหน่ายเพศบรรพชิต  อยากจะสึกออกไปเป็นฆราวาส  ท่านก็จะไปยังต้นไม้ที่ท่านเก็บผ้าเตี่ยวและไถนั้นไว้  และให้โอวาทตัวเอง จิตใจก็เกิดความสบาย  หายความกระสันอยากสึก  ครั้งสุดท้ายท่านไปยังต้นไม้นั้น  ยึดเอาผ้าเตี่ยวและไถมาเป็นอารมณ์พิจารณาพระกัมมัฏฐาน  กระทั่งได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้ไปที่ต้นไม้ต้นนั้นอีกเลย  พวกภิกษุสังเกตเห็นท่านไม่เทียวไล้เทียวขื่อไปที่ต้นไม้นั้นอีก  เกิดความสงสัยจึงได้สอบถามถึงสาเหตุที่ท่านไม่ไปที่ต้นไม้ต้นนั้นว่า “ท่านไม่ไปหาอาจารย์ของท่านอีกหรือ” ท่านตอบว่า “เราไปหาอาจารย์เมื่อมีความจำเป็น  เดี๋ยวนี้ไม่มีความจำเป็นอย่างนั้นแล้ว”  ภิกษุทั้งหลายคิดว่าท่านอวดอ้างว่าตนเป็นพระอรหันต์  จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา   และพระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย    นังคลกูฏะบุตรของเรา  เตือนตนด้วยตนเอง  แล้วจึงถึงที่สุดแห่งกิจบรรพชิต
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

อตฺตนา  โจทยตตานํ
ปฏิมาเส  อตฺตมตฺตนา
โส  อตฺตคุตฺโต  สติมา
สุขํ  ภิกฺขุ  วิหาหิสิ  ฯ

อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นาโถ
อตฺตา  หิ  อตฺตโน  คติ
ตสฺมา  สํยม  อตฺตานํ
อสฺสํ  ภทฺรํว  วาณิโช  ฯ


เธอจงเตือนตนด้วยตน
จงพิจารณาดูตนนั้นด้วยตน
ภิกษุ  เธอนั้น  มีสติ  ปกครองตนได้แล้ว
จักอยู่สบาย.

ตนแหละ  เป็นนาถะของตน
ตนแหละ  เป็นคติของตน
เพราะฉะนั้น  เธอจงสงวนตน

ให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้าสงวนม้าตัวเจริญ ฉะนั้น
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.