ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย.. มารนั้นได้แก่อันใด  (อ่าน 1358 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วย.. มารนั้นได้แก่อันใด
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2012, 08:07:36 pm »


[234] มาร 5 (สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม — the Evil One; the Tempter; the Destroyer)
       1. กิเลสมาร (มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต — the Mara of defilement)
       2. ขันธมาร (มารคือเบญจขันธ์, ขันธ์ 5 เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิเป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนา อย่างแรง อาจถึงกับพรากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง — the Mara of the aggregates)
       3. อภิสังขารมาร (มารคืออภิสังขาร, อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังขารทุกข์ — the Mara of Karma-formations)
       4. เทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร, เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่ามาร เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญ เสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดียิ่งใหญ่ได้ — the Mara as deity)
       5. มัจจุมาร (มารคือความตาย, ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย — the Mara as death)

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
-http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=234

ทุติยวรรคที่ ๒
๑. มารสูตร
ว่าด้วยขันธมาร
             [๓๗๗] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ มารเป็นไฉนหนอ?

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็นมาร
สังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
หน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน
สังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
ย่อมหลุดพ้น. ครั้นหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๑.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=4565&Z=4577

   พระราธะ ทูลถามว่า ที่เรียกว่า มาร มารนั้นได้แก่อันใด   
   พระพุทธเจ้า ตรัสว่า   
   รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มี มารจึงมี
   จงพิจารณาให้เห็นว่า รูป เป็นต้น นั้นเป็นมาร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์
   
   พระเถระ ทูลถามต่อไปว่า   
   ความเห็นชอบ มีประโยชน์อย่างไร
   ทรงตรัสว่า .. มีประโยชน์ช่วยให้เบื่อหน่าย
   
   ความเบื่อหน่าย มีประโยชน์อะไร
   ทรงตรัสว่า .. เพื่อให้คลายกำหนัด
   
   คลายกำหนัด มีประโยชน์อะไร
   ทรงตรัสว่า .. เพื่อให้หลุดพ้น
   
   ความหลุดพ้น มีประโยชน์อะไร
   ทรงตรัสว่า .. เพื่อนิพพาน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2012, 01:24:04 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย.. กำหนัด ก็คือความลุ่มหลง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2012, 08:16:52 pm »


   กำหนัด ก็คือความลุ่มหลง
   
   ภิกษุทั้งหลาย    ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ   
   ภิกษุละได้แล้ว    เพราะละความกำหนัดได้   
   อารมณ์จึงขาดสูญ    ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี
             
   ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ
   ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ
   ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ
   ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ
   ภิกษุละได้แล้ว
   
   เพราะละความกำหนัดได้
   อารมณ์จึงขาดสูญ    
   ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี   
   วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น   
   ก็ไม่งอกงามไม่ปรุงแต่ง
   หลุดพ้นไป   
   เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น   
   เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ   
   เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง   
   เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง
 
   ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า
   ‘ชาติสิ้นแล้วอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว    ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
   
   อุปยสูตรที่ ๑ จบ
                       -http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=1817.0